1.กกต.มีมติ 5 ต่อ 2 ส่งศาล รธน.ยุบพรรค อนค.กรณีกู้เงิน “ธนาธร” 191 ล้าน ด้าน “ปิยบุตร” รีบแถลงโต้ ส่วน “ธนาธร” ปลุกม็อบ!

เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เผยแพร่เอกสารข่าวเกี่ยวกับผลประชุม กกต.ว่า ที่ประชุม กกต.ได้พิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน รวมทั้งความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง กรณีพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) กู้ยืมเงินจากนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค อนค.191,200,000 บาท เป็นการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 จึงมีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 2 เสียง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณายุบพรรค อนค.ตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (3) ประกอบมาตรา 93 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560
ทั้งนี้ มาตรา 72 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง บัญญัติว่า ห้ามไม่ให้พรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีแหล่งที่มาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แหล่งข่าวจาก กกต. และนักกฎหมายระบุว่า ก่อนจะกล่าวโทษตามมาตรา 72 กกต.ต้องวินิจฉัยว่าผิดตามมาตรา 62 กับ 66 ก่อน โดย กกต.สรุปว่า การกู้เงินไม่สามารถกระทำได้ จึงตีความว่าเป็นการบริจาคเงินเกินกว่ากฎหมายกำหนด แล้วทำนิติกรรมอำพรางเป็นการกู้ ซึ่งจริงๆ แล้วต้องการบริจาค แต่กฎหมายกำหนดเพดานเอาไว้ จึงใช้วิธีทำสัญญากู้ยืมแทน จึงถือเป็นนิติกรรมอำพราง
วันเดียวกัน (11 ธ.ค.) หลังทราบมติ กกต.ว่าจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรค อนค. ปรากฏว่า นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรค อนค.ได้เปิดแถลงตอบโต้และกล่าวหา กกต.เป็นการใหญ่ โดยอ้างว่า กกต.เร่งรัดเรื่องเงินกู้อย่างผิดสังเกต ไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา ไม่มีการเรียกไปสอบสวน มีเพียงให้ประธานคณะกรรมการไต่สวน เชิญไปชี้แจง 3 ครั้ง และให้ส่งเอกสารซึ่งมีลักษณะไม่เกี่ยวข้องกับคดี นายปิยบุตร ยังชี้ด้วยว่า กกต.มีมติให้ยุบพรรค อนค.โดยอ้างเหตุตามมาตรา 72 คือ การรับเงินที่ได้มาโดยมิชอบ คำถามคือ เงินได้มาจากการกู้หัวหน้าพรรค ไม่ชอบด้วยกฎหมายตรงไหน
ทั้งนี้ นายปิยบุตร ย้ำว่า มติของ กกต.ไม่สามารถหยุดการทำงานของพรรค อนค.ได้ พรรค อนค.จะเดินทางมุ่งหน้าทำงานอย่างสร้างสรรค์ต่อไป ให้รู้กันไปว่า พรรคการเมืองที่มี ส.ส.หน้าใหม่ ที่ตั้งใจทำงานอย่างสร้างสรรค์ในสภาจะไม่มีที่อยู่ ที่ยืน โดยพรรค อนค.พร้อมต่อสู้ในทางคดีต่อไป
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในขณะที่นายปิยบุตร ยืนยันว่า พรรค อนค.จะเดินหน้าทำงานอย่างสร้างสรรค์ต่อไป กลับปรากฏว่า นายธนาธรพยายามเคลื่อนไหวในลักษณะเหมือนปลุกม็อบ โดยเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. นายธนาธร ได้เฟซบุ๊กไลฟ์ถึงผู้สนับสนุนพรรคว่า ถ้าทุกคนรู้สึกทนไม่ไหว ไม่อยากจะทนกับสภาวะสังคมอย่างนี้ต่อไป อยากจะมาร่วมกันเปลี่ยนแปลง ตนขอเชิญชวนทุกคน วันที่ 14 ธ.ค.นี้ เวลา 17.00 น.บนทางเดินเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สยาม และชิดลม (สกายวอล์ก) เขตปทุมวัน “นี่คือเวลาที่เราจะต้องส่งเสียงประชาชนให้ดัง ให้ผู้มีอำนาจได้ยิน ถ้าท่านเห็นด้วยกับผมว่าเวลานี้พวกเราประชาชนจะต้องลุกขึ้นสู้ จะต้องลุกขึ้นทวงคืนความชอบธรรมความยุติธรรม ความเสมอภาคในสังคมคืนมา เจอกัน”
ด้านนายพิชิต ไชยมงคล อดีตโฆษกกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) แนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และอดีตเพื่อนนายธนาธรที่เคยร่วมเคลื่อนไหวในสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ด้วยกัน ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ตั้งข้อสังเกตการนัดชุมนุมวันที่ 14 ธ.ค. ของนายธนาธรและพรรค อนค.ว่า "คุณกำลังจะพาความคับแค้นส่วนตัวมาให้พลังคนรุ่นใหม่ (คิดว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายมวลชน) เสียความชอบธรรม พลังคนรุ่นใหม่เป็นพลังที่สดใสเสมอ แต่กำลังจะถูกความเห็นแก่ตัวของนักการเมืองอ่อนหัดนำมาเป็นเครื่องมือเป็นเกราะป้องกันความผิดของตัวเอง”
2.สุดยิ่งใหญ่ตระการตา “พยุหยาตราทางชลมารค” ปชช.ปลื้มปีติ-เปล่งเสียงทรงพระเจริญ “ในหลวง” ทรงโบกพระหัตถ์-แย้มพระสรวล!

เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร
ทั้งนี้ กองทัพเรือ โดยคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ได้จัดเรือพระราชพิธีทั้งสิ้น 52 ลำ รวมถึงเรือพระที่นั่ง 4 ลำ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
โดยในเวลา 15.00 น. เรือพระราชพิธีทั้ง 52 ลำ เริ่มตั้งขบวนเรือบริเวณธนาคารแห่งประเทศไทยและท้ายขบวนอยู่บริเวณโรงแรมริเวอร์ไซด์ก่อนถึงสะพานกรุงธน ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร สำหรับการจัดรูปขบวนเรือ ใช้บทเห่เรือทั้งหมด 3 องก์กึกก้องไปทั่วลำน้ำ ประกอบด้วย บทสรรเสริญพระบารมี (บทใหม่) บทชมเรือขบวน และบทชมวัง ประพันธ์ โดยนาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย
สำหรับขบวนเรือเป็นการจัดตามโบราณราชประเพณี แบ่งออกเป็น 5 ริ้ว 3 สาย คือ ริ้วสายกลาง ซึ่งเป็นเรือสายสำคัญ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง 4 ลำ คือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้มีเรืออีเหลือง เรือกลองนอก เรือแตงโม เรือกลองใน พร้อมด้วยเรือตำรวจนอก และเรือตำรวจใน, ริ้วสายใน ขนาบข้างสายเรือพระที่นั่ง มีเรือทองขวานฟ้า เรือทองบ้าบิ่น เรือเสือทยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เรือรูปสัตว์ 8 ลำ และปิดท้ายสายใน ด้วยเรือเอกไชยเหินหาว และเรือเอกไชยหลาวทอง ซึ่งเป็นเรือคู่ชัก และริ้วสายนอก ประกอบด้วยเรือดั้ง และเรือแซง สายละ 14 ลำ รวมทั้งสิ้น 52 ลำ
ทั้งนี้ เส้นทางขบวนเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค มีจุดตั้งต้นขบวนที่ท่าวาสุกรี แล้วเคลื่อนขบวนเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครไปยังท่าราชวรดิฐ จากนั้นเสด็จฯ โดยริ้วขบวนราบจากท่าราชวรดิษฐไปยังพระบรมมหาราชวัง
เวลา 16.02 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ สายสะพายนพรัตนราชวราภรณ์ สวมสายสร้อยจุลจอมเกล้า และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร โดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังเรือนแพที่ประทับรับรองบริเวณท่าวาสุกรี โดย นาวาเอกธรรมรงค์ สุวรรณกูฏ เป็นผู้อัญเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ รัชกาลที่ ๙ ขึ้นรถยนต์พระประเทียบ นำรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังท่าวาสุกรี ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคฯ
เวลา 16.16 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์เครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงพระมาลาเส้าสูง และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระดำเนินไปยังท่าวาสุกรี โดยมีองคมนตรี นายกรัฐมนตรี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เฝ้าฯ รับเสด็จ ต่อมา พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือในฐานะผู้บัญชาการขบวนเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคฯ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทกราบบังคมทูลพระกรุณารายงานจำนวนเรือและกำลังพล
เวลา 16.19 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระแสงขรรค์ชัยศรี ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติฝ่ายละ 21 นัด ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จไปประทับเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ตามเสด็จในขบวนพยุหยาตรา
เวลา 16.24 น. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เคลื่อนขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ออกจากท่าวาสุกรีไปตามชลวิถีท้องน้ำเจ้าพระยา ชาวพนักงานประโคมกระทั่ง มโหระทึก สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่และกลองชนะประจำเรือพระราชพิธีประโคมขึ้นพร้อมกัน ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเคลื่อนไปตามลำดับ ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ วงดุริยางค์บรรเลงเพลงมาร์ชธงชัยเฉลิมพล
ระหว่างขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเคลื่อนไปตามลำน้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาช ทรงแย้มพระสรวลและโบกพระหัตถ์ทักทายพสกนิกรที่มาเฝ้าฯ รับเสด็จ โดยตลอดเส้นทางที่ขบวนเรือผ่าน ประชาชนจำนวนมากพร้อมใจกันโบกธงชาติ ธงพระปรมาภิไธยรับเสด็จ พร้อมชื่นชมความงดงามของขบวนเรือตามแบบโบราณราชประเพณีไทยตามจุดต่างๆ ท่ามกลางเสียงขับเสภาที่ดังกังวาลไปทั่วท้องน้ำเจ้าพระยา
ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เฝ้าฯ รับเสด็จพร้อมด้วยท่านผู้หญิงพลอยไพลิน เจนซน และท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ณ พลับพลาที่ประทับ ภายในสวนสันติชัยปราการ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงฉายพระรูปขบวนพยุหยาตราทางชลมารคด้วย
เวลา 17.04 น. เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชเข้าเทียบสะพานฉนวนประจำท่าราชวรดิฐ เจ้าพนักงานอัญเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ รัชกาลที่ 9 จากบุษบกเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ไปประดิษฐานบนพระราชยานถม เตรียมเข้าริ้วขบวนราบยาตราไปยังพระบรมมหาราชวัง
เวลา 17.12 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ขึ้นสะพานชนวนประจำท่าราชวรดิฐ เสด็จฯ ไปยังพลับพลาที่ประทับรับรอง
เวลา 17.45 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปประทับพระราชยานพุดตานทอง ทรงพระแสงขรรค์ชัยศรี ทรงพระมาลาเส้าสูง ยาตราโดยริ้วขบวนราบไปยังพระบรมมหาราชวัง มีพระราชยานถมอัญเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ รัชกาลที่ 9 นำริ้วขบวนราบ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงพระดำเนินเข้าริ้วขบวนราบ ในฐานะพระราชองครักษ์ประจำพระองค์คู่เคียงพระราชยาน
เวลา 17.52 น. ริ้วขบวนราบยาตราออกจากท่าราชวรดิฐ ไปยังพระบรมมหาราชวัง ทั้งนี้ บริเวณโดยรอบพระบรมมหาราชวัง ได้มีประชาชนมาเฝ้าฯ รับเสด็จจำนวนมาก พร้อมเปล่งเสียง “ทรงพระเจริญ” ดังกึกก้องเมื่อขบวนเสด็จผ่าน
3.ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เพิ่มโทษจำคุก “เปรมชัย” 2 ปี 14 เดือน อนุญาตประกันตัว แต่ติดกำไล EM-ห้ามออกนอกประเทศ!

เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ศาลจังหวัดทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ได้นัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 คดีที่พนักงานอัยการจังหวัดทองผาภูมิ เป็นโจทก์ฟ้องนายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหารและกรรมการ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) พร้อมพวกรวม 4 คน เป็นจำเลย หลังเข้าไปลักลอบล่าสัตว์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเมื่อวันที่ 4-6 ก.พ.2561
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกนายเปรมชัย จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 16 เดือน โดยไม่รอลงอาญา จากข้อหา 1.ร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต พิพากษาจำคุก 6 เดือน 2.ล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และ 3. ข้อหาร่วมกันล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาตฯ จำคุก 8 เดือน 4.ร่วมกันมีซากสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และ 5.ร่วมกันซ่อนเร้นซึ่งซากสัตว์ป่าอันได้มาโดยกระทำความผิดกฎหมาย จำคุก 2 เดือน, จำเลยที่ 2 นายยงค์ โดดเครือ จำคุก 13 เดือน, จำเลยที่ 3 นางนที เรียมแสน จำคุก 4 เดือน ปรับ 10,000 บาท โทษจำคุกให้รอรอลงอาญา 2 ปี, จำเลยที่ 4 นายธานี ทุมมาศ จำคุก 2 ปี 17 เดือน และให้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ร่วมกันชำระค่าเสียหาย 2 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 4 ก.พ. 2561 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หลังจากนั้น นายเปรมชัย และนายยงค์ ได้ยื่นหลักทรัพย์คนละ 4 แสนบาท นายธานี ยื่นหลักทรัพย์ 5 แสนบาทขอประกันตัวสู้คดีในชั้นอุทธรณ์
ทั้งนี้ ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้ว พิพากษาแก้ เพิ่มโทษนายเปรมชัย จำเลยที่ 1 เป็นจำคุก 2 ปี 14 เดือน, เพิ่มโทษนายยงค์ เป็นจำคุก 2 ปี 17 เดือน, เพิ่มโทษนางนที เป็นจำคุก 1 ปี 8 เดือน ปรับเงิน 40,000 บาท แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี ส่วนนายธานี เพิ่มโทษเป็นจำคุก 2 ปี 21 เดือน พร้อมให้จำเลยทั้ง 4 คนร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 2 ล้านบาทตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ด้านนายวิเชียร ชิณวงษ์ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เผยหลังฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า รู้สึกดีที่ศาลได้เพิ่มโทษจำเลย ทำให้มีกำลังใจในการทำงานมากขึ้น
ทั้งนี้ หลังศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เพิ่มโทษจำคุกนายเปรมชัย พร้อมพวก ทีมทนายความได้ยื่นขอประกันตัวเพื่อสู้คดีในชั้นฎีกาต่อไป อย่างไรก็ตาม ศาลฎีกาพิจารณาคำร้องขอประกันตัวไม่ทันในวันดังกล่าว ทำให้นายเปรมชัย นายยงค์ และนายธานี ถูกเจ้าหน้าที่เรือนจำอำเภอทองผาภูมินำตัวไปคุมขังยังเรือนจำทองผาภูมิ เพื่อรอลุ้นศาลฎีกาในวันที่ 13 ธ.ค.ว่า จะพิจารณาปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่
ซึ่งในที่สุด 13 ธ.ค. ศาลฎีกาได้ให้ประกันตัวจำเลยทั้งสาม โดยเพิ่มวงเงินประกันตัวจากคนละ 4 แสน เป็นคนละ 1 ล้าน พร้อมกำหนดเงื่อนไขให้ติดกำไลข้อเท้า EM และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
4.ส.ป.ก.ยัน ไม่ได้อุ้ม “ปารีณา” ด้านกรมป่าไม้รอ “กฤษฎีกา” เคาะที่ดินปารีณา ใช้กฎหมายฉบับใด!

