มากกว่า 20 ปีที่ชายคนนี้ยืนหยัดในฐานะนักพัฒนาชุมชนพร้อมกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ จากเด็กสิงห์แดงรุ่นที่ 36 สายการเมืองการปกครองที่ไม่ได้อยากใคร่ดีในเส้นทางราชการ/การเมือง เท่ากับรับใช้มวลชนผู้ด้อยโอกาสในชนบท เขาเคยถูกกล่าวหาว่าเป็นขบถ เคยถูกอำนาจปืนขู่ฆ่า แต่เขาก็คือคนรุ่นแรกที่ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว
กล่าวได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกถางทางอย่างแท้จริง สำหรับ “พยงฐ์ ศรีทอง” ศิษย์เก่าดีเด่นสิงห์แดง รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ รุ่นที่ 36 ซึ่งหลังจากเรียนจบก็มุ่งมั่นบนเส้นทางสายอนุรักษ์ ก่อนจะปักหลักพัฒนาชุมชนบ้านห้วยดินดำ จังหวัดสุพรรณบุรี กระทั่งกลายเป็นต้นแบบกรณีศึกษาไม่เพียงในเมืองไทย หากแต่ผลงานและชื่อเสียงของเขายังดังไกลไปถึงต่างประเทศ
ลำบากก็ไม่ท้อ
ยากจนก็ไม่ถอย
เราพาไปย้อนรอยเส้นทางชีวิตของคนคนหนึ่ง
ซึ่งกล่าวได้เต็มปากเต็มคำว่าคือ “คนจริง”...
ออกสตาร์ทเส้นทางสีเขียว
หอบใบปริญญาบุกงานในป่าเขา
"คือจริงอยู่ที่เรามาเรียนที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ชั้นมัธยมจนถึงกระทั่งจบรัฐศาสตร์ แต่เราก็ยังคือคนบ้านนอก เป็นคนที่มาจากชนบท เรามีความรู้ เราก็คิดว่าเราเป็นมันสมองหนึ่งของชนบท เราเป็นทรัพยากรของบ้านนอก แล้วช่วงนั้นเราก็มีปัญหามันสมองรั่วไหลจากชนบทสู่เมืองที่เป็นปัญหามากในตอนนั้นจนถึงวันนี้เองก็ตาม ดังนั้น พอเราได้รับโอกาสการศึกษา ก็เลยอยากจะกลับไปทำงานที่ชนบท ไปทำงานช่วยพัฒนาบ้านเกิด
"ตอนนั้นพอจบออกมาก็เลยไม่ได้สมัครงานอะไรเลย ไม่ได้ทำงานบริษัท หรือสมัครข้าราชการตามสายที่เรียนมา เพราะด้วยบุคลิกส่วนตัวที่ผมไม่ชอบเป็นข้าราชการที่จะต้องคอยเป็นผู้น้อมรอรับคำสั่งของใครต่อใคร และด้วยการที่อยู่ในระบบข้าราชการในช่วงนั้นเรารู้สึกว่า การเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยมันก็ทำอะไรได้ไม่มาก แล้วก็เรื่องของบริบททางการเมืองมันก็ไม่เอื้อ"
อดีตคนหนุ่มอนาคตไกลบอกกล่าวเล่าถึงเหตุผลที่เลือกรับใช้มวลชนผู้ด้อยโอกาสหลังเรียนจบภาคสาขาวิชารัฐศาสตร์ การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำงานเป็น NGO นักสังคมสงเคราะห์ ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี จนถึงวันนี้
"คือตอนนั้นเราก็มองว่าสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ปัจจุบันนี้ไม่ใช่แล้ว แต่ว่าตอนนั้นส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม ผมคิดว่ารากฐานของสังคมไทยคือสังคมเกษตรกรรม สังคมชนบท ถ้าชนบทล้ม อยู่ไม่ได้ เดือดร้อน สังคมส่วนรวมมันก็ลำบาก ทั้งๆ ที่เขามีศักยภาพ เขามีความรู้ ชาวบ้านเรียนรู้มาจากบรรพบุรุษก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ มีคุณค่า แล้วมันก็สามารถที่จะเอามาใช้ในการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ในโลกสมัยใหม่ได้ ไม่ว่าจะในเรื่องของความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร ระบบนิเวศป่าไม้ เรื่องของพืช เรื่องของสัตว์ป่าว่าเราจะแปรให้มาเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ให้มันคงอยู่อย่างยั่งยืน
"ก็เลยเลือกที่จะทำงานภาคประชาชน สมัครทำงานกับ Ngo ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531"
กับองค์กร Consortium ในศูนย์พักพิงผู้ลี้ภัยจากการสู้รบอินโดจีน หลังจากนั้นมาเข้าร่วมทำงานในฐานะเจ้าหน้าที่สนามของศูนย์เทคโนโลยีเพื่อสังคม (ต่อมาได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิข้าวขวัญ) โดยได้ทำงานส่งเสริมระบบเกษตรกรรมยั่งยืนกับชาวนาในพื้นที่หลายอำเภอของจังหวัดสุพรรณบุรี
ต่อมาในปี 2535-2538 จึงได้ริเริ่มเขียนโครงการอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นบ้านในชุมชนกะเหรี่ยงขึ้นด้วยตัวเอง เพื่อทำการสำรวจ ศึกษาลักษณะ การบันทึกข้อมูล การอนุรักษ์ และการเผยแพร่ทรัพยากรพันธุกรรมพืชพื้นบ้านพื้นเมืองร่วมกับชุมชนชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงที่บ้านห้วยหินดินดำ พื้นที่ในผืนป่ารอยต่อของจังหวัดกาญจนบุรี และสุพรรณบุรี โดยโครงการนี้ได้ดำเนินการควบคู่ไปกับการส่งเสริมการเกษตรที่ยั่งยืนเพื่อเป็นทางเลือกในการดำเนินชีวิตและสร้างความมั่นคงด้านอาหาร รายได้ แก่ชุมชนกะเหรี่ยงที่พักอาศัยในผืนป่าอนุรักษ์ (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ และอุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์)
"คือหลังจากช่วง 4 ปีแรก เราก็แยกตัวออกมา เขียนโครงการเอง เหตุผลก็เพราะต้องการให้ความรู้แก่ชาวบ้านในพื้นที่ถิ่นกำเนิดที่ห้วยหินดินดำ เรื่องการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพื้นบ้านและส่งเสริมเกษตรยั่งยืนหรือเกษตรอินทรีย์ เพราะช่วงนั้นคนยังไม่ค่อยรู้จัก ก็ต้องอาศัยทุน อาศัยบารมีรุ่นพี่ เครือข่ายที่เราเคยทำงานด้วย พอได้ทุนมากหน่อยก็มีลูกทีม 3-4 คน ก็ต้องมีการปรับแผน
"ขั้นตอนในการระดมทุนตอนนั้นก็อาศัยคอนเนกชันจากการที่เราได้อยู่องค์กรศูนย์เทคโนโลยีเพื่อสังคมบ้าง แล้วก็มีเครือข่ายในต่างประเทศที่เราเคยทำงานเชื่อมโยงกับเขา เช่น เครือข่ายประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศฟิลิปปินส์ กัมพูชา อินโดนีเซีย รวมถึงเวียดนาม"
เงินทุนก้อนแรกตอนนั้นที่ระดมได้จากต่างประเทศคือ 3 ล้านกว่าบาท ใช้สำหรับกิจกรรมการพัฒนา กระทั่งปี พ.ศ. 2538 ได้ก่อตั้งโครงการพัฒนาระบบนิเวศเกษตรและอนุรักษ์พันธุ์พืช โดยอาศัยฐานการทำงานชุมชนช่วงที่ผ่านมาและการสนับสนุนจากเครือข่ายทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อสร้างความเป็นสถาบันให้งานพัฒนาระบบเกษตรกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพ ซึ่งมีความสำคัญของระบบเกษตรกรรมอันเป็นรากฐานของชาวชนบทไทย
"ก็ถือว่าแหกคอกกว่าเพื่อนคนอื่นๆ เพราะขณะที่พอเรียนจบ บางคนก็ไปรับราชการ มียศมีตำแหน่ง หรือว่าไปทำภาคธุรกิจก็ร่ำรวยมีเงินทองฐานะ แต่ผมก็อยู่แบบไม่มีเงิน เงินออมยังไม่มีเลย บ้านที่ผ่อนก่อนหน้านี้ ก็ต้องปล่อยให้เขายึด เพราะเราไม่มีรายได้ตรงส่วนเงินเดือน"
