จากความสงสัยที่เกี่ยวกับความสมดุลของเหลวในหลอดลิงค์ฉีดวัคซีน จึงทำให้เด็กหนุ่มคนหนึ่งได้ทำการทดลองในหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อที่คลายข้อข้องใจนั้น และการทดลองนั้น ก็นำพาให้เขา ได้พบกับความเปลี่ยนแปลงในชีวิตของตนเอง นับตั้งแต่การตั้งคำถามนี้เกิดขึ้นมา...
เพราะสิ่งนั่น ได้ทำให้ วรวุฒิ จันทร์หอม หรือ มอส นักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 2 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ได้กลายเป็นเจ้าของผลงานนามว่า “Capillary in Zero gravity” โดยได้รับการคัดเลือกผลงานจาก องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA) ให้ได้รับการทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงบนสถานีอวกาศนอกโลกของจริง ซึ่งนำความภาคภูมิใจให้กับตัววรวุฒิเอง และ วงการวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก
ถึงแม้ว่าผลงานชิ้นนี้จะเป็นผลงานเอกของเจ้าตัวเองก็ตาม แต่วรวุฒิก็ยังมีความฝันส่วนตัวเล็กๆ นั่นคือ การได้เข้าทำงานที่เกี่ยวกับอวกาศ เนื่องจากเป็นความฝันส่วนตัวของเขา และยิ่งกว่านั้น หากเป็นไปได้ เขาก็อยากที่จะต่อยอดงานวิจัยชิ้นนี้ ให้มีความก้าวหน้าและหาบทสรุปที่แท้จริงต่อไปให้ได้ ตามหลักโครงงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นไปตามหลักของมันเอง...
• ที่มาที่ไปของงานทดลองชิ้นนี้ เริ่มจากอะไรครับ
แรกเริ่มมาจาก ผมได้ทำแล็ปทางเคมีในรายวิชาเรียนครับ เลยเอาของเหลวมาใส่ในกระบอกตวงแก้วดู จากนั้นผมก็ลองอ่านของค่าดู แล้วพบว่าผิวน้ำมันเว้าลง ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าจะอ่านจากจุดไหน ตรงจุดท้องหรือขอบของมัน จนอาจารย์บอกว่าให้อ่านตรงท้องมัน ผมก็สงสัยว่าจะได้ตรงตามปริมาตรจริงมั้ย ก็เลยไปดูว่าทำไมมันถึงเว้า ผมก็เลยไปค้นคว้าเพิ่มเติมจากความสงสัยนี้ ปรากฏว่า มันก็มีแรงยึดติด (Adhesive Force) กับ แรงเชื่อมแน่น (Cohesive Force) ซึ่งในนั้นมันมีสมการของมันออกมาจะมีค่าข้อมูลที่เว้าลงกับเว้าขึ้นครับ ก็เลยเข้าไปดู แล้วในนั้นมันมีก็จะมีแรงโน้มถ่วง (Gravity) อยู่ด้วย ผมเลยคิดว่า ถ้าแรงจีมันหายไป ความเว้านูนของของเหลวมันจะเปลี่ยนไปจากบนโลกมั้ย
ซึ่งในนั้นก็มีหลายปัจจัย ทั้งจากวัสดุที่เป็นพลาสติกหรือวัสดุเป็นแก้ว แล้วถ้าเราไปใส่ในวัสดุที่ต่างกัน ก็มีความเว้านูนที่ต่างกัน แต่ผมลองเอาใส่ในพลาสติกดู ซึ่งถ้าเป็นพลาสติกอย่างงี้มันจะตรงพอดี ถ้าน้ำมันจะเว้านิดหนึ่ง แต่ถ้าไปใส่หลอดเล็กๆ ซึ่งในสมการนี้ มันจะขึ้นอยู่กับค่ารัศมีของตัวนี้ด้วย ถ้ารัศมีเล็ก เราก็จะเห็นว่ามันนูนลงมากๆ ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับน้ำกับน้ำมันด้วย ก็เลยคิดว่าถ้าเอาไปทดลองในอวกาศ มันจะนูนหรือเว้าลงหรือเปล่า เพราะว่า ผมเห็นจากวีดีโอคลิปในอวกาศที่พบว่าเห็นเป็นน้ำกลมๆ เลยอยากลองเอาไปทดลองในอวกาศดู ก็เลยสมัครในโครงการนี้เข้าไป เพราะว่า JAXA บอกว่า ถ้าจะทดลอง เขามีอุปกรณ์มาให้ คือเขามาให้ 2 หน้ากระดาษเอสี่ แล้วให้เราเลือกใช้ในนั้น กับเข้ากับการทดลองในนั้น ผมก็เลยเลือกเอาพลาสติกลักษณะดังกล่าวมาดูดน้ำแล้วดูดของเหลวอื่นๆ ครับ
• หลักการทำงานของการทดลองและผลสรุปเบื้องต้นนี้เป็นยังไงครับ
