ภาพหนุ่มใหญ่วัยกลางคนใช้ฝีปากท้าทายเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างฉะฉานถึงความไม่ถูกต้องของการตั้งด่านผิดกฎหมาย ด่านแล้วด่านเล่า จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั่วบ้านเมืองไทย กระทั่งหลายคนยกให้เขาเป็นดั่งฮีโร่ จเรโป้งเหน่งภาคประชาชน ผู้กล้า ผู้วิเศษ ที่จะปัดเป่าทุกขเวทนาร้ายๆ ให้หมดสิ้นไปจากผืนแผ่นดินไทย
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/559000011986001.JPEG)
จากลูกชาวนา สู่คนทำงานหนังสือ เป็นเจ้าของวินรถตู้ เจ้าของร้านปลาช่อนอบฟาง เกษตรกรปลูกไผ่และมะนาว ก่อนโด่งดังเป็นพลุแตกกับการลุกขึ้นเปิดโปงขับไล่ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อปี 58 และตอกย้ำความเป็นคนจริงที่ยึดหลักความถูกต้องเป็นธรรมอีกครั้งด้วยคลิปแฉตำรวจตั้งด่านลอยโดยผิดกฎหมายที่ทำให้ ตร.จราจร สั่นไหวไปทั้งยวง
“เกรียงไกร ไทยอ่อน” เขาเป็นใครมาจากไหน
เหตุใดจึงต้องลุกขึ้นมาต่อต้านความอยุติธรรมผิดกฎหมายทั้งหลายแหล่
ริทานอำนาจฉ้อฉลกลโกงโดนไม่หวาดกลัว เพื่อให้ประชาชนตระหนักตื่นรู้ เพื่อสังคมเกิดความเท่าเทียมและยุติธรรม
Manager online จึงขอนำเสนอเรื่องราวชีวิตที่ธรรมดาแต่ไม่ธรรมดา เรื่องของชายวัย 53 ย่าง 54 ปี เพราะเกรียงไกรชื่อนี้ดีดังสมนามเหลือเกิน…
แค่…เกษตรกรชาวไร่
ที่หัวใจ “รัก” ความยุติธรรม
“เพราะเมื่อสังคมรอบข้างดี เราก็ต้องดีกับเขาด้วย”
หนุ่มใหญ่ท่าทางเคร่งขรึม ไว้หนวดติดริมฝีปาก วาจาฉะฉาน เริ่มต้นบทสนทนาในแนวคิดและอุดมการณ์ที่ขับเคลื่อนสถานะจากเกษตรกรชาวนาคนหนึ่งสู่รองประธานธรรมาภิบาล ทำหน้าที่สอดส่องการทำงานของหน่วยงานรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และล่าสุดกับบทบาทหัวเรือใหญ่ “แกนนำผู้คัดค้านการตั้งด่านตรวจอย่างไม่ถูกต้อง” จนเป็นที่กล่าวขวัญโจษจัน ว่า “จเรโป้งเหน่ง”
“ผมเกิดที่บ้านกุดกวางสร้อย ตำบลบ้านถิ่น อ.โนนสัง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันขึ้นตรงต่อจังหวัดหนองบัวลำภู) เป็นบุตรของนายคำตาและนางบุญเรือง มีอาชีพเกษตรกร ทำนา จึงทำให้ผมเลือกที่จะเรียนเกษตรกร หลังจบชั้นประถมก็มาต่อระดับ มศ.1-2-3 ที่ โรงเรียนโนนสังวิทยาคาร ซึ่งสมัยนั้นการเรียนลำบากมาก คนที่เรียนต้องตั้งใจเรียนจริงๆ เพราะจะต้องปั่นจักรยานถึง 18 กิโลเมตร เพื่อไปเรียนและต้องปั่นกลับอีกกลับ 18 กิโลเมตร เพื่อกลับบ้าน
“หลังจากนั้นก็ต่อ มศ. 4-5 สายเกษตร ที่ โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ อ.นากลาง จ.อุดรธานี แล้วก็ไปต่อ ปวช. ภาคพิเศษ วิทยาลัยเกษตรกรรมอุดรธานีอีก 2 ปี ก่อนจะขึ้น ปวช. เต็มๆ ซึ่งต่างจากปกติเขาที่กำหนดให้เรียน 1 ปี หรือปีครึ่ง เนื่องจากรุ่นของผมนั้นเป็นรุ่นเปลี่ยนผ่านระบบการศึกษาจาก มศ. 4-5 เป็น ม.6 สมัยนั้นจะเรียกว่า ‘ซุปเปอร์’ จบ ม.6 ต่อ ปวช. แค่ 2 ปี ก็ต่อ ปวส. ได้เลย ก็เรียนเรียนจบซุปเปอร์เสร็จแล้วก็ต่อ ปวช. จนจบ ไปสอบเข้าที่วิทยาลัยเกษตรกาฬสินธุ์ในระดับ ปวส. อีก 2 ปี
“ทีนี้ สิ่งที่พ่อให้แก่ลูกๆ ให้ผมและน้องอีก 3 คน สิ่งที่พ่อให้และปลูกฝังมาตลอด คือพ่อไม่มีความรู้ พ่อเป็นเกษตรกร พ่อมีที่นาอยู่ผืนหนึ่งประมาณเกือบ 50 ไร่ พ่อก็จะทยอยขายไม้ที่ปลูกตามคันนาและพื้นที่ เพราะท่านก็ไม่มีรายได้ อาชีพรับจ้างมันไม่ค่อยมี เพื่อส่งเราเรียน ก็ขายจนหมด สุดท้ายก็ขายที่นาส่งลูกเรียนจนจบ พ่อก็บอกว่า พ่อไม่มีอะไรให้ พ่อขายที่นาหมดแล้วเพื่อให้ลูกแต่ละคนเรียนจบ ลูกก็จะต้องไปประกอบอาชีพสร้างฐานะของตัวเองด้วยตัวของลูกๆ เอง ปลายปี พ.ศ. 2529 ด้วยความที่เป็นคนแสวงหาโอกาสอยู่ตลอด ผมจึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปเสี่ยงโชคในเมืองใหญ่”
โดยที่ไม่รู้ชะตาชีวิต ไม่รู้ทิศทางวันข้างหน้า อาศัยมีเพียงจิตใจห้าวหาญ กล้าเผชิญแสวงหา ทว่าการเดินทางครั้งนี้กลับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่บ่มเพาะชีวิตอุดมการณ์และภาพความทรงจำเก่าก่อนในวีถีพี่น้องชาวบ้านชนบทที่พึ่งพาเกื้อกูลอาศัยซึ่งกันและกัน
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/559000011986002.JPEG)
“นอนสนามหลวงบ้าง ขออาศัยป้าบ้าง ไปอยู่กับน้องชายที่กำลังเรียนอยู่ที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาบ้าง หลังจากนั้นไม่นาน ผมก็ไปขอเข้าพบอาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ ท่านเป็นนักเขียนโด่งดัง เป็นไอดอลผม และสอนอยู่ที่ ม.เกษตรศาสตร์ ก็เลยติดต่อไปหาไม่ยาก ก็เข้าไปพบ พอท่านเห็นท่านก็ถามว่าอยากทำงานอะไร ผมก็บอกว่าไม่อยากทำงานอะไร อยากจะมาศึกษางานกับอาจารย์ อาจารย์ก็เลยรับผมเป็นลูกศิษย์ และงานชิ้นแรกที่ท่านมอบให้คือการทำหนังสือ การจัดทำหน้าหนังสือ ชื่อหนังสือมะขามหวาน ในปี 2530
“หลังจากนั้นก็ได้เริ่มฝึกงานเขียน อาจารย์ท่านก็สอนเทคนิคงานเขียน หลากหลายรูปแบบ ทั้งหนังสือเล่มและลักษณะการเขียนข่าวเกษตร เขียนอย่างไร ประมาณไหน ก็เริ่มศึกษาเรียนรู้แล้วก็เริ่มฝึกการเขียน ช่วงประมาณปี พ.ศ. 2531 ก็รู้สึกว่าหนังสือพิมพ์ควรจะมีหน้าเกษตร ไม่ใช่แค่คอลัมน์เล็กๆ คอลัมน์หนึ่งประกอบในหน้าอื่นๆ เท่านั้น เลยขอเข้าไปพูดคุย ขายไอเดีย ไม่ได้ไปสมัครงาน คือเราอยากให้เกิดตรงนี้เพราะมันมีคุณค่ากับประชาชน ก็ไปคุยกับคุณชูวิทย์ ผู้บริหารระดับสูงของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ กับคุณประพันธ์ เหตระกูล ซึ่งตอนนั้นผมก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร (ยิ้ม) ปรากฏว่าท่านฟัง และก็บอกให้ผมนั่นแหละเป็นคนทำหน้าที่นั้น ให้ผมเข้าไปเป็นนักเขียนแล้วเขียนข่าวคราวเรื่องเกษตรทั้งหมดส่งให้หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ตั้งแต่ตอนนั้น
“นอกจากเป็นนักเขียนข่าวเกษตรแล้ว ผมก็ทำสำนักพิมพ์ตัวเอง เขียนหนังสือขายเองด้วย โดยอาศัยจากประสบการณ์ส่วนหนึ่งจากคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ที่ทำแล้วก็มารวบรวมเป็นเล่ม พิมพ์เองขายเอง จัดหน้าเอง ลงทุนเองทุกอย่าง ทั้งเรื่องวิธีสร้างวังกุ้ง การเลี้ยงปลาเก๋า พริกไทยฉบับสมบูรณ์ ไก่ชน โรคและการรักษามะม่วง เห็ดหูหนู ฯลฯ ผมทำงานอยู่ในวงการน้ำหมึก ประมาณ ปี พ.ศ. 2530 - 2544 ก็เกิดความอิ่มตัว ทีนี้บังเอิญน้องชายคนรองเขาทำวินรถตู้ซีคอนฯ - ปากน้ำ แล้วเขาถูกรังแกจากพวกมาเฟีย เขาก็เลยมาปรึกษาว่าพอมีทางเป็นไปได้ไหมที่จะขอให้ผมไปช่วย เพราะผมเป็นคนไม่กลัวคน ผมกลัวสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น ก็เลยผันตัวเองมาทำวินรถตู้ วินรถตู้ที่ทำเป็นวินที่ถูกกฎหมาย คือเราต้องจ้างรถตู้มาเพื่อที่จะให้มาวิ่งรับคน เสร็จแล้วทำจนเป็นที่รู้จัก คนขึ้นเยอะ เราก็ขายวิน
“รายได้ดีมาก เพราะเราไม่ได้ไปกดขี่ เราทำจนเป็นที่รู้จัก รถตู้เขาก็อยู่ได้ เราก็เลยอยู่ได้ด้วย แต่ทำกิจการเจ้าของวินรถตู้ได้ไม่นาน 2-3 ปี ก็ถูกลูกน้องหักหลัง เนื่องจากการทำวินรถตู้ต้องติดต่อประสานงานกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะมีรายละเอียดที่ต้องทำตามขั้นตอนกฎหมาย เสียชำระค่าประกอบการให้ถูกต้องที่กฎหมายกำหนด ไม่อย่างนั้นผิด โดนจับ ลูกน้องก็รวมหัวกันไปจ่ายกันเอง เราก็เลยต้องหยุด หลังจากนั้นเราก็คิดว่าเราจะต้องมีธุรกิจอะไรสักอย่างหนึ่งที่จะได้เงินทุกวัน ด้วยความที่เป็นคนแสวงหาโอกาส ก็เลยไปเปิดร้านอาหารอยู่ที่ถนนพระราม 2 เป็นร้านปลาช่อนอบฟาง ซึ่งสาเหตุที่ทำร้านอาหารเพราะเห็นเขาทำแล้วได้เงินทุกวัน ตอนนั้นก็ไม่คิดว่าจะจนอีก คนเข้ามากินเยอะมาก แต่สุดท้ายก็เจ๊ง เจ๊งเนื่องจากสะพานมาสร้างคร่อม ทีนี้คนจะเข้าจะออกไปมาไม่ได้ ไม่สะดวก ทำร้านอาหารเกือบ 2 ปี เงินที่สะสมมาหายหมด เริ่มเป็นหนี้สินพะรุงพะรังกว่า 5 ล้านบาทได้
“แต่ที่รอดมาได้เพราะลักษณะนิสัยที่ไม่เหมือนใครอย่างที่บอกไปว่า เป็นนักแสวงหาโอกาส ช่วงที่ทำรถตู้ก็มีเงินก้อนหนึ่งเลยไปซื้อที่ทางบ้านทิ้งไว้ พร้อมกับปลูกไผ่หวานไว้ด้วย ก็เลยตัดสินใจกลับมาอยู่บ้าน ไม่เอาแล้วกรุงเทพมหานคร อีกประการหนึ่งคือคุณพ่อคุณแม่เริ่มชรา น้องๆ ก็อยู่ต่างประเทศบ้าง บางคนมีครอบครัวบ้าง เราก็เลยถือโอกาสนี้ทำหน้าที่ตรงนั้น กลับมาใช้ชีวิตที่บ้าน ซึ่งต่อมาไผ่หวานตัวนี้เป็นอาชีพปลดหนี้และเลี้ยงครอบครัวจนถึงทุกวันนี้”
เกรียงไกร กล่าวแซมยิ้มพลางเว้นวรรค หลังจากร่ายเส้นทางถนนชีวิตแสนยาวนาน และหลังจากนั้น ชื่อของเกรียงไกรก็ได้ปรากฏสู่สาธารณะอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ในฐานะเจ้าของตำนานไผ่หวานหนองโดน (หรือไผ่หวานหนองบัวลำภู) เป็นคนแรกที่นำไผ่ชนิดนี้ไปขึ้นทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ ที่กรมวิชาการเกษตรสำนักคุ้มครองพันธุ์พืช และได้ใบรับรองการขึ้นทะเบียนพืชพันธุ์ใหม่ขึ้นมาเจ้าแรกในประเทศไทย ก่อนก้าวขึ้นเป็นอุปนายกสมาคนไผ่ไทย คนที่ 1
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/559000011986003.JPEG)
