ดาวรุ่งโนห์ราหน้าหล่อ “ไพศาล ขุนหนู” หนุ่มวัย 24 ที่กำลังฮิตมากในปักษ์ใต้ กับการแสดงศิลปะมโนราห์ภายใต้ชายคาดารารุ่นใหญ่ “เอกชัย ศรีวิชัย” เผยความภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นดินแดนด้ามขวาน
แม้พื้นฐานชีวิตจะเติบโตมาท่ามกลางบรรยากาศร่ายรำและคำกลอนของมโนราห์ แต่ทว่าไพศาลในวันวัยที่คำนำหน้ายังเป็นเด็กชาย ก็ไม่ต่างอะไรกับเด็กคนอื่นๆ ซึ่งแบ่งใจไปจากศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น แต่ด้วยการเข้มงวดกวดขันของผู้ปกครอง ทำให้ต้องคลุกคลีอยู่กับศาสตร์และศิลป์แขนงนี้เรื่อยมา จนกระทั่งวันหนึ่ง จึงซึ้งใจว่า นี่ล่ะคือศิลปะที่มากด้วยเสน่ห์ และ... “เท่จนสาวกรี๊ด” ไม่แพ้นักร้องเพลงป็อป
และจากการได้สังกัดในคณะมโนราห์ศรีวิชัย ของดารานักแสดงรุ่นใหญ่ “เอกชัย ศรีวิชัย” ที่มีงานจ้างตลอดแทบทั้งปีในพื้นที่ 14 จังหวัดทางภาคใต้ ก่อนที่มโนราห์จะถูกถ่ายทอดลงจอเงินกับหนังเรื่อง “เทริด” (เซิด) ที่เอกชัย ศรีวิชัย เปิดโอกาสให้เขารับบทเป็นพระเอก ท่ามกลางข้อแม้เงื่อนไข “จะเป็นพระเอก ต้องมีซิกแพก”!!
• จุดเริ่มต้นของโนห์ราไพศาล ขุนหนู
ต้องบอกว่าต้นตระกูลผมเป็นโนห์รา คุณตา คุณลุง คุณแม่ผมเป็นโนห์ราที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา คุณตาจะเป็นโนห์ราพื้นบ้าน เป็นมโนราห์โรงครู ทำพิธีการ เช่น แก้บน เหยียบเสน เสนจะเป็นเหมือนปานแดงซึ่งจะเกิดขึ้นกับเด็กตัวเล็กๆ หมอจะรักษาไม่หาย จะต้องใช้โนห์ราเหยียบเท่านั้น เหยียบโดยใช้คาถา ปานแดงก็จะหายไป หรือว่างานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานสังสรรค์ แต่จะเน้นเกี่ยวกับพิธีกรรมมากกว่า คุณตาผมก็จะเดินมาทางสายนี้ และด้วยเหตุที่ผมเกิดมาท่ามกลางครอบครัวที่เป็นโนห์รา ผมก็เลยได้ฝึกรำโนห์รามาตั้งแต่อายุ 5 ขวบเลยครับ เพราะทางบ้านอยากให้เราสืบทอด
• เริ่มรำโนห์ราตั้งแต่ 5 ขวบ ตอนนั้นจำความได้ไหมว่าเราชอบหรือโดนบังคับแล้วเราไปจริงจังตั้งแต่เมื่อไหร่คะ
จำได้ว่าน่าจะมีความรู้สึกทั้งสองอย่างเลยนะครับ แต่จะเน้นไปทางโดนบังคับมากกว่า (หัวเราะ) จะมีงอแง ร้องไห้บ้าง ด้วยความเป็นเด็ก ตอนนั้นยังเรียนอยู่ชั้นอนุบาลอยู่เลย เราจะคิดอยู่บ่อยๆ ว่าทำไมคุณตาต้องยัดเยียดให้เรารำ แล้วทำไมต้องรำ รำไปทำไม ตอนนั้นตั้งคำถามกับตัวเองตลอดเลยนะครับ แต่เราก็ต้องรำเพราะคุณตาให้ทำ ไม่ทำก็ไม่ได้เพราะคุณตาเป็นคนที่ดุมาก มีระเบียบวินัยในทุกๆ เรื่อง ทั้งแม่ ลุง ป้า น้า จะกลัวคุณตาหมดเลย ผมเป็นหลาน ผมก็กลัว เลยจำเป็นต้องทำตาม
ผมจะโดนคุณตาปลูกฝังมาว่าเราต้องรักวัฒนธรรมนะ สิ่งที่เราเป็นอยู่มันคือพรสวรรค์นะ มันคือสิ่งที่คนได้มาไม่เหมือนกันนะ อะไรทำนองนี้ครับ อีกอย่างแม่ผมก็รำโนห์ราด้วย แม่ผมเป็นนางเอกในคณะของคุณตาเลย เราก็เลยจะคลุกคลีอยู่กับตรงนี้มาตลอด และพอได้มาศึกษา ได้เรียนรู้เกี่ยวกับโนห์ราอย่างลึกซึ้ง ทั้งในเรื่องพิธีกรรม ประเพณีวัฒนธรรม ผมก็เริ่มจริงจังกับการรำโนห์รามากขึ้น ผมมีความรู้สึกว่าโนห์ราเป็นสิ่งที่มีค่าและสูงส่ง คิดว่าโนห์ราไม่ใช่แค่วัฒนธรรมของคนไทย ไม่ใช่แค่สืบทอดวัฒนธรรมของคนภาคใต้ แต่สิ่งที่ผมทำคือผมกำลังแบกวัฒนธรรมของชาติ ของแผ่นดินอยู่ แล้วพอเริ่มจริงจัง เราก็มีชุดเป็นของตัวเอง มีเทริดมโนราห์
• แล้วเรื่องการฝึกฝนล่ะคะ เราใช้เวลาฝึกฝนนานไหม ฝึกฝนอย่างไรบ้าง
คุณตาจะพยายามปลูกฝังผมให้ผมร้องกลอน อย่างวันนี้คุณตาเขียนกลอนให้ อีกสัปดาห์หนึ่งเราต้องมาท่องให้คุณตาฟัง เหมือนว่าเป็นการทดสอบเราไปในตัว และเราก็ต้องทำให้ได้จบ เราก็ต้องเอากลอนใหม่มาเรียนอีก เพราะว่าโนห์ราจะมีหลายทำนองมาก ส่วนการรำ คุณตาจะจับมือเราก่อนว่าท่านี้มือต้องอยู่ระดับไหน ขาต้องประมาณไหน หน้าต้องหันยังไง วิธีการเดินต้องประมาณไหน คุณตาจะสอนทุกอย่างทั้งการร้อง การรำ การเดิน การใช้สรีระร่างกายทุกอย่าง
แต่ทุกวันนี้ผมจะใช้วิธียืนหน้ากระจกแล้วฝึกมือ ซัดมือให้ได้วงแขน จะอาศัยดูว่าวันนี้เราได้วงขนาดนี้นะ พรุ่งนี้เราต้องยกขนาดนี้ แล้วก็จะฝึกร้องกลอนโนห์ราไปด้วยพลางๆ ผมจะฝึกแบบนี้แทบทุกวันเลยครับ อีกอย่างผมจะฝึกโดยการดูคนอื่น เช่น พี่คนนี้รำเท่ ผมก็จะเข้าไปหา ขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์เพราะผมอยากได้ท่ารำเหมือนเขา หรือเห็นมโนราห์อีกคนร้องกลอนดี ผมก็จะเข้าไปหา ไปฝากเนื้อฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของเขาอีก ผมจะใช้วิธีพยายามเข้าหาคนเก่งๆ พยายามค้นคว้าดูจากพี่ๆ มโนราห์รุ่นเก่าๆ ครับ
• เห็นว่าสังกัดคณะมโนราห์เอกชัยไพศาล
ตรงนี้ ต้องเท้าความก่อนว่าพื้นเพผมเป็นคนจังหวัดสงขลา ผมเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนวัดประเจียก พอจบชั้นประถมผมก็มีโอกาสได้ไปศึกษาต่อในเมือง คุณลุงของผมซึ่งเป็นมโนราห์และมีอาชีพนักการภารโรงอยู่โรงเรียนเทศบาล 5 วัดหัวป้อมนอก ที่นี่จะสอนระดับชั้น ม.1-ม.6 ตอนนั้นคุณลุงบอกให้ผมมาเรียนต่อในเมืองที่นี่แล้วโรงเรียนนี้เขาสนับสนุนกิจกรรม มีการจัดรำ ร้องเพลง เล่นดนตรี มีประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ เป็นประจำ
พอผมมาเรียนโรงเรียนนี้ ผมก็ได้เจอท่านอุทิศ ชูช่วย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้เมตตาเอ็นดูผม ส่งเสริมเกี่ยวกับการรำโนห์ราจนผมกลายเป็นเด็กกิจกรรมไปเลย ถ้ามีงานของโรงเรียน ผมก็จะได้เป็นตัวแทนไปรำโนห์ราเป็นนักร้องนำของโรงเรียนด้วย