คือมันจะมีของเหลวที่มีความเข้มข้นที่ต่างกัน 3 ชนิดครับ ได้แก่ น้ำเปล่า น้ำผลไม้ และ น้ำมันประมาณน้ำมันพืชครับ ซึ่งทั้งหมดมันจะมีความเข้มข้นที่ต่างกัน เพราะฉะนั้นมันก็จะมีค่ามุมข้างๆน่ะครับที่ต่างกันไปด้วย แล้วก็หลังจากเอาไปทดลองในอวกาศเสร็จ ผลปรากฏว่า น้ำเปล่ากับน้ำผลไม้จะมีลักษณะที่นูนเล็กน้อย แล้วน้ำมันก็จะเว้าลงมาก ซึ่งผลแบบนี้ก็ต้องหาข้อพิสูจน์กันต่อไปครับว่าทำไมเป็นแบบ แต่เราก็ต้องหาต่อไปว่าทำไมเป็นแบบนั้น ซึ่งเราจะได้สร้างสมการใหม่ต่อไป เผื่อเขาเอาไปใช้ในอวกาศ
• จากผลการทดลองที่เป็นอย่างงี้ เราคิดวิเคราะห์ว่ามันเป็นเพราะอะไร
ผมคิดว่ามันมีอย่างหนึ่งครับ ที่แรงโน้มถ่วงของโลกมันจะมีผล เนื่องจาก ถ้าอยู่บนโลกมันตรง แต่พอไปนอกโลก อุปกรณ์เหมือนกัน ของเหลวเหมือนกัน มันกลับนูนขึ้นครับ และก็มีการเว้าลง แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างแล้ว ฉะนั้นแรงโน้มถ่วงนี้มันจะมีผลครับ เพราะถ้าเราตัดตัวแปรออก ตัดพลาสติกออกได้ ความเว้านูนก็ต่างกันแล้ว แต่พอเป็นแบบนี้ เหมือนกันทุกอย่าง ความเว้านูนก็ตัดออกไป ของเหลวก็ชนิดเดียวกันก็ตัดออกไปได้ ฉะนั้นก็เหลืออย่างเดียวคือแรงโน้มถ่วงของโลก มันเลยมีผลต่อการทดลองต่อชิ้นนี้ครับ
• ทำไมถึงนำของเหลว 3 ชนิดนี้มาในการทดลองครับ
ตอนแรกที่ผมส่งไป คือ น้ำเปล่าอย่างเดียว แต่ทาง JAXA ก็ให้ความเห็นกลับมาว่า ควรเอาของเหลวหลายๆ ชนิดดีกว่า เพื่อที่จะได้เห็นความแตกต่าง ซึ่งผมก็ไม่ได้ส่งน้ำมันไป เพราะคิดว่า น้ำมันมันเป็นอันตรายต่ออวกาศ แต่ท้ายที่สุดทาง JAXA ก็ให้เราทำครับ ซึ่งพอส่งชิ้นนี้ไป ก็ได้รับคัดเลือกให้ไปที่นั่น ซึ่งประเทศไทยส่งแข่งทั้งหมด 24 ทีม แต่จะมีการคัดเลือกก่อน ซึ่งรุ่นของผมจะเป็นรุ่นอายุเกิน 19 ปี มีทั้งหมด 4 คน 4 ทีม ส่วนรุ่นอายุต่ำกว่า 19 มี 20 ทีม ซึ่งทั้ง 24 ทีม จะให้นักวิจัยไทยคัดไป 3 ทีม ปรากฏว่ารุ่นผม มีผมแค่คนเดียว กับ รุ่นต่ำกว่า 19 ปี อีก 2 ทีม เท่ากับว่าเป็นตัวแทนประเทศไทยเป็น 3 ทีม นอกจากนี้ก็มีของต่างประเทศที่ไปอีก สุดท้าย JAXA ก็คัดจากทั้งหมด ให้เหลือ 5 การทดลอง จนการทดลองของผมได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 5 ทีม ที่ได้ไปทดลองในอวกาศครับ
• ทีนี้อยากให้ทางเราย้อนไปถึงความสนใจแรกสุดหน่อยครับ ว่าทำไมถึงสนใจหลักวิทยาศาสตร์และอวกาศได้
ผมสนใจทั้ง 2 หลักนี้มาตั้งแต่ ม.ต้น ครับ คือเริ่มสนใจทางด้านดวงดาว และ ด้านนอกโลก แต่จุดที่สนใจในด้านนี้ก็คือ จะเป็นตอนโอลิมปิกวิชาการครับ ตอนนั้นอยู่ชั้น ม.2 เราก็สมัครโครงการนี้ไป แล้วอ่านหนังสือไปเรื่อยๆ เลยรู้สึกชอบครับ แต่ว่าก็ยังสอบไม่ติด จนกระทั่งมาติดอีกทีก็ตอน ม.4 ครับ คือ ตอน ม.4 ก็ไปเข้าค่ายดูดาว และเคยได้ไประดับประเทศครับ เป็นตัวแทนของศูนย์จากเชียงใหม่ครับ ก็ได้ไปแข่งในระดับประเทศครับ ก็เลยสนใจตั้งแต่นั้นมา ถามว่าทำไมถึงชอบทางด้านอวกาศ คงเป็นเพราะผมเชื่อว่ามันเป็นอะไรที่แบบว่าน่าค้นหามากๆครับเนื่องจากในโลกนั้นค้นพบกันเยอะแล้ว แต่ถ้าเราไปค้นอะไรเกี่ยวกับนอกโลกครับ มันก็ดูเป็นอะไรที่น่าค้นหาครับ และเราไม่เคยเจอซึ่งเป็นสิ่งแปลกด้วย
• บุคคลที่คิดว่าเป็นแรงบันดาลใจให้เราในด้านนี้คือใครครับ
