ถึงกับถูกขู่ว่าจะสั่งให้กราบตีน!
หากใครติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ “เมจิก สกิน” ขาใหญ่แห่งวงการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางที่โด่งดังจน “โรงงานแตกสาแหรกขาด” ไปแล้วเรียบร้อย คงพอจะรู้ว่า หนึ่งในแกนนำผู้กล้าที่ “เปิดหน้า” ท้าชน แบบกัดแล้วไม่ปล่อยตั้งแต่วันแรกๆ จนถึงวาระสุดท้ายของเมจิก สกิน ก็คือรายการ “เป็นเรื่อง!” ทางช่อง News1
โดยสองพิธีกรที่ว่ากันว่า “บ้า” และ “ระห่ำ” ที่สุดในยุคนี้...
คนหนึ่งเป็นอดีตดีเจ นักจัดรายการที่ผ่านประสบการณ์ทั้งบนหน้าปัดและหน้าจอมานานมากกว่าสิบปี เจ้าของฉายา “ดีเจเทวดา” เคนโด้ - เกรียงไกรมาศ พจนสุนทร
อีกหนึ่งคือ “กมลพร วรกุล” ชื่อคุ้นๆ ของนักการเมืองระดับประเทศ ที่ผ่านสมรภูมิข่าวสารมาแล้วอย่างโชกโชน
ทั้งสองคน เริ่มต้นผูกพันในฐานะพิธีกรร่วม ในรายการ “เป็นเรื่อง!” ซึ่งเพิ่งก่อเกิดและมีอายุได้ไม่ถึงปี แต่กลับสร้างแรงสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น ราวกับปรากฏการณ์แผ่นดินไหว เมื่อเปิดโปงออกโรงแฉสินค้าออนไลน์ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง และเป็นอันตราย... ไล่มาตั้งแต่ “ยาทำแท้ง” “ยาเสียสาว” “ยาลดน้ำหนัก” และอื่นๆ อีกมากมาย
ด้วยสไตล์การจัดรายการ... โดยเฉพาะการติดตามประเด็นแต่ละประเด็นแบบ “กัดไม่ปล่อย” เปรียบเสมือนเครื่องหมายการค้าของรายการ “เป็นเรื่อง!” นอกจากจะกลายเป็นที่จดจำของคนดูผู้ชม ยังเป็นเสมือนหนึ่ง “ที่พึ่งใหม่” ของประชาชนคนไทยที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย และไม่ได้รับความเป็นธรรม เป็นศาลาว่าการที่ผู้บริโภคซึ่งถูกหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ มาตีฆ้องเคาะระฆัง ขอความช่วยเหลือ
อย่าว่างั้นว่างี้เลย ล่าสุด สดๆ ร้อนๆ ... แม้แต่หน่วยงานอย่าง อย. และ สคบ. ยังขอจับมือเป็นพันธมิตร!
และต่อจากนี้ คือมุมมองความคิดของ 2 พิธีกรนักข่าว ที่สามารถกล่าวได้ว่า แม้จะมาจากรายการเล็กๆ ช่องเล็กๆ และเพิ่งเกิดมาคล้ายเด็กเล็กๆ
แต่สิ่งที่พวกเขาทำนั้นไม่เล็ก และมัน...“เป็นเรื่อง”!
“เป็นเรื่อง” แค่ไหนอย่างไร?
พูดง่ายๆ... ก็แม้แต่ “ขาใหญ่” อย่างเมจิก สกิน ยังดิ้นยังรน ถึงขนาดใช้อิทธิพลข่มขู่ ผรุสวาทผ่าน Live ทางเฟซบุ๊ก “ต่อให้กราบตีนกู กูก็ไม่ให้อภัย”!!...
• โดนขู่มาขนาดนั้น รู้สึกกลัวกันบ้างไหม?
เคนโด้ : ถ้าถามว่ากลัวไหม ทุกคนมันมีความกลัวอยู่แล้ว แต่กมลพรจะบอกกับผมตลอดเลยว่า “มึงอย่ากลัว กูโดนมาหนักกว่านี้” อย่างไรก็ดี ผมคิดว่า ความกลัวมันเกิดขึ้นได้ เพียงแต่เราต้องดำเนินการต่อไป เพราะเรานึกถึงผู้เสียหายที่อยู่ข้างหลัง ถ้าเราเห็นความเดือดร้อนของเขาแล้วเราหยุดทำไป หรือทำแบบครึ่งๆ กลางๆ มันจะเป็นอย่างไร
• ขอย้อนไปสักเล็กน้อย ก่อนจะดังเป็นพลุแตกจากกรณีเปิดโปงเมจิก สกิน พวกคุณก็เคยแฉเรื่องอื่นๆ จนสะเทือนไปเหมือนกัน
กมลพร : ต้องบอกว่า เราทำงานสไตล์นี้กันมาตลอด ตั้งแต่เริ่มต้นรายการ “เป็นเรื่อง” เมื่อวันที่ 4 กันยายนปีที่แล้ว
เคนโด้ : เราทำงานบนพื้นฐานของการที่มีประชาชนเขาแจ้งมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม เราก็ยึดจิตวิญญาณของสื่อที่ต้องไปตามหาความจริงให้ประชาชน หาทางออกให้ประชาชน อย่างเรื่องยาทำแท้ง ก็มีคนแจ้งเข้ามาว่า “พี่เล่นเรื่องนี้หน่อยได้ไหม มันขายกันว่อนเน็ตเหลือเกิน” หรือพวกยาเสียสาว ตอนนั้นเราก็เล่น เราก็โทรไปหาพวกพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ และที่เราเริ่มเป็นที่จดจำของคนดูผู้ชมก็เพราะว่าเราโทรไปลองซื้อน่ะครับ เก๋กับเคนโด้ทำทีว่าเป็นผัวเป็นเมียกัน แล้วก็เป็นมือปราบสิ่งที่มันไม่ถูกต้องทางออนไลน์ โดยเฉพาะพวกอาหารการกิน หรือว่าพวกยาต่างๆ ที่มันไม่ควรจะขาย ซึ่งตอนนั้นยังไม่รู้จักเมจิก สกิน เลยด้วยซ้ำ เราทำแบรนด์อื่นๆ
กมลพร : แบรนด์หนึ่งซึ่งเราเคยทำตอนนั้น... ณ ตอนนี้เขาก็ยังอยู่นะ พูดจริงๆ เขายังอยู่ และเป็นแบรนด์ที่เราเจอผู้เสียหายโดยตรง ซึ่งก็คือน้องคนหนึ่งที่กินแล้วประสาทหลอนจนเกือบตาย พี่สาวมาช่วยไว้และมาร้องเรียนกับเรา นั่นเป็นครั้งแรกที่เราเริ่มเข้าไปรู้จักว่า อย.คืออะไร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคืออะไร ของพวกนี้มีส่วนผสมอะไรยังไง ไซบูทรามีนก็รู้จักครั้งแรกจากตรงนี้แหละ
จากนั้นก็กลายเป็นว่า พอคนเห็นเราทำเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นถูกหลอกด้วยแชร์ลูกโซ่ ถูกหลอกด้วยอะไรก็ตาม พอมาบอกเราและเราตามแบบกัดไม่ปล่อย คนก็เริ่มจดจำเราได้ มีอยู่ครั้งหนึ่ง สคบ. (สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค) กับ อย. (องค์การอาหารและยา) ถึงกับออกแถลงการณ์พร้อมกันถึงรายการ “เป็นเรื่อง” และเคนโด้กับกมลพรว่า ต้องชี้แจงรายการนี้ ... แทนที่จะชี้แจงผู้บริโภค นั่นคือครั้งแรกที่เราคิดว่า คนดูรู้สึกว่าสองคนนี้มันพึ่งได้ เพราะไม่ใช่แค่เอาข่าวมาเล่า แต่มันตามต่อ มันแอบไปหลอกซื้อยา ยาของยี่ห้อที่เขาฉลองยอดขายร้อยล้านพันล้าน เราก็โทรไปหลอกถาม โทรไปขอซื้อ
เคนโด้ : แต่ไม่ใช้คำว่า “ล่อซื้อ” นะ เราใช้คำว่าเป็นผู้บริโภคนี่แหละที่โทรไปลองซื้อ ซึ่งจริงๆ แล้ว หน่วยงานที่สามารถใช้คำว่า “ล่อซื้อ” ได้ ก็คือ อย. และ สคบ. หรือตำรวจเองก็สามารถทำได้ แต่ทำไมต้องเป็นหน้าที่เราทำ คนดูก็เลยรู้สึกอินว่า ทำไมพิธีกรทำเยอะจัง ทำมากกว่าคำว่าเป็นพิธีกรด้วยซ้ำ โทรไปเลยเหรอ แล้วก็รู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า มันมีขายกันจริงๆ จนเทปนั้นเอาไปลงในโซเชียล ก็มีคนดูหนึ่งล้านวิวภายใน 3 วัน จำได้เลย ยาทำแท้งนี่แหละ พอมันเป็นล้านวิวปุ๊บ ชื่อเคนโด้กับกมลพรมันก็เลยเริ่มมีคนรู้จักมากขึ้น คนรู้จักรายการ “เป็นเรื่อง!” มากขึ้นๆ เราก็เลยรู้สึกว่า เรามาในทางนี้เลยแล้วกัน คือข่าวแนวอื่นๆ เราก็ทำนะ และเราก็ทำแบบเข้มข้นเลย
