เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๓ ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งประธานองคมนตรีคนใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นประธานองคมนตรี ในอันดับต่อจาก พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒ และพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ได้รักษาการในตำแหน่งนี้ต่อมา
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบก และ อดีตนายกรัฐมนตรีก่อนเข้ารับตำแหน่งสูงสุดของชีวิตในวันนี้ นับว่าเป็นบุคคลที่มีเส้นทางชีวิตที่ไม่ธรรมดา เพราะในช่วงระยะเวลาที่ท่านไต่เต้าในตำแหน่งราชการทางทหารนั้น อยู่ในช่วงที่ประเทศไทยมีความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง และถือว่าลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นภัยอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงของประเทศและสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ก็เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า บิดาของท่านนั้น เป็นบุคคลสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มีตำแหน่งเป็นเสนาธิการกองทัพปลดแอกประชาชนไทย มีชื่อเรียกกันในหมู่สมาชิกว่า “สหายคำตัน” หรือ “ลุงคำตัน” จากที่เคยมียศพันโทในกองทัพบกไทย
สารานุกรมเสรีของวิกิพีเดีย ได้กล่าวถึงประวัติของสหายคำตันไว้ว่า
“พันโท พโยม จุลานนท์ เป็นทหาร, นักการเมือง, หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย สมรสกับสมโภช ท่าราบ มีบุตร ๓ คน คือ นางอัมพร ทีขะระ, พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี และนภาวดี ศิริภักดี
พโยมเป็นบุตรของ พระยาวิเศษสิงหนาถ (ยิ่ง จุลานนท์) แห่งเมืองเพชรบุรี ต้นตระกูลจุลานนท์ และเป็นบุตรเขยของ พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) พโยมกลายเป็นพันธมิตรของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ในคราวรัฐประหารพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์และปรีดี พนมยงค์ ในปี ๒๔๙๐ หลังจากนั้นพโยมก็ไม่เห็นด้วยกับหัวหน้าคณะรัฐประหารและเริ่มปฏิวัติล้มเหลว พโยมจึงต้องลี้ภัยไปยังประเทศจีน ผ่านทางอำเภอแม่สาย และประเทศพม่า
พโยมกลับมาประเทศไทยอีกครั้งในปี พ.ศ.๒๕๐๐ เพื่อลงเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมีนาคม และได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี ในปีเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐประหารรัฐบาลจอมพล ป. พโยมก็ได้ลาครอบครัวไปปฏิบัติการใต้ดิน โดยใช้ชื่อ สหายตู้คำตัน ภายหลังจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พโยมได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาธิการกองทัพปลดแอกประชาชนไทย”
พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) ก็คือแม่ทัพคนสำคัญของ “กบฏวรเดช” ที่เสียชีวิตในการรบแตกขั้นแตกหักที่สถารถไฟหินลับ สระบุรี ผู้สังหารก็คือ ร้อยโท ตุ๊ จารุเสถียร ซึ่งต่อมาก็คือ จอมพล ประภาส จารุเสถียร
