คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.ศาลทหารออกหมายจับ 17 ผู้ต้องหา “อั้งยี่” รวบแล้ว 15 อนุญาตฝากขัง พบเป็นกลุ่ม นปป.แยกตัวจาก นปช. ยังไม่พบโยงระเบิดใต้!
ความคืบหน้าเหตุระเบิดและเพลิงไหม้ใน 7 จังหวัดภาคใต้ระหว่างวันที่ 10-12 ส.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน และบาดเจ็บหลายสิบคน พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติด้านความมั่นคง ในฐานะหัวหน้าชุดสืบสวนสอบสวนคดีระเบิดและวางเพลิงใน 7 จังหวัดภาคใต้ เผยเมื่อวันที่ 15 ส.ค.ว่า ได้ยื่นศาลมณฑลทหารบกที่ 41 (มทบ.41) จ.นครศรีธรรมราช ขอออกหมายจับผู้ต้องหา 1 ราย โดยมีหลักฐานว่า ก่อเหตุวางระเบิดในพื้นที่ป่าตอง จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 10 ส.ค. นอกจากนี้ได้นำหลักฐานที่ได้จากจุดเกิดเหตุไปตรวจดีเอ็นเอ พบว่าตรงกับผู้ต้องหาที่เคลื่อนไหวก่อเหตุในพื้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ตั้งแต่ปี 2547 ด้วย จึงขอศาลออกหมายจับผู้ต้องหารายนี้
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ผู้ต้องหาที่ตำรวจขอศาลออกหมายจับดังกล่าว คือ นายอาหะมะ เล็งหะ ซึ่งเป็นมือประกอบระเบิดด้วย โดยศาลทหาร มทบ.41 ได้อนุมัติหมายจับผู้ต้องหาในวันเดียวกัน ข้อหาพยายามวางเพลิง มีวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่สามารถอนุญาตได้ไว้ในครอบครอง
ส่วนการจับกุมนายศักรินทร์ คฤหัสถ์ ชาว อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ พนักงานบริษัทขุดเจาะน้ำมัน นั้น พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เผย(15 ส.ค.) ว่า นายศักรินทร์ถูกทหารและตำรวจควบคุมตัวโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.จักรทิพย์เผยว่า นายศักรินทร์มีสถานะเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชด้วย ข้อหาวางเพลิงห้างเทสโก้ โลตัส โดยยังคงถูกควบคุมตัวโดยทหาร พร้อมยืนยัน ตำรวจยังไม่เพิกถอนหมายจับนายศักรินทร์แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา(17 ส.ค.) พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. ในฐานะหัวหน้าชุดสืบสวนคดีระเบิดฯ ได้สั่งการให้ ผบก.ภ.จว.นครศรีธรรมราช ไปขอเพิกถอนหมายจับนายศักรินทร์ ในข้อหาวางเพลิง พร้อมทั้งให้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อแจ้งข้อกล่าวหามีวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อนุญาตให้มีไว้ในครอบครอง โดยให้ขอหมายจับกับศาลมณฑลทหารบกที่ 41 เนื่องจากเป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง ซึ่งล่าสุด นายศักรินทร์ได้รับการปล่อยตัวแล้วหลังการเพิกถอนหมายจับเสร็จสิ้นตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 18 ส.ค.
มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงได้พบความเชื่อมโยงของขบวนการก่อความไม่สงบ โดยพบว่ามีทั้งหมด 17 คน ซึ่งทั้งหมดถูกควบคุมตัวแล้วใน มทบ.11 อย่างไรก็ตาม ภายหลังได้มีการปล่อยตัวไป 2 คน เนื่องจากทั้งสองปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งต่อมาวันที่ 18 ส.ค. ตำรวจกองปราบฯ ได้นำพยานหลักฐานไปขอศาลทหารกรุงเทพฯ ออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 17 คนดังกล่าว โดยแจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 ข้อหากระทำผิดอั้งยี่และฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 3/2558 ว่าด้วยการชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน เหตุที่ต้องขอศาลออกหมายจับ 2 ผู้ต้องหาที่ปล่อยตัวไปแล้วด้วย เนื่องจากถูกผู้ต้องหาอีก 15 คนให้การซัดทอด
ซึ่งศาลทหารได้อนุมัติหมายจับในวันเดียวกัน สำหรับผู้ที่ถูกออกหมายจับทั้ง 17 คน ประกอบด้วย 1.ด.ต.ศิริรัตน์ มโนรัตน์ ชาว จ.พัทลุง 2.นายวีระชัฏฐ์ จันทร์สะอาด ชาว จ.นนทบุรี 3.นายประพาส โรจนพิทักษ์ ชาว จ.ตรัง 4.นายปราโมทย์ สังหาญ ชาว จ.สตูล 5.นายสรศักดิ์ ดิษปรีชา ชาว กทม.6.น.ส.มีนา แสงศรี ชาว กทม.7.นายศิริฐาโรจน์ จินดา ชาว จ.หนองคาย 8.ร.ต.ต.หญิง วิลัยวรรณ คูณสวัสดิ์ ชาว จ.หนองคาย 9.นายชินวร ทิพย์นวล ชาว จ.เชียงราย 10.นายณรงค์ ผดุงศักดิ์ ชาว จ.อ่างทอง 11.ร.ต.ท.สมัย คูณสวัสดิ์ ชาว จ.หนองคาย 12.นายศรวัชษ์ กระจินดา ชาว จ.มหาสารคาม 13.นายเหนือไพร เช็นกลาง ชาว จ.สกลนคร 14.นายวิเชียร เจียมสวัสดิ์ ชาว จ.นครศรีธรรมราช 15.นายบุญภพ เวียงสมุทร ชาว จ.เชียงราย 16.น.ส.รุจิยา เสาสมภพ ชาว จ.ร้อยเอ็ด 17.นายวิโรจน์ ยอดเจริญ ชาว จ.นครศรีธรรมราช
สำหรับนายสรศักดิ์ ถูกหมายจับเพิ่มอีก 1 ข้อหา คือมีอาวุธปืนที่ไม่ได้รับอนุญาตไว้ในครอบครอง หลังค้นบ้านพักย่านถนนมอเตอร์เวย์ ทับช้าง ย่านสะพานสูง กทม.พบปืนอาก้า 1 กระบอก แมกกาซีน 2 อัน และเครื่องกระสุน 31 นัด ซุกไว้ในท่อน้ำพีวีซีภายในบ้าน
ด้าน พล.ต.ต.ชยพล ฉัตรชัยเดช ผู้บังคับการกองแผนงานอาชญากรรม สำนักยุทธศาสตร์ตำรวจ ได้แถลงผลการจับกุมผู้ต้องหาที่ศาลอนุมัติหมายจับทั้ง 17 คน ว่า ผู้ต้องหาได้ถูกทหารควบคุมตัวหลังเกิดเหตุระเบิดและไฟไหม้ใน 7 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งจากการสืบสวนพบว่า ผู้ต้องหามีการรวมกลุ่มกันที่ จ.นนทบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี และพัทลุง ก่อตั้งตัวในนามกลุ่ม ”พรรคแนวร่วมปฏิวัติประชาธิปไตย (นปป.)” ซึ่งแยกตัวออกมาจากกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) หลังเกิดความขัดแย้งกัน โดยมีการเคลื่อนไหวแบบพรรคคอมมิวนิสต์ ต่อต้านการทำงานของรัฐบาล แต่ยังไม่พบความเชื่อมโยงกับกลุ่มการเมือง โดยอยู่ระหว่างขยายผล และยังไม่มีความเชื่อมโยงกับการก่อเหตุระเบิดและวางเพลิงใน 7 จังหวัดภาคใต้ ส่วนผู้ต้องหาอีก 2 คนที่ถูกปล่อยตัวไป จะเร่งติดตามตัวมาดำเนินคดี
ทั้งนี้ ทหารได้ส่งตัว 15 ผู้ต้องหาดังกล่าวให้ตำรวจกองปราบฯ เมื่อวันที่ 19 ส.ค. เพื่อดำเนินคดีต่อไป ซึ่งตำรวจได้นำตัวทั้ง 15 คนไปขอศาลทหารกรุงเทพฯ ฝากขังในวันเดียวกัน พร้อมคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากการสอบสวนขยายผลยังไม่แล้วเสร็จ หากปล่อยตัว อาจหลบหนี ด้านศาลอนุญาตให้ฝากขัง ขณะที่ทนายความของผู้ต้องหายื่นขอประกันตัวไม่ทัน ศาลทหารจึงมีคำสั่งให้นำตัวผู้ต้องหา ส่งเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทัณฑสถานหญิงกลางบางเขน ต่อไป
ส่วนความคืบหน้าเหตุระเบิดที่หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ นั้น เมื่อวันที่ 18 ส.ค. เจ้าหน้าที่ได้เปิดเผยภาพจากกล้องวงจรปิดพบชายต้องสงสัย 3 คน ที่อาจเป็นผู้ก่อเหตุระเบิดย่านบาร์เบียร์และหอนาฬิกาหัวหิน รวมทั้งวางระเบิดเพลิงเพาเวอร์แบงก์ในตลาดฉัตร์ไชย โดยชายทั้ง 3 คนสวมหมวกเพื่ออำพรางใบหน้า ขณะที่ 1 ใน 3 คน ถือถุงพลาสติก ซึ่งอาจซุกซ่อนระเบิด ขณะนี้ตำรวจชุดสืบสวนภาค 7 ได้ประสานไปยังตำรวจภูธรภาค 9 เพื่อติดตามหาเบาะแสคนร้ายทั้ง 3 คนแล้ว หลังภาพจากกล้องวงจรปิดพบว่า ทั้งสามมีการเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนขึ้นรถตู้ประจวบฯ -ชุมพร เดินทางลงไปยังพื้นที่ภาคใต้
ขณะที่เหตุระเบิดและวางเพลิงที่ จ.สุราษฎร์ธานี นั้น ล่าสุด วันที่ 20 ส.ค. ได้มีการเผยภาพจากกล้องวงจรปิด ผู้ต้องสงสัยเป็นชาย 2 คน ที่อาจเป็นมือวางระเบิดและวางเพลิงที่สุราษฎร์ธานี ซึ่งกล้องวงจรปิดจับภาพชัดเจน แต่เจ้าหน้าที่ยังออกหมายจับไม่ได้ เนื่องจากคนร้ายใส่หมวกและคาดหน้ากากอนามัยปิดบังใบหน้าจนไม่รู้ว่าเป็นใคร อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่จะรวบรวมหลักฐานเพื่อออกหมายจับผู้ก่อเหตุและผู้ร่วมขบวนการมาดำเนินคดีต่อไป
2.กรธ.รับข้อเสนอ สนช.ไปพิจารณา จะให้ ส.ว.ร่วมโหวตนายกฯ อย่างไร-ให้สิทธิเสนอชื่อนายกฯ หรือไม่ ด้าน “บิ๊กตู่” แบ่งรับแบ่งสู้นั่งนายกฯ คนนอก!
