หากการสังสรรค์ในวงเหล้าจะลงท้ายด้วยการมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การโทรไปหาแฟนเก่า หรือ เล่นหัวเจ้านาย ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้ ควรจะหมดไปด้วยแคมเปญ SangSom Drink Don’t Dumb แคมเปญที่จะทำให้นักดื่มทั้งหลาย ได้หันมาใส่ใจถึงความเมาของตนเอง ซึ่งทาง สรรศิริ ยอดเมืองเจริญ Assistant Director และสุธีรพร ท้าวประยูร Brand Manager จากทางแสงโสม จะมาอธิบายและกล่าวถึงแคมเปญดังกล่าวนี้ให้ได้เข้าใจกัน
• อยากให้ช่วยเล่าถึงที่มาที่ไปของแคมเปญนี้หน่อยครับ
สรรศิริ : เราได้มีการคิดมานานพอสมควรในเรื่องของการแจ้งเตือนระดับใหญ่ คือมันเหมือนกับบริการประเภทหนึ่งที่เรียกว่า PSA (Public Service Announcement) ประมาณว่าเป็นบริการทางสาธารณะ ซึ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบรนด์ทางเมืองนอก เขาทำมาได้ประมาณ 10-20 ปีแล้ว แต่สำหรับคนไทย เราคิดว่าเราน่าจะเป็นแบรนด์แรกที่ทำเรื่องนี้ อย่างยี่ห้อต่างประเทศ เช่น Johnnie Walker หรือ Heineken เขาจะใช้คำว่า Drink Don’t Drive ซึ่งมันจะจำกัดแค่คนใช้รถยนต์ ในขณะที่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากรถยนต์ก็มีอีกมาก ซึ่งเราก็รู้เช่นกันว่า คนไทยนั้นกินเหล้าหนักติดอันดับโลก และด้วยที่เราเป็นคนขายแอลกอฮอล์ แล้วไม่มีใครกล้าพูดเรื่องนี้ เราก็รู้สึกว่าเป็นดาบสองคมให้กับตัวเราเองด้วย
สุธีรพร : จริงๆ ทางทีมเราก็เห็นด้วยตรงกันว่า เราอยากที่จะทำอะไรเพื่อสร้างสรรค์สังคมบ้างเหมือนกัน อีกอย่าง เราก็ยังไม่เห็นแบรนด์อื่นที่จะพูดในเรื่องนี้เลย เราก็เลยเกิดเป็นแคมเปญนี้ขึ้นมา ซึ่งทางเมืองนอกเขาก็ทำแบบแนว PSA อย่างที่บอก คือว่า จะทำการโฆษณาให้เป็นแนวเศร้าๆ กับแนวตลก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแบบแรกมากกว่า ซึ่งทาง สสส. เขาก็รณรงค์มานานแล้วนะคะ แต่ในส่วนของเราจะเป็นการรณรงค์ไปอีกทางหนึ่ง จะเป็นลักษณะแบบว่ากวนๆ ไม่ใช่แนวไปสอนเด็กว่าอย่างงั้นอย่างงี้นะ แต่จะเป็นแบบให้นึกถึงเพื่อน นึกถึงรอบข้างมากกว่า ซึ่งพอเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหม่ มันก็กระตุ้นให้คนรับสารอยากจะส่งต่อให้เพื่อนๆ ของเขา เหมือนเพื่อนคุยกับเพื่อน ที่จะแตกต่างจากผู้ใหญ่หรือคนอื่นมาสอนอย่างที่บอกที่จะต้องมีแบบว่า ห้ามทำอย่างงั้น ห้ามทำอย่างงี้ ซึ่งคนก็จะรู้สึกว่าต่อต้านไปเลย เรารู้สึกว่าเราดูต่าง และเป็นคนนำร่องในเรื่องนี้
