xs
xsm
sm
md
lg

“สามารถ” ผช.รมต.ยธ. เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือสร้างความยุติธรรมเชิงรุก สร้างสุขให้ประชาชน ตามนโยบายของ รมว.ยุติธรรม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากกรณีสวนดุสิตโพลได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,365 คน โดยร้อยละ 67.69% เห็นว่าความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินช่วง 1 ปีที่ผ่านมาแย่ลง ผู้ตอบแบบสำรวจร้อยละ 18.27% มองว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากคนขาดคุณธรรม จริยธรรม ร้อยละ 14.55% เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มงวด ซึ่งประชาชนร้อยละ 40% วิตกกังวลกับปัญหาดังกล่าว โดยเรื่องนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รวมทั้ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุววรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาดังกล่าว เพราะเป็นความเชื่อมั่นของพ่อแม่พี่น้องประชาชน

ทั้งนี้ ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รัฐต้องคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และทรัพย์สินของประชาชน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เน้นย้ำให้ข้าราชการกระทรวงยุติธรรมดำเนินงาน ภายใต้ยุติธรรมเชิงรุก สร้างสุขให้ประชาชน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชนอย่างเสมอภาคทุกชนชั้นอย่างเท่าเทียม

วันนี้ (20 ม.ค.) นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม ประกอบด้วย กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมบังคับคดี กรมคุ้มครองสิทธิ์ และ สำนักงานกิจการยุติธรรม เพื่อหารือมาตรการระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว เพื่อนำเข้าที่ประชุมกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยมีเจ้าหน้าที่เข้าร่วมประกอบด้วย น.ส.จรวยพร สุขสุทิตย์ หัวหน้ากลุ่มกฎหมาย น.ส.ภาพันธ์ รัตนชุม นักวิชาการยุติธรรมชำนาญการพิเศษ นายวรพันธ์ กลัดหว่าง นักวิชาการยุติธรรมชำนาญการ น.ส.ศิรินทรา แสงศร นักวิชาการยุติธรรมปฏิบัติการ นายศุภกิต วิระปัญญากุล นักวิชาการยุติธรรมปฏิบัติการ นายปารเมศ ชูชาติ นิติกร นายอธิคุณ เพชรเลิศ เจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการ นางอัฐภิญญา ปานจันทร์ นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ น.ส.เพ็ญสิริ แก้วสาร นิติกรชำนาญการ

โดยร่วมกันหารือเรื่องปัญหาการฉ้อโกงทรัพย์สินของประชาชน ที่ประชุมได้มีมติมอบหมายให้ผู้แทนกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเตรียมข้อมูล รายละเอียดขั้นตอนกระบวนการดำเนินคดีและระยะเวลา ตั้งแต่เริ่มกระบวนการยุติธรรมจนถึงสิ้นสุดใช้ระยะเวลายาวนานแค่ไหนอย่างไรบ้าง โดยให้นำคดีบลิสเชอร์มาเป็นตัวอย่าง รวมถึงให้นำข้อมูลที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นของข้าราชการและประชาชนในพื้นที่ 4 จังหวัดในคราวประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นการยกร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในลักษณะแชร์ลูกโซ่ โดยเฉพาะความเห็นของประชาชนที่เสนอให้ใช้วิธีการคุมประพฤติผู้พ้นโทษคดีแชร์ลูกโซ่ที่ฉ้อโกงประชาชนจนกว่าจะหาเงินมาชดใช้เงินค่าเสียหายจนครบ พร้อมให้ทำแผ่นภาพบรรยายข้อมูลอธิบายการจำคุกคดีแม่ชม้อยที่ถูกศาลตัดสินจำคุกกว่าแสนห้าหมื่นปี แต่ติดจริงเพียงแค่ 7 ปี และเมื่อออกมาแล้วไม่ชำระเงินคืนให้กับประชาชน

ทั้งที่จริงแล้วสามารถตามสืบทรัพย์เพื่อนำมาบังคับคดีต่อได้อีก ตรงนี้ประชาชนยังขาดการรับรู้ จึงต้องสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ทั้งนี้ที่ประชุมยังมอบหมายให้กรมสอบสวนคดีพิเศษจัดเตรียมข้อมูลการดำเนินคดีแชร์ลูกโซ่ที่สำคัญพร้อมข้อมูลความเสียหายและการตรวจยึดทรัพย์สินจากผู้กระทำผิดมาได้ในแต่ละคดีมีจำนวนเงินเท่าไร และได้มอบหมายกรมบังคับคดีทำแผ่นภาพบรรยายขั้นตอน กระบวนการ และระยะเวลาการดำเนินการบังคับคดี มาให้ประชาชนได้เข้าใจว่า กระบวนการขั้นตอนติดขัดตรงไหนอย่างไรบ้าง ช้าตรงไหน เพราะผู้เสียหายทุกคนหวังว่าจะได้ทรัพย์สินของตนคืน ตรงนี้ต้องทำให้สังคมเข้าใจ สร้างการรับรู้ ถ้ากระบวนการช้า รัฐธรรมนูญมาตรา 77 ก็ให้อำนาจ ซึ่งตรงนี้ทางรัฐบาลได้มอบให้กระทรวงยุติธรรมดูเรื่องการพัฒนากฎหมาย ปรับปรุงกฏหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน และ สังคม

โดยที่ประชุมได้มอบหมายเพิ่มเติมให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจัดทำรายละเอียดมาตรการการป้องกันปราบปรามระยะสั้น กลาง ยาว โดยข้อมูลทั้งหมดพร้อมให้ส่งให้สำนักกิจการยุติธรรมนำไปทำแผ่นภาพบรรยายเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำเสนอต่อที่ประชุมกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2563 นี้ เวลา 09.00 น. ที่ตึกบัญชาการ 1 ชั้น 3 เพราะมีในวาระประชุมในวาระที่ 3 ทั้งนี้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีทุกกระทรวงได้ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของพ่อแม่พี่น้องประชาชนในทุกเรื่องและทุกมิติ โดยปัญหาการฉ้อโกงประชาชนจะพิจารณาต่อหลังจากการแก้ปัญหาภัยแล้ง










กำลังโหลดความคิดเห็น