ความคืบหน้าหลังทราบผลประชามติร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง ซึ่งประชาชนให้ความเห็นชอบทั้งร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงอย่างล้นหลาม โดยขั้นตอนต่อไป คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ต้องนำร่างรัฐธรรมนูญกลับมาแก้ไขเพื่อบวกคำถามพ่วงเข้าไปด้วย โดยต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน จากนั้นส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอีก 30 วัน หากศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่ายังไม่สอดคล้องกัน ต้องส่งกลับมาให้ กรธ.แก้ไขอีกภายใน 15 วัน เมื่อถูกต้องแล้วจึงจะนำเสนอนายกรัฐมนตรี โดยนายกฯ มีเวลา 30 วัน ก่อนนำความขึ้นกราบบังคมทูลนั้น
เมื่อวันที่ 19 ส.ค. ได้มีการประชุม กรธ. เพื่อพิจารณาปรับแก้ไขบทเฉพาะกาลในร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามคำถามพ่วงที่ผ่านประชามติ โดยเชิญสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมกับ กรธ.ด้วย เพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับคำถามพ่วง ทั้งในประเด็นเจตนารมณ์และเนื้อหาว่า ต้องปรับแก้ไขจุดใดบ้าง และเชื่อมโยงกับมาตราใด โดยเฉพาะในมาตรา 272 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขอยกเว้นเปิดช่องนายกรัฐมนตรีคนนอก หลังจากเลือกนายกรัฐมนตรีตามบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองรอบแรกไม่สำเร็จ
ทั้งนี้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ให้สัมภาษณ์ก่อนประชุมร่วมกับตัวแทน สนช.ถึงการตีความคำถามพ่วงประชามติต่อการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญว่า กรธ.ต้องการที่จะแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญให้ตรงกับเจตนารมณ์ของประชามติ โดยยึดตัวอักษรเป็นหลักตามระบอบการปกครองของประเทศที่ใช้เป็นระบบลายลักษณ์อักษร ซึ่งเมื่อยึดตัวบทอักษรก็ต้องดูที่คำถามพ่วงซึ่งระบุว่า วาระเริ่มแรกจนถึงเวลา 5 ปี รัฐสภา โดย 2 สภาจะเป็นผู้ร่วมกันโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะผูกพันกับระยะเวลามากกว่าจำนวนครั้ง แตกต่างจากในมาตรา 272 ที่มีความผูกพันแค่วาระเริ่มแรกของสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น โดยในมาตรา 272 ระบุอีกว่า ถ้าหากหลังจากการเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งแรกนั้นเกิดการยุบสภาขึ้น หลักการเสนอข้อยกเว้นเพื่อให้ ส.ว.สามารถเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีนอกบัญชีรายชื่อ และร่วมกับ ส.ส.เพื่อโหวตนายกรัฐมนตรีนั้นไม่สามารถทำได้แล้ว เพราะพ้นจากวาระเริ่มแรกของรัฐสภาไปแล้ว
ซึ่ง กรธ.ยังสับสนอยู่ว่าจะนับเรื่องวันแรกที่มีรัฐสภากันอย่างไร เพราะคำว่า 5 ปี ตั้งแต่มีรัฐสภาในคำถามพ่วงนั้น เป็นภาษาชาวบ้าน ถ้าดูภาษากฎหมายก็จะสงสัยว่าจะดูวันที่มีรัฐสภากันอย่างไร ถ้าหากวันเลือกตั้งมี ส.ว.แล้ว จะหมายความว่ามีรัฐสภาแล้วหรือยัง กรธ.มีแนวคิดว่า ถ้าเขียนว่านับตั้งแต่มีการประชุมสภาเป็นครั้งแรกจะชัดเจนกว่าหรือไม่ แต่ปัญหาก็ยังมีอยู่ เนื่องจากการไปเปลี่ยนคำว่ารัฐสภา เป็นคำว่าการประชุมครั้งแรกก็อาจนำมาซึ่งปัญหาได้ ผู้สื่อข่าวถามว่า มี สนช.บางคนอ้างว่า ส.ว.สามารถเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีได้ด้วย นายมีชัยกล่าวว่า ตรงนี้ก็ต้องไปดูตามตัวอักษร ส่วนรายละเอียดตนขอให้ฟังหลังจากที่ กรธ.หารือกับตัวแทน สนช.เรียบร้อยแล้ว พร้อมคาดว่า ภายในครึ่งเดือนหลังจากนี้ กรธ.น่าจะส่งร่างรัฐธรรมนูญไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบได้
หลังการประชุมร่วมระหว่าง กรธ.และตัวแทน สนช.แล้วเสร็จ นายสมชาย แสวงการ 1 ในตัวแทน สนช.ที่เข้าร่วมประชุม เผยว่า ตัวแทน สนช.ได้ชี้แจงเจตนารมณ์ของคำถามพ่วง โดยให้รัฐสภาที่ประกอบด้วย ส.ส. และ ส.ว.สามารถเลือกนายกฯ ภายใน 5 ปี พร้อมให้ กรธ.ไปหาวิธีการสร้างกลไกว่าจะเป็นแบบไหน ซึ่งความเห็นของ สนช.จะไม่มีผลผูกมัด กรธ. และยอมรับว่า มีความเห็นของ สนช.ที่ต้องการให้ ส.ว.มีสิทธิเสนอชื่อนายกฯ ได้ ส่วนวิธีการขึ้นอยู่กับการตีความว่าจะเอาแบบไหน ยกตัวอย่าง หากตีความแบบกว้าง คือ ส.ว.สามารถเสนอชื่อนายกฯ ได้ตั้งแต่เริ่มต้นประชุมรัฐสภาเพื่อเลือกนายกฯ ครั้งแรก แต่หากตีความแบบแคบ ก็สามารถเสนอชื่อภายหลังเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 272 หลังจากที่รัฐสภาไม่สามารถเลือกบุคคลที่จะเป็นนายกฯ ตามบัญชีของพรรคการเมืองได้ ซึ่ง สนช.รับได้ทั้งสองทาง
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พูดถึงกรณี ส.ว.สามารถร่วมเลือกนายกฯ ได้ว่า อยากให้ทุกฝ่ายคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชน เพราะการเลือกนายกฯ ต้องเลือกจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองก่อน ซึ่งเป็นเจตนารมณ์เริ่มต้น ส่วนจะไปตีความขยายอะไร อย่างไรนั้น ขอให้คำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนว่า ประชาชนได้รับทราบข้อมูลอย่างไร การขยายความอะไรต้องคำนึงถึงกรอบที่ได้เสนอไว้ตอนเริ่มต้นด้วย
เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้สื่อข่าวได้นำประเด็นนายกฯ คนนอก ไปถาม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่า จะเป็นนายกฯ คนนอกหรือไม่ พล.อ.ประวิตรตอบว่า “ไม่เอา ไม่เป็นหรอก” นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวยังได้ถามประเด็นนี้กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.เช่นกัน โดย พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่า “ผมคิดว่ามีคนดีมากกว่าผมอีกเยอะแยะในประเทศนี้ ไปดูก็แล้วกัน ถ้าหาคนดีไม่ได้ ค่อยมาพูดกับผม”
3.“ประชา ประสพดี” ย่อยยับตามปาก ถูก สนช.ลงมติถอดถอนออกจากตำแหน่ง รมช.มหาดไทย พร้อมตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี!
