“โรงงานหมูปิ้ง” บ้าหรือเปล่า? จะเป็นไปได้หรือ? เชื่อว่าใครหลายคนอาจรู้สึกเช่นนี้ แต่นั่นไม่ใช่ในความคิดของ “ชวพจน์ ชูหิรัญ” ชายวัยใกล้ 50 ที่คนเรียกขานว่า “เฮียนพ นครสวรรค์” อดีตเด็กหนุ่มบ้านนอก ผ่านชีวิตหลากรูปบบ ตั้งแต่กรรมกรแบกห้าม ทาสี งานโรงงาน รปภ.วินมอเตอร์ไซค์ และค้าขายอีกหลายปี แต่ชีวิตก็ยังทุกข์ยาก ก่อนกลิ่นหอมและรสชาติของ “หมูปิ้ง” ไม้นั้น ที่เข้ามาเปลี่ยนชีวิตของเขาไปตลอดกาล
“หมูปิ้ง” อาหารพื้นบ้านธรรมดาที่หาทานได้และดูเหมือนว่าใครก็ทำได้ไม่ยาก แต่ใครเลยจะนึก ว่าหมูปิ้งธรรมดา จะกลายมาเป็น “เสาหลัก” ให้กับชีวิตของคนคนหนึ่งได้ จากคนที่กำลังตกต่ำถึงขีดสุด กลับกลายพลิกฟื้นคืนชีพ มีฐานะมั่นคงถึงขั้นเปิดโรงงานหมูปิ้ง ส่งออกขายทั่วประเทศ มีรายได้หลักแสนหลักล้านในช่วงเวลาไม่กี่ปี
เห็นว่าเป็นเรื่อง “หมู” ก็อย่าได้ดูแคลน
เพราะจากหมูเสียบไม้ราคาห้าบาทสิบบาท
ก็สร้างเงินสร้างรายรับ หลักแสนหลักล้านได้
เส้นทางของไม้เสียบและเนื้อหมูมารวมตัวกันได้อย่างไร
นี่คือเรื่องราวของโรงงานหมูปิ้งแห่งแรกในเมืองไทย
ที่ไม่เพียงชวนชิม หากแต่ยังชวนชมและชุบชูพลังชีวิตได้ดียิ่ง!
คล้ายคนจะซวย อะไรก็ช่วยไม่ได้
โหยและไห้ในคืนวันอันวิบาก
“บ้านเราไม่ค่อยมีฐานะอะไรนัก พ่อแม่มีอาชีพขายผัก ส่งเราเรียนหนังสือ เพราะพ่ออยากให้ลูกเรียนสูงๆ แต่พออายุ 11 ขวบ ตอนเรียนอยู่ ป.6 พ่อผมเสีย ทางบ้านซึ่งมีพี่สาวคนโตก็ต้องออกมาช่วยแม่ เราก็ยังได้เรียนจนถึง ม.3 แต่สุดท้ายก็ต้องออก เพราะน้องก็เรียนตามกันขึ้นมาอีก 2 คน
“ด้วยความที่เราเป็นผู้ชายก็เลยทำงานก่อสร้าง อายุมันแค่ 16-17 ทำอะไรไม่ได้ ก็ไปทาสี ไปหิ้วปูนกับเขา 40-50 บาทต่อวัน ค่าแรงตอนนั้น ช่วงปี 2526-27 ทำอยู่ประมาณ 2-3 ปี ก็มีผู้รับเหมาจากกรุงเทพฯ เขาได้งานทาสีที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ แล้วคนไม่พอ เขาก็ขึ้นไปรับคนที่นครสวรรค์ ที่ตาคลี เราก็มากับเขา เพราะเราเป็นวัยรุ่น วัยแสวงหา ก็มาทาสีกับเขา ทาอยู่ประมาณ 3-4 เดือน งานหมดแล้ว เขามีงานต่อก็ยาวเลย
“ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดอะไร ก็ทำงานก่อสร้างมาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ.2533 อายุประมาณ 25-26 ปี มีแฟนแต่งงาน เราก็เริ่มคิดที่จะตั้งหลัก เพราะอาชีพกรรมกรไม่แน่ไม่นอน สวัสดิการก็ไม่มี อย่างที่รู้ๆ กัน ก็เลยออกหางานใหม่ ตอนนั้นไปเจอบริษัทญี่ปุ่นที่นิคมอุตสาหกรรมบางกระดี่ ปทุมธานี เปิดรับสมัครพนักงาน มีสวัสดิการ รถรับส่ง มีห้องพยาบาล มีโรงอาหารราคาย่อมเยาว์ มีโอทีค่าล่วงเวลา ไปสมัครก็ไม่นึกว่าจะได้ แต่ปรากกฎว่าได้ ตำแหน่งพนักงานฝ่ายผลิต ได้ค่าแรง 73 บาท ยังไม่มีประกันสังคม ประกันสังคมมามีตอนปี 35 พอเริ่มมีประกันสังคมก็ถูกหักไป แต่ก็ยังอยู่ เพราะคิดว่าชีวิตจะฝากไว้ที่นี่ เรามีวุฒิแค่ ม.3 ได้ทำงานกับบริษัทใหญ่ มีสวัสดิการ เจ็บป่วยเบิกได้ มีประกันสังคม เพื่อนถามก็เท่แล้ว”
ต่อมาอีกกว่า 10 ปี มีลูก มีบ้านหนึ่งหลัง มีรถเก๋งหนึ่งคัน จนกระทั่ง พ.ศ.2540 เกิดวิกฤติ “ต้มยำกุ้ง” พิษเศรษฐกิจเล่นงาน ทุกอย่างพังพาบ
“ปีแรกๆ พ.ศ.2540-2543 ยังไม่เท่าไหร่ คือเศรษฐกิจมันล้มก็จริง แต่เรายังก็ไม่ค่อยเกี่ยว จนปี พ.ศ.2544 เริ่มมีผลกระทบกันทั่วแล้ว เพราะคนรวยเขาล้ม ธนาคารล้ม ก็มาถึงเรา บริษัทที่เราอยู่ตอนนั้นก็ถูกฝรั่งเทคโอเวอร์ซื้อหุ้นไปบ้างส่วน จากเดิมโรงเดียวกันผลิต 3 อย่าง มีเครื่องซักผ้า มีแอร์ แล้วก็ตู้เย็น ก็แยก ไม่อย่างนั้นอยู่ไม่รอด เราก็อยู่ในส่วนของฝรั่ง ซึ่งเขามีนโยบายเลิกจ้างพนักงานที่เงินเดือนเยอะๆ คนที่อายุงานนานๆ เพราะว่าค่าจ้างสูง
“จากที่คิดว่าจะฝากชีวิตไว้กับบริษัท พอมันเป็นอย่างนั้นก็พยายามคิดว่าเป็นโอกาส เพราะมันไม่ได้เป็นแต่เรา มันเดือดร้อนกันทุกคน คือ 3-4 ปี ไม่มีโอทีล่วงเวลาเลย ค่าแรงเท่าไหร่ได้เท่านั้น แล้วไหนจะโดนหักประกันสังคม เงินฝากสะสม หักอะไรแทบไม่เหลือ อยู่กัน 2 คนด้วย ก็อาศัยแค่ว่ามันไม่ต้องเสียค่ารถ ค่ากินก็ไม่แพง กินอาหารในโรงอาหาร เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ก็ดี เราจะได้เงิน “ค่าจ้างออก” สักก้อนหนึ่ง 2-3 หมื่นบาท จะได้มาลงทุน จิตใจมันก็ต้องคิดว่าเป็นโอกาส ก็ต้องทำใจให้มันสู้ ไม่เป็นไร ไม่อยู่โรงงานนี้ก็คงไม่อดตาย
“ด้วยความที่เราฮึกเหิม ออกมาก็ค้าขาย เพราะไม่มีความรู้ คือคนที่ทำงานรุ่นราวคราวเดียวกัน เขาเรียนต่อระหว่างทำงานไปด้วย ก็มีโอกาสเติบโต อายุเยอะก็ไม่เป็นไร แต่เราไม่ได้เรียน ก็ยังจบ ม.3 เท่าเดิม ทีนี้อายุมันเกิน ออกมาก็ 30 กว่าแล้ว เขาก็ไม่รับ ระหว่างนั้น ด้วยความที่เรารักต้นไม้ ก็เลยไปขายต้นไม้ ขายต้นไม้มงคล ไปรับซื้อมาจากบางบัวทอง ซื้อเสร็จก็เปลี่ยนกระถาง ให้สวยงามหน่อย แล้วก็ใส่รถเก่าๆ วิ่งตระเวนขาย
“แต่ก็ไปไม่รอด...”