• อาจจะเป็นเพราะว่าวัฒนธรรมในบ้านอื่นเมืองอื่นเขามีสติมากกว่าบ้านเราด้วยมั้ยครับ จึงได้เกิดแคมเปญนี้ขึ้นมา
สรรศิริ : (หัวเราะเบาๆ) เราว่ามันเกี่ยวข้องกับการศึกษาในแต่ละประเทศ หรือ ความมีวินัย มันเริ่มมาตั้งแต่การควบคุมตัวเอง คือไม่ใช่ว่าประเทศอื่นดื่มน้อยนะคะ แต่เขาจะไม่ขับรถหลังจากดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า เพราะชีวิตประจำวัน เขาอาจจะใช้รถน้อยกว่า ซึ่งของเรา ดื่มแล้วทั้งขี่และขับยานพาหนะแบบผาดโผนมาก โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ แล้วพอมันไปผูกกับการขับรถที่เป็นมอเตอร์ไซค์ ซึ่งเรื่องอุบัติเหตุในช่วงดังกล่าว มันไม่ได้มีน้อยลงเลย แสดงว่าการมาแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ประมาณว่าตำรวจมาจับเยอะๆ ก็ไม่ใช่วิธีแก้ เราว่ามันก็กลับมาที่พื้นฐานของแต่ละบุคคลว่าเป็นยังไง เราก็เลยรู้สึกว่า ถ้าคนรุ่นเดิมเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้แล้วก็ปล่อยไป ไปเตือนคนรุ่นใหม่ดีกว่า เราไปคุยกับคนรุ่นใหม่ ไม่ช้าไปหรอก ซึ่งถามว่ากฎหมายบ้านเรามีส่วนมั้ย ก็ส่วนหนึ่ง แต่ด้วยในเรื่องของวินัยของคนมันชัดกว่า ซึ่งเหล้าไม่ใช่เป็นคนผิดนะ มันน่าจะแก้ที่จิตสำนึกคน
• แสดงว่าการดื่มแอลกอฮอล์แล้วได้ปลดปล่อยก็ถือว่าไม่ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ทำด้วยมั้ย
สุธีรพร : เราว่าพฤติกรรมนี้มันแล้วแต่บุคคล แล้วแต่สถานการณ์มากกว่า คือเราก็ไม่ได้ไปมองลึกขนาดนั้น เรามองในภาพกว้างว่า ในฐานะที่เราเป็นแบรนด์แอลกอฮอล์ที่อยากจะทำอะไรและส่งสารเพื่อสังคมซักอย่าง เราเลยมองเรื่องนี้ว่า เราอยากจะพูดและสื่อสารด้วย เพราะอย่างคนรุ่นใหม่ เราน่าจะคุยได้ปรับเปลี่ยนอะไรได้ง่ายกว่า เราเลยรู้สึกว่าในสารนี้มันน่าจะคุยกันรู้เรื่อง แล้วเราก็พยายามจะบอกให้ทุกคนรู้ว่า จะเมาก็เมาได้ แต่ให้เมาแบบมีสติ ไม่ได้เมาแบบหลุดโลกแล้วทำความเสียหายให้กับคนอื่น ซึ่งสารของเราก็น่าจะประมาณนี้ คืออาจจะไม่ได้ลงไปลึกว่า พฤติกรรมของการเมาของคนว่าเขากระทำอะไรยังไง แต่เราก็จะมีการยับยั้ง สอนๆ และมีความห่วงใยว่าไม่อยากให้เกิดเหตุร้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเรื่องอุบัติเหตุ หรือ เรื่องงี่เง่าต่างๆ ทั้งโทรหาแฟนเก่า ขี่คอเจ้านาย เหมือนกับอยู่ในชีวิตประจำวันของเขา อาจจะไม่ได้ไปเน้นเรื่องอุบัติเหตุอย่างเดียว