เมื่อวันที่ 18 ส.ค. ได้มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เพื่อดำเนินกระบวนการถอดถอนนายประชา ประสพดี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกจากตำแหน่ง กรณีใช้อำนาจหน้าที่แทรกแซงการทำงานขององค์การตลาด(อต.) ในการพิจารณาลงโทษการทุจริตของนายธีธัช สุขสะอาด อดีต ผอ.องค์การตลาด ตามมาตรา 6 วรรค 2 ของรัฐรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ปี 2557 ประกอบมาตรา 64 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) พ.ศ. 2542 โดยเป็นการรับฟังคำแถลงปิดสำนวนด้วยวาจาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้กล่าวหา และนายประชา ผู้ถูกกล่าวหา
โดย น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. แถลงปิดสำนวนโดยยืนยันว่า ป.ป.ช.มีอำนาจพิจารณาถอดถอนนายประชาออกจากตำแหน่งตามกฎหมาย โดยพบว่า นายประชามีพฤติการณ์โทรศัพท์ไปสั่งการรองประธานคณะกรรมการ อต. เมื่อวันที่ 11 พ.ย.55 ขอให้ระงับการประชุม อต.ในวันที่ 12 พ.ย. 2555 ที่มีวาระพิจารณาการเลิกจ้างนายธีธัชออกไปก่อน ทั้งที่ช่วงนั้นนายประชาแม้จะเป็น รมช.มหาดไทย แต่ยังไม่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแล อต. จึงมีเจตนาแทรกแซงการทำงานในหน้าที่ของ อต. ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 266 และ 268 ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 และขัดหลักเกณฑ์บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของรัฐวิสาหกิจ เพราะอำนาจการเลิกจ้างผู้อำนวยการ อต.เป็นของบอร์ด อต. ไม่ใช่อำนาจของ รมช.มหาดไทย อีกทั้งต่อมาเมื่อบอร์ด อต.มีมติเลิกจ้างนายธีธัช ได้สร้างความไม่พอใจให้นายประชา จนมีคำสั่งปลดบอร์ด อต. แสดงถึงการใช้อารมณ์และอำนาจในการบริหารรัฐวิสาหกิจ เป็นการล้วงลูก ทำลายระบบบริหารงานรัฐวิสาหกิจร้ายแรง ไม่ให้มีอิสระในการทำงาน ถูกฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงไม่จบสิ้น จึงเข้าข่ายสมควรให้ สนช.ลงมติถอดถอน
ขณะที่นายประชา ประสพดี อดีต รมช.มหาดไทย แถลงปิดสำนวน โดยปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาของ ป.ป.ช. และยืนยันว่า การกระทำของตนตามที่ถูกกล่าวหาเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรี มิได้มีเจตนาก้าวก่ายแทรกแซงการทำงานของ อต. และไม่ได้เอื้อประโยชน์ต่อตัวเอง หรือผู้อื่น ไม่ได้สร้างความเสียหายแก่ อต. จากสิ่งที่ได้นำเสนอตั้งแต่ตอนแถลงเปิดสำนวน การตอบข้อซักถาม เห็นว่า ข้อกล่าวหาเป็นเรื่องความเห็นต่างในข้อกฎหมายต่อการทำหน้าที่ของตนในฐานะรัฐมนตรีที่มีอำนาจกำกับดูแล อต.และรัฐวิสาหกิจเท่านั้น ไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ นายประชายังกล่าวด้วยว่า “วันที่ 19 ส.ค. ซึ่ง สนช.จะลงมติถอดถอนผมนั้น เป็นวันสำคัญที่สุดต่อชีวิต ทั้งส่วนตัวและชีวิตการเมือง แต่เชื่อมั่นและมั่นใจว่า สมาชิก สนช.ทุกคนจะมีความเมตตากรุณา โดยเฉพาะเรื่องความเป็นธรรมที่จะให้โอกาสด้วยการลงมติหรือวินิจฉัยด้วยประการใด ผมเชื่อและยึดมั่นว่า กฎแห่งกรรมมีจริง หากทำจริงจะต้องย่อยยับไม่วันใดก็วันหนึ่ง เมื่อผลออกมาอย่างไรก็พร้อมยอมรับในมติ”
ทั้งนี้ หลังการแถลงปิดสำนวนคดีด้วยวาจาเสร็จสิ้นแล้ว ที่ประชุม สนช.ได้นัดลงมติถอดถอนหรือไม่ถอดถอนนายประชาในวันรุ่งขึ้น(19 ส.ค.)
เมื่อถึงกำหนด ปรากฏว่า ที่ประชุม สนช.ได้ลงคะแนนลับ โดยผู้ที่ถูกถอดถอนจะต้องมีคะแนนเสียงถอดถอนไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิก สนช.เท่าที่มีอยู่ คือ 218 คน หรือ 131 เสียง ผลการลงมติปรากฏว่า สมาชิก สนช.ลงมติถอดถอนนายประชา ออกจากตำแหน่งด้วยคะแนน 182 เสียง ไม่ถอดถอน 7 เสียง และงดออกเสียง 2 เสียง โดยผลการลงมติถอดถอนดังกล่าวส่งผลให้นายประชาถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี โดยห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือรับตำแหน่งทางราชการ ซึ่งประธานที่ประชุมจะรายงานผลการลงมติดังกล่าวต่อ ครม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป
4.เกิดอุบัติเหตุ ฮ.ตกที่เชียงใหม่ “ผบ.พล.ร.4” พร้อมคณะดับ 5 นาย ด้าน “บิ๊กตู่” เสียใจ-แม่ทัพภาค 3 ยกย่องคนดีที่เสียสละ ขณะที่กองทัพบกเลื่อนยศ-ปูนบำเหน็จ 8 ขั้น!
เมื่อวันที่ 14 ส.ค. ได้เกิดเหตุเฮลิคอปเตอร์รุ่น UH-72 หรือ ลาโกต้า ซึ่งมี พล.ต.นพพร เรือนจันทร์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 4 (ผบ.พล.ร.4) และผู้บัญชาการกองกำลังนเรศวร ขาดการติดต่อ หลังจากปฏิบัติภารกิจนำกำลังพลไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่ อ.ปาย อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ตั้งแต่เมื่อวันที่ 13 ส.ค. โดยขาดการติดต่อตั้งแต่เวลา 10.30 น.วันที่ 14 ส.ค. หลังจากขึ้นบินที่ อ.ปางมะผ้า เพื่อมุ่งหน้ากลับมายัง จ.พิษณุโลก ได้ประมาณ 30 นาที ทั้งนี้ หลังได้รับรายงาน พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เร่งติดตามค้นหาโดยเร็วที่สุด
สำหรับเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าว มีผู้โดยสารทั้งหมด 5 คน นอกจาก พล.ต.นพพร แล้ว ยังมี ร.อ.สุทัน อ่องเมือง นักบินที่ 1, ร.ท.นวพัฒน์ มณีโชติ นักบินที่ 2, จ.ส.อ.ชัยศักดา ทาโส ช่างเครื่อง และ จ.ส.ต.มงคลชัย รู้งาน ช่างเครื่อง อย่างไรก็ตาม หลังการค้นหาดำเนินไปกระทั่งถึงช่วงดึกคืนเดียวกัน ก็ยังไม่พบเฮลิคอปเตอร์และคณะของ พล.ต.นพพร แต่อย่างใด ประกอบกับสภาพอากาศปิด จึงต้องหยุดการค้นหาชั่วคราว
นายทศพล เผื่อนอุดม นายอำเภอแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า สัญญาณจากเฮลิคอปเตอร์หายไปตรงจุดยอดดอยอินทนนท์ สูงจากระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร เป็นหน้าผาสูงชันและป่าทึบ ทำให้การค้นหาเป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะสภาพอากาศปิด ประกอบกับฝนตกหนัก แต่ยืนยันว่า ทีมค้นหาได้กลิ่นน้ำมันบริเวณกิโลเมตรที่ 46 และชาวบ้านได้ยินเสียงดังบริเวณพื้นที่ 422560 ทีมค้นหาจึงตีวงแคบลง ทั้งนี้ มีรายงานว่า เวลา 16.00 น.ของวันที่ 14 ส.ค. มีสัญญาณโทรออกจากเครื่องโทรศัพท์ของ พล.ต.นพพร ประมาณ 15 วินาที มายังเครื่องของคนใกล้ชิด แต่เมื่อรับแล้ว ไม่มีเสียงพูด
หลังการค้นหาเริ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงเช้าวันที่ 15 ส.ค.ได้มีการระดมเจ้าหน้าที่ทุกส่วน 400 นาย แบ่งเป็น 40 ชุด ปูพรมค้นพื้นที่ เริ่มจากบริเวณกิ่วแม่ปาน กระทั่งช่วงบ่าย 13.20 น.เจ้าหน้าที่พบซากเฮลิคอปเตอร์ของคณะ พล.ต.นพพร บริเวณเนิน 425 ไม่แน่ชัดว่าเป็นส่วนหางหรือใบพัด ขณะที่ พล.ต.โกศล ประทุมชาติ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 เผยว่า ลักษณะซาก ฮ.ที่พบ คาดว่าพยายามยกตัวขึ้น เนื่องจากต้นไม้โดยรอบถูกตัดกระจัดกระจาย นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนเอกสารด้วย จากนั้น ให้หลังประมาณ 1 ชั่วโมง ทีมค้นหาก็พบศพ พล.ต.นพพร ติดอยู่ใน ฮ. ส่วนศพที่เหลือ กระเด็นห่างออกไป
ด้าน พล.ท.สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล แม่ทัพภาคที่ 3 แถลงข่าวในเวลาต่อมาว่า จุดที่พบศพทหารทั้ง 5 นาย อยู่บริเวณเนิน 2445 ช่วงกิ่วแม่ปานถึงสถานีเรดาห์กองทัพอากาศ ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ โดยพบหลังใช้เวลาค้นหากว่า 29 ชั่วโมง ส่วนสาเหตุ เบื้องต้นคาดว่า ฮ.ลำดังกล่าวไม่ได้ชนภูเขา แต่อาจเกิดจากสภาพอากาศปิด ทำให้อาจเสียการทรงตัวและร่วงกระแทกพื้นอย่างแรง ชิ้นส่วนกระจัดกระจาย ไม่มีการระเบิดหรือไฟลุกไหม้ อย่างไรก็ตาม ได้ให้กำลังทหารเฝ้าจุดเกิดเหตุไว้ เพื่อรอเจ้าหน้าที่วิเคราะห์และสอบสวนอากาศยาน ของศูนย์นิรภัยการบินมาตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริงอีกครั้ง
พล.ท.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง พล.ต.นพพรเป็นผู้ที่มีความเสียสละในการทำงานเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยตรง หรือหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ผู้ตกทุกข์ได้ยาก พล.ต.นพพรจะลงไปดูแลให้ความช่วยเหลือตั้งแต่มอบของอุปโภคบริโภค รวมถึงการสร้างบ้านพักให้กับผู้ที่ยากไร้ ในฐานะผู้บังคับบัญชาและในนามกองทัพบก รู้สึกเสียใจที่ชาติได้สูญเสียบุคคลดีๆ เช่นนี้
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวถึงอุบัติเหตุ ฮ.ตก และคณะของ พล.ต.นพพร เสียชีวิต 5 นายว่า “เสียใจจริงๆ กับผู้สูญเสีย ผมก็สูญเสียเอง เพราะเป็นทั้งอดีตผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาผมทั้งสิ้น... ผมน้อมรับ จะดูแลครอบครัวเขาให้ดีที่สุด” พล.อ.ประยุทธ์ เผยด้วยว่า ฮ.ดังกล่าวเป็นลำใหม่ เป็น ฮ.ที่ทันสมัยที่สุด มีสมรรถนะสูง ผลิตจากประเทศสหรัฐอเมริกา และว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะต้องสอบสวนหาสาเหตุ จะได้ป้องกันต่อไป
ด้านกองทัพบกได้จัดพิธีศพนายทหารทั้ง 5 นายร่วมกัน 1 คืน เมื่อวันที่ 16 ส.ค. ที่วัดลัฏฐิวัน พระนอนขอนตาล อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นวัดที่ พล.ต.นพพร เป็นโยมอุปัฏฐาก เนื่องจากมีภูมิลำเนาอยู่ที่นี่ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพทหารทั้ง 5 นาย เมื่อเวลา 17.00 น.วันที่ 16 ส.ค. โดยมี พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานในพิธี โดย พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า ถือเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของกองทัพบก พร้อมยืนยัน กองทัพบกจะดูแลครอบครัวของกำลังพลผู้เสียชีวิตทั้ง 5 นายเป็นอย่างดี เพราะถือว่าทุกคนเป็นครอบครัวของกองทัพบก
สำหรับพิธีศพนายทหารทั้ง 5 นายนั้น พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก เผยว่า หลังจากสวดพระอภิธรรมศพนายทหารทั้ง 5 นายร่วมกัน 1 คืนแล้ว จากนั้นจะแยกไปประกอบพิธีทางพุทธศาสนาตามภูมิลำเนาของแต่ละนาย ด้าน พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก เผยว่า เบื้องต้น นายทหารทั้ง 5 นาย จะได้รับเงินช่วยเหลือประมาณ 2-5 ล้านบาท ตามสิทธิของแต่ละคน พร้อมปูนบำเหน็จพิเศษ 8 ขั้น และได้รับพระราชทานยศสูงขึ้น โดย พล.ต.นพพร เป็น “พล.อ.” , ร.อ.สุทัน เป็น “พล.ท.” , ร.ท.นวพัฒน์ เป็น “พล.ต.” , จ.ส.อ.ชัยศักดิ์ดา เป็น “พล.ท.” และ จ.ส.ต.มงคล เป็น “ร.อ.”