“อาจารย์พยงฐ์” ของใครต่อใครกล่าวแซมยิ้มเต็มดวงหน้า เพราะถึงแม้ในเรื่องการระดมเงินทุนจะมีความยากลำบากพอสมควร แต่ก็ผ่านพ้นมาได้ ทว่าในระหว่างนั้นที่ทำท่าจะไปได้สวยทั้งในเรื่องการกระทำและความคิด การที่เข้าไปเพิ่มเติมเสริมความรู้ให้ชาวบ้านกลับทำให้เขาต้องพบเจอกับอำนาจมืดที่แฝงอยู่ในทิวเขาเงาป่า
"มันก็มีทั้งคนรักและคนชัง คือพอเราเข้าไปในพื้นที่ เข้าไปให้ความรู้ คนที่เคยได้รับผลประโยชน์จากการทำไม้เถื่อน พวกที่ฆ่าสัตว์ป่าสงวน แล้วก็ต้องการเอาพื้นที่ป่ามาเป็นพื้นที่เกษตร ก็กลายเป็นว่าเราไปขัดขวางเขา ขัดขาเขา เจอเกมอำนาจ อย่างปล่อยข่าวให้เสียๆ หายๆ โดยจับชาวบ้านในความผิดต่างๆ บุกรุกผืนป่าบ้าง แต่จริงๆ ตรงนั้นเป็นพื้นที่สีชมพู เป็นพื้นที่ที่ทางรัฐบาลสมัยก่อนผลักดันให้คนเข้าไปเพื่อขับไล่คอมมิวนิสต์ แต่มาตอนหลังก็สถานการณ์เปลี่ยนไป ชาวบ้านก็กลายเป็นผู้บุกรุก จริงๆ มันก็ไม่ชัดเจน เขาก็ใช้จุดนั้นเพื่อให้ชาวบ้านเกลียดว่าเราเป็นต้นเหตุให้ชาวบ้านถูกจับ
"ช่วงหนึ่งก็รู้สึกกำลังใจถดถอยเหมือนกัน แต่เราก็พยายามที่จะทำความเข้าใจ เป็นประสบการณ์มากขึ้น เราก็จะรู้จักสงบ คือปล่อยให้สถานการณ์มันค่อยๆ คลี่คลาย เงียบไป ภรรยาผมเรียนกฎหมาย ก็เอาความรู้ด้านนั้นมาช่วยชาวบ้าน แล้วก็ได้พรรคพวกที่เป็นนักกฎหมายหรือประสานงานกับคนภายนอกที่ทำงานช่วยเหลือชาวบ้าน สิทธิเรื่องกฎหมาย แล้วแต่สถานการณ์กันไป มันก็ผ่านไป
"ถ้ามองย้อนกลับไป มันก็ระทึกดีเหมือนกัน คือบางทีเขาเอาปืนมาเลยนะ ก็ทำนองมาขู่ แต่ไม่เป็นไร ก็ไม่กลัว"
คำว่า "ไม่กลัว" ที่ว่านี้ รวมไปถึงกระทั่งถูกตราหน้าว่าเป็นคอมมิวนิสต์ แต่ก็ไม่หวาดหวั่น
"คือตอนแรกเลยเราถูกมองว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ถูกจับตาเป็น 10 ปี เพิ่งจะมารู้ตอนหลังจากเจ้าหน้าที่ที่จับตาเรา (หัวเราะ) คือเราโดนเพ่งเล็งโดยฝ่ายข้าราชการ โดยฝ่ายความมั่นคง โดยสันติบาลอยู่หลายปี แต่พอเรารู้ เราก็ไม่สนใจ เพราะหนึ่ง เราคิดว่าเราไปเจตนาดี เราไปทำงานเพื่อช่วยชาวบ้าน และช่วงแรกๆ เราก็ประสานงานกับทางจังหวัด ทำหนังสือแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัด ประสานงานกับกองทัพ ประสานกับผู้ดูแลพื้นที่ แล้วสองสิ่งที่เราทำ มันไม่ใช่งานที่จะกระทบต่อความมั่นคง เราทำงานในเรื่องของการส่งเสริมเกษตรยั่งยืน ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
"พอเข้าไปอยู่ในพื้นที่ เราจึงรู้ปัญหาคือแสดงว่าชาวบ้านไม่มีปากเสียง ไม่มีเพาเวอร์ทางสังคม ทางการเมือง ก็เลยถูกกล่าวหา ตอนนั้นเราก็คิดว่าเราไปอยู่กับชาวบ้านซึ่งด้อยโอกาสและต้องการความช่วยเหลือ มันก็มีความสุขดี ที่เราได้ทำตามที่เราคิด เราอาจจะมีความฝัน ในสายตาคนอื่นเขาอาจจะเรียกว่าอุดมการณ์ เรากินอุดมคติ แต่เราคิดว่าเรานอกจากมีความตั้งใจว่าจะกลับไปบ้านนอก ไปทำงานแล้วเราทำงานกับคนด้อยโอกาส ส่วนหนึ่งพอมาเห็นปัญหาของชาวบ้านแล้วเราก็มีคำขอของชาวบ้าน เราเข้าไปอยู่กับชาวบ้านจริงๆ มันก็ทุกอย่างรอบตัวเลย อย่างเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย เรามีรถ เราก็กลายเป็นต้องพาคนป่วยไปโรงพยาบาล บางครั้งคนจะคลอดลูก ก็เราอีก หลายต่อหลายครั้ง ซึ่งบางทีมันก็ไม่ค่อยเหมาะสม เพราะชาวบ้านก็จะกลายเป็นว่ามีอะไรๆ ก็เรา หัวหน้าๆ แต่เมื่ออยู่ในสถานการณ์นั้น คนเดือดร้อนตรงหน้าเรา ก็ช่วยไปก่อน หลังๆ เขาก็เริ่มรู้จักช่วยตัวเองได้ ช่วยตัวเองเป็น
"คือเขาก็อยากมีชีวิตสุขสบาย จริงๆ เขาอยากมีเงิน อยากมีรถ เหมือนเราปกติ เพียงแต่ว่าบางคนอาจจะเข้าไม่ถึง เมื่อมีการพัฒนา เขากลายเป็นคนที่ตกขบวน ตามไม่ทัน ไม่สามารถดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับโลกปัจจุบันได้ แต่คนภายนอกก็มักจะมองอีกด้านหนึ่ง เอาง่ายๆ คนบ้านเรามีทัศนคติเชิงลบกับชาวต่างชาติที่พัฒนาช้ากว่า หรือแม้แต่คนไทยด้วยกันเองก็ตาม เราก็ตระหนักตรงนั้น เราก็อยากจะทำให้เห็นคุณค่าในตรงนี้ และให้เขาเห็นคุณค่าในตัวเอง มีความภาคภูมิใจ เราทุกคนก็คนเหมือนกัน"
ทางนี้มิใช่ง่าย
แต่ด้วยหัวใจ จึงฝ่าฟัน
• ใช้ระยะเวลาในการสร้างสมความรู้ตรงนี้มากน้อยอย่างไร
มันจะมีอยู่สองส่วน ก็ใช้ระยะเวลาพอสมควร เอาส่วนตัวผมเองก่อน คือเพราะเราจบมาอีกสายสาขาหนึ่ง ก็ทำให้ต้องมีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพราะอาศัยที่ว่าเป็นลูกหลานเกษตรกรมาก่อนไม่เพียงพอ เราก็ลืมๆ ไปบ้าง จากตอนที่เด็กๆ เรารู้หมดว่าต้นอะไรกินได้กินไม่ได้ แต่ว่าเรื่องที่เป็นเชิงวิชาการ เราก็ต้องไปเรียนรู้เพิ่มเติม ทั้งซื้อตำรามาอ่านเอง หาความรู้เอง เรียนรู้จากการทำงานกับชาวบ้าน นักวิชาการ แล้วไปอบรมสัมมนา การเทกคอร์สสั้นๆ ประมาณนั้น แล้วแต่จังหวะโอกาสของชีวิต
ส่วนที่สองคือชาวบ้าน เราก็ไม่ได้เปลี่ยนเขาทุกคน เราไม่ได้เปลี่ยนทั้งหมู่บ้าน เราแค่ทำงานกับคนที่เห็นด้วยกับเรา เพราะหนึ่งเลย เราไม่ใช่ราชการ ชาวบ้านเขาก็มีส่วนหนึ่งที่คิดว่าเราจะมาหลอก เพราะเราอยู่แบบเรียบง่าย ไม่มีฟอร์ม อยู่บ้านไม้ไผ่ หลังคาทำด้วยสังกะสีง่ายๆ บ้านไม่มีประตู ชาวบ้านก็อาจจะมองแบบไม่ค่อยยอมรับเท่าไหร่ เราก็ไม่สนใจ เพราะว่าจุดยืนก็คือเราทำงานกับคนที่เห็นด้วย
หลังจากนั้น เราก็ต้องพิสูจน์ให้เขาเห็น เราก็จะมีเทคนิค มีกลยุทธ์ คือเราจะชวนชาวบ้านให้ปลูกสวนผลไม้ผสมผสาน เพราะผลไม้ใหญ่กว่าจะให้ผล 4 ปี และต้องปลูกห่างกัน 4 วา ก็คือ 8 เมตร สมมติว่าในช่วงเวลาที่รอออกดอกผล ระยะห่าง 8 เมตร พื้นที่ว่างตรงนี้ เราจะสร้างประโยชน์จากตรงนั้นอย่างไร ก็ต้องปลูกพืชอายุสั้นกว่า ให้มีผลผลิตออกมาได้กินได้ขาย
ขณะเดียวกัน เราก็ชวนชาวบ้านให้รู้จักเกษตรอินทรีย์ คือให้เขาสมัครรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีด้วย โดยเราก็เป็นคนประสานงานให้เขาไปรับรองมาตรฐาน พอดีช่วงนั้นประมาณปี 2540 กระแสของอาหารสุขภาพ กระแสเกษตรอินทรีย์เริ่มมาแล้ว เราก็ช่วยขายเฉพาะ คือมันมีตลาดเฉพาะ เรามีเครือข่ายส่งผ่านกลุ่มเครือข่ายนี้ก็จะมีผู้บริโภคที่ต้องการผลผลิตเหล่านี้ ไม่ได้วางขายตลาดทั่วไป แต่จะมีพรรคพวกเรา เราก็ประสานงานให้ ที่สำคัญ ในการตรวจรับรองมาตรฐาน เกษตรกรหลายคนก็ผ่าน มันก็เลยกลายเป็นเครื่องการันตีว่าเป็นผลผลิตที่มีคุณภาพ
• ช่วงนั้นมีผู้เห็นด้วยกับเราสักเท่าไหร่