• เคยมีประสบการณ์ในด้านการเมาของคนรอบข้างมั้ยครับ
สรรศิริ : ส่วนใหญ่เราจะเป็นพวกคอยช่วยมากกว่า แต่ถามว่าเจอมั้ย มีเหมือนกัน ก็น่าจะเป็นแถวนี้แหละค่ะ (หัวเราะ) แต่สำหรับเราเอง ด้วยความที่มีเพื่อนผู้หญิงเยอะ ไม่ได้มีเหตุการณ์ที่รุนแรงมาก แต่จะเป็นเหตุการณ์ที่ตลกๆ สนุกๆ มากกว่า เช่น ใส่เสื้อจัมพ์สูทแล้วเข้าห้องน้ำ แต่พอกลับออกมาก็จะเป็นแบบใส่ผิดด้าน จะเป็นแบบน่ารักๆ ไม่ได้มีแบบรุนแรง แต่ในเคสเพื่อนผู้ชายก็อาจจะมีในเรื่องเมาแล้วขับจนต้องไปบำเพ็ญประโยชน์ ไปวิ่งรอบอะไรแล้วพูดว่าต่อไปนี้จะไม่ทำอีกแล้ว ซึ่งถ้าเป็นพฤติกรรมโง่ๆ ที่เราเคยเจอมา จากประสบการณ์คนรอบข้างจะไม่ค่อยเจอเท่าไหร่ นอกนั้นก็จะมีแบบเหตุการณ์ตามปกติ ซึ่งก็มาจากการควบคุมสติของแต่ละคนอย่างที่บอก ซึ่งพฤติกรรมของคนเมามันก็หลากหลายนะ บางคนก็นุ่มนิ่ม บางคนก็ก้าวร้าว มันก็แล้วแต่บุคคล ประสบการณ์อะไรของเขา ณ วันนั้น
• โดยปกติ เครื่องดื่มประเภทนี้จะเน้นการขายในเชิงให้เห็นภาพว่า มิตรภาพ ต่างๆ แต่ทำไมทางแสงโสม ถึงตัดสินใจที่มาทำแคมเปญนี้ นอกจากที่ว่ามาครับ
สุธีรพร : เราว่าสิ่งที่เราทำอาจจะไม่ใหม่ แต่มันเป็นการเริ่มต้นที่จะทำเพื่อสังคม
ที่ผ่านมาเราก็มีคำเตือนอะไรของเราอยู่แล้วตามฉลาก หรืออย่างการจัดกิจกรรม เราก็จะมีให้คนดื่มน้ำเพื่อไปเอาแอลกอฮอล์ออกไปก่อนเดินทางกลับบ้าน แต่อันนี้มันเป็น communication message เพื่อที่จะคุยกับคนรุ่นใหม่อย่างที่บอก เน้นคุยกับพวกเขามากขึ้นมากกว่า เหมือนเพื่อนเตือนเพื่อนเผื่อจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรได้ สะกิดเตือน ปลุกจิตสำนึก ประมาณนั้น
• แล้วในส่วนของทางการจัดการในแคมเปญนี้ เป็นยังไงบ้างครับ
สรรศิริ : จริงๆ ทางเราได้บรีฟให้กับทางเอเจนซี่ แล้วก็ทำ CSR ต่างๆ ซึ่งทาง Sour ก็ได้ทำการนำเสนอมาหลายๆทาง ซึ่งทางนี้ก็ถือว่าเป็นทางที่กล้าที่สุดสำหรับคนไทย เพราะว่าเราไม่ได้โปรโมตในทางการขับขี่ยานพาหนะ แต่เราจะโปรโมตในทางความฉลาดในการดื่ม ซึ่งถือว่าได้กับทุกคน มันไม่ต้องลิมิตแค่คนที่มีรถอย่างเดียว แล้วสารที่นำเสนอไปมันก็สนุกตรงกับแบรนด์ของเราพอดี ซึ่งมันก็สามารถอยู่ต่อไปได้นานๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีการนำเสนอมา 4-5 ทาง จะเป็นการเล่าเรื่องทั่วไป แต่สุดท้ายเราก็มาชอบลูกเล่นนี้สำหรับในแบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบ้านเรา ซึ่งดีใจเหมือนกันที่ผลตอบรับดี
• แสดงว่าผู้รับสารเขาโอเค