“เฮียนพ” เผยถึงช่วงเวลาชีวิตในตอนที่ยังไม่ประสีประสา เพราะด้วยความร้อนของรถที่อากาศไม่สามารถถ่ายเทได้ เวลาขนส่งจึงทำให้ต้นไม้เหี่ยวเฉา นั่นยังไม่นับรวมจำนวนการขนส่งน้อยนิดในแต่ละเที่ยวที่ยากจะกลายเป็นเงินที่มากพอ
“ขายได้ 4-5 เดือน ก็ไม่ไหว ต้นไม้มันร้อนระอุ เราไม่มีรถปิ๊กอัพกระบะ แล้วเวลาไปขนที่ไหนก็น้อย พอไปลงขายในตลาด ตามตึกที่มีพวกผู้ดีมีเงินก็ไม่สะดวก ก็ต้องเลิก หันไปขายเสื้อผ้าเด็กแทน แต่ก็ไม่ดี
“ตอนนั้นก็คิดอยู่ว่าจะทำอย่างไรดี ก็ไปเจอโฆษณาลุงขาวติดตามเสาไฟ ลุงขาวคือคนที่อุทิศตนเพื่อสังคม คล้ายๆ ครูที่เข้าไปสอนหนังสือนักเรียนในสลัม แต่ลุงขาวจะสอนอาชีพ สอนใต้ทางด่วน เป็นชมรมสร้างอาชีพฟรี สอนเรื่องการทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์ ทำน้ำยาล้างจาน สำหรับคนที่เร่ร่อนทั่วไป คือถ้าย้อนกลับไป 20 ปี จะดังมาก ลุงขาวนี่ถือว่าสร้างอาชีพให้คนเยอะ
“เราก็ไปเรียนทำน้ำยาล้างจาน เพราะตอนนั้นร้านหมูกะทะเปิดกันเยอะมาก เลยคิดว่าทำไปต้องขายได้แน่ๆ ก็ทำเป็นแกลลอนเพื่อเอาไปขาย แต่พอทำไปขาย ไม่มีคนซื้อ เพราะเขาไม่เชื่อเรา เราไม่มีแบรนด์ ไม่มียี่ห้อ เขาไม่สนใจเลยนะตอนที่เราไปแนะนำ ก็เปลี่ยนไปร้านอาหารตามสั่ง ก็ขายได้บ้าง แต่เขาซื้อขวดเล็กเท่านั้น เพราะเขาไม่รู้จะซื้อเป็นแกลลอนทำไม เงินมันจม ทั้งที่บอกว่ามันประหยัดอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ก็ไม่ซื้อกัน ก็ต้องเลิก หันไปขายไอติมกะทิสด ก็ไม่ทำให้ดีขึ้นมา”
3-4 อาชีพผ่านไป เงินทุนที่มีก้อนสุดท้ายก็ไม่เหลือ ในห้วงเวลาหน้าสิ่วหน้าขวาน ชะตาชีวิตดูจะริบหรี่สิ้นท่า ก็ยังนับว่ามีโชคอยู่บ้างที่ทำให้ไปเจอะเจอกับอาชีพรักษาความปลอดภัยให้พอต่อชีวิตวันต่อวัน
“ตอนนั้นก็บังเอิญไปเจอรองผู้กำกับจังหวัดปทุมธานี ซึ่งรู้จักกันตั้งนานแล้ว เขามีบริษัท รปภ. เราก็ไปสมัครเป็นยามกับเขา ในระหว่างนั้นไม่เคยมีเงินเหลือ เบิกทุกวัน ไม่เคยมีเงินเดือน เพราะเราไม่มีจะกิน
“ก็อยู่อย่างนั้นเกือบๆ 2 ปี แล้วมีอยู่วันหนึ่ง เราจะต้องควงกะ เราขับรถกลับไปบ้านตอนตี 4 เพื่อจะอาบน้ำ ไปถึงก็เจอโซ่คล้องประตูบ้าน เราก็เอ๊ะ...ใครมาทำอะไรบ้านเรา ก็เดินไปดูปรากฏว่ามีกระดาษติดให้ย้ายด่วน บ้านหลังนี้เขาซื้อแล้ว
“ใจหายเลย...คือเรารู้อยู่แล้วว่าบ้านถูกยึด เพราะระหว่างนั้นเงินไม่มีส่งเลย ธนาคารสงเคราะห์เขาก็ดีมาก ให้โอกาส 4-5 รอบ ไปทำสัญญา ให้เราอยู่ระหว่างที่เขายึด แต่ปัญหาคือเราไมรู่ว่าเขาเอาบ้านไปขายได้แล้ว ทีนี้ คนซื้อมาซื้อปุ๊บ ก็ถือเป็นเจ้าของเลย เราก็เข้าไม่ได้”
เจ้าของโรงงานหมูเสียบไม้บอกเล่าด้วยสีหน้าเคร่งเครียดอย่างเห็นได้ชัด เพราะชีวิตในตอนนั้นนับว่าย่ำแย่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ถ้าบวกกับจะต้องไม่มีที่อยู่อีก คงไม่ต้องมีคำอธิบายถึงความรู้สึกวินาทีนั้น
