1.ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยทยอยเพิ่มขึ้น ล่าสุด “แมทธิว ดีน” ดารานักร้องติดเชื้อด้วย!
สถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 ในไทยสัปดาห์ที่ผ่านมา ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ทยอยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเมื่อวันที่ 10 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุขแถลงมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 3 ราย รวมยอดติดเชื้อสะสม 53 ราย โดยรายใหม่เป็นหญิงไทย อายุ 41 ไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ แต่ใกล้ชิดผู้ป่วยรายที่ 45 ส่วนอีก 2 ราย เป็นสามีภรรยากัน โดยภรรยากลับจากประเทศอิตาลี
ต่อมา วันที่ 12 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุข แถลงพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ เป็นกลุ่มก้อน 11 ราย ทั้งหมดเป็นคนไทย โดยผู้ป่วยได้พบปะกับเพื่อนนักท่องเที่ยวชาวฮ่องกงที่มาเที่ยวเมืองไทยเมื่อวันที่ 21 ก.พ. หลังจากนั้น 4 วัน (25 ก.พ.) เริ่มป่วยด้วยอาการไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ไอ ในขณะที่มีอาการป่วย ได้นัดสังสรรค์กับเพื่อนสนิทอีก 2 ครั้ง (27 และ 29 ก.พ.) โดยมีพฤติกรรมดื่มสุราแก้วเดียวกัน สูบบุหรี่มวนเดียวกัน หลังจากนั้น ผู้ร่วมสังสรรค์เริ่มทยอยป่วย 7 คน และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยตรวจพบการติดเชื้อ 11 คน จากทั้งหมด 15 คน เป็นชาย 5 คน หญิง 6 คน
ต่อมา วันที่ 13 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุขแถลงพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มอีก 5 ราย โดย 2 ราย อยู่ในกลุ่มติดเชื้อเดิม 11 คน (จากทั้งหมด 15 คน) ส่วนอีก 3 ราย มีความเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยรายที่ 57 ซึ่งเป็นสตรีไปทำศัลยกรรมที่ประเทศเกาหลีใต้ กลับมาไปกินเลี้ยงกับเพื่อน 11 คนในผับยอดนิยมแห่งหนึ่ง โดยคนที่ 1 เป็นน้องชายผู้ป่วยคนที่ 57 คนที่ 2 เป็นเพื่อน ไปเที่ยวผับด้วยกัน ดื่มเหล้าแก้วเดียวกัน อยู่ใกล้ชิดกันในผับเป็นเวลานาน คนที่ 3 เป็นชายไทย ติดตามเพื่อนไปเที่ยวในกลุ่มเดียวกัน
ล่าสุด วันนี้ (14 มี.ค.) กระทรวงสาธารณสุขแถลงพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มอีก 7 ราย ส่งผลให้ยอดผู้ป่วยสะสมเพิ่มเป็น 82 ราย สำหรับผู้ติดเชื้อรายที่ 76 เป็นแม่ของผู้ป่วยในกลุ่มสังสรรค์งานปาร์ตี้ที่ติดเชื้อเมื่อวันก่อน, รายที่ 77-80 เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน โดยรายที่ 77 มีประวัติเดินทางกลับจากญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 มี.ค., รายที่ 78 เป็นลูกสาวรายที่ 77, รายที่ 79 เป็นลูกเขยรายที่ 77, รายที่ 80 เป็นหลานสาวของรายที่ 77 อายุ 4 ขวบ
ส่วนผู้ป่วยรายที่ 81 เป็นนักศึกษาหญิง อายุ 20 ปี ที่เดินทางกลับจากญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 14 ก.พ. เริ่มมีอาการป่วยเมื่อวันที่ 27 ก.พ. รายที่ 82 คือ นายแมทธิว ดีน นักแสดง พิธีกร และเจ้าของค่ายมวย เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 11 มี.ค. ด้วยอาการไข้ ไอ ปวดเมื่อย มีประวัติการสัมผัสโรค คือ มีเพื่อนเป็นชาวต่างชาติ และมีการสัมผัสกับชาวต่างชาติ ขณะนี้รักษาตัวที่โรงพยาบาลราชวิถี เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างติดตามคนใกล้ชิด
นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการติดตามผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อเฝ้าดูอาการ มีผู้เข้าเกณฑ์การสอบสวนโรค 36 ราย และมีการติดตามผู้ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อเหล่านี้อีกกว่า 100 ราย สรุปรวมขณะนี้ มีผู้ป่วยที่รักษาหาย 35 ราย ยังอยู่ในโรงพยาบาล 46 ราย และมีผู้ป่วยวิกฤต 1 ราย เสียชีวิตตาย 1 ราย รวมมีผู้ป่วยยืนยันสะสม 82 ราย และขณะนี้สถานการณ์โควิด-19 ของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 45 จากทั่วโลก
นพ.สุขุมกล่าวว่า กรณีนายแมทธิว ดีน นั้น เนื่องจากผู้ป่วยเป็นผู้ที่มีชื่อเสียง จึงมีประวัติผู้สัมผัสมากพอสมควร โดยในขณะนี้ สธ.อยู่ระหว่างการรวบรวมรายชื่อ และพบว่าบางรายที่สัมผัสได้เข้ารับการตรวจแล้ว และส่วนใหญ่ไม่พบว่ามีใครป่วย ทั้งนี้ ขอให้ผู้ที่ใกล้ชิดในช่วงระหว่างวันที่ 11-13 มี.ค. สังเกตอาการ กรณีมีไข้ หรือมีอาการทางระบบทางหายใจให้รีบพบแพทย์ทันที และระหว่างนี้ขอให้แยกสิ่งของเครื่องใช้จากผู้อื่น
นพ.สุขุมยังชื่นชมกรณีที่นายแมทธิว ดีน ออกมาประกาศต่อสาธารณชนว่าตนเองติดเชื้อโควิด-19 ว่า เป็นเรื่องที่ดี ทำให้ประชาชนตื่นตัวและผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยก็มีการระมัดระวังตนเอง ดีกว่าบางคนที่ซ่อนตัว เพราะจะยิ่งอันตราย ขอบคุณที่กล้าจะบอกว่าตัวเองป่วยเป็นโรค ต้องชื่นชม
2.รวบ "บอย ศรสุวีร์" โพสต์เฟซขายหน้ากากอนามัย 200 ล้านชิ้น อ้างรู้เท่าไม่ถึงการณ์-ของไม่มีจริง ด้าน "ธรรมนัส-คณะทำงาน" ปัดเอี่ยว!
