อาจารย์ จาก มช. เผย เบื้องหลังงานรับปริญญาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้เวลาเตรียมงานเพิ่ม 2 เท่า เจ้าหน้าที่สุดทุ่มเท เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระบุ เสียใจกับกลุ่มผู้มีความคิดไม่อยากรับปริญญา
เมื่อวันที่ 5 ต.ค. รศ.พันทิพา พงษ์เพียจันทร์ รองศาสตราจารย์ คณะเกษตรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว “พันทิพา พงษ์เพียจันทร์” ที่ระบุข้อความถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เสียสละเพื่อความปลอดภัยของทุกคน ในการป้องกันการแพร่ของเชื้อโควิด-19 โดย ได้ระบุข้อความว่า
“นี่คืออีกหนึ่งสุดยอดแห่งความเสียสละ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน ขอบคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือ นี่คือความรักเอื้ออาทรที่คนไทยมีต่อกัน ไม่อยากเห็นใครเจ็บป่วย ยอมเสียอิสรภาพและความสะดวกสบายของตัวเอง เยี่ยมจริงๆ
แก๊งชุดขาวคือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนของจุฬาฯ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ดูแลใบปริญญาบัตรที่ได้รับการฆ่าเชื้ออย่างดี ฉะนั้น คนที่จะอยู่ในห้องปริญญาบัตรจะต้องใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันบุคคล. Personal Protective Equipment (PPE) เพื่อป้องกันเชื้อโรค. ไวรัส (โดยเฉพาะโควิด-19) ที่อาจจะไปติดใบปริญญาบัตรจำนวนเกือบ 10,000 ฉบับ และพระองค์ท่านที่พระราชทานปริญญาบัตร จะต้องสัมผัสจำนวนถึงเกือบ 10,000 ครั้ง เมื่อไปอยู่ในห้องนี้แล้ว ไม่สามารถดื่มน้ำ อาหาร และ ปัสสาวะ ได้จะต้องทำงานจนเสร็จถึงจะออกมาได้ และไม่อนุญาตให้คนอื่นเข้าไปในห้องนี้เช่นกัน ผู้ที่จะมารับใบปริญญาจากห้องนี้ เพื่อทูลเกล้าฯ ก็จะต้องให้ความรวมมือกักตัวเอง เป็นเวลา 14 วัน ก่อนถึงวันงานพระราชทานปริญญาและผ่านการทดสอบโควิด-19. ล่วงหน้าทำนองเดียวกัน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่ใกล้ชิดต้องปฏิบัติเช่นกัน ที่มีภาพถ่ายนี้ เป็นภาพถ่าย ที่ปฏิบัติงานเสร็จแล้วของรอบสุดท้าย
Mom ไปตบมือขอบคุณน้องๆ ที่ทำงานอย่างอดทน เสียสละ เพื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาและบัณฑิตที่จบปีการศึกษา 2562 และมารับพระราชทานปริญญาบัตรในวันที่ 1-2 ตุลาคม 63 Mom ก็ไม่รู้ว่า บัณฑิตจะรู้ไหมว่า โดยเหตุการณ์ปกติ มหาวิทยาลัยเตรียมงานนี้ใช้เวลา1-2 เดือน และไม่ได้เก็บค่าใช้จ่ายใดๆ จากบัณฑิต มีบุคลากรทำงานนี้มากกว่า 1,000 คน.ทั้งบุคลากรของมหาวิทยาลัยเอง และความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกอื่นๆ เมื่อเกิดโดวิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้เวลาเตรียมงานมากว่า4 เดือน งบประมาณเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า เป็นโจทย์ที่ยากมากยิ่งขึ้น เมื่อมีกลุ่มคนบอกว่าไม่อยากรับปริญญา ซึ่งเมื่อไม่อยากรับก็ไม่ต้องมาลงทะเบียน หรือฝึกซ้อม ก็ไม่มีใครว่ากระไร
ถ้าเป็นลูกของ Mom จะทำเช่นนี้ Mom คงเสียใจ หลายคนในครอบครัวคงเสียใจ เสียใจที่จะไม่มีภาพถ่ายการรับปริญญาบัตรของลูกอันเป็นที่รักของครอบครัวจากพระหัตถ์ของพระองค์ฯ ท่านที่ครอบครัวเรารัก เทิดทูน เคารพ เทิดพระเกียรติไว้เหนือหัว.
Mom ยังแอบตั้งชื่อวิธี/กระบวนการ แบบใหม่ (New Normal) ของการรับพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งกว่าหนึ่งร้อยปี เพิ่งปรากฏ (มีการเปลี่ยนแปลงเพียงสถานที่ในการจัด เมื่อคราวซ่อมใหญ่ หอประชุมจุฬาฯ) ว่า จุฬาปริญญาบัตร 2563 โควิด-19 โมเดล น่าภูมิใจมาก มีมหาวิทยาลัยต่างๆ มาขอศึกษาดูงาน แต่จะดีใจยิ่งขึ้นถ้าพ้น 14 วันไปแล้ว”
นี่คืออีกหนึ่งสุดยอดแห่งความเสียสละ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน ขอบคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือ...โพสต์โดย พันทิพา พงษ์เพียจันทร์ เมื่อ วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม 2020