xs
xsm
sm
md
lg

สำรวจโพรงถ้ำหลวง เตรียมการเจาะ งานง่ายสุด ใช้เวลา 1 ชั่วโมง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


วันนี้ (28 มิ.ย.) ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องการเจาะถ้ำหลวง รวมถึงการหย่อนกล้องสำรวจให้โพรงถ้ำ ว่า

“ในการเกิดการพัง ในการหาตัวของเจ้าหน้าที่ เมื่อเทียบกับน้ำหนักมวลดินของภูเขาน้อยมาก ตอนนี้เราไม่อยากกวนปากถ้ำ เราจะไปเดินหาที่อยู่ด้านนอก มันมีตำแหน่งที่สามารถเจาะของถ้ำข้างในได้ ซึ่งประเด็นตรงนี้เราต้องระวังว่าตำแหน่งที่เจาะ จะต้องไม่มีน้ำ”

“ส่วนฝนที่ตกลงมามันยุ่ยเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว ซึ่งมันจะใช้เวลาในการกัดกร่อน เรื่องการเจาะ ตอนนี้เรายังไม่คิดถึงที่จะสามารถให้คนเข้าไปได้ เรามองง่ายๆ ให้น้องๆ รู้ว่าเราเข้าไปช่วย ซึ่งกำลังใจสำคัญที่สุด เพื่อให้แสงสว่างเข้าไป”

“ตอนนี้เดินหน้าพร้อมวางแผนกับผู้ใหญ่หลายฝ่าย การเจาะภูเขาลูกใหญ่ๆ เครื่องเจาะ 4-5 นิ้ว เหมือนเข็มอันเล็กๆ การเจาะไปเหมือนจะเจอน้องๆ ถ้ำนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น ข้อมูลต้องได้รับการสนับสนุน จากทางกระทรวงทรัพย์ กรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ที่จะมาสแกนตรงโพร่งถ้ำอันนี้สำคัญ แต่เราก็รอไม่ได้ เราก็กำลังวางแผนว่านำเครื่องจักรมา”

“ต้องเรียนว่าตอนนี้เท่าที่ทราบมีข้อมูลว่ามันมีปล่องที่เขาเจอ ซึ่งเขากำลังหย่อนกล้องลงไป ถ้าเกิดปล่องนั้นมันเข้าได้ การเจาะก็จะเลิก เพราะการเจาะมีความเสี่ยงมากกว่าการหย่อนเกินไป ทุกอย่างต้องดำเนินการโดยระมัดระวัง ซึ่งเครื่องจักร เครื่องมือต่างๆ ต้องมาพร้อมที่หน้างานแล้ว ในภาคอุตสาหกรรม ภาควิศวกรรม เราต้องพร้อม และเต็มที่ ไม่มีปัญหา”

“การใช้เวลาเจาะ คิดแบบง่ายๆ ไม่อยากมาก สัก 1 ชั่วโมง ในระยะ 10-15 เมตร วันหนึ่งก็ได้ถึง 100 เมตร แต่ว่าถ้าเป็นการเจาะที่ลำบาก เจอรอยแตกหรือมีปัญหา สิ่งที่ต้องระวังการเจาะเข้าไปแล้วมันมีโอกาสที่ไปเจาะบริเวณที่มีน้ำหลากในช่วงฝนตก และรูที่เราเจาะเป็นรูทำให้น้ำไหลเข้าไปรึเปล่า แต่คิดว่ารู 4-5 นิ้ว ไม่ใช่ประเด็น”

“และเท่าที่ทราบจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เขากำลังหาวิธีหย่อนกล้องลงไป กล้องที่หย่อน คือ Boho Camera ซึ่งไว้สำรวจน้ำบาดาลข้างล่าง ซึ่งยังหวังไม่ได้ แต่ต้องลองดู เมื่อกล้องลงไปแล้วอาจเจอซอกหินที่มุดไม่ได้ ซึ่งทุกอย่างตอนนี้ต้องเตรียมพร้อม”



กำลังโหลดความคิดเห็น