จากกรณีที่โซเชียลมีเดียได้มีการแชร์โพสต์และคลิปเฟซบุ๊กไลฟ์ของชายคนหนึ่งซึ่งอ้างว่า มีหน้ากากอนามัย 200 ล้านชิ้นจำหน่าย และมีภาพถ่ายคู่กับคนสนิทคนติดตามรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำให้สังคมตั้งคำถามถึงการกักตุนหน้ากากอนามัยจำนวนมากดังกล่าว ซึ่งต่อมาทราบชื่อชายที่เฟซบุ๊กไลฟ์ดังกล่าวว่า คือ นายศรสุวีร์ ภู่รวีรัศวัชรี หรือบอย
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 9 มี.ค. นายพิตตินันท์ รักเอียด ซึ่งเป็นคณะทำงานของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกมายอมรับว่า ถ่ายภาพร่วมกับนายศรสุวีร์จริง แต่การไปพบดังกล่าวเป็นการไปพบธรรมดา ผ่านทางรุ่นน้องที่ชื่อกอล์ฟ อาชีพชิปปิ้ง ซึ่งวันนั้นกอล์ฟชวนตนไปดื่มกินที่โรงแรม และตนก็ทราบว่า มีการเจรจาซื้อขายหน้ากากอนามัยกันจริงระหว่างนายศรสุวีร์กับนายกอล์ฟ แต่ยืนยันว่า ตนไม่ได้มีส่วนรู้เห็นด้วย
ด้าน ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แถลงยืนยันเช่นกันว่า ไม่รู้จักนายศรสุวีร์ และไม่เคยเกี่ยวข้องกับธุรกิจของนายศรสุวีร์แต่อย่างใด ส่วนนายพิตตินันท์ เป็นคณะทำงานของตน เป็นอดีตผู้สมัคร ส.ส.สุราษฎร์ธานี เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ มีคะแนนเสียงดี อยากให้ทำงานในพื้นที่ต่อไปและขอมาสมัครเป็นคณะทำงาน ดูแลเฉพาะ จ.สุราษฎร์ธานี และว่า ข่าวที่เกิดขึ้น ได้ให้ทีมงานสอบถาม ปรากฏว่า ทั้งสองนัดเจอกันที่โรงแรมแห่งหนึ่งใน กทม. ทราบว่าเป็นการเจรจาเพื่อเอาหน้ากากไปแจกชาวบ้านในพื้นที่เขตเลือกตั้งของเขา ไม่มีการซื้อขายหน้ากาก จึงแจ้งทีมงานให้นายพิตตินันท์ไปร้องทุกข์กล่าวโทษกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวงจรนี้ เพื่อเอาผิดนายศรสุวีร์
ร.อ.ธรรมนัส ย้ำด้วยว่า “ผมไม่ได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการขายหน้ากาก ได้ประสานงานกับ สภ.หนองปรือ จ.ชลบุรี ให้ดำเนินการตรวจสอบโดยเร็ว หากกักตุนหน้ากากจริง ผมจะนำไปทลายเอง ยังได้ตั้งคณะตรวจสอบพฤติกรรมของนายพิตตินันท์ด้วย หากผิดจริง ไม่เอาไว้แน่นอน ใครก็ตามที่เป็นคณะทำงานผม หากไปเกี่ยวข้องกับการกักตุนหน้ากากอนามัย จะดำเนินคดีให้ถึงที่สุด จะไม่เลี้ยงเลยคนพวกนี้”
นอกจากนี้ ร.อ.ธรรมนัสยังได้ทำหนังสือถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ขอให้เร่งรัดตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นกรณีนายศรสุวีร์กักตุนและจำหน่ายหน้ากากอนามัยในราคาสูง และได้พาดพิงไปยังนายพิตตินันท์ ที่เป็นคณะทำงานของตน ทำให้ตนได้รับความเสียหาย พร้อมระบุว่า หากพบผู้ใดมีส่วนเกี่ยวข้อง ขอให้ดำเนินคดีตามกฎหมายให้ถึงที่สุด
ทั้งนี้ นอกจากนายพิตตินันท์ และ ร.อ.ธรรมนัส จะยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกับนายศรสุวีร์แล้ว ยังมีดาราชื่อดังอีก 2 คน ซึ่งปรากฏตัวในเฟซบุ๊กไลฟ์ของนายศรสุวีร์ด้วย คือ เล็ก ไอศูรย์ และพีท ทองเจือ ต่างออกมายืนยันว่า ไม่เกี่ยวข้องกับนายศรสุวีร์เช่นกัน
ด้านนายศรสุวีร์ หรือบอย ผู้เฟซบุ๊กไลฟ์มีหน้ากากอนามัย 200 ล้านชิ้น ได้เข้าพบตำรวจภูธรภาค 2 จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 9 มี.ค.โดยอ้างว่า กระทำการดังกล่าวโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และว่า ตนเป็นพ่อค้าออนไลน์ หลังเกิดเหตุ ได้ลบโพสต์หมดแล้ว พร้อมขอโทษประชาชนด้วยที่ทำให้เดือดร้อน และยืนยันว่า ตนไม่มีหน้ากากอนามัย 200 ล้านชิ้นแต่อย่างใด จากนั้น พล.ต.ท.มนตรี ยิ้มแย้ม ผบช.ภ.2 ได้นำตัวนายศรสุวีร์ มายังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อเข้าให้ข้อมูลกับ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รอง ผบ.ตร.