สุธีรพร : คือเท่าที่เราดูผลตอบรับในเฟสบุ๊ค ส่วนมากจะมีการแชร์กันแล้วมีการแท็กเพื่อนว่าอย่างงั้นอย่างงี้ หรือตรงที่เรานำเสนอว่าล้างหน้าในชักโครกก็มีคนพูดเยอะอยู่ ซึ่งทำให้สารที่เราต้องการนำเสนอโดนใจวัยรุ่นเลย ถามว่ามาปล่อยในช่วงนี้ถือว่าโอเคมั้ย เราว่าด้วยความที่มาปล่อยแคมเปญในช่วงก่อนช่วงเทศกาล ซึ่งปกติเวลาที่เราทำแคมเปญก็จะมีการโดนวิจารณ์พอควรนะ แต่แคมเปญนี้โดนน้อยหน่อย แต่ส่วนใหญ่จะเป็นในเชิงบวกมากกว่าว่าสิ่งที่เรานำเสนอมันตรงกับชีวิตเขา หรือจะมีบางคอมเมนท์ว่า ไม่กินแล้วก็มี หรืออย่างบางคนก็มีคำชมมาให้ว่า ดีนะมีการห้ามดื่มด้วย ประมาณนั้น แล้วมีการแชร์ค่อนข้างเยอะ
• มีความคาดหวังกับตัวแคมเปญนี้ยังไงบ้างครับ
สุธีรพร : คือแค่ในตัววีดีโอแรกที่เราปล่อยออกไป แล้วมีคนตอบรับกลับมาในแง่บวก แค่นี้เราก็ดีใจแล้ว เพราะว่ามีทั้งคนแชร์ต่อ แล้วมีความรู้สึกอินกับมัน สำหรับในเฟสแรก แค่นี้เราก็มีความสุขแล้วค่ะ ส่วนในเรื่องปฎิบัติหรือไม่อย่างไร มันก็อาจจะวัดผลยากซักนิดนึง ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจ แต่อย่างน้อย เราได้พูด และคนได้รับสารและเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการสื่อสารไปแล้ว อย่างน้อยเขาก็น่าจะมีทำตามบ้าง แค่นี้ก็โอเคแล้ว อาจจะมีบ้างในช่วงแรกๆ ที่เรารู้สึกว่าเรากลัวไปเอง หมายถึงในบริษัท ซึ่งเป็นสิ่งที่หัวหน้าของพวกเรากล้าที่จะให้เราทำ ต้องขอบคุณทาง คุณประภากร ทองเทพไพโรจน์ : CEO ThaiBeverage Marketing และคุณสมรวรรณ รัตตกุล Marketing Director Thailand & International ที่อนุมัติให้เราทำแคมเปญนี้ เราตั้งใจที่จะทำต่อเนื่องยาวนานเลยด้วย เพราะฉะนั้นเราหวังผลในระยะยาวด้วย ส่วนความกดดันในการเป็นเจ้าแรกของการสื่ออย่างงี้ ไม่กดดันเลย สบายๆ (หัวเราะ) เพราะว่าเรารู้สึกว่า เราทำในสิ่งที่โอเค แล้วผลตอบรับที่โอเค เราก็โอเคแล้ว
สรรศิริ : ก็อยากจะให้ช่วยแชร์กันเยอะๆ ละกัน เพราะว่ามันก็เป็นสารที่ดีที่ควรบอกต่อ คนก็จะได้รับสารที่ดีๆ ไปด้วย ซึ่งถามว่าถ้าความสำเร็จในแคมเปญนี้แล้วจะกำหนดต่อไปจะไปยังไงต่อ เราว่ามันวัดยากนะ อาจจะใช้เวลาเป็น 10 ปี ว่าคนไทยจะมีไอคิวในการดื่มยังไงต่อ มันต้องค่อยๆ เป็น ค่อยๆไป ไม่ใช่โปรโมชั่นแบบซื้อของแล้วแถมของ แต่สิ่งที่เราบอกในวันนี้ได้คือ ทางเราอยากจะคืนอะไรต่อสังคมบ้าง แม้ว่าสารที่ออกมาจะดูสนุกก็จริง แต่ว่าก็ไม่ได้ทำเล่นๆ นะคะ ซึ่งทั้งรูปแบบโปรดักชั่น และอีเวนท์ เราก็ลงอย่างจริงจัง ซึ่งเราไม่ได้หวังผลแค่สำเร็จ แต่เราหวังในระยะยาวอย่างที่บอก ลงทุนเพื่อให้คนรุ่นใหม่เห็นว่า เขาฉลาดในการเมาหรือเปล่า