เป็นครูตอนสมัยผมอยู่ ม. ต้นครับ ชื่อครูกัญจนา อักษรดี คนนี้คือคนที่เปลี่ยนชีวิตให้ผมเลย เพราะท่านให้ผมทำโครงงานมาตั้งแต่ ม.1 คือให้เราทำงานตั้งแต่ ตี 1 ตี 2 คือเราอยากรู้อะไร เขาก็จะสอนครับ อาจจะมีดุด่าบ้าง แต่ท่านก็เป็นคนที่เปลี่ยนให้เรามาชอบทางด้านนี้ครับ ซึ่งท่านก็บอกว่าให้เรียนสูงๆ ทำวิจัยให้เยอะ และควรเรียนในนอกห้องเรียนด้วย มีโครงการอะไรมาก็ให้สมัครครับ เพราะเป็นการเสริมประสบการณ์ข้างนอก เพราะว่าการได้ลงมือทำมันจะได้อะไรมากกว่าเรียนทฤษฎีอย่างเดียวครับ คือส่วนแรกก็เรียนไปส่วนหนึ่ง แต่ความรู้ส่วนมากก็จะได้จากความรู้ที่เราทำครับ พอมีค่ายต่างๆ ก็สมัครไปๆ ครับ มันก็เป็นประสบการณ์ที่ติดตัวไป
• คือเรากำลังจะพูดว่า การได้ทดลองวิทยาศาสตร์ มันช่วยเพิ่มทักษะให้กับเรา
ใช่ครับ ตอน ม.ต้นนี่คือคลุกคลีกับงานวิจัยนี่คือเยอะพอสมควร ซึ่งเป็นการทำงานวิจัยที่จริงจังเลย คือลงพื้นที่เลย สมมุติว่าถ้าไปสวนยาง ก็นั่งรถกระบะของ อาจารย์ นั่งเข้าไปดู แล้วก็ไปเก็บข้อมูล อะไรอย่างงี้ครับ แต่ถามว่าแลกกับชีวิตในช่วงนั้นมั้ย ผมว่ามันก็สนุกในส่วนหนึ่งครับ คือทำวิจัยไปด้วย เรียนไปด้วย อยู่กับเพื่อนๆ ทั้งวัน เพราะเขาก็อยู่แบบเดียวกับเราน่ะครับ ก็ไปเที่ยวด้วยกัน ซึ่งในระหว่างการทำวิจัยมันก็เหนื่อยครับ แต่ผลที่ได้ออกมา มันภูมิใจมากกว่า แล้วก็ถ้าเราไปทำงานอะไรพวกนี้ครับ มันก็ทำให้เรามีประสบการณ์จากก่อนหน้านั้นไงครับ มันก็ทำให้เราทำงานได้อย่างสบาย และเป็นระบบมากขึ้น เพราะผมคิดว่าการทำโครงงาน มันทำให้เราคิดเป็นระบบ ก็จะเป็นขั้นเป็นตอน แล้วเราทำไป เราก็จะเห็นข้อผิดพลาดของมัน แล้วเราเอาข้อผิดพลาดเหล่านั้นมาแก้ไขในงานต่อๆ ไป เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ดีมาก (หัวเราะเบาๆ)
• ทีนี้ กลับมาที่ การที่ได้ไปห้องทดลอง อยากให้เราช่วยเล่าถึงตรงนี้หน่อยครับว่าเป็นอย่างไรบ้าง
พอเข้าไปในห้อง Control Room ของที่นั่น ความรู้สึกจะเหมือนในภาพยนตร์ประเภทอวกาศเลยครับ เพราะในนั้นจะมีแบบอุปกรณ์เยอะๆ เต็มไปหมดเลย แล้วก็จะมีจอขององค์การนาซาด้วย เพราะทางนาซากับ JAXA เขาทำงานร่วมกัน จึงทำให้เราเห็นการทดลองของที่นั่นด้วยครับ และได้เห็นภาพสดๆ จากนอกโลก ซึ่งพอได้เห็น ณ ตรงนั้น มีความรู้สึกประทับใจครับ แถมยังมีเหตุการณ์เซอร์ไพรส์ด้วยครับ คือ จะมีนักบินอวกาศของปีที่แล้วที่เพิ่งลงมาครับ แล้วเขาเดินเข้ามาในห้อง และทักทายครับ (หัวเราะเบาๆ) ความรู้สึกนี่คือ เราได้เห็นเขาจากปีที่แล้วในคลิปอยู่เลย แต่ปีนี้มาอยู่ตรงหน้าเรา พูดคุยกับเรา ก็รู้สึกดีใจครับ
ส่วนความรู้สึกเกี่ยวกับผลการทดลอง ผมก็รู้สึกตื่นเต้นมากครับ เพราะว่าเราสื่อสารกับเขาได้ เขาอยู่ในอวกาศ แต่เราอยู่บนโลก เวลาที่จะให้เขาทำอะไร เราก็สามารถบอกเขาได้ ส่วนการทดลองนั้น เขาก็กล่าวของคุณเราที่ส่งแนวคิดผลการทดลองมา ส่วนความรู้สึกก็ดีใจมากที่มันต่างจากโลก เพราะว่า ประเทศอื่นๆ เขาจะเป็นการทดลองที่ผลเหมือนกันเลย แต่มีแค่ของเราที่ต่างจากบนโลกน่ะครับ
• แน่นอนว่า พอเรากลับมา ก็ได้ถูกพูดถึงเต็มไปหมดเลย ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ ต่างกันลิบลับ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นได้
ผมว่าประเทศไทยไม่ค่อยให้ความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ซักเท่าไหร่ เพราะเขาคิดว่าวิทยาศาสตร์มันน่าเบื่อ และการทำวิจัยมันเป็นเรื่องที่ไกลตัว แถมงานวิจัยก็จะถูกเก็บไว้ขึ้นหิ้ง เก็บไว้ ไม่สามารถเอามาต่อยอด ส่วนปัจจัยอื่น ผมคิดว่าน่าจะเป็นทางด้านการสนับสนุนครับ ซึ่งถือว่ามีน้อย และการประชาสัมพันธ์ในด้านนี้ ยังถือว่าน้อยมาก เด็กๆ เลยไม่รู้ว่ามีโครงการนี้นะ จะรู้แค่ในวงแคบ เลยมีแค่เฉพาะกลุ่มเด็กที่สมัคร แต่เด็กส่วนใหญ่ในประเทศจะไม่รู้ว่ามีแต่ละโครงการวิทยาศาสตร์อยู่ด้วย
