xs
xsm
sm
md
lg

ทหารหนุ่มฝากเตือนการวิ่งไม่ได้ช่วยรักษาทุกโรค แนะควรศึกษาการออกกำลังที่เหมาะสม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เพจ "Drama-addict" นำเรื่องราวของทหารหนุ่มรายหนึ่งนำมาเป็นอุทาหรณ์เตือนสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการวิ่งออกกำลังกายเพื่อรักษาโรค หลังตนเองวิ่งเป็นประจำแต่กลับได้โรคเพิ่ม แนะควรศึกษาและออกกำลังกายให้เหมาะกับโรคที่เป็น

วันนี้ (4 ม.ค.) เพจ "Drama-addict" ออกมาโพสต์ข้อความเปิดเป็นอุทาหรณ์สำหรับคนที่คิดว่าการวิ่งออกกำลังกายสามารถรักษาอาการเจ็บป่วยได้ทุกโรค โดยเรื่องราวดังกล่าวเกิดขึ้นกับนายทหารรายหนึ่งป่วยเป็นโรค "SLE" หรือ "โรคแพ้ภูมิตัวเอง" และใช้การวิ่งออกกำลังกายเป็นการต่อสู้กับโรคอีกทางหนึ่งนอกเหนื่อจากการรับประทานยา แต่ปรากฎว่ามีอาการปวดสะโพกตามมาและพบว่าเป็นโรค "AVN" หรือ "ภาวะหัวกระดูกข้อสะโพกตายจากการขาดเลือด" นายทหารรายดังกล่าวจึงอยากจะเตือนว่า การวิ่งออกกำลังกายไม่ได้เหมาะสมกับการรักษาทุกโรค ควรศึกษาให้ดีว่าโรคที่เป็นอยู่เหมาะสมกับการออกกำลังกายแบบใด

ทั้งนี้ ทางเพจ "Drama-addict" ได้ระบุข้อความไว้ว่า "มีทหารท่านนึงฝากมา คือช่วงนี้คนไทยกำลังฮิตการวิ่งเพื่อสุขภาพมาก แต่เขาเจอประสบการณ์ที่แบบ วิ่งเพื่อสุขภาพ เพื่อให้โรคประจำตัวดีขึ้น ปรากฏว่าพังเลยครับ เลยอยากเตือนทุกท่านว่า การออกกำลังกาย จริงๆมีหลายวิธี เลือกแบบที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายตัวเอง ไม่ต้องวิ่งตามกระแสก็ได้

ผมเป็น SLE ครับ (โรคแพ้ภูมิตัวเอง) อยากจะเตือนเกี่ยวกับ เทรนการวิ่งสู้โรคนะครับว่ามันไม่เหมาะกับทุกโรคเสมอไป เรื่องของเรื่องคือ ผมเป็น sle แล้วเคยแบบนี้เหมือนกัน ออกมาวิ่งทุกวัน เดิมก่อนจะเป็น sle ผมก้วิ่งทุกวันอยู่แล้ว เพราะผมรับราชการทหารมันทำให้อะไรดีขึ้นจริง โรคฟื้นตัวเร็วรุ้สึกดีมากๆ

แต่ไม่นานไม่ถึงปี ผมปวดสะโพกมาก สรุปเป็น AVN (Avascular necrosis ภาวะหัวกระดูกข้อสะโพกตายจากการขาดเลือด หัวกระดูกสะโพกตาย จากการที่ รับประทานยากลุ่ม สเตียร์รอยด์ในการรักษาโรค SLE สุดท้ายต้องผ่าเปลี่ยนข้อสะโพกทั้งสองข้าง และไม่สามารถวิ่งได้อีกตลอดชีวิต อันนี้คือประสบการณ์ตรงของผมครับ ปัจจุบันโรคสงบแล้ว และก็ออกกำลังกายทุกวันเหมือนกันครับ การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี แต่การวิ่งไม่ได้เหมาะสมกับทุกโรคเสมอไปการวิ่งสู้โรคมันกลายเป็นเทรน ใครป่วยอะไรแล้วออกมาวิ่งแบบนี้ อย่าลืมว่าคนป่วย คือคนที่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ปกติเหมือนคนธรรมดาแล้ว การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีจริงๆ แต่จะออกกำลังกายอะไร จะทานอะไรต้องศึกษาให้ดีว่าเหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่ ว่าจะได้รับผลกระทบตามมาหรือไม่ เช่น SLE เป็นโรคข้อ และ ออนสเตียรอยด์ เสี่ยงต่อการเป็น AVN ไม่ควรวิ่ง ควรเดินในเครื่องปั่นกึ่งวงรีที่ไม่มีแรงกระแทก เป็นต้น (epileptical)