ความคืบหน้าปัญหาที่ดินของ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หลังทำหนังสือส่งมอบที่ดินคืนให้ ส.ป.ก.กว่า 680 ไร่ โดย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เป็นผู้รับมอบที่ดินดังกล่าวคืนเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. พร้อมยืนยันว่า พื้นที่ดังกล่าว น.ส.ปารีณาครอบครองมาก่อนที่จะประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน เมื่อผู้ครอบครองที่ดินไม่มีคุณสมบัติหรือครอบครองเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ ส่งคืนมา ในส่วนของ ส.ป.ก.ก็จะจบกัน ไม่มีการดำเนินคดี โดยจะนำพื้นที่ดังกล่าวไปจัดสรรให้เกษตรกรผู้ไร้ที่ทำกินและที่อยู่อาศัยต่อไป ซึ่งหลายฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายค้าน ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่า รัฐบาลปกป้องหรืออุ้ม น.ส.ปารีณาในกรณีดังกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวได้ถามนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ถึงปัญหาที่ดินของ น.ส.ปารีณา นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบเรื่องนี้ และว่า ต้องดูว่า พื้นที่ของ น.ส.ปารีณาเป็นที่ดิน ส.ป.ก.หรือไม่ ถ้าใช่ ก็เหมือนสมัยก่อนที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้คืนไปแล้ว ก็จบ และว่า ที่ดิน ส.ป.ก.ตอนไปเอามานั้นไม่ผิด เพราะถือครองไม่ได้ เมื่อถือครองไม่ได้ก็คืน แต่บางพื้นที่บางอย่าง ตอนไปเอามานั้นผิด ดังนั้น เมื่อคืนไป ความผิดก็สำเร็จ กฎหมายแต่ละเรื่อง ไม่ได้ยึดหลักเดียวกันไปเสียหมด เช่น พ.ร.บ.ศุลกากรคดีฟิลิปมอร์ริส เมื่อสำแดงเท็จ เป็นความผิดติดคุก แต่เมื่อนำเงินไปจ่ายเสียตามที่ควรจะต้องจ่ายจริง ก็จบคดีอาญา
วันต่อมา 11 ธ.ค. ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้สั่งการให้นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ ส.ป.ก.เข้าพบนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ฝ่ายกฎหมาย เพื่อรายงานการปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายปฏิรูปที่ดิน เกี่ยวกับกรณี น.ส.ปารีณา ถือครองที่ดิน ส.ป.ก.ทำฟาร์มไก่ “เขาสนฟาร์ม” ที่ได้ยินยอมคืนพื้นที่ ส.ป.ก.682 ไร่ ให้กับ ส.ป.ก.ไปดำเนินการกระจายสิทธิให้กับผู้ยากไร้ตามคุณสมบัติของกฎหมาย ส.ป.ก. และว่า ในส่วนพื้นที่ ส.ป.ก.ได้ทำตามหลักเกณฑ์จบหมดแล้ว ไม่เข้าเงื่อนไขการดำเนินคดี แต่ในส่วนกรมป่าไม้ จะดำเนินคดีตามอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลพื้นที่ป่า เป็นเรื่องที่ไปว่ากันตามกฎหมายของกรมป่าไม้ที่บังคับใช้อย่างไร
ด้านนายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กล่าวถึงการครอบครองที่ดิน ส.ป.ก.ของ น.ส.ปารีณาว่า ขอยืนยันอีกครั้งว่า ที่ดินดังกล่าวได้มี พ.ร.ฎ.กำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเมื่อปี 2554 โดย น.ส.ปารีณาได้ครอบครองเข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2545 การครอบครองดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนการตรา พ.ร.ฎ.ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกที่ดิน ส.ป.ก. โดยอำนาจหน้าที่ของ ส.ป.ก.คือ การรวบรวมที่ดินที่อยู่ในเขตปฏิรูป เพื่อนำมาจัดให้กับเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรตามกฎหมาย ดังนั้นเมื่อ น.ส.ปารีณาได้ส่งมอบที่ดินคืนให้กับ ส.ป.ก.แล้ว การดำเนินการในส่วนของ ส.ป.ก.จึงถือว่าสิ้นสุดลง
อย่างไรก็ตาม นายวิณะโรจน์ กล่าวว่า การครอบครองที่ดินของ น.ส.ปารีณา จะไม่เป็นความผิด พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 แต่อาจเป็นความผิดตามกฎหมายอื่น เช่น ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ และ พ.ร.บ.ป่าไม้ แต่กฎหมายดังกล่าวมิได้อยู่ในความรับผิดชอบของ ส.ป.ก.แต่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมที่ดินและกรมป่าไม้ ดังนั้นกรมที่ดินและกรมป่าไม้จะต้องไปร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป พร้อมย้ำว่า การที่ ส.ป.ก.ไม่ได้ดำเนินคดีอาญา น.ส.ปารีณา ไม่ได้เป็นการช่วยเหลือหรือเอื้อประโยชน์แก่พวกพ้อง อย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด แต่ ส.ป.ก.ไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการดำเนินคดีเท่านั้น
ขณะที่นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ ให้สัมภาษณ์หลังเข้าพบนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. เพื่อหารือถึงการครอบครองพื้นที่ป่าไม้ของ น.ส.ปารีณาว่า สบายใจได้ ดำเนินการไปด้วยความยุติธรรม เมื่อถามว่า พื้นที่ 682 ไร่ นายวิษณุเห็นว่า ควรใช้กฎหมายของหน่วยงานใด นายอรรถพลกล่าวว่า ใช้การตัดสินด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา ทางกรมป่าไม้และ ส.ป.ก.จะส่งข้อเท็จจริงไปให้ เมื่อถึงเวลา ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาจะเรียกไปให้ข้อเท็จจริง “อาจารย์วิษณุได้พูดไว้ตรงตั้งแต่แรกแล้ว เพียงแต่สื่ออาจจะนำเสนอไปไม่ครบ เพราะท่านบอกว่าให้คืน แต่ต้องไปดูว่าที่ดินอยู่ภายใต้กฎหมายใด ให้ใช้กฎหมายนั้น ซึ่งได้คุยกันว่า ต่อไปจะดำเนินการอย่างไร ฉะนั้นเพื่อความรอบคอบ ให้ไปยุติที่คณะกรรมการกฤษฎีกา”
ด้านนายชลธิศ สุรัสวดี อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ ในฐานะอดีตประธานคณะทำงานแก้ไขและบรรเทาการบุกรุกพื้นที่เขายายเที่ยง ได้ย้อนคดีบุกรุกเขายายเที่ยงว่า “กรณีที่ดินเขายายเที่ยงของ พล.อ.สุรยุทธ์นั้น คุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ ได้มีการยื่นใบ ภ.บ.ท.5 เป็นหลักฐานในการครอบครอง ต่อมามีผู้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับ พล.อ.สุรยุทธ์ กับพวกในข้อหาบุกรุกที่ดินป่าสงวนแห่งชาติป่าเขายายเที่ยง ต่อมาปี 2552 อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง และได้ส่งเรื่องให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ดำเนินการต่อ ซึ่งกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้สรุปผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า พล.อ.สุรยุทธ์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินบนเขายายเที่ยง ต้องออกจากพื้นที่ดังกล่าว และรื้อถอนทรัพย์สินออกให้หมด”
5.ระทึก คนไข้ฉุนหมอรักษาช้า คว้ากรรไกรแทงคอหมอ โชคดี พญ.ยกแฟ้มเอกสารป้องกันทัน ด้าน “อนุทิน” ลั่น ดำเนินคดีให้ถึงที่สุด!

เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ได้เกิดเหตุระทึกขวัญในโรงพยาบาลรัฐชื่อดังใน จ.ขอนแก่น เมื่อคนไข้หญิงในหอผู้ป่วยในรายหนึ่งไม่พอใจแพทย์หญิงคนหนึ่ง จึงตะโกนว่า "เป็นลูกเทพลูกเทวดา ถ้าตรวจช้าแบบนี้มาตายพร้อมกันไปเลย" จากนั้นได้กระโดดล็อกคอแพทย์หญิงดังกล่าว ขณะกำลังออกตรวจคนไข้ในหอผู้ป่วย ก่อนคว้ากรรไกรพุ่งเข้าแทงลำคอ โชคดีที่แพทย์หญิงยกแฟ้มเอกสารขึ้นมาบังเอาไว้ได้ทัน ทำให้คมกรรไกรจิ้มไปที่แฟ้มเอกสารแทน หลังจากนั้นพยาบาลและ รปภ.ได้รีบเข้าระงับเหตุ ซึ่งต่อมา แพทย์หญิง ผู้เสียหาย ได้เข้าแจ้งความกับตำรวจ สภ.ชุมแพ เพื่อดำเนินคดีกับคนไข้ดังกล่าวเมื่อวันที่ 12 ธ.ค.
หลังเกิดเหตุดังกล่าว นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สาเหตุคาดว่าผู้ป่วยเกิดอาการหงุดหงิด ซึ่งไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่า จะมีคนไปทำร้ายเจ้าหน้าที่แพทย์และพยาบาลภายในโรงพยาบาลได้ “ผมต้องดำเนินคดีทางอาญากับผู้ที่ก่อเหตุดังกล่าวให้ถึงที่สุด แม้จะเข้าใจถึงความรู้สึก แต่เราก็ปล่อยไม่ได้ เพราะไม่ต้องการให้เป็นแบบอย่างกับผู้อื่น ทำแบบนี้ต้องประณาม เพราะการมีอารมณ์หงุดหงิด แค่ชักสีหน้าใส่แพทย์และพยาบาลก็ถือว่าแย่พอแล้ว แต่ถึงขั้นทำร้ายกันเช่นนี้ เราทนและยอมไม่ได้ ผมต้องปกป้องคนของผม”
ขณะที่ นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เบื้องต้นทราบว่า ผู้ป่วยคนดังกล่าวเข้ารับการรักษาตัวด้วยอาการภูมิแพ้ และแพทย์รักษาจนอาการดีขึ้น อนุญาตให้กลับบ้านแล้ว แต่ผู้ป่วยขออยู่พักฟื้นต่อ และว่า หลังเกิดเหตุ ได้ติดต่อกับ นพ.สสจ.ขอนแก่น และติดต่อไปยัง พล.ต.ท.เจริญวิทย์ ศรีวนิชย์ ผบช.ภ.4 และนายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด หารือแนวทางการดำเนินคดี และสั่งการให้ทางโรงพยาบาลแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาพยายามฆ่า เนื่องจากตาม พ.ร.ฎ.ระบุว่า อวัยวะบริเวณลำคอเป็นส่วนอันตราย มีเส้นเลือด หากทำร้ายอาจถึงแก่ชีวิตได้ และให้ส่งหลักฐานวัตถุพยานเป็นภาพและวิดีโอขณะที่ผู้ป่วยก่อเหตุดังกล่าว ส่วนแพทย์หญิงยังขวัญเสีย สั่งให้ลาพักงานชั่วคราว และส่งตัวผู้ป่วยที่ก่อเหตุไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลขอนแก่น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ผู้ปวยที่ก่อเหตุมีภาวะทางจิตผิดปกติหรือไม่ นพ.สุขุม กล่าวว่า จากรายงานเบื้องต้น ไม่มีความผิดปกติ แต่อาจจะผิดปกติทางบุคลิกภาพภายนอก และให้ดำเนินการตามรูปคดี หากผู้ป่วยมีความผิดปกติ จะส่งแพทย์ไปตรวจวิเคราะห์เพื่อประเมินอีกครั้ง
ด้านคนไข้หญิงผู้ก่อเหตุ กล่าวถึงการกระทำของตนเองว่า ประโยคที่ตนพูดกับหมอว่า ถ้าหมอไม่รักษาก็มาตายพร้อมกันนั้น เป็นแค่การพูดเล่น ส่วนสาเหตุการพูดเนื่องจาก ตอนกลางคืนจวบจนถึงเช้า หมอไม่ได้รักษา ตนมีอาการแน่นหน้าอก ทางหมอก็บอกว่า ยังไม่ใช่อาการเร่งด่วน ซึ่งก่อนที่จะลงมือ ตนได้เดินเข้าห้องน้ำ และเห็นกรรไกรวางอยู่ ทำให้เกิดอารมณ์ชั่ววูบ ดึงขึ้นมาเฉยๆ ก็แค่นั้น ไม่ได้ทำอะไร ทางหมอเองก็ร้อง อย่างไรก็ตามไม่มีอะไรที่จะต้องคุยกับคุณหมอ เพราะเรื่องมันได้จบไปแล้ว ส่วนทางนั้นยังไม่จบอีกหรือ ยืนยันว่าเราไม่ได้ตั้งใจทำ แค่พูดเล่นเท่านั้น ไม่คิดว่าเจ้าหน้าที่จะมาล็อก
ขณะที่แม่ของคนไข้ ผู้ก่อเหตุดังกล่าว ระบุว่า น้องไม่รู้สึกตัว แค่อารมณ์ชั่ววูบเท่านั้น ส่วนอาการของน้องก็ดีขึ้นแล้วไม่มีอะไร และว่า น้องป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ต้องทานยามาหลายปี แต่ไม่เคยมีอาการแบบนี้
เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เผยแพร่เอกสารข่าวเกี่ยวกับผลประชุม กกต.ว่า ที่ประชุม กกต.ได้พิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน รวมทั้งความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง กรณีพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) กู้ยืมเงินจากนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค อนค.191,200,000 บาท เป็นการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 จึงมีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 2 เสียง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณายุบพรรค อนค.ตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (3) ประกอบมาตรา 93 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560
ทั้งนี้ มาตรา 72 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง บัญญัติว่า ห้ามไม่ให้พรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีแหล่งที่มาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แหล่งข่าวจาก กกต. และนักกฎหมายระบุว่า ก่อนจะกล่าวโทษตามมาตรา 72 กกต.ต้องวินิจฉัยว่าผิดตามมาตรา 62 กับ 66 ก่อน โดย กกต.สรุปว่า การกู้เงินไม่สามารถกระทำได้ จึงตีความว่าเป็นการบริจาคเงินเกินกว่ากฎหมายกำหนด แล้วทำนิติกรรมอำพรางเป็นการกู้ ซึ่งจริงๆ แล้วต้องการบริจาค แต่กฎหมายกำหนดเพดานเอาไว้ จึงใช้วิธีทำสัญญากู้ยืมแทน จึงถือเป็นนิติกรรมอำพราง
วันเดียวกัน (11 ธ.ค.) หลังทราบมติ กกต.ว่าจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรค อนค. ปรากฏว่า นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรค อนค.ได้เปิดแถลงตอบโต้และกล่าวหา กกต.เป็นการใหญ่ โดยอ้างว่า กกต.เร่งรัดเรื่องเงินกู้อย่างผิดสังเกต ไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา ไม่มีการเรียกไปสอบสวน มีเพียงให้ประธานคณะกรรมการไต่สวน เชิญไปชี้แจง 3 ครั้ง และให้ส่งเอกสารซึ่งมีลักษณะไม่เกี่ยวข้องกับคดี นายปิยบุตร ยังชี้ด้วยว่า กกต.มีมติให้ยุบพรรค อนค.โดยอ้างเหตุตามมาตรา 72 คือ การรับเงินที่ได้มาโดยมิชอบ คำถามคือ เงินได้มาจากการกู้หัวหน้าพรรค ไม่ชอบด้วยกฎหมายตรงไหน
ทั้งนี้ นายปิยบุตร ย้ำว่า มติของ กกต.ไม่สามารถหยุดการทำงานของพรรค อนค.ได้ พรรค อนค.จะเดินทางมุ่งหน้าทำงานอย่างสร้างสรรค์ต่อไป ให้รู้กันไปว่า พรรคการเมืองที่มี ส.ส.หน้าใหม่ ที่ตั้งใจทำงานอย่างสร้างสรรค์ในสภาจะไม่มีที่อยู่ ที่ยืน โดยพรรค อนค.พร้อมต่อสู้ในทางคดีต่อไป
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในขณะที่นายปิยบุตร ยืนยันว่า พรรค อนค.จะเดินหน้าทำงานอย่างสร้างสรรค์ต่อไป กลับปรากฏว่า นายธนาธรพยายามเคลื่อนไหวในลักษณะเหมือนปลุกม็อบ โดยเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. นายธนาธร ได้เฟซบุ๊กไลฟ์ถึงผู้สนับสนุนพรรคว่า ถ้าทุกคนรู้สึกทนไม่ไหว ไม่อยากจะทนกับสภาวะสังคมอย่างนี้ต่อไป อยากจะมาร่วมกันเปลี่ยนแปลง ตนขอเชิญชวนทุกคน วันที่ 14 ธ.ค.นี้ เวลา 17.00 น.บนทางเดินเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สยาม และชิดลม (สกายวอล์ก) เขตปทุมวัน “นี่คือเวลาที่เราจะต้องส่งเสียงประชาชนให้ดัง ให้ผู้มีอำนาจได้ยิน ถ้าท่านเห็นด้วยกับผมว่าเวลานี้พวกเราประชาชนจะต้องลุกขึ้นสู้ จะต้องลุกขึ้นทวงคืนความชอบธรรมความยุติธรรม ความเสมอภาคในสังคมคืนมา เจอกัน”
ด้านนายพิชิต ไชยมงคล อดีตโฆษกกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) แนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และอดีตเพื่อนนายธนาธรที่เคยร่วมเคลื่อนไหวในสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ด้วยกัน ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ตั้งข้อสังเกตการนัดชุมนุมวันที่ 14 ธ.ค. ของนายธนาธรและพรรค อนค.ว่า "คุณกำลังจะพาความคับแค้นส่วนตัวมาให้พลังคนรุ่นใหม่ (คิดว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายมวลชน) เสียความชอบธรรม พลังคนรุ่นใหม่เป็นพลังที่สดใสเสมอ แต่กำลังจะถูกความเห็นแก่ตัวของนักการเมืองอ่อนหัดนำมาเป็นเครื่องมือเป็นเกราะป้องกันความผิดของตัวเอง”
2.สุดยิ่งใหญ่ตระการตา “พยุหยาตราทางชลมารค” ปชช.ปลื้มปีติ-เปล่งเสียงทรงพระเจริญ “ในหลวง” ทรงโบกพระหัตถ์-แย้มพระสรวล!
เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร
ทั้งนี้ กองทัพเรือ โดยคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ได้จัดเรือพระราชพิธีทั้งสิ้น 52 ลำ รวมถึงเรือพระที่นั่ง 4 ลำ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
โดยในเวลา 15.00 น. เรือพระราชพิธีทั้ง 52 ลำ เริ่มตั้งขบวนเรือบริเวณธนาคารแห่งประเทศไทยและท้ายขบวนอยู่บริเวณโรงแรมริเวอร์ไซด์ก่อนถึงสะพานกรุงธน ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร สำหรับการจัดรูปขบวนเรือ ใช้บทเห่เรือทั้งหมด 3 องก์กึกก้องไปทั่วลำน้ำ ประกอบด้วย บทสรรเสริญพระบารมี (บทใหม่) บทชมเรือขบวน และบทชมวัง ประพันธ์ โดยนาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย
สำหรับขบวนเรือเป็นการจัดตามโบราณราชประเพณี แบ่งออกเป็น 5 ริ้ว 3 สาย คือ ริ้วสายกลาง ซึ่งเป็นเรือสายสำคัญ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง 4 ลำ คือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้มีเรืออีเหลือง เรือกลองนอก เรือแตงโม เรือกลองใน พร้อมด้วยเรือตำรวจนอก และเรือตำรวจใน, ริ้วสายใน ขนาบข้างสายเรือพระที่นั่ง มีเรือทองขวานฟ้า เรือทองบ้าบิ่น เรือเสือทยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เรือรูปสัตว์ 8 ลำ และปิดท้ายสายใน ด้วยเรือเอกไชยเหินหาว และเรือเอกไชยหลาวทอง ซึ่งเป็นเรือคู่ชัก และริ้วสายนอก ประกอบด้วยเรือดั้ง และเรือแซง สายละ 14 ลำ รวมทั้งสิ้น 52 ลำ
ทั้งนี้ เส้นทางขบวนเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค มีจุดตั้งต้นขบวนที่ท่าวาสุกรี แล้วเคลื่อนขบวนเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครไปยังท่าราชวรดิฐ จากนั้นเสด็จฯ โดยริ้วขบวนราบจากท่าราชวรดิษฐไปยังพระบรมมหาราชวัง
เวลา 16.02 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ สายสะพายนพรัตนราชวราภรณ์ สวมสายสร้อยจุลจอมเกล้า และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร โดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังเรือนแพที่ประทับรับรองบริเวณท่าวาสุกรี โดย นาวาเอกธรรมรงค์ สุวรรณกูฏ เป็นผู้อัญเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ รัชกาลที่ ๙ ขึ้นรถยนต์พระประเทียบ นำรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังท่าวาสุกรี ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคฯ
เวลา 16.16 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์เครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงพระมาลาเส้าสูง และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระดำเนินไปยังท่าวาสุกรี โดยมีองคมนตรี นายกรัฐมนตรี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เฝ้าฯ รับเสด็จ ต่อมา พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือในฐานะผู้บัญชาการขบวนเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคฯ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทกราบบังคมทูลพระกรุณารายงานจำนวนเรือและกำลังพล
เวลา 16.19 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระแสงขรรค์ชัยศรี ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติฝ่ายละ 21 นัด ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จไปประทับเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ตามเสด็จในขบวนพยุหยาตรา
เวลา 16.24 น. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เคลื่อนขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ออกจากท่าวาสุกรีไปตามชลวิถีท้องน้ำเจ้าพระยา ชาวพนักงานประโคมกระทั่ง มโหระทึก สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่และกลองชนะประจำเรือพระราชพิธีประโคมขึ้นพร้อมกัน ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเคลื่อนไปตามลำดับ ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ วงดุริยางค์บรรเลงเพลงมาร์ชธงชัยเฉลิมพล
ระหว่างขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเคลื่อนไปตามลำน้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาช ทรงแย้มพระสรวลและโบกพระหัตถ์ทักทายพสกนิกรที่มาเฝ้าฯ รับเสด็จ โดยตลอดเส้นทางที่ขบวนเรือผ่าน ประชาชนจำนวนมากพร้อมใจกันโบกธงชาติ ธงพระปรมาภิไธยรับเสด็จ พร้อมชื่นชมความงดงามของขบวนเรือตามแบบโบราณราชประเพณีไทยตามจุดต่างๆ ท่ามกลางเสียงขับเสภาที่ดังกังวาลไปทั่วท้องน้ำเจ้าพระยา
ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เฝ้าฯ รับเสด็จพร้อมด้วยท่านผู้หญิงพลอยไพลิน เจนซน และท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ณ พลับพลาที่ประทับ ภายในสวนสันติชัยปราการ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงฉายพระรูปขบวนพยุหยาตราทางชลมารคด้วย
เวลา 17.04 น. เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชเข้าเทียบสะพานฉนวนประจำท่าราชวรดิฐ เจ้าพนักงานอัญเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ รัชกาลที่ 9 จากบุษบกเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ไปประดิษฐานบนพระราชยานถม เตรียมเข้าริ้วขบวนราบยาตราไปยังพระบรมมหาราชวัง
เวลา 17.12 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ขึ้นสะพานชนวนประจำท่าราชวรดิฐ เสด็จฯ ไปยังพลับพลาที่ประทับรับรอง
เวลา 17.45 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปประทับพระราชยานพุดตานทอง ทรงพระแสงขรรค์ชัยศรี ทรงพระมาลาเส้าสูง ยาตราโดยริ้วขบวนราบไปยังพระบรมมหาราชวัง มีพระราชยานถมอัญเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ รัชกาลที่ 9 นำริ้วขบวนราบ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงพระดำเนินเข้าริ้วขบวนราบ ในฐานะพระราชองครักษ์ประจำพระองค์คู่เคียงพระราชยาน
เวลา 17.52 น. ริ้วขบวนราบยาตราออกจากท่าราชวรดิฐ ไปยังพระบรมมหาราชวัง ทั้งนี้ บริเวณโดยรอบพระบรมมหาราชวัง ได้มีประชาชนมาเฝ้าฯ รับเสด็จจำนวนมาก พร้อมเปล่งเสียง “ทรงพระเจริญ” ดังกึกก้องเมื่อขบวนเสด็จผ่าน
3.ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เพิ่มโทษจำคุก “เปรมชัย” 2 ปี 14 เดือน อนุญาตประกันตัว แต่ติดกำไล EM-ห้ามออกนอกประเทศ!
เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ศาลจังหวัดทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ได้นัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 คดีที่พนักงานอัยการจังหวัดทองผาภูมิ เป็นโจทก์ฟ้องนายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหารและกรรมการ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) พร้อมพวกรวม 4 คน เป็นจำเลย หลังเข้าไปลักลอบล่าสัตว์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเมื่อวันที่ 4-6 ก.พ.2561
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกนายเปรมชัย จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 16 เดือน โดยไม่รอลงอาญา จากข้อหา 1.ร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต พิพากษาจำคุก 6 เดือน 2.ล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และ 3. ข้อหาร่วมกันล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาตฯ จำคุก 8 เดือน 4.ร่วมกันมีซากสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และ 5.ร่วมกันซ่อนเร้นซึ่งซากสัตว์ป่าอันได้มาโดยกระทำความผิดกฎหมาย จำคุก 2 เดือน, จำเลยที่ 2 นายยงค์ โดดเครือ จำคุก 13 เดือน, จำเลยที่ 3 นางนที เรียมแสน จำคุก 4 เดือน ปรับ 10,000 บาท โทษจำคุกให้รอรอลงอาญา 2 ปี, จำเลยที่ 4 นายธานี ทุมมาศ จำคุก 2 ปี 17 เดือน และให้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ร่วมกันชำระค่าเสียหาย 2 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 4 ก.พ. 2561 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หลังจากนั้น นายเปรมชัย และนายยงค์ ได้ยื่นหลักทรัพย์คนละ 4 แสนบาท นายธานี ยื่นหลักทรัพย์ 5 แสนบาทขอประกันตัวสู้คดีในชั้นอุทธรณ์
ทั้งนี้ ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้ว พิพากษาแก้ เพิ่มโทษนายเปรมชัย จำเลยที่ 1 เป็นจำคุก 2 ปี 14 เดือน, เพิ่มโทษนายยงค์ เป็นจำคุก 2 ปี 17 เดือน, เพิ่มโทษนางนที เป็นจำคุก 1 ปี 8 เดือน ปรับเงิน 40,000 บาท แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี ส่วนนายธานี เพิ่มโทษเป็นจำคุก 2 ปี 21 เดือน พร้อมให้จำเลยทั้ง 4 คนร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 2 ล้านบาทตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ด้านนายวิเชียร ชิณวงษ์ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เผยหลังฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า รู้สึกดีที่ศาลได้เพิ่มโทษจำเลย ทำให้มีกำลังใจในการทำงานมากขึ้น
ทั้งนี้ หลังศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เพิ่มโทษจำคุกนายเปรมชัย พร้อมพวก ทีมทนายความได้ยื่นขอประกันตัวเพื่อสู้คดีในชั้นฎีกาต่อไป อย่างไรก็ตาม ศาลฎีกาพิจารณาคำร้องขอประกันตัวไม่ทันในวันดังกล่าว ทำให้นายเปรมชัย นายยงค์ และนายธานี ถูกเจ้าหน้าที่เรือนจำอำเภอทองผาภูมินำตัวไปคุมขังยังเรือนจำทองผาภูมิ เพื่อรอลุ้นศาลฎีกาในวันที่ 13 ธ.ค.ว่า จะพิจารณาปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่
ซึ่งในที่สุด 13 ธ.ค. ศาลฎีกาได้ให้ประกันตัวจำเลยทั้งสาม โดยเพิ่มวงเงินประกันตัวจากคนละ 4 แสน เป็นคนละ 1 ล้าน พร้อมกำหนดเงื่อนไขให้ติดกำไลข้อเท้า EM และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
4.ส.ป.ก.ยัน ไม่ได้อุ้ม “ปารีณา” ด้านกรมป่าไม้รอ “กฤษฎีกา” เคาะที่ดินปารีณา ใช้กฎหมายฉบับใด!
