สธ.- ศธ. เตรียมแนวทางเปิดเรียน เน้นความร่วมมือโรงเรียนและผู้ปกครองปฏิบัติตาม 6 แนวทาง “คัดกรอง-สวมหน้ากาก-ล้างมือ-เว้นระยะห่าง-ทำความสะอาดผิวสัมผัส-ลดกิจกรรมรวมกลุ่ม”
กระทรวงสาธารณสุข ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเตรียมการล่วงหน้าสำหรับการเปิดภาคเรียนในเดือนกรกฎาคม 2563 โดยสถิติการระบาดในประเทศไทย พบว่า กลุ่มเด็ก 10-19 ปี มีอัตราการติดเชื้อร้อยละ 3.81 ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง หรือไม่แสดงอาการ เมื่อมาโรงเรียนใช้เวลาอยู่ใกล้ชิดร่วมกัน 5-7 ชั่วโมงต่อวัน นานกว่าการเดินในห้างสรรพสินค้า จึงมีความเสี่ยงติดเชื้อในกลุ่มเพื่อน และเมื่อเด็กกลับบ้านจะอยู่ใกล้ชิดและแพร่เชื้อไปสู่คนในครอบครัวได้ อย่างไรก็ตาม การเปิดภาคเรียน โรงเรียนจะต้องเตรียมการล่วงหน้าเพื่อให้พร้อมเปิดเรียนอย่างปลอดภัย โดยร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและภาคีเครือข่าย จัดทำมาตรการและคู่มือการปฏิบัติ สำหรับสถานศึกษา ป้องกันโควิด-19 ให้เสร็จภายในเดือนพฤษภาคมนี้ และชี้แจงแนวทางปฏิบัติกับบุคลากรสาธารณสุข จัดอบรมครู “รอบรู้สุขอนามัย” ในโรงเรียนรองรับสถานการณ์โควิด 19 กลางเดือนมิถุนายน 63 ให้โรงเรียนประเมินตนเองตามแพลตฟอร์มไทยสต็อปโควิด (https://stopcovid.anamai.moph.go.th)
ล่าสุด วันนี้ (25 พ.ค.) เฟซบุ๊กแฟนเพจ “ศูนย์ข้อมูล COVID-19” โพสต์ข้อความระบุ สธ.-ศธ.เตรียมแนวทางเปิดเรียน เน้นความร่วมมือปฏิบัติตาม 6 แนวทาง เมื่อเปิดภาคเรียน โรงเรียนจะต้องดำเนินการ 6 แนวทาง ประกอบด้วย
1. การมีมาตรการคัดกรอง เช่น วัดไข้ก่อนเข้าโรงเรียน ผู้ปกครองร่วมให ประวัติหากมีความเสี่ยง หากเด็กมีอาการไข้ไม่สบายต้องหยุดเรียนทันที และแจ้งหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่
2. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่ออยู่ในโรงเรียน
3. จัดจุดล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างเพียงพอ
4. การเว้นระยะห่างในห้องเรียน เน้นจัดการเรียนการสอนให้เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน ให้มีกิจกรรมทำในกลุ่มเดียวกันตลอดทั้งวัน
5. เน้นการทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสต่างๆ ที่ใช้ร่วมกัน อาทิ สนามเด็กเล่น ลูกบิดประตู ห้องน้ำ ร่วมกับการจัดกลุ่มสลับกันใช้งานเพื่อช่วยลดการสัมผัสร่วมกันจำนวนมาก
6. ลดความแออัด ไม่จัดกิจกรรมที่เกิดการรวมกลุ่มของเด็ก
กระทรวงสาธารณสุข ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเตรียมการล่วงหน้าสำหรับการเปิดภาคเรียนในเดือนกรกฎาคม 2563 โดยสถิติการระบาดในประเทศไทย พบว่า กลุ่มเด็ก 10-19 ปี มีอัตราการติดเชื้อร้อยละ 3.81 ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง หรือไม่แสดงอาการ เมื่อมาโรงเรียนใช้เวลาอยู่ใกล้ชิดร่วมกัน 5-7 ชั่วโมงต่อวัน นานกว่าการเดินในห้างสรรพสินค้า จึงมีความเสี่ยงติดเชื้อในกลุ่มเพื่อน และเมื่อเด็กกลับบ้านจะอยู่ใกล้ชิดและแพร่เชื้อไปสู่คนในครอบครัวได้ อย่างไรก็ตาม การเปิดภาคเรียน โรงเรียนจะต้องเตรียมการล่วงหน้าเพื่อให้พร้อมเปิดเรียนอย่างปลอดภัย โดยร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและภาคีเครือข่าย จัดทำมาตรการและคู่มือการปฏิบัติ สำหรับสถานศึกษา ป้องกันโควิด-19 ให้เสร็จภายในเดือนพฤษภาคมนี้ และชี้แจงแนวทางปฏิบัติกับบุคลากรสาธารณสุข จัดอบรมครู “รอบรู้สุขอนามัย” ในโรงเรียนรองรับสถานการณ์โควิด 19 กลางเดือนมิถุนายน 63 ให้โรงเรียนประเมินตนเองตามแพลตฟอร์มไทยสต็อปโควิด (https://stopcovid.anamai.moph.go.th)
ล่าสุด วันนี้ (25 พ.ค.) เฟซบุ๊กแฟนเพจ “ศูนย์ข้อมูล COVID-19” โพสต์ข้อความระบุ สธ.-ศธ.เตรียมแนวทางเปิดเรียน เน้นความร่วมมือปฏิบัติตาม 6 แนวทาง เมื่อเปิดภาคเรียน โรงเรียนจะต้องดำเนินการ 6 แนวทาง ประกอบด้วย
1. การมีมาตรการคัดกรอง เช่น วัดไข้ก่อนเข้าโรงเรียน ผู้ปกครองร่วมให ประวัติหากมีความเสี่ยง หากเด็กมีอาการไข้ไม่สบายต้องหยุดเรียนทันที และแจ้งหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่
2. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่ออยู่ในโรงเรียน
3. จัดจุดล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างเพียงพอ
4. การเว้นระยะห่างในห้องเรียน เน้นจัดการเรียนการสอนให้เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน ให้มีกิจกรรมทำในกลุ่มเดียวกันตลอดทั้งวัน
5. เน้นการทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสต่างๆ ที่ใช้ร่วมกัน อาทิ สนามเด็กเล่น ลูกบิดประตู ห้องน้ำ ร่วมกับการจัดกลุ่มสลับกันใช้งานเพื่อช่วยลดการสัมผัสร่วมกันจำนวนมาก
6. ลดความแออัด ไม่จัดกิจกรรมที่เกิดการรวมกลุ่มของเด็ก