เห็นด้วยน้อยมาก แต่ถ้านับจำนวน ก็เป็นร้อยๆ ครอบครัวเหมือนกัน เพราะเราทำเกษตรกันคนละแนว สิ่งที่ชาวบ้านทั่วๆ ไปคุ้นเคยก็คือการเกษตรเคมี เกษตรใช้สารเคมี เกษตรที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง แต่ว่ามันมีชาวบ้านส่วนหนึ่งที่เขาเห็นผลกระทบของการเกษตร อย่างเช่นการล้มละลาย เพราะว่าขาดทุนตลอด ปัญหาสุขภาพจากการใช้สารเคมี ซึ่งคนเหล่านี้เป็นกลุ่มคนที่เขาเรียกว่าเกิดความตระหนักที่จะต้องหาทางเลือกใหม่
ก็แนะให้เขาลองๆ ทดลองดู 1-2 ไร่ มุมใดมุมหนึ่งทำอย่างไรที่เราคุยกันมันจะได้มีอาหารกินที่หลากหลาย มีรายได้มาเรื่อยๆ ปลูกลำไย ปลูกเงาะ รายใหม่ๆ ก็ตามกันมา เราก็ใช้วิธีขอทุน ทุนก้อนเล็กๆ จากสถานทูตต่างประเทศ เช่น แคนาดา ออสเตเรีย พวกนี้เราก็ได้ทุนก้อนเล็กๆ ที่จะเอามาซื้อท่อน้ำ เมล็ดพันธุ์ช่วยชาวบ้าน สำหรับคนใหม่ๆ ที่จะเริ่มต้น
• หมู่บ้านในโครงการเราก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ
ในเรื่องของการพัฒนามันก็มี 2 ส่วน ผมไปตั้งแต่ปี 2535 แล้วเราก็ไปสร้างบ้าน แล้วช่วงประมารณปี 2540 เริ่มถนนลาดยาง ปี 2543 ไฟฟ้าเข้า แล้วการที่ชาวบ้านเริ่มค้าขายปลูกพืชข้าวโพด พืชเศรษฐกิจ เขาก็มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงตรงนี้โดยวัตถุมันก็เป็นไปตามกลไกในการพัฒนาของรัฐ แต่ว่าสิ่งที่มันเป็นผลจากการทำงานเราก็คือ เราเป็นเพื่อนชาวบ้านในการคิด ให้ชาวบ้านคิดเป็น แล้วก็เห็นถูก รู้จักวางแผนพัฒนาตัวเอง วางกระบวนการตัวเอง มองในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การอยู่แบบสมถะหรือว่าสอดคล้องกับสถานการณ์ที่มันเป็นไป
คือเรามองว่าจริงๆ ชาวบ้านซึ่งไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่ได้เรียนรู้แบบสมัยใหม่ แล้วพอชุมชนมันเปลี่ยนไป เขาจะก้าวไม่ทัน แล้วเขาจะตกไปเป็นเหยื่อของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งตรงนี้เราก็ไปเป็นเพื่อนช่วยคิด การที่เราอยู่ตรงนั้น เขามีอะไร เขาก็มาหา ไปมาหาสู่กัน และชาวบ้านก็มีการตั้งป่าชุมชนตั้งแต่ปี 2537-38 เราก็ประชุมกันทุกเดือน แล้วก็ดึงหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับการส่งเสริมป่าชุมชนเข้าไปทำงานในหมู่บ้าน เราก็อยู่ในกระบวนการช่วยคิดช่วยทำ ชาวบ้านที่นั่นก็จะเก่งในเรื่องของการวางแผน การพัฒนา การจัดการตัวเอง คือโดยรวม เขาก็ไม่ได้หลงไปกับความทันสมัยแล้วก็การใช้ทรัพยากรอย่างไม่ถูกต้อง จากการที่เราคิดว่าจะเข้าไปช่วยในเรื่องเกษตร กลับกลายเป็นพัฒนาไปด้านอื่นด้วย
เพราะมันเป็นองค์รวม เป็นเรื่องสังคมวัฒนธรรม แล้วก็เป็นเรื่องของทรัพยากร เรื่องของอาชีพ เรื่องเศรษฐกิจสังคม เรื่องของการสร้างรายได้ ซึ่งพอไปอยู่ตรงนั้น เราก็ผสมกลมกลืนไป
• คือเราก็ขยับขึ้นตามชาวบ้านด้วย
เราเรียนรู้ควบคู่กับชาวบ้าน แต่ก็มีอยู่ 2 ครั้งที่เกือบถอย เพราะมันเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนใจตัวเองมาก ครั้งแรกเมื่อประมาณปี 2538 ปลายๆ ปี ลูกไม่สบาย เป็นไข้เลือดออกแล้วเรามีเงินอยู่ 40 บาท เราต้องพาลูกไปโรงพยาบาล ก็ต้องไปขอยืมเงินพ่อ 500 บาทเพื่อที่จะพาไปโรงพยาบาล เราก็ตั้งคำถามกับตัวเองเหมือนกันว่าถ้าเรายังช่วยตัวเองไม่ได้แล้วเราจะช่วยคนอื่นได้อย่างไร
อีกครั้งหนึ่งหลังจากนั้นประมาณ 3-4 ปี ลูกอีกคนป่วยต้องผ่าตัด เราก็มีเงินอยู่ 300 บาท โชคดีที่เขาเป็นเด็ก เราก็เลยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย รัฐจ่ายให้ แต่ในระหว่างที่รอผลผ่าตัด เราก็รู้สึกสะท้อนใจว่าเราทำให้ลูกเมียลำบาก ลูกป่วยแทบไม่มีเงินติดตัว คือวันนั้นเราก็ไม่ได้กินข้าวเพื่อที่จะกันเงินเอาไว้สำหรับค่าเติมน้ำมัน แล้วก็ค่าดำเนินการทำเรื่อง นั่นก็เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกถดถอย คือเกิดคำถามกับตัวเองว่าเราทำอะไรอยู่ มาถูกทางหรือเปล่า ครั้งหลังนี้ เรายืนน้ำตาตกในเลย สถานการณ์แบบนี้มันก็คิดไปต่างๆ นานา เรามาทางถูกหรือเปล่า
• แล้วครอบครัวเราว่าอย่างไรบ้างไหมในเรื่องนี้
เขาก็ไม่ว่าอะไร เขาไม่เคยค้าน เขาก็ตามเรา แต่เมื่อคิดอย่างนั้นภาพของชาวบ้านเข้ามา เป็นนิสัยส่วนตัวที่ว่า เวลาเรามุ่งมั่นจะทำอะไร เราก็ต้องทำให้เสร็จ เราคิดแล้วก็ความผูกพันด้วย เราเป็นห่วงชาวบ้าน ชาวบ้านเขาก็เป็นมิตร คือมิตรภาพที่ให้ต่อกัน ก็ทำให้เราอยู่กับชาวบ้าน ถึงว่าเราลำบาก ก็ไม่ถึงกับทำให้เราหันหลังกลับคือเนื่องจากว่าเราอยู่กับชาวบ้าน แล้วก็เขาเรียกว่ากินผลพวงของการพัฒนาเพราะว่าเราไปช่วยชาวบ้านให้ทำเกษตรยั่งยืน เกษตรผสมผสาน เขามีข้าวเป็นถัง เลี้ยงเป็ด เลี้ยงหมู เขาก็เอาส่วนนั้นกลับคืนมาให้เรา แล้วก็เพื่อนๆ พรรคพวกพี่ๆ น้องๆ ในแวดวงเอ็นจีโอหรือภาคประชาสังคม ก็ช่วยๆ กัน บางคนรู้ว่าเราก็ลำบาก แต่เราไม่ถอย เขาก็ช่วยเสียสละให้คนละ 1,000 บาทบ้าง บางคนเป็นหมื่นสองหมื่นบาท ให้แบบไม่ได้คิดจะเอาคืน
ช่วงหลังๆ มีองค์กรอื่นชวนให้ไปช่วยงาน เราก็รับเป็นจ๊อบ เป็นอะไรไป เป็นวิทยากรหรือว่าทำเป็นเทรนนิ่ง ทำวิจัย ประมาณปี 38 จริงๆ ชีวิตลำบากช่วงนั้น 39 แล้วพอ 40 ขึ้นมาก็เริ่มระดมทุนได้อีกครั้ง แต่ว่าเล็กๆ ไม่ได้มีเงินเดือน เราทำงานกับชาวบ้านไม่มีเงินเดือน เงินที่อาจจะมี แต่ถือเป็นเบี้ยเลี้ยง ค่าน้ำมันรถ แต่เรื่องเงินเดือน ไม่ได้ ก็อยู่อย่างนั้นนาน ค่อยๆ ไต่ขึ้นมา พอดีปี 2542 ปลายปีก็ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวครั้งแรก ปีแรก ได้คู่กับพรมสา ชูแดง เป็นรางวัลที่ให้คนที่มีผลงานในเรื่องของการอนุรักษ์ป่า ได้เงินมา 2 แสน ก็ต่อยอดเราได้แล้ว มีเก็บ มันก็ใช้ ก็อดไม่ได้ช่วยชาวบ้านไป ทำกิจกรรมต่างๆ กับชาวบ้าน แล้วเราก็เอามาปรับปรุงบ้านเรือน ที่ทำงานของเราให้มันถาวรขึ้น ก็แบ่งเงินตรงนั้น แล้วก็มีหนี้อะไรก็ไปเคลียร์ให้หมด สรุปเงินนั้นก็หมดไป แต่ว่ามันเบาขึ้น ลอยตัวขึ้น เริ่มทำให้ตัวเองยั่งยืนได้ตั้งแต่ปี 47 เป็นต้นมา
หลังจากรางวัลลูกโลกสีเขียว ปีต่อมาเราก็ได้รับการคัดเลือกให้ไป “อาโชว์กา” คือตรงนี้เขาก็เหมือนกับว่ามีเงินทุนสนับสนุนกิจกรรม เขาให้เป็นเบี้ยยังชีพสำหรับคนที่ทำงานเพื่อสังคม เขาเรียกว่าเป็นผู้ประกอบการทางสังคม ในปี 2000 ก็มีหลายคนที่ได้รับ คือเขาเรียกว่าสังคมเห็นผลงาน เห็นความตั้งใจ ก็เลยอุดหนุนส่งเสริม ทำให้เราทำงานกับชาวบ้านเรื่อยมาตลอด คือเราอาจจะไม่ใช่คนที่ออกหน้าในเรื่องของการประท้วงเรียกร้องอะไรต่อมิอะไร เราทำงานติดดิน อยู่ในพื้นที่ ในขณะที่คนเรียกร้องเกษตรอินทรีย์ เกษตรยั่งยืน ถ้าพูดอย่างเดียว มันไม่เกิด มันต้องมีคนมาทำด้วย
