เรียกได้ว่ากระแสของ ‘กัญชา’ ในสังคมไทยในช่วงระยะหลังนี้ เริ่มถูกพูดถึงในแง่บวกขึ้นเรื่อยๆ อาจจะเป็นเพราะว่าคุณประโยชน์ของพืชสมุนไพรนี้ รวมไปถึง สรรพคุณเนื้อในของกัญชา ค่อยผลิออกมาให้เห็นชัดมากขึ้นจากทั้งงานวิจัยจากต่างประเทศ และ ความคาดหวังต่อสิ่งนี้กับเมืองไทย ซึ่ง แฟนเพจ ‘กัญชาชน’ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันดังกล่าวนี้ให้เกิดขึ้น โดยมีคนหนุ่มสาว อาทิ ชัยวัฒน์ บานใจ, รัฐพล แสนรักษ์, ช่อขวัญ คิตตี้ ช่อผกา และ อรัญ เอเวอรี่ มาร่วมกันเป็นฟันเฟืองหลัก เพื่อ ‘กัญชา’ กับเมืองไทยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
• อยากให้เล่าถึงจุดเริ่มของทางกลุ่มหน่อยครับ
รัฐพล : เริ่มมาจากตัวผมก่อน แต่ถ้าจะเล่าไปถึงแรงบันดาลใจ ก็มาจากหลายๆเรื่อง ทั้งเรื่องครอบครัว ที่ทางบ้านผมเขาเสียชีวิตจากโรคมะเร็งหมด ทั้งปู่ ย่า และ พ่อแม่ ก็ไปจากโรคนี้หมด แล้วมันมีช่วงหนึ่งที่ไปเรียนที่อเมริกา ก็ไปเจอกลุ่มคนที่เขาใช้กัญชาแบบถูกกฎหมาย แล้วทางแพทย์ที่นั่นเขาก็บอกว่า สามารถใช้ร่วมกับไมเกรนและโรคต่างๆได้ จนเราได้ไปเจอคนที่ใช้กับกัญชากับมะเร็ง ที่เขาร่วมกันคีโม ซึ่งใช้กัญชาตัวเดียวในการรักษาโดยเฉพาะเลย สิ่งที่เราเห็นคือ คุณภาพชีวิตของครอบครัวมันแตกต่างจากสิ่งที่เราเจอ คือเขาไม่ได้เจ็บ ไม่ได้ป่วย แต่ว่าเขามีเรี่ยวแรงไปทำอย่างอื่นได้ ซึ่งนั่นก็เป็นจุดสำคัญที่ทำให้เขารอดชีวิตได้ อย่างครอบครัวผมที่เป็นโรคนี้ คือนอน น้ำหนักลด อาเจียน กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปวด เจ็บ แล้วก็ตายไป ซึ่งต่างจากที่เราไปเจอที่นั่น ซึ่งเขาใช้มาเพื่อลดอาการที่ว่ามา ทำให้กินได้ นอนหลับ ซึ่งมาจากการใช้กัญชานี่แหละ มันก็ทำให้ผมเห็นว่ามันก็มีดีนะในแง่การรักษาโรคในหลายๆ อย่าง
แล้วตอนนั้นแม่ก็ยังไม่เสีย แล้วขณะนั้น แม่ก็โทรมาบอกว่า แม่เป็นมะเร็ง ผมก็กลับมาที่ไทย กลับมาเพื่อที่จะบอกว่า กัญชาสามารถช่วยแม่ได้ ผมก็เลยมาคุยกับแม่และคนรอบข้างที่ดูแลแม่อยู่ แต่ทุกคนไม่เอาหมด เพราะมันเป็นแบบว่า มันเป็นความเชื่อที่ถูกปลูกฝังกันมา ให้มันน่ากลัว จนไม่สามารถที่จะใช้ในการทำแบบอื่นได้ ตอนนั้นน่าจะเป็นปี 2012 ซึ่งแนวความคิดนี้ในตอนนั้น ยังไม่มีใครคิดว่าใช้ในไทยได้ แต่ในอเมริกานี่ให้ถูกกฎหมายมา 20 ปีแล้ว แถมมุมมองในตอนนั้นคือมืดดำมาก จนสุดท้ายแม่ก็จากไปแบบเจ็บปวดทรมาน เราเลยรู้สึกว่า จะต้องทำอะไรซักอย่างแล้ว บวกกับถ้ามองได้หลายๆ แง่ก็อาจจะมองได้หลายๆ อย่างได้ ผมก็เลยทำเพจนี้ขึ้นมา จากนั้นก็เริ่มมีเพื่อนๆ มาช่วยกันทำ ก็มีทั้ง 3 คนมาเป็นทีม จากนั้นก็ร่วมกันจัดงานนั่นนี่ ซึ่งนอกจากในทางการแพทย์แล้ว มันยังมีอีกหลายๆ ด้านที่จะถูกนำเสนอ ซึ่งตอนนี้มันเป็นประเด็นระดับโลกแล้วว่า มันควรจะให้ถูกกฎหมายแล้วหรือเปล่า
• จากการเริ่มเพจมาตั้งแต่ปี 2013 กระแสทั่วโลกในตอนนั้นมันเริ่มมาแล้วหรือยัง
รัฐพล : เรียกว่ามันเริ่มเป็นกระแส แต่ว่าถ้าเป็นฝั่งทางอเมริกา เขาเริ่มมีกระแสที่ค่อนข้างนานแล้ว เขามีการต่อสู้ มีการเปลี่ยนกฎหมายหมายมาหลายรอบ แต่ทางเอเชียมันยังมีความมืดบอดอยู่ คืออาจจะมีอยู่บ้างแต่ว่าเบา มีแค่พูดคุยกันเอง แต่ไม่อยู่ในที่แจ้ง ประมาณนั้นมากกว่า ซึ่งในเรื่องการใช้ แน่นอนว่ามันมีอยู่แล้ว แต่การถูกพูดถึงของสื่อในตอนนั้น จะมีแต่ประเภท จับ หรือ คนดูดกัญชาแล้วไปทำอะไรต่างๆ
ชัยวัฒน์ : ถามว่ามีมั้ย มันมีแต่จะมีแบบข่าวกรอบเล็กๆ มีพูดในพันทิปบ้าง พูดถึงข้อดีบ้าง แต่ว่ามีแค่ประปราย ไม่ได้เป็นชิ้นเป็นอัน
ช่อขวัญ : เราว่าช่วงนั้น คนไทยตัวเผือกเลยนะ อย่างกับเพื่อนตัวเองก็จะไม่บอกยกเว้นรู้เฉพาะรอบข้าง จะไม่มีการพูดคุย ไม่มีการเอ่ยถึงเลย ทุกอย่างเงียบ เราไปพูดกับอย่างอื่นแทน
• ซึ่งการที่ได้มาเริ่มทำในช่วงที่ติดลบนี่คือถือว่าดำมืดมากเลยนะ
รัฐพล : คือตอนนั้น ผมคิดว่ามันเริ่มจากที่ว่า เราเอาเรื่องที่เป็นความจริงมาพูด คือมันมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างบอกมา มันมีข้อมูลที่ว่า ต่างประเทศทำให้ถูกกฎหมาย หรือที่นั่นก็เอามาใช้เป็นประโยชน์ได้ เป็นเรื่องที่สังคมไม่เคยรู้เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น ตอนนั้น ถึงแม้ว่ามันจะดำ แต่เราก็เดินหน้าทำไป ซึ่งถึงแม้ว่าเราจะทำอย่างงั้น แต่ว่าในช่วงแรกๆ เราก็โดนด่านะ อย่างเรื่องที่เราพูดก็เป็นงานวิจัยของมหาลัยต่างๆ นะ เราเขียนเล่าให้ฟังเฉยๆ แต่ก็ไม่วายโดนด่าอีก คือมันเป็นเรื่องของข้อมูลด้วย ซึ่งมันมีมากกว่านั้น แต่เรามองว่ามันเป็นประโยชน์ต่อคนทั้งประเทศด้วย แน่นอนเรื่องยา ถ้าเราเอามาใช้ แน่นอนว่าเราลดการนำเข้าของยาหลายตัวด้วย เพราะว่าในระบบของกัญชามันทำงานในหลายระบบนะ มันกลายเป็นว่า เป็นยาชนิดใหม่ที่เป็นหนทางในการรักษาโรคที่เรายังไม่เคยรู้
ช่อขวัญ : จริงๆ สิ่งที่เราทำ มันไม่ใช่เป็นอะไรที่ด้านมืดดำ เพราะว่าเราเอาข้อมูลมากรอง และกลั่นว่าข้อมูลไหนจริง แล้วให้คนไทยมาชั่งใจวิจารณญาณเอง ตามความเหมาะสม แล้วก็นำเสนอให้แบบตามที่เขาเข้าใจ
ชัยวัฒน์ : พูดตรงๆ คือ เราไม่ได้ที่จะชี้ชวนนะ แบบว่ามาใช้กัญชากันเถอะ ไม่ใช่ แต่แค่มาบอกว่า ข้างนอกเขาเป็นยังไงกันบ้าง ว่ามันเกิดเหตุการณ์นี้ข้างนอกนะ มันมีงานวิจัยตัวนี้ออกมานะ ซึ่งเราให้ทั้งข้อดีและข้อเสียด้วย เราก็เล่าตามข้อเท็จจริงแค่นั้นเอง
อรัญ : ขนาดเด็กที่เป็นโรคลมชักจำนวน 1 ใน สาม ยาแผนปัจจุบัน ไม่สามารถช่วยได้ มีแต่จะส่งเข้าไอซียูแล้วตาย แต่ตัวนี้สามารถช่วยได้ แทบจะเกือบหายร้อยเปอร์เซ็นต์ แทนที่จะชักประมาณวันละ 30-40 รอบ มากลายเป็นว่า ชักแค่เดือนละครั้ง อีกทั้งวิวัฒนาการทางสมองก็สามารถเติบโตตามเด็กปกติทั่วไปได้ ซึ่งคนไทยทั่วไปคิดว่ามันผิด คือเอาเหตุผลพวกนี้ออกมาพูด ชี้ให้คนเห็น ที่เหลือก้แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละคน
• แสดงว่าทางกลุ่มก็ดูความเคลื่อนไหวของกัญชามาตลอด