“เราก็รีบโทรไปหาเจ้าของบ้านคนใหม่เลยว่า ขอเข้าไปหน่อย พอดีมีของจำเป็น มีเสื้อผ้า สมบัติอื่นไม่มี เขาก็ไม่อยากจะมา ก็รอจนถึง 9 โมงเช้า เขาถึงยอมมา แต่เขาก็ไม่อนุญาตให้เราเข้าได้เลย ถ้าจะเข้าต้องเซ็นมิเตอร์น้ำ-ไฟให้เขา เขาจะได้ไม่ต้องขอ เราก็เตรียมจะเซ็นให้เขาเพื่อจะได้เอาของแล้วขนย้าย ก็เลยโทรไปหาพี่สาวให้ช่วยเอารถลงมาจากนครสวรรค์มาขนของให้หน่อย พี่สาวก็บอกว่าต้องใช้เงิน 2,000 บาท สำหรับรถที่จะมา เราก็เลยขอค่ามิเตอร์น้ำกับไฟ 2,000 บาทกับเจ้าของบ้าน เพราะเราจำไม่ได้ว่าตอนเราซื้อมิเตอร์กับน้ำไฟมันเท่าไหร่ แต่น่าจะมากกว่านั้น ปรากฏว่าเขาไม่ยอม เขาให้ 1500 บาท ก็เจราจาต่อรองทั้งฝ่ายเจ้าของบ้านแล้วก็พี่สาว ตกลงพี่สาวยอม ก็มาขนของ
“เสร็จเรื่องนั้น อีกเรื่องที่สำคัญคือเราไม่มีที่นอน ก็ต้องมาอาศัยนอนป้อมยาม หลังจากออกกะแล้วก็ไปนอน แต่ทีนี้บังเอิญวันนั้นมันซวย มันมีฝ่ายความปลอดภัยมาตรวจ ซึ่งปกติไม่ค่อยเข้ามากัน วันนั้นไม่รู้นึกอย่างไรเดินเข้าไป เห็นเรานอน เขาก็ด่าเราเสียๆ หายๆ เลย คือเราออกกะแล้วเข้าไปนอน เขาก็ฟ้องไปยังเจ้านาย เราก็ใจไม่ดี กลัวเขาจะไล่ออก ก็กราบขอโทษขอโพยเขา ผมไม่เจตนา ผมจะเข้าบ้านแล้วแฟนเอากุญแจไป ก็โกหกเขา เขาก็ยังโทรไปฟ้อง เจ้านายมาเราก็เลยบอกเจ้านายว่าบ้านเราโดนยึด กลับบ้านไม่ได้ เขาก็บอกว่าแต่เราไปนอนไม่ได้ ป้อมยามเขาไม่รู้หรอกว่าออกงานหรือยังไม่ออก มันเป็นป้อม ใครไปเจอก็เสียหมด
“แต่ก็โชคดีที่เขาแค่ตักเตือน ยังไม่ไล่ออก”
เจ้าของโรงงานหมูเสียบไม้เผยช่วงชีวิตในเวลานั้นที่เคราะห์ซ้ำกรรมซ้อน แม้แต่ที่ซุกหัวนอน ยังหายากเย็น
“ตอนนั้นก็ต้องย้ายเมียกับลูกไปอยู่สะพานใหม่ ใกล้ๆ โรงเรียนลูก ก็ไปเช่าบ้านอยู่ ภรรยาก็นั่งรถตู้จากสะพานใหม่ไปทำงานที่สีลม แล้วเราก็ต้องมาหาน้องสาวที่โรงพักปากเกร็ด น้องสาวเขาขายอาหารตามสั่ง ผมก็อาศัยนอนที่ร้านน้องสาว คืนแรกก็นั่งเก้าอี้หัวโล้นนอนแล้วทายากันยุงเอา วันต่อมาเราถึงนึกขึ้นได้สมัยที่ทำงานก่อสร้าง คนบ้านนอกชอบนอนเปลกัน เราก็วิ่งไปซื้อเปลเอามาแขวนนอน”
หมดเรื่องที่พักผ่อน ต่อมาก็คือเรื่องอาบน้ำ เจ้าของโรงงานหมูเสียบไม้เล่าว่า ต้องอาศัยอาบน้ำจากก๊อกน้ำห้องส้วมที่ป้อมยาม ใช้ขันรองให้เต็มแล้วค่อยๆ อาบ หรือไม่บางทีก็อาศัยความมืดยามค่ำคืนและเงาต้นไม้หลังเพิงหมาแหงนร้านขายอาหารของน้องสาวเพื่ออาบน้ำ
“เราเกรงใจน้องสาว เขามีแฟนเป็นตำรวจและลูกอีก 3 คน แล้วอยู่แฟลตตำรวจ พื้นที่ห้องมันก็เล็ก มันแน่น ก็รอจนปิดร้าน ตี 1-2 ค่อยอาบที่ร้าน