“แล้วผมก็ทำสวนมะนาวเป็นเจ้าของพันธุ์มะนาวแป้นเกรียงไกร จนได้เป็นผู้แทนหรือแทนผู้สำรองในคณะกรรมวิชาการพิจารณาสินค้าเกษตรเรื่อง มะนาว ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ประธานสหกรการเกษตร กุดดู่ จำกัด รองประธานคณะทำงานพัฒนาพืชเศรษฐกิจไทย สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ถึงตรงนี้ทั้งหมดคือจุดเปลี่ยน ผมมาอยู่ตรงนี้ มาเห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องประการแรกก็คือ มีครูในหมู่บ้านแห่งนี้และผู้อำนวยการทุจริตเอาเงินค่าอาหารกลางวันของเด็กไป แล้วเด็กๆ ต้องอดข้าว ผมถามจึงรู้ความ ก็เลยไปคุยกับเขา คุยทั้งๆ ที่ผมก็ไม่ได้มีลูกหลานเรียนที่นั่น แต่เรารู้สึกว่าทำไมเขาทำอย่างนี้ เขาก็บอกว่าคุณมาอยู่ใหม่ คุณไม่รู้อะไร จะกันอะไรหนักหนา ผมก็ไปพูดหลายครั้งให้แก้ไขให้เรียบร้อย แต่ก็ไม่ฟัง ดื้อร้น เถียง เลยบอกว่าถ้าอย่างนั้น ผมก็ต้องเอากฎหมายมาใช้ เพราะมันผิดกฎหมาย คือบอกตรงๆ เขาอาจจะไม่เชื่อ ก็เลยไปแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวน เขาต้องเอาตำแหน่งหน้าที่มาแลกกับเรานะ เขาก็บอกว่าก็ไม่เป็นไร พิสูจน์กันไป ซึ่งผลออกมา ศาลฎีกาพิพากษาจำคุกประมาณคนละ 8 ปี ติดคุกด้วยเงินแค่นิดหน่อย
“ทีนี้ผมก็เลยเริ่มสอนชาวบ้านว่าสิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิด คือการสอนกฎหมายบางทีสอนด้วยปากอาจจะไม่เชื่อ แต่สอนด้วยลักษณะนี้ ชาวบ้านเริ่มเชื่อ แล้วก็เริ่มไว้วางใจให้ผมได้พูดคุยได้พูดถึงข้อกฎหมายให้ชาวบ้านฟังบ้าง เพราะบ้านเมืองมันบิดเบี้ยว เห็นชาวบ้านถูกกระทำ ไม่ได้รับความเป็นธรรม อย่างเวลาไปอำเภอ ทำอะไรก็ช่าง ต้องเสียค่าธรรมเนียมแล้ว 20 บาท คือเรียกเอาเงินหน้าตาเฉย หรือไปโรงพัก ทำอะไรๆ ก็เรียก 20 บาท ไปอะไรก็ช่าง ซึ่งมันไม่ใช่ เราเห็นสิ่งเหล่านี้ ที่ถูกกระทำ ด้วยความที่เราผ่านชีวิตมาเยอะ เราก็อยากให้สังคมได้มีการตื่นตัว แต่ไม่ได้คิดว่าผมจะมาไกลขนาดดำรงตำแหน่งหน้าที่รองประธานคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดหนองบัวลำภู
“เรื่องตำแหน่งเป็นเพียงสิ่งที่ผมต้องมีไว้เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ได้ ซึ่งบังเอิญต่อมาไม่นานก็มีกฎหมายใหม่ฉบับหนึ่งเป็น พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ ช่วงคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯ ประกาศรับสมัครตัวแทนเกษตรกร เราก็สนใจ เพราะปกติจะมีแต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่กฎหมายใหม่มีสมาชิกสภาเกษตรกร ในเมื่อเป็นเกษตรกร เราก็อยากเป็นตัวแทน แต่ผมไม่ชอบการเมือง เพราะการเมือง ผมเข้าใจว่าเป็นเรื่องสกปรก แต่การเมืองภาคเกษตร ผมไม่ได้ดูแลเรื่องงบประมาณ ผมได้ดูเรื่องการช่วยพ่อแม่พี่น้องเกษตรกรอย่างไร ผมก็เลยไปสมัคร สุดท้ายก็ได้เป็นรองประธานสภาเกษตรกรจังหวัดหนองบัวลำภูคนที่หนึ่ง
“แล้วหลังจากนั้น มีการประกาศรับสมัคร คณะกรรมการ ก.ธ.จ. (คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด) มีหน้าที่สอดส่องหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ภายในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีตามพระราชกฤษฎีกา ซึ่งตรงกับความประสงค์ของเราที่อยากเห็นบ้านเมืองดีขึ้น ตรงกับสิ่งที่ผมได้รับการปลูกฝั่งมาจากคุณพ่อ พ่อผมเป็นคนไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า เป็นคนที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ก็จะปลูกฝังมาตลอดเรื่องการไม่ทุจริต ไม่ฉ้อโกง ทั้งสอนด้วยการกระทำและด้วยคำพูดจา เวลาพ่อพูดกับคนอื่น เราก็ซึมซับสิ่งเหล่านี้ มันก็ทำให้เราเห็นว่าจริงๆ ทุกวันนี้ โดยเฉพาะแต่ละหมู่บ้าน ภาพที่เราเห็นคือรัฐบาลให้งบประมาณมา หรือให้ทางอำเภอมา สุดท้ายก็ไปทำนิดๆ หน่อยๆ ที่เหลือเอาเงินแบ่งกัน เราเห็นตรงนี้ เรารับไม่ได้ หลายคน แรกๆ เข้าไปก็ขาว แต่พอหลังๆ เริ่มเปลี่ยน เส้นกั้นระหว่างเทากับขาว มันบางมาก สุดท้ายก็จะกลายเป็นสีเทาไปเช่นกัน
“เรามองว่าถ้าเกิดเราจะรวย เราจะรวยคนเดียว มันเป็นไปไม่ได้ หรือสังคมมันจะดีมันเป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างมันต้องเดินไปพร้อมๆ กัน การพัฒนาประเทศก็ดี รัฐบาลเก่งอย่างไรก็ช่าง ถ้าประชานไม่มีความรู้ มันก็พัฒนาไม่ได้ ตอนนี้สังคมกำลังพิการ คือ สังคมเน้นวัตถุนิยมมากเกินไป สังคมไม่มีความเอื้ออาทร สังคมขาดธรรมาภิบาล ณ ปัจจุบันนี้มันเป็นสังคมที่จะต้องดิ้นรนตัวใครตัวมัน
“ไม่เหมือนสมัยเมื่อผมเป็นเด็กแล้ว ตอนเด็กๆ มีแตงโมก็ไปหาแลกข้าว ถ้านาแล้ง มีปลาก็ไปแลกผัก ปลูกผักกิน ไม่ได้เน้นขาย ทุกอย่างก็ไม่ได้ซื้อ ข่า พริก ตะไคร้ แต่ปัจจุบันนี้พริก ข่า ตะไคร้ ข้างบ้านต้องขายให้กันหมดแล้ว ไม่มีความเอื้ออาทร การแบ่งปันไม่มี สมัยก่อน ถึงจะไม่มีเงิน แต่สังคมอยู่ได้ด้วยความเอื้ออาทร พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ในขณะที่สังคมเจริญขึ้น แต่คดีความต่างๆ มากมายมหาศาล มีแต่การทะเลาะเบาะแว้ง แย่งชิงทรัพยากร คนมีจำนวนมากขึ้น แต่ทรัพยากรมีเท่าเดิม ทำให้สังคมมีการทะเลาะเบาะแว้งแย่งชิงกันสูงขึ้น แล้วการศึกษาของคนไม่ได้พัฒนา
“ผมจึงมาด้วยจุดประสงค์นี้ มาด้วยจิตวิญญาณ ไม่ได้มีอะไรแอบแฝง ต้องไปเป็นไอ้นั่น ไปเป็นไอ้นี่ ขอเพียงในสังคมใกล้ๆ ผม ผมไปอยู่ที่ไหนขอให้มีความเท่าเทียม ถ้ารู้ก็รู้เท่าเทียม ถ้าจะบังคับใช้กฎหมายก็ขอให้บังคับใช้ให้เท่าเทียมกัน ถ้าจะมาบิด แล้วผมรู้ผมไม่ยอม ยอมไม่ได้”
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/559000011986004.JPEG)
แค่…ประชาชนคนไทย
ที่อยากสร้างสังคมดีงาม
คณะธรรมาภิบาล หรือ ก.ธ.จ. ประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ.2552 ตามราชกิจจานุเบกษา เป็นกฎหมายชนิดหนึ่งที่ทำให้ภาคประชาชนได้มีโอกาสตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งหน้าที่สำคัญของคณะธรรมาภิบาลหลักๆ ข้อที่ 22 และข้อที่ 23 ระบุว่า คณะกรรมการธรรมาภิบาล มีหน้าที่สอดส่องหน่วยงานของรัฐเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าไม่ได้เงินเดือน กินสวัสดิการเหมือนเช่นข้าราชการทั่วไป แต่การได้ซึมซับประสบการณ์จากคณะธรรมาภิบาล ก็ส่งให้เกรียงไกรเกิดความรู้และตอกย้ำความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นต่อการมุ่งมั่นกระทำความดี
“อีกอย่าง ผมมีลูกเป็นธรรมาภิบาลจังหวัด ก็คิดว่าถ้ามีโอกาส จะต้องทำอะไรให้สังคมบ้าง คือคิดว่าเราจะทำอะไรให้สังคม การทำอะไรให้สังคม โดยที่เราไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน แต่เมื่อสังคมรอบข้างดี เราก็ต้องดีกับเขาด้วย เราอยู่ในสังคม เราจะดีคนเดียวเป็นไม่ได้หรอก
“เราอยู่ในสังคม เราจะเก่ง เราจะดีเลิศประเสริฐศรี มันเป็นไปไม่ได้ แต่เราจะต้องหาความรู้และช่วยให้สังคมได้ก้าวเดินไปพร้อมกับเรา แม้เราจะก้าวหน้าไปแล้ว แต่เราก็ต้องรอเขาที่จะต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน”
เกรียงไกร เผยความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำหน้าที่หนึ่งในธรรมาภิบาล และในฐานะเพื่อนพี่น้องคนไทยด้วยกัน
“อันดับแรก เราอยากเห็นสังคมรอบข้างดีขึ้นก่อน แล้วค่อยๆ ก้าวไปสู่สังคมที่มันใหญ่กว่า โดยเฉพาะการที่รัฐบาลปัจจุบันเอางบประมาณลงมาอย่างมากมายมหาศาล ทำให้เกิดการทุจริตมากมาย ทำให้เกิดผู้ที่มีความรู้มากกว่ามาเอาเปรียบชาวบ้าน เป็นผู้รับเหมาบ้าง เป็นนักการเมืองท้องถิ่นบ้าง หลายๆ อย่าง แทนที่จะมาให้ความรู้โดยเฉพาะการเขียนโครงการต่างๆ ที่รัฐบาลให้โครงการมา ชาวบ้านก็ไม่รู้เรื่อง ไปให้นายทุนเขียน ผู้รับเหมาเขียน สุดท้ายเงินที่เหลอให้พัฒนาจริงๆ ไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ณ ปัจจุบันก็เป็นอยู่ วันนี้ก็เจอ แต่ผมบอกว่าห้าม ที่นี้ไม่ได้
“ในการลุกขึ้นมา ผมมาเน้นที่การให้ความรู้ อย่างเช่นในหมู่บ้านที่ผมอยู่ ผมมาแนะนำการเขียนโครงการ ที่ผ่านมา ถ้ามีโรงการ สมัยก่อนมีโครงการอยู่ดีมีสุข โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) โครงการเศรษฐกิจพอเพียง ถ้ามีโครงการมา รัฐบาลจะให้เงินเป็นก้อนมาแล้วให้ชาวบ้านมาประชาคม แล้วให้บริหารจัดการ รัฐบาลคิดดี แต่วิธีปฏิบัติให้ชาวบ้านปฏิบัติ ชาวบ้านไม่เก่ง อย่าลืมว่าชาวบ้านบริหารจัดการเงินไม่เก่ง ชาวบ้านไม่ได้เรียนวิชานี้มา พอไม่ได้เรียนมา เขาก็เอาโครงการให้คนอื่นจัดการ สุดท้ายคนที่ได้จริงๆ ก็คือผู้รับเหมาหรือนักการเมืองท้องถิ่น
“แต่ผมเข้ามาแล้วบอกว่าทำไมต้องให้เขามาเขียน ทำไมไม่เรียนรู้ที่จะเขียนเอง เพราะโครงการมันมีมาทุกปี ปีหนึ่งมีหลายรอบ พอเราเขียนเสร็จ เราก็หาคนในหมู่บ้านว่าใครทำอันนั้นได้ อันนี้ได้บ้าง ถ้าเราทำได้ เราก็จะได้มีความรู้ ปีหน้าก็ไม่ต้องให้คนอื่นทำแทน ปีไหนๆ ก็ไม่ต้องแล้ว เลยตั้งกลุ่มเครือข่ายต่อต้านการทุจิตภาคประชาชน จังวัดหนองบัวลำภู ขึ้นเสริมอีกด้วย
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/559000011986005.JPEG)
“เพราะพอเราไปอยู่ตรงนั้น เรามีโอกาสที่จะเผยแพร่ความรู้ ไม่ได้อยากอะไรมากกว่านี้ ทำตรงนี้ไม่มีเงินเดือน ได้งบประมาณจากจังหวัดน้อยมาก 5 หมื่นบาททั้งปี แต่งานที่ใช้คือต้องไปสอดส่องหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ ภายในจังหวัด พบการใช้จ่ายที่ไม่ถูกต้อง เราก็ต้องแจ้ง ซึ่งสมาชิกของเราจะประกอบด้วยภาคประชาสังคม อำเภอละหนึ่งคน ภาคหอการค้า ประธานอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจเอกชน รวมกันแล้วจังหวัดมี 12 ท่าน”
โดยคณะธรรมาภิบาลขึ้นตรงต่อสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยัง Memorandum of Understanding (MOU) ร่วมกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) รวมทั้งหมดทั้งสิ้น เป็น 5 หน่วยงานของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับความเที่ยงธรรม เพื่อแลกเปลี่ยนสอดส่องเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานรัฐ
บทบาทการทำหน้าที่ตรงนี้ของเกรียงไกรที่กลายเป็นที่โจษจัน คือการเปิดโปงขับไล่ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภูออกนอกพื้นที่ เนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมที่จะบริหารงานพัฒนา เมื่อราวเดือนสิงหาคม 2558 ปีที่ผ่านมา
ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์คลิปไลฟ์สดด่านตำรวจในโลกออนไลน์ ในวันที่ 30 ตุลาคม 2559 จนมีผู้ติดตามดูกว่า 3 ล้านคน
“ถ้าถามว่าผมเคยโดนจับปรับบ้างไหม เคย แต่ผมพยายามจะไม่ทำผิดกฎหมายอยู่แล้ว เรามีต้นทุนความรู้ทางกฎหมายพอสมควร แต่ก็ไม่ได้มากมาย ฉะนั้น ผมก็เลยขับรถไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงอยู่แล้ว แล้วอันไหนที่จะผิด เราก็พยายามหลีกเลี่ยง กับกรณีที่เกิดขึ้นมันก็แตกต่างกัน
“เนื่องจากว่าผมเป็นเกษตรกร ฉะนั้น เวลามีการจัดงานต่างๆ งานประจำปี งานเกษตร ผมก็ต้องไปเดินทางออกบูทขายของ พอไปก็ต้องเจอตำรวจอยู่แล้ว ถูกบ้างผิดบ้าง แต่ส่วนใหญ่ผมก็ไม่ค่อยได้กระทำความผิด แต่เรียกผมขอเครื่องดื่มชูกำลัง ผมก็ให้ ขอเงิน 100 บาทก็ให้ๆ บางทีไม่ผิดก็จะจับ ก็วิ่งขวาวิ่งอะไร ก็เถียงกันด้วยเหตุผล สุดท้ายเขาก็จน คนนี้เอายาก เขาก็ไม่เอา ประมาณนั้น แต่ถามว่าถ้าผิดจริง ทำไมไม่จับ มันจะต้องมาละเว้นทำไม
“วันเกิดเหตุนั้น ผมไม่ได้ตั้งใจ วันนั้นผมไปซื้อไม้อัดมาต่อเติมบ้านของพ่อ ก็ขับมาช่วงฤดูฝนหน้าฝน ฝนมันก็จะตก พายุเข้า ไม้อัดโดนฝนไม่ได้ จะบวม ก็ไปซื้อผ้าใบมาเพื่อจะคลุม แต่ทีนี้จังหวะที่จะคลุมมันยังไม่มีที่จอด อีก 200 เมตรเป็นปั้มน้ำมัน ก็จะจอดแล้วไปคลุมซะ ก็ขับมาเจอด่านที่ตำบลนาดี เส้นทางถนนอุดร-เลย เจ้าหน้าที่ตำรวจยศดาบ เขาก็โบกให้จอด ก็ไม่ได้คิดว่าอะไร ก็จอด เขาก็ขอใบขับขี่ ผมก็เลยถามว่าจับผมข้อหาอะไร เขาก็บอกว่าไม้อัดผมยื่นล้ำออกมาข้างนอก ผมก็เลยบอกว่าอีกสองร้อยเมตรก็จะไปคลุมไม้ด้วยผ้าใบที่อยู่ในรถให้เรียบร้อย ผมไปกับลูกน้อง 3-4 คน เขาก็บอกว่าไม่ได้ เดี๋ยวไปคุยที่ตั้งโต๊ะปรับ เขาก็เอาใบขับขี่ไปให้จ่า เขาก็บอกว่ากรณีของนี้ปรับ 400 บาท แต่ลดให้เหลือ 200 บาท ผมก็บอกว่าตักเตือนได้ไหม เพราะอีกหน่อยก็จะไปคุลมอยู่แล้ว ยิ่งจอดนาน ฝนตกลงมาแล้วไม้มันจะเปียก เขาบอกว่าไม่ได้ ตักเตือนไม่ได้เดี๋ยวนายว่า เราก็บอกว่า อ้าว ทำไมตอนลด ทำไมลดได้ นายไม่ว่า เขาก็แจงมาว่านายให้อำนาจเรื่องนี้อยู่ประมาณนั้น
“จริงๆ ผมก็รู้จักผู้หลักผู้ใหญ่ แต่ผมก็ไม่เคยอ้างนะ”
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/559000011986006.JPEG)
“ผมก็เลยคิดว่าถ้าอย่างนั้นก็เขียนใบสั่งมา ในใจคิดว่าเดี๋ยววันหลังมาเอาก็ได้ ไม่เป็นไร แต่ตอนเขียนใบสั่ง ไม่ได้เขียนแค่ 400 บาท เขียน 500 บาท มันก็ไม่ใช่แล้ว อันนี้ผมก็มองว่ามีเหลี่ยม พอมีเหลี่ยมปกติในการถ่ายคลิปไม่เกี่ยวกับตำรวจเลย ผมถ่ายคลิปเกษตร รายการเว้าจาภาษาเกษตร อยู่ในยูทูปมีแต่ให้ความรู้ทางด้านเกษตรทั้งนั้นกว่า 400 คลิป ผมก็เลยให้ลูกน้องถ่ายคลิปให้ สวัสดีครับ นี่เป็นรายการเกษตร ถ่ายทอดสดๆ หลังจากที่ถ่ายคลิปมาได้ระดับหนึ่งผมก็สังเกตว่า อ้าว อันนี้มีตำรวจอยู่สองท่านเอง ฝั่งโน้นมีอยู่ 3 คน ตำรวจชั้นสัญญาบัตรไม่มี จากความรู้ที่พอมีทราบว่าการตั้งด่านต้องมีนายตำรวจประกอบด้วยอะไรบ้าง ไม่ใช่ดาบกับจ่าสองคนเท่านั้น และคนที่ปรับก็รู้มาอีกว่าต้องเป็นร้อยเวร 30 แต่นี้เป็นจ่า มาเซ็นทั้งปรับและใบเสร็จ เซ็นแทนกันหมดเลย
“เลยไปถามว่าผมขอคุยกับนายตำรวจผู้ควบคุมได้ไหม เขาบอกว่าไปธุระ ไปอย่างโน้นไปอย่างนี้ ไม่อยู่ ประมาณ 15 นาทีผ่านไป ผมก็บอกว่าไม้อัดผมจะเปียก เลยไปเอาเงินแบงก์ใหม่ๆ 500 บาท จะเอามาจ่าย บังเอิญเขาก็วอวิทยุสวนเข้ามา ให้บันทึกจับกุมตัวผมเอาไปปรับที่โรงพัก ได้ยินอย่างนั้นก็คิดน่าจะเป็นข้อหาหมั่นไส้ เราก็อ้าว จะไปปรับที่โรงพักทำไม ที่นั่งอยู่ก็ปรับได้ ทำไมผมจ่ายไม่ได้ ซึ่งแสดงว่าคุณไม่มีมาตรฐาน คนอื่นปรับได้แต่ผมปรับไม่ได้ สุดท้ายผมก็รอร้อยเวรประมาณ 30 นาที ผู้ควบคุมด่านถึงมา นี่คือเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น”
เป็นระยะเวลากว่า 20 นาที ของวันที่ 30 กันยายน 2559 คลิปแรกที่ได้ทำการไลฟ์สดที่เผยแพร่ออกสู่สายตาประชาชนสาธารณะ แม้ว่าหลังเหตุการณ์ในวันนั้นจบสิ้นลง ทว่ากลับกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงกรณีดังกล่าวอย่างครึกโครม
“หลังจากนั้นดูในคลิปจะมีว่า ร้อยตำรวจเอกขับรถมาจอดท้ายรถผม เขาอยู่ห้างบิ๊กซีกับภรรยาเขาก็ขอยุติการถ่ายทอดแล้วเรามาคุยกัน นายตำรวจชั้นสัญญาบัตรพูดจาจะดี ไหวพริบปฏิภาณดี สมแล้วที่เป็นนายตรวจ เขาบอกว่าพี่ขอคุยได้ไหม ใจเย็นๆ ผมก็ได้ ใจเย็น เขาก็ถามว่าพี่จำผมได้ไหม ผมชื่อนี้ๆ วันนั้นที่ขับไล่ผู้ว่าราชการจังหวัด เขาเคยดูแลความปลอดภัยให้ ผมก็จำไม่ได้ คนเยอะ นายตำรวจท่านนี้ก็ประสานมาขอมาหาที่บ้าน โดยผ่านทางปลัดเทศบาลแล้วก็รักษาการปลัดเทศบาลสองคนมาหาผม มาขอโทษ ผมก็ออภัยให้ ก็จบลงด้วยดี
“แต่ตอนเย็นของวันนั้น หลังจากเขากับไปแล้ว ผู้กำกับการไปออกข่าวช่อง 34 อัมรินท์ทุบโต๊ะข่าว บอกว่าผมดูไม่ดี เขาก็มีร้อยเวรอยู่ เดี๋ยวจะออกหมายเรียกผม ซึ่งมันคนละเรื่องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเลย ผมก็ไม่ยอมละทีนี้ วันที่ 3 ตุลาคม ผมจึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อไปยืนหนังสือให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนการตั้งด้านครั้งนี้ว่าถูกต้องหรือไม่ แล้วการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ผมก็แนบคลิปไปไปยื่นที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
“ผมก็ไม่คิดว่าผมจะมาไกล ผมก็ยื่น ยื่นก็จบ ไม่มีอะไร ผมก็จบ กลับบ้านปกติ ในระหว่างเดินทางวัน ผมยังไปจอดดูรถผู้กระทำผิด ภายหลังตรวจพบว่าปัสสาวะสีม่วงที่แหกด่านอำเภอสีคิ้ว ผมก็ไปถ่ายทำรายการชื่นชมตำรวจ ตำรวจทำดี ผมก็บอกว่าเป็นกำลังใจให้ ประมาณนั้น ก็จบแล้วไม่มีอะไร ผมก็ทำหน้าที่ของผมปกติธรรมดา ตามประสาเกษตรกร พูดจาประสาเกษตร รายการของผม
“แต่หลังจากนั้น คลิปมันไปปรากฏ พอดูคลิปคนก็แห่มาคอมเม้นท์มาไลค์ ก็เกิดกระแส ผมก็คิดว่าทำไมผมไม่เอากระแสที่คนตื่นตัวให้มันเกิดการเปลี่ยนแปลง ในกรณีนี้สังคมได้อะไรจากเรา ผมก็เลยมีแนวความคิดว่าจะคัดค้านการตั้งด่านที่ไม่ถูกต้อง ในวันที่ 4 ที่กลับมา วันที่ 5 ตุลาคม ระหว่างที่เดินทางกลับบ้าน ปรากฏว่าคนแห่มากดไลค์ติดตามผม จาก 8,000 เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าเป็นเพื่อนผมไม่ได้ ก็เลยสร้างตั้งกลุ่มเพื่อรองรับกับคนที่ต้องการเป็นเพื่อนและเพื่อเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์ในการคัดค้านการตั้งด่านที่ไม่ถูกต้อง ตั้งเสร็จก็เปิดรับสมัครคนที่ร่วมอุดมการณ์เดียวกันคัดค้านการตั้งด่านที่ไม่ถูกต้องมาแชร์ประสบการณ์”
เกิดเป็นกลุ่ม ‘เกรียงไกรไทยอ่อนและเพื่อน’ เพื่อมุ่งหวังหาแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างถูกต้องและโปร่งใส โดยมีสมาชิกเข้าร่วมติดตามระดับเรือนครึ่งแสน ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแชร์ความรู้
“ไม่ได้ต้องการอยากจะดังหรือทำให้ตัวเองมีชื่อเสียง คือประชาชนโดนกระทำจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าใจว่าเป็นผู้มีอำนาจ คืออยากทำอะไรก็ทำในสมัยก่อน จนถึงปัจจุบันนี้ดีขึ้นหน่อย แต่ในสมัยก่อนนิดๆ หน่อยๆ ก็จับกุมคุมขัง ชาวบ้านกลัวมาก ชาวบ้านไม่มีองค์ความรู้เรื่องกฎหมาย ที่จะมีรู้ก็เฉพาะคนที่มีฐานะ จริงๆ กฎหมายต้องรู้ทุกคน แต่ไม่มีใครอออกมาบรรยายออกมาให้ความรู้ทางด้านกฎหมายแก่ประชาชนเลย ตรงนี้ชาวบ้านเลยเป็นผู้ถูกกระทำมาตลอด คือเท่าที่มีโอกาสอะไรก็จับหมด
“เขาก็เลยเข้าใจว่าผมน่าจะไปตรวจด่านนั้นนี้ๆ ให้หน่อย เหมือนผมเป็นผู้วิเศษไปแล้ว แต่ผมก็ไม่เคยไป จนวันที่ 3-4 พฤศจิกายน ผมจะไปยื่นหนังสือ เนื่องจากหลังมีกระแส ก็มีทั้งคนชมและคนด่า ผมก็เลยตัดสินใจไปยื่นหนังสือทั้งนายตำรวจและเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ามาต่อว่า ในตอนเข้าไปตั้งใจจะไปยื่นการตรวจสอบด่านที่จังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดที่หนึ่ง ที่ตั้งอยู่ติดกับไฟแดง แต่ในระว่างเดินทาง ดันเจออีกสองด่าน จริงๆ ไม่ได้ตั้งใจจะตรวจสอบหรอก ต้องการไปยืนหนังสือตรวจสอบไอ้พวกที่บอกว่าโง่อวดฉลาด
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/559000011986007.JPEG)
“ผมก็เดินทาง ก่อนไปก็บอกว่าใช่เส้นทางนี้ เส้นทางมิตรภาพ ก็ไปเจอด่านที่ท่าพระ ด่านแรก ไปถ่ายได้สัก 3 นาที เขาก็เลิกเลย คิดว่าเขาน่าจะวอวิทยุบอกกันว่าผมเป็นใคร ด่านจอหอ ขาลงมากรุงเทพฯ ก็เลิก หลังจากที่ผมถ่าย ผมก็ไปสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อยื่น พอเสร็จขากลับบ้าน ถ้าผมอยากดัง คนที่ให้ผมไปตรวจด่านโน้นนี้ อำเภอโน้นนี้ จังหวัดนั้นนี้ ผมต้องไปแล้ว แต่ผมไม่ไป อย่างด่านจอหอเห็นรถมันติด ก็น่าจะมีด่าน ก็เลยเอากล้องถ่ายขับรถมาบรรยายว่าน่าสงสัยน่าจะมีด่านเพราะรถมันติด ก็มาเจอด่านจริงๆ คือที่เจอผมระหว่างนั้นก็ไปศึกษามาว่าการตั้งด่านที่ถูกต้องมันจะต้อง
“หนึ่งเลย คือในระยะ 150 เมตร คุณต้องวางกรวย สอง มีป้ายหยุด สาม มีป้ายผู้รับผิดชอบด่าน ใครรับผิดชอบในด่านวันนี้ ต้องมีชื่อ ปรากฏว่ามาถึงที่จอหอ มันไม่มีอย่างที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามคำสั่งภายในต้องมี 1-2-3 มันไม่มี ไม่ครบ แต่เขาก็ไมได้เรียกผม ผมก็ไปแล้วก็ไปจอด ทีนี้จอดปุ๊บ ตำรวจเข้าใจผิดก็มาค้นรถผมเลย ซึ่งดูในคลิปก็จะเห็นมาค้นรถผมเลย ผมก็เลยไปถามร้อยตำรวจโท ยศในที่นั้นที่สูงที่สุด ผมขอดูใบอนุญาตการตั้งด่าน เขาก็บอกอยู่ที่โรงพัก ก็แสดงว่ามีใช่ไหม แล้วใบขับขี่ผมคือใบอนุญาต คำว่าอนุญาตมันต้องพก ผมก็ยังพก ฉะนั้นใบอนุญาตของคุณอยู่ที่โรงพักได้อย่างไร แสดงว่ามันมีการขออนุญาต มีบัตรอนุญาตถึงมาตั้ง แล้วถ้าขอดูไม่มี มันก็ไม่ทำตามหลักคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