รัฐพล : ใช่ครับ ประมาณว่า สถานการณ์ความเคลื่อนไหวมันเปลี่ยนแปลงตลอด ด้วยความที่น่าเป็นห่วงด้วยว่า เขาทำกันเร็วมาก
ชัยวัฒน์ : อย่างในอเมริกา ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี ที่สามารถเปิดให้ใช้กัญชาในหลายรัฐมาก แล้วเกินครึ่งของประชากรที่สามารถเข้าถึงกัญชาแบบถูกกฎหมายเพื่อความผ่อนคลายนะ แล้วไม่ใช่แค่นั้น ในยุโรปก็มา อย่างปีที่แล้ว เยอรมันก็ประกาศว่าจะทำกัญชาส่งออก กลายเป็นพืชเศรษฐกิจ ทั้งๆที่ยุโรปก็เป็นเมืองหนาว ไม่ได้เหมือนเรา แต่เขาพร้อมลงทุน อิตาลีก็มีกองทัพปลูกใช้ในการแพทย์ ส่วนออสเตรเลียตั้งเป้าว่าเป็นประเทศที่ส่งออกกัญชาทางการแพทย์เป็นอันดับ 1 ของโลก เพราะฉะนั้นยังมีนู่นนี่นั่นอยู่อีกเยอะครับ
• มันอาจจะเป็นเพราะว่าบ้านเราถูกตีตราในเรื่องกัญชามาพอสมควรด้วยมั้ย
รัฐพล : ส่วนหนึ่งมันเป็นการให้ข้อมูลที่มาจากภาครัฐใส่มาในสื่อมาตั้งแต่ 30-40 ปีก่อนแล้วครับ คือเขาสร้างผีขึ้นมา ถามว่าตอนนี้ภาครัฐอยากแก้มั้ย ก็อยากแก้อยู่เหมือนกัน เหมือนโรคเอดส์น่ะครับ ประเด็นเดียวกันเลย เขาสร้างผีขึ้นมาเองแล้วก็วนติดล็อคตัวเอง
ชัยวัฒน์ : จริงๆ ปัญหา ยาเสพติดมันเป็นปัญหาสังคม แต่เรามักจะตราหน้าผู้ป่วยว่าคนไม่ดีไปก่อนแล้ว ซึ่งเคยถามเขาก่อนมั้ยว่าทำไมต้องใช้ยา ไม่เคยมีใครตั้งคำถาม คุณมักจะบอกไปก่อนแล้วว่าใช้ยาไม่ดี แต่ไม่เคยถามว่าทำไมเขาถึงใช้มัน
ช่อขวัญ : หรือว่าเขาได้อะไรจากการใช้ยา บางคนก็อาจจะต้องการหลุดพ้น หรือใช้เพื่อรักษาตัว คือความต้องการของคนมันไม่เหมือนกัน
อรัญ : กัญชามันเป็นพื้นฐานของสังคม จริงอยู่ว่าทุกวันนี้มันผิดกฎหมาย แล้วคนพยายามตีตราว่าจะได้ใช้ทั่วไป จะใช้เอาไปทำกับข้าวบ้าง เป็นยาสมุนไพรบ้าง แต่มันอาจจะหายไปเพราะมีการตีตราการใช้การเสพ แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเสพตรงนี้ มันไม่ใช่ปัญหาของยาที่ทางภาครัฐบอก แต่เป็นปัญหาสังคมที่มีปัญหาในการพัฒนาคุณภาพของสังคม ไม่ใช่เรื่องยาอย่างที่บอก เพราะถ้าไม่มีกัญชาก็ไปเสพอย่างอื่นไปเรื่อยๆ คือสุดท้ายแล้ว คนก็ต้องหาอะไรเสพเพื่อที่จะหนีปัญหาที่ตัวเองเจอ
ชัยวัฒน์ : ยกตัวอย่างง่ายๆ ให้เห็นภาพนะ สมมุติว่าเราโดนมีดบาดมือ เจ็บ ใช่มั้ย เราต้องหายาเอาทิงเจอร์มาใส่ แล้ววันดีคืนดี รัฐบาลบอกว่าห้ามเอาทิงเจอร์ใส่แผล ถ้าใครทำ จะจับติดคุก คนก็ไม่อยากติดคุก แต่พอออกจากคุกมา แผลยังอยู่ แล้วคุณจะทำไง คุณก็ต้องหาอะไรมาเยียวยาตัวเอง คือบาดแผล ไม่เจ็บกาย ก็เจ็บใจ เราเจ็บปวด เราถึงหาอะไรมาเยียวยา ต่อให้ไม่ใช่กัญชา ก็ต้องเป็นอย่างอื่น เราทุกคนล้วนเสพติดอะไรบางอย่าง เฟซบุ๊คก็เสพติด ความรักก็เสพติด คืออะไรที่คุณอยู่กับมันได้นาน นั่นเขาเรียกว่าเสพติดหมด แล้วทุกอย่างจะมีปัญหาหมด ถ้าคุณอยู่กับมันนานเกินไป เพราะว่าสมองมันหลั่งสารความสุขออกมา มันทำงานเหมือนกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานโดยหลัก สมองจะทำงานเหมือนกัน ถูกมั้ยครับ แต่ถ้าเราติดมันมากเกินไป นั่นแหละคือปัญหา ว่าเราอยู่กับมันมากไปหรือเปล่า
คือของทุกอย่าง ใช้ให้ดีก็ได้ ใช้ให้แย่ก็ได้ แต่ให้มันมากหรือน้อยเกินไปก็ไม่ดี เราควรจะอยู่ให้พอดีๆ สมมุติว่าน้ำตาลถูกกฎหมายเป็นของดี แต่ถ้าเราใช้มันมากไป ร่างกายคุณมันจะพังมั้ย หรือถ้ากินเกลือมากไป ร่างกายคุณจะพังมั้ย ฉะนั้น ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าจะใช้หรือไม่ใช้อะไร แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่า ใช้อย่างไรถึงจะปลอดภัยมากกว่า ทีนี้การที่จะแก้ปัญหาพวกนี้จริงๆ มันอยู่ที่การให้ความรู้กับสังคมไม่ใช่เหรอ ไม่ใช่ไปห้ามเขาทั้งหมด ซึ่งมันก็ตจะมีปัญหา เช่น ผมยกตัวอย่างเรื่องกาว กับ ทินเนอร์ สองสิ่งนี้ผลิตขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาอุตสาหกรรม แต่คนดันทะลึ่งไปใช้ผิดประเภท แล้วพอห้ามเราใช้ คนที่ใช้ทำงานล่ะเขาต้องทำยังไง ก็ซวยอีก ลำบากอีก ซึ่งเราต้องให้ความรู้ว่า ถ้าใช้เยอะขนาดนี้มันจะอันตรายนะ มึงใช้แบบพอดีๆ หรือไม่ใช้เลยดีกว่า เราควรจะสอนกับเด็กในเรื่องแบบนี้ ประมาณว่ามันอันตรายเกินไปนะ แต่ไม่ใช่แบบห้ามไปจนลืมมองประโยชน์ของตัวเอง
• ทางกลุ่มกำลังจะบอกว่า สิ่งที่อยู่รอบตัวเรานั้น มันน่าจะเป็นสิ่งเสพติดมากกว่า ประมาณนั้น
อรัญ : จริงๆ มันมีพื้นฐานที่ใกล้ๆ ตัวเรา แต่เราไม่รู้ว่ามันเป็นยาเสพติด อย่างเช่น กาแฟ น้ำตาล พวกนี้ในแง่วิทยาศาสตร์ คือยาเสพติดหมด แล้วมันมีงานวิจัยที่เทียบกันแล้ว กัญชามันมีการติดน้อยกว่ากาแฟ น้อยกว่าบุหรี่และแอลกอฮอล์ แล้วในแง่ของสังคมก็น้อยกว่า แต่มันแค่ถูกจัดยัดไปอยู่ที่หมวดยาเสพติดแค่นั้นเอง
ช่อขวัญ : อย่าว่าแต่ผลกระทบของสังคมเลย ผลกระทบต่อร่างกายตัวเองยังน้อยกว่า
อรัญ : อย่างปู่ผมเขาก็เสียชีวิตจากการทานน้ำตาลนะ เรียกได้ว่าเช้าเที่ยงเย็น ต้องมีอยู่ในอาหารตลอด จนมะเร็งเริ่มลุกลาม มีอยู่ช่วงหนึ่งได้บอกท่านว่าให้หยุด แต่ท่านก็ไม่เอา จะกินน้ำตาล เราก็ได้แต่ปล่อยแกไป จนเสียชีวิต ซึ่งของประเภทนี้ก็แป็นสิ่งเสพติดเหมือนกัน แต่มันถูกกฎหมาย
ชัยวัฒน์ : ผมก็เลยสงสัยเหมือนกันว่า ทั้งบุหรี่และสุรา เราเห็นว่าพิษมันร้ายแรงแต่ยังปล่อยให้ถูกกฎหมายได้ แต่พอเป็นกัญชาที่มันปลอดภัยกว่า แต่ด้วยความเชื่อ หริอ มายาคติที่เราเชื่อมาเป็นสิบๆ ปี มันทำให้ใช้ไม่ได้ในสังคม แล้วก็สงสัยว่า ทำไมเราถึงต้องปล่อยให้เป็นอย่างงั้น เราเห็นอะไรบางอย่างที่รุนแรงกว่า แล้วเราเอาสิ่งที่ละมุนกว่ามาลดทอนตรงนั้น คือการใช้ soft drug มาทดแทน hard drug มันไม่ดีกว่าหรือปลอดภัยกว่าเหรอ แทนที่ คนมองว่าปล่อยให้กัญชาถูกกฎหมาย เดี๋ยวคนจะไปเมานะ ลำพังแค่เมาเหล้าเนี่ย ก็เดือดร้อนพออยู่แล้ว ผมเลยถามกลับว่า ในเมื่อกัญชามันปลอดภัยกว่า ที่งานวิจัยบอกว่า ใช้แล้วสติยังดีอยู่ มากกว่าแอลกอฮอล์ที่จะทำร้ายคุณ ซึ่งอย่างที่บอก สังคมเราจะไม่ปลอดภัยกว่าเดิมเหรอ
