xs
xsm
sm
md
lg

อย.เอาจริง! จ่อลงดาบ ดารารีวิวสินค้าเกินจริง คนแรกคือ?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

เป็นเรื่อง! อย. แจงเรื่องรีวิวสินค้าเกินจริง พบ...ยังมีผิดอีกเพียบ แถมดาราคนดังบางคนยังเข้าข่ายโฆษณาที่ผิดหลักเกณฑ์ของ อย.
“เภสัชกร สมชาย ปรีชาทวีกิจ” รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยผ่านรายการ “เป็นเรื่อง!” ทางช่อง News 1 ต่อกรณีการรีวิวสรรพคุณสินค้าเกินจริง และผิดหลักเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งปัจจุบันยังมีอยู่มาก นอกจากนี้ ยังเกิดมีกรณีล่าสุด สดๆ ร้อนๆ ที่ดาราคนดังบางคนมีส่วนในการโปรโมทโฆษณาในลักษณะเข้าข่าย “โฆษณาเกินจริง” ซึ่งผิดหลักด้วย

ถามก่อนเลยว่า ในกรณีนี้ไม่ใช่กรณีแรก ซึ่งคนในวงการขายครีมผิวขาว ที่เขาโฆษณาเกินจริง เขาบอกว่าไม่กลัวหรอก อย. เสียค่าปรับน้อยๆ โฆษณาก็ได้ ในฐานะที่ท่านดูแล ท่านรู้สึกยังไงครับ

ในส่วนของเรื่องของเครื่องสำอางน่ะครับ การโฆษณา จริงๆ ตามกฎหมาย สามารถที่จะโฆษณาไปก่อนได้ แต่ว่าหน่วยงานทาง อย. เอง ก็จะติดตามตรวจสอบ ถ้าอันไหนที่พบว่า เป็นการโฆษณาไม่ถูกต้อง เป็นเท็จเกินความจริง หรือไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ตรงนี้เราก็จะมีการดำเนินการ โดยมีการตรวจสอบ แล้วก็จะแจ้งระงับการโฆษณา โดยแจ้งไปที่ผู้โฆษณา แล้วก็เจ้าของผลิตภัณฑ์ด้วย และจะมีให้ชี้แจงว่า ถ้าผิดหรือดูแล้วไม่ถูกต้อง เราก็มีบทลงโทษทางอาญา ซึ่งถ้าต่ามกฎหมายเนี่ย จะกำหนดไว้ว่า จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

แต่โดยปกติ ถ้าเป็นความผิดครั้งแรกๆ เราก็จะใช้โทษปรับเป็นหลัก แล้วโทษก็จะเป็นขั้นบันไดน่ะครับ ครั้งแรกก็จะปรับ 3 หมื่นบาท จากนั้นก็จะเป็นขั้นบันไดไปเรื่อยๆ จนถึงหลักแสนบาท หลังจากนั้น ก็จะเป็นโทษจำ เราก็จะส่งไปที่สำนักงานสอบสวน ให้ตำรวจดำเนินการ

คือตอนนี้มีหลายแบรนด์ที่มีสรรพคุณที่ไม่โอเค อย่างล่าสุดก็เรื่องยาคนท้องที่ควบคุมน้ำหนักระหว่างท้อง

อันนี้ต้องเรียนบอกนิดนึงน่ะครับ ถ้าเป็นตามกฎหมายพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง ที่จะเป็นแบบว่า โฆษณาก่อนแล้วเราตามดู แต่ถ้าเป็นอาหาร จะต้องขออนุญาตโฆษณากับทาง อย. ก่อนเท่านั้น ถ้าเป็นยา อาหาร หรือ เครื่องมือแพทย์ต้องขอก่อน

มีหลายอย่างที่อ้างว่ามีสเต็มเซลล์ อันนี้ถามเป็นความรู้เลยว่า มันสามารถอยู่ในผลิตภัณฑ์ได้มั้ย

ในส่วนตรงนี้เองครับ ในการใช้คำว่าสเต็มเซลล์ในฉลาก หรือสูตรเครื่องสำอาง ทางเราไม่อนุญาต เพราะตรงนี้อาจจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดได้ คือยกประเด็นตรงนี้มาดีมากเลย เพราะเราเองต้องคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ เพราะฉะนั้น อะไรต่างๆ ที่มีการทำให้เข้าใจผิดได้ เราก็ต้องดำเนินการ

แล้วอีกอย่าง งานในการตรวจสอบโฆษณาในโซเชียลมันเยอะมาก ทางเราเองก็พยายามที่ดำเนินการ โดยทั้งตรวจสอบเอง แล้วก็มีส่วนที่ร้องเรียนและแจ้งเข้ามา

ตรงที่เสริมในเรื่องการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่นไปจ้างใครก็ตามถือ แล้วจ่ายเงิน พอเขาโพสต์ปุ๊บ เอารูปมาเพิ่มยอดขายให้ตัวเอง เราดำเนินการอะไรได้บ้าง