บ้าบิ่นอย่างเข้าใจ
ช่วยโลกอย่างเข้าถึง
"คือเราเวลาที่ทำอะไรกับชาวบ้าน เราคิด เราก็คิดในมุมหนึ่ง แม้ว่าเราจะเป็นคนแนะนำให้กับเขา แต่ว่าในด้านหนึ่ง เราก็คิดว่าเราก็ต้องเป็นผู้ที่ศึกษาไปกับเขาด้วย เหมือนสองด้านของเหรียญ บางเรื่องเราไม่รู้ เราก็ต้องศึกษา ความผิดพลาด เราก็แปรให้มันเป็นประสบการณ์เพื่อทำให้มันดีขึ้น
"สมัยก่อน คิดใหญ่ว่าเราจะเปลี่ยนแปลงสังคม แต่สุดท้าย สังคมมันเป็นสังคมที่มันย่อเล็กลงมา ก็คือสังคมรอบตัว เราคิดว่าถ้าหากมีคนคิดอย่างนี้ ก็ได้ ที่ผ่านมา บทเรียนของเรา ก็มีคนอื่นนำไปทำ ประสบการณ์ของเราก็เป็นแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ คนอื่นๆ จำนวนหนึ่งที่ไปทำแบบนี้ เราไม่ใช่คนแรกที่ทำ แต่อาจจะเป็นคนแรกในความบ้าปิ่น บ้าบิ่นในแบบไม่ได้อยู่สังกัดองค์กรใหญ่โต คนอื่นๆ เขาก็อาจจะมีองค์กรรองรับ แต่ว่าเราลงไปเต็มตัว ไม่สนใจ คือเดิมก็ไม่ได้สนใจยศถาบรรดาศักดิ์อยู่แล้ว ไม่ได้สนใจเรื่องความมั่งมี พอไปทำอย่างนี้ ยิ่งไม่ได้สนใจเรื่องของความเป็นอยู่ตัวเอง เราอยากจะช่วยคนอื่น ไม่หิว มีอยู่มีกิน แต่บางจังหวะเราลืมตัวเอง
"สิ่งที่ทำอยู่เสมอคือว่า ก่อนที่เราจะสอนอะไรใคร เราต้องเขาใจ เราต้องทำก่อน ดังนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำ มาจากประสบการณ์ของเรา แล้วอาจจะศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมทางหลักการ ทีนี้เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น เราทำงานแบบนี้จนแก่ไป เราจะไม่มีสวัสดิการ ไม่มีเงินออม ไม่มีอะไรทั้งสิ้นเลย เราก็เลยต้องมาทำตรงนี้ เผื่อพื้นฐานของตัวเองอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็เป็นการสร้างความมั่นคงให้ตัวเองไปด้วย
"บางครั้งคนอาจจะบอกว่าคนร่ำรวยๆ หรือว่าคนที่บอกเราทำเล็กเกินไปอย่างนี้ไม่พอกิน หรือว่าอะไรประมาณนี้ มันเรื่องของเขา ใครช่วยตัวเองได้ก็ไป แต่ว่าเราอยู่กับคนตัวเล็ก คนไม่มีอำนาจทางสังคมการเมือง คนไม่มีเครดิต จะไปกู้ธนาคาร ธ.ก.ส. ยังกู้ไม่ได้ เพราะไม่มีเครดิต เข้าสถาบันการเงินอะไรไม่ได้ ก็ต้องสร้างความเข้มแข็งจากสิ่งที่ชุมชนมีอยู่ ซึ่งก็คือภูมิปัญญาพื้นบ้าน ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ถ้ามันเสื่อมโทรมแล้ว เราก็ต้องช่วยกันฟื้นฟู นั่นคือสิ่งที่เรามุ่งหวัง”
จึงเกิดเป็น "แผ่นดินสีทองออร์แกนิคฟาร์ม" เพื่อเป็นต้นแบบให้ผู้คนเข้ามาเรียนรู้ร่วมกับตัวเองในขณะเดียวกัน
"ถามว่าเหนื่อยไหม ในเชิงความคิดไม่เหนื่อย ร่างกายก็ธรรมดา เราเรื่อยๆ แต่คิดว่าอีกหน่อย อยากจะต้องการความสงบ อาจจะเปลี่ยนบทบาทตัวเอง ทุกวันนี้ก็ยังไปโน่นไปนี่ ไปดูพื้นที่ ไปเยี่ยมหมู่บ้านไกลๆ ชายแดนลึกๆ ก็ยังไปอยู่
"จริงๆ ในช่วง 15-16 ปีมานี้ ผมก็ไปช่วยงานของสำนักงานคาทอลิก ช่วยผู้ประสบภัยหรือผู้ลี้ภัย ไปเป็นคนแนะนำเกษตรอินทรีย์ให้กับผู้ลี้ภัยจากพม่าที่อพยพตามแนวชายแดน ผู้ลี้ภัยที่เป็นชาวกะเหรี่ยง รวมแล้วเป็นหมื่นคน 10 กว่าปี แล้วหลายคน ส่วนใหญ่ก็ได้ไปอยู่ต่างประเทศ อเมริกา ออสเตรีย แคนาดา เขาก็ได้ความรู้ไปใช้ แล้วก็ได้ปลูกพืชผักกินเอง ซึ่งอันนี้ก็เป็นงานอีกส่วนหนึ่ง เราไปช่วยองค์กรอื่น ในฐานะที่ปรึกษาด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคาทอลิกสงเคราะห์ผู้ประสบภัย
"เพราะว่าในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา เราไปทำช่วยเหลือชาวบ้านมาตลอด เราก็มาคิดว่าอายุเริ่มมากขึ้น เราทำงานแบบนี้ เมื่อแก่ไป เราจะไม่มีสวัสดิการไม่มีเงินออม ไม่มีอะไรทั้งสิ้นเลย เราก็เลยต้องมาทำตรงนี้ ที่ดินตรงบ้านเกิด เผื่อพื้นฐานของตัวเองอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็เป็นการสร้างความมั่นคงให้ตัวเองไปด้วย
"ฟาร์มนี้เริ่มมาทำเมื่อ 3 ปีที่แล้ว เพราะว่าลูกคนโตเขาต้องมาเรียนมัธยมปลาย เราก็เลยต้องมา ที่ดินมันมีอยู่นานแล้ว แต่เราไม่ได้ใช้ประโยชน์ ลูกต้องมาเรียนก็ออกมาอยู่ ประจวบเหมาะกับเราคิดว่าต้องสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตเราไปด้วย คือเดิมเรามองแต่ชาวบ้าน แต่เราไม่ได้มองตัวเอง บางทีมันไม่ได้เป็นทางสายกลาง คือเราลืมดูตัวเอง
"อย่างคำพระท่านว่า ถ้าไฟในเรือนไม่สว่าง จะไปช่วยคนอื่นก็ป่วยการ มันก็คล้ายๆ กัน แต่ประเด็นมันคือว่า ความแน่วแน่ คือถามว่าเรามีศักยภาพช่วยคนอื่น เรามี แต่เราก็มีคนใกล้ชิดที่ต้องพึ่งพาเรา อันนี้ก็เป็นจุดอ่อน ลูกเมียเราอาจจะไม่เคยบ่น เรื่องความอัตคัดทางเศรษฐกิจ เขาไม่เคยบ่น ส่วนใหญ่ลูกๆ เราก็จะไปด้วยกับเราตลอดเวลาที่เราไปช่วยชาวบ้าน ลูกเขาก็เรียนในหมู่บ้าน ตอนเล็กๆ ก็สอนเอง แม่เขาสอน
"ทุกวันนี้เราก็ปลูกข้าวปลูกผักไว้กินเอง ขายด้วย สินค้าก็แปรรูป แต่เราไม่ได้ขายตลาดทั่วไป เราจะขายตรงผู้บริโภค มีอะไรก็ส่งตามคอนเนกชัน แต่ส่วนหนึ่งคือผมไปอบรมชาวบ้านให้ทำเกษตรอินทรีย์ แล้วก็ผลผลิตที่บอกว่าส่งขายผู้บริโภค ส่งห้าง ร้าน ช่วงหลังชาวบ้านเขาก็ชวนไปส่งตามที่ถนัด แต่ว่ามีคนกลุ่มหนึ่ง ภรรยาเขาก็ประสานส่งตรงผู้บริโภค ไม่ผ่านคนกลาง มันก็มีคอนเนกชัน
"แต่จริงๆ เราเป็นห่วงชาวบ้าน ความท้อมันมีอยู่บ้างตามธรรมดามนุษย์ แต่ว่าการหันหลังกลับนั้นไม่เคยคิด การหยุดนิ่งมี เพื่อที่จะตั้งหลัก เคยมีพรรคพวกแนะนำให้เลิก เขาก็ให้เหตุผลว่า ถึงเราไม่ทำงาน ชาวบ้านเขาก็ไม่อดตายหรอก แต่เราก็ไม่ได้คิดอย่างนั้น เราก็อยู่แบบสมถะ พอเพียง มีเงินแค่นิดหน่อย เราก็อยู่ได้ ก็เลยอยู่กับชาวบ้านมาเรื่อยๆ 20 กว่าปีจนถึงวันนี้"
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : ปวริศร์ แพงราช
กล่าวได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกถางทางอย่างแท้จริง สำหรับ “พยงฐ์ ศรีทอง” ศิษย์เก่าดีเด่นสิงห์แดง รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ รุ่นที่ 36 ซึ่งหลังจากเรียนจบก็มุ่งมั่นบนเส้นทางสายอนุรักษ์ ก่อนจะปักหลักพัฒนาชุมชนบ้านห้วยดินดำ จังหวัดสุพรรณบุรี กระทั่งกลายเป็นต้นแบบกรณีศึกษาไม่เพียงในเมืองไทย หากแต่ผลงานและชื่อเสียงของเขายังดังไกลไปถึงต่างประเทศ
ลำบากก็ไม่ท้อ
ยากจนก็ไม่ถอย
เราพาไปย้อนรอยเส้นทางชีวิตของคนคนหนึ่ง
ซึ่งกล่าวได้เต็มปากเต็มคำว่าคือ “คนจริง”...