กว่าหมอจะบอกผมว่าไม่ควรทำ ก็สายไปแล้ว สุดท้ายไม่ได้จบแค่ SLE ต้องผ่าตัดสะโพกอีกสองข้าง ต้องวิ่งไม่ได้อีกตลอดชีวิต ผมเกือบทำร้ายตัวเองหลายครั้ง โชคดีที่ผมผ่านมันมาได้ อยากให้จ่าแชร์เรื่องนี้ครับ ผมไม่อยากให้ขาซ้ำรอยแบบผม และคนอื่นๆ ที่เป็นโรคอื่นๆเช่นกัน นี่ไม่ใช่แนะนำว่าป่วยแล้วไม่ให้ออกกำลังกาย การออกกำลังการเป็นสิ่งที่ดี ดีมากๆผมก็ออกกำลังกายอยู่ทุกวันนี้การออกกำลังกายมันมีหลายวิธี ว่าสิ่งที่เราทำมันเหมาะสมกับโรคที่เราเป็นอยู่หรือไม่ อยากให้เรื่องของผมเป็นกรณีตัวอย่างครับ"

โรคเอสแอลอีหรือโรคพุ่มพวง,โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคเอสแอลอี SLE (Systemic lupus erythematosus, SLE) เป็นโรคภูมิต้านทานตนเองทำลายเนื้อเยื่อตัวเองเกิดการอักเสบเรื้อรัง อาการของโรคเอสแอลอีจะมีการกำเริบและสงบเป็นระยะ โรคเอสแอลอีพบได้บ่อยในผู้หญิงอายุน้อย โดยลักษณะพิเศษที่พบในโรคนี้คือ การตรวจพบมีแอนติบอดีต่อส่วนประกอบในนิวเคลียสของเซลล์ (antinuclear antibody, ANA) โรคเอสแอลอีนี้จะมีอาการแสดงของความผิดปกติหลายระบบในร่างกายร่วมกัน เช่น

ระบบผิวหนัง, ระบบประสาท, ระบบหัวใจและหลอดเลือด, กล้ามเนื้อและข้อ, เม็ดเลือด, ไต

ภาวะกระดูกหัวสะโพกตาย เป็นโรคหนึ่งที่พบบ่อยที่ทำให้เกิดภาวะข้อสะโพกเสื่อมในคนไทยช่วงอายุ 40-65 ปีโดยที่เซลล์กระดูกในหัวสะโพกมีการตายลง จากการขาดเลือดไปเลี้ยงที่เซลล์กระดูกส่งผลให้กระดูกที่ตายยุบตัวและเกิดข้อเสื่อมตามมา เอาการสำคัญ ที่จะนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ คือ ปวดขาหนีบ ปวดสะโพก หรือหน้าขา ที่ต้องระวังคือบางรายมีอาการปวดไปที่เข่า ทำให้ไปรักษาอาการปวดเข่าอยู่นาน จนหัวสะโพกยุบตัว ทำให้ขาสั้นลง หรือเดินกะเผลกได้

สำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อโรคนี้คือ ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ, ผู้ที่รับประทานยาที่มีสเตียรอยด์เป็นเวลานาน เช่น ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือผู้ที่ซื้อยารับประทานเอง แบบยาลูกกลอน ยาต้มที่อ้างสรรพคุณรักษาได้ทุกโรค, มีประวัติได้รับอุบัติเหตุรุนแรงที่ข้อสะโพกมาก่อน เช่น ข้อสะโพกหลุด หรือ ข้อสะโพกหัก, โรคอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับการเกิดกระดูกหัวสะโพกตาย เช่น SLE, Caisson disease, Sickle cell anemia




กำลังโหลดความคิดเห็น