ความคืบหน้าปัญหาที่ดินของ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หลังทำหนังสือส่งมอบที่ดินคืนให้ ส.ป.ก.กว่า 680 ไร่ โดย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เป็นผู้รับมอบที่ดินดังกล่าวคืนเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. พร้อมยืนยันว่า พื้นที่ดังกล่าว น.ส.ปารีณาครอบครองมาก่อนที่จะประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน เมื่อผู้ครอบครองที่ดินไม่มีคุณสมบัติหรือครอบครองเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ ส่งคืนมา ในส่วนของ ส.ป.ก.ก็จะจบกัน ไม่มีการดำเนินคดี โดยจะนำพื้นที่ดังกล่าวไปจัดสรรให้เกษตรกรผู้ไร้ที่ทำกินและที่อยู่อาศัยต่อไป ซึ่งหลายฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายค้าน ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่า รัฐบาลปกป้องหรืออุ้ม น.ส.ปารีณาในกรณีดังกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวได้ถามนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ถึงปัญหาที่ดินของ น.ส.ปารีณา นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบเรื่องนี้ และว่า ต้องดูว่า พื้นที่ของ น.ส.ปารีณาเป็นที่ดิน ส.ป.ก.หรือไม่ ถ้าใช่ ก็เหมือนสมัยก่อนที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้คืนไปแล้ว ก็จบ และว่า ที่ดิน ส.ป.ก.ตอนไปเอามานั้นไม่ผิด เพราะถือครองไม่ได้ เมื่อถือครองไม่ได้ก็คืน แต่บางพื้นที่บางอย่าง ตอนไปเอามานั้นผิด ดังนั้น เมื่อคืนไป ความผิดก็สำเร็จ กฎหมายแต่ละเรื่อง ไม่ได้ยึดหลักเดียวกันไปเสียหมด เช่น พ.ร.บ.ศุลกากรคดีฟิลิปมอร์ริส เมื่อสำแดงเท็จ เป็นความผิดติดคุก แต่เมื่อนำเงินไปจ่ายเสียตามที่ควรจะต้องจ่ายจริง ก็จบคดีอาญา
วันต่อมา 11 ธ.ค. ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้สั่งการให้นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ ส.ป.ก.เข้าพบนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ฝ่ายกฎหมาย เพื่อรายงานการปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายปฏิรูปที่ดิน เกี่ยวกับกรณี น.ส.ปารีณา ถือครองที่ดิน ส.ป.ก.ทำฟาร์มไก่ “เขาสนฟาร์ม” ที่ได้ยินยอมคืนพื้นที่ ส.ป.ก.682 ไร่ ให้กับ ส.ป.ก.ไปดำเนินการกระจายสิทธิให้กับผู้ยากไร้ตามคุณสมบัติของกฎหมาย ส.ป.ก. และว่า ในส่วนพื้นที่ ส.ป.ก.ได้ทำตามหลักเกณฑ์จบหมดแล้ว ไม่เข้าเงื่อนไขการดำเนินคดี แต่ในส่วนกรมป่าไม้ จะดำเนินคดีตามอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลพื้นที่ป่า เป็นเรื่องที่ไปว่ากันตามกฎหมายของกรมป่าไม้ที่บังคับใช้อย่างไร
ด้านนายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กล่าวถึงการครอบครองที่ดิน ส.ป.ก.ของ น.ส.ปารีณาว่า ขอยืนยันอีกครั้งว่า ที่ดินดังกล่าวได้มี พ.ร.ฎ.กำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเมื่อปี 2554 โดย น.ส.ปารีณาได้ครอบครองเข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2545 การครอบครองดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนการตรา พ.ร.ฎ.ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกที่ดิน ส.ป.ก. โดยอำนาจหน้าที่ของ ส.ป.ก.คือ การรวบรวมที่ดินที่อยู่ในเขตปฏิรูป เพื่อนำมาจัดให้กับเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรตามกฎหมาย ดังนั้นเมื่อ น.ส.ปารีณาได้ส่งมอบที่ดินคืนให้กับ ส.ป.ก.แล้ว การดำเนินการในส่วนของ ส.ป.ก.จึงถือว่าสิ้นสุดลง
อย่างไรก็ตาม นายวิณะโรจน์ กล่าวว่า การครอบครองที่ดินของ น.ส.ปารีณา จะไม่เป็นความผิด พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 แต่อาจเป็นความผิดตามกฎหมายอื่น เช่น ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ และ พ.ร.บ.ป่าไม้ แต่กฎหมายดังกล่าวมิได้อยู่ในความรับผิดชอบของ ส.ป.ก.แต่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมที่ดินและกรมป่าไม้ ดังนั้นกรมที่ดินและกรมป่าไม้จะต้องไปร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป พร้อมย้ำว่า การที่ ส.ป.ก.ไม่ได้ดำเนินคดีอาญา น.ส.ปารีณา ไม่ได้เป็นการช่วยเหลือหรือเอื้อประโยชน์แก่พวกพ้อง อย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด แต่ ส.ป.ก.ไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการดำเนินคดีเท่านั้น
ขณะที่นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ ให้สัมภาษณ์หลังเข้าพบนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. เพื่อหารือถึงการครอบครองพื้นที่ป่าไม้ของ น.ส.ปารีณาว่า สบายใจได้ ดำเนินการไปด้วยความยุติธรรม เมื่อถามว่า พื้นที่ 682 ไร่ นายวิษณุเห็นว่า ควรใช้กฎหมายของหน่วยงานใด นายอรรถพลกล่าวว่า ใช้การตัดสินด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา ทางกรมป่าไม้และ ส.ป.ก.จะส่งข้อเท็จจริงไปให้ เมื่อถึงเวลา ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาจะเรียกไปให้ข้อเท็จจริง “อาจารย์วิษณุได้พูดไว้ตรงตั้งแต่แรกแล้ว เพียงแต่สื่ออาจจะนำเสนอไปไม่ครบ เพราะท่านบอกว่าให้คืน แต่ต้องไปดูว่าที่ดินอยู่ภายใต้กฎหมายใด ให้ใช้กฎหมายนั้น ซึ่งได้คุยกันว่า ต่อไปจะดำเนินการอย่างไร ฉะนั้นเพื่อความรอบคอบ ให้ไปยุติที่คณะกรรมการกฤษฎีกา”
ด้านนายชลธิศ สุรัสวดี อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ ในฐานะอดีตประธานคณะทำงานแก้ไขและบรรเทาการบุกรุกพื้นที่เขายายเที่ยง ได้ย้อนคดีบุกรุกเขายายเที่ยงว่า “กรณีที่ดินเขายายเที่ยงของ พล.อ.สุรยุทธ์นั้น คุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ ได้มีการยื่นใบ ภ.บ.ท.5 เป็นหลักฐานในการครอบครอง ต่อมามีผู้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับ พล.อ.สุรยุทธ์ กับพวกในข้อหาบุกรุกที่ดินป่าสงวนแห่งชาติป่าเขายายเที่ยง ต่อมาปี 2552 อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง และได้ส่งเรื่องให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ดำเนินการต่อ ซึ่งกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้สรุปผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า พล.อ.สุรยุทธ์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินบนเขายายเที่ยง ต้องออกจากพื้นที่ดังกล่าว และรื้อถอนทรัพย์สินออกให้หมด”
5.ระทึก คนไข้ฉุนหมอรักษาช้า คว้ากรรไกรแทงคอหมอ โชคดี พญ.ยกแฟ้มเอกสารป้องกันทัน ด้าน “อนุทิน” ลั่น ดำเนินคดีให้ถึงที่สุด!
เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ได้เกิดเหตุระทึกขวัญในโรงพยาบาลรัฐชื่อดังใน จ.ขอนแก่น เมื่อคนไข้หญิงในหอผู้ป่วยในรายหนึ่งไม่พอใจแพทย์หญิงคนหนึ่ง จึงตะโกนว่า "เป็นลูกเทพลูกเทวดา ถ้าตรวจช้าแบบนี้มาตายพร้อมกันไปเลย" จากนั้นได้กระโดดล็อกคอแพทย์หญิงดังกล่าว ขณะกำลังออกตรวจคนไข้ในหอผู้ป่วย ก่อนคว้ากรรไกรพุ่งเข้าแทงลำคอ โชคดีที่แพทย์หญิงยกแฟ้มเอกสารขึ้นมาบังเอาไว้ได้ทัน ทำให้คมกรรไกรจิ้มไปที่แฟ้มเอกสารแทน หลังจากนั้นพยาบาลและ รปภ.ได้รีบเข้าระงับเหตุ ซึ่งต่อมา แพทย์หญิง ผู้เสียหาย ได้เข้าแจ้งความกับตำรวจ สภ.ชุมแพ เพื่อดำเนินคดีกับคนไข้ดังกล่าวเมื่อวันที่ 12 ธ.ค.
หลังเกิดเหตุดังกล่าว นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สาเหตุคาดว่าผู้ป่วยเกิดอาการหงุดหงิด ซึ่งไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่า จะมีคนไปทำร้ายเจ้าหน้าที่แพทย์และพยาบาลภายในโรงพยาบาลได้ “ผมต้องดำเนินคดีทางอาญากับผู้ที่ก่อเหตุดังกล่าวให้ถึงที่สุด แม้จะเข้าใจถึงความรู้สึก แต่เราก็ปล่อยไม่ได้ เพราะไม่ต้องการให้เป็นแบบอย่างกับผู้อื่น ทำแบบนี้ต้องประณาม เพราะการมีอารมณ์หงุดหงิด แค่ชักสีหน้าใส่แพทย์และพยาบาลก็ถือว่าแย่พอแล้ว แต่ถึงขั้นทำร้ายกันเช่นนี้ เราทนและยอมไม่ได้ ผมต้องปกป้องคนของผม”
ขณะที่ นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เบื้องต้นทราบว่า ผู้ป่วยคนดังกล่าวเข้ารับการรักษาตัวด้วยอาการภูมิแพ้ และแพทย์รักษาจนอาการดีขึ้น อนุญาตให้กลับบ้านแล้ว แต่ผู้ป่วยขออยู่พักฟื้นต่อ และว่า หลังเกิดเหตุ ได้ติดต่อกับ นพ.สสจ.ขอนแก่น และติดต่อไปยัง พล.ต.ท.เจริญวิทย์ ศรีวนิชย์ ผบช.ภ.4 และนายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด หารือแนวทางการดำเนินคดี และสั่งการให้ทางโรงพยาบาลแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาพยายามฆ่า เนื่องจากตาม พ.ร.ฎ.ระบุว่า อวัยวะบริเวณลำคอเป็นส่วนอันตราย มีเส้นเลือด หากทำร้ายอาจถึงแก่ชีวิตได้ และให้ส่งหลักฐานวัตถุพยานเป็นภาพและวิดีโอขณะที่ผู้ป่วยก่อเหตุดังกล่าว ส่วนแพทย์หญิงยังขวัญเสีย สั่งให้ลาพักงานชั่วคราว และส่งตัวผู้ป่วยที่ก่อเหตุไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลขอนแก่น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ผู้ปวยที่ก่อเหตุมีภาวะทางจิตผิดปกติหรือไม่ นพ.สุขุม กล่าวว่า จากรายงานเบื้องต้น ไม่มีความผิดปกติ แต่อาจจะผิดปกติทางบุคลิกภาพภายนอก และให้ดำเนินการตามรูปคดี หากผู้ป่วยมีความผิดปกติ จะส่งแพทย์ไปตรวจวิเคราะห์เพื่อประเมินอีกครั้ง
ด้านคนไข้หญิงผู้ก่อเหตุ กล่าวถึงการกระทำของตนเองว่า ประโยคที่ตนพูดกับหมอว่า ถ้าหมอไม่รักษาก็มาตายพร้อมกันนั้น เป็นแค่การพูดเล่น ส่วนสาเหตุการพูดเนื่องจาก ตอนกลางคืนจวบจนถึงเช้า หมอไม่ได้รักษา ตนมีอาการแน่นหน้าอก ทางหมอก็บอกว่า ยังไม่ใช่อาการเร่งด่วน ซึ่งก่อนที่จะลงมือ ตนได้เดินเข้าห้องน้ำ และเห็นกรรไกรวางอยู่ ทำให้เกิดอารมณ์ชั่ววูบ ดึงขึ้นมาเฉยๆ ก็แค่นั้น ไม่ได้ทำอะไร ทางหมอเองก็ร้อง อย่างไรก็ตามไม่มีอะไรที่จะต้องคุยกับคุณหมอ เพราะเรื่องมันได้จบไปแล้ว ส่วนทางนั้นยังไม่จบอีกหรือ ยืนยันว่าเราไม่ได้ตั้งใจทำ แค่พูดเล่นเท่านั้น ไม่คิดว่าเจ้าหน้าที่จะมาล็อก
ขณะที่แม่ของคนไข้ ผู้ก่อเหตุดังกล่าว ระบุว่า น้องไม่รู้สึกตัว แค่อารมณ์ชั่ววูบเท่านั้น ส่วนอาการของน้องก็ดีขึ้นแล้วไม่มีอะไร และว่า น้องป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ต้องทานยามาหลายปี แต่ไม่เคยมีอาการแบบนี้