จำได้ว่าครั้งแรกที่เจอป๋าเอกชัย ศรีวิชัย เป็นวันงานจัดเลี้ยงรวมญาติของท่านอุทิศที่จังหวัดสงขลา ผมมีโอกาสไปรำในงาน แล้วในงานนี้มีป๋าเอกชัยมาร่วมงานด้วย ซึ่งมาโดยบังเอิญด้วยนะครับ เพราะวันนั้นป๋าเอกชัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นแล้วลงเครื่องที่กรุงเทพฯ แกก็มาที่ใต้เลย แต่ในระหว่างที่นั่งรถกลับบ้านที่หาดใหญ่ โปรดิวเซอร์ของป๋าที่ไปด้วยกัน บังเอิญไปเปิดวิทยุคลื่นของจังหวัดพอดีแล้วในวิทยุประกาศว่าวันนี้จะมีการเลี้ยงสังสรรค์ของคุณอุทิศ ชูช่วย ป๋าเอกชัยก็นับถือท่านอุทิศเหมือนพี่น้องแท้ๆ วันนั้นแกเลยได้มาร่วมงานด้วย จังหวะที่แกมาถึง ผมก็รำโนห์ราอยู่บนเวทีพอดี ด้วยความโชคดีที่ท่านอุทิศได้ฝากผมให้กับป๋าเอกชัยดูแล เพราะท่านเห็นแววในตัวเรา ป๋าเอกชัยตอบรับว่าจะรับผมไปฝึกเอง สอนเอง ตตอนนั้นผมอายุ 13 ปีครับ กำลังเรียนอยู่ ม.1 เลยครับ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ผมก็ได้อยู่ในศรีวิชัยโชว์มาโดยตลอด จนกระทั่งเปลี่ยนมาเป็น “มโนราห์เอกชัยไพศาล”
• คลุกคลีอยู่กับโนห์รามาตั้งแต่เด็ก เราได้เห็นการเปลี่ยนผ่านบ้างหรือเปล่าว่าโนห์ราสมัยก่อนกับปัจจุบันต่างกันบ้างไหม
ต่างกันมากนะครับ ต้องบอกว่าโนห์รามีสองประเภทก็คือ หนึ่ง โนห์ราทางพิธีกรรมซึ่งเกี่ยวกับการทำพิธีแก้บน เหมือนใครบนว่าอยากจะให้ลูกสำเร็จกิจการ อยากให้ลูกรับราชการ จะมาบนกับครูหมอโนห์ราซึ่งเป็นบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เหมือนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วิธีทำก็จะนำขันหมาก ขันพลูมาให้มโนราห์แล้วก็บนกล่าวตามที่เราต้องการ เช่น ถ้าสำเร็จกิจการนี้ก็จะรับมโนราห์มารำถวาย อันนี้ก็จะเป็นในส่วนของพิธีกรรมโรงครู
ส่วนอีกอย่างหนึ่งคือโนห์ราโชว์ จะเป็นการแสดงโชว์ทั่วไป เป็นโชว์ผสมผสานกับดนตรีสากล ถ้าเป็นมโนราห์พิธีกรรมจะไม่มีดนตรีสากลมาปะปนเลย แต่ถ้าเป็นมโนราห์โชว์จะมีทั้งแดนเซอร์ วงดนตรี มีกลิ่นอายสมัยใหม่มากขึ้น เพราะจะเป็นการนำมาผสมผสานกัน อย่างช่วงแรกก่อนการแสดงโชว์จะมีพิธีกรรมที่เรียกว่า “กาศครู” เป็นพิธีรำลึกถึงครูบาอาจารย์แล้วก็จะมีการรำมโนราห์ รำไปได้ 2-3 ชั่วโมง จะมีลูกทีมออกมารำก่อน ผ่านไปก็จะมีหัวหน้าวงกล่าวบททักทายสวัสดีแม่ยก หรือถ้าเป็นมโนราห์รุ่นใหญ่ที่เขาชำนาญ เขาจะด้นสด เห็นอะไรหยิบจับมาร้องได้ ก็จะว่ากล่าวไปตามอย่างที่เห็น แต่ถ้าเป็นมโนราห์ที่ไม่ใช่มืออาชีพก็จะใช้กลอนเรียน กลอนท่องจำแทนครับ หลังจากนั้นประมาณสักเที่ยงคืนก็จะเริ่มมีหางเครื่อง มีวงดนตรีเหมือนกับนักร้องลูกทุ่งทั่วไป มีตลก มันก็เลยทำให้มีอะไรแปลกใหม่มากขึ้น
ส่วนตัวผมอยู่สายโชว์มโนราห์ กับคณะเอกชัยไพศาล ก็เปิดทำการแสดงทั่วภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด คณะเราจะเป็นการรำมโนราห์โดยผ่านเด็กสมัยใหม่ การแสดงแบบร่วมสมัยมาก มีทั้งรำ ร้อง เล่นตลก เล่นดนตรี มีหางเครื่อง ครบเลยครับ มโนราห์เอกชัย ไพศาล เราจะใช้ตัวรำจริงๆ จะใช้เด็กที่เรียนเกี่ยวกับการรำจริงๆ เด็กนาฏศิลป์ เด็กโขน เด็กละครมารำ เวลาชมก็จะได้อรรถรสในการรับชม จะได้ชมโนห์ราที่สวยงาม วงแขนที่พร้อมเพรียงกัน การย่อทุกส่วนของสรีระจะเหมือนกันทั้งหมด ในทั้งคณะจะเป็นคนรุ่นเดียวกับผมหมดเลย วัยรุ่นหมดเลย ตัวรำจริงๆ หมดเลยครับ
• จะว่าไปแล้ว หลงรักอะไรในการรำโนห์ราคะ
ผมว่าโนห์รามีเสน่ห์แล้วก็ไม่ได้เป็นเฉพาะวัฒนธรรมของคนภาคใต้ แต่มันเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านของคนไทยทั้งชาติ เป็นสิ่งที่คนไทยต้องเรียนรู้ ผมเชื่อเหลือเกินว่าคนไทยหลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจคำว่าโนห์ราคืออะไร หลายคนอาจจะเข้าใจไปว่าโนห์ราคือพระสุธนมโนราห์ คือนางกินรี ซึ่งไม่ใช่นะครับ ประวัติของมโนราห์คร่าวๆ ตามตำนานก็คือเจ้าเมืองพัทลุงชื่อว่าพระยาสายฟ้าฟาด มีพระธิดาของพระองค์ชื่อว่านางนวลทองสำลี ซึ่งพระธิดาชอบการร่ายรำเป็นชีวิตจิตใจ อยู่มาวันหนึ่ง พระธิดาก็ทรงฝันว่ามีเทพมาร่ายรำ 12 ท่าแล้วตื่นเช้าขึ้นมา พระธิดาก็ร่ายรำทำตามความฝันทุกประการ
การรำโนห์ราก็เป็นความสามารถพิเศษเฉพาะตัวอย่างหนึ่ง เป็นพรสวรรค์อย่างหนึ่งที่ติดตัวมา เพราะไม่ใช่ว่าใครจะมารำก็ได้ง่ายๆ ไม่ใช่จะฝึกได้ในวันสองวัน ต้องใช้ระยะเวลาขั้นต่ำเลยคือ 1 ปี ไม่ใช่ว่าใครจะมาฝึกรำง่ายๆ เราต้องใช้เวลาฝึก ต้องใช้ความเอาใจใส่ ต้องเข้าใจมากๆ
• เหมือนว่าเราอยากอนุรักษ์ หรือว่าเป็นแค่ความชอบเฉยๆ คะ
ทั้งสองอย่างเลยครับ เพราะตั้งแต่สมัยผมเด็กๆ จนถึงปัจจุบันนี้ พอผมได้เรียนรู้ ผมได้เข้าใจอะไรหลายๆ อย่าง ซึ่งไม่ว่าต่อไปในอนาคต ผมจะไปอยู่ที่ไหนก็ตาม ผมก็หนีรากของตัวเองไม่พ้น ก็ต้องกลับมาเป็นโนห์ราเหมือนเดิม แล้วตั้งแต่ผมได้ศึกษาอะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับโนห์รา มันทำให้ผมได้รู้ว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สูงส่งและมีเสน่ห์มากๆ
• เราชอบรำโนห์รา แล้วชอบอะไรอย่างอื่นๆ แบบที่วัยรุ่นเขาชอบกันไหม เช่นเพลงป็อป หนังฮอลลีวูด หรืออะไรทำนองนั้น
ส่วนตัวผมชอบฟังเพลงสากล เพลงสตริงมากนะครับ แต่ทั้งหมดทั้งมวลสิ่งที่เราจะลืมไม่ได้ก็คือสิ่งที่เป็นรากของเรา นั่นก็คือ มโนราห์ ที่ผมคิดว่าไม่มีวันสูญหาย การที่เรารับอารยธรรมจากชาติตะวันตก ผมมองอีกมุมว่ามันเป็นเรื่องที่ดี ที่ทันสมัยนะครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เราไม่ควรทำก็คือ ลืมรากเหง้า ลืมตัวตนของตัวเอง เพราะว่าวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่บอกตัวตนได้ชัดเจนมาก ดีเอ็นเอคุณ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคุณคือคนไทย
