xs
xsm
sm
md
lg

ศธ.เตรียมเพิ่มเนื้อหาเขต ศก.พิเศษในชั้นเรียน ป.5-ม.6 หวังสร้างฐานทำกินให้เยาวชน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวศรีราชา - กระทรวงศึกษาธิการ ระดมสมองนักวิชาการ พ่อค้า นักธุรกิจ และผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน เดินหน้าปรับวิชาเรียนเด็กไทยตั้งแต่ระดับชั้นประถม ถึงมหาวิทยาลัย ให้รู้จักความหมายของเขตเศรษฐกิจพิเศษ หวังหนุนเด็กไทยมีความรู้ด้านทำกิน สร้างทางเลือกการศึกษาที่เหมาะสม หลังพบจุดอ่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษไม่ประสบผล เพราะคนในชาติขาดความรู้ และทักษะด้านการค้า คาดจะเสริมวิชาเขตเศรษฐกิจพิเศษได้ในเทอม 2 ของปีการศึกษานี้



พ.อ.ขจรศักดิ์ ไทยประยูร คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เผยหลังเข้าร่วมการประชุม ณ ศูนย์การเรียนรู้ การจัดการการเงินและการลงทุน วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ร่วมกับอาจารย์ประจำวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ และนิสิตปริญญาเอก สาขาการจัดการสาธารณะ คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ตลอดจนผู้ประกอบธุรกิจในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อพิจารณารูปแบบการพัฒนาเนื้อหาแบบบูรณาการเกี่ยวกับความรู้ที่ใช้ในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเพื่อประชาชน โดยระบุว่า การประชุมในครั้งนี้ก็เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของไทยเป็นไปอย่างล่าช้า

โดยคำตอบที่ได้ก็คือ เพราะระดับการศึกษาของไทยยังให้ความรู้เกี่ยวกับผู้เรียนเรื่องการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านค่อนข้างน้อย สวนทางต่อเป้าหมายหลักของรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้ประเทศไทยมีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อรองรับการสร้างกิจกรรมในอาเซียน ที่มีเสาหลัก 3 ประการ คือ ด้านสังคม-วัฒนธรรม การเมือง-ความมั่นคงและเศรษฐกิจ หลังประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษใน 2 ระยะ รวมทั้งสิ้น 10 จุด คือ ภาคเหนือที่จังหวัดเชียงราย ภาคตะวันตก ที่จังหวัดตากและกาญจนบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดหนองคาย นครพนม และมุกดาหาร ภาคตะวันออก ที่จังหวัดตราด และสระแก้ว ส่วนภาคใต้ ที่จังหวัดสงขลา และนราธิวาส ซึ่งล้วนแต่เป็นจุดที่สามารถเชื่อมโยงการค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนได้ทั้งสิ้น

“สิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ คือ การเตรียมคนให้พร้อมตั้งแต่เด็ก เพราะเมื่อย้อนกลับไปดูหลักสูตรการเรียนการสอนในอดีตพบว่า เนื้อหาเรื่องเศรษฐกิจมีน้อยมาก ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการ จึงต้องวางแผนการพัฒนาคนในระยะยาวด้วยการปฏิรูปการศึกษาและนำวิชาความรู้เพิ่มเติมด้านเศรษฐกิจ และกิจกรรมเกี่ยวกับการค้าเข้ามาสอนเด็กตั้งแต่ชั้น ป.5-ป.6 ซึ่งคือ การเสริมความรู้เกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษคืออะไร และสิ่งของอุปโภคบริโภค”

ส่วนเนื้อหาสำหรับชั้น ม.3-ม.6 คือ วิชาการจัดการการตลาด การจัดการการผลิตและจัดหาสินค้า การจัดการขนส่ง บัญชีการเงิน และการท่องเที่ยวและการจัดการสินค้าการเกษตร ด้านเนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับ ม.4-ม.6 คือ นโยบายภาครัฐที่มีผลกระทบต่อการจัดธุรกิจในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เศรษฐศาสตร์การเงิน บัญชีธุรกิจ สังคมวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการจัดการธุรกิจ ฯลฯ

“เนื้อหาต่างๆ จะเริ่มปรับใช้ในช่วงเทอม 2 ของปีการศึกษา 2559 เพื่อสร้างการศึกษาแบบบูรณาการในเขตเศรษฐกิจพิเศษให้แก่เยาวชนไทย รวมไปถึงในระดับอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัย และ กศน.ที่จะต้องเป็นไปทั้งระบบ และมีการนำหลักสูตรท้องถิ่นเข้ามาเสริม ซึ่งที่ผ่านมา คณะทำงานมีความพยายามในการค้นหาเนื้อหาที่เหมาะสมที่จะทำให้เด็กที่เรียนจบแล้วมีงานทำ เรียนไปแล้วเป็นผู้ประกอบการได้ ส่วนที่เกรงว่า นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่จะเพิ่มวิชาเศรษฐกิจให้แก่นักเรียนจะเปลี่ยนแปลงไปหากเปลี่ยนรัฐบาลนั้นไม่ได้น่าจะเกิดขึ้น เพราะการพัฒนา เศรษฐกิจที่สำคัญก็คือ การสร้างความรู้ให้คนได้รู้จักวิธีทำกินที่เหมาะสม และเชื่อมั่นว่ารัฐบาลอื่นๆ ก็น่าจะเห็นความสำคัญในเรื่องนี้” พ.อ.ขจรศักดิ์ กล่าว


อธิการฯ แจงยิบ! หลักสูตรครู ม.ราชภัฏโคราชไม่เถื่อน “คุรุสภา” รับรอง ชี้เป็นเรื่องเข้าใจผิด
อธิการฯ แจงยิบ! หลักสูตรครู ม.ราชภัฏโคราชไม่เถื่อน “คุรุสภา” รับรอง ชี้เป็นเรื่องเข้าใจผิด
ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - อธิการบดีแจงยิบ! รมว.ศึกษาฯ หลักสูตรครู ม.ราชภัฏโคราชไม่เถื่อน ระบุคุรุสภารับรองถูกต้องทั้งภาคปกติและภาค กศ.ปช. เปิดสอนมาตั้งแต่ปี 2549 และคุรุสภาออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้มาโดยตลอด ชี้กรณีปัญหา นศ.รุ่น 15 ร้อง รมว.ศึกษาฯ เป็นเรื่องเข้าใจผิด จากกรณีคุรุสภามีมติให้นักศึกษา กศ.ปช.ทุกมหาวิทยาลัยที่เข้าเรียนปี 2554 ใช้วิชาเรียนเทียบโอนความรู้เพื่อรับ “ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน” แทน และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนดำเนินการของคุรุสภา คาด 1 เดือนเสร็จ ย้ำมหาวิทยาลัยช่วยเหลือ นศ.เต็มที่มาตลอด
กำลังโหลดความคิดเห็น