“คือผมก็บอกว่าไม่ได้จัดการอะไร เพียงแต่ผมอยากจะไปสอบถามว่าด่านคุณถูกต้องหรือไม่ แค่นั้นเอง ผมไม่มีอำนาจอะไรเลยจะไปตรวจเขาได้ไง ถ้าไปแบบหยาบๆ ไปเจอทำร้ายจะทำอย่างไร ผมไม่มีอำนาจ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความถูกต้องลดลง ถ้ามีโอกาสก็จะไป จะทำ อย่างที่บอกว่าอยู่ตรงไหนก็อยากให้สังคมตรงนั้นดี เราจะต้องให้ความรู้และช่วยให้สังคมได้ก้าวเดินไปพร้อมกับเรา อยากให้ตื่นรู้ตระหนักแล้วรวมกันเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี แต่ผมไม่ได้ยุยงส่งเสริมให้คนทำผิดกฎหมาย ไม่ใช่”
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/559000011986008.JPEG)
แค่…นายเกรียงไกร ไทยอ่อน
ผู้อยู่ภายใต้กฎหมายเช่นเดียวกัน
“ตราบใดที่กฎหมายยังให้อำนาจเขา ไม่มีทางหมด ทำลายภาพพจน์การท่องเที่ยวด้วย เพราะถ้าเกิดไปจับรถนักท่องเที่ยว เขาก็ต้องถาม “อ้าว…เมืองไทยทำไมเป็นอย่างนี้” ทำลายกระทั่งเศรษฐกิจ คุณไม่ได้ประสงค์ดี คุณไม่ได้รักประเทศไทย แต่คุณรักตัวเองพวกพ้องตัวเองมากกว่า
“เรื่องด่านผิดกฎหมายจึงไม่มีทางหมด ถ้าไม่ปฏิรูปองค์กรของตำรวจแล้วเอาอำนาจนี้ไปสู่กรมการขนส่งทางบกดูแลหรือหน่วยงานไหนที่รับผิดชอบ แต่การที่เอาไปให้ใครก็แล้วแต่ คุณต้องฟังเสียงประชาชนบ้าง ต้องมีตัวแทนภาคประชาชนเข้าไป แต่ไม่เอาตัวแทนที่เอาเข้าไปแล้ว คุณโยนเงิน ก็เป็นสีเทาเหมือนพวกคุณ อันนั้นไม่ใช่ แต่ ณ ปัจจุบันการแสดงกฎหมาย คนไหนพูดเก่งเขียนเก่งไม่เอาไปหรอก ไม่มีทางเอาไป ถึงเอาไปก็ไปคัดค้านเขา จะเอาไปทำไม
“และต้องยกเลิกเงินส่วนแบ่งจากค่าปรับ เอาไปไหนก็ได้ ให้ยกเลิก ถ้าตรงนี้ยงมีอยู่มันก็เป็นแรงดึงดูดใจให้คนมาทำตรงนี้ โดยวิสัยของมนุษย์ คนทำงาน 8 ชั่วโมง ต้องกลับบ้านอยู่กับลูกเมีย แต่ด้วยแรงจูงใจที่ได้นอกจากเงินรางวัล อันนี้เป็นบริบทที่เกิดขึ้น นอกจากได้เงินส่วนแบ่งแล้ว ไอ้เงินส่วนที่ไม่แบ่งๆ อีกเท่าไหร่ สังคมรู้ นี่คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคม”
“ทีนี้ หลังจากมีกระแสการตั้งด่าน คัดค้านการตั้งด่าน ปรากฏว่าด่านเยอะมากขึ้นกวาเดิมอีก” เกรียงไกร เปิดเผยถึงทิศทางตรงกันข้ามกับสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้น
“ไม่ทราบว่าประชดหรือว่าอะไร แล้วก็จับหนักกว่าเดิมอีก ซึ่งการที่พวกคุณอ้างความชอบหรือวลีต่างๆ ที่พวกคุณประดิษฐ์ขึ้นมา มันสวนทางกับความรู้สึกภาคประชาชน ข้อเท็จจริงมันเปรากฎอยู่ในบริบทของสังคม ข้อเท็จจริงมันปรากฏอยู่ตามบริบทสังคมที่เกิดขึ้นว่า สิ่งที่คุณทำ คุณใช้อำนาจโดยมิชอบ เขาให้ใช้ดุลพินิจ คุณก็ไม่เคยใช้ แล้วลูกหลานที่ไปโรงเรียนที่ถูกจับ พ่อแม่เขาก็ทำมาหากินรับจ้างวันละ 300-350 บาท คุณจับปรับไป 100 บาท ใครให้ลูกไปใช่เงินวันละ 300 บาท ไม่มีหรอก อย่างเก่ง 50-100 บาท
“ถ้าออกกฎหมายมาอย่างนั้นสังคมมันอยู่ไม่ได้หรอก สังคมมันต้องมีเอื้ออาทร สังคมต้องมีอะลุ่มอล่วยกัน มีความเข้าอกเข้าใจ กฎหมายเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เอามาใช้ถ้าจำเป็น แต่ตำรวจไม่ได้จำเป็น ตำรวจจำเป็นต้องใช้ทุกคนเลย ต้องปรับทุกคนเลย เด็กที่มาโรงเรียนแล้วเงินได้เท่านั้น แล้วมันจะกินอะไร ถ้ามันไม่มีอะไรกิน มันไม่ปล่อยตัวเองอดตายหรอก มันก็ต้องไปเป็นโจร ไปลักเล็กขโมยน้อย นี่มันเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม
“แล้วสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันนี้ ด่านยิ่งเยอะเท่าไหร่ ด่านคือสัญลักษณ์ของประเทศที่ไม่พัฒนา ทำไมไม่เน้นความรู้ให้กับประชาชน แต่มาเน้นจับ ด่านจริงๆ เขาต้องใช้กล้องวงจรปิด CCTV แล้ว คุณก็ควรกลับไปองค์กรของคุณ กลับไปอะไรของคุณ ในการใช้เงินการตั้งด่านของคุณหวังเปอร์เซ็นต์มากกว่าที่จะป้องกันปราบปรามอาชญากรรม”
สิ่งที่ประชาชนควรรู้นอกจากพื้นฐานรู้กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับจราจร วิธีปฏิบัติในการใช้รถใช้ถนน ข้อควรรู้ การใช้รถ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ การสังเกตกาตั้งด่านที่ถูกต้องง่ายๆ จะต้องประกอบด้วย
1.ต้องมีแผงกั้นที่มีเครื่องหมายการจราจรว่า “หยุด” โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ด่านตรวจหรือจุดตรวจ
2.จะต้องมีในการติดตั้งป้ายและเครื่องหมายการจราจร และในเวลากลางคืนจะต้องให้มีแสงไฟส่องสว่างให้มองเห็นได้อย่าง ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตรก่อนถึงจุดตรวจ และให้มีแผ่นป้ายแสดงยศ ชื่อ นามสกุล และตำแหน่งของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประจำด่านตรวจและจุดตรวจดังกล่าว
3.ต้องมีตำรวจชั้นสัญญาบัตรยศ ร.ต.อ.ขึ้นไปประจำอย่างน้อย 1 คน และ4 จำนวนเจ้าหน้าต้องมี 5 นายขึ้นไป ฯลฯ
“คือปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ คำสั่งภายในของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่ประชาชนเข้าใจว่าด่านที่มีตำรวจถูกต้องหมดเลยนะ ที่ผ่านมา จริงๆ ไม่ใช่ ที่คุณบอกอ้างๆ ด่านจริงๆ มีไหมที่คุณไม่จับ พ.ร.บ.จราจรทางบก ไม่มี คุณจับ พ.ร.บ.จราจรอย่างเดียวเลย อย่างอื่นมันเป็นผลพลอยได้ จับของคุณคือจับ พ.ร.บ.จราจร หลักที่คุณตั้งไว้คือคุณบอกว่ามาเพราะต้องการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม แต่พอมาจับจริงๆ แล้ว หลักของคุณคือตั้งโต๊ะปรับอย่างเดียว
“การที่เจ้าหน้าที่จะมีอำนาจตาม ป.วิ.อาญา ปฐมเหตุมันต้องเกิดจากประชาชนเป็นผู้กระทำให้มันเกิด คำว่าประชาชนเป็นผู้ระทำให้มันเกิด คือว่าเหตุอันควรสงสัย บุคคลนี้ลุกลี้ลุกลนไหม บุคคลนี้เป็นอย่างนี้มันสงสัย อันนี้เขาก็จะมีอำนาจทันทีเลย แต่อยู่ๆ เขาขับมาดีๆ จะไปตรวจอย่างนั้นนี่ อันนั้นใช้ดุลพินิจหรือใช้โดยมิชอบแล้ว คุณไม่มีอำนาจแล้ว คุณมีอำนาจ อำนาจมันต้องเกิดขึ้นเองจากลักษณะหรือการกระทำของตัวประชาชนที่ทำให้เกิดมีอำนาจขึ้นมา
“ที่ผ่านมา ผมต้องการให้สังคมหรือว่าผู้ใช้รถถนนได้รู้ข้อกฎหมาย เขาก็เอามาอ้างว่า มาตรา พ.ร.บ.ทางหลวงปี พ.ศ.2529 แล้วก็กฤษฎีกากาตีความ ในเมื่อตัวแม่ถูกยกเลิกไปแล้ว แล้วกฤษฎีกาที่ตีความว่าให้คุณสามารถทำได้หรือไม่ได้มันน่าจะตายไปกับแม่ แต่กฎหมายใหม่เมื่อปี พ.ศ.2535 มันไม่มีตรงไหนที่ยกเว้นให้คุณ คือที่เขามี พ.ร.บ.ทางหลวงเนี่ย คือต้องการให้ผู้ใช้รถใช้ทางเกิดความสะดวกและปลอดภัย ซึ่งถ้าเกิดคุณจะทำ คุณต้องมีวิศวกรผู้มีความรู้ทางเรื่องถนนหนทางมาร่วมกันเรื่องตั้งด่านกับคุณ
“คุณอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายว่าการตั้งด่าน ตั้งจุดตรวจสกัดเพื่อจะเอามาปราบปรามและป้องกันอาชญากรรม อาชญากรรมอะไรของคุณ มันไม่ใช่ มันมีแต่ใบสั่งทั้งนั้นเลย มันไม่ใช่ปราบปรามและป้องกันอาชญากรรมแล้วล่ะ ไม่ใช่ ประชาชนไปที่ไหน เจอด่าน ไม่เกิน 5 กิโลเมตรเจอด่าน ซึ่งมันสวนทางกับหลักการ มันส่อเจตนาชัดเจน คุณแค่หวังยอดเงินค่าปรับจากการกระทำความผิดทาง พ.ร.บ.จราจร หรือเปล่า? ถามว่า อาชญากรหรือคนก่ออาชญากรรมหน้าไหนมันจะวิ่งเข้ามาหาด่าน ไม่มี ยิ่งรู้ว่ามีด่าน ยิ่งหนี ไม่มาหรอก”
เกรียงไกร กล่าวเสริมก่อนจะชี้ย้ำแนวทางออกแก้ไขให้มีความเที่ยงธรรม ความโปร่งใส และที่สำคัญคือยืนอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/559000011986009.JPEG)
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/559000011986010.JPEG)
“วัตถุประสงค์ของผม คนที่เห็นตรงข้ามกับผมคือผู้ที่เสียผลประโยชน์หรือครอบครัวเจ้าหน้าที่ซึ่งเสียผลประโยชน์ เพราะว่าคัดค้านอะไร ผมไม่ได้คัดค้านการตั้งด่านนะ ไม่ใช่ ผมคัดค้านการตั้งด่านที่ไม่ถูกต้อง วัตถุประสงค์ของผมและกลุ่ม หนึ่งต้องมีการปฏิรูปองค์กรของตำรวจใหม่ สองต้องจับบุคลกรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปอบรมเรื่องจริยธรรมเรื่องธรรมาภิบาล เรื่องพรมวิหาร 4 ให้มันมีมากขึ้นกว่านี้
“ไม่ได้เรียกร้องอะไรมาก แค่ว่าให้สังคมประเทืองปัญญา อย่าเอาความสะใจเป็นที่ตั้ง แต่ที่ผมออกมาแฟนเพจเยอะเพราะผมพูดความจริงที่สังคมรับรู้ แล้วพอพูดออกไปตำรวจตราหน้ามาโต้ผม แต่แฟนเพจผมยิ่งเพิ่มเพราะเขาถูกกระทำ ในขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเขาจะเอาไปปรับใช้ ใช้วิกฤตเป็นโอกาส เขาก็ออกมาโต้ผมทุกดอก
“ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียตรงนี้เลยด้วย แต่อยากให้สังคมดีขึ้น หลายๆ คนก็ถามว่าผมกลัวไหม มีโดนข่มขู่หรือเปล่า ผมไม่มีกลัววิชามารที่เอาประวัติของผมมาเผยแพร่ในโลกออนไลน์ เอาประวัติผมที่เคยถูกกล่าวหาเป็นผู้ล่นไพ่ผสมสิบ แล้วก็เขียนประวัติผมโยงถูกบ้างผิดบ้าง ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ ประวัติในการเล่นไพ่ ศาลตัดสินยกฟ้องคดีสิ้นสุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ผมไม่ได้เล่น ผมสู้คดี ผมเป็นคนแรกในจังหวัดที่สู้คดีการพนันชนะ ก็เพราะผมไม่ได้เล่น ไม่ได้รับสารภาพ จะไปรับได้อย่างไร จ้างทนายตั้ง 1 หมื่นบาท แต่ค่าปรับ 500 จะไปจ้างทำไม ก็ผมไม่ได้เล่น จะให้ผมไปรับสารภาพได้อย่างไร
“ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายอันเดียวกัน รัฐธรรมนูญอันเดียวกัน แต่มันเป็นสิทธิในการแสดงออกที่จะแสดงความคิดเห็นอะไรต่างๆ ของผม ทุกคนมีความคิดที่จะแสดงได้ ถ้ามันผิดกฎหมาย คุณก็สามารถใช้สิทธิทางศาล บนกระบวนการยุติธรรม คุณก็ฟ้องร้องผมได้ แต่ปัจจุบันมาข่มขู่ เอาประวัติผมมาแฉ ซึ่งผมว่ามันไม่น่าจะเกิดจากองค์กรที่ชื่อว่าผู้พิทักษ์ ผู้บำรุงสุขประชาชน
“แล้วก็อยากจะฝากว่าขอบคุณทุกคน กำลังใจ ปัจจุบันนี้มีคนดูหลายหมื่นคน วันหนึ่งเป็นแสนแล้ว ก็แสดงว่าสังคมควรจะแก้ไขปัญหาตรงนี้อย่างไร เคยมาดูไหมว่ากดไลค์ คอมเม้นท์อย่างไร คุณก็ไปฟังแต่ลูกน้อง 3 คนรายงาน แต่ไม่เคยฟังประชาชนเป็นแสนคนเขาพูด มันเกิดอะไรขึ้นกับสังคมของคุณ”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : เกรียงไกร ไทยอ่อน
จากลูกชาวนา สู่คนทำงานหนังสือ เป็นเจ้าของวินรถตู้ เจ้าของร้านปลาช่อนอบฟาง เกษตรกรปลูกไผ่และมะนาว ก่อนโด่งดังเป็นพลุแตกกับการลุกขึ้นเปิดโปงขับไล่ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อปี 58 และตอกย้ำความเป็นคนจริงที่ยึดหลักความถูกต้องเป็นธรรมอีกครั้งด้วยคลิปแฉตำรวจตั้งด่านลอยโดยผิดกฎหมายที่ทำให้ ตร.จราจร สั่นไหวไปทั้งยวง
“เกรียงไกร ไทยอ่อน” เขาเป็นใครมาจากไหน
เหตุใดจึงต้องลุกขึ้นมาต่อต้านความอยุติธรรมผิดกฎหมายทั้งหลายแหล่
ริทานอำนาจฉ้อฉลกลโกงโดนไม่หวาดกลัว เพื่อให้ประชาชนตระหนักตื่นรู้ เพื่อสังคมเกิดความเท่าเทียมและยุติธรรม
Manager online จึงขอนำเสนอเรื่องราวชีวิตที่ธรรมดาแต่ไม่ธรรมดา เรื่องของชายวัย 53 ย่าง 54 ปี เพราะเกรียงไกรชื่อนี้ดีดังสมนามเหลือเกิน…
แค่…เกษตรกรชาวไร่
ที่หัวใจ “รัก” ความยุติธรรม
“เพราะเมื่อสังคมรอบข้างดี เราก็ต้องดีกับเขาด้วย”
หนุ่มใหญ่ท่าทางเคร่งขรึม ไว้หนวดติดริมฝีปาก วาจาฉะฉาน เริ่มต้นบทสนทนาในแนวคิดและอุดมการณ์ที่ขับเคลื่อนสถานะจากเกษตรกรชาวนาคนหนึ่งสู่รองประธานธรรมาภิบาล ทำหน้าที่สอดส่องการทำงานของหน่วยงานรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และล่าสุดกับบทบาทหัวเรือใหญ่ “แกนนำผู้คัดค้านการตั้งด่านตรวจอย่างไม่ถูกต้อง” จนเป็นที่กล่าวขวัญโจษจัน ว่า “จเรโป้งเหน่ง”
“ผมเกิดที่บ้านกุดกวางสร้อย ตำบลบ้านถิ่น อ.โนนสัง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันขึ้นตรงต่อจังหวัดหนองบัวลำภู) เป็นบุตรของนายคำตาและนางบุญเรือง มีอาชีพเกษตรกร ทำนา จึงทำให้ผมเลือกที่จะเรียนเกษตรกร หลังจบชั้นประถมก็มาต่อระดับ มศ.1-2-3 ที่ โรงเรียนโนนสังวิทยาคาร ซึ่งสมัยนั้นการเรียนลำบากมาก คนที่เรียนต้องตั้งใจเรียนจริงๆ เพราะจะต้องปั่นจักรยานถึง 18 กิโลเมตร เพื่อไปเรียนและต้องปั่นกลับอีกกลับ 18 กิโลเมตร เพื่อกลับบ้าน
“หลังจากนั้นก็ต่อ มศ. 4-5 สายเกษตร ที่ โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ อ.นากลาง จ.อุดรธานี แล้วก็ไปต่อ ปวช. ภาคพิเศษ วิทยาลัยเกษตรกรรมอุดรธานีอีก 2 ปี ก่อนจะขึ้น ปวช. เต็มๆ ซึ่งต่างจากปกติเขาที่กำหนดให้เรียน 1 ปี หรือปีครึ่ง เนื่องจากรุ่นของผมนั้นเป็นรุ่นเปลี่ยนผ่านระบบการศึกษาจาก มศ. 4-5 เป็น ม.6 สมัยนั้นจะเรียกว่า ‘ซุปเปอร์’ จบ ม.6 ต่อ ปวช. แค่ 2 ปี ก็ต่อ ปวส. ได้เลย ก็เรียนเรียนจบซุปเปอร์เสร็จแล้วก็ต่อ ปวช. จนจบ ไปสอบเข้าที่วิทยาลัยเกษตรกาฬสินธุ์ในระดับ ปวส. อีก 2 ปี
“ทีนี้ สิ่งที่พ่อให้แก่ลูกๆ ให้ผมและน้องอีก 3 คน สิ่งที่พ่อให้และปลูกฝังมาตลอด คือพ่อไม่มีความรู้ พ่อเป็นเกษตรกร พ่อมีที่นาอยู่ผืนหนึ่งประมาณเกือบ 50 ไร่ พ่อก็จะทยอยขายไม้ที่ปลูกตามคันนาและพื้นที่ เพราะท่านก็ไม่มีรายได้ อาชีพรับจ้างมันไม่ค่อยมี เพื่อส่งเราเรียน ก็ขายจนหมด สุดท้ายก็ขายที่นาส่งลูกเรียนจนจบ พ่อก็บอกว่า พ่อไม่มีอะไรให้ พ่อขายที่นาหมดแล้วเพื่อให้ลูกแต่ละคนเรียนจบ ลูกก็จะต้องไปประกอบอาชีพสร้างฐานะของตัวเองด้วยตัวของลูกๆ เอง ปลายปี พ.ศ. 2529 ด้วยความที่เป็นคนแสวงหาโอกาสอยู่ตลอด ผมจึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปเสี่ยงโชคในเมืองใหญ่”
โดยที่ไม่รู้ชะตาชีวิต ไม่รู้ทิศทางวันข้างหน้า อาศัยมีเพียงจิตใจห้าวหาญ กล้าเผชิญแสวงหา ทว่าการเดินทางครั้งนี้กลับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่บ่มเพาะชีวิตอุดมการณ์และภาพความทรงจำเก่าก่อนในวีถีพี่น้องชาวบ้านชนบทที่พึ่งพาเกื้อกูลอาศัยซึ่งกันและกัน
“นอนสนามหลวงบ้าง ขออาศัยป้าบ้าง ไปอยู่กับน้องชายที่กำลังเรียนอยู่ที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาบ้าง หลังจากนั้นไม่นาน ผมก็ไปขอเข้าพบอาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ ท่านเป็นนักเขียนโด่งดัง เป็นไอดอลผม และสอนอยู่ที่ ม.เกษตรศาสตร์ ก็เลยติดต่อไปหาไม่ยาก ก็เข้าไปพบ พอท่านเห็นท่านก็ถามว่าอยากทำงานอะไร ผมก็บอกว่าไม่อยากทำงานอะไร อยากจะมาศึกษางานกับอาจารย์ อาจารย์ก็เลยรับผมเป็นลูกศิษย์ และงานชิ้นแรกที่ท่านมอบให้คือการทำหนังสือ การจัดทำหน้าหนังสือ ชื่อหนังสือมะขามหวาน ในปี 2530
“หลังจากนั้นก็ได้เริ่มฝึกงานเขียน อาจารย์ท่านก็สอนเทคนิคงานเขียน หลากหลายรูปแบบ ทั้งหนังสือเล่มและลักษณะการเขียนข่าวเกษตร เขียนอย่างไร ประมาณไหน ก็เริ่มศึกษาเรียนรู้แล้วก็เริ่มฝึกการเขียน ช่วงประมาณปี พ.ศ. 2531 ก็รู้สึกว่าหนังสือพิมพ์ควรจะมีหน้าเกษตร ไม่ใช่แค่คอลัมน์เล็กๆ คอลัมน์หนึ่งประกอบในหน้าอื่นๆ เท่านั้น เลยขอเข้าไปพูดคุย ขายไอเดีย ไม่ได้ไปสมัครงาน คือเราอยากให้เกิดตรงนี้เพราะมันมีคุณค่ากับประชาชน ก็ไปคุยกับคุณชูวิทย์ ผู้บริหารระดับสูงของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ กับคุณประพันธ์ เหตระกูล ซึ่งตอนนั้นผมก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร (ยิ้ม) ปรากฏว่าท่านฟัง และก็บอกให้ผมนั่นแหละเป็นคนทำหน้าที่นั้น ให้ผมเข้าไปเป็นนักเขียนแล้วเขียนข่าวคราวเรื่องเกษตรทั้งหมดส่งให้หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ตั้งแต่ตอนนั้น
“นอกจากเป็นนักเขียนข่าวเกษตรแล้ว ผมก็ทำสำนักพิมพ์ตัวเอง เขียนหนังสือขายเองด้วย โดยอาศัยจากประสบการณ์ส่วนหนึ่งจากคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ที่ทำแล้วก็มารวบรวมเป็นเล่ม พิมพ์เองขายเอง จัดหน้าเอง ลงทุนเองทุกอย่าง ทั้งเรื่องวิธีสร้างวังกุ้ง การเลี้ยงปลาเก๋า พริกไทยฉบับสมบูรณ์ ไก่ชน โรคและการรักษามะม่วง เห็ดหูหนู ฯลฯ ผมทำงานอยู่ในวงการน้ำหมึก ประมาณ ปี พ.ศ. 2530 - 2544 ก็เกิดความอิ่มตัว ทีนี้บังเอิญน้องชายคนรองเขาทำวินรถตู้ซีคอนฯ - ปากน้ำ แล้วเขาถูกรังแกจากพวกมาเฟีย เขาก็เลยมาปรึกษาว่าพอมีทางเป็นไปได้ไหมที่จะขอให้ผมไปช่วย เพราะผมเป็นคนไม่กลัวคน ผมกลัวสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น ก็เลยผันตัวเองมาทำวินรถตู้ วินรถตู้ที่ทำเป็นวินที่ถูกกฎหมาย คือเราต้องจ้างรถตู้มาเพื่อที่จะให้มาวิ่งรับคน เสร็จแล้วทำจนเป็นที่รู้จัก คนขึ้นเยอะ เราก็ขายวิน
“รายได้ดีมาก เพราะเราไม่ได้ไปกดขี่ เราทำจนเป็นที่รู้จัก รถตู้เขาก็อยู่ได้ เราก็เลยอยู่ได้ด้วย แต่ทำกิจการเจ้าของวินรถตู้ได้ไม่นาน 2-3 ปี ก็ถูกลูกน้องหักหลัง เนื่องจากการทำวินรถตู้ต้องติดต่อประสานงานกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะมีรายละเอียดที่ต้องทำตามขั้นตอนกฎหมาย เสียชำระค่าประกอบการให้ถูกต้องที่กฎหมายกำหนด ไม่อย่างนั้นผิด โดนจับ ลูกน้องก็รวมหัวกันไปจ่ายกันเอง เราก็เลยต้องหยุด หลังจากนั้นเราก็คิดว่าเราจะต้องมีธุรกิจอะไรสักอย่างหนึ่งที่จะได้เงินทุกวัน ด้วยความที่เป็นคนแสวงหาโอกาส ก็เลยไปเปิดร้านอาหารอยู่ที่ถนนพระราม 2 เป็นร้านปลาช่อนอบฟาง ซึ่งสาเหตุที่ทำร้านอาหารเพราะเห็นเขาทำแล้วได้เงินทุกวัน ตอนนั้นก็ไม่คิดว่าจะจนอีก คนเข้ามากินเยอะมาก แต่สุดท้ายก็เจ๊ง เจ๊งเนื่องจากสะพานมาสร้างคร่อม ทีนี้คนจะเข้าจะออกไปมาไม่ได้ ไม่สะดวก ทำร้านอาหารเกือบ 2 ปี เงินที่สะสมมาหายหมด เริ่มเป็นหนี้สินพะรุงพะรังกว่า 5 ล้านบาทได้
“แต่ที่รอดมาได้เพราะลักษณะนิสัยที่ไม่เหมือนใครอย่างที่บอกไปว่า เป็นนักแสวงหาโอกาส ช่วงที่ทำรถตู้ก็มีเงินก้อนหนึ่งเลยไปซื้อที่ทางบ้านทิ้งไว้ พร้อมกับปลูกไผ่หวานไว้ด้วย ก็เลยตัดสินใจกลับมาอยู่บ้าน ไม่เอาแล้วกรุงเทพมหานคร อีกประการหนึ่งคือคุณพ่อคุณแม่เริ่มชรา น้องๆ ก็อยู่ต่างประเทศบ้าง บางคนมีครอบครัวบ้าง เราก็เลยถือโอกาสนี้ทำหน้าที่ตรงนั้น กลับมาใช้ชีวิตที่บ้าน ซึ่งต่อมาไผ่หวานตัวนี้เป็นอาชีพปลดหนี้และเลี้ยงครอบครัวจนถึงทุกวันนี้”
เกรียงไกร กล่าวแซมยิ้มพลางเว้นวรรค หลังจากร่ายเส้นทางถนนชีวิตแสนยาวนาน และหลังจากนั้น ชื่อของเกรียงไกรก็ได้ปรากฏสู่สาธารณะอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ในฐานะเจ้าของตำนานไผ่หวานหนองโดน (หรือไผ่หวานหนองบัวลำภู) เป็นคนแรกที่นำไผ่ชนิดนี้ไปขึ้นทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ ที่กรมวิชาการเกษตรสำนักคุ้มครองพันธุ์พืช และได้ใบรับรองการขึ้นทะเบียนพืชพันธุ์ใหม่ขึ้นมาเจ้าแรกในประเทศไทย ก่อนก้าวขึ้นเป็นอุปนายกสมาคนไผ่ไทย คนที่ 1
“แล้วผมก็ทำสวนมะนาวเป็นเจ้าของพันธุ์มะนาวแป้นเกรียงไกร จนได้เป็นผู้แทนหรือแทนผู้สำรองในคณะกรรมวิชาการพิจารณาสินค้าเกษตรเรื่อง มะนาว ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ประธานสหกรการเกษตร กุดดู่ จำกัด รองประธานคณะทำงานพัฒนาพืชเศรษฐกิจไทย สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ถึงตรงนี้ทั้งหมดคือจุดเปลี่ยน ผมมาอยู่ตรงนี้ มาเห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องประการแรกก็คือ มีครูในหมู่บ้านแห่งนี้และผู้อำนวยการทุจริตเอาเงินค่าอาหารกลางวันของเด็กไป แล้วเด็กๆ ต้องอดข้าว ผมถามจึงรู้ความ ก็เลยไปคุยกับเขา คุยทั้งๆ ที่ผมก็ไม่ได้มีลูกหลานเรียนที่นั่น แต่เรารู้สึกว่าทำไมเขาทำอย่างนี้ เขาก็บอกว่าคุณมาอยู่ใหม่ คุณไม่รู้อะไร จะกันอะไรหนักหนา ผมก็ไปพูดหลายครั้งให้แก้ไขให้เรียบร้อย แต่ก็ไม่ฟัง ดื้อร้น เถียง เลยบอกว่าถ้าอย่างนั้น ผมก็ต้องเอากฎหมายมาใช้ เพราะมันผิดกฎหมาย คือบอกตรงๆ เขาอาจจะไม่เชื่อ ก็เลยไปแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวน เขาต้องเอาตำแหน่งหน้าที่มาแลกกับเรานะ เขาก็บอกว่าก็ไม่เป็นไร พิสูจน์กันไป ซึ่งผลออกมา ศาลฎีกาพิพากษาจำคุกประมาณคนละ 8 ปี ติดคุกด้วยเงินแค่นิดหน่อย