ซึ่งต่อมา นายศรสุวีร์ กล่าวอีกว่า ภาพหน้ากากอนามัยที่โพสต์ลงเฟซบุ๊ก ตนก๊อปปี้มาจากคนอื่น เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ เพราะทำอาชีพนายหน้า หน้ากากอนามัยไม่มีอยู่จริง แต่ภาพโรงงานที่ไลฟ์สดลงโซเชียลมีอยู่จริง เปิดอย่างถูกต้อง ทำไปเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนที่เข้ามาซื้อของ ที่ทำไปทั้งหมดเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พร้อมอ้างว่า คลิปที่โพสต์เป็นช่วงที่หน้ากากอนามัยยังไม่ขาดแคลน
ทั้งนี้ มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ได้เข้าค้นอาคารไทยเฮลท์ เขตหนองแขม กทม.ที่นายศรสุวีร์อ้างว่า ใช้เก็บสินค้ากว่า 200 ล้านชิ้น จากการตรวจสอบพบว่า มีหน้ากากอนามัยอยู่เพียง 12,500 ชิ้น ซึ่งหน้ากากอนามัยดังกล่าว นายพันธ์ยศ อัครอมรพงศ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคภราดรภาพ เป็นผู้สั่งทำจากโรงงานแห่งหนึ่ง และแนวทางการสืบสวนพบว่า นายพันธ์ยศติดต่อซื้อขายหน้ากากอนามัยกับนายศรสุวีร์จริง ซึ่งนายศรสุวีร์รับว่าได้ซื้อขายหน้ากากอนามัยจากนายพันธ์ยศเพียง 2 แสนชิ้น
ด้านนายพันธ์ยศ ยอมรับว่า อาคารดังกล่าวเป็นของตน เคยเปิดเป็นบริษัท ไทยเฮลท์ ที่เป็นธุรกิจอาหารเสริมความงามเพื่อสุขภาพ แต่ขณะนี้ปิดกิจการไปแล้ว เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ และว่า รู้จักนายศรสุวีร์ หรือบอยได้ 1 เดือน หลังจากนั้นบอยได้ประสานขอให้ตนหาหน้ากากอนามัยเพื่อจะนำมาบริจาค 1 ล้านชิ้น แต่อยู่ระหว่างคุยรายละเอียด ส่วนเหตุที่บอยให้ตนหาหน้ากากอนามัยให้ เพราะตนทำธุรกิจกับชาวจีน ช่วงโควิด-19 เริ่มระบาด ทางการจีนติดต่อให้ตนเป็นธุระจัดหาหน้ากากอนามัยในไทยเพื่อนำไปช่วยประชาชนที่จีน ส่วนที่บอกว่า ตนรู้จักหรือเกี่ยวข้องกับ ร.อ.ธรรมนัสนั้น ขอปฏิเสธว่าไม่จริง ส่วนที่ในโซเชียลมีภาพกล่องสินค้าหน้ากากอนามัยจำนวนมากอยู่ในออฟฟิศตนนั้น ยอมรับว่า มีจริง แต่ไม่ได้เป็นการกักตุน พอสินค้าเข้ามาก็ระบายออก
ล่าสุด (13 มี.ค.) ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ เผยความคืบหน้าการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีนายพิตตินันท์ รักเอียด คณะทำงาน เกี่ยวข้องกับการกักตุนหน้ากากอนามัยหรือไม่ว่า ผลสรุป นายพิตตินันท์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว แต่ก็ได้สั่งปลดออกจากการเป็นคณะทำงานแล้ว ในฐานะที่ไม่ระมัดระวัง คิดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคงเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อย่างไรก็ตาม ผลสรุปทั้งหมด ตำรวจจะนำไปขยายผล ซึ่งขณะนี้มีขยายผลไปจนถึงต้นตอหมดแล้ว นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) จะเข้าไปดำเนินการตรวจสอบด้านบัญชี และยึดทรัพย์ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต่อไป
3.ครม. คลอดมาตรการเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 ช่วยทั้ง ปชช.-ผู้ประกอบการ!
เมื่อวันที่ 10 มี.ค. นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยหลังประชุม ครม.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการด้านเศรษฐกิจดูแลผลกระทบโควิด-19 ระยะที่ 1 โดยพิจารณาดูแลทั้งผู้ประกอบการและประชาชน โดยมาตรการสำหรับผู้ประกอบการ ประกอบด้วย 1.สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท ปล่อยกู้ 20 ล้านบาทต่อราย คิดดอกเบี้ย 2% ต่อปี เป็นเวลา 2 ปี โดยเงินที่นำมาปล่อยกู้ ยืมมาจากสถาบันการเงินของรัฐ ไม่ได้ใช้จากงบประมาณ
2.มาตรการพักเงินต้น ลดดอกเบี้ย ขยายเวลาชำระหนี้แก่ลูกหนี้แบงก์รัฐ ธนาคารแห่งประเทศไทย ผ่อนปรนหลักเกณฑ์บางอย่างเพื่อให้สถาบันการเงินช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ 3.กองทุนประกันสังคมให้เงินมา 3 หมื่นล้านบาท เพื่อนำไปปล่อยกู้ให้สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม คิดดอกเบี้ย 3% ต่อปี นาน 3 ปี
นอกจากนี้ยังมีมาตรการด้านภาษี ประกอบด้วย 1.คืนสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการในประเทศ ลดอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย เหลือ 1.5% จากเดิม 3% เริ่ม เม.ย.-ก.ย.2563 2.เอสเอ็มอี นำรายจ่ายดอกเบี้ยจากการกู้ซอฟท์โลนมาหักลดหย่อนภาษี 1.5 เท่า เริ่ม เม.ย.-ธ.ค.2563 3.ส่งเสริมสถานภาพการจ้างงาน โดยให้เอสเอ็มอีนำรายจ่ายค่าจ้าง ในธุรกิจเอสเอ็มอีหักรายจ่ายได้ 3 เท่า 4.เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ให้กับผู้ประกอบการภายในประเทศ ถ้ายื่นแบบทางอินเทอร์เน็ตคืนภายใน 15 วัน หากยื่นกับสรรพากร คืนภายใน 45 วัน เพื่อคืนสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ
ส่วนมาตรการอื่นๆ ประกอบด้วย ลดค่าน้ำ ค่าไฟ คืนเงินประกันมิเตอร์ โดยให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงพลังงานไปพิจารณาเงื่อนไขที่เหมาะสม, ลดเงินสมทบประกันสังคมของนายจ้างและลูกจ้าง กระทรวงแรงงานจะไปพิจารณาตามความเหมาะสม อาจลดให้ 3-6 เดือน, ขอความร่วมมือส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจลดค่าเช่า ค่าธรรมเนียมให้ผู้ประกอบการ เช่น ลดค่าเช่าที่ราชพัสดุ, มาตรการช่วยตลาดหุ้น เพิ่มวงเงินประชาชนที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อการออม (SSF) สามารถมาหักลดหย่อนภาษีเพิ่มอีก 2 แสนบาท จากเดิมได้ 2 แสนบาท เป็น 4 แสนบาท เป็นเวลา 3 เดือน เริ่ม เม.ย.-มิ.ย.2563 ถ้ามีความจำเป็น พร้อมจะพิจารณาขยายเวลาเพิ่มให้อีก
นอกจากนี้ ครม.ยังพิจารณาให้กำหนดวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท เพื่อเตรียมการไว้ช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เช่น ถูกเลิกจ้าง สถานประกอบการลดวันทำงานของลูกจ้างลง การเสริมศักยภาพของบุคลากร ซึ่งกระทรวงการคลังจะหารือกับสำนักงบประมาณในการกำหนดวงเงินและขอบเขตในการใช้เงินต่อไป และมาตรการสุดท้ายคือ ครม.เห็นชอบยกเว้นอากรนำขาเข้าของวัตถุดิบเกี่ยวกับหน้ากากอนามัยเป็นเวลา 6 เดือน นับจาก ครม.มีมติเป็นต้นไป
ด้านนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า หรือค่ามิเตอร์ไฟฟ้า มีอัตราตั้งแต่ 300 บาท, 2,000 บาท, 3,000 บาท และ 6,000 บาท แล้วแต่ขนาดมิเตอร์ โดยจะมีประชาชนได้รับคืน 21.5 ล้านราย วงเงิน 3 หมื่นบ้านบาท เริ่มทยอยคืนตั้งแต่สิ้นเดือน มี.ค.นี้ ส่วนวิธีการคืนนั้น หน่วยงานที่รับผิดชอบจะไปพิจารณาว่า จะคืนอะไร ซึ่งนายกฯ ให้เน้นรายย่อยหรือมิเตอร์ขนาดเล็กเป็นอันดับแรก เพื่อให้กลุ่มผู้ได้รับเงินนำไปลดภาระค่าครองชีพ
ในเวลาต่อมา นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานกรรมการประกันสังคม เผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการประกันสังคมและที่ปรึกษา เมื่อวันที่ 10 มี.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบในหลักการให้ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมให้กับนายจ้างและผู้ประกันตน ทั้งมาตรา 33 และมาตรา 39 โดยนายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ปัจจุบันจ่ายฝ่ายละ ร้อยละ 5 ของค่าจ้าง ลดเหลือฝ่ายละ ร้อยละ 4 ของค่าจ้าง
สำหรับผู้ประกันตนเองโดยสมัครใจ มาตรา 39 ปัจจุบันจ่าย 432 บาทต่อเดือน ลดเหลือ 336 บาทต่อเดือน การลดอัตราเงินสมทบดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลา 6 เดือน นับแต่งวดค่าจ้างประจำเดือน มี.ค. ถึง ส.ค. 2563 ทั้งนี้ การปรับลดอัตราเงินสมทบดังกล่าวจะไม่กระทบต่อสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับแต่อย่างใด และสามารถช่วยเหลือลดค่าใช้จ่ายในการส่งเงินสมทบให้กับนายจ้าง และผู้ประกันตน เป็นเงินประมาณ 17,000 ล้านบาท
4.ศาลพิพากษาประหารชีวิต “นปช.” ปาระเบิดใส่เวที กปปส. ดับ 1 เจ็บ 26 แต่จำเลยสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต!