ทุกวันนี้เวลาที่ผมนั่งรถไปงานกับป๋าเอกชัย สิ่งที่ผมได้ยินอย่างแรกในรถเลยก็คือกลอนโนห์รา ป๋าจะเปิดให้ผมฟัง แต่เขาจะไม่ได้บอกเรานะครับว่าเราจะต้องฟัง แต่เขาจะยัดเยียดให้ฟังเลย (หัวเราะ) ประมาณว่าขึ้นรถปุ๊บ เสียงโนห์รามาเลย หรืออย่างเวลากินข้าวเรียบร้อยแล้ว ป๋าเอกชัยก็จะให้ผมร้องกลอนให้ฟังเหมือนกับคุณตาผมเลยครับ เขาจะชอบทดสอบเรา ให้เราฝึกไปในตัว ส่วนเราก็วัยรุ่นเนอะ มันก็ต้องมีบ้างที่อยากฟังเพลงสตริง อยากฟังเพลงสากลบ้าง แต่ทุกวันนี้มันซึมซับไปแล้ว (ยิ้ม)
• คิดว่าสิ่งที่เราทำเชยไหม และเดี๋ยวนี้ยังมีคนสนใจการรำมโนราห์มากน้อยแค่ไหน
หลายคนอาจจะมองโนห์ราว่าล้าสมัย เชย สมัยก่อนผมก็เคยมองเหมือนเด็กวัยรุ่นทั่วไป เพราะเราจะเห็นได้ชัดว่าการชมโนห์ราจะมีเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ มีแม่ๆ อยู่หน้าโรงรำไม่ถึง 30 คน เด็กวัยรุ่นจะน้อยมาก แต่มันคงจะเป็นเรื่องของตัวรำด้วยมั้งครับ เพราะว่าคนสมัยก่อนจะใช้นางรำที่เป็นคนมีอายุ ทั้งมโนราห์ชายและหญิงจะมีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป เด็กก็เลยอาจจะมองว่าไม่มีวัยรุ่น เลยไม่รู้จะไปดูอะไร ไหนจะฟังไม่เข้าใจอีก
แต่ยุคนี้มันเปลี่ยนไปแล้วครับ เพราะเด็กวัยรุ่นรำมโนราห์เยอะมาก (ลากเสียงยาว) สมัยนี้โนห์ราจะเป็นวัยรุ่นซะส่วนใหญ่ เราจะได้เห็นโนห์ราอายุ 20 ต้นๆ ที่รำก็เก่ง ร้องกลอนเก่ง เยอะมาก คนที่มาดูก็มีทุกวัยเลยครับเราจะเห็นได้ชัดเวลาเราแสดง เราจะได้เสียงตอบรับจากแฟนคลับทุกวัยไม่ว่าจะเป็นรุ่นแม่ หรือรุ่นลูกอย่างเรา บางคนก็เข้ามาทักทาย สอบถามเราว่าเราฝึกรำตั้งแต่กี่ขวบ อยากรำเหมือนเรา (ยิ้ม)
ตอนนี้ผมว่าการรำโนห์ราเป็นเรื่องที่เท่ เป็นอะไรที่สาวกรี๊ดมากเลยนะครับ (หัวเราะ) เพราะผมได้เห็นจากสิ่งแวดล้อม ได้เห็นจากคนที่เขามาดูโนห์รา ถ้าผมออกรำคืนไหน ทุกคนจะนิ่งแล้วทุกคนจะตั้งใจชม และที่น่าภูมิใจมากกว่านั้นก็คือทุกคนจะหยิบกล้องถ่ายรูปขึ้นมา ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก เอาไปลงเฟซบุ๊ก แล้วก็เขียนบรรยายว่าวันนี้เขาไปดูมโนราห์มานะ มโนราห์เป็นสิ่งที่สวยงามนะ อะไรประมาณนี้ครับ บางคนก็อาจจะทักเข้ามาทางอินบ็อกซ์ มาชมเราว่าเรารำเก่ง รำสวยนะ เด็กวัยรุ่นหันมารำโนห์รากันเยอะมาก น้องๆ หลายคนที่เข้ามาทักทายเขาจะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าผมเท่อย่างนู้นอย่างนี้ (หัวเราะ) ส่วนผมก็ภูมิใจที่มีคนมองว่าผมเป็นแบบอย่างให้กับเขา เป็นไอดอลของเด็กหลายๆ คนที่จะมารำโนห์รา
• รำโนห์ราแล้วสาวกรี๊ดจริงหรือ วิเคราะห์หน่อยได้ไหมคะว่าทำไมวัยรุ่นถึงหันมาสนใจโนห์รากันมากขึ้น
จริงครับ (ตอบเร็ว) จะบอกว่าโนห์ราไม่ต่างจากลิเกเลยนะครับ เพราะผมมีเพื่อนเป็นพระเอกลิเกอยู่ ออกไปหน้าเวทีแต่ละที แม่ยกมีดอกไม้ มีรางวัลให้ตลอด โนห์ราสมัยนี้ก็ไม่ต่างกันเลย ออกไปรำทีหนึ่งคือสาวกรี๊ดเลย ส่วนตัวผมก็มีแม่ยกสาวๆ บ้างเหมือนกันนะครับ (ยิ้ม)
เหตุผลนั้น ผมว่าอยู่ที่ตัวนักแสดง ตัวรำเราวัยรุ่น ทันสมัย และกลอนที่ใช้กล่าว ก็ใช่ว่าเราชมนกชมไม้เหมือนคนโบราณอย่างเดียว แต่เราจะหยิบยกเรื่องปัจจุบันมาเล่า โดยเฉพาะปัจจุบัน โนห์ราผู้ชายหน้าตาดีเยอะมาก เห็นได้ชัดว่าหน้าโรงโนห์ราจะมีผู้หญิง มีสาวๆ มีแม่ยกเยอะ เพราะเขาจะมาคอยตามโนห์รา สมัยนี้โนห์รากลายเป็นเรื่องปกติของวัยรุ่นไปแล้วครับ ด้วยกาลเวลามันเปลี่ยนไป รูปแบบของพิธีกรรมหรือรูปแบบของโชว์การแสดงโนห์ราของเราเปลี่ยนไป โนห์ราทุกวันนี้นำอะไรหลายๆ อย่างที่ร่วมสมัยมาประยุกต์และผสมผสานให้เข้ากันมากขึ้น
• แล้วมโนราห์ยากไหมคะ ถ้าอยากรำเป็นบ้างต้องเริ่มต้นยังไง
จะว่ายากก็ยากครับ เพราะส่วนตัวผมก็ร้องไห้ไปหลายครั้งแล้ว ผมจะเป็นคนที่เข้าใจยากมากๆ อย่างบางคนเขารำโนห์รา เขาก็แค่มองเอาว่าเขาอยากได้ท่ารำของโนห์ราคนนี้ที่เก่งมากๆ เขาก็ดูและสามารถเลียนแบบท่ารำได้แล้วว่ามือไปยังไง แขนขาทำยังไง แต่สำหรับผม ถ้าให้มองท่ารำคนอื่น ผมรำไม่ได้ เพราะถ้าผมจะฝึกรำจริงๆ ผมต้องหาครูมาสอนติวให้ตัวต่อตัวเลย แต่ผมก็ไม่เคยท้อจนไม่อยากรำนะครับ จะพยายามทำให้ได้มากกว่า
ถ้าอยากรำโนห์ราจริงๆ อันดับแรกต้องมีใจรักก่อนครับ แล้วก็มุ่งมั่น ของแบบนี้ฝึกกันได้และไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานมาก่อนก็ได้ แต่ต้องยอมรับว่าอาจจะรำได้ไม่เท่ากับคนที่เขาเป็นอยู่แล้ว แต่ยังไงก็ฝึกได้ครับ เพราะมโนราห์จะมีท่าเบสิกที่โนห์ราทุกคนจะต้องรำได้ เช่น ท่าเยื้อง ท่านาดซึ่งเป็นท่าเบสิกที่สามารถฝึกได้อยู่แล้ว ฉะนั้นแล้ว อยากเรียนรู้ก็ทำเลย อย่าขี้เกียจ มันไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน
เมื่อก่อน ผมเป็นคนที่ชอบดูถูกตัวเอง ชอบท้อว่าเราทำไม่ได้หรอก พอคุณตาบอกว่าต้องท่องกลอน ต้องรำ แล้วเราทำไม่ได้ เราก็จะคิดแต่ว่าทำไม่ได้ ก็ท้อ รู้สึกว่ามันยาก เพราะใจเราไม่สู้ แต่ว่าต้องบอกว่าผมเป็นคนที่โชคดีมากกว่า โชคดีที่ได้รับโอกาสจากผู้หลักผู้ใหญ่ โชคดีที่ผมได้รับโอกาสจากป๋าเอกชัย ศรีวิชัย เพราะแกพยายามฝึก พยายามสอนให้เราทุกวันด้วย