ออกสตาร์ทเส้นทางสีเขียว
หอบใบปริญญาบุกงานในป่าเขา
"คือจริงอยู่ที่เรามาเรียนที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ชั้นมัธยมจนถึงกระทั่งจบรัฐศาสตร์ แต่เราก็ยังคือคนบ้านนอก เป็นคนที่มาจากชนบท เรามีความรู้ เราก็คิดว่าเราเป็นมันสมองหนึ่งของชนบท เราเป็นทรัพยากรของบ้านนอก แล้วช่วงนั้นเราก็มีปัญหามันสมองรั่วไหลจากชนบทสู่เมืองที่เป็นปัญหามากในตอนนั้นจนถึงวันนี้เองก็ตาม ดังนั้น พอเราได้รับโอกาสการศึกษา ก็เลยอยากจะกลับไปทำงานที่ชนบท ไปทำงานช่วยพัฒนาบ้านเกิด
"ตอนนั้นพอจบออกมาก็เลยไม่ได้สมัครงานอะไรเลย ไม่ได้ทำงานบริษัท หรือสมัครข้าราชการตามสายที่เรียนมา เพราะด้วยบุคลิกส่วนตัวที่ผมไม่ชอบเป็นข้าราชการที่จะต้องคอยเป็นผู้น้อมรอรับคำสั่งของใครต่อใคร และด้วยการที่อยู่ในระบบข้าราชการในช่วงนั้นเรารู้สึกว่า การเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยมันก็ทำอะไรได้ไม่มาก แล้วก็เรื่องของบริบททางการเมืองมันก็ไม่เอื้อ"
อดีตคนหนุ่มอนาคตไกลบอกกล่าวเล่าถึงเหตุผลที่เลือกรับใช้มวลชนผู้ด้อยโอกาสหลังเรียนจบภาคสาขาวิชารัฐศาสตร์ การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำงานเป็น NGO นักสังคมสงเคราะห์ ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี จนถึงวันนี้
"คือตอนนั้นเราก็มองว่าสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ปัจจุบันนี้ไม่ใช่แล้ว แต่ว่าตอนนั้นส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม ผมคิดว่ารากฐานของสังคมไทยคือสังคมเกษตรกรรม สังคมชนบท ถ้าชนบทล้ม อยู่ไม่ได้ เดือดร้อน สังคมส่วนรวมมันก็ลำบาก ทั้งๆ ที่เขามีศักยภาพ เขามีความรู้ ชาวบ้านเรียนรู้มาจากบรรพบุรุษก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ มีคุณค่า แล้วมันก็สามารถที่จะเอามาใช้ในการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ในโลกสมัยใหม่ได้ ไม่ว่าจะในเรื่องของความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร ระบบนิเวศป่าไม้ เรื่องของพืช เรื่องของสัตว์ป่าว่าเราจะแปรให้มาเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ให้มันคงอยู่อย่างยั่งยืน
"ก็เลยเลือกที่จะทำงานภาคประชาชน สมัครทำงานกับ Ngo ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531"
กับองค์กร Consortium ในศูนย์พักพิงผู้ลี้ภัยจากการสู้รบอินโดจีน หลังจากนั้นมาเข้าร่วมทำงานในฐานะเจ้าหน้าที่สนามของศูนย์เทคโนโลยีเพื่อสังคม (ต่อมาได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิข้าวขวัญ) โดยได้ทำงานส่งเสริมระบบเกษตรกรรมยั่งยืนกับชาวนาในพื้นที่หลายอำเภอของจังหวัดสุพรรณบุรี
ต่อมาในปี 2535-2538 จึงได้ริเริ่มเขียนโครงการอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นบ้านในชุมชนกะเหรี่ยงขึ้นด้วยตัวเอง เพื่อทำการสำรวจ ศึกษาลักษณะ การบันทึกข้อมูล การอนุรักษ์ และการเผยแพร่ทรัพยากรพันธุกรรมพืชพื้นบ้านพื้นเมืองร่วมกับชุมชนชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงที่บ้านห้วยหินดินดำ พื้นที่ในผืนป่ารอยต่อของจังหวัดกาญจนบุรี และสุพรรณบุรี โดยโครงการนี้ได้ดำเนินการควบคู่ไปกับการส่งเสริมการเกษตรที่ยั่งยืนเพื่อเป็นทางเลือกในการดำเนินชีวิตและสร้างความมั่นคงด้านอาหาร รายได้ แก่ชุมชนกะเหรี่ยงที่พักอาศัยในผืนป่าอนุรักษ์ (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ และอุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์)
"คือหลังจากช่วง 4 ปีแรก เราก็แยกตัวออกมา เขียนโครงการเอง เหตุผลก็เพราะต้องการให้ความรู้แก่ชาวบ้านในพื้นที่ถิ่นกำเนิดที่ห้วยหินดินดำ เรื่องการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพื้นบ้านและส่งเสริมเกษตรยั่งยืนหรือเกษตรอินทรีย์ เพราะช่วงนั้นคนยังไม่ค่อยรู้จัก ก็ต้องอาศัยทุน อาศัยบารมีรุ่นพี่ เครือข่ายที่เราเคยทำงานด้วย พอได้ทุนมากหน่อยก็มีลูกทีม 3-4 คน ก็ต้องมีการปรับแผน
"ขั้นตอนในการระดมทุนตอนนั้นก็อาศัยคอนเนกชันจากการที่เราได้อยู่องค์กรศูนย์เทคโนโลยีเพื่อสังคมบ้าง แล้วก็มีเครือข่ายในต่างประเทศที่เราเคยทำงานเชื่อมโยงกับเขา เช่น เครือข่ายประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศฟิลิปปินส์ กัมพูชา อินโดนีเซีย รวมถึงเวียดนาม"
เงินทุนก้อนแรกตอนนั้นที่ระดมได้จากต่างประเทศคือ 3 ล้านกว่าบาท ใช้สำหรับกิจกรรมการพัฒนา กระทั่งปี พ.ศ. 2538 ได้ก่อตั้งโครงการพัฒนาระบบนิเวศเกษตรและอนุรักษ์พันธุ์พืช โดยอาศัยฐานการทำงานชุมชนช่วงที่ผ่านมาและการสนับสนุนจากเครือข่ายทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อสร้างความเป็นสถาบันให้งานพัฒนาระบบเกษตรกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพ ซึ่งมีความสำคัญของระบบเกษตรกรรมอันเป็นรากฐานของชาวชนบทไทย
"ก็ถือว่าแหกคอกกว่าเพื่อนคนอื่นๆ เพราะขณะที่พอเรียนจบ บางคนก็ไปรับราชการ มียศมีตำแหน่ง หรือว่าไปทำภาคธุรกิจก็ร่ำรวยมีเงินทองฐานะ แต่ผมก็อยู่แบบไม่มีเงิน เงินออมยังไม่มีเลย บ้านที่ผ่อนก่อนหน้านี้ ก็ต้องปล่อยให้เขายึด เพราะเราไม่มีรายได้ตรงส่วนเงินเดือน"
“อาจารย์พยงฐ์” ของใครต่อใครกล่าวแซมยิ้มเต็มดวงหน้า เพราะถึงแม้ในเรื่องการระดมเงินทุนจะมีความยากลำบากพอสมควร แต่ก็ผ่านพ้นมาได้ ทว่าในระหว่างนั้นที่ทำท่าจะไปได้สวยทั้งในเรื่องการกระทำและความคิด การที่เข้าไปเพิ่มเติมเสริมความรู้ให้ชาวบ้านกลับทำให้เขาต้องพบเจอกับอำนาจมืดที่แฝงอยู่ในทิวเขาเงาป่า
"มันก็มีทั้งคนรักและคนชัง คือพอเราเข้าไปในพื้นที่ เข้าไปให้ความรู้ คนที่เคยได้รับผลประโยชน์จากการทำไม้เถื่อน พวกที่ฆ่าสัตว์ป่าสงวน แล้วก็ต้องการเอาพื้นที่ป่ามาเป็นพื้นที่เกษตร ก็กลายเป็นว่าเราไปขัดขวางเขา ขัดขาเขา เจอเกมอำนาจ อย่างปล่อยข่าวให้เสียๆ หายๆ โดยจับชาวบ้านในความผิดต่างๆ บุกรุกผืนป่าบ้าง แต่จริงๆ ตรงนั้นเป็นพื้นที่สีชมพู เป็นพื้นที่ที่ทางรัฐบาลสมัยก่อนผลักดันให้คนเข้าไปเพื่อขับไล่คอมมิวนิสต์ แต่มาตอนหลังก็สถานการณ์เปลี่ยนไป ชาวบ้านก็กลายเป็นผู้บุกรุก จริงๆ มันก็ไม่ชัดเจน เขาก็ใช้จุดนั้นเพื่อให้ชาวบ้านเกลียดว่าเราเป็นต้นเหตุให้ชาวบ้านถูกจับ