เมื่อวันที่ 12 มี.ค. ศาลอาญาได้อ่านคำพิพากษา คดีปาระเบิดใส่กลุ่ม กปปส. ซึ่งพนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 5 เป็นโจทก์ฟ้องนายกฤษฎา ไชยแค หรือ ดา อายุ 49 ปี แนวร่วม นปช. เป็นจำเลย ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, กระทำให้เกิดการระเบิดจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น, มีและใช้วัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้มีและให้ใช้ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย, มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต, พาอาวุธปืนและวัตถุระเบิดติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์, ยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมชน และฝ่าฝืนประกาศ ข้อกำหนด ที่ห้ามนำอาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิดออกนอกเคหสถาน ตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551
คดีนี้ โจทก์ฟ้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2557 เวลากลางวัน ขณะเกิดเหตุ นายถาวร เสนเนียม แกนนำกลุ่ม กปปส. ได้ตั้งเวทีปราศรัยโจมตีการทำงานของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จำเลยซึ่งเป็นแนวร่วมฮาร์ดคอร์ กลุ่ม นปช.ได้ใช้ระเบิดสังหารขว้างใส่เวที กปปส. จนมีผู้ชุมนุมเสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บอีก 26 ราย ก่อนหลบหนีไปประเทศเพื่อนบ้าน และต่อมา ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามจับกุมได้ ก่อนแจ้งข้อหาดำเนินคดี ซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพ
ด้านศาลพิเคราะห์คำเบิกความพยานโจทก์ และพยานหลักฐานอื่นๆ ประกอบคำรับสารภาพแล้ว เห็นว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องจริง โดยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรม โดยศาลพิพากษาประหารชีวิตจำเลย แต่คำให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยไว้ตลอดชีวิต
5.กกต.มีมติแจ้งความเอาผิด “ธนาธร” ฐานลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งที่รู้อยู่แล้วไม่มีสิทธิจากกรณีถือหุ้นสื่อ ด้านเจ้าตัวรีบโวย!
เมื่อวันที่ 11 มี.ค. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกเอกสารชี้แจงว่า ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 20 พ.ย.2562 ว่า สมาชิกภาพ ส.ส.ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) เนื่องจากนายธนาธรเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ซึ่งประกอบกิจการสื่อมวลชนอยู่ในวันที่พรรค อนค.ยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เมื่อวันที่ 6 ก.พ.2562 ต่อ กกต.นั้น
เมื่อวันที่ 10 มี.ค.ที่ผ่านมา กกต.ได้พิจารณาข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน และพฤติการณ์ในสำนวนการไต่สวน ประกอบคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องดังกล่าวแล้ว เห็นว่า นายธนาธรเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท วี-ลัค มีเดีย ซึ่งประกอบกิจการสื่อมวลชนอยู่ในวันที่ 6 ก.พ.2562 โดยเป็นวันที่พรรค อนค.ยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อต่อ กกต. อันเป็นลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.โดยนายธนาธรรู้อยู่แล้วว่า ตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ได้สมัครรับเลือกตั้งหรือทำหนังสือยินยอมให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อเพื่อสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.2561 มาตรา 151 จึงมีมติให้สำนักงาน กกต.ดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาต่อไป
ทั้งนี้ โทษตามมาตรา 151 คือ จำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี ปรับตั้งแต่ 2 หมื่นถึง 2 แสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 20 ปี
ด้านนายธนาธรไม่พอใจ จึงได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กโจมตี กกต.รวมไปถึงกระบวนการยุติธรรม และรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ว่า “เมื่อวานนี้มีข่าว กกต.แจ้งความดำเนินคดีอาญากับผมเพิ่มเติมอีกหนึ่งคดีจากการลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว โดยที่รู้อยู่แล้วว่าไม่มีสิทธิ เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามจากการถือหุ้นวีลัค ตามแนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คดีนี้แสดงให้เห็นอย่างโจ่งแจ้งว่า ระบบการเมืองที่สืบทอดจากการรัฐประหารต้องการกำจัดพวกผมให้สิ้นซากไปจากการเมืองไทย โดยใช้ทุกวิถีทาง รวมทั้งใช้กฎหมายและองค์กรอิสระเป็นเครื่องมือ"
นายธนาธรยังอ้างต่อว่า "แต่ปัญหาที่สำคัญมากกว่าคดีที่ผมโดนเพิ่มก็คือ ระบบการเมืองแบบที่เป็นอยู่นี้ ล้มละลายไปแล้ว ทั้งในแง่ความชอบธรรมทางการเมือง ทั้งในแง่การไม่มีประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการของประชาชน ระบบการเมืองนี้เป็นระบบที่ใช้อำนาจอย่างฉ้อฉล มุ่งกำจัดศัตรูทางการเมือง เพื่อกดทับอำนาจของประชาชน และหาผลประโยชน์ให้พวกพ้องไม่กี่คน ไม่ได้ยึดถือผลประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นที่ตั้ง...”
