คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.สังคมสวดยับ “เสี่ยบุญชัย” ปลุกคนเข้าวัดธรรมกายป้อง “ธัมมชโย” ประชาชนแห่ย้ายค่ายหนี “ดีแทค” สั่งสอนบุญชัย ด้าน “เวิลด์พีซ วัลเล่ย์” สาขาธรรมกายที่ปากช่อง ส่อผิด กม.!
ความคืบหน้ากรณีพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ถูกศาลออกหมายจับข้อหาสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร แต่พระธัมมชโยไม่ยอมเข้ามอบตัว โดยอ้างว่าป่วย ต่อมากรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ได้ขอศาลออกหมายค้นวัดพระธรรมกายเพื่อจับกุมพระธัมมชโย ซึ่งศาลอนุมัติ และได้เข้าค้นวัดเมื่อวันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถเข้าค้นได้ เนื่องจากศิษยานุศิษย์และญาติธรรมวัดพระธรรมกายนั่งขวางทางเดินในวัด ไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ดีเอสไอผ่าน พร้อมออกแถลงการณ์ว่า พระธัมมชโยจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมก็ต่อเมื่อบ้านเมืองเข้าสู่สภาวะปกติและเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์แล้วเท่านั้น ส่งผลให้วัดพระธรรมกายถูกกระแสสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักที่ใช้ข้ออ้างทางการเมืองมาปกป้องพระธัมมชโย ซึ่งเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาล ขณะที่ฝ่ายดีเอสไอ เมื่อไม่สามารถเข้าค้นวัดพระธรรมกายได้ จึงยอมยุติการเข้าตรวจค้น ไว้รอโอกาสเหมาะสม จึงจะขอศาลออกหมายค้นครั้งที่สองนั้น
ปรากฏว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีผู้โพสต์คลิปวิดีโอรายการ “ข่าวเคลียร์ เคลียร์ข่าวชัด” ของโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเครือข่ายวัดพระธรรมกาย ประจำวันที่ 17 มิ.ย. โดยตอนหนึ่งรายการได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือดีแทค นักธุรกิจใหญ่คนสำคัญที่สนับสนุนวัดพระธรรมกาย ได้พูดโน้มน้าวเชิญชวนให้ประชาชนรีบมาปฏิบัติธรรมที่วัดพระธรรมกาย เพื่อให้พระธัมมชโยได้พ้นมลทินจากที่ถูกใส่ร้าย และจะได้อยู่ในวงบุญของพระธัมมชโยทุกชาติไป “วันนี้ผมได้มาเชิญชวนให้ทุกท่านร่วมปฏิบัติธรรมกันใจใสๆ แผ่เมตตา จากเช้าวันนี้(16 มิ.ย.) ผมก็เชื่อว่าทุกท่านได้เห็นจากข่าวที่ออกไปว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ผมก็คิดว่าพลังที่เราจะมาร่วมกันนับล้าน เพื่อปฏิบัติธรรม เพื่อแผ่เมตตาให้กับสิ่งที่มันจะไม่ดี ที่จะเกิดขึ้นกับพระเดชพระคุณหลวงพ่อของเรา ให้มันหายไป หลวงพ่อมีความหมายต่อเรามากครับ ถ้าไม่มีหลวงพ่อก็ไม่มีเรา หลวงพ่อเปรียบประดุจเหมือนแสงสว่างให้กับชาวโลก สันติสุขของโลกจะเกิดขึ้นได้ถ้าทุกคนนั่งขัดสมาธิ แล้วก็นั่งตรึกนึกถึงศูนย์กลางกาย สิ่งเหล่านี้จะหายไปหมดเลยครับ ถ้าเกิดสิ่งไม่ดีขึ้นกับพระเดชพระคุณหลวงพ่อของเรา”
“ขอเรียนเชิญทุกท่านนะครับที่นั่งดูอยู่ ถ้าท่านเดินทางมาได้ เดินทางมาร่วมปฏิบัติธรรมกับผมนะครับ กับพี่น้องของเราอีกจำนวนมากนะครับ ยิ่งมากันได้ทั้งประเทศก็ยิ่งเป็นเรื่องที่ดีครับ เริ่มตั้งแต่วันนี้ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ มากันให้หมดเลยครับ เราไม่ต้องรอนะฮะ เรื่องพวกนี้คราวนี้คงไม่ต้องรอนะครับ เรียนเชิญมาปฏิบัติธรรมครั้งใหญ่ของเรา เพื่อให้พลังแห่งสันติสุขมันเกิดขึ้น นำความสันติสุขมาสู่ประเทศไทยของเราอีกครั้งหนึ่งนะครับ ให้เรื่องที่มันเป็นเรื่องเข้าใจผิด เป็นเรื่องที่มองข้ามไป ได้เป็นที่ประจักษ์ ให้หลวงพ่อเราได้รับความเป็นธรรม ให้พ้นมลทินจากที่ถูกใส่ร้าย อานิสงส์ผลบุญที่เรามาร่วมกันนะครับ เป็นจำนวนล้าน ก็จะทำให้เราอยู่ในวงบุญของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ทุกภพทุกชาติไปนะครับ ตราบจนถึงที่สุดแห่งธรรม เรียนเชิญนะครับ ผมจะรอคอยทุกท่านอยู่”
ทั้งนี้ คำพูดของนายบุญชัย ถูกหลายฝ่ายในสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ว่าไม่เหมาะสมและน่าจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย เนื่องจากเป็นการปลุกระดมให้ประชาชนไปรวมตัวกันที่วัดพระธรรมกายเพื่อปกป้องพระธัมมชโย ไม่ให้ดีเอสไอเข้าตรวจค้นวัดเพื่อจับกุมพระธัมมชโยได้ ซึ่งดีเอสไออยู่ระหว่างตรวจสอบว่า คำพูดของนายบุญชัยเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่
ขณะที่ปฏิกิริยาจากผู้ไม่พอใจ ได้แก่ นายธนัตถ์ ธนากิจอำนวย หรือนัท ทายาทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โนเบิล ได้โพสต์เฟซบุ๊กตำหนินายบุญชัยว่าไม่มีสิทธิ์ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวแก้ต่างให้พระธัมมชโย จะใหญ่จะรวยมาจากไหน ก็ไม่ใหญ่ไปกว่ากฎหมายและอาญาแผ่นดิน “คุณไม่มีสิทธิ์ คุณทำไม่ได้ นี่ไม่ใช่การเชิญชวนไปปฏิบัติธรรม แต่เป็นการชักชวนไปชุมนุม ที่มีนัยทางการเมือง (ผิด พ.ร.บ.ชุมนุมฯ) การกระทำเช่นนี้มีความผิดฐานยุยง ปลุกปั่น ปลุกระดม ตามกฎหมายอาญา มาตรา 116 หนำซ้ำยังเป็นการขัดขวางการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่”
เป็นที่น่าสังเกตว่า ท่ามกลางกระแสไม่พอใจการกระทำของนายบุญชัย ที่ออกมาปกป้องพระธัมมชโย โดยไม่สนใจกฎหมาย ส่งผลให้ประชาชนที่ใช้เครือข่ายโทรศัพท์มือถือของดีแทค แห่ไปย้ายค่ายจำนวนมาก โดยหนึ่งในผู้ที่ย้ายค่าย คือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยหันไปใช้ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) หรือ CAT รวมถึงชุมชนชาวสันติอโศกและกลุ่มผู้สนับสนุนอีกจำนวนมาก ขณะที่ดีแทค ได้ออกมาชี้แจงว่า นายบุญชัยเป็นแค่กรรมการคนหนึ่งของบริษัท การแสดงความคิดเห็นของนายบุญชัยเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ดีแทคไม่มีนโยบายฝักใฝ่การเมือง หรือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง และไม่ยุ่งเกี่ยวกับความเชื่อใดๆ ของแต่ละบุคคล
ส่วนความเคลื่อนไหวของวัดพระธรรมกายนั้น เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. ได้มีการพาสื่อมวลชนเข้าดูอุโบสถของวัด เพื่อพิสูจน์ว่า ไม่มีการซุกซ่อนอาวุธหรือสิ่งผิดกฎหมายในวัดตามที่มีข่าวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังมีข่าวว่าทางวัดซุกซ่อนอาวุธ ทางวัดไม่ได้ให้สื่อมวลชนเข้าตรวจสอบในทันที แต่ประกาศผ่านสื่อล่วงหน้า 2 วัน(21 มิ.ย.) แล้วจึงพาสื่อเข้าตรวจสอบในวันที่ 23 มิ.ย.
ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. เริ่มมีประเด็นใหม่เกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย โดยมีผู้แจ้งเบาะแสให้ดีเอสไอเข้าตรวจสอบการก่อสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรม “เวิลด์พีซ วัลเล่ย์” ที่เชาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นสาขาของวัดพระธรรมกาย เนื่องจากอาจเข้าข่ายบุกรุกที่ดินของรัฐ ทั้งนี้ พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล ผบ.สำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ดีเอสไอ กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า บริเวณดังกล่าวมีการปิดกั้นไม่ให้ใครเข้าออก การซื้อพื้นที่ มีการใช้ชื่อบุคคลอื่นในการครอบครอง จากการตรวจสอบภาพถ่ายดาวเทียม พบว่ามีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ต้องตรวจสอบว่ามีการบุกรุกที่ดินในปีใด บุกรุกพื้นที่กรมป่าไม้ และสำนักงานเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) หรือไม่ หากพบว่ามีการบุกรุก จะถือว่าผิดกฎหมาย
ด้านนายปิฎก อ่อนแก้ว ผู้ปกครองนิคมสร้างตนเองลำตะคอง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.นครราชสีมา กล่าวถึง “เวิลด์พีซ วัลเล่ย์” สาขาของวัดพระธรรมกายว่า จากการตรวจสอบพบว่า เดิมพื้นที่บริเวณดังกล่าวอยู่ในนิคมสร้างตนเองลำตะคอง ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพให้กับสมาชิกเกษตรกรรม ซึ่งเกษตรกรที่สมัครเป็นสมาชิกและผ่านการคัดเลือก จะได้ น.ค.3 และ น.ค.5 เข้าทำกิน ตามเกณฑ์อย่างน้อย 10 ปี จึงนำไปออกเอกสารสิทธิ น.ส.3 ก. และโฉนดได้ แต่วัตถุประสงค์เพื่อทำการเกษตรกรรม แต่กรณีของสาขาวัดพระธรรมกาย มีการสร้างอาคารหลายชั้น ถือว่านำพื้นที่ไปทำผิดวัตถุประสงค์ ขณะนี้กำลังปรึกษาฝ่ายกฎหมายว่าจะดำเนินการและมีความผิดอย่างไร
2.ตำรวจออกหมายเรียก “จตุพร” พร้อมพวก 19 นปช.ขัดคำสั่ง คสช.เปิดศูนย์ปราบโกงฯ ด้านศาล รธน.นัดลงมติ ม.61 วรรคสอง ขัด รธน.หรือไม่ 29 มิ.ย.นี้!
ความคืบหน้ากรณีแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) นำโดยนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช.ประกาศว่า จะเดินหน้าเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 19 มิ.ย.แน่นอน แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะออกมาส่งสัญญาณว่า ไม่ให้ตั้งก็ตาม
ปรากฏว่า เมื่อถึงกำหนด(19 มิ.ย.) แกนนำ นปช.ได้เตรียมแถลงเปิดตัวศูนย์ปราบโกงประชามติที่ห้างอิมพิเรียลฯ ลาดพร้าว แต่ได้มีตำรวจจากกองบังคับการตำรวจนครบาล 4 มากระจายกำลังทั่วบริเวณชั้น 5 ของห้าง ซึ่งเป็นสถานที่ที่เตรียมแถลงข่าว จากนั้น แกนนำ นปช.นำโดยนายจตุพร ได้เจรจากับตำรวจ เพื่อเข้าไปแถลงข่าว แต่ตำรวจยืนยันไม่ให้แถลง แกนนำ นปช.จึงแถลงข่าวบริเวณหน้าประตู
ทั้งนี้ นายจตุพรได้แถลงโจมตี พล.อ.ประยุทธ์อย่างหนัก โดยอ้างว่า พล.อ.ประยุทธ์ เคยบอกว่าตั้งศูนย์ปราบโกงฯ ได้ แต่ภายหลังกลับบอกว่า ตั้งไม่ได้ “ขอทำนายว่า จุดจบของ พล.อ.ประยุทธ์นั้น จะเหมือน พล.อ.สุจินดา คราประยูร ในปี 2535 ขอให้ท่านภาคภูมิใจกับความสุขเล็กๆ น้อยๆ ที่ท่านได้จากการปิดศูนย์ปราบโกงฯ ในวันนี้ แต่ปิดได้เพียงแค่สถานที่ แต่จะเดินหน้าเต็มเปี่ยม ไม่หวั่นไหวต่ออำนาจเผด็จการ พล.อ.ประยุทธ์ ท่านไม่เหลืออะไรแล้ว ท่านสูญเสียภาวะผู้นำ ท่านเป็นคนที่ไม่รักษาคำพูด เสียสัตย์ แต่พวกผมทั้งประเทศจะทำหน้าที่เป็นพลเมืองดีกันต่อไป”
นายจตุพร ยังบอกด้วยว่า หากเปิดศูนย์ไม่ได้ ก็จะใช้วิธีแจ้งข่าวทางโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อสหประชาชาติในวันที่ 20 มิ.ย. นายจตุพรยังแถลงอีกครั้งในเวลาต่อมาด้วยว่า ภาพรวมการเปิดศูนย์ปราบโกงฯ ของ นปช.ในวันที่ 19 มิ.ย. ทั้ง 76 จังหวัด มีการเปิดได้และเปิดไม่ได้จำนวนไม่แตกต่างกันมาก
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เผย(20 มิ.ย.) ว่า ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับนายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ(ยูเอ็น) ถึงสถานการณ์บ้านเมือง ที่ขณะนี้กำลังเตรียมการต่างๆ ทั้งระยะเวลาการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญและการเข้าสู่การเลือกตั้ง ยืนยันว่า ทุกอย่างเดินตามโรดแมป รวมทั้งได้เล่าให้เลขาฯ ยูเอ็นฟังถึงความเคลื่อนไหวของคนไม่หวังดีด้วย ซึ่งเลขาฯ ยูเอ็นรับทราบทั้งหมดแล้ว
เป็นที่น่าสังเกตว่า วันต่อมา(21 มิ.ย.) ศูนย์ข่าวสหประชาชาติ ได้เผยแพร่แถลงการณ์ของโฆษกประจำตัวของนายบัน คี มูน เลขาธิการยูเอ็น ซึ่งระบุเกี่ยวกับการหารือทางโทรศัพท์ระหว่างนายบัน คี มูน กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.ว่า เลขาธิการยูเอ็นย้ำความพร้อมของยูเอ็นที่จะให้การสนับสนุนไทยในการเตรียมความพร้อมเพื่อการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญที่จะนำพาประเทศไทยกลับสู่ประชาธิปไตย และว่า เลขาธิการยูเอ็นได้ย้ำถึงความจำเป็นของการมีเวทีที่เปิดกว้างและต้องให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการพูดคุยเพื่อเป็นหลักประกันความชอบธรรมของรัฐธรรมนูญ และสร้างความปรองดองในชาติอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ นปช. ได้ออกมาเปิดเผยว่า พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ คณะทำงานพิเศษฝ่ายกฎหมายของ คสช. ได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปราม ให้ดำเนินคดีแกนนำ นปช. ข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ที่ห้ามมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนขึ้นไป จากกรณีที่ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวศูนย์ปราบโกงประชามติ ที่ห้างอิมพีเรียลฯ ลาดพร้าว เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.
สำหรับรายชื่อแกนนำ นปช.ที่ถูกแจ้งความดำเนินคดีมี 19 คน ประกอบด้วย นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นางธิดา ถาวรเศรษฐ, จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ, นพ.เหวง โตจิราการ, นายนิสิต สินธุไพร, นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ, นายยงยุทธ ติยะไพรัช, นายก่อแก้ว พิกุลทอง, นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์, นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์, นายสมหวัง อัสราษี, นายยศวริศ ชูกล่อม,นายธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ, นายเกริกมนตรี รุจโสตถิรพัฒน์, นายอารี ไกรนรา, นายสมชาย ใจมุ่ง, นายศักดิ์รพี พรหมชาติ และนายพรศักดิ์ ศรีละมุล
ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนกองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปราม ได้ออกหมายเรียก นปช.ทั้ง 19 คนให้มารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ เวลา 10.00 น. ที่กองบังคับการปราบปราม หากไม่มา พนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียกอีก 1 ครั้ง หากยังไม่มาอีก จะออกหมายจับเพื่อดำเนินคดีต่อไป
ด้านแกนนำ นปช.ไม่พอใจที่ถูกออกหมายเรียก จึงได้ไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่หยุดคุกคามประชาชนที่เปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ รวมทั้งไปร้องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ว่าถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพในการเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ
ส่วนความคืบหน้ากรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่ามาตรา 61 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ขัดต่อรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 หรือไม่นั้น ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ศาลรัฐธรรมนูญได้ยกคำขอของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ที่ขอส่งสมาชิก สนช.แถลงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมด้วยวาจา ซึ่งศาลฯ ไม่อนุญาต โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากเอกสารหลักฐานในสำนวนมีเพียงพอที่ศาลจะวินิจฉัยได้แล้ว ทั้งนี้ ศาลฯ ได้นัดแถลงด้วยวาจาพร้อมลงมติว่า มาตรา 61 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ประชามติ ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในวันที่ 29 มิ.ย.นี้ เวลา 13.30 น.
เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ตั้งแต่ 24 มิ.ย.เป็นต้นไป จะพูดเรื่องรัฐธรรมนูญทุกวัน วันละ 5 นาที โดยถ่ายทอดสดทางเฟซบุ๊ก พร้อมเผยเหตุผลที่ทำเช่นนี้ว่า เพื่อช่วยเหลือคนที่ไม่มีเวลาอ่านรัฐธรรมนูญ โดยตนจะช่วยอ่านแทน ทั้งนี้ นายสุเทพจะบอกคนที่มาติดตามเฟซบุ๊กตนด้วยว่า ตนจะไปลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ขณะที่หลายคนสงสัยว่า การกระทำของนายสุเทพจะถือว่าผิด พ.ร.บ.ประชามติหรือไม่ ซึ่งนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.กล่าวเมื่อวันที่ 23 มิ.ย.ว่า ยังไม่ได้ฟังที่นายสุเทพพูด แต่การพูดถึงเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ แค่ต้องไม่พูดเท็จ ไม่หยาบคาย หรือปลุกระดม ก็จะไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ส่วนจะผิดกฎหมายอื่น เช่น คำสั่ง คสช.หรือไม่นั้น นายสมชัยบอกว่า ถ้าไม่ลงถนนก็ไม่โดน ผู้สื่อข่าวถามว่า เปรียบเทียบกับกลุ่ม นปช.ที่ถูกฝ่ายความมั่นคงตั้งข้อหาได้หรือไม่ นายสมชัยกล่าวว่า นปช.ลงถนน อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรม
3.“ออง ซาน ซูจี” เยือนไทยอย่างเป็นทางการ แรงงานพม่าในไทยแห่ต้อนรับ ก่อนลงนามความตกลงกับรัฐบาลไทย 3 ฉบับ!
เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. นางออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา พร้อมด้วยนายเต็ง ส่วย รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ตรวจคนเข้าเมือง และประชากร นายจ่อ วิน รัฐมนตรีวางแผนและการคลัง และนายจ่อ ติน รัฐมนตรีแห่งรัฐว่าด้วยกิจการต่างประเทศ ได้เดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลไทย ตามคำเชิญของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 23-25 มิ.ย.
ทั้งนี้ ทันทีที่นางซูจีเดินทางมาถึงไทย ได้เดินทางไปพบแรงงานชาวพม่าที่ตลาดทะเลไทย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เพื่อรับฟังปัญหาของแรงงานพม่า โดยมีแรงงานพม่านับหมื่นคนไปรอต้อนรับ โดยนางซูจี กล่าวกับแรงงานพม่าตอนหนึ่งว่า ชาวพม่าในไทยถือว่าเป็นเหมือนแขกที่ไปเยือนประเทศอื่น เพราะฉะนั้นต้องรัก ต้องซื่อสัตย์ และประพฤติตนให้ดีต่อเจ้าของบ้าน มีอะไรก็พูดคุยกัน ขอเน้นย้ำเรื่องความสามัคคี รวมทั้งต้องทำในสิ่งที่ถูกต้องตามกระบวนการของกฎหมายในประเทศไทยด้วย
วันต่อมา(24 มิ.ย.) นางอองซาน ซูจี ได้เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ทำเนียบรัฐบาล ก่อนหารือข้อราชการ และลงนามความตกลงร่วมกัน 3 ฉบับ ประกอบด้วย บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลเมียนมา และบันทึกความตกลงว่าด้วยการข้ามแดน
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวระหว่างแถลงร่วมกับนางซูจีตอนหนึ่งว่า การคุ้มครองแรงงานเมียนมาในประเทศไทย เราทั้งสองเห็นพ้องว่า ภาคเอกชนไทยและแรงงานเมียนมาต่างพึ่งพากัน และยังประโยชน์ต่อกันและกัน ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยให้การคุ้มครองและดูแลแรงงานเมียนมาเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาพยาบาล และการศึกษาของบุตรหลานของแรงงานเมียนมา สิทธิของแรงงานเมียนมาได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายไทยทุกประการ และล่าสุด รัฐบาลไทยได้ดำเนินมาตรการเพื่อยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองแรงงานเมียนมาในไทยหลายมาตรการ อาทิ การเตรียมเปิดตัวระบบร้องทุกข์ออนไลน์สำหรับแรงงานผ่านทางเว็บไซต์ การให้บริการระบบโทรศัพท์สายด่วนร้องทุกข์ 1694 โดยมีเจ้าหน้าที่ที่สามารถพูดภาษาเมียนมาได้ให้บริการ ฯลฯ
สำหรับความร่วมมือเพื่อการพัฒนา พล.อ.ประยุทธ์ ได้เน้นย้ำความร่วมมือที่สำคัญ ได้แก่ 1. ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาไทย-เมียนมา ในระยะ 3 ปี ระหว่างปี 2559-2561 ซึ่งฝ่ายไทยพร้อมให้ความช่วยเหลือแก่เมียนมาอย่างบูรณาการและเป็นระบบ ประกอบด้วยโครงการต่าง ๆ มูลค่าประมาณ 150 ล้านบาท 2. การให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาตามแนวชายแดนต่างๆ เช่น ความร่วมมือในป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เป็นต้น
ส่วนความร่วมมือด้านความเชื่อมโยง ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะอำนวยความสะดวกการข้ามแดนระหว่างสองประเทศให้มากยิ่งขึ้น โดยในเบื้องต้นได้หารือความเป็นไปได้ในการอนุญาตให้ประชาชนของทั้งสองประเทศสามารถขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival) ที่จุดผ่านแดนถาวร ซึ่งคงต้องมีการหารือในรายละเอียดต่อไป นอกจากนี้ยังเห็นพ้องที่จะเร่งรัดการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา แห่งที่ 2 รวมถึงการให้สายการบินของไทยเปิดเส้นทางบินไปยังเมียนมาเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งไปยังภาคตะนาวศรี
ส่วนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ พล.อ.ประยุทธ์ ได้รับปากนางซูจีว่าจะส่งเสริมให้ภาคเอกชนไทยเข้าไปทำธุรกิจในเมียนมาอย่างมีความรับผิดชอบ โปร่งใส่ และเน้นความยั่งยืน โดยนางซูจีก็พร้อมที่จะดูแลนักธุรกิจไทยที่เข้าไปลงทุนในเมียนมาด้วย
สำหรับโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะสนับสนุนให้มีการรื้อฟื้นกลไกการประชุมหารือระดับรัฐบาลระหว่างสองฝ่ายให้กลับมาดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ได้เน้นย้ำจุดยืนของรัฐบาลไทยว่า การพัฒนาโครงการดังกล่าวจะต้องทำควบคู่ไปกับการจัดหามาตรการในการป้องกันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญด้วย
ด้านนางซูจี แถลงโดยขอบคุณประเทศไทยที่ช่วยดูแลชาวเมียนมา และยินดีที่ได้มาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเป็นประเทศแรก และว่า สิ่งที่หารือร่วมกัน ถือว่ามีความสำคัญ ซึ่งตนและคณะจะทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยเป็นอย่างดี ทั้งนี้ นางซูจีได้ขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้โอกาสชาวเมียนมาและขอบคุณความร่วมมือที่มีระหว่างสองประเทศ
หลังจากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำนางซูจีและคณะ ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โอกาสนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้นำเค้กมาอวยพรวันเกิดย้อนหลังให้กับนางซูจี เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.ที่ผ่านมาด้วย
4.คปพ. ผิดหวัง สนช.รับหลักการร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ของ ก.พลังงาน ซัด กลืนน้ำลาย-ทรยศประชาชน เร่งล่าชื่อชง พ.ร.บ.ฉบับประชาชนประกบ!
เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย(คปพ.) นำโดยนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ได้ยื่นหนังสือพร้อมรายชื่อประชาชน 2,000 ราย ต่อนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เพื่อแสดงวัตถุประสงค์สำคัญ 2 เรื่องต่อ สนช. คือ 1. หนังสือคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ปิโตรเลียม และร่าง พ.ร.บ.ภาษีปิโตรเลียม ของกระทรวงพลังงาน ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา และจะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม สนช.ในวันที่ 24 มิ.ย. เป็นวาระเร่งด่วน ซึ่งพวกตนห่วงว่า ร่างดังกล่าวไม่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง เพราะเป็นกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และ พ.ร.บ.ภาษีปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) แต่งตั้ง และมีการลงมติไปแล้ว และยังผ่านการรับฟังความเห็นของประชาชนมาแล้ว จึงถือว่าร่าง พ.ร.บ.ของกระทรวงพลังงานมีความบกพร่อง และไม่สอดรับกับรายงานดังกล่าว จึงขาดความชอบธรรมที่จะนำเสนอและขอมติต่อ สนช. ดังนั้นจึงอยากให้ สนช.ยับยั้งและไม่รับร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับ เพราะจะก่อให้เกิดผลเสียต่อประเทศชาติและเป็นมรดกบาปแก่ลูกหลานต่อไปในอนาคต
นายปานเทพกล่าวว่า การที่พวกตนคัดค้าน เพราะร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับดังกล่าวไม่ได้สร้างอธิปไตยทางพลังงานอย่างแท้จริง แต่กลับยกเอกสิทธิ์ในการบริหารปิโตรเลียมและการขายปิโตรเลียมให้แก่เอกชน โดยปราศจากองค์กรที่ถือกรรมสิทธิ์บริหารและขายปิโตรเลียมในนามบริษัทพลังงานแห่งชาติ หรือบริษัทน้ำมันแห่งชาติที่ สปช.เคยรับรองผลการศึกษาเอาไว้ ทำให้รูปแบบทางเลือกในระบบแบ่งปันผลผลิต หรือระบบจ้างผลิต เพื่อให้ทรัพยากรตกเป็นของชาติ กลับเป็นเพียงการอำพรางเท่านั้น เพราะเนื้อแท้แล้ว กรรมสิทธิ์การบริหารและการขายยังตกเป็นของเอกชนเช่นเดิม “จึงขอให้ยับยั้งร่าง พ.ร.บ.นี้เพื่อนำอธิปไตยการใช้พลังงาน อิสรภาพในการบริหารและการขายให้เป็นของรัฐไทยเพื่อประโยชน์ของปวงชนชาวไทย และเป็นข้อเสนอของปวงชนชาวไทย โดยทางเครือข่ายยังได้จัดทำเอกสารถึง สนช.ทั้ง 218 คน เป็นรายบุคคล เพื่อขอให้นายสุรชัยได้นำส่งไปยังสมาชิกเพื่อประกอบการประชุมในวันที่ 24 มิ.ย.ด้วย”
นายปานเทพกล่าวด้วยว่า คปพ.ได้ทำร่าง พ.ร.บ.ประกอบกิจการปิโตรเลียมโดยประชาชน ของประชาชน และเพื่อประชาชน ซึ่งเป็นร่างที่ภาคประชาชนร่างขึ้นโดยอาศัยการศึกษาของคณะกรรมาธิการฯ ของ สปช. จึงมีความชอบธรรมที่จะนำไปพิจารณาในการประชุมของ สนช. โดย คปพ.ได้ปฏิบัติตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ที่บัญญัติว่า เอกสิทธิ์ หรือสิทธิใดของประชาชนที่เคยถูกคุ้มครองยังคงได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้ คปพ.จึงดำเนินการตาม พ.ร.บ.การเข้าชื่อของประชาชนตามกฎหมาย โดยจะรวบรวมรายชื่อจำนวน 1 หมื่นรายชื่อให้ได้โดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้นำเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมของ สนช. จึงฝากความหวังไว้กับสมาชิก สนช.โปรดคุ้มครองอธิปไตยของชาติ และให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนชาวไทย โดย คปพ.จะมาร่วมฟังการประชุม สนช.ในวันที่ 24 มิ.ย.ที่หน้ารัฐสภาด้วย
อย่างไรก็ตาม การคัดค้านของ คปพ.ไม่เป็นผล เพราะวันต่อมา(24 มิ.ย.) ที่ประชุม สนช. ได้มีมติรับหลักการวาระแรกร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับของกระทรวงพลังงาน โดยมีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ด้วยคะแนน 152 : 5 เสียง งดออกเสียง 16 เสียง และมีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ด้วยคะแนน 154 : 2 งดออกเสียง 17 เสียง จากนั้นให้ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณาในรายละเอียด 21 คน ให้เสร็จภายใน 60 วัน โดยมีเวลาแปรญัตติ 15 วัน
ด้านนายปานเทพ ในนาม คปพ.ได้แถลงที่หน้ารัฐสภาหลังรับทราบมติ สนช.ที่รับหลักการร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับของกระทรวงพลังงาน โดยแสดงความผิดหวังกับ สนช.เสียงข้างมากที่รับหลักการร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ทั้งที่ สนช.ก็รู้ว่าร่างดังกล่าวแตกต่างจากผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการ สปช.อย่างชัดเจน “เราทั้งหมดผิดหวัง สนช.ที่ลงมติแบบนี้ โดยไม่อยู่บนเหตุผลและฐานผลการศึกษาที่ตนเองเคยรับรองไว้ หมายความว่า สนช.ไม่ฟังเสียงที่แท้จริงของประชาชน ไม่ฟังผลการศึกษาที่ตนเองยกมือไว้วางใจ วันนี้มารับรองกฎหมายที่ขัดแย้งกับสิ่งที่ตนเองศึกษา ต้องตอบคำถามประชาชนว่า การกลืนน้ำลายตนเอง ถ่มน้ำลายรดฟ้านั้น พวกท่านยังมีความละอายตัวเองอยู่หรือไม่ในการทรยศต่อความรู้สึกตนเองที่เคยรับรองเอาไว้เช่นนี้ แล้วจะได้ชื่อว่าเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศ ปฏิรูปประเทศ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศเพื่ออะไร"
พร้อมกันนี้ นายปานเทพได้ขอบคุณ สนช.หลายคนที่แสดงความกล้าหาญที่จะไม่ขอรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว นายปานเทพ ยังตำหนิการอภิปรายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่พาดพิงภาคประชาชนอย่างไม่ถูกต้อง และหลายเรื่องขัดแย้งกันเอง “การรับหลักการครั้งนี้จะเป็นตราบาปในประวัติศาสตร์ พวกเราทั้งหมดจะลงลายมือ ลงรูปของคนที่รับหลักการวันนี้ว่าเป็นใครบ้าง จากวันนี้จะได้รู้ว่าในวันที่ไทยมาถึงจุดเปลี่ยนที่เรามีโอกาสแก้ไขให้เอามาอยู่ในมือของรัฐ เพื่อปกป้องเอกราช กำหนดการผลิตการขายเป็นของรัฐไทย บัดนี้ สนช.ชุดนี้ส่วนใหญ่ยกมือรับรอง การกระทำเช่นนี้ เราจะบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชั่วลูกหลานแน่นอน ...เมื่อไม่มีใครแก้ไขอะไรได้ แต่เราจะยังยืนหยัดต่อไป ...ดังนั้นขอให้เราร่วมกันล่ารายชื่อเพื่อเสนอกฎหมาย พ.ร.บ.ของภาคประชาชน โดยโหลดจากเว็บไซต์โดยเร็วที่สุด"
5.“พล.อ.ประยุทธ์” ใช้อำนาจ ม.44 แก้ปัญหานักเรียนตีกัน ให้เจ้าหน้าที่กักตัวได้ไม่เกิน 6 ชม. หากทำคนเสียชีวิต โทษจำคุก 1 ปี!
เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เรื่อง มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนและนักศึกษา ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน รวมทั้งเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและสังคม หัวหน้า คสช.จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 เห็นชอบให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มีอํานาจกักตัวนักเรียนและนักศึกษาที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทําร้ายร่างกายผู้อื่น หรือเตรียมการเพื่อก่อเหตุดังกล่าว เป็นการชั่วคราวไม่เกิน 6 ชั่วโมง เพื่อนําส่งเจ้าพนักงาน ตํารวจ ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา บิดามารดา หรือผู้ปกครอง และบิดามารดาหรือผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรม สั่งสอน และยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่ดีของเด็กและเยาวชนที่เป็นนักเรียนและนักศึกษาที่อยู่ในความปกครอง
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอํานาจหน้าที่ติดตาม และสอดส่องให้มีการดําเนินการอย่างเคร่งครัด ในกรณีที่พบเด็กและเยาวชนที่เป็นนักเรียนและนักศึกษารวมกลุ่ม รวมถึงให้ถือเป็นความรับผิดชอบของบิดามารดา หรือผู้ปกครองของเด็กและเยาวชน และให้เป็นอํานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ แจ้งให้บิดามารดา หรือผู้ปกครองเข้ามารับทราบการกระทําของเด็กและเยาวชน เพื่อให้คําแนะนํา ตักเตือน ทําทัณฑ์บน หรือวางข้อกําหนด เพื่อป้องกันมิให้กระทําความผิดอีก หรืออาจให้วางประกันไว้เป็นจํานวนเงินตามสมควรแก่ฐานานุรูป แต่จะเรียกเงินประกันไว้ได้ไม่เกินระยะเวลา 2 ปี หากเด็กและเยาวชนที่เป็นนักเรียนและนักศึกษาได้กระทําความผิดดังกล่าวซ้ำอีก ให้ริบเงินประกันเป็นของกองทุนคุ้มครองเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก
อย่างไรก็ตาม ผู้ใดกระทําการอันเป็นการยุยง ส่งเสริม ช่วยเหลือ หรือสนับสนุน ให้นักเรียน หรือนักศึกษาฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ นอกจากนี้นักเรียนหรือนักศึกษาที่ไปก่อเหตุทะเลาะวิวาท หรือทําร้ายร่างกายผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และหากเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต เพราะการทะเลาะวิวาทหรือทําร้ายร่างกายนั้น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ รวมทั้ง ให้โรงเรียนและสถานศึกษามีหน้าที่จัดให้มีกิจกรรมในการแนะแนวเพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหา โดยร่วมมือกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง กวดขัน และเร่งรัดจัดทํามาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนและนักศึกษาให้เป็นรูปธรรม โดยคําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
1.สังคมสวดยับ “เสี่ยบุญชัย” ปลุกคนเข้าวัดธรรมกายป้อง “ธัมมชโย” ประชาชนแห่ย้ายค่ายหนี “ดีแทค” สั่งสอนบุญชัย ด้าน “เวิลด์พีซ วัลเล่ย์” สาขาธรรมกายที่ปากช่อง ส่อผิด กม.!