“ก็เป็นอยู่อย่างนั้นสักพักใหญ่ ก่อนจะไปเจอพรรคพวกกันที่เขาขับแท็กซี่ เขาบอกว่ารายได้ดี เพื่อนขับนี่ กินข้าวอยู่ก็ต้องรีบไป จอดปุ๊บคนขึ้นๆ เราก็ไปเช่ามาขับบ้าง (ยิ้ม) คือชีวิตเราไม่อยากอยู่อย่างนี้ไปตลอด จำได้เลยตอนนั้น ค่าเช่าแท็กซี่รุ่นไฮท็อค เก่าหน่อย แค่ 600 บาท จะขับตอนไหนก็ได้ เราออกกะจากยามแล้วก็ไปขับ บางวันก็ลา ไม่เข้า ให้เพื่อนเข้าแทน”
เช้าไปรอหน้าโรงงาน ตามป้ายรถเมล์ กลางวันไปรอตามห้าง เย็นๆ กลับไปเฝ้าที่ป้ายรถเมล์อีก เพราะคนกลับบ้าน ส่วนกลางคืนรอหน้าผับหน้าบาร์ หลังคนเลิกเที่ยว ตามสูตร ทว่าเหมือนโชคชะตาเล่นตลก ท้ายที่สุดก็ไม่รอดอีกเช่นเคย
“คือมันเหมือนช่วงดวงเราตก ทำอะไรไม่ขึ้น บอกตรงๆ ถ้าใครไม่เคยเจอจะไม่รู้ ตกจนไม่รู้จะตกอย่างไร เล่าให้ใครฟังเขาก็ไม่อยากเชื่อ เวลาทำมาหากินไม่ขึ้น มันไม่ขึ้นจริงๆ เพื่อนขับได้ แต่เราไม่ได้เลย ไม่มีคนขึ้น เพื่อนก็แนะอีกว่ารถคงจะเก่า ให้ไปวิ่งกลางคืนอย่างเดียว เขาจะได้ไม่เห็น เราก็เข้าเวรกลางวัน ส่วนกลางคืนขับแท็กซี่ ผลสุดท้ายก็ไม่รอด มันไม่มีคนขึ้นอยู่ดี เราก็เริ่มเป็นหนี้ ก็ต้องเลิก
“ก็กลับไปเป็นยามอย่างเดียวเหมือนเดิม เบิกเงินแทบทุกวันประทังชีวิต ก็บังเอิญโชคดี น้องคนรู้จักเขาเป็นหัวหน้าวิวอยู่ตรงโรงพักปากเกร็ด เขามีเสื้อวินเหลือ เขาเห็นเราแย่ เขาก็สงสาร ให้เสื้อวินเรามาฟรีๆ หนึ่งตัว ปกติต้องเสียเงินซื้อ 2,000 บาท ทีแรกก็ไม่กล้าขับ เพราะหนึ่งเลย เราอาย สองคือเราอายุ 30 กว่าแล้ว ก็กลัวจะขับเอาลูกเต้าเขาไปล้ม หูตาก็ไม่ดี ก็เก็บเสื้อไว้ตั้งนาน จนชีวิตมันไม่ไหวแล้ว มันแย่ ออกกะจากยามวันนั้นก็เลยตัดสินใจใส่เสื้อวินนั่งอยู่ที่คิว เชื่อไหมว่าแป๊บเดียว มีคนเรียกให้ไปส่งลูกเขาที่เมืองทองธานี ได้ค่าโดยสาร 40 บาท ขากกลับมาเจอคนระหว่างทางเรียกไปวัดสลักได้อีก 20 บาท กำลังจะกลับ เรียกไปส่งที่ปากเกร็ดอีก 40 บาท กว่าจะกลับถึงวินได้ 100 บาท กำเงินแน่นเลย
“คราวนี้เราก็ไม่ถอดเสื้อเลย จากที่อายก็ใส่ยัน 5-6 ทุ่ม เพราะพอคนในวินตอนเย็นส่งนักเรียนเสร็จ เขาก็เลิกวิ่งกันแล้ว ก็เหลือแต่เรา ทีนี้ คนที่มาติดต่อโรงพักก็เสร็จเราหมด รายได้เฉลี่ยตอนนั้นตกแล้ววันละ 200-300 ต่อคืน ก็เอาสตางค์ที่เป็นแบงค์ย่อยที่เป็นเหรียญไปแลก แล้วก็ไปฝากตู้ฝากธนาคารส่งให้ลูก
“ถามว่าท้อไหมกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา ทำไมจะไม่ท้อ เคยสิ้นหวังไหม ทำไม่จะไม่เคย บางทีขับวินมอเตอร์ไซค์ไปจอดส่งเด็ก เราเห็นคนเดินมา รุ่นราวคราวเดียวกันกับเรา มี 3 ดาวบนบ่า เป็นพันเอกพันโท บางคนใส่สูทผูกเนคไทเป็นผู้จัดการ ทำไมเรายังขับวินมอเตอร์ไซค์อยู่ แต่ว่าเราจะเป็นคนคิดเรื่องพวกนี้เพียงแป๊บเดียว พอมองเห็นปุ๊บ จะคิดว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวก็ดีขึ้น หันหัวกลับ คือไม่ยึดติดกับมันนานๆ ไม่คิดเรื่องพวกนี้นานๆ คิดแต่ว่าเราต้องดีขึ้น”
คล้ายคนจะรวย อะไรๆ ก็ช่วยอำนวยให้
ยิ้มได้สักทีนะชีวิต!