นายธนาธรยังระบุอีกว่า "ระบบการเมืองเช่นนี้ไม่ควรดำรงอยู่อีกแล้ว ซึ่งไม่ใช่แค่ตัว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือรัฐมนตรีบางคนต้องออกไปเท่านั้น แต่เราต้องแก้ไขระบบกฎหมาย ระบบราชการที่รวมศูนย์ ศาล กระบวนการยุติธรรม รวมทั้งองค์กรอิสระ ส.ว. แต่งตั้ง และรัฐธรรมนูญฉบับสืบทอดอำนาจ คสช.ทั้งหมดด้วย ไม่เช่นนั้นต่อให้เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีกกี่ครั้ง ประชาชนก็จะยังเจอปัญหาแบบเดิมอีกอยู่ดี”
สถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 ในไทยสัปดาห์ที่ผ่านมา ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ทยอยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเมื่อวันที่ 10 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุขแถลงมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 3 ราย รวมยอดติดเชื้อสะสม 53 ราย โดยรายใหม่เป็นหญิงไทย อายุ 41 ไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ แต่ใกล้ชิดผู้ป่วยรายที่ 45 ส่วนอีก 2 ราย เป็นสามีภรรยากัน โดยภรรยากลับจากประเทศอิตาลี
ต่อมา วันที่ 12 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุข แถลงพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ เป็นกลุ่มก้อน 11 ราย ทั้งหมดเป็นคนไทย โดยผู้ป่วยได้พบปะกับเพื่อนนักท่องเที่ยวชาวฮ่องกงที่มาเที่ยวเมืองไทยเมื่อวันที่ 21 ก.พ. หลังจากนั้น 4 วัน (25 ก.พ.) เริ่มป่วยด้วยอาการไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ไอ ในขณะที่มีอาการป่วย ได้นัดสังสรรค์กับเพื่อนสนิทอีก 2 ครั้ง (27 และ 29 ก.พ.) โดยมีพฤติกรรมดื่มสุราแก้วเดียวกัน สูบบุหรี่มวนเดียวกัน หลังจากนั้น ผู้ร่วมสังสรรค์เริ่มทยอยป่วย 7 คน และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยตรวจพบการติดเชื้อ 11 คน จากทั้งหมด 15 คน เป็นชาย 5 คน หญิง 6 คน
ต่อมา วันที่ 13 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุขแถลงพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มอีก 5 ราย โดย 2 ราย อยู่ในกลุ่มติดเชื้อเดิม 11 คน (จากทั้งหมด 15 คน) ส่วนอีก 3 ราย มีความเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยรายที่ 57 ซึ่งเป็นสตรีไปทำศัลยกรรมที่ประเทศเกาหลีใต้ กลับมาไปกินเลี้ยงกับเพื่อน 11 คนในผับยอดนิยมแห่งหนึ่ง โดยคนที่ 1 เป็นน้องชายผู้ป่วยคนที่ 57 คนที่ 2 เป็นเพื่อน ไปเที่ยวผับด้วยกัน ดื่มเหล้าแก้วเดียวกัน อยู่ใกล้ชิดกันในผับเป็นเวลานาน คนที่ 3 เป็นชายไทย ติดตามเพื่อนไปเที่ยวในกลุ่มเดียวกัน
ล่าสุด วันนี้ (14 มี.ค.) กระทรวงสาธารณสุขแถลงพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มอีก 7 ราย ส่งผลให้ยอดผู้ป่วยสะสมเพิ่มเป็น 82 ราย สำหรับผู้ติดเชื้อรายที่ 76 เป็นแม่ของผู้ป่วยในกลุ่มสังสรรค์งานปาร์ตี้ที่ติดเชื้อเมื่อวันก่อน, รายที่ 77-80 เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน โดยรายที่ 77 มีประวัติเดินทางกลับจากญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 มี.ค., รายที่ 78 เป็นลูกสาวรายที่ 77, รายที่ 79 เป็นลูกเขยรายที่ 77, รายที่ 80 เป็นหลานสาวของรายที่ 77 อายุ 4 ขวบ
ส่วนผู้ป่วยรายที่ 81 เป็นนักศึกษาหญิง อายุ 20 ปี ที่เดินทางกลับจากญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 14 ก.พ. เริ่มมีอาการป่วยเมื่อวันที่ 27 ก.พ. รายที่ 82 คือ นายแมทธิว ดีน นักแสดง พิธีกร และเจ้าของค่ายมวย เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 11 มี.ค. ด้วยอาการไข้ ไอ ปวดเมื่อย มีประวัติการสัมผัสโรค คือ มีเพื่อนเป็นชาวต่างชาติ และมีการสัมผัสกับชาวต่างชาติ ขณะนี้รักษาตัวที่โรงพยาบาลราชวิถี เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างติดตามคนใกล้ชิด
นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการติดตามผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อเฝ้าดูอาการ มีผู้เข้าเกณฑ์การสอบสวนโรค 36 ราย และมีการติดตามผู้ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อเหล่านี้อีกกว่า 100 ราย สรุปรวมขณะนี้ มีผู้ป่วยที่รักษาหาย 35 ราย ยังอยู่ในโรงพยาบาล 46 ราย และมีผู้ป่วยวิกฤต 1 ราย เสียชีวิตตาย 1 ราย รวมมีผู้ป่วยยืนยันสะสม 82 ราย และขณะนี้สถานการณ์โควิด-19 ของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 45 จากทั่วโลก
นพ.สุขุมกล่าวว่า กรณีนายแมทธิว ดีน นั้น เนื่องจากผู้ป่วยเป็นผู้ที่มีชื่อเสียง จึงมีประวัติผู้สัมผัสมากพอสมควร โดยในขณะนี้ สธ.อยู่ระหว่างการรวบรวมรายชื่อ และพบว่าบางรายที่สัมผัสได้เข้ารับการตรวจแล้ว และส่วนใหญ่ไม่พบว่ามีใครป่วย ทั้งนี้ ขอให้ผู้ที่ใกล้ชิดในช่วงระหว่างวันที่ 11-13 มี.ค. สังเกตอาการ กรณีมีไข้ หรือมีอาการทางระบบทางหายใจให้รีบพบแพทย์ทันที และระหว่างนี้ขอให้แยกสิ่งของเครื่องใช้จากผู้อื่น
นพ.สุขุมยังชื่นชมกรณีที่นายแมทธิว ดีน ออกมาประกาศต่อสาธารณชนว่าตนเองติดเชื้อโควิด-19 ว่า เป็นเรื่องที่ดี ทำให้ประชาชนตื่นตัวและผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยก็มีการระมัดระวังตนเอง ดีกว่าบางคนที่ซ่อนตัว เพราะจะยิ่งอันตราย ขอบคุณที่กล้าจะบอกว่าตัวเองป่วยเป็นโรค ต้องชื่นชม
2.รวบ "บอย ศรสุวีร์" โพสต์เฟซขายหน้ากากอนามัย 200 ล้านชิ้น อ้างรู้เท่าไม่ถึงการณ์-ของไม่มีจริง ด้าน "ธรรมนัส-คณะทำงาน" ปัดเอี่ยว!
