เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ที่ปักกิ่ง สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า จีนเร่งขยับขยายและเพิ่มพูนประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากยาและวิธีบำบัดรักษาในการ รักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) เพื่อสกัดกั้นกรณีอาการไม่รุนแรงยกระดับสู่อาการรุนแรง รวมถึงรักษาชีวิตผู้ป่วยหนักขั้นวิกฤต
โทซิลิซูแมบ (Tocitizumab ) ที่ปกติใช้รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ได้รับการบรรจูเข้าแนวทางการวินิจฉัยและรักษา โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ฉบับปรับปรุงล่าสุดของจีน เนื่องจากพบว่ามีประสิทธิภาพในการสกัดกั้นการเหนี่ยวนำพายุ แห่งการอักเสบ (inflammatory storm)
โจวลี รองเลขาธิการและนักวิชาการสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (CAS) แถลงข่าวว่า ยาโทซิลิซูแมบถูกใช้ ทดลองทางคลินิกในผู้ป่วยอาการรุนแรง 20 ราย ช่วยให้อุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วยทุกรายลดลงใน 1 วัน โดยผู้ป่วย 19 รายออกจากโรงพยาบาลได้ใน 2 สัปดาห์
ปัจจุบันยาโทซิลิซูแมบอยู่ระหว่างการทดลองทางคลินิกในโรงพยาบาล 14 แห่งของเมืองอู่ฮั่น ศูนย์กลางการระบาดของไวรัส โดยมีผู้ป่วยอาการรุนแรงได้รับการรักษาด้วยยาโทซิลิซูแมบทั้งหมด 272 ราย เมื่อนับถึงวันพฤหัสบดี (5 มี.ค.) ที่ ผ่านมา
อู่หยวนปืน ผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาสังคม สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีของจีน ระบุว่า นอกจากยาโทซิลิซแมบ ยังมีการรักษาด้วยยาคลอโรวิน ฟอสเฟต (Chloroquine Phosphate) ยาแพทย์แผนจีน (TCM) และน้ำเลือด
นอกจากนั้น จีนยังผลักดันการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอันก้าวหน้าอย่างการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ (stem cell) และเทคโนโลยีโมโนโคลนอลแอนติบอดี (monoclonal antibody) ในการรักษาผู้ป่วยอาการรุนแรงด้วย
ซุนเยี่ยนหรง รองหัวหน้าศูนย์การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติจีน (CNCBD) สังกัดกระทรวงฯ เผยว่า ยาคลอโรควิน ฟอสเฟต ถูกใช้รักษาผู้ป่วยอาการหนักขั้นวิกฤตในอู่ฮัน 285 ราย และไม่พบอาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์ระดับร้ายแรง ที่ชัดเจน
ส่วน ยาเรมเดซิเวียร์ (Rerndesivir) อยู่ระหว่างการทดลองทางคลินิก 2 รายการ ขณะที่การผสมผสานแพทย์แผนจีนกับ แผนตะวันตกแสดงประสิทธิผลทางการรักษาที่ดี ซึ่งสถิติพบร้อยละ 90 ของผู้ป่วยในมณฑลหูเปยได้รับการรักษาด้วย แพทย์แผนจีน
ด้านการรักษาด้วยน้ำเลือดที่มีโปรตีนภูมิคุ้มกัน (convalescent plasma) ซึ่งได้มาจากผู้ป่วยที่หายดีแล้ว มีความคืบหน้า เช่นกัน โดยปัจจุบันผู้ป่วยอาการรุนแรงได้รับการรักษาด้วยน้ำเลือดและแสดงประสิทธิผลทางการรักษาที่ดี 154 ราย
โจว เสริมว่า อดีตผู้ป่วยทั้งหมด 919 ราย ได้บริจาคน้ำเลือดราว 294,450 มิลลิลิตร โดยเฉพาะมณฑลหูเป่ย มีอดีตผู้ป่วย 450 ราย บริจาคน้ำเลือดมากกว่า 1.6 แสนมิลลิลิตร เมื่อนับถึงวันที่ 5 มี.ค. ถือเป็นข้อมูลที่มีค่าต่อการรักษาผู้ป่วยรายอื่นๆ และการพัฒนาแอนติบอดี
ซุน เพิ่มเติมว่า มีการทดลองทางคลินิกของการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ในโรงพยาบาลบางแห่งของกรุงปักกิ่ง และนครฮาร์ บิน เมืองเอกของมณฑลเฮยหลงเจียงทางตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งผลเบื้องต้นพบว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนต่อไปคณะนักวิจัยจะเสริมสร้างการบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแผนตะวันตก ผสมผสานการรักษาแบบต้าน ไวรัสกับการรักษาแบบปรับระบบภูมิคุ้มกัน และดำเนินความพยายามทุกวิถีทางที่ช่วยให้ผู้ป่วยหายที่เพิ่มขึ้น
โจว ทิ้งท้ายถึงกรณีการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ว่า ต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม ปัจจุบันจับตาดูระดับการกลายพันธุ์ของไวรัสอย่างใกล้ชิด และดำเนินการวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งยังไม่มีผลกระทบต่อการพัฒนายา แอนติบอดี และวัคซีน