xs
xsm
sm
md
lg

ตั้งกฎ 4 ข้อ! เจ้าอาวาสวัดกลาง เผย “เหรา(เห รา)” ใครจะจัดสร้างต้องมีหนังสือมาขออนุญาต

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



พระมหาพรชัย ฉนฺทธมฺโม เจ้าอาวาสวัดชัยภูมิการาม เผย หลังจากที่รูปปั้น “เหรา” ได้รับความนิยม เป็นที่สนใจในโลกออนไลน์ ล่าสุด เจ้าอาวาสตั้งกฎ 4 ข้อ ใครจะไปสร้างต่อ-ต้องขออนุญาตวัด ก่อนจะพิจารณาอนุญาตให้ตามความเหมาะสม ไม่ยินยอมให้นำ “เหรา” ไปจดสิทธิบัตรลิขสิทธิ์ โดยระบุเป็นสมบัติส่วนรวมของวัดและชุมชนที่บรรพชนมอบไว้ให้

จากกรณี เพจ “สิม” เผยภาพรูปปั้นพญานาค และสัตว์ต่างๆ ตามวัดในภาคอีสาน ที่รูปร่างแปลก ลักษณะคล้ายตัวการ์ตูน ทราบว่า ช่างปั้นแต่ละท้องถิ่นได้จินตนาการรูปปั้นต่างๆ ขึ้นมาตามคำบอกเล่าแล้วจินตนาการขึ้นมา แล้วสร้างขึ้นมาโดยอาศัยประสบการณ์ของแต่ละคน+ความเชื่อ+ความศรัทธา ผลงานที่ออกมาจึงแสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะตน จุดเด่นหลักๆ ของงานลักษณะนี้ คือ เรียบง่าย-ไม่ซับซ้อน-ลดทอน-ละเอียด ไม่จำเป็นต้องได้สัดส่วน เด๋อๆ น่ารัก ไร้เดียงสา ความกล้าในการใช้สีสัน ซื่อๆ แต่จริงใจ นอกจากนี้ ยังได้มีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่าสัตว์หิมพานต์ตัวดังกล่าวไม่ใช่พญานาค แต่เป็น “เหรา”

ต่อมา ผู้ใช้เฟซบุ๊ก “พรชัย ชมภูศรี” ได้โพสต์ข้อความลงในเพจ “วัดชัยภูมิการาม-วัดกลาง” โดยระบุว่า เป็นข้อความประกาศจากเจ้าอาวาสวัดกลาง จ.อุบลราชธานี ถึงวางแนวทางการนำไปเผยแผ่รูปแบบของ “เหรา” โดยมีใจความว่า

“ด้วยปรากฏว่า สื่อ สังคม ประชาชน ได้ให้ความสนใจ เกี่ยวกับรูปปั้น...เหรา..(เห รา) ที่บันใดประตูอุโบสถ วัดชัยภูมิการาม (วัดกลาง) ซึ่งเป็นศิลปะของช่างพื้นถิ่นเมืองเขมราษร์ธานี อันมีความเรียบง่าย ปราศจากลวดลายประดับใดๆ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ เหรา วัดกลาง นั้น

ทั้งมีความประสงค์นำ เหรา วัดกลาง ไปจัดทำที่ระลึกในรูปแบบต่างๆ ทั้งมีการสืบค้น และเผยแผ่ข้อมูลเกี่ยวกับเหรา ทำให้เกิดการรับรู้และสนใจเป็นวงกว้าง เพื่อเป็นการส่งเสริมการสืบค้น ศึกษาข้อมูล และอำนวยความสะดวกแก่ผู้สนใจทั้งหลาย ทางวัดจึงขอวางแนวทางการนำไปทำเผยเเผ่ ดังนี้
1. ทางวัดถือว่า เหรา วัดกลาง เป็นสมบัติของวัดและชุมชน จึงมีสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของ เหรา วัดกลาง นี้
2. ผู้ใด องค์กร สมาคม หรืออื่นๆ ที่ต้องการนำรูปแบบ เหรา วัดกลาง ไปจัดทำ สร้าง ขอให้ทำหนังสือเพื่อขออนุญาตจัดทำจากทางวัด
3. วัดจะพิจารณาอนุญาตให้ตามความเหมาะ เพื่อร่วมกันเผยแผ่ เหรา วัดกลาง โดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด
4. วัดไม่ยินยอม อนุญาตให้ผู้ใด หรือองค์กรใดๆ นำ เหรา วัดกลาง ทั้งหมด ไปจดสิทธิบัตรลิขสิทธิ์โดยประการทั้งปวง โดยทางวัดถือว่า เหรา วัดกลาง เป็นสมบัติส่วนรวมของวัดและชุมชนที่บรรพชนมอบไว้ให้
จึงแจ้งประกาศมาเพื่อทราบ และถือเป็นแนวปฏิบัติต่อไป

พระมหาพรชัย ฉนฺทธมฺโม เจ้าอาวาสวัดชัยภูมิการาม 0936925942”

กำลังโหลดความคิดเห็น