จากกรณีที่โซเชียลมีเดียได้มีการแชร์โพสต์และคลิปเฟซบุ๊กไลฟ์ของชายคนหนึ่งซึ่งอ้างว่า มีหน้ากากอนามัย 200 ล้านชิ้นจำหน่าย และมีภาพถ่ายคู่กับคนสนิทคนติดตามรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำให้สังคมตั้งคำถามถึงการกักตุนหน้ากากอนามัยจำนวนมากดังกล่าว ซึ่งต่อมาทราบชื่อชายที่เฟซบุ๊กไลฟ์ดังกล่าวว่า คือ นายศรสุวีร์ ภู่รวีรัศวัชรี หรือบอย
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 9 มี.ค. นายพิตตินันท์ รักเอียด ซึ่งเป็นคณะทำงานของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกมายอมรับว่า ถ่ายภาพร่วมกับนายศรสุวีร์จริง แต่การไปพบดังกล่าวเป็นการไปพบธรรมดา ผ่านทางรุ่นน้องที่ชื่อกอล์ฟ อาชีพชิปปิ้ง ซึ่งวันนั้นกอล์ฟชวนตนไปดื่มกินที่โรงแรม และตนก็ทราบว่า มีการเจรจาซื้อขายหน้ากากอนามัยกันจริงระหว่างนายศรสุวีร์กับนายกอล์ฟ แต่ยืนยันว่า ตนไม่ได้มีส่วนรู้เห็นด้วย
ด้าน ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แถลงยืนยันเช่นกันว่า ไม่รู้จักนายศรสุวีร์ และไม่เคยเกี่ยวข้องกับธุรกิจของนายศรสุวีร์แต่อย่างใด ส่วนนายพิตตินันท์ เป็นคณะทำงานของตน เป็นอดีตผู้สมัคร ส.ส.สุราษฎร์ธานี เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ มีคะแนนเสียงดี อยากให้ทำงานในพื้นที่ต่อไปและขอมาสมัครเป็นคณะทำงาน ดูแลเฉพาะ จ.สุราษฎร์ธานี และว่า ข่าวที่เกิดขึ้น ได้ให้ทีมงานสอบถาม ปรากฏว่า ทั้งสองนัดเจอกันที่โรงแรมแห่งหนึ่งใน กทม. ทราบว่าเป็นการเจรจาเพื่อเอาหน้ากากไปแจกชาวบ้านในพื้นที่เขตเลือกตั้งของเขา ไม่มีการซื้อขายหน้ากาก จึงแจ้งทีมงานให้นายพิตตินันท์ไปร้องทุกข์กล่าวโทษกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวงจรนี้ เพื่อเอาผิดนายศรสุวีร์
ร.อ.ธรรมนัส ย้ำด้วยว่า “ผมไม่ได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการขายหน้ากาก ได้ประสานงานกับ สภ.หนองปรือ จ.ชลบุรี ให้ดำเนินการตรวจสอบโดยเร็ว หากกักตุนหน้ากากจริง ผมจะนำไปทลายเอง ยังได้ตั้งคณะตรวจสอบพฤติกรรมของนายพิตตินันท์ด้วย หากผิดจริง ไม่เอาไว้แน่นอน ใครก็ตามที่เป็นคณะทำงานผม หากไปเกี่ยวข้องกับการกักตุนหน้ากากอนามัย จะดำเนินคดีให้ถึงที่สุด จะไม่เลี้ยงเลยคนพวกนี้”
นอกจากนี้ ร.อ.ธรรมนัสยังได้ทำหนังสือถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ขอให้เร่งรัดตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นกรณีนายศรสุวีร์กักตุนและจำหน่ายหน้ากากอนามัยในราคาสูง และได้พาดพิงไปยังนายพิตตินันท์ ที่เป็นคณะทำงานของตน ทำให้ตนได้รับความเสียหาย พร้อมระบุว่า หากพบผู้ใดมีส่วนเกี่ยวข้อง ขอให้ดำเนินคดีตามกฎหมายให้ถึงที่สุด
ทั้งนี้ นอกจากนายพิตตินันท์ และ ร.อ.ธรรมนัส จะยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกับนายศรสุวีร์แล้ว ยังมีดาราชื่อดังอีก 2 คน ซึ่งปรากฏตัวในเฟซบุ๊กไลฟ์ของนายศรสุวีร์ด้วย คือ เล็ก ไอศูรย์ และพีท ทองเจือ ต่างออกมายืนยันว่า ไม่เกี่ยวข้องกับนายศรสุวีร์เช่นกัน
ด้านนายศรสุวีร์ หรือบอย ผู้เฟซบุ๊กไลฟ์มีหน้ากากอนามัย 200 ล้านชิ้น ได้เข้าพบตำรวจภูธรภาค 2 จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 9 มี.ค.โดยอ้างว่า กระทำการดังกล่าวโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และว่า ตนเป็นพ่อค้าออนไลน์ หลังเกิดเหตุ ได้ลบโพสต์หมดแล้ว พร้อมขอโทษประชาชนด้วยที่ทำให้เดือดร้อน และยืนยันว่า ตนไม่มีหน้ากากอนามัย 200 ล้านชิ้นแต่อย่างใด จากนั้น พล.ต.ท.มนตรี ยิ้มแย้ม ผบช.ภ.2 ได้นำตัวนายศรสุวีร์ มายังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อเข้าให้ข้อมูลกับ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รอง ผบ.ตร.
ซึ่งต่อมา นายศรสุวีร์ กล่าวอีกว่า ภาพหน้ากากอนามัยที่โพสต์ลงเฟซบุ๊ก ตนก๊อปปี้มาจากคนอื่น เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ เพราะทำอาชีพนายหน้า หน้ากากอนามัยไม่มีอยู่จริง แต่ภาพโรงงานที่ไลฟ์สดลงโซเชียลมีอยู่จริง เปิดอย่างถูกต้อง ทำไปเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนที่เข้ามาซื้อของ ที่ทำไปทั้งหมดเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พร้อมอ้างว่า คลิปที่โพสต์เป็นช่วงที่หน้ากากอนามัยยังไม่ขาดแคลน
ทั้งนี้ มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ได้เข้าค้นอาคารไทยเฮลท์ เขตหนองแขม กทม.ที่นายศรสุวีร์อ้างว่า ใช้เก็บสินค้ากว่า 200 ล้านชิ้น จากการตรวจสอบพบว่า มีหน้ากากอนามัยอยู่เพียง 12,500 ชิ้น ซึ่งหน้ากากอนามัยดังกล่าว นายพันธ์ยศ อัครอมรพงศ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคภราดรภาพ เป็นผู้สั่งทำจากโรงงานแห่งหนึ่ง และแนวทางการสืบสวนพบว่า นายพันธ์ยศติดต่อซื้อขายหน้ากากอนามัยกับนายศรสุวีร์จริง ซึ่งนายศรสุวีร์รับว่าได้ซื้อขายหน้ากากอนามัยจากนายพันธ์ยศเพียง 2 แสนชิ้น
ด้านนายพันธ์ยศ ยอมรับว่า อาคารดังกล่าวเป็นของตน เคยเปิดเป็นบริษัท ไทยเฮลท์ ที่เป็นธุรกิจอาหารเสริมความงามเพื่อสุขภาพ แต่ขณะนี้ปิดกิจการไปแล้ว เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ และว่า รู้จักนายศรสุวีร์ หรือบอยได้ 1 เดือน หลังจากนั้นบอยได้ประสานขอให้ตนหาหน้ากากอนามัยเพื่อจะนำมาบริจาค 1 ล้านชิ้น แต่อยู่ระหว่างคุยรายละเอียด ส่วนเหตุที่บอยให้ตนหาหน้ากากอนามัยให้ เพราะตนทำธุรกิจกับชาวจีน ช่วงโควิด-19 เริ่มระบาด ทางการจีนติดต่อให้ตนเป็นธุระจัดหาหน้ากากอนามัยในไทยเพื่อนำไปช่วยประชาชนที่จีน ส่วนที่บอกว่า ตนรู้จักหรือเกี่ยวข้องกับ ร.อ.ธรรมนัสนั้น ขอปฏิเสธว่าไม่จริง ส่วนที่ในโซเชียลมีภาพกล่องสินค้าหน้ากากอนามัยจำนวนมากอยู่ในออฟฟิศตนนั้น ยอมรับว่า มีจริง แต่ไม่ได้เป็นการกักตุน พอสินค้าเข้ามาก็ระบายออก
ล่าสุด (13 มี.ค.) ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ เผยความคืบหน้าการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีนายพิตตินันท์ รักเอียด คณะทำงาน เกี่ยวข้องกับการกักตุนหน้ากากอนามัยหรือไม่ว่า ผลสรุป นายพิตตินันท์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว แต่ก็ได้สั่งปลดออกจากการเป็นคณะทำงานแล้ว ในฐานะที่ไม่ระมัดระวัง คิดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคงเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อย่างไรก็ตาม ผลสรุปทั้งหมด ตำรวจจะนำไปขยายผล ซึ่งขณะนี้มีขยายผลไปจนถึงต้นตอหมดแล้ว นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) จะเข้าไปดำเนินการตรวจสอบด้านบัญชี และยึดทรัพย์ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต่อไป
3.ครม. คลอดมาตรการเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 ช่วยทั้ง ปชช.-ผู้ประกอบการ!