“ก็ขับวินมอเตอร์ไซค์มาเรื่อยๆ รายได้ก็พอมี ทีนี้ แม่บ้านที่ปากเกร็ดเขาชื่อคุณ "ฮั้ว อักษร" ที่เขียนที่ป้าย สูตรคุณฮั้ว...ชุบชีวิต เขาเป็นหัวหน้าแม่บ้าน เป็นภรรยาตำรวจ เขาพอมีเวลาว่างและทำหมูปิ้งขาย แต่เขาก็ไม่ได้ทำเยอะ เขาก็ทำขายที่โรงพัก แล้วก็มีส่งบ้าง เขาก็เดินมาจ้างเราให้ไปส่งหมูให้เขา วันแรกไปส่งการบินไทย ได้ 40-50 บาท อ้าว เดี๋ยวไปตลาดบองมาร์เช่ที่ประชาชื่น เราก็ไป ไป อตก.เราก็ไป”
เฮียนพว่าพรางเว้นวรรค ก่อนจะกล่าวด้วยรอยยิ้มให้กับชะตาดีๆ ที่ยังพอมีอยู่บ้าง โดยไม่รู้ว่าต่อจากนี้ไป อาชีพวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างภายใต้หมายเลย 10 จะเป็นสารถีกรุยทางให้ได้มารู้จักกับ “หมูปิ้ง” ที่ชุบชีวิต
“ผลสุดท้าย น้องคนเล็กที่ได้แฟนเป็นตำรวจเหมือนกัน สามีเขาเสียชีวิต น้องก็เลยประกอบอาชีพเย็บเสื้อโหลส่ง ทีนี้ก็ไม่มีคนไปรับผ้าให้ เย็บเสร็จก็ไม่มีคนไปส่ง เขาก็เลยไปหาคุณฮั้ว คุณฮั้วเขาก็สอนสูตรให้น้องทำหมูปิ้ง ก็ไปทำ ซื้อ หมัก ทำขายที่ โรงเรียนปากเกร็ด แต่ทำได้ 3-4 เดือน ซื้อหมู หั่นหมู หมักหมู เสียบหมู ขายหมู ทำเองทุกขั้นตอน ก็ไม่ไหว จึงไปพาพี่สาวมาช่วย เราก็ขับวินมอเตอร์ไซค์และควบเป็นยามอยู่ตอนนั้น ยังไม่ได้คิดอะไร เขาก็มาชวนให้เราทำหมูปิ้ง บอกว่าขายดีเหมือนกัน วันละ 200-300 ไม้ ก็ได้เป็นพันบาท
“เราก็อยากจะได้เงินเพิ่มขึ้นมา ก็เลยถามน้องว่าใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ เขาก็บอกว่าประมาณ 500-600 บาท เพราะหมูกิโลกรัมละ 80 บาทเองตอนนั้น ทำสัก 5 กิโลกรัมก็พอ ก็ตัดสินใจลองทำ ที่เรากล้าเพราะว่าเรามีคนขายให้ เราขายเองทำไม่ได้หรอก ก็ทำในส่วนผลิต ไปซื้อตอน 5 ทุ่ม กลับมาหมักหมูเที่ยงคืน แล้วก็มาคลุก มาหมัก เสร็จก็ตี 2 ตี 3 แล้วก็นอนเปล เช้ามาก็เสียบหมู ส่งให้น้องสาว ขายได้วันละ 200-300 ไม้”
และแม้ไม่คิดว่าจะได้กำไรมาก เนื่องด้วยราคาหมูปิ้งในช่วงนั้นอยู่ที่ไม้ละ 5 บาท ทั้งไหนจะขั้นตอนกระบวนการทำตั้งแต่ซื้อ หมัก เสียบ รวมไปถึงวัตถุดิบเครื่องปรุง กำไรจะไปอยู่กับคนปิ้งขายหน้าร้าน แต่เพื่ออนาคตก็สู้ทำเพิ่มรายได้