“ทีนี้ผมก็เลยเริ่มสอนชาวบ้านว่าสิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิด คือการสอนกฎหมายบางทีสอนด้วยปากอาจจะไม่เชื่อ แต่สอนด้วยลักษณะนี้ ชาวบ้านเริ่มเชื่อ แล้วก็เริ่มไว้วางใจให้ผมได้พูดคุยได้พูดถึงข้อกฎหมายให้ชาวบ้านฟังบ้าง เพราะบ้านเมืองมันบิดเบี้ยว เห็นชาวบ้านถูกกระทำ ไม่ได้รับความเป็นธรรม อย่างเวลาไปอำเภอ ทำอะไรก็ช่าง ต้องเสียค่าธรรมเนียมแล้ว 20 บาท คือเรียกเอาเงินหน้าตาเฉย หรือไปโรงพัก ทำอะไรๆ ก็เรียก 20 บาท ไปอะไรก็ช่าง ซึ่งมันไม่ใช่ เราเห็นสิ่งเหล่านี้ ที่ถูกกระทำ ด้วยความที่เราผ่านชีวิตมาเยอะ เราก็อยากให้สังคมได้มีการตื่นตัว แต่ไม่ได้คิดว่าผมจะมาไกลขนาดดำรงตำแหน่งหน้าที่รองประธานคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดหนองบัวลำภู
“เรื่องตำแหน่งเป็นเพียงสิ่งที่ผมต้องมีไว้เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ได้ ซึ่งบังเอิญต่อมาไม่นานก็มีกฎหมายใหม่ฉบับหนึ่งเป็น พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ ช่วงคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯ ประกาศรับสมัครตัวแทนเกษตรกร เราก็สนใจ เพราะปกติจะมีแต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่กฎหมายใหม่มีสมาชิกสภาเกษตรกร ในเมื่อเป็นเกษตรกร เราก็อยากเป็นตัวแทน แต่ผมไม่ชอบการเมือง เพราะการเมือง ผมเข้าใจว่าเป็นเรื่องสกปรก แต่การเมืองภาคเกษตร ผมไม่ได้ดูแลเรื่องงบประมาณ ผมได้ดูเรื่องการช่วยพ่อแม่พี่น้องเกษตรกรอย่างไร ผมก็เลยไปสมัคร สุดท้ายก็ได้เป็นรองประธานสภาเกษตรกรจังหวัดหนองบัวลำภูคนที่หนึ่ง
“แล้วหลังจากนั้น มีการประกาศรับสมัคร คณะกรรมการ ก.ธ.จ. (คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด) มีหน้าที่สอดส่องหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ภายในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีตามพระราชกฤษฎีกา ซึ่งตรงกับความประสงค์ของเราที่อยากเห็นบ้านเมืองดีขึ้น ตรงกับสิ่งที่ผมได้รับการปลูกฝั่งมาจากคุณพ่อ พ่อผมเป็นคนไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า เป็นคนที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ก็จะปลูกฝังมาตลอดเรื่องการไม่ทุจริต ไม่ฉ้อโกง ทั้งสอนด้วยการกระทำและด้วยคำพูดจา เวลาพ่อพูดกับคนอื่น เราก็ซึมซับสิ่งเหล่านี้ มันก็ทำให้เราเห็นว่าจริงๆ ทุกวันนี้ โดยเฉพาะแต่ละหมู่บ้าน ภาพที่เราเห็นคือรัฐบาลให้งบประมาณมา หรือให้ทางอำเภอมา สุดท้ายก็ไปทำนิดๆ หน่อยๆ ที่เหลือเอาเงินแบ่งกัน เราเห็นตรงนี้ เรารับไม่ได้ หลายคน แรกๆ เข้าไปก็ขาว แต่พอหลังๆ เริ่มเปลี่ยน เส้นกั้นระหว่างเทากับขาว มันบางมาก สุดท้ายก็จะกลายเป็นสีเทาไปเช่นกัน
“เรามองว่าถ้าเกิดเราจะรวย เราจะรวยคนเดียว มันเป็นไปไม่ได้ หรือสังคมมันจะดีมันเป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างมันต้องเดินไปพร้อมๆ กัน การพัฒนาประเทศก็ดี รัฐบาลเก่งอย่างไรก็ช่าง ถ้าประชานไม่มีความรู้ มันก็พัฒนาไม่ได้ ตอนนี้สังคมกำลังพิการ คือ สังคมเน้นวัตถุนิยมมากเกินไป สังคมไม่มีความเอื้ออาทร สังคมขาดธรรมาภิบาล ณ ปัจจุบันนี้มันเป็นสังคมที่จะต้องดิ้นรนตัวใครตัวมัน
“ไม่เหมือนสมัยเมื่อผมเป็นเด็กแล้ว ตอนเด็กๆ มีแตงโมก็ไปหาแลกข้าว ถ้านาแล้ง มีปลาก็ไปแลกผัก ปลูกผักกิน ไม่ได้เน้นขาย ทุกอย่างก็ไม่ได้ซื้อ ข่า พริก ตะไคร้ แต่ปัจจุบันนี้พริก ข่า ตะไคร้ ข้างบ้านต้องขายให้กันหมดแล้ว ไม่มีความเอื้ออาทร การแบ่งปันไม่มี สมัยก่อน ถึงจะไม่มีเงิน แต่สังคมอยู่ได้ด้วยความเอื้ออาทร พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ในขณะที่สังคมเจริญขึ้น แต่คดีความต่างๆ มากมายมหาศาล มีแต่การทะเลาะเบาะแว้ง แย่งชิงทรัพยากร คนมีจำนวนมากขึ้น แต่ทรัพยากรมีเท่าเดิม ทำให้สังคมมีการทะเลาะเบาะแว้งแย่งชิงกันสูงขึ้น แล้วการศึกษาของคนไม่ได้พัฒนา
“ผมจึงมาด้วยจุดประสงค์นี้ มาด้วยจิตวิญญาณ ไม่ได้มีอะไรแอบแฝง ต้องไปเป็นไอ้นั่น ไปเป็นไอ้นี่ ขอเพียงในสังคมใกล้ๆ ผม ผมไปอยู่ที่ไหนขอให้มีความเท่าเทียม ถ้ารู้ก็รู้เท่าเทียม ถ้าจะบังคับใช้กฎหมายก็ขอให้บังคับใช้ให้เท่าเทียมกัน ถ้าจะมาบิด แล้วผมรู้ผมไม่ยอม ยอมไม่ได้”
แค่…ประชาชนคนไทย
ที่อยากสร้างสังคมดีงาม
คณะธรรมาภิบาล หรือ ก.ธ.จ. ประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ.2552 ตามราชกิจจานุเบกษา เป็นกฎหมายชนิดหนึ่งที่ทำให้ภาคประชาชนได้มีโอกาสตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งหน้าที่สำคัญของคณะธรรมาภิบาลหลักๆ ข้อที่ 22 และข้อที่ 23 ระบุว่า คณะกรรมการธรรมาภิบาล มีหน้าที่สอดส่องหน่วยงานของรัฐเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าไม่ได้เงินเดือน กินสวัสดิการเหมือนเช่นข้าราชการทั่วไป แต่การได้ซึมซับประสบการณ์จากคณะธรรมาภิบาล ก็ส่งให้เกรียงไกรเกิดความรู้และตอกย้ำความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นต่อการมุ่งมั่นกระทำความดี
“อีกอย่าง ผมมีลูกเป็นธรรมาภิบาลจังหวัด ก็คิดว่าถ้ามีโอกาส จะต้องทำอะไรให้สังคมบ้าง คือคิดว่าเราจะทำอะไรให้สังคม การทำอะไรให้สังคม โดยที่เราไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน แต่เมื่อสังคมรอบข้างดี เราก็ต้องดีกับเขาด้วย เราอยู่ในสังคม เราจะดีคนเดียวเป็นไม่ได้หรอก
“เราอยู่ในสังคม เราจะเก่ง เราจะดีเลิศประเสริฐศรี มันเป็นไปไม่ได้ แต่เราจะต้องหาความรู้และช่วยให้สังคมได้ก้าวเดินไปพร้อมกับเรา แม้เราจะก้าวหน้าไปแล้ว แต่เราก็ต้องรอเขาที่จะต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน”
เกรียงไกร เผยความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำหน้าที่หนึ่งในธรรมาภิบาล และในฐานะเพื่อนพี่น้องคนไทยด้วยกัน
“อันดับแรก เราอยากเห็นสังคมรอบข้างดีขึ้นก่อน แล้วค่อยๆ ก้าวไปสู่สังคมที่มันใหญ่กว่า โดยเฉพาะการที่รัฐบาลปัจจุบันเอางบประมาณลงมาอย่างมากมายมหาศาล ทำให้เกิดการทุจริตมากมาย ทำให้เกิดผู้ที่มีความรู้มากกว่ามาเอาเปรียบชาวบ้าน เป็นผู้รับเหมาบ้าง เป็นนักการเมืองท้องถิ่นบ้าง หลายๆ อย่าง แทนที่จะมาให้ความรู้โดยเฉพาะการเขียนโครงการต่างๆ ที่รัฐบาลให้โครงการมา ชาวบ้านก็ไม่รู้เรื่อง ไปให้นายทุนเขียน ผู้รับเหมาเขียน สุดท้ายเงินที่เหลอให้พัฒนาจริงๆ ไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ณ ปัจจุบันก็เป็นอยู่ วันนี้ก็เจอ แต่ผมบอกว่าห้าม ที่นี้ไม่ได้
“ในการลุกขึ้นมา ผมมาเน้นที่การให้ความรู้ อย่างเช่นในหมู่บ้านที่ผมอยู่ ผมมาแนะนำการเขียนโครงการ ที่ผ่านมา ถ้ามีโรงการ สมัยก่อนมีโครงการอยู่ดีมีสุข โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) โครงการเศรษฐกิจพอเพียง ถ้ามีโครงการมา รัฐบาลจะให้เงินเป็นก้อนมาแล้วให้ชาวบ้านมาประชาคม แล้วให้บริหารจัดการ รัฐบาลคิดดี แต่วิธีปฏิบัติให้ชาวบ้านปฏิบัติ ชาวบ้านไม่เก่ง อย่าลืมว่าชาวบ้านบริหารจัดการเงินไม่เก่ง ชาวบ้านไม่ได้เรียนวิชานี้มา พอไม่ได้เรียนมา เขาก็เอาโครงการให้คนอื่นจัดการ สุดท้ายคนที่ได้จริงๆ ก็คือผู้รับเหมาหรือนักการเมืองท้องถิ่น
“แต่ผมเข้ามาแล้วบอกว่าทำไมต้องให้เขามาเขียน ทำไมไม่เรียนรู้ที่จะเขียนเอง เพราะโครงการมันมีมาทุกปี ปีหนึ่งมีหลายรอบ พอเราเขียนเสร็จ เราก็หาคนในหมู่บ้านว่าใครทำอันนั้นได้ อันนี้ได้บ้าง ถ้าเราทำได้ เราก็จะได้มีความรู้ ปีหน้าก็ไม่ต้องให้คนอื่นทำแทน ปีไหนๆ ก็ไม่ต้องแล้ว เลยตั้งกลุ่มเครือข่ายต่อต้านการทุจิตภาคประชาชน จังวัดหนองบัวลำภู ขึ้นเสริมอีกด้วย
“เพราะพอเราไปอยู่ตรงนั้น เรามีโอกาสที่จะเผยแพร่ความรู้ ไม่ได้อยากอะไรมากกว่านี้ ทำตรงนี้ไม่มีเงินเดือน ได้งบประมาณจากจังหวัดน้อยมาก 5 หมื่นบาททั้งปี แต่งานที่ใช้คือต้องไปสอดส่องหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ ภายในจังหวัด พบการใช้จ่ายที่ไม่ถูกต้อง เราก็ต้องแจ้ง ซึ่งสมาชิกของเราจะประกอบด้วยภาคประชาสังคม อำเภอละหนึ่งคน ภาคหอการค้า ประธานอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจเอกชน รวมกันแล้วจังหวัดมี 12 ท่าน”
โดยคณะธรรมาภิบาลขึ้นตรงต่อสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยัง Memorandum of Understanding (MOU) ร่วมกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) รวมทั้งหมดทั้งสิ้น เป็น 5 หน่วยงานของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับความเที่ยงธรรม เพื่อแลกเปลี่ยนสอดส่องเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานรัฐ
บทบาทการทำหน้าที่ตรงนี้ของเกรียงไกรที่กลายเป็นที่โจษจัน คือการเปิดโปงขับไล่ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภูออกนอกพื้นที่ เนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมที่จะบริหารงานพัฒนา เมื่อราวเดือนสิงหาคม 2558 ปีที่ผ่านมา
ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์คลิปไลฟ์สดด่านตำรวจในโลกออนไลน์ ในวันที่ 30 ตุลาคม 2559 จนมีผู้ติดตามดูกว่า 3 ล้านคน