5. “ธัมมชโย” ถูกศาลออกหมายจับใบที่ 2 คดี “สวนป่าหิมวันต์” รุกป่า จ.เลย ด้านวัดพระธรรมกายรีบออกโรงป้องไม่ผิด!
ความคืบหน้ากรณี พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามผู้มีอิทธิพลและมือปืนรับจ้าง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้สนธิกำลังเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายปฏิบัติการตรวจค้นทวงคืนผืนป่าจาก "สวนป่าหิมวันต์" บ้านร่องจิก อ.ภูเรือ จ.เลย หนึ่งในศูนย์ปฏิบัติธรรมเครือข่ายวัดพระธรรมกาย ซึ่งรุกพื้นที่ป่าและมีการก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้าง บุกรุกที่สาธารณะและทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 14 ก.ค.ที่ผ่านมา ตามหมายค้นศาลจังหวัดเลย โดยพบว่ามีการออกหลักฐาน นส.3 ก เท็จ รุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้าและป่าภูเรือ เนื้อที่รวม 129 ไร่ ซึ่งออกให้ในชื่อ พระไชยบูลย์ สุทธิผล หรือพระธัมมชโย อันเป็นความผิดฐานก่อสร้าง แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่า หรือเข้ายึดถือ หรือครอบครองป่า เพื่อตนเองหรือผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 เข้าไปยึดถือ ครอบครอง รวมถึงการก่อสร้าง หรือเผาป่าฯ และมีความผิดตามมาตรา 9 (108 ทวิ) ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 นั้น
เมื่อวันที่ 16 ส.ค. พ.ต.อ.ปิติพัฒน์ ธวัชวิเชียร รองผู้บังคับการสถานีตำรวจภูธร จ.เลย หัวหน้าทีมพนักงานสอบสวนคดีสวนป่าหิมวันต์ เผยว่า ศาลจังหวัดเลยได้อนุมัติออกหมายจับพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย และวัดพระธรรมกาย พร้อมแจ้งข้อกล่าวหานายศักดิ์ชาย มงคลเคหา ผู้ดูแล ในข้อหาร่วมยึดถือ ครอบครอง ทำประโยชน์ อยู่อาศัยในที่ดินก่อสร้าง แผ้วถาง หรือกระทำโดยประการใด อันเป็นการทำลายป่า และเป็นการเสื่อมเสียป่าสงวนแห่งชาติ โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามหมายจับศาลจังหวัดเลย ลงวันที่ 15 ส.ค. 2559 เลขที่ 174/59 และ 175/59
พ.ต.อ.ปิติพัฒน์ เผยด้วยว่า ตั้งแต่วันที่เข้าตรวจค้น พนักงานสอบสวนพบว่าสวนป่าหิมวันต์ ต.ร่องจิก มีการกระทำความผิดจริง จึงได้รวบรวมหลักฐานขออนุมัติศาลจังหวัดเลย ออกหมายจับพระธัมมชโย และวัดพระธรรมกาย และแจ้งข้อกล่าวหานายศักดิ์ชาย ร่วมครอบครองที่ดินโดยผิดกฎหมาย โดยสอบสวนพบว่า มีการรวมโฉนดที่ดิน น.ส.3 ก.จำนวน 10 แปลง 84 ไร่ รวมออกเป็นโฉนดฉบับเดียวเป็น 129 ไร่ ซึ่งพื้นที่เพิ่มขึ้น 45 ไร่ และอยู่ในพื้นที่ป่าสงวน ถือว่าครอบครองโดยผิดกฎหมาย จึงได้ขอศาลจังหวัดเลยออกหมายจับ
ทั้งนี้ ตำรวจภูธรจังหวัดเลยได้ส่งหมายจับไปยังสถานีตำรวจทั่วประเทศ หากพบตัวพระเทพญาณมหามุนี ที่ใด สามารถจับกุมตัวได้ ส่วนการรวบรวมหลักฐานเพื่อส่งให้อัยการฟ้อง คาดว่าจะสามารถรวบรวมเอกสารและหลักฐานให้แล้วเสร็จได้ในเดือน ก.ย.
ส่วนนายศักดิ์ชาย มงคลเคหา ผู้ดูแลพื้นที่ดังกล่าว ได้เข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ ซึ่งตำรวจได้แจ้งข้อกล่าวหานายศักดิ์ชายโดยไม่ได้ขอหมายจับ ในข้อหาร่วมกันบุกรุก แผ้วถางป่าสงวน ซึ่งโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ พ.ต.อ.ปิติพัฒน์ได้นำภาพมาแสดงให้เห็นการบุกรุกพื้นที่อีกจุดหนึ่งในบริเวณห้วยน้ำข้าวมัน ซึ่งเป็นการบุกรุกพื้นที่ลำน้ำ จึงต้องมีการดำเนินคดีเช่นกัน
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังพระธัมมชโยถูกศาล จ.เลย ออกหมายจับกรณีสวนป่าหิมวันต์รุกที่ป่าสงวน ปรากฏว่า สำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย ได้แถลงข่าวปฏิเสธข้อกล่าวหาบุกรุกป่า จ.เลย โดยยืนยันว่า พื้นที่ของสวนป่าหิมวันต์ มีพื้นที่ 129 ไร่ และปัจจุบันผู้ครอบครอง คือ วัดพระธรรมกาย ไม่ใช่พระธัมมชโยแต่อย่างใด พร้อมอ้างว่า การกล่าวหาว่าสวนป่าหิมวันต์ หรือวัดพระธรรมกาย หรือพระธัมมชโยบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เป็นข้อกล่าวหาที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เป็นการจงใจใส่ร้ายป้ายสีด้วยข้อมูลที่ไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง และว่า พื้นที่ 52 ไร่ นอกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 726 ไม่ใช่พื้นที่ของสวนป่าหิมวันต์ หรือวัดพระธรรมกาย หรือพระธัมมชโย ปัจจุบันเป็นของนายศุภมิตร ชินวงศ์ ซึ่งเป็นชาวบ้านบ้านแก่ง หมู่ 1 ตำบลร่องจิก อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย โดยพื้นที่ดังกล่าวอยู่นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ ถูกจำแนกออกจากเขตป่าไม้ถาวรและเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า ป่าภูเรือ ตามมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อปี 2532 วันที่ 6 ตุลาคม 2532
ด้าน พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) กล่าวถึงกรณีที่ศาล จ.เลยออกหมายจับพระธัมมชโยคดีบุกรุกป่าว่า เป็นหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการติดตามจับกุมตัว ซึ่งดีเอสไอก็มีหมายจับพระธัมมชโยอยู่คดีสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร ดังนั้นหากหน่วยงานใดจับกุมพระธัมมชโยได้ก่อน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็สามารถนำหมายจับไปดำเนินการอายัดตัวเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปได้ ส่วนการขอหมายค้นวัดพระธรรมกายเพื่อจับกุมพระธัมมชโยนั้น พ.ต.อ.ไพสิฐกล่าวว่า ดีเอสไอยังประเมินสถานการณ์และความเหมาะสมในการขอหมายค้นอยู่ตลอด ส่วนกรณีที่วัดพระธรรมกายแถลงข่าวยืนยันความบริสุทธิ์ว่าไม่ได้บุกรุกป่าที่ จ.เลยนั้น พ.ต.อ.ไพสิฐกล่าวว่า เป็นสิทธิของวัดพระธรรมกายที่จะออกมาแถลง แต่ตนเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมว่า ศาลออกหมายจับต้องมีหลักฐานเพียงพอ โดยศาลเชื่อว่าบุคคลนั้นมีส่วนในการกระทำผิด มิฉะนั้นศาลคงไม่พิจารณาหมายจับให้
1.ศาลทหารออกหมายจับ 17 ผู้ต้องหา “อั้งยี่” รวบแล้ว 15 อนุญาตฝากขัง พบเป็นกลุ่ม นปป.แยกตัวจาก นปช. ยังไม่พบโยงระเบิดใต้!