อะไรที่แปลกๆ ที่ขายกันในโซเชียล อย่างพวกยาเสียสาว เราก็โทรไปเพื่อลองซื้อ อยากรู้ว่ามันมีจริงไหม เราก็ลองโทรซื้อกลางรายการเลย ปรากฏว่ามีจริง! แล้วมันก็ขายให้... จากนั้น เราก็โทรหาท่านวิระชัย (พล.ต.อ.ดร.วิระชัย ทรงเมตตา รอง ผบ.ตร.) ก็เป็นครั้งแรกที่คุยกับท่าน ตอนนั้นเป็นช่วงก่อนวันลอยกระทง เพราะว่าท่านเน้นยำเรื่องการเสียตัวในวันลอยกระทงมาก โปรดิวเซอร์ของรายการก็บอกว่าโทรไปหาท่านวิระชัยนี่แหละ เราก็โทรไปฟ้องเกี่ยวกับยาเสียสาว
กมลพร : ก็โทรฟ้องว่ามันมียาอย่างนี้จริงๆ นะคะ เราทดลองโทรไปซื้อแล้ว แล้วมันรีวิวกับเราด้วยว่าได้ผลชัวร์ๆ ราคาแค่พันกว่าบาท และท่านก็จัดการจริงๆ ... สุดท้าย มันจึงกลายเป็นว่า พอเราทำงานเชิงรุก คือคล้ายๆ มือปราบ อย่างที่เคนโด้บอก เลยทำให้ภาพนั้นมันติดมา เรารู้สึกว่า เราแฮปปี้กับการทำงานแบบนี้ มันเป็นการทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน
• พอทำงานเชิงรุกแบบนี้ แน่นอนว่าพวกที่เสียผลประโยชน์อย่างแบรนด์สินค้าต่างๆ ก็ย่อมต้องมี และต้องตีโต้แน่นอน ฟังมาว่า เคยเจอหนักหนาถึงขั้นข่มขู่ว่า จะให้กราบตีนกันเลย
เคนโด้ : อันที่จริงก็โดนมาตลอดนะ อย่างยาตัวแรกๆ ที่เราแฉ ก็มีโทรกลับมานั่นนี่ มีการข่มขู่ใช้อิทธิพล มีนัดไปเจอด้วยนะ คุณมาเจอผมสิ อะไรต่างๆ นานา คือจะนัดให้เราไปเจอ
กมลพร : บางรายก็อาจจะคิดว่ารายการเรามันเล็ก ไม่มีผลหรอก เขาชอบพูดอย่างนี้จริงๆ รายการมันเล็ก ไม่มีผลหรอก มันก็พูดอยู่แค่ในเคเบิ้ลทีวี
เคนโด้ : แล้วรายการเราก็เพิ่งเกิดได้ไม่นานด้วย แต่ที่งงที่สุดก็คือว่า สคบ. กับ อย. จับมือกันออกแถลงการณ์ชี้แจงวันเดียวกันเลย คือชี้แจงกับรายการเป็นเรื่องนี่แหละ ตอนนั้นกรณีน้องเอ (นามสมมุติ) ที่กินยาตัวหนึ่งแล้วเกิดประสาทหลอน “จ่าพิชิต” (แอดมินเพจ Drama-Addict) ก็ส่งข้อความมาบอกเราว่า “พวกมึง อย.กับ สคบ.แถลงการณ์ถึงรายการเป็นเรื่อง แล้วก็มีเมาท์ด้วยนะ” เพราะวันนั้น จ่าพิชิตไปที่ อย. เขาบอกว่า “พวกมึงรู้ไหม ในที่ประชุม เขากลัวพวกมึงมากเลย”
กมลพร : เขาบอกว่า พิธีกรคู่นี้ดุจัง ทำไมดุขนาดนี้ เวลาถามอะไร ก็ถามแบบจี้ๆๆ เกินไปหรือเปล่า
เคนโด้ : คือเราถามจี้ จนกระทั่ง สคบ.ไม่ให้รายการเป็นเรื่องสัมภาษณ์อยู่ระยะหนึ่ง
กมลพร : พูดจริงๆ เราเปลี่ยนจากการร้องคนนี้ ไปร้องคนนั้น ไปร้องคนโน้น จนไม่มีใครรับสายเราเลย (ยิ้ม)
เคนโด้ : เราโทรหาท่านรองทุกท่านให้ตอบคำถาม ปรากฏว่าท่านรองหนึ่งตอบไปซ้าย ท่านรองสองตอบไปขวา แล้วคลิปเราก็เอามาชนกัน ประชาชนก็แบบ... ทำไมตอบไม่ตรงกัน ทั้งที่หน่วยงานเดียวกัน
กมลพร : หลังจากนั้นก็ไม่มีสักรองรับสาย (หัวเราะเบาๆ)
เคนโด้ : หลังจากนั้นเราก็ไม่ได้สัมภาษณ์หน่วยงานที่จะต้องดูแลผู้บริโภคสักระยะหนึ่ง เว้นไปคุยเรื่องอื่น เว้นๆ ไป จนได้กลับมาเมื่อเร็วๆ นี่แหละ
กมลพร : แต่ก็ต้องยอมรับว่า หลังจากกรณีนั้นนั่นเอง ทำให้รายการ “เป็นเรื่อง!” มีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในโลกโซเชียล เพจสายดาร์กต่างๆ หรือว่าเพจที่ให้การช่วยเหลือคนอื่นอยู่แล้วในโซเชียล เริ่มหันมาร่วมไม้ร่วมมือกับเรา บางเพจที่ไม่เปิดตัวอย่าง “ควีน” ก็เริ่มมาแชร์ข้อมูลกัน
เคนโด้ : ปรากฏว่า ควีนแชร์คลิปที่ลองซื้อยาทำแท้ง ซึ่งปกติ ควีนจะไม่แชร์อะไรแบบนี้ เพราะเขาคิดว่าเมืองไทยมันจัดการไม่ค่อยได้ แต่วันนั้นควีนแชร์ โดยที่เราก็ไม่ได้ติดต่อไปเพื่อให้แชร์ ปรากฏว่าคนดูคลิปเยอะแยะ จนกลายเป็นไวรัลไปเลย
กมลพร : เราคิดว่า เหตุผลที่เพจสายดาร์กซึ่งไม่เปิดตัว ยกเว้นจ่าพิชิตที่รู้จักกันอยู่แล้ว แชร์หรืออินบ็อกซ์มาคุยกัน แอดไลน์มาคุยกัน หรือส่งข่าวให้กัน เพราะหนึ่งเลยคือ เรามีตัวตน และเราก็มีสำนักงานสื่อเครือ “ผู้จัดการ” เป็นบ้านหลังใหญ่ เราเป็นสื่อที่ทำงานมานานด้านนี้อยู่แล้ว รากและประวัติของผู้จัดการก็ต่อสู้กับเรื่องไม่ถูกต้องอยู่แล้ว พอเราสองคนมาทำรายการเล็กๆ รายการนี้ เขาก็รู้สึกว่า เพจสายดาร์กมันไม่มีทางที่อยู่ดีๆ จะต่อสาย ... “ฮัลโหล รอง อย.คะ ขอคุยด้วยหน่อย” มันเป็นเรื่องยากที่เพจจะขอคุย ก็เลยอาศัยผ่านเราสองคนนี่แหละให้ดีลต่อ และก็ทำงานต่อ เราเคยได้รับการถูกพูดถึงในเพจสายดาร์กพวกนี้ว่า พวกนี้มันไม่ได้เอาข่าวเราไปเล่าเฉยๆ หรือขโมยงานเราไปทำ แต่เป็นการทำงานด้วยกัน เขาใช้คำว่า “ทำงานด้วยกันกับเรา”
เคนโด้ : อย่างจ่าพิชิตเขาก็เปิดใจคุยเลยว่า กูเบื่อช่องใหญ่ๆ มาขอข่าวกู แล้วก็อ่านข้อความในเพจเฉยๆ ไม่มีการแตกประเด็น ต่อยอด หรือไปขุดคุ้ยเพิ่มเติมอะไร
กมลพร : ที่เราไม่ทำแบบนั้น คือไม่อ่านแค่ข้อความในเพจแล้วจบไปเลย เพราะเรารู้สึกว่าเรื่องมันยังไม่เสร็จ เพราะมันยังมีน้องเอ แหล่งข่าวของเราที่ยัง...นอนรอวันตายอยู่ มันเป็นความรับผิดชอบที่เราต้องมีต่อเขา