จากเรื่อง “พ.ท.โพยม จุลานนท์ “สหายคำคัน” ตำนานผู้กล้าเลือดเมืองเพชร” ของหนังสือพิมพ์ “เพชรภูมิ” ของจังหวัดเพชรบุรี กล่าวถึงเหตุที่ พ.ท.โพยมต้องลี้ภัยออกจากประเทศไทยไปว่า ในปี ๒๔๙๑ ที่ทหารกลุ่มหนึ่งไม่พอใจกลุ่มทหารการเมืองที่เข้ายึดอำนาจ นำจอมพล ป.พิบูลสงครามที่เพิ่งพ้นคดีอาชญากรสงคราม กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี จึงวางแผนทำรัฐประหารโดยจะเข้าจับพลเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ บุคคลที่กุมอำนาจทางการทหารในขณะนั้นในวันที่มีพิธีแต่งงานกับนางสาววิจิตรา ชลทรัพย์ แต่ความแตกเสียก่อน จึงถูกล้อมจับขณะประชุมกันอยู่ในศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม พล.ต.เนตร เขมะโยธิน หัวหน้าคณะถูกจับ แต่ พ.ท.โพยมหนีไปได้ แต่พอถึงสมัยประชุมสภา พ.ท.โพยมในฐานะ ส.ส.จังหวัดเพชรบุรี ก็มาประชุมเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น และได้เกิดปะทะคารมกับ พล.ต.ต.เผ่า ศรียานนท์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ ผู้เป็นลูกเขยของจอมพล ผิน ชุณหะวัณ หัวหน้าคณะรัฐประหาร กรมตำรวจได้ขออนุมัติจับ พ.ท.โพยมในสมัยประชุม แต่ประธานสภาไม่อนุมัติ เมื่อหมดสมัยประชุม พ.ท.โพยมก็ล่องหนไปซ่อนตัวอยู่ในอำเภอฝาง ที่เชียงใหม่ และหลบข้ามประเทศเข้ารัฐฉานของพม่า ต่อไปจนถึงจีน
ในวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจจากจอมพล ป.ได้ พ.ท.พโยมได้เดินทางกลับเข้ามาขอมอบตัวกับรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร และได้รับประกันตัวไปใช้ชีวิตสงบ
ต่อมาจอมพลสฤษดิ์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเอง และกวาดล้างฝ่ายซ้ายอย่างหนัก พ.ท.โพยมจึงตัดสินใจเข้าป่าอีกครั้งในปี ๒๕๐๖ เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ปฏิบัติการอยู่บนเทือกเขาภูพาน จนถึงปี ๒๕๑๑ จึงเดินทางไปพำนักในปักกิ่ง
ในปี ๒๕๑๘ พ.ท.โพยมได้รับการแต่งตั้งเป็น “เลขาธิการกองทัพปลดแอกประชาชนภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” และได้รับมอบหมายให้ตั้งกองบัญชาการอยู่บริเวณชายแดนจีน-ลาว จนกระทั่งปลายปี ๒๕๑๙ ได้ย้ายเข้ามาปฏิบัติการในเขตทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
ขณะปฏิบัติการอยู่ในภาคเหนือ พ.ท.โพยมประสบอุบัติเหตุตกจากหลังช้าง ต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลในปักกิ่งอยู่ประมาณ ๘ เดือน และเสียชีวิตในวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๒๓ ขณะอายุได้ ๗๑ ปี
ขณะที่ พ.ท.พโยมโลดแล่นอยู่ในบทบาทผู้นำกองกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ลูกชายคนเดียวของท่านที่มีนามว่า สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็เข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหารรุ่น ๑ และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น ๑๒ สำเร็จออกมาติดยศร้อยตรีในปี ๒๕๐๘ และก้าวหน้าในราชการทางทหารมาตลอด
ในปี ๒๕๐๙ เป็น ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมที่ ๓๑
ปี ๒๕๑๓ ผู้บังคับชุดปฏิบัติการ กองร้อยพิเศษ กองรบพิเศษ (พลร่ม) ที่ ๒
ปี ๒๕๑๕ ครูโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ
ปี ๒๕๒๑ ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ ๔ กรมผสมที่ ๒๓ ซึ่งบิดาเสียชีวิตขณะอยู่ในตำแหน่งนี้
ปี ๒๕๒๖ ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ ๑ กองพลรบพิเศษที่ ๑
ปี ๒๕๒๙ นายทหารคนสนิทรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ปี ๒๕๓๒ ผู้บัญชาการกองรบพิเศษที่ ๑
ปี ๒๕๓๕ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
ปี ๒๕๓๗ แม่ทัพภาคที่ ๒
ปี ๒๕๔๐ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก
ปี ๒๕๔๐ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก
ปี ๒๕๔๑-๒๕๔๕ ผู้บัญชาการทหารบก
ปี ๒๕๔๕-๒๕๔๖ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