ความคืบหน้าเหตุระเบิดและเพลิงไหม้ใน 7 จังหวัดภาคใต้ระหว่างวันที่ 10-12 ส.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน และบาดเจ็บหลายสิบคน พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติด้านความมั่นคง ในฐานะหัวหน้าชุดสืบสวนสอบสวนคดีระเบิดและวางเพลิงใน 7 จังหวัดภาคใต้ เผยเมื่อวันที่ 15 ส.ค.ว่า ได้ยื่นศาลมณฑลทหารบกที่ 41 (มทบ.41) จ.นครศรีธรรมราช ขอออกหมายจับผู้ต้องหา 1 ราย โดยมีหลักฐานว่า ก่อเหตุวางระเบิดในพื้นที่ป่าตอง จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 10 ส.ค. นอกจากนี้ได้นำหลักฐานที่ได้จากจุดเกิดเหตุไปตรวจดีเอ็นเอ พบว่าตรงกับผู้ต้องหาที่เคลื่อนไหวก่อเหตุในพื้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ตั้งแต่ปี 2547 ด้วย จึงขอศาลออกหมายจับผู้ต้องหารายนี้
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ผู้ต้องหาที่ตำรวจขอศาลออกหมายจับดังกล่าว คือ นายอาหะมะ เล็งหะ ซึ่งเป็นมือประกอบระเบิดด้วย โดยศาลทหาร มทบ.41 ได้อนุมัติหมายจับผู้ต้องหาในวันเดียวกัน ข้อหาพยายามวางเพลิง มีวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่สามารถอนุญาตได้ไว้ในครอบครอง
ส่วนการจับกุมนายศักรินทร์ คฤหัสถ์ ชาว อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ พนักงานบริษัทขุดเจาะน้ำมัน นั้น พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เผย(15 ส.ค.) ว่า นายศักรินทร์ถูกทหารและตำรวจควบคุมตัวโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.จักรทิพย์เผยว่า นายศักรินทร์มีสถานะเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชด้วย ข้อหาวางเพลิงห้างเทสโก้ โลตัส โดยยังคงถูกควบคุมตัวโดยทหาร พร้อมยืนยัน ตำรวจยังไม่เพิกถอนหมายจับนายศักรินทร์แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา(17 ส.ค.) พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. ในฐานะหัวหน้าชุดสืบสวนคดีระเบิดฯ ได้สั่งการให้ ผบก.ภ.จว.นครศรีธรรมราช ไปขอเพิกถอนหมายจับนายศักรินทร์ ในข้อหาวางเพลิง พร้อมทั้งให้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อแจ้งข้อกล่าวหามีวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อนุญาตให้มีไว้ในครอบครอง โดยให้ขอหมายจับกับศาลมณฑลทหารบกที่ 41 เนื่องจากเป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง ซึ่งล่าสุด นายศักรินทร์ได้รับการปล่อยตัวแล้วหลังการเพิกถอนหมายจับเสร็จสิ้นตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 18 ส.ค.
มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงได้พบความเชื่อมโยงของขบวนการก่อความไม่สงบ โดยพบว่ามีทั้งหมด 17 คน ซึ่งทั้งหมดถูกควบคุมตัวแล้วใน มทบ.11 อย่างไรก็ตาม ภายหลังได้มีการปล่อยตัวไป 2 คน เนื่องจากทั้งสองปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งต่อมาวันที่ 18 ส.ค. ตำรวจกองปราบฯ ได้นำพยานหลักฐานไปขอศาลทหารกรุงเทพฯ ออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 17 คนดังกล่าว โดยแจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 ข้อหากระทำผิดอั้งยี่และฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 3/2558 ว่าด้วยการชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน เหตุที่ต้องขอศาลออกหมายจับ 2 ผู้ต้องหาที่ปล่อยตัวไปแล้วด้วย เนื่องจากถูกผู้ต้องหาอีก 15 คนให้การซัดทอด
ซึ่งศาลทหารได้อนุมัติหมายจับในวันเดียวกัน สำหรับผู้ที่ถูกออกหมายจับทั้ง 17 คน ประกอบด้วย 1.ด.ต.ศิริรัตน์ มโนรัตน์ ชาว จ.พัทลุง 2.นายวีระชัฏฐ์ จันทร์สะอาด ชาว จ.นนทบุรี 3.นายประพาส โรจนพิทักษ์ ชาว จ.ตรัง 4.นายปราโมทย์ สังหาญ ชาว จ.สตูล 5.นายสรศักดิ์ ดิษปรีชา ชาว กทม.6.น.ส.มีนา แสงศรี ชาว กทม.7.นายศิริฐาโรจน์ จินดา ชาว จ.หนองคาย 8.ร.ต.ต.หญิง วิลัยวรรณ คูณสวัสดิ์ ชาว จ.หนองคาย 9.นายชินวร ทิพย์นวล ชาว จ.เชียงราย 10.นายณรงค์ ผดุงศักดิ์ ชาว จ.อ่างทอง 11.ร.ต.ท.สมัย คูณสวัสดิ์ ชาว จ.หนองคาย 12.นายศรวัชษ์ กระจินดา ชาว จ.มหาสารคาม 13.นายเหนือไพร เช็นกลาง ชาว จ.สกลนคร 14.นายวิเชียร เจียมสวัสดิ์ ชาว จ.นครศรีธรรมราช 15.นายบุญภพ เวียงสมุทร ชาว จ.เชียงราย 16.น.ส.รุจิยา เสาสมภพ ชาว จ.ร้อยเอ็ด 17.นายวิโรจน์ ยอดเจริญ ชาว จ.นครศรีธรรมราช
สำหรับนายสรศักดิ์ ถูกหมายจับเพิ่มอีก 1 ข้อหา คือมีอาวุธปืนที่ไม่ได้รับอนุญาตไว้ในครอบครอง หลังค้นบ้านพักย่านถนนมอเตอร์เวย์ ทับช้าง ย่านสะพานสูง กทม.พบปืนอาก้า 1 กระบอก แมกกาซีน 2 อัน และเครื่องกระสุน 31 นัด ซุกไว้ในท่อน้ำพีวีซีภายในบ้าน
ด้าน พล.ต.ต.ชยพล ฉัตรชัยเดช ผู้บังคับการกองแผนงานอาชญากรรม สำนักยุทธศาสตร์ตำรวจ ได้แถลงผลการจับกุมผู้ต้องหาที่ศาลอนุมัติหมายจับทั้ง 17 คน ว่า ผู้ต้องหาได้ถูกทหารควบคุมตัวหลังเกิดเหตุระเบิดและไฟไหม้ใน 7 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งจากการสืบสวนพบว่า ผู้ต้องหามีการรวมกลุ่มกันที่ จ.นนทบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี และพัทลุง ก่อตั้งตัวในนามกลุ่ม ”พรรคแนวร่วมปฏิวัติประชาธิปไตย (นปป.)” ซึ่งแยกตัวออกมาจากกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) หลังเกิดความขัดแย้งกัน โดยมีการเคลื่อนไหวแบบพรรคคอมมิวนิสต์ ต่อต้านการทำงานของรัฐบาล แต่ยังไม่พบความเชื่อมโยงกับกลุ่มการเมือง โดยอยู่ระหว่างขยายผล และยังไม่มีความเชื่อมโยงกับการก่อเหตุระเบิดและวางเพลิงใน 7 จังหวัดภาคใต้ ส่วนผู้ต้องหาอีก 2 คนที่ถูกปล่อยตัวไป จะเร่งติดตามตัวมาดำเนินคดี
ทั้งนี้ ทหารได้ส่งตัว 15 ผู้ต้องหาดังกล่าวให้ตำรวจกองปราบฯ เมื่อวันที่ 19 ส.ค. เพื่อดำเนินคดีต่อไป ซึ่งตำรวจได้นำตัวทั้ง 15 คนไปขอศาลทหารกรุงเทพฯ ฝากขังในวันเดียวกัน พร้อมคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากการสอบสวนขยายผลยังไม่แล้วเสร็จ หากปล่อยตัว อาจหลบหนี ด้านศาลอนุญาตให้ฝากขัง ขณะที่ทนายความของผู้ต้องหายื่นขอประกันตัวไม่ทัน ศาลทหารจึงมีคำสั่งให้นำตัวผู้ต้องหา ส่งเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทัณฑสถานหญิงกลางบางเขน ต่อไป
ส่วนความคืบหน้าเหตุระเบิดที่หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ นั้น เมื่อวันที่ 18 ส.ค. เจ้าหน้าที่ได้เปิดเผยภาพจากกล้องวงจรปิดพบชายต้องสงสัย 3 คน ที่อาจเป็นผู้ก่อเหตุระเบิดย่านบาร์เบียร์และหอนาฬิกาหัวหิน รวมทั้งวางระเบิดเพลิงเพาเวอร์แบงก์ในตลาดฉัตร์ไชย โดยชายทั้ง 3 คนสวมหมวกเพื่ออำพรางใบหน้า ขณะที่ 1 ใน 3 คน ถือถุงพลาสติก ซึ่งอาจซุกซ่อนระเบิด ขณะนี้ตำรวจชุดสืบสวนภาค 7 ได้ประสานไปยังตำรวจภูธรภาค 9 เพื่อติดตามหาเบาะแสคนร้ายทั้ง 3 คนแล้ว หลังภาพจากกล้องวงจรปิดพบว่า ทั้งสามมีการเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนขึ้นรถตู้ประจวบฯ -ชุมพร เดินทางลงไปยังพื้นที่ภาคใต้
ขณะที่เหตุระเบิดและวางเพลิงที่ จ.สุราษฎร์ธานี นั้น ล่าสุด วันที่ 20 ส.ค. ได้มีการเผยภาพจากกล้องวงจรปิด ผู้ต้องสงสัยเป็นชาย 2 คน ที่อาจเป็นมือวางระเบิดและวางเพลิงที่สุราษฎร์ธานี ซึ่งกล้องวงจรปิดจับภาพชัดเจน แต่เจ้าหน้าที่ยังออกหมายจับไม่ได้ เนื่องจากคนร้ายใส่หมวกและคาดหน้ากากอนามัยปิดบังใบหน้าจนไม่รู้ว่าเป็นใคร อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่จะรวบรวมหลักฐานเพื่อออกหมายจับผู้ก่อเหตุและผู้ร่วมขบวนการมาดำเนินคดีต่อไป
2.กรธ.รับข้อเสนอ สนช.ไปพิจารณา จะให้ ส.ว.ร่วมโหวตนายกฯ อย่างไร-ให้สิทธิเสนอชื่อนายกฯ หรือไม่ ด้าน “บิ๊กตู่” แบ่งรับแบ่งสู้นั่งนายกฯ คนนอก!