"ช่วงหนึ่งก็รู้สึกกำลังใจถดถอยเหมือนกัน แต่เราก็พยายามที่จะทำความเข้าใจ เป็นประสบการณ์มากขึ้น เราก็จะรู้จักสงบ คือปล่อยให้สถานการณ์มันค่อยๆ คลี่คลาย เงียบไป ภรรยาผมเรียนกฎหมาย ก็เอาความรู้ด้านนั้นมาช่วยชาวบ้าน แล้วก็ได้พรรคพวกที่เป็นนักกฎหมายหรือประสานงานกับคนภายนอกที่ทำงานช่วยเหลือชาวบ้าน สิทธิเรื่องกฎหมาย แล้วแต่สถานการณ์กันไป มันก็ผ่านไป
"ถ้ามองย้อนกลับไป มันก็ระทึกดีเหมือนกัน คือบางทีเขาเอาปืนมาเลยนะ ก็ทำนองมาขู่ แต่ไม่เป็นไร ก็ไม่กลัว"
คำว่า "ไม่กลัว" ที่ว่านี้ รวมไปถึงกระทั่งถูกตราหน้าว่าเป็นคอมมิวนิสต์ แต่ก็ไม่หวาดหวั่น
"คือตอนแรกเลยเราถูกมองว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ถูกจับตาเป็น 10 ปี เพิ่งจะมารู้ตอนหลังจากเจ้าหน้าที่ที่จับตาเรา (หัวเราะ) คือเราโดนเพ่งเล็งโดยฝ่ายข้าราชการ โดยฝ่ายความมั่นคง โดยสันติบาลอยู่หลายปี แต่พอเรารู้ เราก็ไม่สนใจ เพราะหนึ่ง เราคิดว่าเราไปเจตนาดี เราไปทำงานเพื่อช่วยชาวบ้าน และช่วงแรกๆ เราก็ประสานงานกับทางจังหวัด ทำหนังสือแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัด ประสานงานกับกองทัพ ประสานกับผู้ดูแลพื้นที่ แล้วสองสิ่งที่เราทำ มันไม่ใช่งานที่จะกระทบต่อความมั่นคง เราทำงานในเรื่องของการส่งเสริมเกษตรยั่งยืน ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
"พอเข้าไปอยู่ในพื้นที่ เราจึงรู้ปัญหาคือแสดงว่าชาวบ้านไม่มีปากเสียง ไม่มีเพาเวอร์ทางสังคม ทางการเมือง ก็เลยถูกกล่าวหา ตอนนั้นเราก็คิดว่าเราไปอยู่กับชาวบ้านซึ่งด้อยโอกาสและต้องการความช่วยเหลือ มันก็มีความสุขดี ที่เราได้ทำตามที่เราคิด เราอาจจะมีความฝัน ในสายตาคนอื่นเขาอาจจะเรียกว่าอุดมการณ์ เรากินอุดมคติ แต่เราคิดว่าเรานอกจากมีความตั้งใจว่าจะกลับไปบ้านนอก ไปทำงานแล้วเราทำงานกับคนด้อยโอกาส ส่วนหนึ่งพอมาเห็นปัญหาของชาวบ้านแล้วเราก็มีคำขอของชาวบ้าน เราเข้าไปอยู่กับชาวบ้านจริงๆ มันก็ทุกอย่างรอบตัวเลย อย่างเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย เรามีรถ เราก็กลายเป็นต้องพาคนป่วยไปโรงพยาบาล บางครั้งคนจะคลอดลูก ก็เราอีก หลายต่อหลายครั้ง ซึ่งบางทีมันก็ไม่ค่อยเหมาะสม เพราะชาวบ้านก็จะกลายเป็นว่ามีอะไรๆ ก็เรา หัวหน้าๆ แต่เมื่ออยู่ในสถานการณ์นั้น คนเดือดร้อนตรงหน้าเรา ก็ช่วยไปก่อน หลังๆ เขาก็เริ่มรู้จักช่วยตัวเองได้ ช่วยตัวเองเป็น
"คือเขาก็อยากมีชีวิตสุขสบาย จริงๆ เขาอยากมีเงิน อยากมีรถ เหมือนเราปกติ เพียงแต่ว่าบางคนอาจจะเข้าไม่ถึง เมื่อมีการพัฒนา เขากลายเป็นคนที่ตกขบวน ตามไม่ทัน ไม่สามารถดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับโลกปัจจุบันได้ แต่คนภายนอกก็มักจะมองอีกด้านหนึ่ง เอาง่ายๆ คนบ้านเรามีทัศนคติเชิงลบกับชาวต่างชาติที่พัฒนาช้ากว่า หรือแม้แต่คนไทยด้วยกันเองก็ตาม เราก็ตระหนักตรงนั้น เราก็อยากจะทำให้เห็นคุณค่าในตรงนี้ และให้เขาเห็นคุณค่าในตัวเอง มีความภาคภูมิใจ เราทุกคนก็คนเหมือนกัน"
ทางนี้มิใช่ง่าย
แต่ด้วยหัวใจ จึงฝ่าฟัน
• ใช้ระยะเวลาในการสร้างสมความรู้ตรงนี้มากน้อยอย่างไร
มันจะมีอยู่สองส่วน ก็ใช้ระยะเวลาพอสมควร เอาส่วนตัวผมเองก่อน คือเพราะเราจบมาอีกสายสาขาหนึ่ง ก็ทำให้ต้องมีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพราะอาศัยที่ว่าเป็นลูกหลานเกษตรกรมาก่อนไม่เพียงพอ เราก็ลืมๆ ไปบ้าง จากตอนที่เด็กๆ เรารู้หมดว่าต้นอะไรกินได้กินไม่ได้ แต่ว่าเรื่องที่เป็นเชิงวิชาการ เราก็ต้องไปเรียนรู้เพิ่มเติม ทั้งซื้อตำรามาอ่านเอง หาความรู้เอง เรียนรู้จากการทำงานกับชาวบ้าน นักวิชาการ แล้วไปอบรมสัมมนา การเทกคอร์สสั้นๆ ประมาณนั้น แล้วแต่จังหวะโอกาสของชีวิต
ส่วนที่สองคือชาวบ้าน เราก็ไม่ได้เปลี่ยนเขาทุกคน เราไม่ได้เปลี่ยนทั้งหมู่บ้าน เราแค่ทำงานกับคนที่เห็นด้วยกับเรา เพราะหนึ่งเลย เราไม่ใช่ราชการ ชาวบ้านเขาก็มีส่วนหนึ่งที่คิดว่าเราจะมาหลอก เพราะเราอยู่แบบเรียบง่าย ไม่มีฟอร์ม อยู่บ้านไม้ไผ่ หลังคาทำด้วยสังกะสีง่ายๆ บ้านไม่มีประตู ชาวบ้านก็อาจจะมองแบบไม่ค่อยยอมรับเท่าไหร่ เราก็ไม่สนใจ เพราะว่าจุดยืนก็คือเราทำงานกับคนที่เห็นด้วย
หลังจากนั้น เราก็ต้องพิสูจน์ให้เขาเห็น เราก็จะมีเทคนิค มีกลยุทธ์ คือเราจะชวนชาวบ้านให้ปลูกสวนผลไม้ผสมผสาน เพราะผลไม้ใหญ่กว่าจะให้ผล 4 ปี และต้องปลูกห่างกัน 4 วา ก็คือ 8 เมตร สมมติว่าในช่วงเวลาที่รอออกดอกผล ระยะห่าง 8 เมตร พื้นที่ว่างตรงนี้ เราจะสร้างประโยชน์จากตรงนั้นอย่างไร ก็ต้องปลูกพืชอายุสั้นกว่า ให้มีผลผลิตออกมาได้กินได้ขาย
ขณะเดียวกัน เราก็ชวนชาวบ้านให้รู้จักเกษตรอินทรีย์ คือให้เขาสมัครรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีด้วย โดยเราก็เป็นคนประสานงานให้เขาไปรับรองมาตรฐาน พอดีช่วงนั้นประมาณปี 2540 กระแสของอาหารสุขภาพ กระแสเกษตรอินทรีย์เริ่มมาแล้ว เราก็ช่วยขายเฉพาะ คือมันมีตลาดเฉพาะ เรามีเครือข่ายส่งผ่านกลุ่มเครือข่ายนี้ก็จะมีผู้บริโภคที่ต้องการผลผลิตเหล่านี้ ไม่ได้วางขายตลาดทั่วไป แต่จะมีพรรคพวกเรา เราก็ประสานงานให้ ที่สำคัญ ในการตรวจรับรองมาตรฐาน เกษตรกรหลายคนก็ผ่าน มันก็เลยกลายเป็นเครื่องการันตีว่าเป็นผลผลิตที่มีคุณภาพ
• ช่วงนั้นมีผู้เห็นด้วยกับเราสักเท่าไหร่
เห็นด้วยน้อยมาก แต่ถ้านับจำนวน ก็เป็นร้อยๆ ครอบครัวเหมือนกัน เพราะเราทำเกษตรกันคนละแนว สิ่งที่ชาวบ้านทั่วๆ ไปคุ้นเคยก็คือการเกษตรเคมี เกษตรใช้สารเคมี เกษตรที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง แต่ว่ามันมีชาวบ้านส่วนหนึ่งที่เขาเห็นผลกระทบของการเกษตร อย่างเช่นการล้มละลาย เพราะว่าขาดทุนตลอด ปัญหาสุขภาพจากการใช้สารเคมี ซึ่งคนเหล่านี้เป็นกลุ่มคนที่เขาเรียกว่าเกิดความตระหนักที่จะต้องหาทางเลือกใหม่
