xs
xsm
sm
md
lg

“ไชยันต์” ถามหนังสือ 2 เล่มของ “ณัฐพล” เอายังไง จะทำเฉยขายให้หมดสต๊อก หรือยุติจำหน่ายเพื่อรับผิดชอบ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“ไชยันต์ ไชยพร” ถาม “ณัฐพล-ฟ้าเดียวกัน” หนังสือ 2 เล่มฉาวขายไปแล้ว มีข้อความอันเป็นเท็จจะทำอย่างไร จะนิ่งเฉยขายให้หมดแล้วค่อยแก้ไขตอนพิมพ์ครั้งต่อไป หรือเลิกขาย ชดใช้เงินคืนแก่ผู้ซื้อ เพื่อยุติแพร่ข้อมูลเท็จ หลังยังมีเหลืออยู่ในสต๊อก

วันนี้ (28 มี.ค.) เฟซบุ๊ก Chaiyan Chaiyaporn ของ ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความถึงกรณีหนังสือ “ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ” และ “ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี” ของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ที่แต่งโดยนายณัฐพล ใจจริง รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กำลังกลายเป็นปัญหาในขณะนี้ ระบุว่า “เมื่อผู้เขียนและสำนักพิมพ์ทราบว่าหนังสือที่ตนเขียนและพิมพ์จำหน่ายออกไปแล้ว (และยังมีเหลืออยู่ในสต๊อก) มีข้อความที่ผิดพลาด โดยเป็นข้อความอันเป็นเท็จ ที่สร้างความเสียหายต่อบุคคล (และวงศ์ตระกูล) ที่ถูกกล่าวถึงด้วยข้อความอันเป็นเท็จนั้น ผู้เขียนและสำนักพิมพ์ควรทำอย่างไร?

1. นิ่งเฉย และยังคงจำหน่ายหนังสือดังกล่าวต่อไปจนกว่าจะหมดสต๊อก แล้วค่อยแก้ไข เมื่อจะพิมพ์ครั้งต่อไป?

(คำถามคือ ไม่รู้ว่าจะจำหน่ายหมดเมื่อไหร่ และหากหมดแล้ว ทางสำนักพิมพ์จะเห็นว่าสมควรพิมพ์ครั้งต่อไปโดยทันทีหรือ?)

2. วิธีที่ 2 มีสามส่วน นั่นคือ
2.1 รีบประกาศผ่านสื่อสาธารณะโดยเร็ว เพื่อ
ก. แสดงความรับผิดชอบและความบริสุทธิ์ใจต่อผู้เสียหาย

ข. แสดงความรับผิดชอบต่อผู้อ่าน เพื่อไม่ให้ผู้อ่านที่ซื้อหนังสือไปแล้ว เข้าใจผิดว่า บุคคลที่ถูกกล่าวถึงด้วยข้อความอันเป็นเท็จได้กระทำการดังที่ถูกกล่าวถึง

ค. ปกป้องผู้อ่าน ไม่ให้ผู้อ่านที่ซื้อหนังสือไปแล้ว แพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จต่อไป
2.2 เรียกคืนหนังสือที่ได้จำหน่ายไปแล้ว และชดใช้เงินคืนแก่ผู้ซื้อ เพราะลำพังข้อ 2.1 ไม่สามารถควบคุมไม่ให้หนังสือแพร่หลายต่อออกไป ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลหรือวิธีการใดก็ตาม

และ

2.3 ยุติการจำหน่าย เพื่อยุติการสร้างความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และยุติการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จที่สร้างความเสียหายไปสู่ผู้อ่านรุ่นต่อๆไป

ในหนังสือ “ขอฝันใฝ่ฯ” ของอาจารย์ณัฐพลที่ตีพิมพ์ พ.ศ. 2556 ในหน้า 124 มีข้อความอันเป็นเท็จที่บรรยายว่า “ผู้สำเร็จราชการฯได้เสด็จเข้ามานั่งเป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรี ประหนึ่งกษัตริย์เป็นประธานการประชุมคณะเสนาบดีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์”

ซึ่งอาจารย์ณัฐพลยอมรับว่าผิดพลาดที่เขียนข้อความนี้ไปโดยในแหล่งอ้างอิงไม่ปรากฏข้อความดังกล่าวนี้แต่อย่างใด

และตามโพสต์ของ Puangthong Pawakapan อาจารย์ณัฐพลถูกทักท้วงว่าผิดในปี 2561

แต่หลังจากนั้น อาจารย์ณัฐพลและสำนักพิมพ์ยังเดินหน้าโฆษณาและจำหน่ายหนังสือ “ขอฝันใฝ่ฯ” ต่อไป โดยไม่ทำประกาศชี้แจงรายละเอียดข้อผิดพลาดเกี่ยวกับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (กรมพระยาชัยนาทเรนทร) ต่อสาธารณะแต่อย่างใด

แต่เพิ่งมาประกาศผ่านมติชน (3 มีนาคม 2564) ว่า จะแก้ไขหากมีการตีพิมพ์หนังสือ "ขอฝันใฝ่ฯ" ครั้งต่อไป

อยากให้ดูตัวอย่างการแก้ปัญหาความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการตีพิมพ์และจำหน่ายหนังสือของสำนักพิมพ์ 2 แห่งในประเทศไทย

ขอบคุณครับ ไชยันต์ ไชยพร”

กำลังโหลดความคิดเห็น