ความคืบหน้าหลังทราบผลประชามติร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง ซึ่งประชาชนให้ความเห็นชอบทั้งร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงอย่างล้นหลาม โดยขั้นตอนต่อไป คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ต้องนำร่างรัฐธรรมนูญกลับมาแก้ไขเพื่อบวกคำถามพ่วงเข้าไปด้วย โดยต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน จากนั้นส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอีก 30 วัน หากศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่ายังไม่สอดคล้องกัน ต้องส่งกลับมาให้ กรธ.แก้ไขอีกภายใน 15 วัน เมื่อถูกต้องแล้วจึงจะนำเสนอนายกรัฐมนตรี โดยนายกฯ มีเวลา 30 วัน ก่อนนำความขึ้นกราบบังคมทูลนั้น
เมื่อวันที่ 19 ส.ค. ได้มีการประชุม กรธ. เพื่อพิจารณาปรับแก้ไขบทเฉพาะกาลในร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามคำถามพ่วงที่ผ่านประชามติ โดยเชิญสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมกับ กรธ.ด้วย เพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับคำถามพ่วง ทั้งในประเด็นเจตนารมณ์และเนื้อหาว่า ต้องปรับแก้ไขจุดใดบ้าง และเชื่อมโยงกับมาตราใด โดยเฉพาะในมาตรา 272 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขอยกเว้นเปิดช่องนายกรัฐมนตรีคนนอก หลังจากเลือกนายกรัฐมนตรีตามบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองรอบแรกไม่สำเร็จ
ทั้งนี้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ให้สัมภาษณ์ก่อนประชุมร่วมกับตัวแทน สนช.ถึงการตีความคำถามพ่วงประชามติต่อการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญว่า กรธ.ต้องการที่จะแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญให้ตรงกับเจตนารมณ์ของประชามติ โดยยึดตัวอักษรเป็นหลักตามระบอบการปกครองของประเทศที่ใช้เป็นระบบลายลักษณ์อักษร ซึ่งเมื่อยึดตัวบทอักษรก็ต้องดูที่คำถามพ่วงซึ่งระบุว่า วาระเริ่มแรกจนถึงเวลา 5 ปี รัฐสภา โดย 2 สภาจะเป็นผู้ร่วมกันโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะผูกพันกับระยะเวลามากกว่าจำนวนครั้ง แตกต่างจากในมาตรา 272 ที่มีความผูกพันแค่วาระเริ่มแรกของสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น โดยในมาตรา 272 ระบุอีกว่า ถ้าหากหลังจากการเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งแรกนั้นเกิดการยุบสภาขึ้น หลักการเสนอข้อยกเว้นเพื่อให้ ส.ว.สามารถเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีนอกบัญชีรายชื่อ และร่วมกับ ส.ส.เพื่อโหวตนายกรัฐมนตรีนั้นไม่สามารถทำได้แล้ว เพราะพ้นจากวาระเริ่มแรกของรัฐสภาไปแล้ว
ซึ่ง กรธ.ยังสับสนอยู่ว่าจะนับเรื่องวันแรกที่มีรัฐสภากันอย่างไร เพราะคำว่า 5 ปี ตั้งแต่มีรัฐสภาในคำถามพ่วงนั้น เป็นภาษาชาวบ้าน ถ้าดูภาษากฎหมายก็จะสงสัยว่าจะดูวันที่มีรัฐสภากันอย่างไร ถ้าหากวันเลือกตั้งมี ส.ว.แล้ว จะหมายความว่ามีรัฐสภาแล้วหรือยัง กรธ.มีแนวคิดว่า ถ้าเขียนว่านับตั้งแต่มีการประชุมสภาเป็นครั้งแรกจะชัดเจนกว่าหรือไม่ แต่ปัญหาก็ยังมีอยู่ เนื่องจากการไปเปลี่ยนคำว่ารัฐสภา เป็นคำว่าการประชุมครั้งแรกก็อาจนำมาซึ่งปัญหาได้ ผู้สื่อข่าวถามว่า มี สนช.บางคนอ้างว่า ส.ว.สามารถเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีได้ด้วย นายมีชัยกล่าวว่า ตรงนี้ก็ต้องไปดูตามตัวอักษร ส่วนรายละเอียดตนขอให้ฟังหลังจากที่ กรธ.หารือกับตัวแทน สนช.เรียบร้อยแล้ว พร้อมคาดว่า ภายในครึ่งเดือนหลังจากนี้ กรธ.น่าจะส่งร่างรัฐธรรมนูญไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบได้
หลังการประชุมร่วมระหว่าง กรธ.และตัวแทน สนช.แล้วเสร็จ นายสมชาย แสวงการ 1 ในตัวแทน สนช.ที่เข้าร่วมประชุม เผยว่า ตัวแทน สนช.ได้ชี้แจงเจตนารมณ์ของคำถามพ่วง โดยให้รัฐสภาที่ประกอบด้วย ส.ส. และ ส.ว.สามารถเลือกนายกฯ ภายใน 5 ปี พร้อมให้ กรธ.ไปหาวิธีการสร้างกลไกว่าจะเป็นแบบไหน ซึ่งความเห็นของ สนช.จะไม่มีผลผูกมัด กรธ. และยอมรับว่า มีความเห็นของ สนช.ที่ต้องการให้ ส.ว.มีสิทธิเสนอชื่อนายกฯ ได้ ส่วนวิธีการขึ้นอยู่กับการตีความว่าจะเอาแบบไหน ยกตัวอย่าง หากตีความแบบกว้าง คือ ส.ว.สามารถเสนอชื่อนายกฯ ได้ตั้งแต่เริ่มต้นประชุมรัฐสภาเพื่อเลือกนายกฯ ครั้งแรก แต่หากตีความแบบแคบ ก็สามารถเสนอชื่อภายหลังเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 272 หลังจากที่รัฐสภาไม่สามารถเลือกบุคคลที่จะเป็นนายกฯ ตามบัญชีของพรรคการเมืองได้ ซึ่ง สนช.รับได้ทั้งสองทาง
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พูดถึงกรณี ส.ว.สามารถร่วมเลือกนายกฯ ได้ว่า อยากให้ทุกฝ่ายคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชน เพราะการเลือกนายกฯ ต้องเลือกจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองก่อน ซึ่งเป็นเจตนารมณ์เริ่มต้น ส่วนจะไปตีความขยายอะไร อย่างไรนั้น ขอให้คำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนว่า ประชาชนได้รับทราบข้อมูลอย่างไร การขยายความอะไรต้องคำนึงถึงกรอบที่ได้เสนอไว้ตอนเริ่มต้นด้วย
เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้สื่อข่าวได้นำประเด็นนายกฯ คนนอก ไปถาม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่า จะเป็นนายกฯ คนนอกหรือไม่ พล.อ.ประวิตรตอบว่า “ไม่เอา ไม่เป็นหรอก” นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวยังได้ถามประเด็นนี้กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.เช่นกัน โดย พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่า “ผมคิดว่ามีคนดีมากกว่าผมอีกเยอะแยะในประเทศนี้ ไปดูก็แล้วกัน ถ้าหาคนดีไม่ได้ ค่อยมาพูดกับผม”
3.“ประชา ประสพดี” ย่อยยับตามปาก ถูก สนช.ลงมติถอดถอนออกจากตำแหน่ง รมช.มหาดไทย พร้อมตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี!