• ซึ่งทางกลุ่มเองก็พยายามที่จะผลักดันกัญชาให้เป็นที่ยอมรับให้ได้ ถึงแม้ว่ามายาคติในก่อนหน้านี้ จะเป็นโจทย์ใหญ่ก็ตาม
รัฐพล : ใช่ครับ zigma มันเป็นเรื่องสำคัญมากของการตีตราที่เป็นเรื่องใหญ่ แล้วก็ ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีใครอยากจะยุ่ง แต่มันเป็นเรื่องสำคัญสำหรับสังคมที่เราต้องทำ
ช่อขวัญ : อีกอย่างนึง เราไม่ต้องการให้เด็กมาตามนะ ไม่ต้องการเปลี่ยนทัศนคติเด็ก แต่ต้องการที่ผู้ใหญ่นี่แหละ เพราะว่าเขาน่าจะได้ใช้ เดี๋ยวอีกไม่กี่ปีก็แก่แล้ว (หัวเราะ) ถูกมั้ย อย่างคนที่กินเหล้าหนักๆ ก็ตับโดนเล่นงาน นอกจากนี้ก็มีพวกโรคต่างๆ มารุมเร้าอีก ซึ่งแต่ละอย่างมันไม่ใช่โรคเบาๆ นะ คนที่จะได้ประโยชน์คือคนแก่นี่แหละ คนที่ด่าพวกเรานี่แหละ (หัวเราะ) ซึ่งเป็นสิ่งที่เราพยายามนี่คือต้องเปลี่ยนความคิดที่ผู้ใหญ่ก่อน เพราะว่ายังไงเขาก็ต้องไปบอกลูกหลานเองอยู่ดี สมมุติว่า ถ้าแม่มาบอกเราว่า แม่ใช้กัญชาแล้วดีนะ แม่ปวดข้ออยู่ ยังไงลูกก็ต้องไปหามาให้
ชัยวัฒน์ : ผู้ใหญ่ที่ว่าหมายถึงคนที่อยู่ในรุ่นเรานะ แต่ก่อนหน้านั้นยังโอเคไง คือรุ่นทวด รุ่นยาย เขายังโอเคอยู่ เพราะเขาเปรียบเหมือนผักสวนครัว มันอยู่ในทุกบ้าน แบบไปทำนา กลับมาก็ดูดเพื่อผ่อนคลาย มีบ้องกันคนละหลัง มันก็แค่นั้นเอง มันอยุ่ในวัฒนธรรมของเรา ถามว่ามันนานแค่ไหน มันอยู่กับเรามาตั้งแต่ก่อสร้างกรุงเลยล่ะ ถ้าไม่เชื่อ ลองไปดูจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆ ได้ วัฒนะรรมในการใช้กัญชา อยู่ในสังคมไทยมาเป็นร้อย เป็นพันปีแล้ว แต่เราโดนตีตราจากบางพวกให้เข้าใจอย่างงั้น
• จากแนวโน้มสถานการณ์ในบ้านเราในตอนนี้ ถือว่าโอเคขึ้นมั้ยครับ
ชัยวัฒน์ : เรียกว่ามีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ซึ่งมันเหมือนจากที่บอกว่าจะทำยังไง แต่การทำยังไงก็สำคัญ เพราะว่าสุดท้ายถ้าผลประโยชน์ให้ไปที่คนบางกลุ่มทำ จบเลยนะ เพราะแทนที่จะกระจายผลประโยชน์ไปที่เกษตรกรให้กระจายออกไป มันก็กลายเป็นการผูกขาดเหมือนเดิม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับคนไทย
ช่อขวัญ : กับอีกอย่างหนึ่ง เรารู้สึกว่า คนที่กลับมาทำตรงนี้ เขาคิดว่าผลประโยชน์มันเยอะมาก เป็นมูลค่ามหาศาล แต่ตลาดเมืองนอกเขาอยู่มา 60 กว่าปีแล้ว เราจำไปสู้เขาได้ยังไง การตลาดเราเข้าไปได้หรือเปล่า เงินเราถึงมั้ย เราสามารถเข้าไปขอซัก 1-2 เปอร์เซ็นต์ได้มั้ย เรายังไม่มีวิวัฒนาการ เรายังไม่มี business mind กับตรงนี้ แค่เรื่องการเปิดรับฟัง เรายังไม่เปิดฟังเลย แล้วเราจะไปถึงไหนอ่ะ แล้วเขาได้คิดว่า เราได้ตังค์เยอะขนาดนี้ จะแบ่งกันยังไงก็ว่าไป คือดึงเลขอะไรมาก็ไม่รู้
ชัยวัฒน์ : คือเมื่อก่อนกัญชาไทยมีชื่อเสียงมาก คนยุค 1970 เขายอมรับในกัญชาไทยว่ามีคุณภาพดี แทบจะที่สุดเลยแหละ แล้วทีเนี้ยอยู่ๆ กฎหมายเราเปลี่ยน เราโดนแบนกันมา มันทำให้ขาการพัฒนา แต่เมืองนอกเขาก็ยังพัฒนาต่อ เขามีการรณรงค์ มีการต่อสู้ของเขาไปเรื่อย จากที่เขาตามหลังเรา วันนี้เขาแซงหน้า ถามว่า ตอนนี้เรามีแค่ชื่อเสียงเก่า แต่ถ้าเรามาเริ่มในวันนี้เรากำลังตามเขาอยู่ อย่างการสกัด เขาสามารถสกัดมันออกมาเป็นผลีตภัณฑ์อื่นออกมาได้อย่างเยอะแยะ แต่เรายังใช้ในรูปแบบฟอร์มของธรรมชาติ ซึ่งในเมืองนอกไปไกลในรูปแบบการแปรรูปใหม่ๆ แล้ว เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ นานา นี่คือทางการใช้ และทางอุตสาหกรรม ซึ่งเขาล้ำหน้าไปแล้ว ตอนนี้กลายเป็นว่า เรากำลังตามเขาอยู่นะ ถามว่าเราจะตามเขาอีกเมื่อไหร่ คือการเริ่มทีหลังมันไม่ใช่ปัญหาหรอก แต่ขอให้เริ่มเถอะ แต่ถ้าเรามัวแต่จ้องมองเฉย เกิดสิทธิบัตรเขาแจ้งหมดแล้ว เราจะเริ่มก็เริ่มไม่ได้แล้วนะ
ช่อขวัญ : ณ ตอนนี้ ไทยเรายังไม่มีพันธุ์เลย กัญชาคนไทยหายไปไหน ถามว่าจะไปเอากัญชาจากที่อื่นเหรอ มันก็ไม่ใช่เรื่อง กลายเป็นว่า ถ้าเราจะเอากลับมา เราต้องจัดการเปลี่ยนแปลงใหม่ด้วยซ้ำ เพราะว่ามันร้อนเกินไป
ชัยวัฒน์ : แล้ว ณ ปัจจุบัน ไอ้คำว่า thai stick ที่เมืองนอกเอาไปทำเลียนแบบจนมีขาย แต่มันเป็นของปลอม ไม่ใช่ที่มาจากกระบวนการของไทยจริงๆ เป็นแค่สาขาใหญ่ขึ้นมา คือเมื่อก่อนพันธุ์กัญชามันมีไม่กี่สายพันธุ์นะ แต่ตอนนี้มีการพัฒนากันไปเรื่อยๆ จนจดเป็นสิทธิบัตรพันธุ์ใหม่ออกมาเป็นร้อยๆ สายพันธุ์แล้ว แต่ ณ ตอนนี้ ที่มีตลาดมืดในเมืองไทย มีพันธุ์อะไรก็ไม่รู้ ตอบไม่ได้ แต่เมืองนอก สามารถตอบได้หมด พันธุ์นี้เป็นยังไง มีการจัดการยังไง แต่เราไม่มี จะให้เราไปค้นหาสายพันธุ์ยังไงก็ยังไม่รู้เลย ซึ่งจากที่เมื่อก่อนที่จะกลัวว่าจะใช้ มาเริ่มที่จะไม่กลัวแล้ว มาใช้ในทางการแพทย์สิ แต่กัญชามันไม่ได้มีมิติทางการแพทย์อย่างเดียว มันมีทั้งมิติทางอุตสาหกรรมและการใช้เพื่อผ่อนคลาย ซึ่งทั้งสามหลักมันเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ทั้งหมด และมีประโยชน์
ตอนนี้สังคมเปิดแค่เพื่อในการแพทย์แต่ยังติดลบในเรื่องการผ่อนคลายอยู่ ซึ่งจริงๆ มันก็มีประโยชน์นะ แต่คนก็มักจะคิดว่า เอาให้หมอใช้ ให้คนไข้ใช้ ส่วนพวกที่เอาไปใช้เพื่อความบันเทิงจับมันให้หมด ผมลองสมมุติดูนะ ให้เอาพารามา 20 เม็ด กับกัญชามา 20 กรัม แล้วเอามาผสมกัน ดูซิว่าอะไรไปก่อน อะไรจะน้ำลายฟูมปากก่อนกัน ทีนี้พอมันเป็นประเด็นที่ว่า พอมาเป็นเรื่องอื่น เราก็ต้องให้ความรู้ต่อ เพราะว่า ถ้าคุณจะมองแค่ว่า ถ้าไปจับเพื่อความบันเทิง มันก็คือปัญหาใหม่ที่กำลังคุณจะสร้างขึ้นมาใหม่ แก้ได้หนึ่ง เพิ่มมาอีกสิบ กลายเป็นลิงแก้แห สุดท้ายก็วนเวียนไปเรื่อยๆ
• สรุปว่ามีชุดความคิดเดิมๆ มันก็เลยไปไม่ถึงไหน