หลังเกษียณราชการในปี ๒๕๔๖ พลเอกสุรยุทธ์วางแผนชีวิตไว้ว่าจะอุปสมบทและออกธุดงค์ไปในภาคอีสาน แต่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี ในเดือนพฤศจิกายนนั้น เมื่อดำรงตำแหน่งได้ระยะหนึ่งแล้ว พลเอกสุรยุทธ์ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตไปอุปสมบทที่วัดป่าดานวิเวก ตำบลศรีชมพู อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ๑ พรรษา จึงลาสิขาบทกลับมารับตำแหน่งองคมนตรีตามเดิม
ในวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เมื่อพลเอกสนธิ บุญยรัตกลินทำรัฐประหารในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในวันที่ ๑ ตุลาคม ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๔ และเมื่อพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๑ ก็ได้รับโปรดเกล้าฯกลับเป็นองคมนตรีอีกในวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๑
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑๐ ในวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๙ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้เป็นองคมนตรีอีกรัชกาลหนึ่ง พล.อ.สุรยุทธ์จึงเป็นองคมนตรี ๒ รัชกาลและรักษาการประธานองคมนตรีเมื่อพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ถึงอนิจกรรม จนได้รับโปรดเกล้าฯเป็นประธานองคมนตรีเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๓ นี้
เส้นทางชีวิตของพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ กับผู้เป็นบิดา ได้เดินขนานกันมาตลอดในช่วงเวลาที่เกิดความขัดแย้งทางความคิดกันอย่างรุนแรง แต่พลเอกสุรยุทธิ์ก็ได้รับความไว้วางใจให้รับหน้าที่สำคัญของชาติ โดยไม่มีบทบาทของบิดามาเป็นภาพหลอนให้เกิดความแคลงใจใครเลย ทั้งนี้ก็เพราะเป็นผู้มีภาพลักษณ์โดดเด่นในการเป็นทหารอาชีพ จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริตต่อภารกิจในหน้าที่อย่างมั่นคง ดำรงชีวิตอย่างสมถะ ยึดมั่นในแนวทางของพุทธศาสนา
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ จึงเป็นแบบอย่างในความเป็นตัวของตัวเองอย่างมั่นคงคนหนึ่งของยุคสมัย
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบก และ อดีตนายกรัฐมนตรีก่อนเข้ารับตำแหน่งสูงสุดของชีวิตในวันนี้ นับว่าเป็นบุคคลที่มีเส้นทางชีวิตที่ไม่ธรรมดา เพราะในช่วงระยะเวลาที่ท่านไต่เต้าในตำแหน่งราชการทางทหารนั้น อยู่ในช่วงที่ประเทศไทยมีความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง และถือว่าลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นภัยอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงของประเทศและสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ก็เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า บิดาของท่านนั้น เป็นบุคคลสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มีตำแหน่งเป็นเสนาธิการกองทัพปลดแอกประชาชนไทย มีชื่อเรียกกันในหมู่สมาชิกว่า “สหายคำตัน” หรือ “ลุงคำตัน” จากที่เคยมียศพันโทในกองทัพบกไทย
สารานุกรมเสรีของวิกิพีเดีย ได้กล่าวถึงประวัติของสหายคำตันไว้ว่า
“พันโท พโยม จุลานนท์ เป็นทหาร, นักการเมือง, หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย สมรสกับสมโภช ท่าราบ มีบุตร ๓ คน คือ นางอัมพร ทีขะระ, พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี และนภาวดี ศิริภักดี
พโยมเป็นบุตรของ พระยาวิเศษสิงหนาถ (ยิ่ง จุลานนท์) แห่งเมืองเพชรบุรี ต้นตระกูลจุลานนท์ และเป็นบุตรเขยของ พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) พโยมกลายเป็นพันธมิตรของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ในคราวรัฐประหารพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์และปรีดี พนมยงค์ ในปี ๒๔๙๐ หลังจากนั้นพโยมก็ไม่เห็นด้วยกับหัวหน้าคณะรัฐประหารและเริ่มปฏิวัติล้มเหลว พโยมจึงต้องลี้ภัยไปยังประเทศจีน ผ่านทางอำเภอแม่สาย และประเทศพม่า