“ถ้าถามว่าผมเคยโดนจับปรับบ้างไหม เคย แต่ผมพยายามจะไม่ทำผิดกฎหมายอยู่แล้ว เรามีต้นทุนความรู้ทางกฎหมายพอสมควร แต่ก็ไม่ได้มากมาย ฉะนั้น ผมก็เลยขับรถไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงอยู่แล้ว แล้วอันไหนที่จะผิด เราก็พยายามหลีกเลี่ยง กับกรณีที่เกิดขึ้นมันก็แตกต่างกัน
“เนื่องจากว่าผมเป็นเกษตรกร ฉะนั้น เวลามีการจัดงานต่างๆ งานประจำปี งานเกษตร ผมก็ต้องไปเดินทางออกบูทขายของ พอไปก็ต้องเจอตำรวจอยู่แล้ว ถูกบ้างผิดบ้าง แต่ส่วนใหญ่ผมก็ไม่ค่อยได้กระทำความผิด แต่เรียกผมขอเครื่องดื่มชูกำลัง ผมก็ให้ ขอเงิน 100 บาทก็ให้ๆ บางทีไม่ผิดก็จะจับ ก็วิ่งขวาวิ่งอะไร ก็เถียงกันด้วยเหตุผล สุดท้ายเขาก็จน คนนี้เอายาก เขาก็ไม่เอา ประมาณนั้น แต่ถามว่าถ้าผิดจริง ทำไมไม่จับ มันจะต้องมาละเว้นทำไม
“วันเกิดเหตุนั้น ผมไม่ได้ตั้งใจ วันนั้นผมไปซื้อไม้อัดมาต่อเติมบ้านของพ่อ ก็ขับมาช่วงฤดูฝนหน้าฝน ฝนมันก็จะตก พายุเข้า ไม้อัดโดนฝนไม่ได้ จะบวม ก็ไปซื้อผ้าใบมาเพื่อจะคลุม แต่ทีนี้จังหวะที่จะคลุมมันยังไม่มีที่จอด อีก 200 เมตรเป็นปั้มน้ำมัน ก็จะจอดแล้วไปคลุมซะ ก็ขับมาเจอด่านที่ตำบลนาดี เส้นทางถนนอุดร-เลย เจ้าหน้าที่ตำรวจยศดาบ เขาก็โบกให้จอด ก็ไม่ได้คิดว่าอะไร ก็จอด เขาก็ขอใบขับขี่ ผมก็เลยถามว่าจับผมข้อหาอะไร เขาก็บอกว่าไม้อัดผมยื่นล้ำออกมาข้างนอก ผมก็เลยบอกว่าอีกสองร้อยเมตรก็จะไปคลุมไม้ด้วยผ้าใบที่อยู่ในรถให้เรียบร้อย ผมไปกับลูกน้อง 3-4 คน เขาก็บอกว่าไม่ได้ เดี๋ยวไปคุยที่ตั้งโต๊ะปรับ เขาก็เอาใบขับขี่ไปให้จ่า เขาก็บอกว่ากรณีของนี้ปรับ 400 บาท แต่ลดให้เหลือ 200 บาท ผมก็บอกว่าตักเตือนได้ไหม เพราะอีกหน่อยก็จะไปคุลมอยู่แล้ว ยิ่งจอดนาน ฝนตกลงมาแล้วไม้มันจะเปียก เขาบอกว่าไม่ได้ ตักเตือนไม่ได้เดี๋ยวนายว่า เราก็บอกว่า อ้าว ทำไมตอนลด ทำไมลดได้ นายไม่ว่า เขาก็แจงมาว่านายให้อำนาจเรื่องนี้อยู่ประมาณนั้น
“จริงๆ ผมก็รู้จักผู้หลักผู้ใหญ่ แต่ผมก็ไม่เคยอ้างนะ”
“ผมก็เลยคิดว่าถ้าอย่างนั้นก็เขียนใบสั่งมา ในใจคิดว่าเดี๋ยววันหลังมาเอาก็ได้ ไม่เป็นไร แต่ตอนเขียนใบสั่ง ไม่ได้เขียนแค่ 400 บาท เขียน 500 บาท มันก็ไม่ใช่แล้ว อันนี้ผมก็มองว่ามีเหลี่ยม พอมีเหลี่ยมปกติในการถ่ายคลิปไม่เกี่ยวกับตำรวจเลย ผมถ่ายคลิปเกษตร รายการเว้าจาภาษาเกษตร อยู่ในยูทูปมีแต่ให้ความรู้ทางด้านเกษตรทั้งนั้นกว่า 400 คลิป ผมก็เลยให้ลูกน้องถ่ายคลิปให้ สวัสดีครับ นี่เป็นรายการเกษตร ถ่ายทอดสดๆ หลังจากที่ถ่ายคลิปมาได้ระดับหนึ่งผมก็สังเกตว่า อ้าว อันนี้มีตำรวจอยู่สองท่านเอง ฝั่งโน้นมีอยู่ 3 คน ตำรวจชั้นสัญญาบัตรไม่มี จากความรู้ที่พอมีทราบว่าการตั้งด่านต้องมีนายตำรวจประกอบด้วยอะไรบ้าง ไม่ใช่ดาบกับจ่าสองคนเท่านั้น และคนที่ปรับก็รู้มาอีกว่าต้องเป็นร้อยเวร 30 แต่นี้เป็นจ่า มาเซ็นทั้งปรับและใบเสร็จ เซ็นแทนกันหมดเลย
“เลยไปถามว่าผมขอคุยกับนายตำรวจผู้ควบคุมได้ไหม เขาบอกว่าไปธุระ ไปอย่างโน้นไปอย่างนี้ ไม่อยู่ ประมาณ 15 นาทีผ่านไป ผมก็บอกว่าไม้อัดผมจะเปียก เลยไปเอาเงินแบงก์ใหม่ๆ 500 บาท จะเอามาจ่าย บังเอิญเขาก็วอวิทยุสวนเข้ามา ให้บันทึกจับกุมตัวผมเอาไปปรับที่โรงพัก ได้ยินอย่างนั้นก็คิดน่าจะเป็นข้อหาหมั่นไส้ เราก็อ้าว จะไปปรับที่โรงพักทำไม ที่นั่งอยู่ก็ปรับได้ ทำไมผมจ่ายไม่ได้ ซึ่งแสดงว่าคุณไม่มีมาตรฐาน คนอื่นปรับได้แต่ผมปรับไม่ได้ สุดท้ายผมก็รอร้อยเวรประมาณ 30 นาที ผู้ควบคุมด่านถึงมา นี่คือเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น”
เป็นระยะเวลากว่า 20 นาที ของวันที่ 30 กันยายน 2559 คลิปแรกที่ได้ทำการไลฟ์สดที่เผยแพร่ออกสู่สายตาประชาชนสาธารณะ แม้ว่าหลังเหตุการณ์ในวันนั้นจบสิ้นลง ทว่ากลับกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงกรณีดังกล่าวอย่างครึกโครม
“หลังจากนั้นดูในคลิปจะมีว่า ร้อยตำรวจเอกขับรถมาจอดท้ายรถผม เขาอยู่ห้างบิ๊กซีกับภรรยาเขาก็ขอยุติการถ่ายทอดแล้วเรามาคุยกัน นายตำรวจชั้นสัญญาบัตรพูดจาจะดี ไหวพริบปฏิภาณดี สมแล้วที่เป็นนายตรวจ เขาบอกว่าพี่ขอคุยได้ไหม ใจเย็นๆ ผมก็ได้ ใจเย็น เขาก็ถามว่าพี่จำผมได้ไหม ผมชื่อนี้ๆ วันนั้นที่ขับไล่ผู้ว่าราชการจังหวัด เขาเคยดูแลความปลอดภัยให้ ผมก็จำไม่ได้ คนเยอะ นายตำรวจท่านนี้ก็ประสานมาขอมาหาที่บ้าน โดยผ่านทางปลัดเทศบาลแล้วก็รักษาการปลัดเทศบาลสองคนมาหาผม มาขอโทษ ผมก็ออภัยให้ ก็จบลงด้วยดี
“แต่ตอนเย็นของวันนั้น หลังจากเขากับไปแล้ว ผู้กำกับการไปออกข่าวช่อง 34 อัมรินท์ทุบโต๊ะข่าว บอกว่าผมดูไม่ดี เขาก็มีร้อยเวรอยู่ เดี๋ยวจะออกหมายเรียกผม ซึ่งมันคนละเรื่องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเลย ผมก็ไม่ยอมละทีนี้ วันที่ 3 ตุลาคม ผมจึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อไปยืนหนังสือให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนการตั้งด้านครั้งนี้ว่าถูกต้องหรือไม่ แล้วการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ผมก็แนบคลิปไปไปยื่นที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
“ผมก็ไม่คิดว่าผมจะมาไกล ผมก็ยื่น ยื่นก็จบ ไม่มีอะไร ผมก็จบ กลับบ้านปกติ ในระหว่างเดินทางวัน ผมยังไปจอดดูรถผู้กระทำผิด ภายหลังตรวจพบว่าปัสสาวะสีม่วงที่แหกด่านอำเภอสีคิ้ว ผมก็ไปถ่ายทำรายการชื่นชมตำรวจ ตำรวจทำดี ผมก็บอกว่าเป็นกำลังใจให้ ประมาณนั้น ก็จบแล้วไม่มีอะไร ผมก็ทำหน้าที่ของผมปกติธรรมดา ตามประสาเกษตรกร พูดจาประสาเกษตร รายการของผม
“แต่หลังจากนั้น คลิปมันไปปรากฏ พอดูคลิปคนก็แห่มาคอมเม้นท์มาไลค์ ก็เกิดกระแส ผมก็คิดว่าทำไมผมไม่เอากระแสที่คนตื่นตัวให้มันเกิดการเปลี่ยนแปลง ในกรณีนี้สังคมได้อะไรจากเรา ผมก็เลยมีแนวความคิดว่าจะคัดค้านการตั้งด่านที่ไม่ถูกต้อง ในวันที่ 4 ที่กลับมา วันที่ 5 ตุลาคม ระหว่างที่เดินทางกลับบ้าน ปรากฏว่าคนแห่มากดไลค์ติดตามผม จาก 8,000 เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าเป็นเพื่อนผมไม่ได้ ก็เลยสร้างตั้งกลุ่มเพื่อรองรับกับคนที่ต้องการเป็นเพื่อนและเพื่อเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์ในการคัดค้านการตั้งด่านที่ไม่ถูกต้อง ตั้งเสร็จก็เปิดรับสมัครคนที่ร่วมอุดมการณ์เดียวกันคัดค้านการตั้งด่านที่ไม่ถูกต้องมาแชร์ประสบการณ์”
เกิดเป็นกลุ่ม ‘เกรียงไกรไทยอ่อนและเพื่อน’ เพื่อมุ่งหวังหาแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างถูกต้องและโปร่งใส โดยมีสมาชิกเข้าร่วมติดตามระดับเรือนครึ่งแสน ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแชร์ความรู้
“ไม่ได้ต้องการอยากจะดังหรือทำให้ตัวเองมีชื่อเสียง คือประชาชนโดนกระทำจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าใจว่าเป็นผู้มีอำนาจ คืออยากทำอะไรก็ทำในสมัยก่อน จนถึงปัจจุบันนี้ดีขึ้นหน่อย แต่ในสมัยก่อนนิดๆ หน่อยๆ ก็จับกุมคุมขัง ชาวบ้านกลัวมาก ชาวบ้านไม่มีองค์ความรู้เรื่องกฎหมาย ที่จะมีรู้ก็เฉพาะคนที่มีฐานะ จริงๆ กฎหมายต้องรู้ทุกคน แต่ไม่มีใครอออกมาบรรยายออกมาให้ความรู้ทางด้านกฎหมายแก่ประชาชนเลย ตรงนี้ชาวบ้านเลยเป็นผู้ถูกกระทำมาตลอด คือเท่าที่มีโอกาสอะไรก็จับหมด
“เขาก็เลยเข้าใจว่าผมน่าจะไปตรวจด่านนั้นนี้ๆ ให้หน่อย เหมือนผมเป็นผู้วิเศษไปแล้ว แต่ผมก็ไม่เคยไป จนวันที่ 3-4 พฤศจิกายน ผมจะไปยื่นหนังสือ เนื่องจากหลังมีกระแส ก็มีทั้งคนชมและคนด่า ผมก็เลยตัดสินใจไปยื่นหนังสือทั้งนายตำรวจและเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ามาต่อว่า ในตอนเข้าไปตั้งใจจะไปยื่นการตรวจสอบด่านที่จังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดที่หนึ่ง ที่ตั้งอยู่ติดกับไฟแดง แต่ในระว่างเดินทาง ดันเจออีกสองด่าน จริงๆ ไม่ได้ตั้งใจจะตรวจสอบหรอก ต้องการไปยืนหนังสือตรวจสอบไอ้พวกที่บอกว่าโง่อวดฉลาด
“ผมก็เดินทาง ก่อนไปก็บอกว่าใช่เส้นทางนี้ เส้นทางมิตรภาพ ก็ไปเจอด่านที่ท่าพระ ด่านแรก ไปถ่ายได้สัก 3 นาที เขาก็เลิกเลย คิดว่าเขาน่าจะวอวิทยุบอกกันว่าผมเป็นใคร ด่านจอหอ ขาลงมากรุงเทพฯ ก็เลิก หลังจากที่ผมถ่าย ผมก็ไปสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อยื่น พอเสร็จขากลับบ้าน ถ้าผมอยากดัง คนที่ให้ผมไปตรวจด่านโน้นนี้ อำเภอโน้นนี้ จังหวัดนั้นนี้ ผมต้องไปแล้ว แต่ผมไม่ไป อย่างด่านจอหอเห็นรถมันติด ก็น่าจะมีด่าน ก็เลยเอากล้องถ่ายขับรถมาบรรยายว่าน่าสงสัยน่าจะมีด่านเพราะรถมันติด ก็มาเจอด่านจริงๆ คือที่เจอผมระหว่างนั้นก็ไปศึกษามาว่าการตั้งด่านที่ถูกต้องมันจะต้อง
“หนึ่งเลย คือในระยะ 150 เมตร คุณต้องวางกรวย สอง มีป้ายหยุด สาม มีป้ายผู้รับผิดชอบด่าน ใครรับผิดชอบในด่านวันนี้ ต้องมีชื่อ ปรากฏว่ามาถึงที่จอหอ มันไม่มีอย่างที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามคำสั่งภายในต้องมี 1-2-3 มันไม่มี ไม่ครบ แต่เขาก็ไมได้เรียกผม ผมก็ไปแล้วก็ไปจอด ทีนี้จอดปุ๊บ ตำรวจเข้าใจผิดก็มาค้นรถผมเลย ซึ่งดูในคลิปก็จะเห็นมาค้นรถผมเลย ผมก็เลยไปถามร้อยตำรวจโท ยศในที่นั้นที่สูงที่สุด ผมขอดูใบอนุญาตการตั้งด่าน เขาก็บอกอยู่ที่โรงพัก ก็แสดงว่ามีใช่ไหม แล้วใบขับขี่ผมคือใบอนุญาต คำว่าอนุญาตมันต้องพก ผมก็ยังพก ฉะนั้นใบอนุญาตของคุณอยู่ที่โรงพักได้อย่างไร แสดงว่ามันมีการขออนุญาต มีบัตรอนุญาตถึงมาตั้ง แล้วถ้าขอดูไม่มี มันก็ไม่ทำตามหลักคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
“คือผมก็บอกว่าไม่ได้จัดการอะไร เพียงแต่ผมอยากจะไปสอบถามว่าด่านคุณถูกต้องหรือไม่ แค่นั้นเอง ผมไม่มีอำนาจอะไรเลยจะไปตรวจเขาได้ไง ถ้าไปแบบหยาบๆ ไปเจอทำร้ายจะทำอย่างไร ผมไม่มีอำนาจ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความถูกต้องลดลง ถ้ามีโอกาสก็จะไป จะทำ อย่างที่บอกว่าอยู่ตรงไหนก็อยากให้สังคมตรงนั้นดี เราจะต้องให้ความรู้และช่วยให้สังคมได้ก้าวเดินไปพร้อมกับเรา อยากให้ตื่นรู้ตระหนักแล้วรวมกันเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี แต่ผมไม่ได้ยุยงส่งเสริมให้คนทำผิดกฎหมาย ไม่ใช่”
แค่…นายเกรียงไกร ไทยอ่อน
ผู้อยู่ภายใต้กฎหมายเช่นเดียวกัน
“ตราบใดที่กฎหมายยังให้อำนาจเขา ไม่มีทางหมด ทำลายภาพพจน์การท่องเที่ยวด้วย เพราะถ้าเกิดไปจับรถนักท่องเที่ยว เขาก็ต้องถาม “อ้าว…เมืองไทยทำไมเป็นอย่างนี้” ทำลายกระทั่งเศรษฐกิจ คุณไม่ได้ประสงค์ดี คุณไม่ได้รักประเทศไทย แต่คุณรักตัวเองพวกพ้องตัวเองมากกว่า
“เรื่องด่านผิดกฎหมายจึงไม่มีทางหมด ถ้าไม่ปฏิรูปองค์กรของตำรวจแล้วเอาอำนาจนี้ไปสู่กรมการขนส่งทางบกดูแลหรือหน่วยงานไหนที่รับผิดชอบ แต่การที่เอาไปให้ใครก็แล้วแต่ คุณต้องฟังเสียงประชาชนบ้าง ต้องมีตัวแทนภาคประชาชนเข้าไป แต่ไม่เอาตัวแทนที่เอาเข้าไปแล้ว คุณโยนเงิน ก็เป็นสีเทาเหมือนพวกคุณ อันนั้นไม่ใช่ แต่ ณ ปัจจุบันการแสดงกฎหมาย คนไหนพูดเก่งเขียนเก่งไม่เอาไปหรอก ไม่มีทางเอาไป ถึงเอาไปก็ไปคัดค้านเขา จะเอาไปทำไม
“และต้องยกเลิกเงินส่วนแบ่งจากค่าปรับ เอาไปไหนก็ได้ ให้ยกเลิก ถ้าตรงนี้ยงมีอยู่มันก็เป็นแรงดึงดูดใจให้คนมาทำตรงนี้ โดยวิสัยของมนุษย์ คนทำงาน 8 ชั่วโมง ต้องกลับบ้านอยู่กับลูกเมีย แต่ด้วยแรงจูงใจที่ได้นอกจากเงินรางวัล อันนี้เป็นบริบทที่เกิดขึ้น นอกจากได้เงินส่วนแบ่งแล้ว ไอ้เงินส่วนที่ไม่แบ่งๆ อีกเท่าไหร่ สังคมรู้ นี่คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคม”
“ทีนี้ หลังจากมีกระแสการตั้งด่าน คัดค้านการตั้งด่าน ปรากฏว่าด่านเยอะมากขึ้นกวาเดิมอีก” เกรียงไกร เปิดเผยถึงทิศทางตรงกันข้ามกับสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้น
“ไม่ทราบว่าประชดหรือว่าอะไร แล้วก็จับหนักกว่าเดิมอีก ซึ่งการที่พวกคุณอ้างความชอบหรือวลีต่างๆ ที่พวกคุณประดิษฐ์ขึ้นมา มันสวนทางกับความรู้สึกภาคประชาชน ข้อเท็จจริงมันเปรากฎอยู่ในบริบทของสังคม ข้อเท็จจริงมันปรากฏอยู่ตามบริบทสังคมที่เกิดขึ้นว่า สิ่งที่คุณทำ คุณใช้อำนาจโดยมิชอบ เขาให้ใช้ดุลพินิจ คุณก็ไม่เคยใช้ แล้วลูกหลานที่ไปโรงเรียนที่ถูกจับ พ่อแม่เขาก็ทำมาหากินรับจ้างวันละ 300-350 บาท คุณจับปรับไป 100 บาท ใครให้ลูกไปใช่เงินวันละ 300 บาท ไม่มีหรอก อย่างเก่ง 50-100 บาท
“ถ้าออกกฎหมายมาอย่างนั้นสังคมมันอยู่ไม่ได้หรอก สังคมมันต้องมีเอื้ออาทร สังคมต้องมีอะลุ่มอล่วยกัน มีความเข้าอกเข้าใจ กฎหมายเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เอามาใช้ถ้าจำเป็น แต่ตำรวจไม่ได้จำเป็น ตำรวจจำเป็นต้องใช้ทุกคนเลย ต้องปรับทุกคนเลย เด็กที่มาโรงเรียนแล้วเงินได้เท่านั้น แล้วมันจะกินอะไร ถ้ามันไม่มีอะไรกิน มันไม่ปล่อยตัวเองอดตายหรอก มันก็ต้องไปเป็นโจร ไปลักเล็กขโมยน้อย นี่มันเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม
“แล้วสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันนี้ ด่านยิ่งเยอะเท่าไหร่ ด่านคือสัญลักษณ์ของประเทศที่ไม่พัฒนา ทำไมไม่เน้นความรู้ให้กับประชาชน แต่มาเน้นจับ ด่านจริงๆ เขาต้องใช้กล้องวงจรปิด CCTV แล้ว คุณก็ควรกลับไปองค์กรของคุณ กลับไปอะไรของคุณ ในการใช้เงินการตั้งด่านของคุณหวังเปอร์เซ็นต์มากกว่าที่จะป้องกันปราบปรามอาชญากรรม”
สิ่งที่ประชาชนควรรู้นอกจากพื้นฐานรู้กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับจราจร วิธีปฏิบัติในการใช้รถใช้ถนน ข้อควรรู้ การใช้รถ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ การสังเกตกาตั้งด่านที่ถูกต้องง่ายๆ จะต้องประกอบด้วย
1.ต้องมีแผงกั้นที่มีเครื่องหมายการจราจรว่า “หยุด” โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ด่านตรวจหรือจุดตรวจ
2.จะต้องมีในการติดตั้งป้ายและเครื่องหมายการจราจร และในเวลากลางคืนจะต้องให้มีแสงไฟส่องสว่างให้มองเห็นได้อย่าง ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตรก่อนถึงจุดตรวจ และให้มีแผ่นป้ายแสดงยศ ชื่อ นามสกุล และตำแหน่งของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประจำด่านตรวจและจุดตรวจดังกล่าว
3.ต้องมีตำรวจชั้นสัญญาบัตรยศ ร.ต.อ.ขึ้นไปประจำอย่างน้อย 1 คน และ4 จำนวนเจ้าหน้าต้องมี 5 นายขึ้นไป ฯลฯ
“คือปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ คำสั่งภายในของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่ประชาชนเข้าใจว่าด่านที่มีตำรวจถูกต้องหมดเลยนะ ที่ผ่านมา จริงๆ ไม่ใช่ ที่คุณบอกอ้างๆ ด่านจริงๆ มีไหมที่คุณไม่จับ พ.ร.บ.จราจรทางบก ไม่มี คุณจับ พ.ร.บ.จราจรอย่างเดียวเลย อย่างอื่นมันเป็นผลพลอยได้ จับของคุณคือจับ พ.ร.บ.จราจร หลักที่คุณตั้งไว้คือคุณบอกว่ามาเพราะต้องการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม แต่พอมาจับจริงๆ แล้ว หลักของคุณคือตั้งโต๊ะปรับอย่างเดียว
“การที่เจ้าหน้าที่จะมีอำนาจตาม ป.วิ.อาญา ปฐมเหตุมันต้องเกิดจากประชาชนเป็นผู้กระทำให้มันเกิด คำว่าประชาชนเป็นผู้ระทำให้มันเกิด คือว่าเหตุอันควรสงสัย บุคคลนี้ลุกลี้ลุกลนไหม บุคคลนี้เป็นอย่างนี้มันสงสัย อันนี้เขาก็จะมีอำนาจทันทีเลย แต่อยู่ๆ เขาขับมาดีๆ จะไปตรวจอย่างนั้นนี่ อันนั้นใช้ดุลพินิจหรือใช้โดยมิชอบแล้ว คุณไม่มีอำนาจแล้ว คุณมีอำนาจ อำนาจมันต้องเกิดขึ้นเองจากลักษณะหรือการกระทำของตัวประชาชนที่ทำให้เกิดมีอำนาจขึ้นมา
“ที่ผ่านมา ผมต้องการให้สังคมหรือว่าผู้ใช้รถถนนได้รู้ข้อกฎหมาย เขาก็เอามาอ้างว่า มาตรา พ.ร.บ.ทางหลวงปี พ.ศ.2529 แล้วก็กฤษฎีกากาตีความ ในเมื่อตัวแม่ถูกยกเลิกไปแล้ว แล้วกฤษฎีกาที่ตีความว่าให้คุณสามารถทำได้หรือไม่ได้มันน่าจะตายไปกับแม่ แต่กฎหมายใหม่เมื่อปี พ.ศ.2535 มันไม่มีตรงไหนที่ยกเว้นให้คุณ คือที่เขามี พ.ร.บ.ทางหลวงเนี่ย คือต้องการให้ผู้ใช้รถใช้ทางเกิดความสะดวกและปลอดภัย ซึ่งถ้าเกิดคุณจะทำ คุณต้องมีวิศวกรผู้มีความรู้ทางเรื่องถนนหนทางมาร่วมกันเรื่องตั้งด่านกับคุณ
“คุณอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายว่าการตั้งด่าน ตั้งจุดตรวจสกัดเพื่อจะเอามาปราบปรามและป้องกันอาชญากรรม อาชญากรรมอะไรของคุณ มันไม่ใช่ มันมีแต่ใบสั่งทั้งนั้นเลย มันไม่ใช่ปราบปรามและป้องกันอาชญากรรมแล้วล่ะ ไม่ใช่ ประชาชนไปที่ไหน เจอด่าน ไม่เกิน 5 กิโลเมตรเจอด่าน ซึ่งมันสวนทางกับหลักการ มันส่อเจตนาชัดเจน คุณแค่หวังยอดเงินค่าปรับจากการกระทำความผิดทาง พ.ร.บ.จราจร หรือเปล่า? ถามว่า อาชญากรหรือคนก่ออาชญากรรมหน้าไหนมันจะวิ่งเข้ามาหาด่าน ไม่มี ยิ่งรู้ว่ามีด่าน ยิ่งหนี ไม่มาหรอก”
เกรียงไกร กล่าวเสริมก่อนจะชี้ย้ำแนวทางออกแก้ไขให้มีความเที่ยงธรรม ความโปร่งใส และที่สำคัญคือยืนอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง
“วัตถุประสงค์ของผม คนที่เห็นตรงข้ามกับผมคือผู้ที่เสียผลประโยชน์หรือครอบครัวเจ้าหน้าที่ซึ่งเสียผลประโยชน์ เพราะว่าคัดค้านอะไร ผมไม่ได้คัดค้านการตั้งด่านนะ ไม่ใช่ ผมคัดค้านการตั้งด่านที่ไม่ถูกต้อง วัตถุประสงค์ของผมและกลุ่ม หนึ่งต้องมีการปฏิรูปองค์กรของตำรวจใหม่ สองต้องจับบุคลกรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปอบรมเรื่องจริยธรรมเรื่องธรรมาภิบาล เรื่องพรมวิหาร 4 ให้มันมีมากขึ้นกว่านี้
“ไม่ได้เรียกร้องอะไรมาก แค่ว่าให้สังคมประเทืองปัญญา อย่าเอาความสะใจเป็นที่ตั้ง แต่ที่ผมออกมาแฟนเพจเยอะเพราะผมพูดความจริงที่สังคมรับรู้ แล้วพอพูดออกไปตำรวจตราหน้ามาโต้ผม แต่แฟนเพจผมยิ่งเพิ่มเพราะเขาถูกกระทำ ในขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเขาจะเอาไปปรับใช้ ใช้วิกฤตเป็นโอกาส เขาก็ออกมาโต้ผมทุกดอก
“ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียตรงนี้เลยด้วย แต่อยากให้สังคมดีขึ้น หลายๆ คนก็ถามว่าผมกลัวไหม มีโดนข่มขู่หรือเปล่า ผมไม่มีกลัววิชามารที่เอาประวัติของผมมาเผยแพร่ในโลกออนไลน์ เอาประวัติผมที่เคยถูกกล่าวหาเป็นผู้ล่นไพ่ผสมสิบ แล้วก็เขียนประวัติผมโยงถูกบ้างผิดบ้าง ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ ประวัติในการเล่นไพ่ ศาลตัดสินยกฟ้องคดีสิ้นสุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ผมไม่ได้เล่น ผมสู้คดี ผมเป็นคนแรกในจังหวัดที่สู้คดีการพนันชนะ ก็เพราะผมไม่ได้เล่น ไม่ได้รับสารภาพ จะไปรับได้อย่างไร จ้างทนายตั้ง 1 หมื่นบาท แต่ค่าปรับ 500 จะไปจ้างทำไม ก็ผมไม่ได้เล่น จะให้ผมไปรับสารภาพได้อย่างไร
“ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายอันเดียวกัน รัฐธรรมนูญอันเดียวกัน แต่มันเป็นสิทธิในการแสดงออกที่จะแสดงความคิดเห็นอะไรต่างๆ ของผม ทุกคนมีความคิดที่จะแสดงได้ ถ้ามันผิดกฎหมาย คุณก็สามารถใช้สิทธิทางศาล บนกระบวนการยุติธรรม คุณก็ฟ้องร้องผมได้ แต่ปัจจุบันมาข่มขู่ เอาประวัติผมมาแฉ ซึ่งผมว่ามันไม่น่าจะเกิดจากองค์กรที่ชื่อว่าผู้พิทักษ์ ผู้บำรุงสุขประชาชน
“แล้วก็อยากจะฝากว่าขอบคุณทุกคน กำลังใจ ปัจจุบันนี้มีคนดูหลายหมื่นคน วันหนึ่งเป็นแสนแล้ว ก็แสดงว่าสังคมควรจะแก้ไขปัญหาตรงนี้อย่างไร เคยมาดูไหมว่ากดไลค์ คอมเม้นท์อย่างไร คุณก็ไปฟังแต่ลูกน้อง 3 คนรายงาน แต่ไม่เคยฟังประชาชนเป็นแสนคนเขาพูด มันเกิดอะไรขึ้นกับสังคมของคุณ”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : เกรียงไกร ไทยอ่อน