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : สันติ เต๊ะเปีย
• อยากให้ช่วยเล่าถึงที่มาที่ไปของแคมเปญนี้หน่อยครับ
สรรศิริ : เราได้มีการคิดมานานพอสมควรในเรื่องของการแจ้งเตือนระดับใหญ่ คือมันเหมือนกับบริการประเภทหนึ่งที่เรียกว่า PSA (Public Service Announcement) ประมาณว่าเป็นบริการทางสาธารณะ ซึ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบรนด์ทางเมืองนอก เขาทำมาได้ประมาณ 10-20 ปีแล้ว แต่สำหรับคนไทย เราคิดว่าเราน่าจะเป็นแบรนด์แรกที่ทำเรื่องนี้ อย่างยี่ห้อต่างประเทศ เช่น Johnnie Walker หรือ Heineken เขาจะใช้คำว่า Drink Don’t Drive ซึ่งมันจะจำกัดแค่คนใช้รถยนต์ ในขณะที่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากรถยนต์ก็มีอีกมาก ซึ่งเราก็รู้เช่นกันว่า คนไทยนั้นกินเหล้าหนักติดอันดับโลก และด้วยที่เราเป็นคนขายแอลกอฮอล์ แล้วไม่มีใครกล้าพูดเรื่องนี้ เราก็รู้สึกว่าเป็นดาบสองคมให้กับตัวเราเองด้วย
สุธีรพร : จริงๆ ทางทีมเราก็เห็นด้วยตรงกันว่า เราอยากที่จะทำอะไรเพื่อสร้างสรรค์สังคมบ้างเหมือนกัน อีกอย่าง เราก็ยังไม่เห็นแบรนด์อื่นที่จะพูดในเรื่องนี้เลย เราก็เลยเกิดเป็นแคมเปญนี้ขึ้นมา ซึ่งทางเมืองนอกเขาก็ทำแบบแนว PSA อย่างที่บอก คือว่า จะทำการโฆษณาให้เป็นแนวเศร้าๆ กับแนวตลก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแบบแรกมากกว่า ซึ่งทาง สสส. เขาก็รณรงค์มานานแล้วนะคะ แต่ในส่วนของเราจะเป็นการรณรงค์ไปอีกทางหนึ่ง จะเป็นลักษณะแบบว่ากวนๆ ไม่ใช่แนวไปสอนเด็กว่าอย่างงั้นอย่างงี้นะ แต่จะเป็นแบบให้นึกถึงเพื่อน นึกถึงรอบข้างมากกว่า ซึ่งพอเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหม่ มันก็กระตุ้นให้คนรับสารอยากจะส่งต่อให้เพื่อนๆ ของเขา เหมือนเพื่อนคุยกับเพื่อน ที่จะแตกต่างจากผู้ใหญ่หรือคนอื่นมาสอนอย่างที่บอกที่จะต้องมีแบบว่า ห้ามทำอย่างงั้น ห้ามทำอย่างงี้ ซึ่งคนก็จะรู้สึกว่าต่อต้านไปเลย เรารู้สึกว่าเราดูต่าง และเป็นคนนำร่องในเรื่องนี้
• อาจจะเป็นเพราะว่าวัฒนธรรมในบ้านอื่นเมืองอื่นเขามีสติมากกว่าบ้านเราด้วยมั้ยครับ จึงได้เกิดแคมเปญนี้ขึ้นมา