• เห็นว่าจะมีภาพยนตร์เรื่องเทริดแล้วรับบทเป็นพระเอกด้วย เราได้เล่นภาพยนตร์เรื่องนี้ได้อย่างไร แล้วภาพยนตร์เรื่องนี้เกี่ยวกับอะไร ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยค่ะ
ภาพยนตร์มาจากเมื่อไม่นานมานี้ ป๋าเอกชัยบอกว่าจะให้ผมเล่นหนัง จะให้เราเป็นพระเอก ผมดีใจมากนะ ยังถามป๋าอยู่เลยว่าเราไม่ได้ฝันไปใช่ไหม (หัวเราะ) ผมตอบรับทันใดเลยนะครับตอนนั้นเพราะมันถือว่าเป็นโอกาสมากๆ แต่คำสั่งแรกที่ป๋าบอกมาว่ามีข้อแม้อย่างหนึ่งคือพระเอก หุ่นต้องดีก่อน ถ้าพระเอกหุ่นไม่ดีจะเปลี่ยนนักแสดงเลย
ตอนนั้นยอมรับว่าเครียดมากเพราะผมกินจุบจิบมาก เป็นคนที่มีพุงเลยแหละแล้วเหลือระยะเวลา 3-4 เดือนจะเปิดกล้อง แต่ด้วยความตั้งใจมุ่งมั่น เลยลองดูสักตั้ง จากคนที่ติดขนมมาก ในห้องผมจะมีขนมไม่ต่ำกว่า 20 ชิ้นโดยเฉพาะช็อกโกแลต แต่ที่เราไปศึกษามา เขาบอกว่าจะมีกล้ามได้ต้องตัดขนม ตอนนั้นเลยตัดสินใจเอาขนมทั้งหมดใส่ในกระเป๋า เอาไปให้น้องหมดเลย ตัดออกไปให้หมด เริ่มมาเข้าฟิตเนส เล่นสัปดาห์ละ 6 วัน การกินก็จะเปลี่ยนไป ตัดขนม ตัดน้ำตาล ของที่ทอดด้วยน้ำมันพืชผมก็ไม่กิน ต้องใช้น้ำมันมะกอกเท่านั้น เนื้อสัตว์ต่างๆ ที่ติดมันก็ไม่กิน ผมเปลี่ยนมากินอกไก่วันละ 4 อก ไข่ไก่วันละ 10 ฟองเพื่อที่จะสร้างกล้ามเนื้อ
ที่ทำแบบนี้เพราะเราต้องสร้างเอกลักษณ์ตัวเองขึ้นมา เราต้องถอดเสื้อ ป๋าบอกว่าเราต้องมีกล้าม ซึ่งแรกๆ ผมก็งงว่าโนห์ราที่ไหนมีกล้าม โนห์ราต้องตัวอ่อน มืออ่อน นิ้วอ่อน งอตัวได้ไม่ใช่เหรอ ซึ่งมันจะขัดแย้งกันเพราะถ้าเรามีกล้ามมันจะทำให้การรำไม่สละสลวย มันจะแข็งกระด้าง แต่พอผมได้ศึกษาทำความเข้าใจกับบทภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เลยได้รู้ว่าตามประวัติของโนห์ราที่แท้จริง ต้นกำเนิดของโนห์ราคือเทพสิงขรบุตรของนางนวลทองสำลี ตอนที่พระองค์ทรงฝึกร่ายรำตั้งแต่เริ่มต้น ท่านก็รำโดยไม่ได้ใส่เสื้อ รำโดยใช้ผ้าเตี่ยวแค่ผืนเดียว รำอยู่ข้างทะเลสาบ ป๋าเอกชัยแกก็เลยอยากจำลองเหตุการณ์นั้นมาอยู่ในภาพยนตร์เรื่องนี้
อีกอย่างหนึ่ง แกอยากสร้างเอกลักษณ์ให้เราด้วยว่าถ้าเห็นโนห์ราไพศาลที่ไหนคุณต้องเห็นซิกแพก ตอนนี้ต้องบอกว่าผมเป็นโนห์ราคนเดียวทั้งประเทศที่รำถอดเสื้อแล้วมีซิกแพกจนไปสร้างแรงบันดาลใจให้โนห์ราหลายๆ คนว่าถ้าเขาจะรำโนห์ราเขาจะต้องเหมือนโนห์ราไพศาล เราเลยกลายเป็นไอดอลของเขาไปเลย (หัวเราะ)
• คิดว่าคนดูจะได้ประโยชน์อะไรจากภาพยนตร์เรื่องนี้บ้างคะ
แน่นอนเลยว่าคุณจะได้รู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของคนไทย คุณจะได้รู้ว่าเทริดคืออะไร...เทริดคือสัญลักษณ์ของมโนราห์ที่ใช้สวมบนศีรษะก่อนจะออกร่ายรำเพราะโนห์ราทุกคนก่อนจะร่ายรำจะต้องไหว้เทริด แล้วก็จะต้องหยิบเทริดสวมใส่อีกทีหนึ่งซึ่งไม่ใช่ว่าใครจะสวมใส่ก็ได้นะครับ เพราะจะต้องผ่านพิธีกรรมอะไรหลายๆ อย่าง
ผมว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของวัฒนธรรมของคนไทยซึ่งสื่อผ่านภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิต การดำเนินเรื่อง ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ หลายคนอาจจะไม่เข้าใจคำว่าเทริด หลายคนอ่านออกเสียงยังผิดอยู่เลยเทริด ใช้สระเอ ท ทหาร ร เรือ สระอิ ด เด็ก บางคนอ่านว่าเท-ริด บางคนอ่านว่าเทิด ซึ่งภาษาไทย ท กับ ร ควบกล้ำกันจะอ่านออกเสียงเป็น ซ คำนี้เลยอ่านออกเสียงว่า เซิดครับ (ยิ้ม)
ถ้าดูภาพยนตร์เรื่องนี้คุณจะได้รู้ว่าเทริดคืออะไร และประเพณีวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาของคนปักษ์ใต้คืออะไร เป็นมายังไง อยากจะบอกว่าเป็นภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนปักษ์ใต้ก็จริง แต่วัฒนธรรมแขนงนี้ไม่ใช่เฉพาะของคนใต้หรอกครับ เพราะมันเป็นวัฒนธรรมของคนไทยทั้งชาติ ผมอยากให้ทุกคนได้มาร่วมภูมิใจกับวัฒนธรรมของเราครับ (ยิ้ม)
• วางเป้าหมายในอนาคตต่อไปอย่างไรบ้าง
ผมอยากสืบสานอยู่ในวงการนี้ต่อไปเรื่อยๆ ครับ (ยิ้ม) ผมจำคำที่ป๋าเอกชัยพูดได้เสมอว่าทุกวันนี้วิชาที่ลูกมีอยู่ ถ้าลูกจะหอบหิ้วชุดมโนราห์เพื่อจะไปรำกับคณะอื่นแล้วก็รับค่าตัววันละ 400-500 บาท ก็โอเคนะ เพราะวิชาที่ลูกมีมันพอแล้ว แต่วันใดที่ลูกคิดว่าลูกจะเป็นเจ้าของคณะหรือจะเป็นเจ้าคนนายคน วิชาที่ลูกมีอยู่ มันแค่เศษเสี้ยวเอง ฉะนั้น ลูกต้องเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ลูกต้องหมั่นที่จะฝึก หมั่นที่จะเรียนรู้ ไม่ว่าใครก็ตาม ไม่มีทางเก่งไปกว่าการซ้อมแน่ๆ ซึ่งผมก็จะหมั่นซ้อม หมั่นฝึกต่อไปเรื่อยๆ ครับ
เรื่อง : วรัญญา งามขำ
ภาพ : วชิร สายจำปา และ อินสตาแกรม Paisan Khunnu
แม้พื้นฐานชีวิตจะเติบโตมาท่ามกลางบรรยากาศร่ายรำและคำกลอนของมโนราห์ แต่ทว่าไพศาลในวันวัยที่คำนำหน้ายังเป็นเด็กชาย ก็ไม่ต่างอะไรกับเด็กคนอื่นๆ ซึ่งแบ่งใจไปจากศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น แต่ด้วยการเข้มงวดกวดขันของผู้ปกครอง ทำให้ต้องคลุกคลีอยู่กับศาสตร์และศิลป์แขนงนี้เรื่อยมา จนกระทั่งวันหนึ่ง จึงซึ้งใจว่า นี่ล่ะคือศิลปะที่มากด้วยเสน่ห์ และ... “เท่จนสาวกรี๊ด” ไม่แพ้นักร้องเพลงป็อป
และจากการได้สังกัดในคณะมโนราห์ศรีวิชัย ของดารานักแสดงรุ่นใหญ่ “เอกชัย ศรีวิชัย” ที่มีงานจ้างตลอดแทบทั้งปีในพื้นที่ 14 จังหวัดทางภาคใต้ ก่อนที่มโนราห์จะถูกถ่ายทอดลงจอเงินกับหนังเรื่อง “เทริด” (เซิด) ที่เอกชัย ศรีวิชัย เปิดโอกาสให้เขารับบทเป็นพระเอก ท่ามกลางข้อแม้เงื่อนไข “จะเป็นพระเอก ต้องมีซิกแพก”!!