อีกอย่าง ผมคิดว่าถ้าผมไม่ได้เดินสายทางด้านนี้ ผมก็จะไม่รู้จักโครงการลักษณะนี้เลย เคยมีรุ่นน้องมาถามเหมือนกันว่า มีโครงการลักษณะแบบนี้ด้วยเหรอ คือเราต้องค้นหาผมสมควร กว่าที่เราจะรู้น่ะครับ เพราะสื่อไทยยังไม่เผยแพร่ในหมวดนี้เยอะเท่าที่ควร แบบเช่น โครงการนี้เป็นโครงการใหญ่ แต่ไม่ได้เปิดรับสมัครเท่าที่ควร แค่ออกทางเฟสบุ๊กและโลกออนไลน์ ซึ่งอาจจะทำให้น้องๆ บางส่วนก็ยังเข้าไม่ถึงเท่าที่ควร เพราะเขาไม่รู้ว่าเรียนวิทยาศาสตร์แล้วได้รางวัลมาแต่จะทำไปเพื่ออะไร เขาไม่มีเป้าหมายน่ะครับ ว่าจะต่อยอดยังไง คือจะมีคนที่สร้างชื่อก่อนหน้าผมเยอะมาก แต่ก็ไม่ได้ถูกพูดถึงอะไรเลย แต่พอข่าวผมออกมาก็รู้สึกแปลกๆ เหมือนกัน
• ความคาดหวังของเราสำหรับวิทยาศาสตร์และอวกาศของเราครับ
อยากให้ ประเทศไทยมีการสนับสนุนทางด้านอวกาศเยอะ เพราะตอนนี้ยังเห็นน้อยมากที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนี้ ซึ่งแตกต่างกับประเทศอื่นทื่มีการสนับสนุนในด้านนี้เยอะ ผมเคยไปโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นโรงเรียนเล็กๆ แต่ว่ามีหอดูดาวข้างบนตึกเรียนของเขาเลย เมื่อเทียบกับประเทศไทย ที่แทบจะไม่มีสิ่งเกี่ยวข้องกับอวกาศ ซึ่งผมคิดว่าในอนาคตมันจำเป็นในการพัฒนาประเทศ ซึ่งถ้าเรามีสิ่งนี้มากๆ จะยกระดับทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เยอะมาก
แต่ในปัจจุบันนี้ยังมีน้อยมาก เพราะว่า ถ้าเราเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ถือว่ามีน้อยมาก แค่สายวิชาที่เรียน มันจะไม่ค่อยมีตกแขนงเท่าไหร่ จึงทำให้ต้องไปเรียนที่เมืองนอกเนื่องจากจะมีการเรียนการสอนในแขนงนี้โดยเฉพาะ แต่ประเทศไทย จะมีแค่โดยจำกัด ซึ่งมันก็ไม่ตรงสายจริงๆ บ้านเรามันจะเป็นแบบ เข้าทางหนึ่ง แล้วก็ไปประยุกต์อีกทาง ซึ่งมันก็ไม่ได้เจาะลึกกว่าเรื่องที่เราอยากจะเรียนจริงๆ ผมเลยคิดว่าเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้เด็กไทยไม่สนใจทางด้านนี้ครับ เพราะว่าจบไปแล้วจะทำงานด้านนี้ยังไง คือไม่มีที่ทำงาน คือสมมุติว่าเรียนจบอวกาศไป แต่ประเทศไทยไม่มีหน่วยงานรองรับในด้านนี้ และตกงาน จึงทำให้คนคิดว่าไม่รู้จะเรียนไปทำไม ทำให้คนสนใจน้อยครับ
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : วชิร สายจำปา
เพราะสิ่งนั่น ได้ทำให้ วรวุฒิ จันทร์หอม หรือ มอส นักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 2 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ได้กลายเป็นเจ้าของผลงานนามว่า “Capillary in Zero gravity” โดยได้รับการคัดเลือกผลงานจาก องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA) ให้ได้รับการทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงบนสถานีอวกาศนอกโลกของจริง ซึ่งนำความภาคภูมิใจให้กับตัววรวุฒิเอง และ วงการวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก
ถึงแม้ว่าผลงานชิ้นนี้จะเป็นผลงานเอกของเจ้าตัวเองก็ตาม แต่วรวุฒิก็ยังมีความฝันส่วนตัวเล็กๆ นั่นคือ การได้เข้าทำงานที่เกี่ยวกับอวกาศ เนื่องจากเป็นความฝันส่วนตัวของเขา และยิ่งกว่านั้น หากเป็นไปได้ เขาก็อยากที่จะต่อยอดงานวิจัยชิ้นนี้ ให้มีความก้าวหน้าและหาบทสรุปที่แท้จริงต่อไปให้ได้ ตามหลักโครงงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นไปตามหลักของมันเอง...