ความคืบหน้ากรณีพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ถูกศาลออกหมายจับข้อหาสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร แต่พระธัมมชโยไม่ยอมเข้ามอบตัว โดยอ้างว่าป่วย ต่อมากรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ได้ขอศาลออกหมายค้นวัดพระธรรมกายเพื่อจับกุมพระธัมมชโย ซึ่งศาลอนุมัติ และได้เข้าค้นวัดเมื่อวันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถเข้าค้นได้ เนื่องจากศิษยานุศิษย์และญาติธรรมวัดพระธรรมกายนั่งขวางทางเดินในวัด ไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ดีเอสไอผ่าน พร้อมออกแถลงการณ์ว่า พระธัมมชโยจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมก็ต่อเมื่อบ้านเมืองเข้าสู่สภาวะปกติและเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์แล้วเท่านั้น ส่งผลให้วัดพระธรรมกายถูกกระแสสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักที่ใช้ข้ออ้างทางการเมืองมาปกป้องพระธัมมชโย ซึ่งเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาล ขณะที่ฝ่ายดีเอสไอ เมื่อไม่สามารถเข้าค้นวัดพระธรรมกายได้ จึงยอมยุติการเข้าตรวจค้น ไว้รอโอกาสเหมาะสม จึงจะขอศาลออกหมายค้นครั้งที่สองนั้น
ปรากฏว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีผู้โพสต์คลิปวิดีโอรายการ “ข่าวเคลียร์ เคลียร์ข่าวชัด” ของโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเครือข่ายวัดพระธรรมกาย ประจำวันที่ 17 มิ.ย. โดยตอนหนึ่งรายการได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือดีแทค นักธุรกิจใหญ่คนสำคัญที่สนับสนุนวัดพระธรรมกาย ได้พูดโน้มน้าวเชิญชวนให้ประชาชนรีบมาปฏิบัติธรรมที่วัดพระธรรมกาย เพื่อให้พระธัมมชโยได้พ้นมลทินจากที่ถูกใส่ร้าย และจะได้อยู่ในวงบุญของพระธัมมชโยทุกชาติไป “วันนี้ผมได้มาเชิญชวนให้ทุกท่านร่วมปฏิบัติธรรมกันใจใสๆ แผ่เมตตา จากเช้าวันนี้(16 มิ.ย.) ผมก็เชื่อว่าทุกท่านได้เห็นจากข่าวที่ออกไปว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ผมก็คิดว่าพลังที่เราจะมาร่วมกันนับล้าน เพื่อปฏิบัติธรรม เพื่อแผ่เมตตาให้กับสิ่งที่มันจะไม่ดี ที่จะเกิดขึ้นกับพระเดชพระคุณหลวงพ่อของเรา ให้มันหายไป หลวงพ่อมีความหมายต่อเรามากครับ ถ้าไม่มีหลวงพ่อก็ไม่มีเรา หลวงพ่อเปรียบประดุจเหมือนแสงสว่างให้กับชาวโลก สันติสุขของโลกจะเกิดขึ้นได้ถ้าทุกคนนั่งขัดสมาธิ แล้วก็นั่งตรึกนึกถึงศูนย์กลางกาย สิ่งเหล่านี้จะหายไปหมดเลยครับ ถ้าเกิดสิ่งไม่ดีขึ้นกับพระเดชพระคุณหลวงพ่อของเรา”
“ขอเรียนเชิญทุกท่านนะครับที่นั่งดูอยู่ ถ้าท่านเดินทางมาได้ เดินทางมาร่วมปฏิบัติธรรมกับผมนะครับ กับพี่น้องของเราอีกจำนวนมากนะครับ ยิ่งมากันได้ทั้งประเทศก็ยิ่งเป็นเรื่องที่ดีครับ เริ่มตั้งแต่วันนี้ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ มากันให้หมดเลยครับ เราไม่ต้องรอนะฮะ เรื่องพวกนี้คราวนี้คงไม่ต้องรอนะครับ เรียนเชิญมาปฏิบัติธรรมครั้งใหญ่ของเรา เพื่อให้พลังแห่งสันติสุขมันเกิดขึ้น นำความสันติสุขมาสู่ประเทศไทยของเราอีกครั้งหนึ่งนะครับ ให้เรื่องที่มันเป็นเรื่องเข้าใจผิด เป็นเรื่องที่มองข้ามไป ได้เป็นที่ประจักษ์ ให้หลวงพ่อเราได้รับความเป็นธรรม ให้พ้นมลทินจากที่ถูกใส่ร้าย อานิสงส์ผลบุญที่เรามาร่วมกันนะครับ เป็นจำนวนล้าน ก็จะทำให้เราอยู่ในวงบุญของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ทุกภพทุกชาติไปนะครับ ตราบจนถึงที่สุดแห่งธรรม เรียนเชิญนะครับ ผมจะรอคอยทุกท่านอยู่”
ทั้งนี้ คำพูดของนายบุญชัย ถูกหลายฝ่ายในสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ว่าไม่เหมาะสมและน่าจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย เนื่องจากเป็นการปลุกระดมให้ประชาชนไปรวมตัวกันที่วัดพระธรรมกายเพื่อปกป้องพระธัมมชโย ไม่ให้ดีเอสไอเข้าตรวจค้นวัดเพื่อจับกุมพระธัมมชโยได้ ซึ่งดีเอสไออยู่ระหว่างตรวจสอบว่า คำพูดของนายบุญชัยเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่
ขณะที่ปฏิกิริยาจากผู้ไม่พอใจ ได้แก่ นายธนัตถ์ ธนากิจอำนวย หรือนัท ทายาทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โนเบิล ได้โพสต์เฟซบุ๊กตำหนินายบุญชัยว่าไม่มีสิทธิ์ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวแก้ต่างให้พระธัมมชโย จะใหญ่จะรวยมาจากไหน ก็ไม่ใหญ่ไปกว่ากฎหมายและอาญาแผ่นดิน “คุณไม่มีสิทธิ์ คุณทำไม่ได้ นี่ไม่ใช่การเชิญชวนไปปฏิบัติธรรม แต่เป็นการชักชวนไปชุมนุม ที่มีนัยทางการเมือง (ผิด พ.ร.บ.ชุมนุมฯ) การกระทำเช่นนี้มีความผิดฐานยุยง ปลุกปั่น ปลุกระดม ตามกฎหมายอาญา มาตรา 116 หนำซ้ำยังเป็นการขัดขวางการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่”
เป็นที่น่าสังเกตว่า ท่ามกลางกระแสไม่พอใจการกระทำของนายบุญชัย ที่ออกมาปกป้องพระธัมมชโย โดยไม่สนใจกฎหมาย ส่งผลให้ประชาชนที่ใช้เครือข่ายโทรศัพท์มือถือของดีแทค แห่ไปย้ายค่ายจำนวนมาก โดยหนึ่งในผู้ที่ย้ายค่าย คือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยหันไปใช้ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) หรือ CAT รวมถึงชุมชนชาวสันติอโศกและกลุ่มผู้สนับสนุนอีกจำนวนมาก ขณะที่ดีแทค ได้ออกมาชี้แจงว่า นายบุญชัยเป็นแค่กรรมการคนหนึ่งของบริษัท การแสดงความคิดเห็นของนายบุญชัยเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ดีแทคไม่มีนโยบายฝักใฝ่การเมือง หรือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง และไม่ยุ่งเกี่ยวกับความเชื่อใดๆ ของแต่ละบุคคล
ส่วนความเคลื่อนไหวของวัดพระธรรมกายนั้น เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. ได้มีการพาสื่อมวลชนเข้าดูอุโบสถของวัด เพื่อพิสูจน์ว่า ไม่มีการซุกซ่อนอาวุธหรือสิ่งผิดกฎหมายในวัดตามที่มีข่าวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังมีข่าวว่าทางวัดซุกซ่อนอาวุธ ทางวัดไม่ได้ให้สื่อมวลชนเข้าตรวจสอบในทันที แต่ประกาศผ่านสื่อล่วงหน้า 2 วัน(21 มิ.ย.) แล้วจึงพาสื่อเข้าตรวจสอบในวันที่ 23 มิ.ย.
ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. เริ่มมีประเด็นใหม่เกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย โดยมีผู้แจ้งเบาะแสให้ดีเอสไอเข้าตรวจสอบการก่อสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรม “เวิลด์พีซ วัลเล่ย์” ที่เชาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นสาขาของวัดพระธรรมกาย เนื่องจากอาจเข้าข่ายบุกรุกที่ดินของรัฐ ทั้งนี้ พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล ผบ.สำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ดีเอสไอ กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า บริเวณดังกล่าวมีการปิดกั้นไม่ให้ใครเข้าออก การซื้อพื้นที่ มีการใช้ชื่อบุคคลอื่นในการครอบครอง จากการตรวจสอบภาพถ่ายดาวเทียม พบว่ามีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ต้องตรวจสอบว่ามีการบุกรุกที่ดินในปีใด บุกรุกพื้นที่กรมป่าไม้ และสำนักงานเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) หรือไม่ หากพบว่ามีการบุกรุก จะถือว่าผิดกฎหมาย
ด้านนายปิฎก อ่อนแก้ว ผู้ปกครองนิคมสร้างตนเองลำตะคอง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.นครราชสีมา กล่าวถึง “เวิลด์พีซ วัลเล่ย์” สาขาของวัดพระธรรมกายว่า จากการตรวจสอบพบว่า เดิมพื้นที่บริเวณดังกล่าวอยู่ในนิคมสร้างตนเองลำตะคอง ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพให้กับสมาชิกเกษตรกรรม ซึ่งเกษตรกรที่สมัครเป็นสมาชิกและผ่านการคัดเลือก จะได้ น.ค.3 และ น.ค.5 เข้าทำกิน ตามเกณฑ์อย่างน้อย 10 ปี จึงนำไปออกเอกสารสิทธิ น.ส.3 ก. และโฉนดได้ แต่วัตถุประสงค์เพื่อทำการเกษตรกรรม แต่กรณีของสาขาวัดพระธรรมกาย มีการสร้างอาคารหลายชั้น ถือว่านำพื้นที่ไปทำผิดวัตถุประสงค์ ขณะนี้กำลังปรึกษาฝ่ายกฎหมายว่าจะดำเนินการและมีความผิดอย่างไร
2.ตำรวจออกหมายเรียก “จตุพร” พร้อมพวก 19 นปช.ขัดคำสั่ง คสช.เปิดศูนย์ปราบโกงฯ ด้านศาล รธน.นัดลงมติ ม.61 วรรคสอง ขัด รธน.หรือไม่ 29 มิ.ย.นี้!
ความคืบหน้ากรณีแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) นำโดยนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช.ประกาศว่า จะเดินหน้าเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 19 มิ.ย.แน่นอน แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะออกมาส่งสัญญาณว่า ไม่ให้ตั้งก็ตาม
ปรากฏว่า เมื่อถึงกำหนด(19 มิ.ย.) แกนนำ นปช.ได้เตรียมแถลงเปิดตัวศูนย์ปราบโกงประชามติที่ห้างอิมพิเรียลฯ ลาดพร้าว แต่ได้มีตำรวจจากกองบังคับการตำรวจนครบาล 4 มากระจายกำลังทั่วบริเวณชั้น 5 ของห้าง ซึ่งเป็นสถานที่ที่เตรียมแถลงข่าว จากนั้น แกนนำ นปช.นำโดยนายจตุพร ได้เจรจากับตำรวจ เพื่อเข้าไปแถลงข่าว แต่ตำรวจยืนยันไม่ให้แถลง แกนนำ นปช.จึงแถลงข่าวบริเวณหน้าประตู
ทั้งนี้ นายจตุพรได้แถลงโจมตี พล.อ.ประยุทธ์อย่างหนัก โดยอ้างว่า พล.อ.ประยุทธ์ เคยบอกว่าตั้งศูนย์ปราบโกงฯ ได้ แต่ภายหลังกลับบอกว่า ตั้งไม่ได้ “ขอทำนายว่า จุดจบของ พล.อ.ประยุทธ์นั้น จะเหมือน พล.อ.สุจินดา คราประยูร ในปี 2535 ขอให้ท่านภาคภูมิใจกับความสุขเล็กๆ น้อยๆ ที่ท่านได้จากการปิดศูนย์ปราบโกงฯ ในวันนี้ แต่ปิดได้เพียงแค่สถานที่ แต่จะเดินหน้าเต็มเปี่ยม ไม่หวั่นไหวต่ออำนาจเผด็จการ พล.อ.ประยุทธ์ ท่านไม่เหลืออะไรแล้ว ท่านสูญเสียภาวะผู้นำ ท่านเป็นคนที่ไม่รักษาคำพูด เสียสัตย์ แต่พวกผมทั้งประเทศจะทำหน้าที่เป็นพลเมืองดีกันต่อไป”
นายจตุพร ยังบอกด้วยว่า หากเปิดศูนย์ไม่ได้ ก็จะใช้วิธีแจ้งข่าวทางโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อสหประชาชาติในวันที่ 20 มิ.ย. นายจตุพรยังแถลงอีกครั้งในเวลาต่อมาด้วยว่า ภาพรวมการเปิดศูนย์ปราบโกงฯ ของ นปช.ในวันที่ 19 มิ.ย. ทั้ง 76 จังหวัด มีการเปิดได้และเปิดไม่ได้จำนวนไม่แตกต่างกันมาก
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เผย(20 มิ.ย.) ว่า ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับนายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ(ยูเอ็น) ถึงสถานการณ์บ้านเมือง ที่ขณะนี้กำลังเตรียมการต่างๆ ทั้งระยะเวลาการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญและการเข้าสู่การเลือกตั้ง ยืนยันว่า ทุกอย่างเดินตามโรดแมป รวมทั้งได้เล่าให้เลขาฯ ยูเอ็นฟังถึงความเคลื่อนไหวของคนไม่หวังดีด้วย ซึ่งเลขาฯ ยูเอ็นรับทราบทั้งหมดแล้ว
เป็นที่น่าสังเกตว่า วันต่อมา(21 มิ.ย.) ศูนย์ข่าวสหประชาชาติ ได้เผยแพร่แถลงการณ์ของโฆษกประจำตัวของนายบัน คี มูน เลขาธิการยูเอ็น ซึ่งระบุเกี่ยวกับการหารือทางโทรศัพท์ระหว่างนายบัน คี มูน กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.ว่า เลขาธิการยูเอ็นย้ำความพร้อมของยูเอ็นที่จะให้การสนับสนุนไทยในการเตรียมความพร้อมเพื่อการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญที่จะนำพาประเทศไทยกลับสู่ประชาธิปไตย และว่า เลขาธิการยูเอ็นได้ย้ำถึงความจำเป็นของการมีเวทีที่เปิดกว้างและต้องให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการพูดคุยเพื่อเป็นหลักประกันความชอบธรรมของรัฐธรรมนูญ และสร้างความปรองดองในชาติอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ นปช. ได้ออกมาเปิดเผยว่า พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ คณะทำงานพิเศษฝ่ายกฎหมายของ คสช. ได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปราม ให้ดำเนินคดีแกนนำ นปช. ข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ที่ห้ามมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนขึ้นไป จากกรณีที่ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวศูนย์ปราบโกงประชามติ ที่ห้างอิมพีเรียลฯ ลาดพร้าว เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.
สำหรับรายชื่อแกนนำ นปช.ที่ถูกแจ้งความดำเนินคดีมี 19 คน ประกอบด้วย นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นางธิดา ถาวรเศรษฐ, จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ, นพ.เหวง โตจิราการ, นายนิสิต สินธุไพร, นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ, นายยงยุทธ ติยะไพรัช, นายก่อแก้ว พิกุลทอง, นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์, นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์, นายสมหวัง อัสราษี, นายยศวริศ ชูกล่อม,นายธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ, นายเกริกมนตรี รุจโสตถิรพัฒน์, นายอารี ไกรนรา, นายสมชาย ใจมุ่ง, นายศักดิ์รพี พรหมชาติ และนายพรศักดิ์ ศรีละมุล
ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนกองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปราม ได้ออกหมายเรียก นปช.ทั้ง 19 คนให้มารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ เวลา 10.00 น. ที่กองบังคับการปราบปราม หากไม่มา พนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียกอีก 1 ครั้ง หากยังไม่มาอีก จะออกหมายจับเพื่อดำเนินคดีต่อไป
ด้านแกนนำ นปช.ไม่พอใจที่ถูกออกหมายเรียก จึงได้ไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่หยุดคุกคามประชาชนที่เปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ รวมทั้งไปร้องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ว่าถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพในการเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ
ส่วนความคืบหน้ากรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่ามาตรา 61 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ขัดต่อรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 หรือไม่นั้น ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ศาลรัฐธรรมนูญได้ยกคำขอของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ที่ขอส่งสมาชิก สนช.แถลงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมด้วยวาจา ซึ่งศาลฯ ไม่อนุญาต โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากเอกสารหลักฐานในสำนวนมีเพียงพอที่ศาลจะวินิจฉัยได้แล้ว ทั้งนี้ ศาลฯ ได้นัดแถลงด้วยวาจาพร้อมลงมติว่า มาตรา 61 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ประชามติ ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในวันที่ 29 มิ.ย.นี้ เวลา 13.30 น.
เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ตั้งแต่ 24 มิ.ย.เป็นต้นไป จะพูดเรื่องรัฐธรรมนูญทุกวัน วันละ 5 นาที โดยถ่ายทอดสดทางเฟซบุ๊ก พร้อมเผยเหตุผลที่ทำเช่นนี้ว่า เพื่อช่วยเหลือคนที่ไม่มีเวลาอ่านรัฐธรรมนูญ โดยตนจะช่วยอ่านแทน ทั้งนี้ นายสุเทพจะบอกคนที่มาติดตามเฟซบุ๊กตนด้วยว่า ตนจะไปลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ขณะที่หลายคนสงสัยว่า การกระทำของนายสุเทพจะถือว่าผิด พ.ร.บ.ประชามติหรือไม่ ซึ่งนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.กล่าวเมื่อวันที่ 23 มิ.ย.ว่า ยังไม่ได้ฟังที่นายสุเทพพูด แต่การพูดถึงเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ แค่ต้องไม่พูดเท็จ ไม่หยาบคาย หรือปลุกระดม ก็จะไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ส่วนจะผิดกฎหมายอื่น เช่น คำสั่ง คสช.หรือไม่นั้น นายสมชัยบอกว่า ถ้าไม่ลงถนนก็ไม่โดน ผู้สื่อข่าวถามว่า เปรียบเทียบกับกลุ่ม นปช.ที่ถูกฝ่ายความมั่นคงตั้งข้อหาได้หรือไม่ นายสมชัยกล่าวว่า นปช.ลงถนน อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรม
3.“ออง ซาน ซูจี” เยือนไทยอย่างเป็นทางการ แรงงานพม่าในไทยแห่ต้อนรับ ก่อนลงนามความตกลงกับรัฐบาลไทย 3 ฉบับ!
เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. นางออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา พร้อมด้วยนายเต็ง ส่วย รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ตรวจคนเข้าเมือง และประชากร นายจ่อ วิน รัฐมนตรีวางแผนและการคลัง และนายจ่อ ติน รัฐมนตรีแห่งรัฐว่าด้วยกิจการต่างประเทศ ได้เดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลไทย ตามคำเชิญของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 23-25 มิ.ย.
ทั้งนี้ ทันทีที่นางซูจีเดินทางมาถึงไทย ได้เดินทางไปพบแรงงานชาวพม่าที่ตลาดทะเลไทย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เพื่อรับฟังปัญหาของแรงงานพม่า โดยมีแรงงานพม่านับหมื่นคนไปรอต้อนรับ โดยนางซูจี กล่าวกับแรงงานพม่าตอนหนึ่งว่า ชาวพม่าในไทยถือว่าเป็นเหมือนแขกที่ไปเยือนประเทศอื่น เพราะฉะนั้นต้องรัก ต้องซื่อสัตย์ และประพฤติตนให้ดีต่อเจ้าของบ้าน มีอะไรก็พูดคุยกัน ขอเน้นย้ำเรื่องความสามัคคี รวมทั้งต้องทำในสิ่งที่ถูกต้องตามกระบวนการของกฎหมายในประเทศไทยด้วย
วันต่อมา(24 มิ.ย.) นางอองซาน ซูจี ได้เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ทำเนียบรัฐบาล ก่อนหารือข้อราชการ และลงนามความตกลงร่วมกัน 3 ฉบับ ประกอบด้วย บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลเมียนมา และบันทึกความตกลงว่าด้วยการข้ามแดน
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวระหว่างแถลงร่วมกับนางซูจีตอนหนึ่งว่า การคุ้มครองแรงงานเมียนมาในประเทศไทย เราทั้งสองเห็นพ้องว่า ภาคเอกชนไทยและแรงงานเมียนมาต่างพึ่งพากัน และยังประโยชน์ต่อกันและกัน ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยให้การคุ้มครองและดูแลแรงงานเมียนมาเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาพยาบาล และการศึกษาของบุตรหลานของแรงงานเมียนมา สิทธิของแรงงานเมียนมาได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายไทยทุกประการ และล่าสุด รัฐบาลไทยได้ดำเนินมาตรการเพื่อยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองแรงงานเมียนมาในไทยหลายมาตรการ อาทิ การเตรียมเปิดตัวระบบร้องทุกข์ออนไลน์สำหรับแรงงานผ่านทางเว็บไซต์ การให้บริการระบบโทรศัพท์สายด่วนร้องทุกข์ 1694 โดยมีเจ้าหน้าที่ที่สามารถพูดภาษาเมียนมาได้ให้บริการ ฯลฯ
สำหรับความร่วมมือเพื่อการพัฒนา พล.อ.ประยุทธ์ ได้เน้นย้ำความร่วมมือที่สำคัญ ได้แก่ 1. ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาไทย-เมียนมา ในระยะ 3 ปี ระหว่างปี 2559-2561 ซึ่งฝ่ายไทยพร้อมให้ความช่วยเหลือแก่เมียนมาอย่างบูรณาการและเป็นระบบ ประกอบด้วยโครงการต่าง ๆ มูลค่าประมาณ 150 ล้านบาท 2. การให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาตามแนวชายแดนต่างๆ เช่น ความร่วมมือในป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เป็นต้น
ส่วนความร่วมมือด้านความเชื่อมโยง ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะอำนวยความสะดวกการข้ามแดนระหว่างสองประเทศให้มากยิ่งขึ้น โดยในเบื้องต้นได้หารือความเป็นไปได้ในการอนุญาตให้ประชาชนของทั้งสองประเทศสามารถขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival) ที่จุดผ่านแดนถาวร ซึ่งคงต้องมีการหารือในรายละเอียดต่อไป นอกจากนี้ยังเห็นพ้องที่จะเร่งรัดการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา แห่งที่ 2 รวมถึงการให้สายการบินของไทยเปิดเส้นทางบินไปยังเมียนมาเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งไปยังภาคตะนาวศรี
ส่วนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ พล.อ.ประยุทธ์ ได้รับปากนางซูจีว่าจะส่งเสริมให้ภาคเอกชนไทยเข้าไปทำธุรกิจในเมียนมาอย่างมีความรับผิดชอบ โปร่งใส่ และเน้นความยั่งยืน โดยนางซูจีก็พร้อมที่จะดูแลนักธุรกิจไทยที่เข้าไปลงทุนในเมียนมาด้วย
สำหรับโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะสนับสนุนให้มีการรื้อฟื้นกลไกการประชุมหารือระดับรัฐบาลระหว่างสองฝ่ายให้กลับมาดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ได้เน้นย้ำจุดยืนของรัฐบาลไทยว่า การพัฒนาโครงการดังกล่าวจะต้องทำควบคู่ไปกับการจัดหามาตรการในการป้องกันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญด้วย
ด้านนางซูจี แถลงโดยขอบคุณประเทศไทยที่ช่วยดูแลชาวเมียนมา และยินดีที่ได้มาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเป็นประเทศแรก และว่า สิ่งที่หารือร่วมกัน ถือว่ามีความสำคัญ ซึ่งตนและคณะจะทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยเป็นอย่างดี ทั้งนี้ นางซูจีได้ขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้โอกาสชาวเมียนมาและขอบคุณความร่วมมือที่มีระหว่างสองประเทศ
หลังจากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำนางซูจีและคณะ ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โอกาสนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้นำเค้กมาอวยพรวันเกิดย้อนหลังให้กับนางซูจี เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.ที่ผ่านมาด้วย
4.คปพ. ผิดหวัง สนช.รับหลักการร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ของ ก.พลังงาน ซัด กลืนน้ำลาย-ทรยศประชาชน เร่งล่าชื่อชง พ.ร.บ.ฉบับประชาชนประกบ!
เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย(คปพ.) นำโดยนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ได้ยื่นหนังสือพร้อมรายชื่อประชาชน 2,000 ราย ต่อนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เพื่อแสดงวัตถุประสงค์สำคัญ 2 เรื่องต่อ สนช. คือ 1. หนังสือคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ปิโตรเลียม และร่าง พ.ร.บ.ภาษีปิโตรเลียม ของกระทรวงพลังงาน ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา และจะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม สนช.ในวันที่ 24 มิ.ย. เป็นวาระเร่งด่วน ซึ่งพวกตนห่วงว่า ร่างดังกล่าวไม่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง เพราะเป็นกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และ พ.ร.บ.ภาษีปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) แต่งตั้ง และมีการลงมติไปแล้ว และยังผ่านการรับฟังความเห็นของประชาชนมาแล้ว จึงถือว่าร่าง พ.ร.บ.ของกระทรวงพลังงานมีความบกพร่อง และไม่สอดรับกับรายงานดังกล่าว จึงขาดความชอบธรรมที่จะนำเสนอและขอมติต่อ สนช. ดังนั้นจึงอยากให้ สนช.ยับยั้งและไม่รับร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับ เพราะจะก่อให้เกิดผลเสียต่อประเทศชาติและเป็นมรดกบาปแก่ลูกหลานต่อไปในอนาคต
นายปานเทพกล่าวว่า การที่พวกตนคัดค้าน เพราะร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับดังกล่าวไม่ได้สร้างอธิปไตยทางพลังงานอย่างแท้จริง แต่กลับยกเอกสิทธิ์ในการบริหารปิโตรเลียมและการขายปิโตรเลียมให้แก่เอกชน โดยปราศจากองค์กรที่ถือกรรมสิทธิ์บริหารและขายปิโตรเลียมในนามบริษัทพลังงานแห่งชาติ หรือบริษัทน้ำมันแห่งชาติที่ สปช.เคยรับรองผลการศึกษาเอาไว้ ทำให้รูปแบบทางเลือกในระบบแบ่งปันผลผลิต หรือระบบจ้างผลิต เพื่อให้ทรัพยากรตกเป็นของชาติ กลับเป็นเพียงการอำพรางเท่านั้น เพราะเนื้อแท้แล้ว กรรมสิทธิ์การบริหารและการขายยังตกเป็นของเอกชนเช่นเดิม “จึงขอให้ยับยั้งร่าง พ.ร.บ.นี้เพื่อนำอธิปไตยการใช้พลังงาน อิสรภาพในการบริหารและการขายให้เป็นของรัฐไทยเพื่อประโยชน์ของปวงชนชาวไทย และเป็นข้อเสนอของปวงชนชาวไทย โดยทางเครือข่ายยังได้จัดทำเอกสารถึง สนช.ทั้ง 218 คน เป็นรายบุคคล เพื่อขอให้นายสุรชัยได้นำส่งไปยังสมาชิกเพื่อประกอบการประชุมในวันที่ 24 มิ.ย.ด้วย”
นายปานเทพกล่าวด้วยว่า คปพ.ได้ทำร่าง พ.ร.บ.ประกอบกิจการปิโตรเลียมโดยประชาชน ของประชาชน และเพื่อประชาชน ซึ่งเป็นร่างที่ภาคประชาชนร่างขึ้นโดยอาศัยการศึกษาของคณะกรรมาธิการฯ ของ สปช. จึงมีความชอบธรรมที่จะนำไปพิจารณาในการประชุมของ สนช. โดย คปพ.ได้ปฏิบัติตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ที่บัญญัติว่า เอกสิทธิ์ หรือสิทธิใดของประชาชนที่เคยถูกคุ้มครองยังคงได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้ คปพ.จึงดำเนินการตาม พ.ร.บ.การเข้าชื่อของประชาชนตามกฎหมาย โดยจะรวบรวมรายชื่อจำนวน 1 หมื่นรายชื่อให้ได้โดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้นำเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมของ สนช. จึงฝากความหวังไว้กับสมาชิก สนช.โปรดคุ้มครองอธิปไตยของชาติ และให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนชาวไทย โดย คปพ.จะมาร่วมฟังการประชุม สนช.ในวันที่ 24 มิ.ย.ที่หน้ารัฐสภาด้วย
อย่างไรก็ตาม การคัดค้านของ คปพ.ไม่เป็นผล เพราะวันต่อมา(24 มิ.ย.) ที่ประชุม สนช. ได้มีมติรับหลักการวาระแรกร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับของกระทรวงพลังงาน โดยมีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ด้วยคะแนน 152 : 5 เสียง งดออกเสียง 16 เสียง และมีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ด้วยคะแนน 154 : 2 งดออกเสียง 17 เสียง จากนั้นให้ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณาในรายละเอียด 21 คน ให้เสร็จภายใน 60 วัน โดยมีเวลาแปรญัตติ 15 วัน
ด้านนายปานเทพ ในนาม คปพ.ได้แถลงที่หน้ารัฐสภาหลังรับทราบมติ สนช.ที่รับหลักการร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับของกระทรวงพลังงาน โดยแสดงความผิดหวังกับ สนช.เสียงข้างมากที่รับหลักการร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ทั้งที่ สนช.ก็รู้ว่าร่างดังกล่าวแตกต่างจากผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการ สปช.อย่างชัดเจน “เราทั้งหมดผิดหวัง สนช.ที่ลงมติแบบนี้ โดยไม่อยู่บนเหตุผลและฐานผลการศึกษาที่ตนเองเคยรับรองไว้ หมายความว่า สนช.ไม่ฟังเสียงที่แท้จริงของประชาชน ไม่ฟังผลการศึกษาที่ตนเองยกมือไว้วางใจ วันนี้มารับรองกฎหมายที่ขัดแย้งกับสิ่งที่ตนเองศึกษา ต้องตอบคำถามประชาชนว่า การกลืนน้ำลายตนเอง ถ่มน้ำลายรดฟ้านั้น พวกท่านยังมีความละอายตัวเองอยู่หรือไม่ในการทรยศต่อความรู้สึกตนเองที่เคยรับรองเอาไว้เช่นนี้ แล้วจะได้ชื่อว่าเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศ ปฏิรูปประเทศ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศเพื่ออะไร"
พร้อมกันนี้ นายปานเทพได้ขอบคุณ สนช.หลายคนที่แสดงความกล้าหาญที่จะไม่ขอรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว นายปานเทพ ยังตำหนิการอภิปรายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่พาดพิงภาคประชาชนอย่างไม่ถูกต้อง และหลายเรื่องขัดแย้งกันเอง “การรับหลักการครั้งนี้จะเป็นตราบาปในประวัติศาสตร์ พวกเราทั้งหมดจะลงลายมือ ลงรูปของคนที่รับหลักการวันนี้ว่าเป็นใครบ้าง จากวันนี้จะได้รู้ว่าในวันที่ไทยมาถึงจุดเปลี่ยนที่เรามีโอกาสแก้ไขให้เอามาอยู่ในมือของรัฐ เพื่อปกป้องเอกราช กำหนดการผลิตการขายเป็นของรัฐไทย บัดนี้ สนช.ชุดนี้ส่วนใหญ่ยกมือรับรอง การกระทำเช่นนี้ เราจะบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชั่วลูกหลานแน่นอน ...เมื่อไม่มีใครแก้ไขอะไรได้ แต่เราจะยังยืนหยัดต่อไป ...ดังนั้นขอให้เราร่วมกันล่ารายชื่อเพื่อเสนอกฎหมาย พ.ร.บ.ของภาคประชาชน โดยโหลดจากเว็บไซต์โดยเร็วที่สุด"
5.“พล.อ.ประยุทธ์” ใช้อำนาจ ม.44 แก้ปัญหานักเรียนตีกัน ให้เจ้าหน้าที่กักตัวได้ไม่เกิน 6 ชม. หากทำคนเสียชีวิต โทษจำคุก 1 ปี!
เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เรื่อง มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนและนักศึกษา ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน รวมทั้งเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและสังคม หัวหน้า คสช.จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 เห็นชอบให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มีอํานาจกักตัวนักเรียนและนักศึกษาที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทําร้ายร่างกายผู้อื่น หรือเตรียมการเพื่อก่อเหตุดังกล่าว เป็นการชั่วคราวไม่เกิน 6 ชั่วโมง เพื่อนําส่งเจ้าพนักงาน ตํารวจ ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา บิดามารดา หรือผู้ปกครอง และบิดามารดาหรือผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรม สั่งสอน และยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่ดีของเด็กและเยาวชนที่เป็นนักเรียนและนักศึกษาที่อยู่ในความปกครอง
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอํานาจหน้าที่ติดตาม และสอดส่องให้มีการดําเนินการอย่างเคร่งครัด ในกรณีที่พบเด็กและเยาวชนที่เป็นนักเรียนและนักศึกษารวมกลุ่ม รวมถึงให้ถือเป็นความรับผิดชอบของบิดามารดา หรือผู้ปกครองของเด็กและเยาวชน และให้เป็นอํานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ แจ้งให้บิดามารดา หรือผู้ปกครองเข้ามารับทราบการกระทําของเด็กและเยาวชน เพื่อให้คําแนะนํา ตักเตือน ทําทัณฑ์บน หรือวางข้อกําหนด เพื่อป้องกันมิให้กระทําความผิดอีก หรืออาจให้วางประกันไว้เป็นจํานวนเงินตามสมควรแก่ฐานานุรูป แต่จะเรียกเงินประกันไว้ได้ไม่เกินระยะเวลา 2 ปี หากเด็กและเยาวชนที่เป็นนักเรียนและนักศึกษาได้กระทําความผิดดังกล่าวซ้ำอีก ให้ริบเงินประกันเป็นของกองทุนคุ้มครองเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก
อย่างไรก็ตาม ผู้ใดกระทําการอันเป็นการยุยง ส่งเสริม ช่วยเหลือ หรือสนับสนุน ให้นักเรียน หรือนักศึกษาฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ นอกจากนี้นักเรียนหรือนักศึกษาที่ไปก่อเหตุทะเลาะวิวาท หรือทําร้ายร่างกายผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และหากเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต เพราะการทะเลาะวิวาทหรือทําร้ายร่างกายนั้น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ รวมทั้ง ให้โรงเรียนและสถานศึกษามีหน้าที่จัดให้มีกิจกรรมในการแนะแนวเพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหา โดยร่วมมือกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง กวดขัน และเร่งรัดจัดทํามาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนและนักศึกษาให้เป็นรูปธรรม โดยคําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป