กรณีที่ถูกแอบอ้างชื่อว่า “การแอบอ้างชื่อผู้อื่นไปใช้สำหรับโฆษณาผลิตภัณฑ์ โดยที่ผู้นั้นไม่มีส่วนรู้เห็น มีโอกาสสูงที่จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพ ทั้งนี้กล่าวว่าการโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีความผิดทางกฎหมาย
วันนี้ (7 ก.พ.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีข่าวปรากฎในสื่อออนไลน์ต่างๆ ในประเด็นเรื่อง ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดไขมันหน้าท้องได้ ภายใน 1 คืน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อมูลกับ แพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข่าวดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มีผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารเสริม และเครื่องดื่มลดน้ำหนัก ได้นำภาพของ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ไปใช้เพื่อก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือแก่ผลิตภัณฑ์นั้น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ขอยืนยันว่า ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับผลิตภัณฑ์ตามที่แอบอ้างโดยปกติแล้วสมาชิกแพทยสภาจะไม่รับงานโฆษณาสินค้า เพราะขัดต่อระเบียบข้อบังคับของแพทยสภา
ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา กล่าวถึงกรณีที่ถูกแอบอ้างชื่อว่า “การแอบอ้างชื่อผู้อื่นไปใช้สำหรับโฆษณาผลิตภัณฑ์ โดยที่ผู้นั้นไม่มีส่วนรู้เห็น มีโอกาสสูงที่จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพ เพราะถ้าผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้ดีต่อสุขภาพจริง จะต้องไม่แอบอ้างชื่อผู้อื่น ถ้าผู้ใช้หลงเชื่อ เข้าใจว่าดีจริงตามที่โฆษณา และนำไปใช้ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ สิ่งเหล่านี้อยากให้สังคมไทยได้ตระหนัก อยากให้คนเหล่านี้หยุดการหลอกลวง หยุดการทำร้ายคนไทยด้วยกัน ยิ่งถ้าบริโภคแล้วหากเกิดอันตรายถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต เราคงจะเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น”
ทั้งนี้กล่าวว่าการโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีความผิดทางกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท การโฆษณาสรรพคุณโอ้อวดเกิน จริง หรือหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากผู้บริโภคพบเห็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพใดที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ขอให้ร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ ผ่านทาง Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