• ที่มาที่ไปของงานทดลองชิ้นนี้ เริ่มจากอะไรครับ
แรกเริ่มมาจาก ผมได้ทำแล็ปทางเคมีในรายวิชาเรียนครับ เลยเอาของเหลวมาใส่ในกระบอกตวงแก้วดู จากนั้นผมก็ลองอ่านของค่าดู แล้วพบว่าผิวน้ำมันเว้าลง ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าจะอ่านจากจุดไหน ตรงจุดท้องหรือขอบของมัน จนอาจารย์บอกว่าให้อ่านตรงท้องมัน ผมก็สงสัยว่าจะได้ตรงตามปริมาตรจริงมั้ย ก็เลยไปดูว่าทำไมมันถึงเว้า ผมก็เลยไปค้นคว้าเพิ่มเติมจากความสงสัยนี้ ปรากฏว่า มันก็มีแรงยึดติด (Adhesive Force) กับ แรงเชื่อมแน่น (Cohesive Force) ซึ่งในนั้นมันมีสมการของมันออกมาจะมีค่าข้อมูลที่เว้าลงกับเว้าขึ้นครับ ก็เลยเข้าไปดู แล้วในนั้นมันมีก็จะมีแรงโน้มถ่วง (Gravity) อยู่ด้วย ผมเลยคิดว่า ถ้าแรงจีมันหายไป ความเว้านูนของของเหลวมันจะเปลี่ยนไปจากบนโลกมั้ย
ซึ่งในนั้นก็มีหลายปัจจัย ทั้งจากวัสดุที่เป็นพลาสติกหรือวัสดุเป็นแก้ว แล้วถ้าเราไปใส่ในวัสดุที่ต่างกัน ก็มีความเว้านูนที่ต่างกัน แต่ผมลองเอาใส่ในพลาสติกดู ซึ่งถ้าเป็นพลาสติกอย่างงี้มันจะตรงพอดี ถ้าน้ำมันจะเว้านิดหนึ่ง แต่ถ้าไปใส่หลอดเล็กๆ ซึ่งในสมการนี้ มันจะขึ้นอยู่กับค่ารัศมีของตัวนี้ด้วย ถ้ารัศมีเล็ก เราก็จะเห็นว่ามันนูนลงมากๆ ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับน้ำกับน้ำมันด้วย ก็เลยคิดว่าถ้าเอาไปทดลองในอวกาศ มันจะนูนหรือเว้าลงหรือเปล่า เพราะว่า ผมเห็นจากวีดีโอคลิปในอวกาศที่พบว่าเห็นเป็นน้ำกลมๆ เลยอยากลองเอาไปทดลองในอวกาศดู ก็เลยสมัครในโครงการนี้เข้าไป เพราะว่า JAXA บอกว่า ถ้าจะทดลอง เขามีอุปกรณ์มาให้ คือเขามาให้ 2 หน้ากระดาษเอสี่ แล้วให้เราเลือกใช้ในนั้น กับเข้ากับการทดลองในนั้น ผมก็เลยเลือกเอาพลาสติกลักษณะดังกล่าวมาดูดน้ำแล้วดูดของเหลวอื่นๆ ครับ
• หลักการทำงานของการทดลองและผลสรุปเบื้องต้นนี้เป็นยังไงครับ
คือมันจะมีของเหลวที่มีความเข้มข้นที่ต่างกัน 3 ชนิดครับ ได้แก่ น้ำเปล่า น้ำผลไม้ และ น้ำมันประมาณน้ำมันพืชครับ ซึ่งทั้งหมดมันจะมีความเข้มข้นที่ต่างกัน เพราะฉะนั้นมันก็จะมีค่ามุมข้างๆน่ะครับที่ต่างกันไปด้วย แล้วก็หลังจากเอาไปทดลองในอวกาศเสร็จ ผลปรากฏว่า น้ำเปล่ากับน้ำผลไม้จะมีลักษณะที่นูนเล็กน้อย แล้วน้ำมันก็จะเว้าลงมาก ซึ่งผลแบบนี้ก็ต้องหาข้อพิสูจน์กันต่อไปครับว่าทำไมเป็นแบบ แต่เราก็ต้องหาต่อไปว่าทำไมเป็นแบบนั้น ซึ่งเราจะได้สร้างสมการใหม่ต่อไป เผื่อเขาเอาไปใช้ในอวกาศ
• จากผลการทดลองที่เป็นอย่างงี้ เราคิดวิเคราะห์ว่ามันเป็นเพราะอะไร