• จุดเริ่มต้นของโนห์ราไพศาล ขุนหนู
ต้องบอกว่าต้นตระกูลผมเป็นโนห์รา คุณตา คุณลุง คุณแม่ผมเป็นโนห์ราที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา คุณตาจะเป็นโนห์ราพื้นบ้าน เป็นมโนราห์โรงครู ทำพิธีการ เช่น แก้บน เหยียบเสน เสนจะเป็นเหมือนปานแดงซึ่งจะเกิดขึ้นกับเด็กตัวเล็กๆ หมอจะรักษาไม่หาย จะต้องใช้โนห์ราเหยียบเท่านั้น เหยียบโดยใช้คาถา ปานแดงก็จะหายไป หรือว่างานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานสังสรรค์ แต่จะเน้นเกี่ยวกับพิธีกรรมมากกว่า คุณตาผมก็จะเดินมาทางสายนี้ และด้วยเหตุที่ผมเกิดมาท่ามกลางครอบครัวที่เป็นโนห์รา ผมก็เลยได้ฝึกรำโนห์รามาตั้งแต่อายุ 5 ขวบเลยครับ เพราะทางบ้านอยากให้เราสืบทอด
• เริ่มรำโนห์ราตั้งแต่ 5 ขวบ ตอนนั้นจำความได้ไหมว่าเราชอบหรือโดนบังคับแล้วเราไปจริงจังตั้งแต่เมื่อไหร่คะ
จำได้ว่าน่าจะมีความรู้สึกทั้งสองอย่างเลยนะครับ แต่จะเน้นไปทางโดนบังคับมากกว่า (หัวเราะ) จะมีงอแง ร้องไห้บ้าง ด้วยความเป็นเด็ก ตอนนั้นยังเรียนอยู่ชั้นอนุบาลอยู่เลย เราจะคิดอยู่บ่อยๆ ว่าทำไมคุณตาต้องยัดเยียดให้เรารำ แล้วทำไมต้องรำ รำไปทำไม ตอนนั้นตั้งคำถามกับตัวเองตลอดเลยนะครับ แต่เราก็ต้องรำเพราะคุณตาให้ทำ ไม่ทำก็ไม่ได้เพราะคุณตาเป็นคนที่ดุมาก มีระเบียบวินัยในทุกๆ เรื่อง ทั้งแม่ ลุง ป้า น้า จะกลัวคุณตาหมดเลย ผมเป็นหลาน ผมก็กลัว เลยจำเป็นต้องทำตาม
ผมจะโดนคุณตาปลูกฝังมาว่าเราต้องรักวัฒนธรรมนะ สิ่งที่เราเป็นอยู่มันคือพรสวรรค์นะ มันคือสิ่งที่คนได้มาไม่เหมือนกันนะ อะไรทำนองนี้ครับ อีกอย่างแม่ผมก็รำโนห์ราด้วย แม่ผมเป็นนางเอกในคณะของคุณตาเลย เราก็เลยจะคลุกคลีอยู่กับตรงนี้มาตลอด และพอได้มาศึกษา ได้เรียนรู้เกี่ยวกับโนห์ราอย่างลึกซึ้ง ทั้งในเรื่องพิธีกรรม ประเพณีวัฒนธรรม ผมก็เริ่มจริงจังกับการรำโนห์รามากขึ้น ผมมีความรู้สึกว่าโนห์ราเป็นสิ่งที่มีค่าและสูงส่ง คิดว่าโนห์ราไม่ใช่แค่วัฒนธรรมของคนไทย ไม่ใช่แค่สืบทอดวัฒนธรรมของคนภาคใต้ แต่สิ่งที่ผมทำคือผมกำลังแบกวัฒนธรรมของชาติ ของแผ่นดินอยู่ แล้วพอเริ่มจริงจัง เราก็มีชุดเป็นของตัวเอง มีเทริดมโนราห์
• แล้วเรื่องการฝึกฝนล่ะคะ เราใช้เวลาฝึกฝนนานไหม ฝึกฝนอย่างไรบ้าง
คุณตาจะพยายามปลูกฝังผมให้ผมร้องกลอน อย่างวันนี้คุณตาเขียนกลอนให้ อีกสัปดาห์หนึ่งเราต้องมาท่องให้คุณตาฟัง เหมือนว่าเป็นการทดสอบเราไปในตัว และเราก็ต้องทำให้ได้จบ เราก็ต้องเอากลอนใหม่มาเรียนอีก เพราะว่าโนห์ราจะมีหลายทำนองมาก ส่วนการรำ คุณตาจะจับมือเราก่อนว่าท่านี้มือต้องอยู่ระดับไหน ขาต้องประมาณไหน หน้าต้องหันยังไง วิธีการเดินต้องประมาณไหน คุณตาจะสอนทุกอย่างทั้งการร้อง การรำ การเดิน การใช้สรีระร่างกายทุกอย่าง
แต่ทุกวันนี้ผมจะใช้วิธียืนหน้ากระจกแล้วฝึกมือ ซัดมือให้ได้วงแขน จะอาศัยดูว่าวันนี้เราได้วงขนาดนี้นะ พรุ่งนี้เราต้องยกขนาดนี้ แล้วก็จะฝึกร้องกลอนโนห์ราไปด้วยพลางๆ ผมจะฝึกแบบนี้แทบทุกวันเลยครับ อีกอย่างผมจะฝึกโดยการดูคนอื่น เช่น พี่คนนี้รำเท่ ผมก็จะเข้าไปหา ขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์เพราะผมอยากได้ท่ารำเหมือนเขา หรือเห็นมโนราห์อีกคนร้องกลอนดี ผมก็จะเข้าไปหา ไปฝากเนื้อฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของเขาอีก ผมจะใช้วิธีพยายามเข้าหาคนเก่งๆ พยายามค้นคว้าดูจากพี่ๆ มโนราห์รุ่นเก่าๆ ครับ
• เห็นว่าสังกัดคณะมโนราห์เอกชัยไพศาล
ตรงนี้ ต้องเท้าความก่อนว่าพื้นเพผมเป็นคนจังหวัดสงขลา ผมเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนวัดประเจียก พอจบชั้นประถมผมก็มีโอกาสได้ไปศึกษาต่อในเมือง คุณลุงของผมซึ่งเป็นมโนราห์และมีอาชีพนักการภารโรงอยู่โรงเรียนเทศบาล 5 วัดหัวป้อมนอก ที่นี่จะสอนระดับชั้น ม.1-ม.6 ตอนนั้นคุณลุงบอกให้ผมมาเรียนต่อในเมืองที่นี่แล้วโรงเรียนนี้เขาสนับสนุนกิจกรรม มีการจัดรำ ร้องเพลง เล่นดนตรี มีประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ เป็นประจำ
พอผมมาเรียนโรงเรียนนี้ ผมก็ได้เจอท่านอุทิศ ชูช่วย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้เมตตาเอ็นดูผม ส่งเสริมเกี่ยวกับการรำโนห์ราจนผมกลายเป็นเด็กกิจกรรมไปเลย ถ้ามีงานของโรงเรียน ผมก็จะได้เป็นตัวแทนไปรำโนห์ราเป็นนักร้องนำของโรงเรียนด้วย
จำได้ว่าครั้งแรกที่เจอป๋าเอกชัย ศรีวิชัย เป็นวันงานจัดเลี้ยงรวมญาติของท่านอุทิศที่จังหวัดสงขลา ผมมีโอกาสไปรำในงาน แล้วในงานนี้มีป๋าเอกชัยมาร่วมงานด้วย ซึ่งมาโดยบังเอิญด้วยนะครับ เพราะวันนั้นป๋าเอกชัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นแล้วลงเครื่องที่กรุงเทพฯ แกก็มาที่ใต้เลย แต่ในระหว่างที่นั่งรถกลับบ้านที่หาดใหญ่ โปรดิวเซอร์ของป๋าที่ไปด้วยกัน บังเอิญไปเปิดวิทยุคลื่นของจังหวัดพอดีแล้วในวิทยุประกาศว่าวันนี้จะมีการเลี้ยงสังสรรค์ของคุณอุทิศ ชูช่วย ป๋าเอกชัยก็นับถือท่านอุทิศเหมือนพี่น้องแท้ๆ วันนั้นแกเลยได้มาร่วมงานด้วย จังหวะที่แกมาถึง ผมก็รำโนห์ราอยู่บนเวทีพอดี ด้วยความโชคดีที่ท่านอุทิศได้ฝากผมให้กับป๋าเอกชัยดูแล เพราะท่านเห็นแววในตัวเรา ป๋าเอกชัยตอบรับว่าจะรับผมไปฝึกเอง สอนเอง ตตอนนั้นผมอายุ 13 ปีครับ กำลังเรียนอยู่ ม.1 เลยครับ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ผมก็ได้อยู่ในศรีวิชัยโชว์มาโดยตลอด จนกระทั่งเปลี่ยนมาเป็น “มโนราห์เอกชัยไพศาล”