ก็แนะให้เขาลองๆ ทดลองดู 1-2 ไร่ มุมใดมุมหนึ่งทำอย่างไรที่เราคุยกันมันจะได้มีอาหารกินที่หลากหลาย มีรายได้มาเรื่อยๆ ปลูกลำไย ปลูกเงาะ รายใหม่ๆ ก็ตามกันมา เราก็ใช้วิธีขอทุน ทุนก้อนเล็กๆ จากสถานทูตต่างประเทศ เช่น แคนาดา ออสเตเรีย พวกนี้เราก็ได้ทุนก้อนเล็กๆ ที่จะเอามาซื้อท่อน้ำ เมล็ดพันธุ์ช่วยชาวบ้าน สำหรับคนใหม่ๆ ที่จะเริ่มต้น
• หมู่บ้านในโครงการเราก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ
ในเรื่องของการพัฒนามันก็มี 2 ส่วน ผมไปตั้งแต่ปี 2535 แล้วเราก็ไปสร้างบ้าน แล้วช่วงประมารณปี 2540 เริ่มถนนลาดยาง ปี 2543 ไฟฟ้าเข้า แล้วการที่ชาวบ้านเริ่มค้าขายปลูกพืชข้าวโพด พืชเศรษฐกิจ เขาก็มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงตรงนี้โดยวัตถุมันก็เป็นไปตามกลไกในการพัฒนาของรัฐ แต่ว่าสิ่งที่มันเป็นผลจากการทำงานเราก็คือ เราเป็นเพื่อนชาวบ้านในการคิด ให้ชาวบ้านคิดเป็น แล้วก็เห็นถูก รู้จักวางแผนพัฒนาตัวเอง วางกระบวนการตัวเอง มองในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การอยู่แบบสมถะหรือว่าสอดคล้องกับสถานการณ์ที่มันเป็นไป
คือเรามองว่าจริงๆ ชาวบ้านซึ่งไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่ได้เรียนรู้แบบสมัยใหม่ แล้วพอชุมชนมันเปลี่ยนไป เขาจะก้าวไม่ทัน แล้วเขาจะตกไปเป็นเหยื่อของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งตรงนี้เราก็ไปเป็นเพื่อนช่วยคิด การที่เราอยู่ตรงนั้น เขามีอะไร เขาก็มาหา ไปมาหาสู่กัน และชาวบ้านก็มีการตั้งป่าชุมชนตั้งแต่ปี 2537-38 เราก็ประชุมกันทุกเดือน แล้วก็ดึงหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับการส่งเสริมป่าชุมชนเข้าไปทำงานในหมู่บ้าน เราก็อยู่ในกระบวนการช่วยคิดช่วยทำ ชาวบ้านที่นั่นก็จะเก่งในเรื่องของการวางแผน การพัฒนา การจัดการตัวเอง คือโดยรวม เขาก็ไม่ได้หลงไปกับความทันสมัยแล้วก็การใช้ทรัพยากรอย่างไม่ถูกต้อง จากการที่เราคิดว่าจะเข้าไปช่วยในเรื่องเกษตร กลับกลายเป็นพัฒนาไปด้านอื่นด้วย
เพราะมันเป็นองค์รวม เป็นเรื่องสังคมวัฒนธรรม แล้วก็เป็นเรื่องของทรัพยากร เรื่องของอาชีพ เรื่องเศรษฐกิจสังคม เรื่องของการสร้างรายได้ ซึ่งพอไปอยู่ตรงนั้น เราก็ผสมกลมกลืนไป
• คือเราก็ขยับขึ้นตามชาวบ้านด้วย
เราเรียนรู้ควบคู่กับชาวบ้าน แต่ก็มีอยู่ 2 ครั้งที่เกือบถอย เพราะมันเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนใจตัวเองมาก ครั้งแรกเมื่อประมาณปี 2538 ปลายๆ ปี ลูกไม่สบาย เป็นไข้เลือดออกแล้วเรามีเงินอยู่ 40 บาท เราต้องพาลูกไปโรงพยาบาล ก็ต้องไปขอยืมเงินพ่อ 500 บาทเพื่อที่จะพาไปโรงพยาบาล เราก็ตั้งคำถามกับตัวเองเหมือนกันว่าถ้าเรายังช่วยตัวเองไม่ได้แล้วเราจะช่วยคนอื่นได้อย่างไร
อีกครั้งหนึ่งหลังจากนั้นประมาณ 3-4 ปี ลูกอีกคนป่วยต้องผ่าตัด เราก็มีเงินอยู่ 300 บาท โชคดีที่เขาเป็นเด็ก เราก็เลยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย รัฐจ่ายให้ แต่ในระหว่างที่รอผลผ่าตัด เราก็รู้สึกสะท้อนใจว่าเราทำให้ลูกเมียลำบาก ลูกป่วยแทบไม่มีเงินติดตัว คือวันนั้นเราก็ไม่ได้กินข้าวเพื่อที่จะกันเงินเอาไว้สำหรับค่าเติมน้ำมัน แล้วก็ค่าดำเนินการทำเรื่อง นั่นก็เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกถดถอย คือเกิดคำถามกับตัวเองว่าเราทำอะไรอยู่ มาถูกทางหรือเปล่า ครั้งหลังนี้ เรายืนน้ำตาตกในเลย สถานการณ์แบบนี้มันก็คิดไปต่างๆ นานา เรามาทางถูกหรือเปล่า
• แล้วครอบครัวเราว่าอย่างไรบ้างไหมในเรื่องนี้
เขาก็ไม่ว่าอะไร เขาไม่เคยค้าน เขาก็ตามเรา แต่เมื่อคิดอย่างนั้นภาพของชาวบ้านเข้ามา เป็นนิสัยส่วนตัวที่ว่า เวลาเรามุ่งมั่นจะทำอะไร เราก็ต้องทำให้เสร็จ เราคิดแล้วก็ความผูกพันด้วย เราเป็นห่วงชาวบ้าน ชาวบ้านเขาก็เป็นมิตร คือมิตรภาพที่ให้ต่อกัน ก็ทำให้เราอยู่กับชาวบ้าน ถึงว่าเราลำบาก ก็ไม่ถึงกับทำให้เราหันหลังกลับคือเนื่องจากว่าเราอยู่กับชาวบ้าน แล้วก็เขาเรียกว่ากินผลพวงของการพัฒนาเพราะว่าเราไปช่วยชาวบ้านให้ทำเกษตรยั่งยืน เกษตรผสมผสาน เขามีข้าวเป็นถัง เลี้ยงเป็ด เลี้ยงหมู เขาก็เอาส่วนนั้นกลับคืนมาให้เรา แล้วก็เพื่อนๆ พรรคพวกพี่ๆ น้องๆ ในแวดวงเอ็นจีโอหรือภาคประชาสังคม ก็ช่วยๆ กัน บางคนรู้ว่าเราก็ลำบาก แต่เราไม่ถอย เขาก็ช่วยเสียสละให้คนละ 1,000 บาทบ้าง บางคนเป็นหมื่นสองหมื่นบาท ให้แบบไม่ได้คิดจะเอาคืน
ช่วงหลังๆ มีองค์กรอื่นชวนให้ไปช่วยงาน เราก็รับเป็นจ๊อบ เป็นอะไรไป เป็นวิทยากรหรือว่าทำเป็นเทรนนิ่ง ทำวิจัย ประมาณปี 38 จริงๆ ชีวิตลำบากช่วงนั้น 39 แล้วพอ 40 ขึ้นมาก็เริ่มระดมทุนได้อีกครั้ง แต่ว่าเล็กๆ ไม่ได้มีเงินเดือน เราทำงานกับชาวบ้านไม่มีเงินเดือน เงินที่อาจจะมี แต่ถือเป็นเบี้ยเลี้ยง ค่าน้ำมันรถ แต่เรื่องเงินเดือน ไม่ได้ ก็อยู่อย่างนั้นนาน ค่อยๆ ไต่ขึ้นมา พอดีปี 2542 ปลายปีก็ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวครั้งแรก ปีแรก ได้คู่กับพรมสา ชูแดง เป็นรางวัลที่ให้คนที่มีผลงานในเรื่องของการอนุรักษ์ป่า ได้เงินมา 2 แสน ก็ต่อยอดเราได้แล้ว มีเก็บ มันก็ใช้ ก็อดไม่ได้ช่วยชาวบ้านไป ทำกิจกรรมต่างๆ กับชาวบ้าน แล้วเราก็เอามาปรับปรุงบ้านเรือน ที่ทำงานของเราให้มันถาวรขึ้น ก็แบ่งเงินตรงนั้น แล้วก็มีหนี้อะไรก็ไปเคลียร์ให้หมด สรุปเงินนั้นก็หมดไป แต่ว่ามันเบาขึ้น ลอยตัวขึ้น เริ่มทำให้ตัวเองยั่งยืนได้ตั้งแต่ปี 47 เป็นต้นมา
หลังจากรางวัลลูกโลกสีเขียว ปีต่อมาเราก็ได้รับการคัดเลือกให้ไป “อาโชว์กา” คือตรงนี้เขาก็เหมือนกับว่ามีเงินทุนสนับสนุนกิจกรรม เขาให้เป็นเบี้ยยังชีพสำหรับคนที่ทำงานเพื่อสังคม เขาเรียกว่าเป็นผู้ประกอบการทางสังคม ในปี 2000 ก็มีหลายคนที่ได้รับ คือเขาเรียกว่าสังคมเห็นผลงาน เห็นความตั้งใจ ก็เลยอุดหนุนส่งเสริม ทำให้เราทำงานกับชาวบ้านเรื่อยมาตลอด คือเราอาจจะไม่ใช่คนที่ออกหน้าในเรื่องของการประท้วงเรียกร้องอะไรต่อมิอะไร เราทำงานติดดิน อยู่ในพื้นที่ ในขณะที่คนเรียกร้องเกษตรอินทรีย์ เกษตรยั่งยืน ถ้าพูดอย่างเดียว มันไม่เกิด มันต้องมีคนมาทำด้วย