สรรศิริ : (หัวเราะเบาๆ) เราว่ามันเกี่ยวข้องกับการศึกษาในแต่ละประเทศ หรือ ความมีวินัย มันเริ่มมาตั้งแต่การควบคุมตัวเอง คือไม่ใช่ว่าประเทศอื่นดื่มน้อยนะคะ แต่เขาจะไม่ขับรถหลังจากดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า เพราะชีวิตประจำวัน เขาอาจจะใช้รถน้อยกว่า ซึ่งของเรา ดื่มแล้วทั้งขี่และขับยานพาหนะแบบผาดโผนมาก โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ แล้วพอมันไปผูกกับการขับรถที่เป็นมอเตอร์ไซค์ ซึ่งเรื่องอุบัติเหตุในช่วงดังกล่าว มันไม่ได้มีน้อยลงเลย แสดงว่าการมาแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ประมาณว่าตำรวจมาจับเยอะๆ ก็ไม่ใช่วิธีแก้ เราว่ามันก็กลับมาที่พื้นฐานของแต่ละบุคคลว่าเป็นยังไง เราก็เลยรู้สึกว่า ถ้าคนรุ่นเดิมเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้แล้วก็ปล่อยไป ไปเตือนคนรุ่นใหม่ดีกว่า เราไปคุยกับคนรุ่นใหม่ ไม่ช้าไปหรอก ซึ่งถามว่ากฎหมายบ้านเรามีส่วนมั้ย ก็ส่วนหนึ่ง แต่ด้วยในเรื่องของวินัยของคนมันชัดกว่า ซึ่งเหล้าไม่ใช่เป็นคนผิดนะ มันน่าจะแก้ที่จิตสำนึกคน
• แสดงว่าการดื่มแอลกอฮอล์แล้วได้ปลดปล่อยก็ถือว่าไม่ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ทำด้วยมั้ย
สุธีรพร : เราว่าพฤติกรรมนี้มันแล้วแต่บุคคล แล้วแต่สถานการณ์มากกว่า คือเราก็ไม่ได้ไปมองลึกขนาดนั้น เรามองในภาพกว้างว่า ในฐานะที่เราเป็นแบรนด์แอลกอฮอล์ที่อยากจะทำอะไรและส่งสารเพื่อสังคมซักอย่าง เราเลยมองเรื่องนี้ว่า เราอยากจะพูดและสื่อสารด้วย เพราะอย่างคนรุ่นใหม่ เราน่าจะคุยได้ปรับเปลี่ยนอะไรได้ง่ายกว่า เราเลยรู้สึกว่าในสารนี้มันน่าจะคุยกันรู้เรื่อง แล้วเราก็พยายามจะบอกให้ทุกคนรู้ว่า จะเมาก็เมาได้ แต่ให้เมาแบบมีสติ ไม่ได้เมาแบบหลุดโลกแล้วทำความเสียหายให้กับคนอื่น ซึ่งสารของเราก็น่าจะประมาณนี้ คืออาจจะไม่ได้ลงไปลึกว่า พฤติกรรมของการเมาของคนว่าเขากระทำอะไรยังไง แต่เราก็จะมีการยับยั้ง สอนๆ และมีความห่วงใยว่าไม่อยากให้เกิดเหตุร้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเรื่องอุบัติเหตุ หรือ เรื่องงี่เง่าต่างๆ ทั้งโทรหาแฟนเก่า ขี่คอเจ้านาย เหมือนกับอยู่ในชีวิตประจำวันของเขา อาจจะไม่ได้ไปเน้นเรื่องอุบัติเหตุอย่างเดียว
• เคยมีประสบการณ์ในด้านการเมาของคนรอบข้างมั้ยครับ