เคนโด้ : สื่อส่วนมากมีหน้าที่นำเสนอ ตีแผ่ใช่ไหม แต่เราสองคนใช้คำว่า มันไม่ใช่แค่ตีแผ่ เราลงไปทำ ทำจนเสร็จ เหมือนกรณีเมจิก สกิน พาไปทุกที่เลย จ่าพิชิตที่ส่งประเด็นให้เราค่อนข้างเยอะ เพราะเขาเห็นว่า เราไม่ใช่แค่เอาประเด็นมานำเสนอหน้าจอเพื่อเรียกความสนใจ พอเสร็จปุ๊ป ก็ไปทำประเด็นอื่น ประเด็นเดิมยังไม่เสร็จเลย อย่างประเด็นล่าสุดที่จ่าฯ ส่งมาให้ มีพระเลี้ยงเด็กชายเป็นกะตั๊กเลย แล้วก็ส่งเด็กผู้ชายคนนั้นที่พร้อมจะแฉมาให้คุยกับผม มีหลักฐานทั้งหมด ซื้อทองให้เด็ก เรียกเด็กเข้ากุฏิ แล้วเป็นวัดดัง พระเป็นคนคุมเงินทั้งหมด เงินบริจาคเป็นหลักพันล้าน เด็กมันเล่าๆ เราก็ตกใจ นี่ประเด็นนี้มันควรจะส่งให้ช่องใหญ่ๆ เขาไหม เพราะเรื่องมันใหญ่มาก แต่จ่าพิชิตบอก “มึงทำ” แล้วก็ส่งมา แล้วผมก็โทรคุยกับเด็ก เด็กก็ส่งหลักฐานมา
กมลพร : คือทุกครั้งที่มีการส่งเรื่องมาให้เรา เราสองคนรวมทั้งทีมงาน ไม่ใช่สไตล์ที่เอามาแล้วอ่านออกหน้าจอเลยนะ แต่จะรีเช็กก่อน โทรคุยกับแหล่งข่าวก่อน โทรเช็กองค์กรก่อนด้วยนะว่า หน่วยงานไหนที่เกี่ยวข้อง โทรเช็กข้อกฎหมาย คุยข้อกฎหมายก่อนว่าเล่นในประเด็นไหนได้บ้าง เพราะว่าเราเคยมีประสบการณ์แล้วว่า พอทำปุ๊ป ไวปั๊ป มันหาย แล้วเผลอๆ โดนฟ้องกลับด้วย หลักฐานมันไม่เนียน ดังนั้น เราก็จะทำงานแบบนี้กับทุกเคส ทุกครั้ง นั่นหมายความว่า เมื่อไหร่ที่เราพูด เรามั่นใจแล้วว่า เราทำงานมาแล้วระดับหนึ่ง มันมีกลิ่น เราใช้คำนี้เสมอ มันมีกลิ่นแปลกๆ ว่ะ มันส่อเค้าไม่โอเคแล้ว เราถึงจะพูดจะทำ
เคนโด้ : มันต้องรอเวลา แต่ถ้าเราอยากได้ยอดวิว เราจะทำวันนี้เลย เอาภาพขึ้น เบลอหน้านิดหน่อย แล้วก็อ่านว่าวัดดังในพื้นที่นี้ เด็กทั้งหมดนี้เป็นเด็กในสังกัดอะไรต่างๆ นานา เชื่อไหมว่า คนจะสนใจแล้วมาดูๆ เต็มไปหมด แล้วพรุ่งนี้ยังไง แล้ววันต่อไปยังไง เขาก็ยังเลี้ยงเด็กต่อไป ถ้าจะเล่นพระนั้น ต้องกระเด็นกระดอนออกจากพระพุทธศาสนา และถูกดำเนินคดีอะไรก็ว่ากันไป เราต้องทำกันถึงขนาดนั้น
กมลพร : ความโชคดีของเราอย่างหนึ่งในการทำรายการ “เป็นเรื่อง!” ก็คือเรามีโปรดิวเซอร์ที่เข้าใจการทำงานของเรามาก และพร้อมซับพอร์ต คือเมื่อไหร่ที่เราบอกว่า เรื่องนี้เรื่องใหญ่นะ มันเล่นเป็นซีรีย์ได้ เขาก็ฟังเรา ไม่ใช่ว่า... เคนโด้ พรุ่งนี้มีข่าวใหญ่กว่านะ หยุดเถอะ ไม่นะ คือกลายเป็นว่า เราอินแบบยกหมู่คณะ และเดินไปด้วยกัน
เคนโด้ : นี่ผมมองว่าเป็นจุดแข็งของเราอย่างหนึ่ง รายการ “เป็นเรื่อง!” เราทำเป็นซีรีย์ได้ ที่อื่นไม่รู้ว่าเขาติดกรอบอะไร เขาไม่สามารถเล่นเป็นซีรีย์ทุกวันได้ อย่างเรื่องเมจิก สกิน เราเล่นติดต่อกัน 5 วันในเรื่องเดียวกัน แล้วก็ไม่ได้เล่นแค่ติ่งๆ แบบ 10 นาที เราเล่นเป็นชั่วโมง 5 วันต่อกัน กัดไม่ปล่อย แต่ก็มีช่วงเวลาที่เราหยุดบ้าง เพราะต้องการปล่อยให้เป็นหน้าที่ของทางรายการเขาดำเนินต่อไป แต่พอเราหยุดเล่น วันต่อมาปรากฏว่า มันขายของดีมาก แล้วบอกว่า อย.ประกาศแล้ว พร้อมกับบุกไปที่ อย. สร้างหลักฐานเท็จว่ารองเลขาธิการรับเรื่องให้ขายต่อ แล้วก็ไลฟ์โซเชียลว่า ทุกคนขายได้... อ้าว กูต้องกลับมาเล่นอีกแล้วเหรอ
กมลพร : พวกแม่ค้าออนไลน์ที่มันต้องการจะโกง มันก็เก่งนะ คือพอเรารุก มันรับแล้วมันก็โต้กลับ เพราะฉะนั้น เราก็หยุดไม่ได้ ก็ต้องตั้งรับและแก้ไขสถานการณ์ไป ถามว่าเพราะอะไร ก็เพราะมีคนที่อยู่ข้างหลังเราที่เป็นผู้เสียหาย มีหลายเพจที่คอยส่งเสียงบอกว่า “เฮ้ย พวกนี้มันแอบเล่นแรงว่ะ มันมาอีกแล้ว เราทำไง”
• ทีนี้ก็มาถึงเคสที่หนักสุด คือ เมจิก สกิน...
กมลพร : เขาใช้ภาษาที่ค่อนข้างหยาบคาย แน่นอนว่า คนที่เขาหยาบคาย ก็ต้องประมาณ... ต่อให้มึงจะขอโทษกู มากราบตีนกู กูก็ไม่ให้อภัย กูไปแน่ อะไรอย่างนี้ มันก็จะมีภาษาพวกนี้ออกมา นั่นคือครั้งแรกที่เรารู้สึกว่าเราถูกคุกคามและกดดัน
เคนโด้ : เขามีติ่งเยอะไง เขาพูดใน Live ทางเฟซบุ๊ก บอกว่า พรุ่งนี้นะ ไปกันให้หมดเลยตัวแทน ซึ่งเขาก็มีแฟนๆ ของเขา ณ ตอนนั้นเยอะมาก แฟนเพจเขา เวลาเขาไลฟ์แต่ละที คนดูเป็นหมื่น แจกเงินแจกทอง แจกนู่นนี่นั่น คือแจกเยอะมาก แล้วยอดวิวขึ้นหลักหมื่นตลอด ส่วนคนตามเฟซบุ๊กส่วนตัวเขานะ ล้านห้า เขาสามารถที่จะเป็นหัวขบวนของโซเชียล ชี้ซ้ายก็ไปซ้าย ชี้ขวาก็ไปขวา หรือจะให้ทำอะไร จะให้มาสแปมก็ทำได้ สมมติว่า เคนโด้กับกมลพรมีเพจ “เป็นเรื่อง!” เล่นกูใช่ไหม? เขาก็สามารถสื่อสารกับคนเหล่านี้ เอากองกำลังของเขาสักพันคนมาสแปม เพจเราก็ดับได้เลยนะ
กมลพร : เราเคยพยายามต่อสายขอโฟนอินกับเขาด้วยนะ อยากให้เขาใช้พื้นที่สื่อในการชี้แจงว่าอะไรเป็นยังไง แต่เขาไม่คุย เขาหาย เขาเลี่ยง แล้ววันหนึ่งก็มีโทรศัพท์ลึกลับมา นึกว่าจะโทรมาชี้แจง เปล่าเลย เขาโทรมาเสนอให้หยุดพูดเรื่องนี้ หรือพูดเรื่องนี้เบาๆ หน่อย
• บอกตัวเลขที่เขาเสนอมา ได้ไหม
กมลพร : เขาให้กรอกเองเลย หลักสองหรือหลักสาม ไม่ใช่แบบสองสามร้อยนะ แต่เป็นเลข 0 ข้างหลัง 6 ตัว ข้างหน้าให้กรอกเอง
• ถึงตอนนี้ เรารู้แล้วล่ะว่าคุณไม่ได้กรอกตัวเลขอะไรลงไปในนั้น แต่ถึงอย่างไรก็ยังอยากรู้ว่าเพราะอะไร หรือคุณมีจุดยืนอะไรอย่างไรและคาดหวังอย่างไร
กมลพร : มันเป็นความรู้สึกรับผิดชอบ... อย่างไรก็ดี สิ่งที่เราคิดก็คือว่า ไม่ว่าจะมีรายการ “เป็นเรื่อง!” หรือว่าไม่มี ไม่ว่าจะมีเพจสายดาร์กหรือว่าไม่มี สิ่งที่สำคัญที่สุดเลยก็คือ คุณต้องดูแลตัวเองให้เป็น เราแค่ทำหน้าที่บอกคุณว่ามันมีตรงนี้ที่ต้องระวัง มันมีตรงนี้ที่สามารถป้องกันคุณได้ เราไม่สามารถดูแลคุณได้ 24 ชั่วโมงหรือตลอดกาล ตลอดไป เราอาจจะตายก็ได้ คือเราทำเรื่องของ Social Movement มาหลายระดับ ม็อบใหญ่ระดับประเทศก็ทำมาแล้ว แต่มันก็ยังไม่ได้เห็นผลชัด บางครั้งผิดหวังเสียใจ บางครั้งท้อ ทำมาตั้งแต่กรณีเหมืองแร่ เราลงไปคลุกคลีอยู่เป็นเดือน เราร้องไห้ทุกครั้งที่เห็นคนตายถูกเข็นเข้าเมรุ และแก้ไขอะไรไม่ได้