เมื่อวันที่ 10 มี.ค. นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยหลังประชุม ครม.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการด้านเศรษฐกิจดูแลผลกระทบโควิด-19 ระยะที่ 1 โดยพิจารณาดูแลทั้งผู้ประกอบการและประชาชน โดยมาตรการสำหรับผู้ประกอบการ ประกอบด้วย 1.สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท ปล่อยกู้ 20 ล้านบาทต่อราย คิดดอกเบี้ย 2% ต่อปี เป็นเวลา 2 ปี โดยเงินที่นำมาปล่อยกู้ ยืมมาจากสถาบันการเงินของรัฐ ไม่ได้ใช้จากงบประมาณ
2.มาตรการพักเงินต้น ลดดอกเบี้ย ขยายเวลาชำระหนี้แก่ลูกหนี้แบงก์รัฐ ธนาคารแห่งประเทศไทย ผ่อนปรนหลักเกณฑ์บางอย่างเพื่อให้สถาบันการเงินช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ 3.กองทุนประกันสังคมให้เงินมา 3 หมื่นล้านบาท เพื่อนำไปปล่อยกู้ให้สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม คิดดอกเบี้ย 3% ต่อปี นาน 3 ปี
นอกจากนี้ยังมีมาตรการด้านภาษี ประกอบด้วย 1.คืนสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการในประเทศ ลดอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย เหลือ 1.5% จากเดิม 3% เริ่ม เม.ย.-ก.ย.2563 2.เอสเอ็มอี นำรายจ่ายดอกเบี้ยจากการกู้ซอฟท์โลนมาหักลดหย่อนภาษี 1.5 เท่า เริ่ม เม.ย.-ธ.ค.2563 3.ส่งเสริมสถานภาพการจ้างงาน โดยให้เอสเอ็มอีนำรายจ่ายค่าจ้าง ในธุรกิจเอสเอ็มอีหักรายจ่ายได้ 3 เท่า 4.เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ให้กับผู้ประกอบการภายในประเทศ ถ้ายื่นแบบทางอินเทอร์เน็ตคืนภายใน 15 วัน หากยื่นกับสรรพากร คืนภายใน 45 วัน เพื่อคืนสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ
ส่วนมาตรการอื่นๆ ประกอบด้วย ลดค่าน้ำ ค่าไฟ คืนเงินประกันมิเตอร์ โดยให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงพลังงานไปพิจารณาเงื่อนไขที่เหมาะสม, ลดเงินสมทบประกันสังคมของนายจ้างและลูกจ้าง กระทรวงแรงงานจะไปพิจารณาตามความเหมาะสม อาจลดให้ 3-6 เดือน, ขอความร่วมมือส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจลดค่าเช่า ค่าธรรมเนียมให้ผู้ประกอบการ เช่น ลดค่าเช่าที่ราชพัสดุ, มาตรการช่วยตลาดหุ้น เพิ่มวงเงินประชาชนที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อการออม (SSF) สามารถมาหักลดหย่อนภาษีเพิ่มอีก 2 แสนบาท จากเดิมได้ 2 แสนบาท เป็น 4 แสนบาท เป็นเวลา 3 เดือน เริ่ม เม.ย.-มิ.ย.2563 ถ้ามีความจำเป็น พร้อมจะพิจารณาขยายเวลาเพิ่มให้อีก
นอกจากนี้ ครม.ยังพิจารณาให้กำหนดวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท เพื่อเตรียมการไว้ช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เช่น ถูกเลิกจ้าง สถานประกอบการลดวันทำงานของลูกจ้างลง การเสริมศักยภาพของบุคลากร ซึ่งกระทรวงการคลังจะหารือกับสำนักงบประมาณในการกำหนดวงเงินและขอบเขตในการใช้เงินต่อไป และมาตรการสุดท้ายคือ ครม.เห็นชอบยกเว้นอากรนำขาเข้าของวัตถุดิบเกี่ยวกับหน้ากากอนามัยเป็นเวลา 6 เดือน นับจาก ครม.มีมติเป็นต้นไป
ด้านนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า หรือค่ามิเตอร์ไฟฟ้า มีอัตราตั้งแต่ 300 บาท, 2,000 บาท, 3,000 บาท และ 6,000 บาท แล้วแต่ขนาดมิเตอร์ โดยจะมีประชาชนได้รับคืน 21.5 ล้านราย วงเงิน 3 หมื่นบ้านบาท เริ่มทยอยคืนตั้งแต่สิ้นเดือน มี.ค.นี้ ส่วนวิธีการคืนนั้น หน่วยงานที่รับผิดชอบจะไปพิจารณาว่า จะคืนอะไร ซึ่งนายกฯ ให้เน้นรายย่อยหรือมิเตอร์ขนาดเล็กเป็นอันดับแรก เพื่อให้กลุ่มผู้ได้รับเงินนำไปลดภาระค่าครองชีพ
ในเวลาต่อมา นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานกรรมการประกันสังคม เผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการประกันสังคมและที่ปรึกษา เมื่อวันที่ 10 มี.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบในหลักการให้ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมให้กับนายจ้างและผู้ประกันตน ทั้งมาตรา 33 และมาตรา 39 โดยนายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ปัจจุบันจ่ายฝ่ายละ ร้อยละ 5 ของค่าจ้าง ลดเหลือฝ่ายละ ร้อยละ 4 ของค่าจ้าง
สำหรับผู้ประกันตนเองโดยสมัครใจ มาตรา 39 ปัจจุบันจ่าย 432 บาทต่อเดือน ลดเหลือ 336 บาทต่อเดือน การลดอัตราเงินสมทบดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลา 6 เดือน นับแต่งวดค่าจ้างประจำเดือน มี.ค. ถึง ส.ค. 2563 ทั้งนี้ การปรับลดอัตราเงินสมทบดังกล่าวจะไม่กระทบต่อสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับแต่อย่างใด และสามารถช่วยเหลือลดค่าใช้จ่ายในการส่งเงินสมทบให้กับนายจ้าง และผู้ประกันตน เป็นเงินประมาณ 17,000 ล้านบาท
4.ศาลพิพากษาประหารชีวิต “นปช.” ปาระเบิดใส่เวที กปปส. ดับ 1 เจ็บ 26 แต่จำเลยสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต!