สรรศิริ : ส่วนใหญ่เราจะเป็นพวกคอยช่วยมากกว่า แต่ถามว่าเจอมั้ย มีเหมือนกัน ก็น่าจะเป็นแถวนี้แหละค่ะ (หัวเราะ) แต่สำหรับเราเอง ด้วยความที่มีเพื่อนผู้หญิงเยอะ ไม่ได้มีเหตุการณ์ที่รุนแรงมาก แต่จะเป็นเหตุการณ์ที่ตลกๆ สนุกๆ มากกว่า เช่น ใส่เสื้อจัมพ์สูทแล้วเข้าห้องน้ำ แต่พอกลับออกมาก็จะเป็นแบบใส่ผิดด้าน จะเป็นแบบน่ารักๆ ไม่ได้มีแบบรุนแรง แต่ในเคสเพื่อนผู้ชายก็อาจจะมีในเรื่องเมาแล้วขับจนต้องไปบำเพ็ญประโยชน์ ไปวิ่งรอบอะไรแล้วพูดว่าต่อไปนี้จะไม่ทำอีกแล้ว ซึ่งถ้าเป็นพฤติกรรมโง่ๆ ที่เราเคยเจอมา จากประสบการณ์คนรอบข้างจะไม่ค่อยเจอเท่าไหร่ นอกนั้นก็จะมีแบบเหตุการณ์ตามปกติ ซึ่งก็มาจากการควบคุมสติของแต่ละคนอย่างที่บอก ซึ่งพฤติกรรมของคนเมามันก็หลากหลายนะ บางคนก็นุ่มนิ่ม บางคนก็ก้าวร้าว มันก็แล้วแต่บุคคล ประสบการณ์อะไรของเขา ณ วันนั้น
• โดยปกติ เครื่องดื่มประเภทนี้จะเน้นการขายในเชิงให้เห็นภาพว่า มิตรภาพ ต่างๆ แต่ทำไมทางแสงโสม ถึงตัดสินใจที่มาทำแคมเปญนี้ นอกจากที่ว่ามาครับ
สุธีรพร : เราว่าสิ่งที่เราทำอาจจะไม่ใหม่ แต่มันเป็นการเริ่มต้นที่จะทำเพื่อสังคม
ที่ผ่านมาเราก็มีคำเตือนอะไรของเราอยู่แล้วตามฉลาก หรืออย่างการจัดกิจกรรม เราก็จะมีให้คนดื่มน้ำเพื่อไปเอาแอลกอฮอล์ออกไปก่อนเดินทางกลับบ้าน แต่อันนี้มันเป็น communication message เพื่อที่จะคุยกับคนรุ่นใหม่อย่างที่บอก เน้นคุยกับพวกเขามากขึ้นมากกว่า เหมือนเพื่อนเตือนเพื่อนเผื่อจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรได้ สะกิดเตือน ปลุกจิตสำนึก ประมาณนั้น
• แล้วในส่วนของทางการจัดการในแคมเปญนี้ เป็นยังไงบ้างครับ
สรรศิริ : จริงๆ ทางเราได้บรีฟให้กับทางเอเจนซี่ แล้วก็ทำ CSR ต่างๆ ซึ่งทาง Sour ก็ได้ทำการนำเสนอมาหลายๆทาง ซึ่งทางนี้ก็ถือว่าเป็นทางที่กล้าที่สุดสำหรับคนไทย เพราะว่าเราไม่ได้โปรโมตในทางการขับขี่ยานพาหนะ แต่เราจะโปรโมตในทางความฉลาดในการดื่ม ซึ่งถือว่าได้กับทุกคน มันไม่ต้องลิมิตแค่คนที่มีรถอย่างเดียว แล้วสารที่นำเสนอไปมันก็สนุกตรงกับแบรนด์ของเราพอดี ซึ่งมันก็สามารถอยู่ต่อไปได้นานๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีการนำเสนอมา 4-5 ทาง จะเป็นการเล่าเรื่องทั่วไป แต่สุดท้ายเราก็มาชอบลูกเล่นนี้สำหรับในแบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบ้านเรา ซึ่งดีใจเหมือนกันที่ผลตอบรับดี
• แสดงว่าผู้รับสารเขาโอเค