“เพราะมันไม่ได้มีความหวังอะไรในชีวิตเรา คิดอย่างเดียวทำอย่างไรให้มีเงินให้ลูกได้ไปโรงเรียนทุกวัน โดยที่แม่เขาไม่ต้องโทรมาฝากบอกถึงเรา เพราะแทบจะไม่ได้กลับไปหาเลย โทรศัพท์ก็ไม่มี บางทีจะไปหา จะซื้อโทรศัพท์ให้ลูกสักเครื่องเล็กๆ เมื่อก่อน ยี่ห้อซีเมนต์ เครื่องละ 300 บาทก็ไม่มีปัญญาซื้อ เวลาจะติดต่อ ต้องโทรไปร้านข้าวข้างๆ ให้เขาไปเรียกลูกมาให้ เพราะลูกเขากับลูกเราเรียนปีเดียวกัน ห้องเดียวกัน
“ตอนนั้นก็นอกจากทำหมูปิ้งส่งให้น้องขาย ก็ส่งป้าอีกคน ซึ่งตอนแรกแกขายไอติมโบราณอยู่ที่หน้าโรงเรียนนวมินทราชินูทิศหอวัง นนทบุรี แล้วแกรู้ว่าเราขายหมูได้ แกก็รับไปขายบ้าง”
“นั่นแหละจึงเป็นจุดพลิกผันที่ทำให้มองเห็นลู่ทาง”
เฮียนพโพล่งขึ้นด้วยน้ำเสียงชื่นใจ ราวกับต้นไม้ที่ขาดน้ำจนดินแตกระแหงแล้วจู่ๆ ก็มีฝนโปรยปรายให้ชุ่มฉ่ำ
“คือมีผู้ปกครองท่านหนึ่ง เขามาส่งรับลูกหลานที่โรงเรียนแล้วเขามากินหมูปิ้งร้านป้าคนนี้ เขาบอกว่าอร่อย เลยถามป้าว่าใครทำ จะเอาไปขายบ้าง เพราะเขาขายของอยู่กลางซอยวัดเชิงหวาย เป็นร้านอาหารชื่อ 'ร้านอิ่มจัง' ป้าแกก็ชี้มาทางเราที่นอนเปลอยู่ระหว่างรอคนขึ้นวิน ก็คุยกัน เขาสั่งให้ไปส่งที่วัดเชิงหวาย ทีแรกเราเห็นว่าไกล อยู่ตั้งเตาปูน เขาก็ว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวจะสั่งไปเยอะๆ เก็บเอาไว้ เพราะมีตู้แช่”
“จากเดิมที่ทำเพียงแค่ไม่เกิน 500 ไม้ เขาก็สั่งเราเลย 10 กล่อง 1,000 ไม้ เราก็ตกใจ วันนั้นทำแทบไม่ทัน กว่าจะเสร็จ ช่วยกันทำจนตี 2 ไปส่งเขาตอนตี 4 ได้เงินมา 4,000 บาท ส่งไม้ละ 4 บาท นั่นเป็นจุดเริ่มต้นเลย กำเงินแน่นยิ่งกว่าเมื่อครั้งขับวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างได้เงินครั้งแรกอีกเพราะไม่เคยมีเงินถึงหลักพันมาเป็นสิบปีแล้ว ได้มาใช้ไป หมดตลอด แต่ก็ยังไม่ดีใจเท่าไหร่ เพราะคิดว่าเขาสั่งทีหนึ่ง คงจะหายไปอีกหลายวัน
“ปรากฏว่าวันรุ่งขึ้น ช่วงบ่ายๆ เจ้าเดิมเขาก็โทรมาอีก บอกให้มาส่ง 10 กล่อง"
เฮียนพเล่าว่าวินาทีนั้นทั้งประหลาดใจและทั้งนึกสงสัย ว่าทำไมหมู 1,000 ไม้ จึงหมดเร็ว ก็คิดว่าคงจะเอาไปแจกเลี้ยงโรงทาน
“ตอนแรกคิดว่าเขาไปแจก แต่ไม่ใช่ เขาเอาไปขายเด็กนักเรียน เพราะละแวกในซอยวัดเชิงหวายมีโรงเรียนเป็นโรงเรียนใหญ่ นักเรียนตั้ง 5-6 พันคน เขาขายกับข้าวอยู่แล้ว และมีหน้าร้าน ปรากฏว่าขายนักเรียนหมดไป 700-800 ไม้ แล้วเหลือ 200 เขากลัวไม่พอก็สั่งเราเพิ่ม พอไปส่งเสร็จ ก็กลายเป็นว่าวันรุ่งขึ้นก็ขายดีมาก ก็สั่งอีกวันละ 1,000 ทุกวัน