เราทำมาจนรู้สึกว่า เราเจอทางที่พอจะเห็นการเปลี่ยนแปลงจากการได้ทำรายการ “เป็นเรื่อง!” มันไม่ได้ช่วยคนดูหรือผู้เสียหายอย่างเดียว แต่มันช่วยเติมพลังชีวิตของเราด้วย เพราะอะไร เพราะเราทำมาหลายอย่าง แล้วเราเห็นแต่สิ่งที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้น เราดีใจที่เราเจอเคนโด้ เราดีใจที่เราเจอรายการเป็นเรื่อง! เราดีใจที่มีคนคิดแบบเราว่า มันควรจะมีการเปลี่ยนแปลงในสังคมบ้าง เล็กๆ น้อยๆ ก็ยังดี และวันนี้เราเริ่มเห็นว่าผู้เสียหายเริ่มเปลี่ยนแปลง ผู้บริโภคป้องกันตัวเองได้และแข็งแรงมาก เฮ้ย! เรามีพลังชีวิตที่จะเป็นนักข่าวต่อไป ผู้เสียหายได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐ แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่อย่างน้อยที่สุดมันก็มีการเปลี่ยนแปลง แล้ว ต้องขอบคุณเหตุการณ์นี้ เพราะมันทำให้เราอยากทำงานนักข่าวต่อไปอีกจนตาย
เคนโด้ : ถ้าถามถึงอนาคต ก็ไม่มีใครรู้หรอกครับ แต่วันที่เรายังมีแอร์ไทม์ วันที่เรายังมีรายการ “เป็นเรื่อง!” ซึ่งเป็นเครื่องมือในการส่งสารให้กับประชาชน และอันที่จริง เราแทบจะไม่รู้สึกเลยว่า เรามาสร้างความเปลี่ยนแปลง เรามาทำให้คนสนใจมากขึ้น แต่เราใช้คำว่า เราทำเต็มที่ ผมกับกมลพรบอกกันและกันตลอดเลยว่า ต้องทำให้สุด ถ้าไม่สุด อย่าทำ... และเราก็หวังแบบนี้ว่า ทุกวันที่เราทำงาน มันจะส่งให้คนดูเปลี่ยนแปลงในด้านความคิด หรือเขามีความรู้ในการดูแลสิทธิของตัวเองมากขึ้น... แค่นี้เราก็ชื่นใจแล้ว
• ล่าสุดนี้ เห็นว่า ทาง อย. และ สคบ. ก็ได้ขอความร่วมมือมา ให้รายการ “เป็นเรื่อง!” เข้าไปเป็น “กำลังหนุน” ด้วย เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคที่เดือดร้อน
เคนโด้ : ความจริง แต่เดิมนั้น เราไม่ได้รบราอะไรกับ อย.นะ เราแค่นำเสนอข่าวแล้วเราก็ติดต่อกับหน่วยงาน คือถ้าเป็นผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือเครื่องสำอาง มันก็มีสองหน่วยงานแหละ ไม่ อย. ก็ สคบ. แล้วเราก็ประสานไปแบบไม่ใช่แค่ขอคุย เราค่อนข้างจี้ในข้อมูลแล้วเขาก็ออกแถลงการณ์อะไรต่างๆ นานา สุดท้ายเราก็ได้ทำงานเกี่ยวกับ อย. ไปโดยปริยาย เพราะรายการ “เป็นเรื่อง!” ของเรามาแนวนี้
ต้องยอมรับว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเถื่อนในท้องตลาดมันเยอะมาก แล้ว อย.มีคนนิดเดียวเอง แต่มีโรงงานที่ผิดกฎหมายหมื่นโรงงาน แล้วมันผลิตของพวกนี้ทุกวัน มันจะไปตรวจอะไรได้หมด อย.ก็เลยเกิดไอเดียปิ๊งว่า จะขอให้รายการ “เป็นเรื่อง!” ไปเป็นภาคีของ อย.ร่วมกันได้ไหม ร่วมกับอีกหลายๆ เพจ เราตอบตกลงทันทีเลย..ได้ครับ
• ดูท่าว่า การสู้รบกับ “ของเถื่อนๆ” พวกนี้ จะยังไม่จบง่ายๆ
กมลพร : เราคงต้องสู้กันอีกเยอะ เราเชื่ออย่างนั้น เพราะเคส “เมจิก สกิน” อาจจะใช้ทั้งอิทธิพล ใช้ทั้งเงิน ใช้ทั้งเครือข่าย แต่ไม่ได้ผล เพราะเราคิดว่าเราไม่ได้อยากรวยจากการได้เงินก้อนจากใคร เราหากินเองได้ แม้ว่าเราจะไม่ได้รวยมาก แต่เราสบาย เราสบายอยู่แล้ว เราจะได้มองหน้าผู้เสียหายของเราได้อย่างเต็มตา ไม่ใช่แบบว่า... “พอดีพี่ติดเรื่องอื่นอยู่ พี่ทำไม่ได้” ... เราไม่อยากเป็นคนแบบนั้น ...
เรื่อง : อภินันท์ บุญเรืองพะเนา, พุทธิตา ลามคำ
หากใครติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ “เมจิก สกิน” ขาใหญ่แห่งวงการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางที่โด่งดังจน “โรงงานแตกสาแหรกขาด” ไปแล้วเรียบร้อย คงพอจะรู้ว่า หนึ่งในแกนนำผู้กล้าที่ “เปิดหน้า” ท้าชน แบบกัดแล้วไม่ปล่อยตั้งแต่วันแรกๆ จนถึงวาระสุดท้ายของเมจิก สกิน ก็คือรายการ “เป็นเรื่อง!” ทางช่อง News1
โดยสองพิธีกรที่ว่ากันว่า “บ้า” และ “ระห่ำ” ที่สุดในยุคนี้...
คนหนึ่งเป็นอดีตดีเจ นักจัดรายการที่ผ่านประสบการณ์ทั้งบนหน้าปัดและหน้าจอมานานมากกว่าสิบปี เจ้าของฉายา “ดีเจเทวดา” เคนโด้ - เกรียงไกรมาศ พจนสุนทร
อีกหนึ่งคือ “กมลพร วรกุล” ชื่อคุ้นๆ ของนักการเมืองระดับประเทศ ที่ผ่านสมรภูมิข่าวสารมาแล้วอย่างโชกโชน
ทั้งสองคน เริ่มต้นผูกพันในฐานะพิธีกรร่วม ในรายการ “เป็นเรื่อง!” ซึ่งเพิ่งก่อเกิดและมีอายุได้ไม่ถึงปี แต่กลับสร้างแรงสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น ราวกับปรากฏการณ์แผ่นดินไหว เมื่อเปิดโปงออกโรงแฉสินค้าออนไลน์ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง และเป็นอันตราย... ไล่มาตั้งแต่ “ยาทำแท้ง” “ยาเสียสาว” “ยาลดน้ำหนัก” และอื่นๆ อีกมากมาย
ด้วยสไตล์การจัดรายการ... โดยเฉพาะการติดตามประเด็นแต่ละประเด็นแบบ “กัดไม่ปล่อย” เปรียบเสมือนเครื่องหมายการค้าของรายการ “เป็นเรื่อง!” นอกจากจะกลายเป็นที่จดจำของคนดูผู้ชม ยังเป็นเสมือนหนึ่ง “ที่พึ่งใหม่” ของประชาชนคนไทยที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย และไม่ได้รับความเป็นธรรม เป็นศาลาว่าการที่ผู้บริโภคซึ่งถูกหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ มาตีฆ้องเคาะระฆัง ขอความช่วยเหลือ
อย่าว่างั้นว่างี้เลย ล่าสุด สดๆ ร้อนๆ ... แม้แต่หน่วยงานอย่าง อย. และ สคบ. ยังขอจับมือเป็นพันธมิตร!
และต่อจากนี้ คือมุมมองความคิดของ 2 พิธีกรนักข่าว ที่สามารถกล่าวได้ว่า แม้จะมาจากรายการเล็กๆ ช่องเล็กๆ และเพิ่งเกิดมาคล้ายเด็กเล็กๆ
แต่สิ่งที่พวกเขาทำนั้นไม่เล็ก และมัน...“เป็นเรื่อง”!
“เป็นเรื่อง” แค่ไหนอย่างไร?
พูดง่ายๆ... ก็แม้แต่ “ขาใหญ่” อย่างเมจิก สกิน ยังดิ้นยังรน ถึงขนาดใช้อิทธิพลข่มขู่ ผรุสวาทผ่าน Live ทางเฟซบุ๊ก “ต่อให้กราบตีนกู กูก็ไม่ให้อภัย”!!...
• โดนขู่มาขนาดนั้น รู้สึกกลัวกันบ้างไหม?