ผมคิดว่ามันมีอย่างหนึ่งครับ ที่แรงโน้มถ่วงของโลกมันจะมีผล เนื่องจาก ถ้าอยู่บนโลกมันตรง แต่พอไปนอกโลก อุปกรณ์เหมือนกัน ของเหลวเหมือนกัน มันกลับนูนขึ้นครับ และก็มีการเว้าลง แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างแล้ว ฉะนั้นแรงโน้มถ่วงนี้มันจะมีผลครับ เพราะถ้าเราตัดตัวแปรออก ตัดพลาสติกออกได้ ความเว้านูนก็ต่างกันแล้ว แต่พอเป็นแบบนี้ เหมือนกันทุกอย่าง ความเว้านูนก็ตัดออกไป ของเหลวก็ชนิดเดียวกันก็ตัดออกไปได้ ฉะนั้นก็เหลืออย่างเดียวคือแรงโน้มถ่วงของโลก มันเลยมีผลต่อการทดลองต่อชิ้นนี้ครับ
• ทำไมถึงนำของเหลว 3 ชนิดนี้มาในการทดลองครับ
ตอนแรกที่ผมส่งไป คือ น้ำเปล่าอย่างเดียว แต่ทาง JAXA ก็ให้ความเห็นกลับมาว่า ควรเอาของเหลวหลายๆ ชนิดดีกว่า เพื่อที่จะได้เห็นความแตกต่าง ซึ่งผมก็ไม่ได้ส่งน้ำมันไป เพราะคิดว่า น้ำมันมันเป็นอันตรายต่ออวกาศ แต่ท้ายที่สุดทาง JAXA ก็ให้เราทำครับ ซึ่งพอส่งชิ้นนี้ไป ก็ได้รับคัดเลือกให้ไปที่นั่น ซึ่งประเทศไทยส่งแข่งทั้งหมด 24 ทีม แต่จะมีการคัดเลือกก่อน ซึ่งรุ่นของผมจะเป็นรุ่นอายุเกิน 19 ปี มีทั้งหมด 4 คน 4 ทีม ส่วนรุ่นอายุต่ำกว่า 19 มี 20 ทีม ซึ่งทั้ง 24 ทีม จะให้นักวิจัยไทยคัดไป 3 ทีม ปรากฏว่ารุ่นผม มีผมแค่คนเดียว กับ รุ่นต่ำกว่า 19 ปี อีก 2 ทีม เท่ากับว่าเป็นตัวแทนประเทศไทยเป็น 3 ทีม นอกจากนี้ก็มีของต่างประเทศที่ไปอีก สุดท้าย JAXA ก็คัดจากทั้งหมด ให้เหลือ 5 การทดลอง จนการทดลองของผมได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 5 ทีม ที่ได้ไปทดลองในอวกาศครับ
• ทีนี้อยากให้ทางเราย้อนไปถึงความสนใจแรกสุดหน่อยครับ ว่าทำไมถึงสนใจหลักวิทยาศาสตร์และอวกาศได้
ผมสนใจทั้ง 2 หลักนี้มาตั้งแต่ ม.ต้น ครับ คือเริ่มสนใจทางด้านดวงดาว และ ด้านนอกโลก แต่จุดที่สนใจในด้านนี้ก็คือ จะเป็นตอนโอลิมปิกวิชาการครับ ตอนนั้นอยู่ชั้น ม.2 เราก็สมัครโครงการนี้ไป แล้วอ่านหนังสือไปเรื่อยๆ เลยรู้สึกชอบครับ แต่ว่าก็ยังสอบไม่ติด จนกระทั่งมาติดอีกทีก็ตอน ม.4 ครับ คือ ตอน ม.4 ก็ไปเข้าค่ายดูดาว และเคยได้ไประดับประเทศครับ เป็นตัวแทนของศูนย์จากเชียงใหม่ครับ ก็ได้ไปแข่งในระดับประเทศครับ ก็เลยสนใจตั้งแต่นั้นมา ถามว่าทำไมถึงชอบทางด้านอวกาศ คงเป็นเพราะผมเชื่อว่ามันเป็นอะไรที่แบบว่าน่าค้นหามากๆครับเนื่องจากในโลกนั้นค้นพบกันเยอะแล้ว แต่ถ้าเราไปค้นอะไรเกี่ยวกับนอกโลกครับ มันก็ดูเป็นอะไรที่น่าค้นหาครับ และเราไม่เคยเจอซึ่งเป็นสิ่งแปลกด้วย
• บุคคลที่คิดว่าเป็นแรงบันดาลใจให้เราในด้านนี้คือใครครับ
เป็นครูตอนสมัยผมอยู่ ม. ต้นครับ ชื่อครูกัญจนา อักษรดี คนนี้คือคนที่เปลี่ยนชีวิตให้ผมเลย เพราะท่านให้ผมทำโครงงานมาตั้งแต่ ม.1 คือให้เราทำงานตั้งแต่ ตี 1 ตี 2 คือเราอยากรู้อะไร เขาก็จะสอนครับ อาจจะมีดุด่าบ้าง แต่ท่านก็เป็นคนที่เปลี่ยนให้เรามาชอบทางด้านนี้ครับ ซึ่งท่านก็บอกว่าให้เรียนสูงๆ ทำวิจัยให้เยอะ และควรเรียนในนอกห้องเรียนด้วย มีโครงการอะไรมาก็ให้สมัครครับ เพราะเป็นการเสริมประสบการณ์ข้างนอก เพราะว่าการได้ลงมือทำมันจะได้อะไรมากกว่าเรียนทฤษฎีอย่างเดียวครับ คือส่วนแรกก็เรียนไปส่วนหนึ่ง แต่ความรู้ส่วนมากก็จะได้จากความรู้ที่เราทำครับ พอมีค่ายต่างๆ ก็สมัครไปๆ ครับ มันก็เป็นประสบการณ์ที่ติดตัวไป
