xs
xsm
sm
md
lg

ชี้ “ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป” ไม่ใช่คำราชาศัพท์ แต่ใช้ได้เพราะเป็นข้อความจากบทเพลง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ชี้คำว่า “ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป” หรือ “ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป” ตามหลักการถือว่า “ไม่ใช่คำราชาศัพท์” แต่สามารถใช้ได้ เพราะเจตนาและการเยียวยาหัวใจคนไทยที่สูญเสียสำคัญกว่า ส่วนราชบัณฑิตยสภาถือว่าเป็น “ข้อความจากบทเพลง”

เฟซบุ๊ก Pong Sukritta ได้โพสต์ข้อความถึงการใช้คำว่า “ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป” หรือ “ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป” เพื่อสำนักในพระมหากรุณาธิคุณ หลังพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สวรรคตเมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2559 โดยระบุว่า

ว่าด้วยเรื่องคำว่า “ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป” หรือ “ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป” จะใช้คำไหน อะไรคือถูก

เฉลยคือ ว่ากันตามหลักการคำราชาศัพท์แล้ว ทั้งสองคำ ถือว่าผิดหลักการตั้งแต่ต้น ถือว่า “ไม่ใช่คำราชาศัพท์” ที่มีผู้นำมาใช้เพราะตัดมาจากเนื้อเพลงที่เราต่างคุ้นหูกัน เกิดการส่งต่อ ๆ กัน

แต่ในห้วงเวลาแบบนี้ เจตนาและการเยียวยาหัวใจคนไทยที่สูญเสีย สำคัญกว่าหลักการนัก อีกทั้งเมื่อแปลโดยใช้หัวใจ กลับเป็นคำที่แทนใจได้ดี ราชบัณฑิตสภาเลยถือว่าเป็นข้อความจากบทเพลงไป จะใช้ก็ไม่ผิด แต่ให้เข้าใจตรงกันว่าไม่ใช่ราชาศัพท์นะคะ

ฝากไว้เป็นข้อมูล เพราะถือเป็นอีกหนึ่งคำฮิตที่ถามหลังไมค์กันมาค่ะ






อนึ่ง สำหรับเพลง “ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป” ประพันธ์โดย นายนิติพงษ์ ห่อนาค ขับร้องโดย นายอัสนี โชติกุล และ นายวสันต์ โชติกุล เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2554 โดยก่อนหน้านี้ได้เคยแต่งเพลง ต้นไม้ของพ่อ เมื่อปี พ.ศ. 2539, เพลง ของขวัญจากก้อนดิน เมื่อปี พ.ศ. 2542 และเพลง รูปที่มีทุกบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2550
กำลังโหลดความคิดเห็น