• คลุกคลีอยู่กับโนห์รามาตั้งแต่เด็ก เราได้เห็นการเปลี่ยนผ่านบ้างหรือเปล่าว่าโนห์ราสมัยก่อนกับปัจจุบันต่างกันบ้างไหม
ต่างกันมากนะครับ ต้องบอกว่าโนห์รามีสองประเภทก็คือ หนึ่ง โนห์ราทางพิธีกรรมซึ่งเกี่ยวกับการทำพิธีแก้บน เหมือนใครบนว่าอยากจะให้ลูกสำเร็จกิจการ อยากให้ลูกรับราชการ จะมาบนกับครูหมอโนห์ราซึ่งเป็นบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เหมือนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วิธีทำก็จะนำขันหมาก ขันพลูมาให้มโนราห์แล้วก็บนกล่าวตามที่เราต้องการ เช่น ถ้าสำเร็จกิจการนี้ก็จะรับมโนราห์มารำถวาย อันนี้ก็จะเป็นในส่วนของพิธีกรรมโรงครู
ส่วนอีกอย่างหนึ่งคือโนห์ราโชว์ จะเป็นการแสดงโชว์ทั่วไป เป็นโชว์ผสมผสานกับดนตรีสากล ถ้าเป็นมโนราห์พิธีกรรมจะไม่มีดนตรีสากลมาปะปนเลย แต่ถ้าเป็นมโนราห์โชว์จะมีทั้งแดนเซอร์ วงดนตรี มีกลิ่นอายสมัยใหม่มากขึ้น เพราะจะเป็นการนำมาผสมผสานกัน อย่างช่วงแรกก่อนการแสดงโชว์จะมีพิธีกรรมที่เรียกว่า “กาศครู” เป็นพิธีรำลึกถึงครูบาอาจารย์แล้วก็จะมีการรำมโนราห์ รำไปได้ 2-3 ชั่วโมง จะมีลูกทีมออกมารำก่อน ผ่านไปก็จะมีหัวหน้าวงกล่าวบททักทายสวัสดีแม่ยก หรือถ้าเป็นมโนราห์รุ่นใหญ่ที่เขาชำนาญ เขาจะด้นสด เห็นอะไรหยิบจับมาร้องได้ ก็จะว่ากล่าวไปตามอย่างที่เห็น แต่ถ้าเป็นมโนราห์ที่ไม่ใช่มืออาชีพก็จะใช้กลอนเรียน กลอนท่องจำแทนครับ หลังจากนั้นประมาณสักเที่ยงคืนก็จะเริ่มมีหางเครื่อง มีวงดนตรีเหมือนกับนักร้องลูกทุ่งทั่วไป มีตลก มันก็เลยทำให้มีอะไรแปลกใหม่มากขึ้น
ส่วนตัวผมอยู่สายโชว์มโนราห์ กับคณะเอกชัยไพศาล ก็เปิดทำการแสดงทั่วภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด คณะเราจะเป็นการรำมโนราห์โดยผ่านเด็กสมัยใหม่ การแสดงแบบร่วมสมัยมาก มีทั้งรำ ร้อง เล่นตลก เล่นดนตรี มีหางเครื่อง ครบเลยครับ มโนราห์เอกชัย ไพศาล เราจะใช้ตัวรำจริงๆ จะใช้เด็กที่เรียนเกี่ยวกับการรำจริงๆ เด็กนาฏศิลป์ เด็กโขน เด็กละครมารำ เวลาชมก็จะได้อรรถรสในการรับชม จะได้ชมโนห์ราที่สวยงาม วงแขนที่พร้อมเพรียงกัน การย่อทุกส่วนของสรีระจะเหมือนกันทั้งหมด ในทั้งคณะจะเป็นคนรุ่นเดียวกับผมหมดเลย วัยรุ่นหมดเลย ตัวรำจริงๆ หมดเลยครับ
• จะว่าไปแล้ว หลงรักอะไรในการรำโนห์ราคะ
ผมว่าโนห์รามีเสน่ห์แล้วก็ไม่ได้เป็นเฉพาะวัฒนธรรมของคนภาคใต้ แต่มันเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านของคนไทยทั้งชาติ เป็นสิ่งที่คนไทยต้องเรียนรู้ ผมเชื่อเหลือเกินว่าคนไทยหลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจคำว่าโนห์ราคืออะไร หลายคนอาจจะเข้าใจไปว่าโนห์ราคือพระสุธนมโนราห์ คือนางกินรี ซึ่งไม่ใช่นะครับ ประวัติของมโนราห์คร่าวๆ ตามตำนานก็คือเจ้าเมืองพัทลุงชื่อว่าพระยาสายฟ้าฟาด มีพระธิดาของพระองค์ชื่อว่านางนวลทองสำลี ซึ่งพระธิดาชอบการร่ายรำเป็นชีวิตจิตใจ อยู่มาวันหนึ่ง พระธิดาก็ทรงฝันว่ามีเทพมาร่ายรำ 12 ท่าแล้วตื่นเช้าขึ้นมา พระธิดาก็ร่ายรำทำตามความฝันทุกประการ
การรำโนห์ราก็เป็นความสามารถพิเศษเฉพาะตัวอย่างหนึ่ง เป็นพรสวรรค์อย่างหนึ่งที่ติดตัวมา เพราะไม่ใช่ว่าใครจะมารำก็ได้ง่ายๆ ไม่ใช่จะฝึกได้ในวันสองวัน ต้องใช้ระยะเวลาขั้นต่ำเลยคือ 1 ปี ไม่ใช่ว่าใครจะมาฝึกรำง่ายๆ เราต้องใช้เวลาฝึก ต้องใช้ความเอาใจใส่ ต้องเข้าใจมากๆ
• เหมือนว่าเราอยากอนุรักษ์ หรือว่าเป็นแค่ความชอบเฉยๆ คะ
ทั้งสองอย่างเลยครับ เพราะตั้งแต่สมัยผมเด็กๆ จนถึงปัจจุบันนี้ พอผมได้เรียนรู้ ผมได้เข้าใจอะไรหลายๆ อย่าง ซึ่งไม่ว่าต่อไปในอนาคต ผมจะไปอยู่ที่ไหนก็ตาม ผมก็หนีรากของตัวเองไม่พ้น ก็ต้องกลับมาเป็นโนห์ราเหมือนเดิม แล้วตั้งแต่ผมได้ศึกษาอะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับโนห์รา มันทำให้ผมได้รู้ว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สูงส่งและมีเสน่ห์มากๆ
• เราชอบรำโนห์รา แล้วชอบอะไรอย่างอื่นๆ แบบที่วัยรุ่นเขาชอบกันไหม เช่นเพลงป็อป หนังฮอลลีวูด หรืออะไรทำนองนั้น
ส่วนตัวผมชอบฟังเพลงสากล เพลงสตริงมากนะครับ แต่ทั้งหมดทั้งมวลสิ่งที่เราจะลืมไม่ได้ก็คือสิ่งที่เป็นรากของเรา นั่นก็คือ มโนราห์ ที่ผมคิดว่าไม่มีวันสูญหาย การที่เรารับอารยธรรมจากชาติตะวันตก ผมมองอีกมุมว่ามันเป็นเรื่องที่ดี ที่ทันสมัยนะครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เราไม่ควรทำก็คือ ลืมรากเหง้า ลืมตัวตนของตัวเอง เพราะว่าวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่บอกตัวตนได้ชัดเจนมาก ดีเอ็นเอคุณ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคุณคือคนไทย
ทุกวันนี้เวลาที่ผมนั่งรถไปงานกับป๋าเอกชัย สิ่งที่ผมได้ยินอย่างแรกในรถเลยก็คือกลอนโนห์รา ป๋าจะเปิดให้ผมฟัง แต่เขาจะไม่ได้บอกเรานะครับว่าเราจะต้องฟัง แต่เขาจะยัดเยียดให้ฟังเลย (หัวเราะ) ประมาณว่าขึ้นรถปุ๊บ เสียงโนห์รามาเลย หรืออย่างเวลากินข้าวเรียบร้อยแล้ว ป๋าเอกชัยก็จะให้ผมร้องกลอนให้ฟังเหมือนกับคุณตาผมเลยครับ เขาจะชอบทดสอบเรา ให้เราฝึกไปในตัว ส่วนเราก็วัยรุ่นเนอะ มันก็ต้องมีบ้างที่อยากฟังเพลงสตริง อยากฟังเพลงสากลบ้าง แต่ทุกวันนี้มันซึมซับไปแล้ว (ยิ้ม)
• คิดว่าสิ่งที่เราทำเชยไหม และเดี๋ยวนี้ยังมีคนสนใจการรำมโนราห์มากน้อยแค่ไหน
หลายคนอาจจะมองโนห์ราว่าล้าสมัย เชย สมัยก่อนผมก็เคยมองเหมือนเด็กวัยรุ่นทั่วไป เพราะเราจะเห็นได้ชัดว่าการชมโนห์ราจะมีเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ มีแม่ๆ อยู่หน้าโรงรำไม่ถึง 30 คน เด็กวัยรุ่นจะน้อยมาก แต่มันคงจะเป็นเรื่องของตัวรำด้วยมั้งครับ เพราะว่าคนสมัยก่อนจะใช้นางรำที่เป็นคนมีอายุ ทั้งมโนราห์ชายและหญิงจะมีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป เด็กก็เลยอาจจะมองว่าไม่มีวัยรุ่น เลยไม่รู้จะไปดูอะไร ไหนจะฟังไม่เข้าใจอีก
แต่ยุคนี้มันเปลี่ยนไปแล้วครับ เพราะเด็กวัยรุ่นรำมโนราห์เยอะมาก (ลากเสียงยาว) สมัยนี้โนห์ราจะเป็นวัยรุ่นซะส่วนใหญ่ เราจะได้เห็นโนห์ราอายุ 20 ต้นๆ ที่รำก็เก่ง ร้องกลอนเก่ง เยอะมาก คนที่มาดูก็มีทุกวัยเลยครับเราจะเห็นได้ชัดเวลาเราแสดง เราจะได้เสียงตอบรับจากแฟนคลับทุกวัยไม่ว่าจะเป็นรุ่นแม่ หรือรุ่นลูกอย่างเรา บางคนก็เข้ามาทักทาย สอบถามเราว่าเราฝึกรำตั้งแต่กี่ขวบ อยากรำเหมือนเรา (ยิ้ม)
ตอนนี้ผมว่าการรำโนห์ราเป็นเรื่องที่เท่ เป็นอะไรที่สาวกรี๊ดมากเลยนะครับ (หัวเราะ) เพราะผมได้เห็นจากสิ่งแวดล้อม ได้เห็นจากคนที่เขามาดูโนห์รา ถ้าผมออกรำคืนไหน ทุกคนจะนิ่งแล้วทุกคนจะตั้งใจชม และที่น่าภูมิใจมากกว่านั้นก็คือทุกคนจะหยิบกล้องถ่ายรูปขึ้นมา ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก เอาไปลงเฟซบุ๊ก แล้วก็เขียนบรรยายว่าวันนี้เขาไปดูมโนราห์มานะ มโนราห์เป็นสิ่งที่สวยงามนะ อะไรประมาณนี้ครับ บางคนก็อาจจะทักเข้ามาทางอินบ็อกซ์ มาชมเราว่าเรารำเก่ง รำสวยนะ เด็กวัยรุ่นหันมารำโนห์รากันเยอะมาก น้องๆ หลายคนที่เข้ามาทักทายเขาจะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าผมเท่อย่างนู้นอย่างนี้ (หัวเราะ) ส่วนผมก็ภูมิใจที่มีคนมองว่าผมเป็นแบบอย่างให้กับเขา เป็นไอดอลของเด็กหลายๆ คนที่จะมารำโนห์รา
• รำโนห์ราแล้วสาวกรี๊ดจริงหรือ วิเคราะห์หน่อยได้ไหมคะว่าทำไมวัยรุ่นถึงหันมาสนใจโนห์รากันมากขึ้น
จริงครับ (ตอบเร็ว) จะบอกว่าโนห์ราไม่ต่างจากลิเกเลยนะครับ เพราะผมมีเพื่อนเป็นพระเอกลิเกอยู่ ออกไปหน้าเวทีแต่ละที แม่ยกมีดอกไม้ มีรางวัลให้ตลอด โนห์ราสมัยนี้ก็ไม่ต่างกันเลย ออกไปรำทีหนึ่งคือสาวกรี๊ดเลย ส่วนตัวผมก็มีแม่ยกสาวๆ บ้างเหมือนกันนะครับ (ยิ้ม)
เหตุผลนั้น ผมว่าอยู่ที่ตัวนักแสดง ตัวรำเราวัยรุ่น ทันสมัย และกลอนที่ใช้กล่าว ก็ใช่ว่าเราชมนกชมไม้เหมือนคนโบราณอย่างเดียว แต่เราจะหยิบยกเรื่องปัจจุบันมาเล่า โดยเฉพาะปัจจุบัน โนห์ราผู้ชายหน้าตาดีเยอะมาก เห็นได้ชัดว่าหน้าโรงโนห์ราจะมีผู้หญิง มีสาวๆ มีแม่ยกเยอะ เพราะเขาจะมาคอยตามโนห์รา สมัยนี้โนห์รากลายเป็นเรื่องปกติของวัยรุ่นไปแล้วครับ ด้วยกาลเวลามันเปลี่ยนไป รูปแบบของพิธีกรรมหรือรูปแบบของโชว์การแสดงโนห์ราของเราเปลี่ยนไป โนห์ราทุกวันนี้นำอะไรหลายๆ อย่างที่ร่วมสมัยมาประยุกต์และผสมผสานให้เข้ากันมากขึ้น
• แล้วมโนราห์ยากไหมคะ ถ้าอยากรำเป็นบ้างต้องเริ่มต้นยังไง
จะว่ายากก็ยากครับ เพราะส่วนตัวผมก็ร้องไห้ไปหลายครั้งแล้ว ผมจะเป็นคนที่เข้าใจยากมากๆ อย่างบางคนเขารำโนห์รา เขาก็แค่มองเอาว่าเขาอยากได้ท่ารำของโนห์ราคนนี้ที่เก่งมากๆ เขาก็ดูและสามารถเลียนแบบท่ารำได้แล้วว่ามือไปยังไง แขนขาทำยังไง แต่สำหรับผม ถ้าให้มองท่ารำคนอื่น ผมรำไม่ได้ เพราะถ้าผมจะฝึกรำจริงๆ ผมต้องหาครูมาสอนติวให้ตัวต่อตัวเลย แต่ผมก็ไม่เคยท้อจนไม่อยากรำนะครับ จะพยายามทำให้ได้มากกว่า
ถ้าอยากรำโนห์ราจริงๆ อันดับแรกต้องมีใจรักก่อนครับ แล้วก็มุ่งมั่น ของแบบนี้ฝึกกันได้และไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานมาก่อนก็ได้ แต่ต้องยอมรับว่าอาจจะรำได้ไม่เท่ากับคนที่เขาเป็นอยู่แล้ว แต่ยังไงก็ฝึกได้ครับ เพราะมโนราห์จะมีท่าเบสิกที่โนห์ราทุกคนจะต้องรำได้ เช่น ท่าเยื้อง ท่านาดซึ่งเป็นท่าเบสิกที่สามารถฝึกได้อยู่แล้ว ฉะนั้นแล้ว อยากเรียนรู้ก็ทำเลย อย่าขี้เกียจ มันไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน
เมื่อก่อน ผมเป็นคนที่ชอบดูถูกตัวเอง ชอบท้อว่าเราทำไม่ได้หรอก พอคุณตาบอกว่าต้องท่องกลอน ต้องรำ แล้วเราทำไม่ได้ เราก็จะคิดแต่ว่าทำไม่ได้ ก็ท้อ รู้สึกว่ามันยาก เพราะใจเราไม่สู้ แต่ว่าต้องบอกว่าผมเป็นคนที่โชคดีมากกว่า โชคดีที่ได้รับโอกาสจากผู้หลักผู้ใหญ่ โชคดีที่ผมได้รับโอกาสจากป๋าเอกชัย ศรีวิชัย เพราะแกพยายามฝึก พยายามสอนให้เราทุกวันด้วย