บ้าบิ่นอย่างเข้าใจ
ช่วยโลกอย่างเข้าถึง
"คือเราเวลาที่ทำอะไรกับชาวบ้าน เราคิด เราก็คิดในมุมหนึ่ง แม้ว่าเราจะเป็นคนแนะนำให้กับเขา แต่ว่าในด้านหนึ่ง เราก็คิดว่าเราก็ต้องเป็นผู้ที่ศึกษาไปกับเขาด้วย เหมือนสองด้านของเหรียญ บางเรื่องเราไม่รู้ เราก็ต้องศึกษา ความผิดพลาด เราก็แปรให้มันเป็นประสบการณ์เพื่อทำให้มันดีขึ้น
"สมัยก่อน คิดใหญ่ว่าเราจะเปลี่ยนแปลงสังคม แต่สุดท้าย สังคมมันเป็นสังคมที่มันย่อเล็กลงมา ก็คือสังคมรอบตัว เราคิดว่าถ้าหากมีคนคิดอย่างนี้ ก็ได้ ที่ผ่านมา บทเรียนของเรา ก็มีคนอื่นนำไปทำ ประสบการณ์ของเราก็เป็นแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ คนอื่นๆ จำนวนหนึ่งที่ไปทำแบบนี้ เราไม่ใช่คนแรกที่ทำ แต่อาจจะเป็นคนแรกในความบ้าปิ่น บ้าบิ่นในแบบไม่ได้อยู่สังกัดองค์กรใหญ่โต คนอื่นๆ เขาก็อาจจะมีองค์กรรองรับ แต่ว่าเราลงไปเต็มตัว ไม่สนใจ คือเดิมก็ไม่ได้สนใจยศถาบรรดาศักดิ์อยู่แล้ว ไม่ได้สนใจเรื่องความมั่งมี พอไปทำอย่างนี้ ยิ่งไม่ได้สนใจเรื่องของความเป็นอยู่ตัวเอง เราอยากจะช่วยคนอื่น ไม่หิว มีอยู่มีกิน แต่บางจังหวะเราลืมตัวเอง
"สิ่งที่ทำอยู่เสมอคือว่า ก่อนที่เราจะสอนอะไรใคร เราต้องเขาใจ เราต้องทำก่อน ดังนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำ มาจากประสบการณ์ของเรา แล้วอาจจะศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมทางหลักการ ทีนี้เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น เราทำงานแบบนี้จนแก่ไป เราจะไม่มีสวัสดิการ ไม่มีเงินออม ไม่มีอะไรทั้งสิ้นเลย เราก็เลยต้องมาทำตรงนี้ เผื่อพื้นฐานของตัวเองอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็เป็นการสร้างความมั่นคงให้ตัวเองไปด้วย
"บางครั้งคนอาจจะบอกว่าคนร่ำรวยๆ หรือว่าคนที่บอกเราทำเล็กเกินไปอย่างนี้ไม่พอกิน หรือว่าอะไรประมาณนี้ มันเรื่องของเขา ใครช่วยตัวเองได้ก็ไป แต่ว่าเราอยู่กับคนตัวเล็ก คนไม่มีอำนาจทางสังคมการเมือง คนไม่มีเครดิต จะไปกู้ธนาคาร ธ.ก.ส. ยังกู้ไม่ได้ เพราะไม่มีเครดิต เข้าสถาบันการเงินอะไรไม่ได้ ก็ต้องสร้างความเข้มแข็งจากสิ่งที่ชุมชนมีอยู่ ซึ่งก็คือภูมิปัญญาพื้นบ้าน ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ถ้ามันเสื่อมโทรมแล้ว เราก็ต้องช่วยกันฟื้นฟู นั่นคือสิ่งที่เรามุ่งหวัง”
จึงเกิดเป็น "แผ่นดินสีทองออร์แกนิคฟาร์ม" เพื่อเป็นต้นแบบให้ผู้คนเข้ามาเรียนรู้ร่วมกับตัวเองในขณะเดียวกัน
"ถามว่าเหนื่อยไหม ในเชิงความคิดไม่เหนื่อย ร่างกายก็ธรรมดา เราเรื่อยๆ แต่คิดว่าอีกหน่อย อยากจะต้องการความสงบ อาจจะเปลี่ยนบทบาทตัวเอง ทุกวันนี้ก็ยังไปโน่นไปนี่ ไปดูพื้นที่ ไปเยี่ยมหมู่บ้านไกลๆ ชายแดนลึกๆ ก็ยังไปอยู่
"จริงๆ ในช่วง 15-16 ปีมานี้ ผมก็ไปช่วยงานของสำนักงานคาทอลิก ช่วยผู้ประสบภัยหรือผู้ลี้ภัย ไปเป็นคนแนะนำเกษตรอินทรีย์ให้กับผู้ลี้ภัยจากพม่าที่อพยพตามแนวชายแดน ผู้ลี้ภัยที่เป็นชาวกะเหรี่ยง รวมแล้วเป็นหมื่นคน 10 กว่าปี แล้วหลายคน ส่วนใหญ่ก็ได้ไปอยู่ต่างประเทศ อเมริกา ออสเตรีย แคนาดา เขาก็ได้ความรู้ไปใช้ แล้วก็ได้ปลูกพืชผักกินเอง ซึ่งอันนี้ก็เป็นงานอีกส่วนหนึ่ง เราไปช่วยองค์กรอื่น ในฐานะที่ปรึกษาด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคาทอลิกสงเคราะห์ผู้ประสบภัย
"เพราะว่าในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา เราไปทำช่วยเหลือชาวบ้านมาตลอด เราก็มาคิดว่าอายุเริ่มมากขึ้น เราทำงานแบบนี้ เมื่อแก่ไป เราจะไม่มีสวัสดิการไม่มีเงินออม ไม่มีอะไรทั้งสิ้นเลย เราก็เลยต้องมาทำตรงนี้ ที่ดินตรงบ้านเกิด เผื่อพื้นฐานของตัวเองอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็เป็นการสร้างความมั่นคงให้ตัวเองไปด้วย
"ฟาร์มนี้เริ่มมาทำเมื่อ 3 ปีที่แล้ว เพราะว่าลูกคนโตเขาต้องมาเรียนมัธยมปลาย เราก็เลยต้องมา ที่ดินมันมีอยู่นานแล้ว แต่เราไม่ได้ใช้ประโยชน์ ลูกต้องมาเรียนก็ออกมาอยู่ ประจวบเหมาะกับเราคิดว่าต้องสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตเราไปด้วย คือเดิมเรามองแต่ชาวบ้าน แต่เราไม่ได้มองตัวเอง บางทีมันไม่ได้เป็นทางสายกลาง คือเราลืมดูตัวเอง
"อย่างคำพระท่านว่า ถ้าไฟในเรือนไม่สว่าง จะไปช่วยคนอื่นก็ป่วยการ มันก็คล้ายๆ กัน แต่ประเด็นมันคือว่า ความแน่วแน่ คือถามว่าเรามีศักยภาพช่วยคนอื่น เรามี แต่เราก็มีคนใกล้ชิดที่ต้องพึ่งพาเรา อันนี้ก็เป็นจุดอ่อน ลูกเมียเราอาจจะไม่เคยบ่น เรื่องความอัตคัดทางเศรษฐกิจ เขาไม่เคยบ่น ส่วนใหญ่ลูกๆ เราก็จะไปด้วยกับเราตลอดเวลาที่เราไปช่วยชาวบ้าน ลูกเขาก็เรียนในหมู่บ้าน ตอนเล็กๆ ก็สอนเอง แม่เขาสอน
"ทุกวันนี้เราก็ปลูกข้าวปลูกผักไว้กินเอง ขายด้วย สินค้าก็แปรรูป แต่เราไม่ได้ขายตลาดทั่วไป เราจะขายตรงผู้บริโภค มีอะไรก็ส่งตามคอนเนกชัน แต่ส่วนหนึ่งคือผมไปอบรมชาวบ้านให้ทำเกษตรอินทรีย์ แล้วก็ผลผลิตที่บอกว่าส่งขายผู้บริโภค ส่งห้าง ร้าน ช่วงหลังชาวบ้านเขาก็ชวนไปส่งตามที่ถนัด แต่ว่ามีคนกลุ่มหนึ่ง ภรรยาเขาก็ประสานส่งตรงผู้บริโภค ไม่ผ่านคนกลาง มันก็มีคอนเนกชัน
"แต่จริงๆ เราเป็นห่วงชาวบ้าน ความท้อมันมีอยู่บ้างตามธรรมดามนุษย์ แต่ว่าการหันหลังกลับนั้นไม่เคยคิด การหยุดนิ่งมี เพื่อที่จะตั้งหลัก เคยมีพรรคพวกแนะนำให้เลิก เขาก็ให้เหตุผลว่า ถึงเราไม่ทำงาน ชาวบ้านเขาก็ไม่อดตายหรอก แต่เราก็ไม่ได้คิดอย่างนั้น เราก็อยู่แบบสมถะ พอเพียง มีเงินแค่นิดหน่อย เราก็อยู่ได้ ก็เลยอยู่กับชาวบ้านมาเรื่อยๆ 20 กว่าปีจนถึงวันนี้"
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : ปวริศร์ แพงราช