xs
xsm
sm
md
lg

แบงก์ชาติคุมบัตรเครดิต! 1 ก.ย. นี้ เงินเดือนหมื่นห้าได้วงเงินน้อยลง ขาช้อปเฮดอกเบี้ยเหลือ 18%

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ภาพจาก Pixabay.com
แบงก์ชาติเตรียมออกมาตรการการดูแลสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ภายใต้การกำกับ มีผล 1 ก.ย. นี้ กระทบลูกค้าใหม่ เงินเดือน 3 หมื่น อนุมัติวงเงินสูงสุดแค่ 1.5 เท่า ส่วนบัตรกดเงินสด - สินเชื่อบุคคล มีได้ไม่เกิน 3 ใบ 4.5 เท่า ขาช้อปเฮลดดอกเบี้ยบัตรเครดิตจาก 20% เหลือ 18%

วันที่ 1 กันยายน 2560 เป็นต้นไป ธนาคารแห่งประเทศไทย จะออกมาตรการการดูแลสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ โดยมีสาระสำคัญคือ
ภาพจาก Bank of Thailand Scholarship Students
1. ปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตลง จาก 20% ลดเหลือ 18% เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจการเงินในปัจจุบันที่ต้นทุนทางการเงินต่ำลง

มาตรการนี้ จะใช้ทั้งลูกค้าเก่า และ ลูกค้าใหม่ ทำให้ประชาชน 6.7 ล้านคน ถือบัตรเครดิตรวมกัน 19.8 ล้านใบ จะได้รับประโยชน์

(ลูกค้าเก่าจะไม่ใช้บังคับสำหรับรายการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่มีการกำหนดระยะเวลาการผ่อนชำระที่ชัดเจนก่อนหน้านี้)
ภาพจาก Bank of Thailand Scholarship Students
2. มาตรการวงเงินบัตรเครดิต เดิม เงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป อนุมัติวงเงินสูงสุด ไม่เกิน 5 เท่าของรายได้

เปลี่ยนเป็น รายได้น้อยกว่า 30,000 บาท อนุมัติไม่เกิน 1.5 เท่าของรายได้, น้อยกว่า 50,000 บาท อนุมัติไม่เกิน 3 เท่าของรายได้

มากกว่า 50,000 บาทขึ้นไป อนุมัติวงเงินสูงสุด ไม่เกิน 5 เท่าของรายได้

มีผลเฉพาะผู้สมัครบัตรใหม่ ไม่กระทบผู้ถือบัตรเดิม แต่สามารถขอเพิ่มวงเงินชั่วคราวเพื่อใช้ยามฉุกเฉินได้ ตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า
ภาพจาก Bank of Thailand Scholarship Students
3. มาตรการสินเชื่อส่วนบุคคล ใช้กับสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันเท่านั้น เช่น บัตรกดเงินสด เดิม เงินเดือนขั้นต่ำ ไม่กำหนด อนุมัติวงเงินสูงสุด ไม่เกิน 5 เท่าของรายได้

เปลี่ยนเป็น รายได้น้อยกว่า 30,000 บาท อนุมัติไม่เกิน 1.5 เท่า ของรายได้ 1 คน ขอสมัครสินเชื่อเงินสดได้ไม่เกิน 3 ราย วงเงินอนุมัติไม่เกิน 4.5 เท่าของรายได้

มากกว่า 30,000 บาท อนุมัติไม่เกิน 5 เท่าของรายได้

ใช้เฉพาะลูกค้าใหม่ ส่วนลูกค้าเดิมจะไม่ได้รับผลกระทบ และสามารถขอวงเงินฉุกเฉินได้ไม่เกิน 5 เท่า ของผู้ให้บริการแต่ละราย

มาตรการนี้ไม่รวมถึงสินชื่อส่วนบุคคลที่มีหลักประกัน และสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันประเภทอื่น ได้แก่ สินเชื่อเพื่อการศึกษา สินเชื่อเพื่อากรเดินทางไปทำงาน ตปท. และสินเชื่อเพื่อสวัสดิการพนักงาน ฯลฯ

นางฤชุกร สิริโยธิน รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน อธิบายว่า ที่ออกมาตรการนี้ เพราะที่ผ่านมา หนี้ครัวเรือนของประเทศสูง อาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจระยะยาว

มาตรการการดูแลสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล จะช่วยดูแลการก่อหนี้สินของภาคครัวเรือนให้เหมาะสมขึ้น เนื่องจากประชาชนเข้าถึงสินเชื่อประเภทนี้ได้ง่าย

เมื่อเป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน อาจส่งผลให้ประชาชนบางกลุ่มที่มีความเปราะบางก่อหนี้จนเกินความสามารถชำระหนี้ของตนได้

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการดูแลผู้บริโภค จึงเน้นย้ำให้ทางเลือกแก่ผู้บริโภคในกรณีที่ไม่ต้องการให้ติดต่อเพื่อเสนอขายผลิตภัณฑ์ โดยต้องมีกระบวนการและดูแลให้เป็นไปตามความประสงค์ของลูกค้า

อีกทั้งหากร้องเรียนการเรียกเก็บเงินที่ผิดพลาด ต้องให้สิทธิทางเลือกแก่ผู้ถือบัตรเครดิต ที่จะขอรับเงินคืนผ่านช่องทางอื่น นอกเหนือจากการคืนเงินเข้าบัญชีบัตรเครดิตด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น