เคนโด้ : ถ้าถามว่ากลัวไหม ทุกคนมันมีความกลัวอยู่แล้ว แต่กมลพรจะบอกกับผมตลอดเลยว่า “มึงอย่ากลัว กูโดนมาหนักกว่านี้” อย่างไรก็ดี ผมคิดว่า ความกลัวมันเกิดขึ้นได้ เพียงแต่เราต้องดำเนินการต่อไป เพราะเรานึกถึงผู้เสียหายที่อยู่ข้างหลัง ถ้าเราเห็นความเดือดร้อนของเขาแล้วเราหยุดทำไป หรือทำแบบครึ่งๆ กลางๆ มันจะเป็นอย่างไร
• ขอย้อนไปสักเล็กน้อย ก่อนจะดังเป็นพลุแตกจากกรณีเปิดโปงเมจิก สกิน พวกคุณก็เคยแฉเรื่องอื่นๆ จนสะเทือนไปเหมือนกัน
กมลพร : ต้องบอกว่า เราทำงานสไตล์นี้กันมาตลอด ตั้งแต่เริ่มต้นรายการ “เป็นเรื่อง” เมื่อวันที่ 4 กันยายนปีที่แล้ว
เคนโด้ : เราทำงานบนพื้นฐานของการที่มีประชาชนเขาแจ้งมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม เราก็ยึดจิตวิญญาณของสื่อที่ต้องไปตามหาความจริงให้ประชาชน หาทางออกให้ประชาชน อย่างเรื่องยาทำแท้ง ก็มีคนแจ้งเข้ามาว่า “พี่เล่นเรื่องนี้หน่อยได้ไหม มันขายกันว่อนเน็ตเหลือเกิน” หรือพวกยาเสียสาว ตอนนั้นเราก็เล่น เราก็โทรไปหาพวกพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ และที่เราเริ่มเป็นที่จดจำของคนดูผู้ชมก็เพราะว่าเราโทรไปลองซื้อน่ะครับ เก๋กับเคนโด้ทำทีว่าเป็นผัวเป็นเมียกัน แล้วก็เป็นมือปราบสิ่งที่มันไม่ถูกต้องทางออนไลน์ โดยเฉพาะพวกอาหารการกิน หรือว่าพวกยาต่างๆ ที่มันไม่ควรจะขาย ซึ่งตอนนั้นยังไม่รู้จักเมจิก สกิน เลยด้วยซ้ำ เราทำแบรนด์อื่นๆ
กมลพร : แบรนด์หนึ่งซึ่งเราเคยทำตอนนั้น... ณ ตอนนี้เขาก็ยังอยู่นะ พูดจริงๆ เขายังอยู่ และเป็นแบรนด์ที่เราเจอผู้เสียหายโดยตรง ซึ่งก็คือน้องคนหนึ่งที่กินแล้วประสาทหลอนจนเกือบตาย พี่สาวมาช่วยไว้และมาร้องเรียนกับเรา นั่นเป็นครั้งแรกที่เราเริ่มเข้าไปรู้จักว่า อย.คืออะไร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคืออะไร ของพวกนี้มีส่วนผสมอะไรยังไง ไซบูทรามีนก็รู้จักครั้งแรกจากตรงนี้แหละ
จากนั้นก็กลายเป็นว่า พอคนเห็นเราทำเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นถูกหลอกด้วยแชร์ลูกโซ่ ถูกหลอกด้วยอะไรก็ตาม พอมาบอกเราและเราตามแบบกัดไม่ปล่อย คนก็เริ่มจดจำเราได้ มีอยู่ครั้งหนึ่ง สคบ. (สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค) กับ อย. (องค์การอาหารและยา) ถึงกับออกแถลงการณ์พร้อมกันถึงรายการ “เป็นเรื่อง” และเคนโด้กับกมลพรว่า ต้องชี้แจงรายการนี้ ... แทนที่จะชี้แจงผู้บริโภค นั่นคือครั้งแรกที่เราคิดว่า คนดูรู้สึกว่าสองคนนี้มันพึ่งได้ เพราะไม่ใช่แค่เอาข่าวมาเล่า แต่มันตามต่อ มันแอบไปหลอกซื้อยา ยาของยี่ห้อที่เขาฉลองยอดขายร้อยล้านพันล้าน เราก็โทรไปหลอกถาม โทรไปขอซื้อ
เคนโด้ : แต่ไม่ใช้คำว่า “ล่อซื้อ” นะ เราใช้คำว่าเป็นผู้บริโภคนี่แหละที่โทรไปลองซื้อ ซึ่งจริงๆ แล้ว หน่วยงานที่สามารถใช้คำว่า “ล่อซื้อ” ได้ ก็คือ อย. และ สคบ. หรือตำรวจเองก็สามารถทำได้ แต่ทำไมต้องเป็นหน้าที่เราทำ คนดูก็เลยรู้สึกอินว่า ทำไมพิธีกรทำเยอะจัง ทำมากกว่าคำว่าเป็นพิธีกรด้วยซ้ำ โทรไปเลยเหรอ แล้วก็รู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า มันมีขายกันจริงๆ จนเทปนั้นเอาไปลงในโซเชียล ก็มีคนดูหนึ่งล้านวิวภายใน 3 วัน จำได้เลย ยาทำแท้งนี่แหละ พอมันเป็นล้านวิวปุ๊บ ชื่อเคนโด้กับกมลพรมันก็เลยเริ่มมีคนรู้จักมากขึ้น คนรู้จักรายการ “เป็นเรื่อง!” มากขึ้นๆ เราก็เลยรู้สึกว่า เรามาในทางนี้เลยแล้วกัน คือข่าวแนวอื่นๆ เราก็ทำนะ และเราก็ทำแบบเข้มข้นเลย
อะไรที่แปลกๆ ที่ขายกันในโซเชียล อย่างพวกยาเสียสาว เราก็โทรไปเพื่อลองซื้อ อยากรู้ว่ามันมีจริงไหม เราก็ลองโทรซื้อกลางรายการเลย ปรากฏว่ามีจริง! แล้วมันก็ขายให้... จากนั้น เราก็โทรหาท่านวิระชัย (พล.ต.อ.ดร.วิระชัย ทรงเมตตา รอง ผบ.ตร.) ก็เป็นครั้งแรกที่คุยกับท่าน ตอนนั้นเป็นช่วงก่อนวันลอยกระทง เพราะว่าท่านเน้นยำเรื่องการเสียตัวในวันลอยกระทงมาก โปรดิวเซอร์ของรายการก็บอกว่าโทรไปหาท่านวิระชัยนี่แหละ เราก็โทรไปฟ้องเกี่ยวกับยาเสียสาว
กมลพร : ก็โทรฟ้องว่ามันมียาอย่างนี้จริงๆ นะคะ เราทดลองโทรไปซื้อแล้ว แล้วมันรีวิวกับเราด้วยว่าได้ผลชัวร์ๆ ราคาแค่พันกว่าบาท และท่านก็จัดการจริงๆ ... สุดท้าย มันจึงกลายเป็นว่า พอเราทำงานเชิงรุก คือคล้ายๆ มือปราบ อย่างที่เคนโด้บอก เลยทำให้ภาพนั้นมันติดมา เรารู้สึกว่า เราแฮปปี้กับการทำงานแบบนี้ มันเป็นการทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน
• พอทำงานเชิงรุกแบบนี้ แน่นอนว่าพวกที่เสียผลประโยชน์อย่างแบรนด์สินค้าต่างๆ ก็ย่อมต้องมี และต้องตีโต้แน่นอน ฟังมาว่า เคยเจอหนักหนาถึงขั้นข่มขู่ว่า จะให้กราบตีนกันเลย
เคนโด้ : อันที่จริงก็โดนมาตลอดนะ อย่างยาตัวแรกๆ ที่เราแฉ ก็มีโทรกลับมานั่นนี่ มีการข่มขู่ใช้อิทธิพล มีนัดไปเจอด้วยนะ คุณมาเจอผมสิ อะไรต่างๆ นานา คือจะนัดให้เราไปเจอ
กมลพร : บางรายก็อาจจะคิดว่ารายการเรามันเล็ก ไม่มีผลหรอก เขาชอบพูดอย่างนี้จริงๆ รายการมันเล็ก ไม่มีผลหรอก มันก็พูดอยู่แค่ในเคเบิ้ลทีวี
เคนโด้ : แล้วรายการเราก็เพิ่งเกิดได้ไม่นานด้วย แต่ที่งงที่สุดก็คือว่า สคบ. กับ อย. จับมือกันออกแถลงการณ์ชี้แจงวันเดียวกันเลย คือชี้แจงกับรายการเป็นเรื่องนี่แหละ ตอนนั้นกรณีน้องเอ (นามสมมุติ) ที่กินยาตัวหนึ่งแล้วเกิดประสาทหลอน “จ่าพิชิต” (แอดมินเพจ Drama-Addict) ก็ส่งข้อความมาบอกเราว่า “พวกมึง อย.กับ สคบ.แถลงการณ์ถึงรายการเป็นเรื่อง แล้วก็มีเมาท์ด้วยนะ” เพราะวันนั้น จ่าพิชิตไปที่ อย. เขาบอกว่า “พวกมึงรู้ไหม ในที่ประชุม เขากลัวพวกมึงมากเลย”
กมลพร : เขาบอกว่า พิธีกรคู่นี้ดุจัง ทำไมดุขนาดนี้ เวลาถามอะไร ก็ถามแบบจี้ๆๆ เกินไปหรือเปล่า
เคนโด้ : คือเราถามจี้ จนกระทั่ง สคบ.ไม่ให้รายการเป็นเรื่องสัมภาษณ์อยู่ระยะหนึ่ง
กมลพร : พูดจริงๆ เราเปลี่ยนจากการร้องคนนี้ ไปร้องคนนั้น ไปร้องคนโน้น จนไม่มีใครรับสายเราเลย (ยิ้ม)