• คือเรากำลังจะพูดว่า การได้ทดลองวิทยาศาสตร์ มันช่วยเพิ่มทักษะให้กับเรา
ใช่ครับ ตอน ม.ต้นนี่คือคลุกคลีกับงานวิจัยนี่คือเยอะพอสมควร ซึ่งเป็นการทำงานวิจัยที่จริงจังเลย คือลงพื้นที่เลย สมมุติว่าถ้าไปสวนยาง ก็นั่งรถกระบะของ อาจารย์ นั่งเข้าไปดู แล้วก็ไปเก็บข้อมูล อะไรอย่างงี้ครับ แต่ถามว่าแลกกับชีวิตในช่วงนั้นมั้ย ผมว่ามันก็สนุกในส่วนหนึ่งครับ คือทำวิจัยไปด้วย เรียนไปด้วย อยู่กับเพื่อนๆ ทั้งวัน เพราะเขาก็อยู่แบบเดียวกับเราน่ะครับ ก็ไปเที่ยวด้วยกัน ซึ่งในระหว่างการทำวิจัยมันก็เหนื่อยครับ แต่ผลที่ได้ออกมา มันภูมิใจมากกว่า แล้วก็ถ้าเราไปทำงานอะไรพวกนี้ครับ มันก็ทำให้เรามีประสบการณ์จากก่อนหน้านั้นไงครับ มันก็ทำให้เราทำงานได้อย่างสบาย และเป็นระบบมากขึ้น เพราะผมคิดว่าการทำโครงงาน มันทำให้เราคิดเป็นระบบ ก็จะเป็นขั้นเป็นตอน แล้วเราทำไป เราก็จะเห็นข้อผิดพลาดของมัน แล้วเราเอาข้อผิดพลาดเหล่านั้นมาแก้ไขในงานต่อๆ ไป เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ดีมาก (หัวเราะเบาๆ)
• ทีนี้ กลับมาที่ การที่ได้ไปห้องทดลอง อยากให้เราช่วยเล่าถึงตรงนี้หน่อยครับว่าเป็นอย่างไรบ้าง
พอเข้าไปในห้อง Control Room ของที่นั่น ความรู้สึกจะเหมือนในภาพยนตร์ประเภทอวกาศเลยครับ เพราะในนั้นจะมีแบบอุปกรณ์เยอะๆ เต็มไปหมดเลย แล้วก็จะมีจอขององค์การนาซาด้วย เพราะทางนาซากับ JAXA เขาทำงานร่วมกัน จึงทำให้เราเห็นการทดลองของที่นั่นด้วยครับ และได้เห็นภาพสดๆ จากนอกโลก ซึ่งพอได้เห็น ณ ตรงนั้น มีความรู้สึกประทับใจครับ แถมยังมีเหตุการณ์เซอร์ไพรส์ด้วยครับ คือ จะมีนักบินอวกาศของปีที่แล้วที่เพิ่งลงมาครับ แล้วเขาเดินเข้ามาในห้อง และทักทายครับ (หัวเราะเบาๆ) ความรู้สึกนี่คือ เราได้เห็นเขาจากปีที่แล้วในคลิปอยู่เลย แต่ปีนี้มาอยู่ตรงหน้าเรา พูดคุยกับเรา ก็รู้สึกดีใจครับ
ส่วนความรู้สึกเกี่ยวกับผลการทดลอง ผมก็รู้สึกตื่นเต้นมากครับ เพราะว่าเราสื่อสารกับเขาได้ เขาอยู่ในอวกาศ แต่เราอยู่บนโลก เวลาที่จะให้เขาทำอะไร เราก็สามารถบอกเขาได้ ส่วนการทดลองนั้น เขาก็กล่าวของคุณเราที่ส่งแนวคิดผลการทดลองมา ส่วนความรู้สึกก็ดีใจมากที่มันต่างจากโลก เพราะว่า ประเทศอื่นๆ เขาจะเป็นการทดลองที่ผลเหมือนกันเลย แต่มีแค่ของเราที่ต่างจากบนโลกน่ะครับ
• แน่นอนว่า พอเรากลับมา ก็ได้ถูกพูดถึงเต็มไปหมดเลย ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ ต่างกันลิบลับ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นได้