รัฐพล : เรื่องการใช้กัญชาเพื่อการผ่อนคลาย ผมอธิบายให้ฟังว่า อย่างเมื่อก่อนแอลกอฮอล์มันก็ผิดกฎหมายนะ แต่สุดท้ายก็มีการเอาขึ้นมาบนดินได้ หวยก็ไม่ได้ต่างกับอาบอบนวด ไม่ได้ต่างจากคาสิโน มันแค่ขึ้นมาบนดิน ให้รัฐได้เก็บภาษี ให้ได้ถูกกฎหมาย คนใช้ก็ไม่ต้องถูกจับ มีคนดูแล รับรองความปลอดภัย ไม่ต้องไปหลบๆซ่อนๆ ซึ่งมันจะสร้างความปลอกภัยให้คนมากขึ้น ไม่ต้องเอาคนไปติดคุก รัฐก็ได้ภาษี ผลประโยชน์ก็ไม่ต้องตกไปอยู่กับตลาดมืดหรือมาเฟีย มันก็เป็นเมนไอเดียแบบนั้น สุดท้ายมันก็เป็นไอเดียที่ปลอดภัยกับคน
ชัยวัฒน์ : คือถ้าสังคมมันบอกว่า กัญชามันอันตรายมันน่ากลัว แล้วผมถามว่า ทำไมเรานำความอันตรายพวกนั้นให้ไปอยู่ในมือของมาเฟียใต้ดินล่ะ ทำไมรัฐถึงไม่คุมเกมเอง แล้วมาปล่อยให้มาเฟียสูงสุดที่มาหวังแค่กำไร โดยที่ไม่สนใจคนที่จะตายไป ช่างมัน สนแต่จะทำกำไร ทำไมถึงโยนไปให้พวกนั้น รัฐทำไมถึงไม่เอามาดูแล เพื่อสวัสดิภาพของประชาชนนะ เคยมองตรงนี้หรือเปล่า แล้วของที่ผลิตมาในตลาดมืดนะ ก็เป็นของอะไรก็ไม่รู้ มีแต่ของไม่ดี ราทั้งนั้น ใส่อะไรมาก็ไม่รู้ ซึ่งถ้าขึ้นมาบนดิน ควบคุมกำหนดมาตรฐานความปลอดภัย ก็เหมือนที่เราทำกับบุหรี่ ว่ามันปลอดภัยกว่ามั้ย จะไปห้ามโฆษณาอะไรก็ทำไป กำหนดว่าซื้อกี่กรัมก็ทำไป เราไม่ได้บอกว่ากัญชาต้องเสรีเหมือนพริกหรือมะนาว แต่เราบอกว่าทำให้มันถูกกฎหมายซักที ซึ่งมันมีกระบวนการการควบคุมไง ภายใต้การควบคุมของรัฐที่ออกมาเพื่อความปลอดภัยของประชาชน แล้วก็กำหนดกันมาสิ
• สรุปคือถ้าแก้ที่ตัวกฎหมายอาญาออกไป ซึ่งจะผ่อนคลายพอสมควร
ช่อขวัญ : จริงๆ แล้วเรามองเหมือนกับการปล่อยยา แต่อาจจะมีปัญหาในกรณีที่ใช้กับพวกผ่อนคลาย แล้วถ้ามองในอีกด้านหนึ่ง ถ้าเขาปล่อยตรงยา มันก็มีคนที่ใช้เป็นยาจริงๆ ซึ่งถ้าเขาโดนจับก็เป็นผู้ต้องหาไปด้วย เรามาจัดการตรงนี้ก่อนดีกว่ามั้ย แบบคนที่ใช้เป็นยาจริงๆ หรือใช้ไปในอะไรก็แล้วแต่ เพราะว่าโดนมันคือโทษอาญา
รัฐพล : คือโทษอาญามีโทษจำคุก เป็นอาชญากร ซึ่งมันไม่ได้เหมาะสมกับที่เขาทำ อาจจะเป็นเพราะการผ่อนคลายหรือไปใช้ประโยชน์ก็เหอะ มันไม่ได้สร้างความเดือดร้อนต่อสังคม
ชัยวัฒน์ : คือเราอย่าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ คือในต่างประเทศกัญชาก็ไม่ถูกกฎหมายหมดนะแต่เขาอ่าเรื่องนี้มันเล็กน้อย เพื่อนผมดูดกัญชาที่อังกฤษ พอเจอตำรวจก็ทำได้เพียงบอกให้ดับควัน ไม่ดีๆ แล้วก็ไม่มีอะไร จะเป็นแค่คำเตือนซะมากกว่า เขาเรียกว่า สังคมไม่ได้ประโยชน์อะไร แต่ว่าบ้านเรามันเอาเรื่องเล็กมาเป็นเรื่องใหญ่ไง ประมาณว่า ถ้าคนดูดกัญชาปี้ดเดียว เสียยันวงศ์ตระกูลเลย หลังจากนั้นจะไปทำงานทำการอะไรไม่ได้เลย ยิ่งถ้าคุณอยู่ในวงการบันเทิงนะ โดนแบนไปเลย ซึ่งถามว่ามันเหมาะสมเหรอ ซึ่งถ้าติดคุกมันเป็นโทษอาญา ถูกมั้ย แล้วจะเป็นอาชญากร ซึ่งไปทำอาชญากรรมจึงจะรับโทษทางอาญา แต่ผมถามว่าสูบกัญชาแล้วจะเป็นอาชญากรรมอะไร ในเมื่อมันไม่ใช่การเป็นอาชญากรรม ทำไมต้องไปรับโทษให้เป็นอาชญากรล่ะ ใช้โทษอย่างอื่นได้มั้ย
อย่างที่บอก ลองแล้วไม่ชอบ แล้วเดินไปปากซอยกลายเป็นฉี่ม่วง หรือว่า ผมไปหาเพื่อนที่ดูด แล้วอยู่ๆ เจ้าหน้าที่เปิดประตูเข้ามา ผมติดไปด้วยนะ ทั้งๆ ที่เรามาธุระเฉยๆ ซึ่งเขาไม่ฟังนะ มันกลายเป็นเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ คนเลยเต็มคุก แล้วเราต้องเอาภาษีที่เราจ่าย คนนึงเฉลี่ย ปีนึงร่วมแสนกว่าบาท แล้วกับการที่สูบกัญชานิดเดียว แต่ต้องมาอยู่เป็นปี ถามว่าคุ้มมั้ย แทยนที่จะเอาภาษีไปจ่ายข้างนอกจากการทำงาน แล้วมันก็ไม่ใช่แค่หนึ่งคนไง เบื้องหลังคือครอบครัว แล้วถ้าคนนั้นเป็นคนที่หาเลี้ยงหลักล่ะ ครอบครัวนั้นก็พังไปด้วยเลยนะ หรือลุกที่ต้องหาเลี้ยงแม่ที่ป่วย แล้วต้องเกี่ยวเนื่องอีกกี่ชีวิต กลับมาเป็นปัญหาสังคมอีก แล้วออกมาทำงานไม่ได้เพราะโดนตีตราว่าไอ้ขี้คุก สุดท้ายพอเขาเป็นอาชญากรจริงๆ ผมถามกลับว่า ใครกันแน่ที่ทำให้เขาเป็นอาชญากร คือคนดีๆ ที่ว่านี่แหละ ที่ผลักจากด้านสว่างไปด้านมืด แล้วพอเขาออกมาไปลัก วิ่ง ชิง ปล้น ใครโดนผลกระทบ ก็คือพวกเราอีก สุดท้ายรัฐสร้างปัญหาเอง แล้วต้องมารับผลกระทบเอง
• คือต้องแก้ทั้งหมดเลย ทั้งความคิดคน ทั้งตัวกฎหมาย
ชัยวัฒน์ : ก่อนที่จะมีกฎหมาย มันคือแนวคิดของสังคม เพราะกฎหมายมันเขียนด้วยคนที่อยู่ในสังคม ถ้าสังคมมองลบ กฎหมายก็ลบตาม จริงๆ เราไม่ได้สู้ด้วยกฎหมายนะ เราสู้กับแนวคิด อคติ คือเราไม่ได้โทษเขานะ แต่มันมีระบบที่ปลูกฝังให้คนเชื่อไปอย่างงั้น ซึ่งไม่ใช่ความจริง เราแค่เอาความจริงมาพูด คือเราอยากแก้ปัญหาในองค์รวม ไม่ใช่ปัญหาทั้งหมด แต่ถ้าให้ถามวิธีแก้ปัญหา ให้เพิ่มโทษสิ แล้วผมถามว่ากฎหมายยาเสพติดมันแรงขึ้นทุกปี มันแก้อะไรได้มั้ย ถ้าการเพิ่มโทษมันดีจริง มันต้องไม่มีปัญหาเรื่องคนล้นคุกสิ คืออย่างที่บอก อะไรที่ไม่ใช่อาชญากรรม ก็อย่าไปเพิ่มได้มั้ย อะไรๆ ก็อาชญากรไปหมด
ช่อขวัญ : ต้องค่อยๆ ปรับมุมมองของเขา คือจากที่เขามองแค่จุดเดียว เราแค่บอกว่า คุณลองมองไปอีกบ้าง มันอาจจะมีความน่าสนใจอยู่นะ ซึ่งจะทำให้เขาอาจจะคิดว่า มุมมนี้อาจจะไม่ใช่นะ คือมองให้มันกว้างขึ้นหน่อย ให้เขาลดตัวเองลงมานิดนึง อย่าคิดว่าทุกอย่างมันถูกหมด การที่จะเรียนรู้อะไร มันก็ต้องขดตัวลงมา เราต้องยอมรับในหลายๆ อย่าง
• ถ้าบ้านเราให้ถูกต้องตามกฎหมายกับกัญชา ทั้งทางวิชาการ และทั่วไป ทางกลุ่มคิดว่าบ้านเราจะเป็นยังไง
รัฐพล : ผมว่ามันก็ยังคงเหมือนเดิม คือผมพูดที่อ้างอิงมาจากอเมริกา คือมันก็ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย สิ่งที่คนคิดว่าเอาไปใช้เยอะแยะ คิดว่าเด็กจะเอาไปใช้ มอมเมา มันจะดูเหมือนเดิม อาจจะได้เงินจากภาษีเยอะขึ้น แล้วเอาเงินไปลงที่โรงเรียน สิ่งเดียวที่ได้คือรัฐได้ภาษีจากสิ่งนี้ คือคนที่ใช้ก็ใช้ คนที่ไม่ใช้ก็ไม่ใช้ เหมือนกับบุหรี่ละครับ ซึ่งคนอาจจะคิดไปเองก่อน แต่ถ้าคนไม่ชอบยังไงก็ไม่ชอบ
อรัญ : แต่สถิติของโคโลราโด อันนี้คือเรื่องจริงเลยนะ ทั้งอาชญากรรมภายในเขต ทั้งเรื่องการศึกษา ทั้งเด็ก อย่างเยาวชนที่อายุ 16-18 อาจจะลดลงด้วยซ้ำ เพราะว่าไม่ท้าทายสำหรับเขาแล้ว ส่วนเรื่องอาชญากรรมในรบ้านเราอาจจะคงที่ เผลอๆ ตกลงมาด้วยซ้ำ ส่วนที่ได้คือสุขภาพและภาษี