เมื่อวันที่ 18 ส.ค. ได้มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เพื่อดำเนินกระบวนการถอดถอนนายประชา ประสพดี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกจากตำแหน่ง กรณีใช้อำนาจหน้าที่แทรกแซงการทำงานขององค์การตลาด(อต.) ในการพิจารณาลงโทษการทุจริตของนายธีธัช สุขสะอาด อดีต ผอ.องค์การตลาด ตามมาตรา 6 วรรค 2 ของรัฐรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ปี 2557 ประกอบมาตรา 64 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) พ.ศ. 2542 โดยเป็นการรับฟังคำแถลงปิดสำนวนด้วยวาจาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้กล่าวหา และนายประชา ผู้ถูกกล่าวหา
โดย น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. แถลงปิดสำนวนโดยยืนยันว่า ป.ป.ช.มีอำนาจพิจารณาถอดถอนนายประชาออกจากตำแหน่งตามกฎหมาย โดยพบว่า นายประชามีพฤติการณ์โทรศัพท์ไปสั่งการรองประธานคณะกรรมการ อต. เมื่อวันที่ 11 พ.ย.55 ขอให้ระงับการประชุม อต.ในวันที่ 12 พ.ย. 2555 ที่มีวาระพิจารณาการเลิกจ้างนายธีธัชออกไปก่อน ทั้งที่ช่วงนั้นนายประชาแม้จะเป็น รมช.มหาดไทย แต่ยังไม่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแล อต. จึงมีเจตนาแทรกแซงการทำงานในหน้าที่ของ อต. ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 266 และ 268 ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 และขัดหลักเกณฑ์บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของรัฐวิสาหกิจ เพราะอำนาจการเลิกจ้างผู้อำนวยการ อต.เป็นของบอร์ด อต. ไม่ใช่อำนาจของ รมช.มหาดไทย อีกทั้งต่อมาเมื่อบอร์ด อต.มีมติเลิกจ้างนายธีธัช ได้สร้างความไม่พอใจให้นายประชา จนมีคำสั่งปลดบอร์ด อต. แสดงถึงการใช้อารมณ์และอำนาจในการบริหารรัฐวิสาหกิจ เป็นการล้วงลูก ทำลายระบบบริหารงานรัฐวิสาหกิจร้ายแรง ไม่ให้มีอิสระในการทำงาน ถูกฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงไม่จบสิ้น จึงเข้าข่ายสมควรให้ สนช.ลงมติถอดถอน
ขณะที่นายประชา ประสพดี อดีต รมช.มหาดไทย แถลงปิดสำนวน โดยปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาของ ป.ป.ช. และยืนยันว่า การกระทำของตนตามที่ถูกกล่าวหาเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรี มิได้มีเจตนาก้าวก่ายแทรกแซงการทำงานของ อต. และไม่ได้เอื้อประโยชน์ต่อตัวเอง หรือผู้อื่น ไม่ได้สร้างความเสียหายแก่ อต. จากสิ่งที่ได้นำเสนอตั้งแต่ตอนแถลงเปิดสำนวน การตอบข้อซักถาม เห็นว่า ข้อกล่าวหาเป็นเรื่องความเห็นต่างในข้อกฎหมายต่อการทำหน้าที่ของตนในฐานะรัฐมนตรีที่มีอำนาจกำกับดูแล อต.และรัฐวิสาหกิจเท่านั้น ไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ นายประชายังกล่าวด้วยว่า “วันที่ 19 ส.ค. ซึ่ง สนช.จะลงมติถอดถอนผมนั้น เป็นวันสำคัญที่สุดต่อชีวิต ทั้งส่วนตัวและชีวิตการเมือง แต่เชื่อมั่นและมั่นใจว่า สมาชิก สนช.ทุกคนจะมีความเมตตากรุณา โดยเฉพาะเรื่องความเป็นธรรมที่จะให้โอกาสด้วยการลงมติหรือวินิจฉัยด้วยประการใด ผมเชื่อและยึดมั่นว่า กฎแห่งกรรมมีจริง หากทำจริงจะต้องย่อยยับไม่วันใดก็วันหนึ่ง เมื่อผลออกมาอย่างไรก็พร้อมยอมรับในมติ”
ทั้งนี้ หลังการแถลงปิดสำนวนคดีด้วยวาจาเสร็จสิ้นแล้ว ที่ประชุม สนช.ได้นัดลงมติถอดถอนหรือไม่ถอดถอนนายประชาในวันรุ่งขึ้น(19 ส.ค.)
เมื่อถึงกำหนด ปรากฏว่า ที่ประชุม สนช.ได้ลงคะแนนลับ โดยผู้ที่ถูกถอดถอนจะต้องมีคะแนนเสียงถอดถอนไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิก สนช.เท่าที่มีอยู่ คือ 218 คน หรือ 131 เสียง ผลการลงมติปรากฏว่า สมาชิก สนช.ลงมติถอดถอนนายประชา ออกจากตำแหน่งด้วยคะแนน 182 เสียง ไม่ถอดถอน 7 เสียง และงดออกเสียง 2 เสียง โดยผลการลงมติถอดถอนดังกล่าวส่งผลให้นายประชาถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี โดยห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือรับตำแหน่งทางราชการ ซึ่งประธานที่ประชุมจะรายงานผลการลงมติดังกล่าวต่อ ครม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป
4.เกิดอุบัติเหตุ ฮ.ตกที่เชียงใหม่ “ผบ.พล.ร.4” พร้อมคณะดับ 5 นาย ด้าน “บิ๊กตู่” เสียใจ-แม่ทัพภาค 3 ยกย่องคนดีที่เสียสละ ขณะที่กองทัพบกเลื่อนยศ-ปูนบำเหน็จ 8 ขั้น!
เมื่อวันที่ 14 ส.ค. ได้เกิดเหตุเฮลิคอปเตอร์รุ่น UH-72 หรือ ลาโกต้า ซึ่งมี พล.ต.นพพร เรือนจันทร์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 4 (ผบ.พล.ร.4) และผู้บัญชาการกองกำลังนเรศวร ขาดการติดต่อ หลังจากปฏิบัติภารกิจนำกำลังพลไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่ อ.ปาย อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ตั้งแต่เมื่อวันที่ 13 ส.ค. โดยขาดการติดต่อตั้งแต่เวลา 10.30 น.วันที่ 14 ส.ค. หลังจากขึ้นบินที่ อ.ปางมะผ้า เพื่อมุ่งหน้ากลับมายัง จ.พิษณุโลก ได้ประมาณ 30 นาที ทั้งนี้ หลังได้รับรายงาน พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เร่งติดตามค้นหาโดยเร็วที่สุด
สำหรับเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าว มีผู้โดยสารทั้งหมด 5 คน นอกจาก พล.ต.นพพร แล้ว ยังมี ร.อ.สุทัน อ่องเมือง นักบินที่ 1, ร.ท.นวพัฒน์ มณีโชติ นักบินที่ 2, จ.ส.อ.ชัยศักดา ทาโส ช่างเครื่อง และ จ.ส.ต.มงคลชัย รู้งาน ช่างเครื่อง อย่างไรก็ตาม หลังการค้นหาดำเนินไปกระทั่งถึงช่วงดึกคืนเดียวกัน ก็ยังไม่พบเฮลิคอปเตอร์และคณะของ พล.ต.นพพร แต่อย่างใด ประกอบกับสภาพอากาศปิด จึงต้องหยุดการค้นหาชั่วคราว
นายทศพล เผื่อนอุดม นายอำเภอแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า สัญญาณจากเฮลิคอปเตอร์หายไปตรงจุดยอดดอยอินทนนท์ สูงจากระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร เป็นหน้าผาสูงชันและป่าทึบ ทำให้การค้นหาเป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะสภาพอากาศปิด ประกอบกับฝนตกหนัก แต่ยืนยันว่า ทีมค้นหาได้กลิ่นน้ำมันบริเวณกิโลเมตรที่ 46 และชาวบ้านได้ยินเสียงดังบริเวณพื้นที่ 422560 ทีมค้นหาจึงตีวงแคบลง ทั้งนี้ มีรายงานว่า เวลา 16.00 น.ของวันที่ 14 ส.ค. มีสัญญาณโทรออกจากเครื่องโทรศัพท์ของ พล.ต.นพพร ประมาณ 15 วินาที มายังเครื่องของคนใกล้ชิด แต่เมื่อรับแล้ว ไม่มีเสียงพูด
หลังการค้นหาเริ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงเช้าวันที่ 15 ส.ค.ได้มีการระดมเจ้าหน้าที่ทุกส่วน 400 นาย แบ่งเป็น 40 ชุด ปูพรมค้นพื้นที่ เริ่มจากบริเวณกิ่วแม่ปาน กระทั่งช่วงบ่าย 13.20 น.เจ้าหน้าที่พบซากเฮลิคอปเตอร์ของคณะ พล.ต.นพพร บริเวณเนิน 425 ไม่แน่ชัดว่าเป็นส่วนหางหรือใบพัด ขณะที่ พล.ต.โกศล ประทุมชาติ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 เผยว่า ลักษณะซาก ฮ.ที่พบ คาดว่าพยายามยกตัวขึ้น เนื่องจากต้นไม้โดยรอบถูกตัดกระจัดกระจาย นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนเอกสารด้วย จากนั้น ให้หลังประมาณ 1 ชั่วโมง ทีมค้นหาก็พบศพ พล.ต.นพพร ติดอยู่ใน ฮ. ส่วนศพที่เหลือ กระเด็นห่างออกไป
ด้าน พล.ท.สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล แม่ทัพภาคที่ 3 แถลงข่าวในเวลาต่อมาว่า จุดที่พบศพทหารทั้ง 5 นาย อยู่บริเวณเนิน 2445 ช่วงกิ่วแม่ปานถึงสถานีเรดาห์กองทัพอากาศ ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ โดยพบหลังใช้เวลาค้นหากว่า 29 ชั่วโมง ส่วนสาเหตุ เบื้องต้นคาดว่า ฮ.ลำดังกล่าวไม่ได้ชนภูเขา แต่อาจเกิดจากสภาพอากาศปิด ทำให้อาจเสียการทรงตัวและร่วงกระแทกพื้นอย่างแรง ชิ้นส่วนกระจัดกระจาย ไม่มีการระเบิดหรือไฟลุกไหม้ อย่างไรก็ตาม ได้ให้กำลังทหารเฝ้าจุดเกิดเหตุไว้ เพื่อรอเจ้าหน้าที่วิเคราะห์และสอบสวนอากาศยาน ของศูนย์นิรภัยการบินมาตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริงอีกครั้ง
พล.ท.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง พล.ต.นพพรเป็นผู้ที่มีความเสียสละในการทำงานเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยตรง หรือหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ผู้ตกทุกข์ได้ยาก พล.ต.นพพรจะลงไปดูแลให้ความช่วยเหลือตั้งแต่มอบของอุปโภคบริโภค รวมถึงการสร้างบ้านพักให้กับผู้ที่ยากไร้ ในฐานะผู้บังคับบัญชาและในนามกองทัพบก รู้สึกเสียใจที่ชาติได้สูญเสียบุคคลดีๆ เช่นนี้
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวถึงอุบัติเหตุ ฮ.ตก และคณะของ พล.ต.นพพร เสียชีวิต 5 นายว่า “เสียใจจริงๆ กับผู้สูญเสีย ผมก็สูญเสียเอง เพราะเป็นทั้งอดีตผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาผมทั้งสิ้น... ผมน้อมรับ จะดูแลครอบครัวเขาให้ดีที่สุด” พล.อ.ประยุทธ์ เผยด้วยว่า ฮ.ดังกล่าวเป็นลำใหม่ เป็น ฮ.ที่ทันสมัยที่สุด มีสมรรถนะสูง ผลิตจากประเทศสหรัฐอเมริกา และว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะต้องสอบสวนหาสาเหตุ จะได้ป้องกันต่อไป
ด้านกองทัพบกได้จัดพิธีศพนายทหารทั้ง 5 นายร่วมกัน 1 คืน เมื่อวันที่ 16 ส.ค. ที่วัดลัฏฐิวัน พระนอนขอนตาล อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นวัดที่ พล.ต.นพพร เป็นโยมอุปัฏฐาก เนื่องจากมีภูมิลำเนาอยู่ที่นี่ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพทหารทั้ง 5 นาย เมื่อเวลา 17.00 น.วันที่ 16 ส.ค. โดยมี พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานในพิธี โดย พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า ถือเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของกองทัพบก พร้อมยืนยัน กองทัพบกจะดูแลครอบครัวของกำลังพลผู้เสียชีวิตทั้ง 5 นายเป็นอย่างดี เพราะถือว่าทุกคนเป็นครอบครัวของกองทัพบก
สำหรับพิธีศพนายทหารทั้ง 5 นายนั้น พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก เผยว่า หลังจากสวดพระอภิธรรมศพนายทหารทั้ง 5 นายร่วมกัน 1 คืนแล้ว จากนั้นจะแยกไปประกอบพิธีทางพุทธศาสนาตามภูมิลำเนาของแต่ละนาย ด้าน พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก เผยว่า เบื้องต้น นายทหารทั้ง 5 นาย จะได้รับเงินช่วยเหลือประมาณ 2-5 ล้านบาท ตามสิทธิของแต่ละคน พร้อมปูนบำเหน็จพิเศษ 8 ขั้น และได้รับพระราชทานยศสูงขึ้น โดย พล.ต.นพพร เป็น “พล.อ.” , ร.อ.สุทัน เป็น “พล.ท.” , ร.ท.นวพัฒน์ เป็น “พล.ต.” , จ.ส.อ.ชัยศักดิ์ดา เป็น “พล.ท.” และ จ.ส.ต.มงคล เป็น “ร.อ.”