พโยมกลับมาประเทศไทยอีกครั้งในปี พ.ศ.๒๕๐๐ เพื่อลงเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมีนาคม และได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี ในปีเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐประหารรัฐบาลจอมพล ป. พโยมก็ได้ลาครอบครัวไปปฏิบัติการใต้ดิน โดยใช้ชื่อ สหายตู้คำตัน ภายหลังจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พโยมได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาธิการกองทัพปลดแอกประชาชนไทย”
พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) ก็คือแม่ทัพคนสำคัญของ “กบฏวรเดช” ที่เสียชีวิตในการรบแตกขั้นแตกหักที่สถารถไฟหินลับ สระบุรี ผู้สังหารก็คือ ร้อยโท ตุ๊ จารุเสถียร ซึ่งต่อมาก็คือ จอมพล ประภาส จารุเสถียร
จากเรื่อง “พ.ท.โพยม จุลานนท์ “สหายคำคัน” ตำนานผู้กล้าเลือดเมืองเพชร” ของหนังสือพิมพ์ “เพชรภูมิ” ของจังหวัดเพชรบุรี กล่าวถึงเหตุที่ พ.ท.โพยมต้องลี้ภัยออกจากประเทศไทยไปว่า ในปี ๒๔๙๑ ที่ทหารกลุ่มหนึ่งไม่พอใจกลุ่มทหารการเมืองที่เข้ายึดอำนาจ นำจอมพล ป.พิบูลสงครามที่เพิ่งพ้นคดีอาชญากรสงคราม กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี จึงวางแผนทำรัฐประหารโดยจะเข้าจับพลเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ บุคคลที่กุมอำนาจทางการทหารในขณะนั้นในวันที่มีพิธีแต่งงานกับนางสาววิจิตรา ชลทรัพย์ แต่ความแตกเสียก่อน จึงถูกล้อมจับขณะประชุมกันอยู่ในศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม พล.ต.เนตร เขมะโยธิน หัวหน้าคณะถูกจับ แต่ พ.ท.โพยมหนีไปได้ แต่พอถึงสมัยประชุมสภา พ.ท.โพยมในฐานะ ส.ส.จังหวัดเพชรบุรี ก็มาประชุมเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น และได้เกิดปะทะคารมกับ พล.ต.ต.เผ่า ศรียานนท์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ ผู้เป็นลูกเขยของจอมพล ผิน ชุณหะวัณ หัวหน้าคณะรัฐประหาร กรมตำรวจได้ขออนุมัติจับ พ.ท.โพยมในสมัยประชุม แต่ประธานสภาไม่อนุมัติ เมื่อหมดสมัยประชุม พ.ท.โพยมก็ล่องหนไปซ่อนตัวอยู่ในอำเภอฝาง ที่เชียงใหม่ และหลบข้ามประเทศเข้ารัฐฉานของพม่า ต่อไปจนถึงจีน
ในวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจจากจอมพล ป.ได้ พ.ท.พโยมได้เดินทางกลับเข้ามาขอมอบตัวกับรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร และได้รับประกันตัวไปใช้ชีวิตสงบ
ต่อมาจอมพลสฤษดิ์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเอง และกวาดล้างฝ่ายซ้ายอย่างหนัก พ.ท.โพยมจึงตัดสินใจเข้าป่าอีกครั้งในปี ๒๕๐๖ เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ปฏิบัติการอยู่บนเทือกเขาภูพาน จนถึงปี ๒๕๑๑ จึงเดินทางไปพำนักในปักกิ่ง
ในปี ๒๕๑๘ พ.ท.โพยมได้รับการแต่งตั้งเป็น “เลขาธิการกองทัพปลดแอกประชาชนภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” และได้รับมอบหมายให้ตั้งกองบัญชาการอยู่บริเวณชายแดนจีน-ลาว จนกระทั่งปลายปี ๒๕๑๙ ได้ย้ายเข้ามาปฏิบัติการในเขตทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
ขณะปฏิบัติการอยู่ในภาคเหนือ พ.ท.โพยมประสบอุบัติเหตุตกจากหลังช้าง ต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลในปักกิ่งอยู่ประมาณ ๘ เดือน และเสียชีวิตในวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๒๓ ขณะอายุได้ ๗๑ ปี