ช่อขวัญ : อาจจะมีการแสดงตัวในงานกิจกรรมพิเศษแค่นั้นเอง นอกนั้นก็อยู่ในบ้าน อาจจะมีแค่แอลกอฮอล์ลดลง ดูดบุหรี่ลดลง อาจจะมีสิ่งเดียวที่เปลี่ยนคือ อาจจะขายขนมหรือน้ำหวานจะขายดีขึ้น (หัวเราะ)
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : วชิร สายจำปา
• อยากให้เล่าถึงจุดเริ่มของทางกลุ่มหน่อยครับ
รัฐพล : เริ่มมาจากตัวผมก่อน แต่ถ้าจะเล่าไปถึงแรงบันดาลใจ ก็มาจากหลายๆเรื่อง ทั้งเรื่องครอบครัว ที่ทางบ้านผมเขาเสียชีวิตจากโรคมะเร็งหมด ทั้งปู่ ย่า และ พ่อแม่ ก็ไปจากโรคนี้หมด แล้วมันมีช่วงหนึ่งที่ไปเรียนที่อเมริกา ก็ไปเจอกลุ่มคนที่เขาใช้กัญชาแบบถูกกฎหมาย แล้วทางแพทย์ที่นั่นเขาก็บอกว่า สามารถใช้ร่วมกับไมเกรนและโรคต่างๆได้ จนเราได้ไปเจอคนที่ใช้กับกัญชากับมะเร็ง ที่เขาร่วมกันคีโม ซึ่งใช้กัญชาตัวเดียวในการรักษาโดยเฉพาะเลย สิ่งที่เราเห็นคือ คุณภาพชีวิตของครอบครัวมันแตกต่างจากสิ่งที่เราเจอ คือเขาไม่ได้เจ็บ ไม่ได้ป่วย แต่ว่าเขามีเรี่ยวแรงไปทำอย่างอื่นได้ ซึ่งนั่นก็เป็นจุดสำคัญที่ทำให้เขารอดชีวิตได้ อย่างครอบครัวผมที่เป็นโรคนี้ คือนอน น้ำหนักลด อาเจียน กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปวด เจ็บ แล้วก็ตายไป ซึ่งต่างจากที่เราไปเจอที่นั่น ซึ่งเขาใช้มาเพื่อลดอาการที่ว่ามา ทำให้กินได้ นอนหลับ ซึ่งมาจากการใช้กัญชานี่แหละ มันก็ทำให้ผมเห็นว่ามันก็มีดีนะในแง่การรักษาโรคในหลายๆ อย่าง
แล้วตอนนั้นแม่ก็ยังไม่เสีย แล้วขณะนั้น แม่ก็โทรมาบอกว่า แม่เป็นมะเร็ง ผมก็กลับมาที่ไทย กลับมาเพื่อที่จะบอกว่า กัญชาสามารถช่วยแม่ได้ ผมก็เลยมาคุยกับแม่และคนรอบข้างที่ดูแลแม่อยู่ แต่ทุกคนไม่เอาหมด เพราะมันเป็นแบบว่า มันเป็นความเชื่อที่ถูกปลูกฝังกันมา ให้มันน่ากลัว จนไม่สามารถที่จะใช้ในการทำแบบอื่นได้ ตอนนั้นน่าจะเป็นปี 2012 ซึ่งแนวความคิดนี้ในตอนนั้น ยังไม่มีใครคิดว่าใช้ในไทยได้ แต่ในอเมริกานี่ให้ถูกกฎหมายมา 20 ปีแล้ว แถมมุมมองในตอนนั้นคือมืดดำมาก จนสุดท้ายแม่ก็จากไปแบบเจ็บปวดทรมาน เราเลยรู้สึกว่า จะต้องทำอะไรซักอย่างแล้ว บวกกับถ้ามองได้หลายๆ แง่ก็อาจจะมองได้หลายๆ อย่างได้ ผมก็เลยทำเพจนี้ขึ้นมา จากนั้นก็เริ่มมีเพื่อนๆ มาช่วยกันทำ ก็มีทั้ง 3 คนมาเป็นทีม จากนั้นก็ร่วมกันจัดงานนั่นนี่ ซึ่งนอกจากในทางการแพทย์แล้ว มันยังมีอีกหลายๆ ด้านที่จะถูกนำเสนอ ซึ่งตอนนี้มันเป็นประเด็นระดับโลกแล้วว่า มันควรจะให้ถูกกฎหมายแล้วหรือเปล่า
• จากการเริ่มเพจมาตั้งแต่ปี 2013 กระแสทั่วโลกในตอนนั้นมันเริ่มมาแล้วหรือยัง
รัฐพล : เรียกว่ามันเริ่มเป็นกระแส แต่ว่าถ้าเป็นฝั่งทางอเมริกา เขาเริ่มมีกระแสที่ค่อนข้างนานแล้ว เขามีการต่อสู้ มีการเปลี่ยนกฎหมายหมายมาหลายรอบ แต่ทางเอเชียมันยังมีความมืดบอดอยู่ คืออาจจะมีอยู่บ้างแต่ว่าเบา มีแค่พูดคุยกันเอง แต่ไม่อยู่ในที่แจ้ง ประมาณนั้นมากกว่า ซึ่งในเรื่องการใช้ แน่นอนว่ามันมีอยู่แล้ว แต่การถูกพูดถึงของสื่อในตอนนั้น จะมีแต่ประเภท จับ หรือ คนดูดกัญชาแล้วไปทำอะไรต่างๆ
ชัยวัฒน์ : ถามว่ามีมั้ย มันมีแต่จะมีแบบข่าวกรอบเล็กๆ มีพูดในพันทิปบ้าง พูดถึงข้อดีบ้าง แต่ว่ามีแค่ประปราย ไม่ได้เป็นชิ้นเป็นอัน
ช่อขวัญ : เราว่าช่วงนั้น คนไทยตัวเผือกเลยนะ อย่างกับเพื่อนตัวเองก็จะไม่บอกยกเว้นรู้เฉพาะรอบข้าง จะไม่มีการพูดคุย ไม่มีการเอ่ยถึงเลย ทุกอย่างเงียบ เราไปพูดกับอย่างอื่นแทน
• ซึ่งการที่ได้มาเริ่มทำในช่วงที่ติดลบนี่คือถือว่าดำมืดมากเลยนะ
รัฐพล : คือตอนนั้น ผมคิดว่ามันเริ่มจากที่ว่า เราเอาเรื่องที่เป็นความจริงมาพูด คือมันมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างบอกมา มันมีข้อมูลที่ว่า ต่างประเทศทำให้ถูกกฎหมาย หรือที่นั่นก็เอามาใช้เป็นประโยชน์ได้ เป็นเรื่องที่สังคมไม่เคยรู้เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น ตอนนั้น ถึงแม้ว่ามันจะดำ แต่เราก็เดินหน้าทำไป ซึ่งถึงแม้ว่าเราจะทำอย่างงั้น แต่ว่าในช่วงแรกๆ เราก็โดนด่านะ อย่างเรื่องที่เราพูดก็เป็นงานวิจัยของมหาลัยต่างๆ นะ เราเขียนเล่าให้ฟังเฉยๆ แต่ก็ไม่วายโดนด่าอีก คือมันเป็นเรื่องของข้อมูลด้วย ซึ่งมันมีมากกว่านั้น แต่เรามองว่ามันเป็นประโยชน์ต่อคนทั้งประเทศด้วย แน่นอนเรื่องยา ถ้าเราเอามาใช้ แน่นอนว่าเราลดการนำเข้าของยาหลายตัวด้วย เพราะว่าในระบบของกัญชามันทำงานในหลายระบบนะ มันกลายเป็นว่า เป็นยาชนิดใหม่ที่เป็นหนทางในการรักษาโรคที่เรายังไม่เคยรู้
ช่อขวัญ : จริงๆ สิ่งที่เราทำ มันไม่ใช่เป็นอะไรที่ด้านมืดดำ เพราะว่าเราเอาข้อมูลมากรอง และกลั่นว่าข้อมูลไหนจริง แล้วให้คนไทยมาชั่งใจวิจารณญาณเอง ตามความเหมาะสม แล้วก็นำเสนอให้แบบตามที่เขาเข้าใจ
ชัยวัฒน์ : พูดตรงๆ คือ เราไม่ได้ที่จะชี้ชวนนะ แบบว่ามาใช้กัญชากันเถอะ ไม่ใช่ แต่แค่มาบอกว่า ข้างนอกเขาเป็นยังไงกันบ้าง ว่ามันเกิดเหตุการณ์นี้ข้างนอกนะ มันมีงานวิจัยตัวนี้ออกมานะ ซึ่งเราให้ทั้งข้อดีและข้อเสียด้วย เราก็เล่าตามข้อเท็จจริงแค่นั้นเอง
อรัญ : ขนาดเด็กที่เป็นโรคลมชักจำนวน 1 ใน สาม ยาแผนปัจจุบัน ไม่สามารถช่วยได้ มีแต่จะส่งเข้าไอซียูแล้วตาย แต่ตัวนี้สามารถช่วยได้ แทบจะเกือบหายร้อยเปอร์เซ็นต์ แทนที่จะชักประมาณวันละ 30-40 รอบ มากลายเป็นว่า ชักแค่เดือนละครั้ง อีกทั้งวิวัฒนาการทางสมองก็สามารถเติบโตตามเด็กปกติทั่วไปได้ ซึ่งคนไทยทั่วไปคิดว่ามันผิด คือเอาเหตุผลพวกนี้ออกมาพูด ชี้ให้คนเห็น ที่เหลือก้แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละคน
• แสดงว่าทางกลุ่มก็ดูความเคลื่อนไหวของกัญชามาตลอด
รัฐพล : ใช่ครับ ประมาณว่า สถานการณ์ความเคลื่อนไหวมันเปลี่ยนแปลงตลอด ด้วยความที่น่าเป็นห่วงด้วยว่า เขาทำกันเร็วมาก