เคนโด้ : เราโทรหาท่านรองทุกท่านให้ตอบคำถาม ปรากฏว่าท่านรองหนึ่งตอบไปซ้าย ท่านรองสองตอบไปขวา แล้วคลิปเราก็เอามาชนกัน ประชาชนก็แบบ... ทำไมตอบไม่ตรงกัน ทั้งที่หน่วยงานเดียวกัน
กมลพร : หลังจากนั้นก็ไม่มีสักรองรับสาย (หัวเราะเบาๆ)
เคนโด้ : หลังจากนั้นเราก็ไม่ได้สัมภาษณ์หน่วยงานที่จะต้องดูแลผู้บริโภคสักระยะหนึ่ง เว้นไปคุยเรื่องอื่น เว้นๆ ไป จนได้กลับมาเมื่อเร็วๆ นี่แหละ
กมลพร : แต่ก็ต้องยอมรับว่า หลังจากกรณีนั้นนั่นเอง ทำให้รายการ “เป็นเรื่อง!” มีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในโลกโซเชียล เพจสายดาร์กต่างๆ หรือว่าเพจที่ให้การช่วยเหลือคนอื่นอยู่แล้วในโซเชียล เริ่มหันมาร่วมไม้ร่วมมือกับเรา บางเพจที่ไม่เปิดตัวอย่าง “ควีน” ก็เริ่มมาแชร์ข้อมูลกัน
เคนโด้ : ปรากฏว่า ควีนแชร์คลิปที่ลองซื้อยาทำแท้ง ซึ่งปกติ ควีนจะไม่แชร์อะไรแบบนี้ เพราะเขาคิดว่าเมืองไทยมันจัดการไม่ค่อยได้ แต่วันนั้นควีนแชร์ โดยที่เราก็ไม่ได้ติดต่อไปเพื่อให้แชร์ ปรากฏว่าคนดูคลิปเยอะแยะ จนกลายเป็นไวรัลไปเลย
กมลพร : เราคิดว่า เหตุผลที่เพจสายดาร์กซึ่งไม่เปิดตัว ยกเว้นจ่าพิชิตที่รู้จักกันอยู่แล้ว แชร์หรืออินบ็อกซ์มาคุยกัน แอดไลน์มาคุยกัน หรือส่งข่าวให้กัน เพราะหนึ่งเลยคือ เรามีตัวตน และเราก็มีสำนักงานสื่อเครือ “ผู้จัดการ” เป็นบ้านหลังใหญ่ เราเป็นสื่อที่ทำงานมานานด้านนี้อยู่แล้ว รากและประวัติของผู้จัดการก็ต่อสู้กับเรื่องไม่ถูกต้องอยู่แล้ว พอเราสองคนมาทำรายการเล็กๆ รายการนี้ เขาก็รู้สึกว่า เพจสายดาร์กมันไม่มีทางที่อยู่ดีๆ จะต่อสาย ... “ฮัลโหล รอง อย.คะ ขอคุยด้วยหน่อย” มันเป็นเรื่องยากที่เพจจะขอคุย ก็เลยอาศัยผ่านเราสองคนนี่แหละให้ดีลต่อ และก็ทำงานต่อ เราเคยได้รับการถูกพูดถึงในเพจสายดาร์กพวกนี้ว่า พวกนี้มันไม่ได้เอาข่าวเราไปเล่าเฉยๆ หรือขโมยงานเราไปทำ แต่เป็นการทำงานด้วยกัน เขาใช้คำว่า “ทำงานด้วยกันกับเรา”
เคนโด้ : อย่างจ่าพิชิตเขาก็เปิดใจคุยเลยว่า กูเบื่อช่องใหญ่ๆ มาขอข่าวกู แล้วก็อ่านข้อความในเพจเฉยๆ ไม่มีการแตกประเด็น ต่อยอด หรือไปขุดคุ้ยเพิ่มเติมอะไร
กมลพร : ที่เราไม่ทำแบบนั้น คือไม่อ่านแค่ข้อความในเพจแล้วจบไปเลย เพราะเรารู้สึกว่าเรื่องมันยังไม่เสร็จ เพราะมันยังมีน้องเอ แหล่งข่าวของเราที่ยัง...นอนรอวันตายอยู่ มันเป็นความรับผิดชอบที่เราต้องมีต่อเขา
เคนโด้ : สื่อส่วนมากมีหน้าที่นำเสนอ ตีแผ่ใช่ไหม แต่เราสองคนใช้คำว่า มันไม่ใช่แค่ตีแผ่ เราลงไปทำ ทำจนเสร็จ เหมือนกรณีเมจิก สกิน พาไปทุกที่เลย จ่าพิชิตที่ส่งประเด็นให้เราค่อนข้างเยอะ เพราะเขาเห็นว่า เราไม่ใช่แค่เอาประเด็นมานำเสนอหน้าจอเพื่อเรียกความสนใจ พอเสร็จปุ๊ป ก็ไปทำประเด็นอื่น ประเด็นเดิมยังไม่เสร็จเลย อย่างประเด็นล่าสุดที่จ่าฯ ส่งมาให้ มีพระเลี้ยงเด็กชายเป็นกะตั๊กเลย แล้วก็ส่งเด็กผู้ชายคนนั้นที่พร้อมจะแฉมาให้คุยกับผม มีหลักฐานทั้งหมด ซื้อทองให้เด็ก เรียกเด็กเข้ากุฏิ แล้วเป็นวัดดัง พระเป็นคนคุมเงินทั้งหมด เงินบริจาคเป็นหลักพันล้าน เด็กมันเล่าๆ เราก็ตกใจ นี่ประเด็นนี้มันควรจะส่งให้ช่องใหญ่ๆ เขาไหม เพราะเรื่องมันใหญ่มาก แต่จ่าพิชิตบอก “มึงทำ” แล้วก็ส่งมา แล้วผมก็โทรคุยกับเด็ก เด็กก็ส่งหลักฐานมา
กมลพร : คือทุกครั้งที่มีการส่งเรื่องมาให้เรา เราสองคนรวมทั้งทีมงาน ไม่ใช่สไตล์ที่เอามาแล้วอ่านออกหน้าจอเลยนะ แต่จะรีเช็กก่อน โทรคุยกับแหล่งข่าวก่อน โทรเช็กองค์กรก่อนด้วยนะว่า หน่วยงานไหนที่เกี่ยวข้อง โทรเช็กข้อกฎหมาย คุยข้อกฎหมายก่อนว่าเล่นในประเด็นไหนได้บ้าง เพราะว่าเราเคยมีประสบการณ์แล้วว่า พอทำปุ๊ป ไวปั๊ป มันหาย แล้วเผลอๆ โดนฟ้องกลับด้วย หลักฐานมันไม่เนียน ดังนั้น เราก็จะทำงานแบบนี้กับทุกเคส ทุกครั้ง นั่นหมายความว่า เมื่อไหร่ที่เราพูด เรามั่นใจแล้วว่า เราทำงานมาแล้วระดับหนึ่ง มันมีกลิ่น เราใช้คำนี้เสมอ มันมีกลิ่นแปลกๆ ว่ะ มันส่อเค้าไม่โอเคแล้ว เราถึงจะพูดจะทำ
เคนโด้ : มันต้องรอเวลา แต่ถ้าเราอยากได้ยอดวิว เราจะทำวันนี้เลย เอาภาพขึ้น เบลอหน้านิดหน่อย แล้วก็อ่านว่าวัดดังในพื้นที่นี้ เด็กทั้งหมดนี้เป็นเด็กในสังกัดอะไรต่างๆ นานา เชื่อไหมว่า คนจะสนใจแล้วมาดูๆ เต็มไปหมด แล้วพรุ่งนี้ยังไง แล้ววันต่อไปยังไง เขาก็ยังเลี้ยงเด็กต่อไป ถ้าจะเล่นพระนั้น ต้องกระเด็นกระดอนออกจากพระพุทธศาสนา และถูกดำเนินคดีอะไรก็ว่ากันไป เราต้องทำกันถึงขนาดนั้น
กมลพร : ความโชคดีของเราอย่างหนึ่งในการทำรายการ “เป็นเรื่อง!” ก็คือเรามีโปรดิวเซอร์ที่เข้าใจการทำงานของเรามาก และพร้อมซับพอร์ต คือเมื่อไหร่ที่เราบอกว่า เรื่องนี้เรื่องใหญ่นะ มันเล่นเป็นซีรีย์ได้ เขาก็ฟังเรา ไม่ใช่ว่า... เคนโด้ พรุ่งนี้มีข่าวใหญ่กว่านะ หยุดเถอะ ไม่นะ คือกลายเป็นว่า เราอินแบบยกหมู่คณะ และเดินไปด้วยกัน
เคนโด้ : นี่ผมมองว่าเป็นจุดแข็งของเราอย่างหนึ่ง รายการ “เป็นเรื่อง!” เราทำเป็นซีรีย์ได้ ที่อื่นไม่รู้ว่าเขาติดกรอบอะไร เขาไม่สามารถเล่นเป็นซีรีย์ทุกวันได้ อย่างเรื่องเมจิก สกิน เราเล่นติดต่อกัน 5 วันในเรื่องเดียวกัน แล้วก็ไม่ได้เล่นแค่ติ่งๆ แบบ 10 นาที เราเล่นเป็นชั่วโมง 5 วันต่อกัน กัดไม่ปล่อย แต่ก็มีช่วงเวลาที่เราหยุดบ้าง เพราะต้องการปล่อยให้เป็นหน้าที่ของทางรายการเขาดำเนินต่อไป แต่พอเราหยุดเล่น วันต่อมาปรากฏว่า มันขายของดีมาก แล้วบอกว่า อย.ประกาศแล้ว พร้อมกับบุกไปที่ อย. สร้างหลักฐานเท็จว่ารองเลขาธิการรับเรื่องให้ขายต่อ แล้วก็ไลฟ์โซเชียลว่า ทุกคนขายได้... อ้าว กูต้องกลับมาเล่นอีกแล้วเหรอ
กมลพร : พวกแม่ค้าออนไลน์ที่มันต้องการจะโกง มันก็เก่งนะ คือพอเรารุก มันรับแล้วมันก็โต้กลับ เพราะฉะนั้น เราก็หยุดไม่ได้ ก็ต้องตั้งรับและแก้ไขสถานการณ์ไป ถามว่าเพราะอะไร ก็เพราะมีคนที่อยู่ข้างหลังเราที่เป็นผู้เสียหาย มีหลายเพจที่คอยส่งเสียงบอกว่า “เฮ้ย พวกนี้มันแอบเล่นแรงว่ะ มันมาอีกแล้ว เราทำไง”
• ทีนี้ก็มาถึงเคสที่หนักสุด คือ เมจิก สกิน...