ผมว่าประเทศไทยไม่ค่อยให้ความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ซักเท่าไหร่ เพราะเขาคิดว่าวิทยาศาสตร์มันน่าเบื่อ และการทำวิจัยมันเป็นเรื่องที่ไกลตัว แถมงานวิจัยก็จะถูกเก็บไว้ขึ้นหิ้ง เก็บไว้ ไม่สามารถเอามาต่อยอด ส่วนปัจจัยอื่น ผมคิดว่าน่าจะเป็นทางด้านการสนับสนุนครับ ซึ่งถือว่ามีน้อย และการประชาสัมพันธ์ในด้านนี้ ยังถือว่าน้อยมาก เด็กๆ เลยไม่รู้ว่ามีโครงการนี้นะ จะรู้แค่ในวงแคบ เลยมีแค่เฉพาะกลุ่มเด็กที่สมัคร แต่เด็กส่วนใหญ่ในประเทศจะไม่รู้ว่ามีแต่ละโครงการวิทยาศาสตร์อยู่ด้วย
อีกอย่าง ผมคิดว่าถ้าผมไม่ได้เดินสายทางด้านนี้ ผมก็จะไม่รู้จักโครงการลักษณะนี้เลย เคยมีรุ่นน้องมาถามเหมือนกันว่า มีโครงการลักษณะแบบนี้ด้วยเหรอ คือเราต้องค้นหาผมสมควร กว่าที่เราจะรู้น่ะครับ เพราะสื่อไทยยังไม่เผยแพร่ในหมวดนี้เยอะเท่าที่ควร แบบเช่น โครงการนี้เป็นโครงการใหญ่ แต่ไม่ได้เปิดรับสมัครเท่าที่ควร แค่ออกทางเฟสบุ๊กและโลกออนไลน์ ซึ่งอาจจะทำให้น้องๆ บางส่วนก็ยังเข้าไม่ถึงเท่าที่ควร เพราะเขาไม่รู้ว่าเรียนวิทยาศาสตร์แล้วได้รางวัลมาแต่จะทำไปเพื่ออะไร เขาไม่มีเป้าหมายน่ะครับ ว่าจะต่อยอดยังไง คือจะมีคนที่สร้างชื่อก่อนหน้าผมเยอะมาก แต่ก็ไม่ได้ถูกพูดถึงอะไรเลย แต่พอข่าวผมออกมาก็รู้สึกแปลกๆ เหมือนกัน
• ความคาดหวังของเราสำหรับวิทยาศาสตร์และอวกาศของเราครับ
อยากให้ ประเทศไทยมีการสนับสนุนทางด้านอวกาศเยอะ เพราะตอนนี้ยังเห็นน้อยมากที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนี้ ซึ่งแตกต่างกับประเทศอื่นทื่มีการสนับสนุนในด้านนี้เยอะ ผมเคยไปโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นโรงเรียนเล็กๆ แต่ว่ามีหอดูดาวข้างบนตึกเรียนของเขาเลย เมื่อเทียบกับประเทศไทย ที่แทบจะไม่มีสิ่งเกี่ยวข้องกับอวกาศ ซึ่งผมคิดว่าในอนาคตมันจำเป็นในการพัฒนาประเทศ ซึ่งถ้าเรามีสิ่งนี้มากๆ จะยกระดับทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เยอะมาก
แต่ในปัจจุบันนี้ยังมีน้อยมาก เพราะว่า ถ้าเราเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ถือว่ามีน้อยมาก แค่สายวิชาที่เรียน มันจะไม่ค่อยมีตกแขนงเท่าไหร่ จึงทำให้ต้องไปเรียนที่เมืองนอกเนื่องจากจะมีการเรียนการสอนในแขนงนี้โดยเฉพาะ แต่ประเทศไทย จะมีแค่โดยจำกัด ซึ่งมันก็ไม่ตรงสายจริงๆ บ้านเรามันจะเป็นแบบ เข้าทางหนึ่ง แล้วก็ไปประยุกต์อีกทาง ซึ่งมันก็ไม่ได้เจาะลึกกว่าเรื่องที่เราอยากจะเรียนจริงๆ ผมเลยคิดว่าเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้เด็กไทยไม่สนใจทางด้านนี้ครับ เพราะว่าจบไปแล้วจะทำงานด้านนี้ยังไง คือไม่มีที่ทำงาน คือสมมุติว่าเรียนจบอวกาศไป แต่ประเทศไทยไม่มีหน่วยงานรองรับในด้านนี้ และตกงาน จึงทำให้คนคิดว่าไม่รู้จะเรียนไปทำไม ทำให้คนสนใจน้อยครับ
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : วชิร สายจำปา