ชัยวัฒน์ : อย่างในอเมริกา ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี ที่สามารถเปิดให้ใช้กัญชาในหลายรัฐมาก แล้วเกินครึ่งของประชากรที่สามารถเข้าถึงกัญชาแบบถูกกฎหมายเพื่อความผ่อนคลายนะ แล้วไม่ใช่แค่นั้น ในยุโรปก็มา อย่างปีที่แล้ว เยอรมันก็ประกาศว่าจะทำกัญชาส่งออก กลายเป็นพืชเศรษฐกิจ ทั้งๆที่ยุโรปก็เป็นเมืองหนาว ไม่ได้เหมือนเรา แต่เขาพร้อมลงทุน อิตาลีก็มีกองทัพปลูกใช้ในการแพทย์ ส่วนออสเตรเลียตั้งเป้าว่าเป็นประเทศที่ส่งออกกัญชาทางการแพทย์เป็นอันดับ 1 ของโลก เพราะฉะนั้นยังมีนู่นนี่นั่นอยู่อีกเยอะครับ
• มันอาจจะเป็นเพราะว่าบ้านเราถูกตีตราในเรื่องกัญชามาพอสมควรด้วยมั้ย
รัฐพล : ส่วนหนึ่งมันเป็นการให้ข้อมูลที่มาจากภาครัฐใส่มาในสื่อมาตั้งแต่ 30-40 ปีก่อนแล้วครับ คือเขาสร้างผีขึ้นมา ถามว่าตอนนี้ภาครัฐอยากแก้มั้ย ก็อยากแก้อยู่เหมือนกัน เหมือนโรคเอดส์น่ะครับ ประเด็นเดียวกันเลย เขาสร้างผีขึ้นมาเองแล้วก็วนติดล็อคตัวเอง
ชัยวัฒน์ : จริงๆ ปัญหา ยาเสพติดมันเป็นปัญหาสังคม แต่เรามักจะตราหน้าผู้ป่วยว่าคนไม่ดีไปก่อนแล้ว ซึ่งเคยถามเขาก่อนมั้ยว่าทำไมต้องใช้ยา ไม่เคยมีใครตั้งคำถาม คุณมักจะบอกไปก่อนแล้วว่าใช้ยาไม่ดี แต่ไม่เคยถามว่าทำไมเขาถึงใช้มัน
ช่อขวัญ : หรือว่าเขาได้อะไรจากการใช้ยา บางคนก็อาจจะต้องการหลุดพ้น หรือใช้เพื่อรักษาตัว คือความต้องการของคนมันไม่เหมือนกัน
อรัญ : กัญชามันเป็นพื้นฐานของสังคม จริงอยู่ว่าทุกวันนี้มันผิดกฎหมาย แล้วคนพยายามตีตราว่าจะได้ใช้ทั่วไป จะใช้เอาไปทำกับข้าวบ้าง เป็นยาสมุนไพรบ้าง แต่มันอาจจะหายไปเพราะมีการตีตราการใช้การเสพ แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเสพตรงนี้ มันไม่ใช่ปัญหาของยาที่ทางภาครัฐบอก แต่เป็นปัญหาสังคมที่มีปัญหาในการพัฒนาคุณภาพของสังคม ไม่ใช่เรื่องยาอย่างที่บอก เพราะถ้าไม่มีกัญชาก็ไปเสพอย่างอื่นไปเรื่อยๆ คือสุดท้ายแล้ว คนก็ต้องหาอะไรเสพเพื่อที่จะหนีปัญหาที่ตัวเองเจอ
ชัยวัฒน์ : ยกตัวอย่างง่ายๆ ให้เห็นภาพนะ สมมุติว่าเราโดนมีดบาดมือ เจ็บ ใช่มั้ย เราต้องหายาเอาทิงเจอร์มาใส่ แล้ววันดีคืนดี รัฐบาลบอกว่าห้ามเอาทิงเจอร์ใส่แผล ถ้าใครทำ จะจับติดคุก คนก็ไม่อยากติดคุก แต่พอออกจากคุกมา แผลยังอยู่ แล้วคุณจะทำไง คุณก็ต้องหาอะไรมาเยียวยาตัวเอง คือบาดแผล ไม่เจ็บกาย ก็เจ็บใจ เราเจ็บปวด เราถึงหาอะไรมาเยียวยา ต่อให้ไม่ใช่กัญชา ก็ต้องเป็นอย่างอื่น เราทุกคนล้วนเสพติดอะไรบางอย่าง เฟซบุ๊คก็เสพติด ความรักก็เสพติด คืออะไรที่คุณอยู่กับมันได้นาน นั่นเขาเรียกว่าเสพติดหมด แล้วทุกอย่างจะมีปัญหาหมด ถ้าคุณอยู่กับมันนานเกินไป เพราะว่าสมองมันหลั่งสารความสุขออกมา มันทำงานเหมือนกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานโดยหลัก สมองจะทำงานเหมือนกัน ถูกมั้ยครับ แต่ถ้าเราติดมันมากเกินไป นั่นแหละคือปัญหา ว่าเราอยู่กับมันมากไปหรือเปล่า
คือของทุกอย่าง ใช้ให้ดีก็ได้ ใช้ให้แย่ก็ได้ แต่ให้มันมากหรือน้อยเกินไปก็ไม่ดี เราควรจะอยู่ให้พอดีๆ สมมุติว่าน้ำตาลถูกกฎหมายเป็นของดี แต่ถ้าเราใช้มันมากไป ร่างกายคุณมันจะพังมั้ย หรือถ้ากินเกลือมากไป ร่างกายคุณจะพังมั้ย ฉะนั้น ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าจะใช้หรือไม่ใช้อะไร แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่า ใช้อย่างไรถึงจะปลอดภัยมากกว่า ทีนี้การที่จะแก้ปัญหาพวกนี้จริงๆ มันอยู่ที่การให้ความรู้กับสังคมไม่ใช่เหรอ ไม่ใช่ไปห้ามเขาทั้งหมด ซึ่งมันก็ตจะมีปัญหา เช่น ผมยกตัวอย่างเรื่องกาว กับ ทินเนอร์ สองสิ่งนี้ผลิตขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาอุตสาหกรรม แต่คนดันทะลึ่งไปใช้ผิดประเภท แล้วพอห้ามเราใช้ คนที่ใช้ทำงานล่ะเขาต้องทำยังไง ก็ซวยอีก ลำบากอีก ซึ่งเราต้องให้ความรู้ว่า ถ้าใช้เยอะขนาดนี้มันจะอันตรายนะ มึงใช้แบบพอดีๆ หรือไม่ใช้เลยดีกว่า เราควรจะสอนกับเด็กในเรื่องแบบนี้ ประมาณว่ามันอันตรายเกินไปนะ แต่ไม่ใช่แบบห้ามไปจนลืมมองประโยชน์ของตัวเอง
• ทางกลุ่มกำลังจะบอกว่า สิ่งที่อยู่รอบตัวเรานั้น มันน่าจะเป็นสิ่งเสพติดมากกว่า ประมาณนั้น
อรัญ : จริงๆ มันมีพื้นฐานที่ใกล้ๆ ตัวเรา แต่เราไม่รู้ว่ามันเป็นยาเสพติด อย่างเช่น กาแฟ น้ำตาล พวกนี้ในแง่วิทยาศาสตร์ คือยาเสพติดหมด แล้วมันมีงานวิจัยที่เทียบกันแล้ว กัญชามันมีการติดน้อยกว่ากาแฟ น้อยกว่าบุหรี่และแอลกอฮอล์ แล้วในแง่ของสังคมก็น้อยกว่า แต่มันแค่ถูกจัดยัดไปอยู่ที่หมวดยาเสพติดแค่นั้นเอง
ช่อขวัญ : อย่าว่าแต่ผลกระทบของสังคมเลย ผลกระทบต่อร่างกายตัวเองยังน้อยกว่า
อรัญ : อย่างปู่ผมเขาก็เสียชีวิตจากการทานน้ำตาลนะ เรียกได้ว่าเช้าเที่ยงเย็น ต้องมีอยู่ในอาหารตลอด จนมะเร็งเริ่มลุกลาม มีอยู่ช่วงหนึ่งได้บอกท่านว่าให้หยุด แต่ท่านก็ไม่เอา จะกินน้ำตาล เราก็ได้แต่ปล่อยแกไป จนเสียชีวิต ซึ่งของประเภทนี้ก็แป็นสิ่งเสพติดเหมือนกัน แต่มันถูกกฎหมาย
ชัยวัฒน์ : ผมก็เลยสงสัยเหมือนกันว่า ทั้งบุหรี่และสุรา เราเห็นว่าพิษมันร้ายแรงแต่ยังปล่อยให้ถูกกฎหมายได้ แต่พอเป็นกัญชาที่มันปลอดภัยกว่า แต่ด้วยความเชื่อ หริอ มายาคติที่เราเชื่อมาเป็นสิบๆ ปี มันทำให้ใช้ไม่ได้ในสังคม แล้วก็สงสัยว่า ทำไมเราถึงต้องปล่อยให้เป็นอย่างงั้น เราเห็นอะไรบางอย่างที่รุนแรงกว่า แล้วเราเอาสิ่งที่ละมุนกว่ามาลดทอนตรงนั้น คือการใช้ soft drug มาทดแทน hard drug มันไม่ดีกว่าหรือปลอดภัยกว่าเหรอ แทนที่ คนมองว่าปล่อยให้กัญชาถูกกฎหมาย เดี๋ยวคนจะไปเมานะ ลำพังแค่เมาเหล้าเนี่ย ก็เดือดร้อนพออยู่แล้ว ผมเลยถามกลับว่า ในเมื่อกัญชามันปลอดภัยกว่า ที่งานวิจัยบอกว่า ใช้แล้วสติยังดีอยู่ มากกว่าแอลกอฮอล์ที่จะทำร้ายคุณ ซึ่งอย่างที่บอก สังคมเราจะไม่ปลอดภัยกว่าเดิมเหรอ
• ซึ่งทางกลุ่มเองก็พยายามที่จะผลักดันกัญชาให้เป็นที่ยอมรับให้ได้ ถึงแม้ว่ามายาคติในก่อนหน้านี้ จะเป็นโจทย์ใหญ่ก็ตาม
รัฐพล : ใช่ครับ zigma มันเป็นเรื่องสำคัญมากของการตีตราที่เป็นเรื่องใหญ่ แล้วก็ ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีใครอยากจะยุ่ง แต่มันเป็นเรื่องสำคัญสำหรับสังคมที่เราต้องทำ