กมลพร : เขาใช้ภาษาที่ค่อนข้างหยาบคาย แน่นอนว่า คนที่เขาหยาบคาย ก็ต้องประมาณ... ต่อให้มึงจะขอโทษกู มากราบตีนกู กูก็ไม่ให้อภัย กูไปแน่ อะไรอย่างนี้ มันก็จะมีภาษาพวกนี้ออกมา นั่นคือครั้งแรกที่เรารู้สึกว่าเราถูกคุกคามและกดดัน
เคนโด้ : เขามีติ่งเยอะไง เขาพูดใน Live ทางเฟซบุ๊ก บอกว่า พรุ่งนี้นะ ไปกันให้หมดเลยตัวแทน ซึ่งเขาก็มีแฟนๆ ของเขา ณ ตอนนั้นเยอะมาก แฟนเพจเขา เวลาเขาไลฟ์แต่ละที คนดูเป็นหมื่น แจกเงินแจกทอง แจกนู่นนี่นั่น คือแจกเยอะมาก แล้วยอดวิวขึ้นหลักหมื่นตลอด ส่วนคนตามเฟซบุ๊กส่วนตัวเขานะ ล้านห้า เขาสามารถที่จะเป็นหัวขบวนของโซเชียล ชี้ซ้ายก็ไปซ้าย ชี้ขวาก็ไปขวา หรือจะให้ทำอะไร จะให้มาสแปมก็ทำได้ สมมติว่า เคนโด้กับกมลพรมีเพจ “เป็นเรื่อง!” เล่นกูใช่ไหม? เขาก็สามารถสื่อสารกับคนเหล่านี้ เอากองกำลังของเขาสักพันคนมาสแปม เพจเราก็ดับได้เลยนะ
กมลพร : เราเคยพยายามต่อสายขอโฟนอินกับเขาด้วยนะ อยากให้เขาใช้พื้นที่สื่อในการชี้แจงว่าอะไรเป็นยังไง แต่เขาไม่คุย เขาหาย เขาเลี่ยง แล้ววันหนึ่งก็มีโทรศัพท์ลึกลับมา นึกว่าจะโทรมาชี้แจง เปล่าเลย เขาโทรมาเสนอให้หยุดพูดเรื่องนี้ หรือพูดเรื่องนี้เบาๆ หน่อย
• บอกตัวเลขที่เขาเสนอมา ได้ไหม
กมลพร : เขาให้กรอกเองเลย หลักสองหรือหลักสาม ไม่ใช่แบบสองสามร้อยนะ แต่เป็นเลข 0 ข้างหลัง 6 ตัว ข้างหน้าให้กรอกเอง
• ถึงตอนนี้ เรารู้แล้วล่ะว่าคุณไม่ได้กรอกตัวเลขอะไรลงไปในนั้น แต่ถึงอย่างไรก็ยังอยากรู้ว่าเพราะอะไร หรือคุณมีจุดยืนอะไรอย่างไรและคาดหวังอย่างไร
กมลพร : มันเป็นความรู้สึกรับผิดชอบ... อย่างไรก็ดี สิ่งที่เราคิดก็คือว่า ไม่ว่าจะมีรายการ “เป็นเรื่อง!” หรือว่าไม่มี ไม่ว่าจะมีเพจสายดาร์กหรือว่าไม่มี สิ่งที่สำคัญที่สุดเลยก็คือ คุณต้องดูแลตัวเองให้เป็น เราแค่ทำหน้าที่บอกคุณว่ามันมีตรงนี้ที่ต้องระวัง มันมีตรงนี้ที่สามารถป้องกันคุณได้ เราไม่สามารถดูแลคุณได้ 24 ชั่วโมงหรือตลอดกาล ตลอดไป เราอาจจะตายก็ได้ คือเราทำเรื่องของ Social Movement มาหลายระดับ ม็อบใหญ่ระดับประเทศก็ทำมาแล้ว แต่มันก็ยังไม่ได้เห็นผลชัด บางครั้งผิดหวังเสียใจ บางครั้งท้อ ทำมาตั้งแต่กรณีเหมืองแร่ เราลงไปคลุกคลีอยู่เป็นเดือน เราร้องไห้ทุกครั้งที่เห็นคนตายถูกเข็นเข้าเมรุ และแก้ไขอะไรไม่ได้
เราทำมาจนรู้สึกว่า เราเจอทางที่พอจะเห็นการเปลี่ยนแปลงจากการได้ทำรายการ “เป็นเรื่อง!” มันไม่ได้ช่วยคนดูหรือผู้เสียหายอย่างเดียว แต่มันช่วยเติมพลังชีวิตของเราด้วย เพราะอะไร เพราะเราทำมาหลายอย่าง แล้วเราเห็นแต่สิ่งที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้น เราดีใจที่เราเจอเคนโด้ เราดีใจที่เราเจอรายการเป็นเรื่อง! เราดีใจที่มีคนคิดแบบเราว่า มันควรจะมีการเปลี่ยนแปลงในสังคมบ้าง เล็กๆ น้อยๆ ก็ยังดี และวันนี้เราเริ่มเห็นว่าผู้เสียหายเริ่มเปลี่ยนแปลง ผู้บริโภคป้องกันตัวเองได้และแข็งแรงมาก เฮ้ย! เรามีพลังชีวิตที่จะเป็นนักข่าวต่อไป ผู้เสียหายได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐ แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่อย่างน้อยที่สุดมันก็มีการเปลี่ยนแปลง แล้ว ต้องขอบคุณเหตุการณ์นี้ เพราะมันทำให้เราอยากทำงานนักข่าวต่อไปอีกจนตาย
เคนโด้ : ถ้าถามถึงอนาคต ก็ไม่มีใครรู้หรอกครับ แต่วันที่เรายังมีแอร์ไทม์ วันที่เรายังมีรายการ “เป็นเรื่อง!” ซึ่งเป็นเครื่องมือในการส่งสารให้กับประชาชน และอันที่จริง เราแทบจะไม่รู้สึกเลยว่า เรามาสร้างความเปลี่ยนแปลง เรามาทำให้คนสนใจมากขึ้น แต่เราใช้คำว่า เราทำเต็มที่ ผมกับกมลพรบอกกันและกันตลอดเลยว่า ต้องทำให้สุด ถ้าไม่สุด อย่าทำ... และเราก็หวังแบบนี้ว่า ทุกวันที่เราทำงาน มันจะส่งให้คนดูเปลี่ยนแปลงในด้านความคิด หรือเขามีความรู้ในการดูแลสิทธิของตัวเองมากขึ้น... แค่นี้เราก็ชื่นใจแล้ว
• ล่าสุดนี้ เห็นว่า ทาง อย. และ สคบ. ก็ได้ขอความร่วมมือมา ให้รายการ “เป็นเรื่อง!” เข้าไปเป็น “กำลังหนุน” ด้วย เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคที่เดือดร้อน
เคนโด้ : ความจริง แต่เดิมนั้น เราไม่ได้รบราอะไรกับ อย.นะ เราแค่นำเสนอข่าวแล้วเราก็ติดต่อกับหน่วยงาน คือถ้าเป็นผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือเครื่องสำอาง มันก็มีสองหน่วยงานแหละ ไม่ อย. ก็ สคบ. แล้วเราก็ประสานไปแบบไม่ใช่แค่ขอคุย เราค่อนข้างจี้ในข้อมูลแล้วเขาก็ออกแถลงการณ์อะไรต่างๆ นานา สุดท้ายเราก็ได้ทำงานเกี่ยวกับ อย. ไปโดยปริยาย เพราะรายการ “เป็นเรื่อง!” ของเรามาแนวนี้
ต้องยอมรับว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเถื่อนในท้องตลาดมันเยอะมาก แล้ว อย.มีคนนิดเดียวเอง แต่มีโรงงานที่ผิดกฎหมายหมื่นโรงงาน แล้วมันผลิตของพวกนี้ทุกวัน มันจะไปตรวจอะไรได้หมด อย.ก็เลยเกิดไอเดียปิ๊งว่า จะขอให้รายการ “เป็นเรื่อง!” ไปเป็นภาคีของ อย.ร่วมกันได้ไหม ร่วมกับอีกหลายๆ เพจ เราตอบตกลงทันทีเลย..ได้ครับ
• ดูท่าว่า การสู้รบกับ “ของเถื่อนๆ” พวกนี้ จะยังไม่จบง่ายๆ
กมลพร : เราคงต้องสู้กันอีกเยอะ เราเชื่ออย่างนั้น เพราะเคส “เมจิก สกิน” อาจจะใช้ทั้งอิทธิพล ใช้ทั้งเงิน ใช้ทั้งเครือข่าย แต่ไม่ได้ผล เพราะเราคิดว่าเราไม่ได้อยากรวยจากการได้เงินก้อนจากใคร เราหากินเองได้ แม้ว่าเราจะไม่ได้รวยมาก แต่เราสบาย เราสบายอยู่แล้ว เราจะได้มองหน้าผู้เสียหายของเราได้อย่างเต็มตา ไม่ใช่แบบว่า... “พอดีพี่ติดเรื่องอื่นอยู่ พี่ทำไม่ได้” ... เราไม่อยากเป็นคนแบบนั้น ...
