จีนเพิ่มปริมาณการปล่อยน้ำจากแม่น้ำล้านช้างจาก 850 ลบ.ม.ต่อวินาที เป็น 1,000 ลบ.ม.ต่อวินาที เพื่อเติมน้ำในแม่น้ำโขง บรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำตามความต้องการของไทย แม้ว่าจีนก็เผชิญภัยแล้งเช่นกัน
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019 เป็นต้นมา น้ำฝนที่ตกลงมาในลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงได้ลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นผลที่มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ทำให้เกิดสถานการณ์ภัยแล้งอย่างรุนแรงในประเทศจีนและอีกหลายประเทศลุ่มแม่น้ำโขง สำหรับแม่น้ำล้านช้างในประเทศจีน น้ำฝนที่ตกลงมาโดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 728 มิลลิเมตร ลดลง 34 % จากปีปกติ นับจนถึงวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2020 ในมณฑลยูนนานของประเทศจีน น้ำแห้งในแม่น้ำ 15 สายและเขื่อน 43 แห่ง พื้นที่เกษตรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งรวมแล้วประมาณ 4.5 แสนไร่ ประชาชน 2.9 แสนคนและสัตว์เลี้ยงตัวใหญ่ได้ประสบปัญหาในเรื่องน้ำดื่ม ระดับน้ำในเขื่อนต่างๆ ที่อยู่ในต้นน้ำเป็นระดับน้ำที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในประวัติศาสตร์ ถ้าสถานการณ์ภัยแล้งยืดเยื้อต่อไป มณฑลยูนนานก็จะเผชิญกับสถานการณ์ร้ายแรงที่ไม่มีน้ำใช้สอย อย่างไรก็ตาม ฝ่ายจีนได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการรักษาปริมาณน้ำที่ปล่อยจากแม่น้ำล้านช้างอย่างชอบด้วยเหตุผล
เมื่อคำนึงถึงความปรารถนาของฝ่ายไทย พร้อมกับสถานการณ์ภัยแล้งอย่างรุนแรงในลุ่มแม่น้ำโขง ฝ่ายจีนตัดสินใจจะเพิ่มปริมาณการปล่อยน้ำลงจากแม่น้ำล้านช้างตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม จากปริมาณ 850 ลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)ต่อวินาทีเพิ่มเป็น 1,000 ลบ.ม.ต่อวินาที เพื่อเป็นการตอบรับความต้องการอย่างเร่งด่วนของประเทศไทยและประเทศต่างๆ ลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งครั้งนี้ที่ฝ่ายจีนได้เพิ่มปล่อยน้ำอย่างเป็นพิเศษอีกครั้ง ในขณะที่จีนเองกำลังเผชิญกับภัยแล้งอย่างร้ายแรง ก็เป็นการดำเนินการพิเศษเท่าที่จะทำได้ เมื่อคำนึงถึงมิตรภาพจีน-ไทยที่เป็นครอบครัวเดียวกัน และขจัดอุปสรรคของตนเองอย่างสุดความสามารถ
ปัจจุบันนี้ สถานการณ์ภัยแล้งในลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงยังต่อเนื่องกันอยู่ ฝ่ายจีนยินดีที่จะร่วมกับประเทศต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำโขง เพิ่มการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารด้านทรัพยากรน้ำ กระชับความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจในการฟันฝ่าอุปสรรคที่ร่วมเผชิญอยู่ในปัจจุบัน