ขณะที่ พ.ท.พโยมโลดแล่นอยู่ในบทบาทผู้นำกองกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ลูกชายคนเดียวของท่านที่มีนามว่า สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็เข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหารรุ่น ๑ และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น ๑๒ สำเร็จออกมาติดยศร้อยตรีในปี ๒๕๐๘ และก้าวหน้าในราชการทางทหารมาตลอด
ในปี ๒๕๐๙ เป็น ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมที่ ๓๑
ปี ๒๕๑๓ ผู้บังคับชุดปฏิบัติการ กองร้อยพิเศษ กองรบพิเศษ (พลร่ม) ที่ ๒
ปี ๒๕๑๕ ครูโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ
ปี ๒๕๒๑ ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ ๔ กรมผสมที่ ๒๓ ซึ่งบิดาเสียชีวิตขณะอยู่ในตำแหน่งนี้
ปี ๒๕๒๖ ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ ๑ กองพลรบพิเศษที่ ๑
ปี ๒๕๒๙ นายทหารคนสนิทรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ปี ๒๕๓๒ ผู้บัญชาการกองรบพิเศษที่ ๑
ปี ๒๕๓๕ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
ปี ๒๕๓๗ แม่ทัพภาคที่ ๒
ปี ๒๕๔๐ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก
ปี ๒๕๔๐ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก
ปี ๒๕๔๑-๒๕๔๕ ผู้บัญชาการทหารบก
ปี ๒๕๔๕-๒๕๔๖ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
หลังเกษียณราชการในปี ๒๕๔๖ พลเอกสุรยุทธ์วางแผนชีวิตไว้ว่าจะอุปสมบทและออกธุดงค์ไปในภาคอีสาน แต่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี ในเดือนพฤศจิกายนนั้น เมื่อดำรงตำแหน่งได้ระยะหนึ่งแล้ว พลเอกสุรยุทธ์ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตไปอุปสมบทที่วัดป่าดานวิเวก ตำบลศรีชมพู อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ๑ พรรษา จึงลาสิขาบทกลับมารับตำแหน่งองคมนตรีตามเดิม
ในวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เมื่อพลเอกสนธิ บุญยรัตกลินทำรัฐประหารในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในวันที่ ๑ ตุลาคม ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๔ และเมื่อพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๑ ก็ได้รับโปรดเกล้าฯกลับเป็นองคมนตรีอีกในวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๑
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑๐ ในวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๙ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้เป็นองคมนตรีอีกรัชกาลหนึ่ง พล.อ.สุรยุทธ์จึงเป็นองคมนตรี ๒ รัชกาลและรักษาการประธานองคมนตรีเมื่อพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ถึงอนิจกรรม จนได้รับโปรดเกล้าฯเป็นประธานองคมนตรีเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๓ นี้
เส้นทางชีวิตของพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ กับผู้เป็นบิดา ได้เดินขนานกันมาตลอดในช่วงเวลาที่เกิดความขัดแย้งทางความคิดกันอย่างรุนแรง แต่พลเอกสุรยุทธิ์ก็ได้รับความไว้วางใจให้รับหน้าที่สำคัญของชาติ โดยไม่มีบทบาทของบิดามาเป็นภาพหลอนให้เกิดความแคลงใจใครเลย ทั้งนี้ก็เพราะเป็นผู้มีภาพลักษณ์โดดเด่นในการเป็นทหารอาชีพ จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริตต่อภารกิจในหน้าที่อย่างมั่นคง ดำรงชีวิตอย่างสมถะ ยึดมั่นในแนวทางของพุทธศาสนา
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ จึงเป็นแบบอย่างในความเป็นตัวของตัวเองอย่างมั่นคงคนหนึ่งของยุคสมัย