** รายการข่าวหนึ่งเดียวในจักรวาล! พิธีกร “ฟ้อน” เต้น กลางรายการ ** พูดได้ว่า กลายเป็นอีกหนึ่งคาแร็กเตอร์ของรายการไปแล้ว ที่พิธีกรจะใช้ช่วงเวลาพักเบรก ลุกขึ้นมาขยับแข้งขยับขาไปตามเสียงเพลง สร้างความครื้นเครงเฮฮาให้กับคนดูผู้ชม แต่พิเศษเฉพาะผู้ชมที่ติดตามทางเพจ “เป็นเรื่อง!” เท่านั้น ดูเหมือนว่า บ้าๆ บอๆ และดูเหมือนว่าจะไปกันไม่ได้กับชื่อรายการที่ขึงขังจริงจัง อย่างไรก็ตาม การลุกขึ้นมาเต้น กลับกลายเป็นสิ่งที่คนดูชื่นชอบ เรียกว่า ได้ทั้งสาระและความสนุก เชียวล่ะ รายการนี้... เคนโด้ : จริงๆ แล้วเนื้อหามันเหมือนเดิมนะ การที่เรามีบุคลิกสนุกสนาน แล้วก็จัดรายการแบบบันเทิง เพราะส่วนหนึ่งเราคิดว่า องค์ประกอบอย่างหนึ่งซึ่งจะช่วยส่งสารไปให้ถึงคนดูได้ก็คือความบันเทิง ถ้าคุณมัวแต่จริงๆ จังๆ สมมติข่าวเมจิก สกิน มีคนบริโภคแล้วตาย จริงจังมาก น้ำเสียงจริงจัง อะไรจริงจังกันไปหมด ผลลัพธ์มันก็อาจจะไม่เป็นเช่นที่เห็น กมลพร : คือรูปแบบการนำเสนอของรายการ “เป็นเรื่อง!” มันตลกนะ เอาจริงๆ อะไรก็ไม่รู้ จิกคนดู ทะเลาะกับคนดู นู่นนี่นั่น เคนโด้ : จะมีผู้ประกาศที่ไหน แสร้งทำเป็นผัวเป็นเมียกันหน้าจอ (หัวเราะเบาๆ) กมลพร : แต่เราจะบอกทุกครั้งเลยนะว่า ลองดูสาระหลักสำคัญสิ ไม่หายเลยนะ ข้อกฎหมายไม่เคยมั่ว เราไม่เคยตกสาระหลักสำคัญ และเราไม่เคยพลาด เพราะสิ่งที่เรากลัวมากที่สุดคืออะไร คือความน่าเชื่อถือ ความน่าเชื่อถือไม่ได้ใช้เวลาในการสร้างวันเดียวหรือสองวัน เราทั้งคู่อยู่ในฐานะสื่อมวลชนมานาน เพราะฉะนั้น ข้างหลังเราแบกความน่าเชื่อถือของวิชาชีพนักข่าวและสื่อสารมวลชนอยู่ ไม่ใช่ว่า...เราจะแก้ผ้าแล้วกัน เพื่อเรียกยอดไลก์ ไม่ใช่เรา เราก็แค่เต้น แต่ระหว่างเราเต้น คุณดูสิว่า เราให้อะไรคุณบ้าง เคนโด้ : คือมันน่าตลก เรานำเสนอตลก เราเต้นด้วยนะ แต่ทำไมผู้ใหญ่ให้ความเอ็นดู หน่วยงานต่างๆ เกรงใจ เป็นกมลพร เป็นเคนโด้ เป็น “เป็นเรื่อง!” จะรับการประสานที่ดีมาก แต่หน้าจอเราก็ตลกมาก มันก็เลยเป็นข้อพิสูจน์แล้วว่า การนำเสนอในหน้าจอหรือว่าสิ่งที่เราทำ กับการกระทำจริง ภายหลังออกจากนอกจอ ผู้ใหญ่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เขาดูผลที่เราทำ เราช่วยประชาชนได้มากขนาดไหน เราทำแล้วเกิดผลลัพธ์ขนาดไหน แต่ระหว่างที่เราทำ มันก็มีมุมผ่อนคลาย มีสนุก มี “แม่โด้ แม่เก๋พารวย” แบบสนุก แซวผู้เสียหายให้คนดูรู้สึกผ่อนคลาย วันหนึ่ง ผมต้องรีวิวสินค้าเลียนแบบคุณเฟิร์นที่เขาชอบรีวิวแบบเวอร์ๆ แล้วเชิด พอทำไปปุ๊บ กลายเป็นไวรัลเลย คนชอบมาก พอเป็นไวรัล คนรู้จัก คนก็ไม่ได้ดูแค่ตอนที่เรารีวิวสินค้า คนก็ดูทั้งรายการว่ามันทำอะไรกันวะ เหมือนกับทุกวันนี้ รายการเราถูกช่องยูทิวบ์ดังๆ ดูดไปใช้เพื่อเรียกไลก์เรียกแชร์ เราก็พิสูจน์แล้วว่ามันดัง คนมันสนใจนะ ถึงมีช่องอื่นๆ มาดูดของเราไปทำการตลาด กมลพร : เราเคยคุยกันหลายครั้งนะ เพราะความที่วันๆ หนึ่ง เราอยู่ด้วยกันนานมาก ตั้งแต่เช้าจนเย็น เพราะเราทำรายการด้วยกัน เราเคยคุยกันว่า นักข่าวก็คน ผู้ประกาศพิธีกรก็คน ดาราก็คน เพราะฉะนั้น ในความเป็นคนมันมีความหลากหลายของอารมณ์อยู่ ทำไมเราต้องมีแต่ความ...หลังตรง ใส่สูท ผูกไท มาพูดด้วยล่ะ ในเมื่อเราก็เป็นคนเหมือนผู้ชม คนดูผู้ชมก็มีหลากหลายอารมณ์ คนไม่ชอบเราก็เยอะนะ แต่คนชอบก็มี เพราะฉะนั้น เราไม่สามารถจำกัดได้หรอกว่าคุณจะชอบหรือไม่ชอบเรา เราบังคับคุณไม่ได้ แต่ถ้าวันนั้น คุณมีอารมณ์จะดูเรา ถึงคุณจะไม่ชอบเรา แต่วันนั้น คุณรู้สึกเครียดๆ แล้วดูเราแล้ว รู้สึกผ่อนคลาย และนอกจากผ่อนคลาย ยังได้เรียนรู้ที่จะป้องกันตัวเองจากมิจฉาชีพ แค่นั้นเราก็แฮปปี้แล้ว เคนโด้ : มันก็กลายเป็นเสน่ห์อีกแบบหนึ่ง เราว่าการทำรายการทุกวันนี้มันต้องสร้างความแตกต่าง ถ้าคุณสร้างความแตกต่างไม่ได้ ยิ่งเราไม่ใช่ดิจิตอลด้วย เป็นเคเบิ้ล เป็นดาวเทียม การสร้างความแข็งแรงก็คือความแตกต่าง แตกต่างทั้งการนำเสนอ แล้วก็ความแปลก ซึ่งคงไม่มีพิธีกรหรือผู้ประกาศที่ไหนเต้นได้ทุกวัน แล้วก็ดันไปชวนแขกรับเชิญ อย่างทนายดังๆ ซึ่งไม่เคยมีภาพแบบนี้มาเต้นด้วย ทนายก็ดันเอาด้วย มันก็กลายเป็นไวรัลออกมาเลย (ยิ้ม) |
เรื่อง : อภินันท์ บุญเรืองพะเนา, พุทธิตา ลามคำ