ช่อขวัญ : อีกอย่างนึง เราไม่ต้องการให้เด็กมาตามนะ ไม่ต้องการเปลี่ยนทัศนคติเด็ก แต่ต้องการที่ผู้ใหญ่นี่แหละ เพราะว่าเขาน่าจะได้ใช้ เดี๋ยวอีกไม่กี่ปีก็แก่แล้ว (หัวเราะ) ถูกมั้ย อย่างคนที่กินเหล้าหนักๆ ก็ตับโดนเล่นงาน นอกจากนี้ก็มีพวกโรคต่างๆ มารุมเร้าอีก ซึ่งแต่ละอย่างมันไม่ใช่โรคเบาๆ นะ คนที่จะได้ประโยชน์คือคนแก่นี่แหละ คนที่ด่าพวกเรานี่แหละ (หัวเราะ) ซึ่งเป็นสิ่งที่เราพยายามนี่คือต้องเปลี่ยนความคิดที่ผู้ใหญ่ก่อน เพราะว่ายังไงเขาก็ต้องไปบอกลูกหลานเองอยู่ดี สมมุติว่า ถ้าแม่มาบอกเราว่า แม่ใช้กัญชาแล้วดีนะ แม่ปวดข้ออยู่ ยังไงลูกก็ต้องไปหามาให้
ชัยวัฒน์ : ผู้ใหญ่ที่ว่าหมายถึงคนที่อยู่ในรุ่นเรานะ แต่ก่อนหน้านั้นยังโอเคไง คือรุ่นทวด รุ่นยาย เขายังโอเคอยู่ เพราะเขาเปรียบเหมือนผักสวนครัว มันอยู่ในทุกบ้าน แบบไปทำนา กลับมาก็ดูดเพื่อผ่อนคลาย มีบ้องกันคนละหลัง มันก็แค่นั้นเอง มันอยุ่ในวัฒนธรรมของเรา ถามว่ามันนานแค่ไหน มันอยู่กับเรามาตั้งแต่ก่อสร้างกรุงเลยล่ะ ถ้าไม่เชื่อ ลองไปดูจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆ ได้ วัฒนะรรมในการใช้กัญชา อยู่ในสังคมไทยมาเป็นร้อย เป็นพันปีแล้ว แต่เราโดนตีตราจากบางพวกให้เข้าใจอย่างงั้น
• จากแนวโน้มสถานการณ์ในบ้านเราในตอนนี้ ถือว่าโอเคขึ้นมั้ยครับ
ชัยวัฒน์ : เรียกว่ามีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ซึ่งมันเหมือนจากที่บอกว่าจะทำยังไง แต่การทำยังไงก็สำคัญ เพราะว่าสุดท้ายถ้าผลประโยชน์ให้ไปที่คนบางกลุ่มทำ จบเลยนะ เพราะแทนที่จะกระจายผลประโยชน์ไปที่เกษตรกรให้กระจายออกไป มันก็กลายเป็นการผูกขาดเหมือนเดิม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับคนไทย
ช่อขวัญ : กับอีกอย่างหนึ่ง เรารู้สึกว่า คนที่กลับมาทำตรงนี้ เขาคิดว่าผลประโยชน์มันเยอะมาก เป็นมูลค่ามหาศาล แต่ตลาดเมืองนอกเขาอยู่มา 60 กว่าปีแล้ว เราจำไปสู้เขาได้ยังไง การตลาดเราเข้าไปได้หรือเปล่า เงินเราถึงมั้ย เราสามารถเข้าไปขอซัก 1-2 เปอร์เซ็นต์ได้มั้ย เรายังไม่มีวิวัฒนาการ เรายังไม่มี business mind กับตรงนี้ แค่เรื่องการเปิดรับฟัง เรายังไม่เปิดฟังเลย แล้วเราจะไปถึงไหนอ่ะ แล้วเขาได้คิดว่า เราได้ตังค์เยอะขนาดนี้ จะแบ่งกันยังไงก็ว่าไป คือดึงเลขอะไรมาก็ไม่รู้
ชัยวัฒน์ : คือเมื่อก่อนกัญชาไทยมีชื่อเสียงมาก คนยุค 1970 เขายอมรับในกัญชาไทยว่ามีคุณภาพดี แทบจะที่สุดเลยแหละ แล้วทีเนี้ยอยู่ๆ กฎหมายเราเปลี่ยน เราโดนแบนกันมา มันทำให้ขาการพัฒนา แต่เมืองนอกเขาก็ยังพัฒนาต่อ เขามีการรณรงค์ มีการต่อสู้ของเขาไปเรื่อย จากที่เขาตามหลังเรา วันนี้เขาแซงหน้า ถามว่า ตอนนี้เรามีแค่ชื่อเสียงเก่า แต่ถ้าเรามาเริ่มในวันนี้เรากำลังตามเขาอยู่ อย่างการสกัด เขาสามารถสกัดมันออกมาเป็นผลีตภัณฑ์อื่นออกมาได้อย่างเยอะแยะ แต่เรายังใช้ในรูปแบบฟอร์มของธรรมชาติ ซึ่งในเมืองนอกไปไกลในรูปแบบการแปรรูปใหม่ๆ แล้ว เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ นานา นี่คือทางการใช้ และทางอุตสาหกรรม ซึ่งเขาล้ำหน้าไปแล้ว ตอนนี้กลายเป็นว่า เรากำลังตามเขาอยู่นะ ถามว่าเราจะตามเขาอีกเมื่อไหร่ คือการเริ่มทีหลังมันไม่ใช่ปัญหาหรอก แต่ขอให้เริ่มเถอะ แต่ถ้าเรามัวแต่จ้องมองเฉย เกิดสิทธิบัตรเขาแจ้งหมดแล้ว เราจะเริ่มก็เริ่มไม่ได้แล้วนะ
ช่อขวัญ : ณ ตอนนี้ ไทยเรายังไม่มีพันธุ์เลย กัญชาคนไทยหายไปไหน ถามว่าจะไปเอากัญชาจากที่อื่นเหรอ มันก็ไม่ใช่เรื่อง กลายเป็นว่า ถ้าเราจะเอากลับมา เราต้องจัดการเปลี่ยนแปลงใหม่ด้วยซ้ำ เพราะว่ามันร้อนเกินไป
ชัยวัฒน์ : แล้ว ณ ปัจจุบัน ไอ้คำว่า thai stick ที่เมืองนอกเอาไปทำเลียนแบบจนมีขาย แต่มันเป็นของปลอม ไม่ใช่ที่มาจากกระบวนการของไทยจริงๆ เป็นแค่สาขาใหญ่ขึ้นมา คือเมื่อก่อนพันธุ์กัญชามันมีไม่กี่สายพันธุ์นะ แต่ตอนนี้มีการพัฒนากันไปเรื่อยๆ จนจดเป็นสิทธิบัตรพันธุ์ใหม่ออกมาเป็นร้อยๆ สายพันธุ์แล้ว แต่ ณ ตอนนี้ ที่มีตลาดมืดในเมืองไทย มีพันธุ์อะไรก็ไม่รู้ ตอบไม่ได้ แต่เมืองนอก สามารถตอบได้หมด พันธุ์นี้เป็นยังไง มีการจัดการยังไง แต่เราไม่มี จะให้เราไปค้นหาสายพันธุ์ยังไงก็ยังไม่รู้เลย ซึ่งจากที่เมื่อก่อนที่จะกลัวว่าจะใช้ มาเริ่มที่จะไม่กลัวแล้ว มาใช้ในทางการแพทย์สิ แต่กัญชามันไม่ได้มีมิติทางการแพทย์อย่างเดียว มันมีทั้งมิติทางอุตสาหกรรมและการใช้เพื่อผ่อนคลาย ซึ่งทั้งสามหลักมันเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ทั้งหมด และมีประโยชน์
ตอนนี้สังคมเปิดแค่เพื่อในการแพทย์แต่ยังติดลบในเรื่องการผ่อนคลายอยู่ ซึ่งจริงๆ มันก็มีประโยชน์นะ แต่คนก็มักจะคิดว่า เอาให้หมอใช้ ให้คนไข้ใช้ ส่วนพวกที่เอาไปใช้เพื่อความบันเทิงจับมันให้หมด ผมลองสมมุติดูนะ ให้เอาพารามา 20 เม็ด กับกัญชามา 20 กรัม แล้วเอามาผสมกัน ดูซิว่าอะไรไปก่อน อะไรจะน้ำลายฟูมปากก่อนกัน ทีนี้พอมันเป็นประเด็นที่ว่า พอมาเป็นเรื่องอื่น เราก็ต้องให้ความรู้ต่อ เพราะว่า ถ้าคุณจะมองแค่ว่า ถ้าไปจับเพื่อความบันเทิง มันก็คือปัญหาใหม่ที่กำลังคุณจะสร้างขึ้นมาใหม่ แก้ได้หนึ่ง เพิ่มมาอีกสิบ กลายเป็นลิงแก้แห สุดท้ายก็วนเวียนไปเรื่อยๆ
• สรุปว่ามีชุดความคิดเดิมๆ มันก็เลยไปไม่ถึงไหน
รัฐพล : เรื่องการใช้กัญชาเพื่อการผ่อนคลาย ผมอธิบายให้ฟังว่า อย่างเมื่อก่อนแอลกอฮอล์มันก็ผิดกฎหมายนะ แต่สุดท้ายก็มีการเอาขึ้นมาบนดินได้ หวยก็ไม่ได้ต่างกับอาบอบนวด ไม่ได้ต่างจากคาสิโน มันแค่ขึ้นมาบนดิน ให้รัฐได้เก็บภาษี ให้ได้ถูกกฎหมาย คนใช้ก็ไม่ต้องถูกจับ มีคนดูแล รับรองความปลอดภัย ไม่ต้องไปหลบๆซ่อนๆ ซึ่งมันจะสร้างความปลอกภัยให้คนมากขึ้น ไม่ต้องเอาคนไปติดคุก รัฐก็ได้ภาษี ผลประโยชน์ก็ไม่ต้องตกไปอยู่กับตลาดมืดหรือมาเฟีย มันก็เป็นเมนไอเดียแบบนั้น สุดท้ายมันก็เป็นไอเดียที่ปลอดภัยกับคน