โดยปกติ การดำเนินการ โอเค ผู้ทำการโฆษณา เราดำเนินการแจ้งข้อหาอยู่แล้ว ส่วนเรื่องพรีเซ็นเตอร์ที่ทำการโฆษณา ในขั้นแรก เราถือว่า เขาก็เป็นคนที่มาร่วมทำการโฆษณาตรงนั้นด้วย ยกเว้นว่าจะมีการชี้แจงว่า โอเคนะ ในส่วนที่เกินเลยกว่านั้น เขาไม่เกี่ยวนะ มีการไปดัดแปลงไปทำ เกินเลยไปกว่าที่ทำสัญญาว่าจ้างเอาไว้ อันนั้นก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง รวมถึงในส่วนของตัวเจ้าของผลิตภัณฑ์เอง ก็ถือว่ามีส่วนได้ส่วนเสียกับตัวผลิตภัณฑ์ ตรงนี้เราก็มีการแจ้งไปก่อนเหมือนกัน ว่าเจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องรับผิดชอบด้วย

อย่างล่าสุด มีกรณี หญิงแย้ กับ เมย์ พิชญ์นาฏ ด้วย อันนี้ไปรีวิวสินค้าลดน้ำหนัก และมีคำว่า ทำให้เมย์แขนขาเรียวเล็ก ปรากฏว่ามียอดขายมหึมา แล้วมีการเอาเงินมาเป็นตั้งๆ เลย เหมือนขายได้เป็นล้านเลย อย่างงี้พรีเซ็นเตอร์ผิดมั้ยครับ

อันนี้ต้องดูก่อนว่า ตัวโฆษณานั้น ถ้าเป็นอาหารอย่างที่ผมบอก การโฆษณาสรรพคุณอาหารโดยที่ไม่ได้ขออนุญาต ก็ผิดตาม พ.ร.บ. อยู่แล้ว ซึ่งถ้าตรงนี้มีข้อมูล ทาง อย. จะเป็นผู้ดำเนินการเอง แต่อย่างที่ทางคุณทั้งสองว่ามา ที่ยังไม่ได้รับอะไรจาก อย. มา จริงๆ ทางเราก็เพิ่งได้รับข้อมูล และคงจะอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ ที่จะทำหนังสือทำการแจ้งผู้ที่ทำการโฆษณารวมทั้งพรีเซนเตอร์และเจ้าของผลิตภัณฑ์ชี้แจ้งมา

นอกจากตัวพรีเซนเตอร์ ทางข่าวบอกว่า จะมีการตรวจสอบผู้ผลิตทั้งการโฆษณาและผู้ผลิตด้วย ที่ถามคือแยกอย่างงี้ คือจะมีเจ้าของแบรนด์หลายแบรนด์ที่ไปจ้างพวก OEM แล้วก็จะบอกว่า แบรนด์เราทำแบบนี้ แต่คนผลิตจะทำอีกแบบหนึ่ง เราไม่รู้ หรือไปจ้างให้ OEM ทำในแบบนี้ ซึ่งถือว่าผิด เราต้องเอาผิดกับใครยังไง โรงงานก็ถือว่าผิดมั้ย

คือในส่วนของโฆษณาน่ะครับ เจ้าของแบรนด์ ผู้ผลิตเอง ถือว่ามีความเกี่ยวข้องด้วยมั้ย ซึ่งถ้ามีการเกี่ยวข้องด้วย ก็คงจะมีในส่วนของการโฆษณา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในส่วนของโฆษณาที่ผลิตตรงนั้นเนี่ยครับ ผลิตถูกต้องตามที่แจ้งไว้หรือเปล่า ซึ่งถ้าเกิดไม่ตรงตามที่แจ้ง ก็จะมีความผิดอีกแง่นึงนะครับ รู้ว่ามีการใช้สารห้ามใช้ อย่างเช่นมีการใส่สารปรอท หรือใส่พวกไฮโรฟิโนน หรือกรดวิตามินเอ หรือพวกสารสเตียรอยด์ลงไป ถ้าเป็นลักษณะนั้นแล้ว จะเป็นการผลิตเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย ในส่วนของผู้ผลิตเอง มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท แต่ถ้าเกิดเป็นผู้ขาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือทิ้งจำทั้งปรับ ทั้งคู่ครับ

แล้วถ้าเกิดอย่างงี้ สินค้าในตลาดจะถูกยึดทั้งหมดมั้ย หรือว่าก็ปล่อยขายไป

คงไม่ครับ เพราะต้องดูว่าตัวสินค้านั้น จดแจ้งถูกต้องหรือเปล่า ซึ่งถ้าสินค้านั้นจดแจ้งถูกต้อง ตรงฉลากถูกต้อง ไม่มีอะไรอื่นเลย มีแต่เรื่องโฆษณาอย่างเดียว เราก็จะดำเนินการในเรื่องโฆษณา แต่ถ้าเกิดดูฉลากแล้วมีผิดด้วย ก็คงดำเนินการในเรื่องของฉลากด้วย

แต่ถ้าเกิดว่าร้ายกว่านั้น คือ มีการใส่สารห้ามใช้ ในส่วนที่อันตรายเข้าไป ก็คงมีการดำเนินการโทษสูงสุดอย่างที่บอกไป คือ 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท แล้วส่วนผลิตภัณฑ์ตรงนั้น ก็เป็นเรื่องในการเพิกถอนหรือแจ้งออกไปครับ



กำลังโหลดความคิดเห็น