เมื่อวันที่ 12 มี.ค. ศาลอาญาได้อ่านคำพิพากษา คดีปาระเบิดใส่กลุ่ม กปปส. ซึ่งพนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 5 เป็นโจทก์ฟ้องนายกฤษฎา ไชยแค หรือ ดา อายุ 49 ปี แนวร่วม นปช. เป็นจำเลย ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, กระทำให้เกิดการระเบิดจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น, มีและใช้วัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้มีและให้ใช้ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย, มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต, พาอาวุธปืนและวัตถุระเบิดติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์, ยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมชน และฝ่าฝืนประกาศ ข้อกำหนด ที่ห้ามนำอาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิดออกนอกเคหสถาน ตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551
คดีนี้ โจทก์ฟ้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2557 เวลากลางวัน ขณะเกิดเหตุ นายถาวร เสนเนียม แกนนำกลุ่ม กปปส. ได้ตั้งเวทีปราศรัยโจมตีการทำงานของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จำเลยซึ่งเป็นแนวร่วมฮาร์ดคอร์ กลุ่ม นปช.ได้ใช้ระเบิดสังหารขว้างใส่เวที กปปส. จนมีผู้ชุมนุมเสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บอีก 26 ราย ก่อนหลบหนีไปประเทศเพื่อนบ้าน และต่อมา ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามจับกุมได้ ก่อนแจ้งข้อหาดำเนินคดี ซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพ
ด้านศาลพิเคราะห์คำเบิกความพยานโจทก์ และพยานหลักฐานอื่นๆ ประกอบคำรับสารภาพแล้ว เห็นว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องจริง โดยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรม โดยศาลพิพากษาประหารชีวิตจำเลย แต่คำให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยไว้ตลอดชีวิต
5.กกต.มีมติแจ้งความเอาผิด “ธนาธร” ฐานลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งที่รู้อยู่แล้วไม่มีสิทธิจากกรณีถือหุ้นสื่อ ด้านเจ้าตัวรีบโวย!
เมื่อวันที่ 11 มี.ค. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกเอกสารชี้แจงว่า ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 20 พ.ย.2562 ว่า สมาชิกภาพ ส.ส.ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) เนื่องจากนายธนาธรเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ซึ่งประกอบกิจการสื่อมวลชนอยู่ในวันที่พรรค อนค.ยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เมื่อวันที่ 6 ก.พ.2562 ต่อ กกต.นั้น
เมื่อวันที่ 10 มี.ค.ที่ผ่านมา กกต.ได้พิจารณาข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน และพฤติการณ์ในสำนวนการไต่สวน ประกอบคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องดังกล่าวแล้ว เห็นว่า นายธนาธรเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท วี-ลัค มีเดีย ซึ่งประกอบกิจการสื่อมวลชนอยู่ในวันที่ 6 ก.พ.2562 โดยเป็นวันที่พรรค อนค.ยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อต่อ กกต. อันเป็นลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.โดยนายธนาธรรู้อยู่แล้วว่า ตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ได้สมัครรับเลือกตั้งหรือทำหนังสือยินยอมให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อเพื่อสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.2561 มาตรา 151 จึงมีมติให้สำนักงาน กกต.ดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาต่อไป
ทั้งนี้ โทษตามมาตรา 151 คือ จำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี ปรับตั้งแต่ 2 หมื่นถึง 2 แสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 20 ปี
ด้านนายธนาธรไม่พอใจ จึงได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กโจมตี กกต.รวมไปถึงกระบวนการยุติธรรม และรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ว่า “เมื่อวานนี้มีข่าว กกต.แจ้งความดำเนินคดีอาญากับผมเพิ่มเติมอีกหนึ่งคดีจากการลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว โดยที่รู้อยู่แล้วว่าไม่มีสิทธิ เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามจากการถือหุ้นวีลัค ตามแนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คดีนี้แสดงให้เห็นอย่างโจ่งแจ้งว่า ระบบการเมืองที่สืบทอดจากการรัฐประหารต้องการกำจัดพวกผมให้สิ้นซากไปจากการเมืองไทย โดยใช้ทุกวิถีทาง รวมทั้งใช้กฎหมายและองค์กรอิสระเป็นเครื่องมือ"
นายธนาธรยังอ้างต่อว่า "แต่ปัญหาที่สำคัญมากกว่าคดีที่ผมโดนเพิ่มก็คือ ระบบการเมืองแบบที่เป็นอยู่นี้ ล้มละลายไปแล้ว ทั้งในแง่ความชอบธรรมทางการเมือง ทั้งในแง่การไม่มีประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการของประชาชน ระบบการเมืองนี้เป็นระบบที่ใช้อำนาจอย่างฉ้อฉล มุ่งกำจัดศัตรูทางการเมือง เพื่อกดทับอำนาจของประชาชน และหาผลประโยชน์ให้พวกพ้องไม่กี่คน ไม่ได้ยึดถือผลประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นที่ตั้ง...”
นายธนาธรยังระบุอีกว่า "ระบบการเมืองเช่นนี้ไม่ควรดำรงอยู่อีกแล้ว ซึ่งไม่ใช่แค่ตัว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือรัฐมนตรีบางคนต้องออกไปเท่านั้น แต่เราต้องแก้ไขระบบกฎหมาย ระบบราชการที่รวมศูนย์ ศาล กระบวนการยุติธรรม รวมทั้งองค์กรอิสระ ส.ว. แต่งตั้ง และรัฐธรรมนูญฉบับสืบทอดอำนาจ คสช.ทั้งหมดด้วย ไม่เช่นนั้นต่อให้เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีกกี่ครั้ง ประชาชนก็จะยังเจอปัญหาแบบเดิมอีกอยู่ดี”