ชัยวัฒน์ : คือถ้าสังคมมันบอกว่า กัญชามันอันตรายมันน่ากลัว แล้วผมถามว่า ทำไมเรานำความอันตรายพวกนั้นให้ไปอยู่ในมือของมาเฟียใต้ดินล่ะ ทำไมรัฐถึงไม่คุมเกมเอง แล้วมาปล่อยให้มาเฟียสูงสุดที่มาหวังแค่กำไร โดยที่ไม่สนใจคนที่จะตายไป ช่างมัน สนแต่จะทำกำไร ทำไมถึงโยนไปให้พวกนั้น รัฐทำไมถึงไม่เอามาดูแล เพื่อสวัสดิภาพของประชาชนนะ เคยมองตรงนี้หรือเปล่า แล้วของที่ผลิตมาในตลาดมืดนะ ก็เป็นของอะไรก็ไม่รู้ มีแต่ของไม่ดี ราทั้งนั้น ใส่อะไรมาก็ไม่รู้ ซึ่งถ้าขึ้นมาบนดิน ควบคุมกำหนดมาตรฐานความปลอดภัย ก็เหมือนที่เราทำกับบุหรี่ ว่ามันปลอดภัยกว่ามั้ย จะไปห้ามโฆษณาอะไรก็ทำไป กำหนดว่าซื้อกี่กรัมก็ทำไป เราไม่ได้บอกว่ากัญชาต้องเสรีเหมือนพริกหรือมะนาว แต่เราบอกว่าทำให้มันถูกกฎหมายซักที ซึ่งมันมีกระบวนการการควบคุมไง ภายใต้การควบคุมของรัฐที่ออกมาเพื่อความปลอดภัยของประชาชน แล้วก็กำหนดกันมาสิ
• สรุปคือถ้าแก้ที่ตัวกฎหมายอาญาออกไป ซึ่งจะผ่อนคลายพอสมควร
ช่อขวัญ : จริงๆ แล้วเรามองเหมือนกับการปล่อยยา แต่อาจจะมีปัญหาในกรณีที่ใช้กับพวกผ่อนคลาย แล้วถ้ามองในอีกด้านหนึ่ง ถ้าเขาปล่อยตรงยา มันก็มีคนที่ใช้เป็นยาจริงๆ ซึ่งถ้าเขาโดนจับก็เป็นผู้ต้องหาไปด้วย เรามาจัดการตรงนี้ก่อนดีกว่ามั้ย แบบคนที่ใช้เป็นยาจริงๆ หรือใช้ไปในอะไรก็แล้วแต่ เพราะว่าโดนมันคือโทษอาญา
รัฐพล : คือโทษอาญามีโทษจำคุก เป็นอาชญากร ซึ่งมันไม่ได้เหมาะสมกับที่เขาทำ อาจจะเป็นเพราะการผ่อนคลายหรือไปใช้ประโยชน์ก็เหอะ มันไม่ได้สร้างความเดือดร้อนต่อสังคม
ชัยวัฒน์ : คือเราอย่าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ คือในต่างประเทศกัญชาก็ไม่ถูกกฎหมายหมดนะแต่เขาอ่าเรื่องนี้มันเล็กน้อย เพื่อนผมดูดกัญชาที่อังกฤษ พอเจอตำรวจก็ทำได้เพียงบอกให้ดับควัน ไม่ดีๆ แล้วก็ไม่มีอะไร จะเป็นแค่คำเตือนซะมากกว่า เขาเรียกว่า สังคมไม่ได้ประโยชน์อะไร แต่ว่าบ้านเรามันเอาเรื่องเล็กมาเป็นเรื่องใหญ่ไง ประมาณว่า ถ้าคนดูดกัญชาปี้ดเดียว เสียยันวงศ์ตระกูลเลย หลังจากนั้นจะไปทำงานทำการอะไรไม่ได้เลย ยิ่งถ้าคุณอยู่ในวงการบันเทิงนะ โดนแบนไปเลย ซึ่งถามว่ามันเหมาะสมเหรอ ซึ่งถ้าติดคุกมันเป็นโทษอาญา ถูกมั้ย แล้วจะเป็นอาชญากร ซึ่งไปทำอาชญากรรมจึงจะรับโทษทางอาญา แต่ผมถามว่าสูบกัญชาแล้วจะเป็นอาชญากรรมอะไร ในเมื่อมันไม่ใช่การเป็นอาชญากรรม ทำไมต้องไปรับโทษให้เป็นอาชญากรล่ะ ใช้โทษอย่างอื่นได้มั้ย
อย่างที่บอก ลองแล้วไม่ชอบ แล้วเดินไปปากซอยกลายเป็นฉี่ม่วง หรือว่า ผมไปหาเพื่อนที่ดูด แล้วอยู่ๆ เจ้าหน้าที่เปิดประตูเข้ามา ผมติดไปด้วยนะ ทั้งๆ ที่เรามาธุระเฉยๆ ซึ่งเขาไม่ฟังนะ มันกลายเป็นเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ คนเลยเต็มคุก แล้วเราต้องเอาภาษีที่เราจ่าย คนนึงเฉลี่ย ปีนึงร่วมแสนกว่าบาท แล้วกับการที่สูบกัญชานิดเดียว แต่ต้องมาอยู่เป็นปี ถามว่าคุ้มมั้ย แทยนที่จะเอาภาษีไปจ่ายข้างนอกจากการทำงาน แล้วมันก็ไม่ใช่แค่หนึ่งคนไง เบื้องหลังคือครอบครัว แล้วถ้าคนนั้นเป็นคนที่หาเลี้ยงหลักล่ะ ครอบครัวนั้นก็พังไปด้วยเลยนะ หรือลุกที่ต้องหาเลี้ยงแม่ที่ป่วย แล้วต้องเกี่ยวเนื่องอีกกี่ชีวิต กลับมาเป็นปัญหาสังคมอีก แล้วออกมาทำงานไม่ได้เพราะโดนตีตราว่าไอ้ขี้คุก สุดท้ายพอเขาเป็นอาชญากรจริงๆ ผมถามกลับว่า ใครกันแน่ที่ทำให้เขาเป็นอาชญากร คือคนดีๆ ที่ว่านี่แหละ ที่ผลักจากด้านสว่างไปด้านมืด แล้วพอเขาออกมาไปลัก วิ่ง ชิง ปล้น ใครโดนผลกระทบ ก็คือพวกเราอีก สุดท้ายรัฐสร้างปัญหาเอง แล้วต้องมารับผลกระทบเอง
• คือต้องแก้ทั้งหมดเลย ทั้งความคิดคน ทั้งตัวกฎหมาย
ชัยวัฒน์ : ก่อนที่จะมีกฎหมาย มันคือแนวคิดของสังคม เพราะกฎหมายมันเขียนด้วยคนที่อยู่ในสังคม ถ้าสังคมมองลบ กฎหมายก็ลบตาม จริงๆ เราไม่ได้สู้ด้วยกฎหมายนะ เราสู้กับแนวคิด อคติ คือเราไม่ได้โทษเขานะ แต่มันมีระบบที่ปลูกฝังให้คนเชื่อไปอย่างงั้น ซึ่งไม่ใช่ความจริง เราแค่เอาความจริงมาพูด คือเราอยากแก้ปัญหาในองค์รวม ไม่ใช่ปัญหาทั้งหมด แต่ถ้าให้ถามวิธีแก้ปัญหา ให้เพิ่มโทษสิ แล้วผมถามว่ากฎหมายยาเสพติดมันแรงขึ้นทุกปี มันแก้อะไรได้มั้ย ถ้าการเพิ่มโทษมันดีจริง มันต้องไม่มีปัญหาเรื่องคนล้นคุกสิ คืออย่างที่บอก อะไรที่ไม่ใช่อาชญากรรม ก็อย่าไปเพิ่มได้มั้ย อะไรๆ ก็อาชญากรไปหมด
ช่อขวัญ : ต้องค่อยๆ ปรับมุมมองของเขา คือจากที่เขามองแค่จุดเดียว เราแค่บอกว่า คุณลองมองไปอีกบ้าง มันอาจจะมีความน่าสนใจอยู่นะ ซึ่งจะทำให้เขาอาจจะคิดว่า มุมมนี้อาจจะไม่ใช่นะ คือมองให้มันกว้างขึ้นหน่อย ให้เขาลดตัวเองลงมานิดนึง อย่าคิดว่าทุกอย่างมันถูกหมด การที่จะเรียนรู้อะไร มันก็ต้องขดตัวลงมา เราต้องยอมรับในหลายๆ อย่าง
• ถ้าบ้านเราให้ถูกต้องตามกฎหมายกับกัญชา ทั้งทางวิชาการ และทั่วไป ทางกลุ่มคิดว่าบ้านเราจะเป็นยังไง
รัฐพล : ผมว่ามันก็ยังคงเหมือนเดิม คือผมพูดที่อ้างอิงมาจากอเมริกา คือมันก็ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย สิ่งที่คนคิดว่าเอาไปใช้เยอะแยะ คิดว่าเด็กจะเอาไปใช้ มอมเมา มันจะดูเหมือนเดิม อาจจะได้เงินจากภาษีเยอะขึ้น แล้วเอาเงินไปลงที่โรงเรียน สิ่งเดียวที่ได้คือรัฐได้ภาษีจากสิ่งนี้ คือคนที่ใช้ก็ใช้ คนที่ไม่ใช้ก็ไม่ใช้ เหมือนกับบุหรี่ละครับ ซึ่งคนอาจจะคิดไปเองก่อน แต่ถ้าคนไม่ชอบยังไงก็ไม่ชอบ
อรัญ : แต่สถิติของโคโลราโด อันนี้คือเรื่องจริงเลยนะ ทั้งอาชญากรรมภายในเขต ทั้งเรื่องการศึกษา ทั้งเด็ก อย่างเยาวชนที่อายุ 16-18 อาจจะลดลงด้วยซ้ำ เพราะว่าไม่ท้าทายสำหรับเขาแล้ว ส่วนเรื่องอาชญากรรมในรบ้านเราอาจจะคงที่ เผลอๆ ตกลงมาด้วยซ้ำ ส่วนที่ได้คือสุขภาพและภาษี
ช่อขวัญ : อาจจะมีการแสดงตัวในงานกิจกรรมพิเศษแค่นั้นเอง นอกนั้นก็อยู่ในบ้าน อาจจะมีแค่แอลกอฮอล์ลดลง ดูดบุหรี่ลดลง อาจจะมีสิ่งเดียวที่เปลี่ยนคือ อาจจะขายขนมหรือน้ำหวานจะขายดีขึ้น (หัวเราะ)
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : วชิร สายจำปา