• เห็นว่าจะมีภาพยนตร์เรื่องเทริดแล้วรับบทเป็นพระเอกด้วย เราได้เล่นภาพยนตร์เรื่องนี้ได้อย่างไร แล้วภาพยนตร์เรื่องนี้เกี่ยวกับอะไร ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยค่ะ
ภาพยนตร์มาจากเมื่อไม่นานมานี้ ป๋าเอกชัยบอกว่าจะให้ผมเล่นหนัง จะให้เราเป็นพระเอก ผมดีใจมากนะ ยังถามป๋าอยู่เลยว่าเราไม่ได้ฝันไปใช่ไหม (หัวเราะ) ผมตอบรับทันใดเลยนะครับตอนนั้นเพราะมันถือว่าเป็นโอกาสมากๆ แต่คำสั่งแรกที่ป๋าบอกมาว่ามีข้อแม้อย่างหนึ่งคือพระเอก หุ่นต้องดีก่อน ถ้าพระเอกหุ่นไม่ดีจะเปลี่ยนนักแสดงเลย
ตอนนั้นยอมรับว่าเครียดมากเพราะผมกินจุบจิบมาก เป็นคนที่มีพุงเลยแหละแล้วเหลือระยะเวลา 3-4 เดือนจะเปิดกล้อง แต่ด้วยความตั้งใจมุ่งมั่น เลยลองดูสักตั้ง จากคนที่ติดขนมมาก ในห้องผมจะมีขนมไม่ต่ำกว่า 20 ชิ้นโดยเฉพาะช็อกโกแลต แต่ที่เราไปศึกษามา เขาบอกว่าจะมีกล้ามได้ต้องตัดขนม ตอนนั้นเลยตัดสินใจเอาขนมทั้งหมดใส่ในกระเป๋า เอาไปให้น้องหมดเลย ตัดออกไปให้หมด เริ่มมาเข้าฟิตเนส เล่นสัปดาห์ละ 6 วัน การกินก็จะเปลี่ยนไป ตัดขนม ตัดน้ำตาล ของที่ทอดด้วยน้ำมันพืชผมก็ไม่กิน ต้องใช้น้ำมันมะกอกเท่านั้น เนื้อสัตว์ต่างๆ ที่ติดมันก็ไม่กิน ผมเปลี่ยนมากินอกไก่วันละ 4 อก ไข่ไก่วันละ 10 ฟองเพื่อที่จะสร้างกล้ามเนื้อ
ที่ทำแบบนี้เพราะเราต้องสร้างเอกลักษณ์ตัวเองขึ้นมา เราต้องถอดเสื้อ ป๋าบอกว่าเราต้องมีกล้าม ซึ่งแรกๆ ผมก็งงว่าโนห์ราที่ไหนมีกล้าม โนห์ราต้องตัวอ่อน มืออ่อน นิ้วอ่อน งอตัวได้ไม่ใช่เหรอ ซึ่งมันจะขัดแย้งกันเพราะถ้าเรามีกล้ามมันจะทำให้การรำไม่สละสลวย มันจะแข็งกระด้าง แต่พอผมได้ศึกษาทำความเข้าใจกับบทภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เลยได้รู้ว่าตามประวัติของโนห์ราที่แท้จริง ต้นกำเนิดของโนห์ราคือเทพสิงขรบุตรของนางนวลทองสำลี ตอนที่พระองค์ทรงฝึกร่ายรำตั้งแต่เริ่มต้น ท่านก็รำโดยไม่ได้ใส่เสื้อ รำโดยใช้ผ้าเตี่ยวแค่ผืนเดียว รำอยู่ข้างทะเลสาบ ป๋าเอกชัยแกก็เลยอยากจำลองเหตุการณ์นั้นมาอยู่ในภาพยนตร์เรื่องนี้
อีกอย่างหนึ่ง แกอยากสร้างเอกลักษณ์ให้เราด้วยว่าถ้าเห็นโนห์ราไพศาลที่ไหนคุณต้องเห็นซิกแพก ตอนนี้ต้องบอกว่าผมเป็นโนห์ราคนเดียวทั้งประเทศที่รำถอดเสื้อแล้วมีซิกแพกจนไปสร้างแรงบันดาลใจให้โนห์ราหลายๆ คนว่าถ้าเขาจะรำโนห์ราเขาจะต้องเหมือนโนห์ราไพศาล เราเลยกลายเป็นไอดอลของเขาไปเลย (หัวเราะ)
• คิดว่าคนดูจะได้ประโยชน์อะไรจากภาพยนตร์เรื่องนี้บ้างคะ
แน่นอนเลยว่าคุณจะได้รู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของคนไทย คุณจะได้รู้ว่าเทริดคืออะไร...เทริดคือสัญลักษณ์ของมโนราห์ที่ใช้สวมบนศีรษะก่อนจะออกร่ายรำเพราะโนห์ราทุกคนก่อนจะร่ายรำจะต้องไหว้เทริด แล้วก็จะต้องหยิบเทริดสวมใส่อีกทีหนึ่งซึ่งไม่ใช่ว่าใครจะสวมใส่ก็ได้นะครับ เพราะจะต้องผ่านพิธีกรรมอะไรหลายๆ อย่าง
ผมว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของวัฒนธรรมของคนไทยซึ่งสื่อผ่านภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิต การดำเนินเรื่อง ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ หลายคนอาจจะไม่เข้าใจคำว่าเทริด หลายคนอ่านออกเสียงยังผิดอยู่เลยเทริด ใช้สระเอ ท ทหาร ร เรือ สระอิ ด เด็ก บางคนอ่านว่าเท-ริด บางคนอ่านว่าเทิด ซึ่งภาษาไทย ท กับ ร ควบกล้ำกันจะอ่านออกเสียงเป็น ซ คำนี้เลยอ่านออกเสียงว่า เซิดครับ (ยิ้ม)
ถ้าดูภาพยนตร์เรื่องนี้คุณจะได้รู้ว่าเทริดคืออะไร และประเพณีวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาของคนปักษ์ใต้คืออะไร เป็นมายังไง อยากจะบอกว่าเป็นภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนปักษ์ใต้ก็จริง แต่วัฒนธรรมแขนงนี้ไม่ใช่เฉพาะของคนใต้หรอกครับ เพราะมันเป็นวัฒนธรรมของคนไทยทั้งชาติ ผมอยากให้ทุกคนได้มาร่วมภูมิใจกับวัฒนธรรมของเราครับ (ยิ้ม)
• วางเป้าหมายในอนาคตต่อไปอย่างไรบ้าง
ผมอยากสืบสานอยู่ในวงการนี้ต่อไปเรื่อยๆ ครับ (ยิ้ม) ผมจำคำที่ป๋าเอกชัยพูดได้เสมอว่าทุกวันนี้วิชาที่ลูกมีอยู่ ถ้าลูกจะหอบหิ้วชุดมโนราห์เพื่อจะไปรำกับคณะอื่นแล้วก็รับค่าตัววันละ 400-500 บาท ก็โอเคนะ เพราะวิชาที่ลูกมีมันพอแล้ว แต่วันใดที่ลูกคิดว่าลูกจะเป็นเจ้าของคณะหรือจะเป็นเจ้าคนนายคน วิชาที่ลูกมีอยู่ มันแค่เศษเสี้ยวเอง ฉะนั้น ลูกต้องเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ลูกต้องหมั่นที่จะฝึก หมั่นที่จะเรียนรู้ ไม่ว่าใครก็ตาม ไม่มีทางเก่งไปกว่าการซ้อมแน่ๆ ซึ่งผมก็จะหมั่นซ้อม หมั่นฝึกต่อไปเรื่อยๆ ครับ
Profile ชื่อ นามสกุล : ไพศาล ขุนหนู ชื่อเล่น : ไพศาล อายุ : 24 ปี วันเกิด : 11 มีนาคม 2535 การศึกษา : ศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรีปีที่4 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ความสามารถพิเศษ : แสดงภาพยนตร์ รำโนราห์, ร้องเพลง, เล่นดนตรี งานอดิเรก : ออกกำลังกายฟิตเนส, ดูหนัง, ฟังเพลง ผลงานที่ผ่านมา : ซิงเกิ้ลเพลง เจ้าหญิงสวนยาง ผลงานปัจจุบัน : ภาพยนตร์เรื่อง เทริด (เข้าฉาย 19 พ.ค.2559) |
เรื่อง : วรัญญา งามขำ
ภาพ : วชิร สายจำปา และ อินสตาแกรม Paisan Khunnu