สุธีรพร : คือเท่าที่เราดูผลตอบรับในเฟสบุ๊ค ส่วนมากจะมีการแชร์กันแล้วมีการแท็กเพื่อนว่าอย่างงั้นอย่างงี้ หรือตรงที่เรานำเสนอว่าล้างหน้าในชักโครกก็มีคนพูดเยอะอยู่ ซึ่งทำให้สารที่เราต้องการนำเสนอโดนใจวัยรุ่นเลย ถามว่ามาปล่อยในช่วงนี้ถือว่าโอเคมั้ย เราว่าด้วยความที่มาปล่อยแคมเปญในช่วงก่อนช่วงเทศกาล ซึ่งปกติเวลาที่เราทำแคมเปญก็จะมีการโดนวิจารณ์พอควรนะ แต่แคมเปญนี้โดนน้อยหน่อย แต่ส่วนใหญ่จะเป็นในเชิงบวกมากกว่าว่าสิ่งที่เรานำเสนอมันตรงกับชีวิตเขา หรือจะมีบางคอมเมนท์ว่า ไม่กินแล้วก็มี หรืออย่างบางคนก็มีคำชมมาให้ว่า ดีนะมีการห้ามดื่มด้วย ประมาณนั้น แล้วมีการแชร์ค่อนข้างเยอะ
• มีความคาดหวังกับตัวแคมเปญนี้ยังไงบ้างครับ
สุธีรพร : คือแค่ในตัววีดีโอแรกที่เราปล่อยออกไป แล้วมีคนตอบรับกลับมาในแง่บวก แค่นี้เราก็ดีใจแล้ว เพราะว่ามีทั้งคนแชร์ต่อ แล้วมีความรู้สึกอินกับมัน สำหรับในเฟสแรก แค่นี้เราก็มีความสุขแล้วค่ะ ส่วนในเรื่องปฎิบัติหรือไม่อย่างไร มันก็อาจจะวัดผลยากซักนิดนึง ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจ แต่อย่างน้อย เราได้พูด และคนได้รับสารและเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการสื่อสารไปแล้ว อย่างน้อยเขาก็น่าจะมีทำตามบ้าง แค่นี้ก็โอเคแล้ว อาจจะมีบ้างในช่วงแรกๆ ที่เรารู้สึกว่าเรากลัวไปเอง หมายถึงในบริษัท ซึ่งเป็นสิ่งที่หัวหน้าของพวกเรากล้าที่จะให้เราทำ ต้องขอบคุณทาง คุณประภากร ทองเทพไพโรจน์ : CEO ThaiBeverage Marketing และคุณสมรวรรณ รัตตกุล Marketing Director Thailand & International ที่อนุมัติให้เราทำแคมเปญนี้ เราตั้งใจที่จะทำต่อเนื่องยาวนานเลยด้วย เพราะฉะนั้นเราหวังผลในระยะยาวด้วย ส่วนความกดดันในการเป็นเจ้าแรกของการสื่ออย่างงี้ ไม่กดดันเลย สบายๆ (หัวเราะ) เพราะว่าเรารู้สึกว่า เราทำในสิ่งที่โอเค แล้วผลตอบรับที่โอเค เราก็โอเคแล้ว
สรรศิริ : ก็อยากจะให้ช่วยแชร์กันเยอะๆ ละกัน เพราะว่ามันก็เป็นสารที่ดีที่ควรบอกต่อ คนก็จะได้รับสารที่ดีๆ ไปด้วย ซึ่งถามว่าถ้าความสำเร็จในแคมเปญนี้แล้วจะกำหนดต่อไปจะไปยังไงต่อ เราว่ามันวัดยากนะ อาจจะใช้เวลาเป็น 10 ปี ว่าคนไทยจะมีไอคิวในการดื่มยังไงต่อ มันต้องค่อยๆ เป็น ค่อยๆไป ไม่ใช่โปรโมชั่นแบบซื้อของแล้วแถมของ แต่สิ่งที่เราบอกในวันนี้ได้คือ ทางเราอยากจะคืนอะไรต่อสังคมบ้าง แม้ว่าสารที่ออกมาจะดูสนุกก็จริง แต่ว่าก็ไม่ได้ทำเล่นๆ นะคะ ซึ่งทั้งรูปแบบโปรดักชั่น และอีเวนท์ เราก็ลงอย่างจริงจัง ซึ่งเราไม่ได้หวังผลแค่สำเร็จ แต่เราหวังในระยะยาวอย่างที่บอก ลงทุนเพื่อให้คนรุ่นใหม่เห็นว่า เขาฉลาดในการเมาหรือเปล่า
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : สันติ เต๊ะเปีย