5. “ธัมมชโย” ถูกศาลออกหมายจับใบที่ 2 คดี “สวนป่าหิมวันต์” รุกป่า จ.เลย ด้านวัดพระธรรมกายรีบออกโรงป้องไม่ผิด!
ความคืบหน้ากรณี พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามผู้มีอิทธิพลและมือปืนรับจ้าง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้สนธิกำลังเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายปฏิบัติการตรวจค้นทวงคืนผืนป่าจาก "สวนป่าหิมวันต์" บ้านร่องจิก อ.ภูเรือ จ.เลย หนึ่งในศูนย์ปฏิบัติธรรมเครือข่ายวัดพระธรรมกาย ซึ่งรุกพื้นที่ป่าและมีการก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้าง บุกรุกที่สาธารณะและทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 14 ก.ค.ที่ผ่านมา ตามหมายค้นศาลจังหวัดเลย โดยพบว่ามีการออกหลักฐาน นส.3 ก เท็จ รุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้าและป่าภูเรือ เนื้อที่รวม 129 ไร่ ซึ่งออกให้ในชื่อ พระไชยบูลย์ สุทธิผล หรือพระธัมมชโย อันเป็นความผิดฐานก่อสร้าง แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่า หรือเข้ายึดถือ หรือครอบครองป่า เพื่อตนเองหรือผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 เข้าไปยึดถือ ครอบครอง รวมถึงการก่อสร้าง หรือเผาป่าฯ และมีความผิดตามมาตรา 9 (108 ทวิ) ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 นั้น
เมื่อวันที่ 16 ส.ค. พ.ต.อ.ปิติพัฒน์ ธวัชวิเชียร รองผู้บังคับการสถานีตำรวจภูธร จ.เลย หัวหน้าทีมพนักงานสอบสวนคดีสวนป่าหิมวันต์ เผยว่า ศาลจังหวัดเลยได้อนุมัติออกหมายจับพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย และวัดพระธรรมกาย พร้อมแจ้งข้อกล่าวหานายศักดิ์ชาย มงคลเคหา ผู้ดูแล ในข้อหาร่วมยึดถือ ครอบครอง ทำประโยชน์ อยู่อาศัยในที่ดินก่อสร้าง แผ้วถาง หรือกระทำโดยประการใด อันเป็นการทำลายป่า และเป็นการเสื่อมเสียป่าสงวนแห่งชาติ โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามหมายจับศาลจังหวัดเลย ลงวันที่ 15 ส.ค. 2559 เลขที่ 174/59 และ 175/59
พ.ต.อ.ปิติพัฒน์ เผยด้วยว่า ตั้งแต่วันที่เข้าตรวจค้น พนักงานสอบสวนพบว่าสวนป่าหิมวันต์ ต.ร่องจิก มีการกระทำความผิดจริง จึงได้รวบรวมหลักฐานขออนุมัติศาลจังหวัดเลย ออกหมายจับพระธัมมชโย และวัดพระธรรมกาย และแจ้งข้อกล่าวหานายศักดิ์ชาย ร่วมครอบครองที่ดินโดยผิดกฎหมาย โดยสอบสวนพบว่า มีการรวมโฉนดที่ดิน น.ส.3 ก.จำนวน 10 แปลง 84 ไร่ รวมออกเป็นโฉนดฉบับเดียวเป็น 129 ไร่ ซึ่งพื้นที่เพิ่มขึ้น 45 ไร่ และอยู่ในพื้นที่ป่าสงวน ถือว่าครอบครองโดยผิดกฎหมาย จึงได้ขอศาลจังหวัดเลยออกหมายจับ
ทั้งนี้ ตำรวจภูธรจังหวัดเลยได้ส่งหมายจับไปยังสถานีตำรวจทั่วประเทศ หากพบตัวพระเทพญาณมหามุนี ที่ใด สามารถจับกุมตัวได้ ส่วนการรวบรวมหลักฐานเพื่อส่งให้อัยการฟ้อง คาดว่าจะสามารถรวบรวมเอกสารและหลักฐานให้แล้วเสร็จได้ในเดือน ก.ย.
ส่วนนายศักดิ์ชาย มงคลเคหา ผู้ดูแลพื้นที่ดังกล่าว ได้เข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ ซึ่งตำรวจได้แจ้งข้อกล่าวหานายศักดิ์ชายโดยไม่ได้ขอหมายจับ ในข้อหาร่วมกันบุกรุก แผ้วถางป่าสงวน ซึ่งโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ พ.ต.อ.ปิติพัฒน์ได้นำภาพมาแสดงให้เห็นการบุกรุกพื้นที่อีกจุดหนึ่งในบริเวณห้วยน้ำข้าวมัน ซึ่งเป็นการบุกรุกพื้นที่ลำน้ำ จึงต้องมีการดำเนินคดีเช่นกัน
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังพระธัมมชโยถูกศาล จ.เลย ออกหมายจับกรณีสวนป่าหิมวันต์รุกที่ป่าสงวน ปรากฏว่า สำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย ได้แถลงข่าวปฏิเสธข้อกล่าวหาบุกรุกป่า จ.เลย โดยยืนยันว่า พื้นที่ของสวนป่าหิมวันต์ มีพื้นที่ 129 ไร่ และปัจจุบันผู้ครอบครอง คือ วัดพระธรรมกาย ไม่ใช่พระธัมมชโยแต่อย่างใด พร้อมอ้างว่า การกล่าวหาว่าสวนป่าหิมวันต์ หรือวัดพระธรรมกาย หรือพระธัมมชโยบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เป็นข้อกล่าวหาที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เป็นการจงใจใส่ร้ายป้ายสีด้วยข้อมูลที่ไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง และว่า พื้นที่ 52 ไร่ นอกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 726 ไม่ใช่พื้นที่ของสวนป่าหิมวันต์ หรือวัดพระธรรมกาย หรือพระธัมมชโย ปัจจุบันเป็นของนายศุภมิตร ชินวงศ์ ซึ่งเป็นชาวบ้านบ้านแก่ง หมู่ 1 ตำบลร่องจิก อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย โดยพื้นที่ดังกล่าวอยู่นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ ถูกจำแนกออกจากเขตป่าไม้ถาวรและเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า ป่าภูเรือ ตามมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อปี 2532 วันที่ 6 ตุลาคม 2532
ด้าน พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) กล่าวถึงกรณีที่ศาล จ.เลยออกหมายจับพระธัมมชโยคดีบุกรุกป่าว่า เป็นหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการติดตามจับกุมตัว ซึ่งดีเอสไอก็มีหมายจับพระธัมมชโยอยู่คดีสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร ดังนั้นหากหน่วยงานใดจับกุมพระธัมมชโยได้ก่อน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็สามารถนำหมายจับไปดำเนินการอายัดตัวเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปได้ ส่วนการขอหมายค้นวัดพระธรรมกายเพื่อจับกุมพระธัมมชโยนั้น พ.ต.อ.ไพสิฐกล่าวว่า ดีเอสไอยังประเมินสถานการณ์และความเหมาะสมในการขอหมายค้นอยู่ตลอด ส่วนกรณีที่วัดพระธรรมกายแถลงข่าวยืนยันความบริสุทธิ์ว่าไม่ได้บุกรุกป่าที่ จ.เลยนั้น พ.ต.อ.ไพสิฐกล่าวว่า เป็นสิทธิของวัดพระธรรมกายที่จะออกมาแถลง แต่ตนเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมว่า ศาลออกหมายจับต้องมีหลักฐานเพียงพอ โดยศาลเชื่อว่าบุคคลนั้นมีส่วนในการกระทำผิด มิฉะนั้นศาลคงไม่พิจารณาหมายจับให้