ชาวทวิตเตอร์ เผยเอกสารในสมัยที่ จอมพล ป. นั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ลงนามห้ามพัฒนาที่ดินบนเขาทุกแห่งในประเทศ ตั้งแต่ปี 2499 จึงเป็นต้นเหตุทำให้ชาวเขา ชาวดอย ถูกตัดขาดจากการพัฒนา จน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ต้องเป็นผู้บุกเบิกความเจริญ
จากกรณีที่ “พิมรี่พาย” หรือ น.ส.พิมพ์พรรณ สรัลรัชญ์ เน็ตไอดอลและแม่ค้าออนไลน์จำหน่ายน้ำหอมชื่อดัง โพสต์วิดีโอคลิประบุว่า ได้นำเงิน 550,000 บาทไปซื้อทีวี ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ และสร้างแปลงผักให้แก่เด็กๆ ที่หมู่บ้านแม่เกิบ ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เพื่อเป็นของขวัญในวันเด็กแห่งชาติ โดยอ้างว่าเด็กๆ เรียนไม่ถึงชั้นมัธยม เพราะไม่มีความฝัน อยู่ในโลกแคบๆ ไม่รู้ว่าโตขึ้นอยากทำอาชีพอะไร ไม่มีทีวี หรือสัญญาณอินเทอร์เน็ต และเด็กบางคนไม่เคยกินข้าวไข่เจียว อาหารที่ดีที่สุด คือ น้ำพริก กระทั่งได้รับเสียงชื่นชมจากชาวเน็ตจำนวนมากนั้น
อย่างไรก็ตาม พบว่ามีกลุ่มชาวเน็ตที่มีแนวคิดต่อต้านรัฐบาล นำเรื่องราวของเน็ตไอดอลที่ขึ้นเขาเพียง 1 วัน ซื้อทีวี ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ และสร้างแปลงผักให้แก่เด็กๆ ไปเปรียบเทียบกับการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ที่ทรงงานในถิ่นทุรกันดารกว่า 70 ปี จนกลายเป็นที่ถกเถียงในโลกโซเชียลฯ อย่างมาก
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 11 ม.ค. สมาชิกทวิตเตอร์ "@SHuttasan" ได้เผยประกาศจากกระทรวงมหาดไทย ที่ลงประกาศเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2499 โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เรื่องกำหนดเขตหวงห้ามที่เขาหรือภูเขา ความตามในมาตรา 9 (2) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำเนิดบริเวณที่ภูเขาหรือที่เขา และปริมณฑลรอยภูเขาหรือเขา 40 เมตรทุกแห่ง ทุกจังหวัดเป็นเขตหวงห้าม มิให้บุคคลทำด้วยประการใดให้เป็นการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน ที่หิน ที่กรวดหรือที่ทราย เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม 2499
โดยผู้โพสต์ได้ระบุข้อความว่า "นี่คือจุดเริ่มต้นของโศกนาฏกรรมบนดอยสูง พวกเขาถูกตัดขาดจากการพัฒนามานานมากแล้ว พวกเขาถูกเรียกว่า ชาวป่า ชาวเขา มาตั้งแต่ยุคต้นรัตนโกสินทร์ เป็นชนกลุ่มน้อยที่เป็นปัญหาความมั่นคง ถูกตีตราว่าเป็นผู้ทำลายป่า พวกจึงถูกตัดสิทธิในการเป็นเจ้าของผืนดินที่บรรพบุรุษก่นสร้างมา"
นี่คือจุดเริ่มต้นของโศกนาฏกรรมบนดอยสูง พวกเขาถูกตัดขาดจากการพัฒนามานานมากแล้ว พวกเขาถูกเรียกว่า ชาวป่า ชาวเขา มาตั้งแต่ยุคต้นรัตนโกสินทร์ เป็นชนกลุ่มน้อยที่เป็นปัญหาความมั่นคง ถูกตีตราว่าเป็นผู้ทำลายป่า พวกจึงถูกตัดสิทธิในการเป็นเจ้าของผืนดินที่บรรพบุรุษก่นสร้างมา pic.twitter.com/SCoKMyjIvz— Sumitchai Huttasan (@SHuttasan) January 11, 2021