“เราขับไปส่งทุกวัน ใจเราก็ฮึกเหิมอีกแล้ว (ยิ้ม) น้องเราก็ขายได้ และมีคนรับไปอีกต่อหนึ่งอีก ยอดขายในส่วนของน้องก็เริ่มดีขึ้น ยอดตรงนี้ก็ดีขึ้น ก็มีเงินวันละ 4,000 บาท ทีนี้เราก็คิดว่าจะทำไงดี ถ้ามีอีกสัก 3-4 เจ้า เราต้องมีเงินแน่ จิตใจเราคิดอย่างเดียวจะต้องดิ้นหนีไอ้ปัญหาต่างๆ ความลำบากต่างๆ ดิ้นให้เร็วที่สุด เพราะตอนนั้นที่บ้านโดนยึดไป เอาไปขายทอดตลาด เราก็ยังเป็นหนี้อีก 2 แสนกว่าบาท ไม่ได้จ่าย ก็ไปตามยึดที่เราที่นครสวรรค์ แม่ก็ร้องไห้เป็นลม เพราะเป็นเหมือนมรดกสมบัติชิ้นสุดท้ายของพ่อ เป็นชื่อของเรา 4 พี่น้อง ที่ดินโฉนดเดียวก็ต้องยึดทั้งโฉนดแล้วเอาไปขาย จากนั้นค่อยเอาเงินส่วนของเรามาใช้หนี้ ส่วนที่เหลือก็แบ่งพี่น้องทั้ง 3 คน”
ใจก็ได้แต่ไหว้พระสวดมนต์ ภาวนาขอให้เขาอย่าเพิ่งขายที่ทางที่ต่างจังหวัดได้ ส่วนอีกทางก็เร่งเดินหน้าทำกานขยายตลาดแบบไม่อาย เจอะเจอใครที่ค้าขายในทางเดียวกัน ก็ชักชวนให้ร่วมธุรกิจ
“คือพอเรากลับจากเตาปูน มันจะมีตลาดแถวนั้น เราก็จอดมอเตอร์ไซค์ เอาหมูที่ติดไป ไปหาพ่อค้าแม่ค้าที่เขาปิ้งลูกชิ้น ไส้กรอก พี่เอาหมูผมขายไหม เขาก็ไม่สนใจ แต่ปากก็พูดไปเรื่อย หมูผมไม่ต้องใช้น้ำจิ้มนะ ไม่ต้องให้ผักนะ ไส้กรอกลูกหนึ่งต้องให้ขิง ให้ผัก ให้พริก ของเราไม่ต้องเลย ไม่ต้องลงทุนเยอะ แล้วก็ขายข้าวเหนียวได้ด้วยนะ ข้าวเหนียวนี่กิโลกรัมหนึ่งไปแช่แล้วเอามาหุงได้เพิ่มเป็นกิโลกรัมครึ่ง เอามาใส่ห่อได้ 15 ห่อ ห่อละขีด ขายได้ 75 บาท แต่ว่าต้นทุน 30 บาท บางคนเขาก็เชื่อ แม่ค้าเขาก็ฟังเราพูด หลายเจ้าเขาก็สั่ง หรือแม้แต่เจอคนตามใต้สะพานลอยที่เขาขายของ ป้ายรถเมล์ ใครขายตรงไหนจอดหมด ไปดอนเมืองเจอคนวิ่งก็เอาไปฝาก
“ทีนี้ บางคนพอเขาลองขาย แล้วได้กำไร เขาเชื่อที่เราบอก ก็เริ่มบอกต่อพี่ๆ น้องๆ ต่อๆ กันไป จากที่เคยสั่ง 50 ไม้ ก็เริ่มเป็น 100 ไม้ ที่เตาปูนก็ได้ลูกค้าเพิ่มมา 4-5 เจ้า วิ่งไปดอนเมืองก็เริ่มมีคนโทรมาสั่ง เราก็นึกใจ ทำไงดี ที่จะทำให้คนรู้จัก ก็เห็นร้านอาหาร “เขาสวนกวาง” เขาทำโปรโมทร้านค้า เราก็ไปจ้างเขาทำในตลาดที่ดอนเมือง ทำเป็นสติ๊กเกอร์แผ่นละ 6 บาท เราก็ไปขอติดแท็กซี่ของพรรคพวกที่ขับอยู่ แล้วก็สองแถวที่หน้าคิวมอเตอร์ไซค์ ขับไปตรงไหน ไม่เจอใครก็ติดตู้โทรศัพท์”
ใช้ชื่อว่า “หมูปิ้งปากเกร็ด” และเมื่อเป็นที่รู้จักพอสมควร ก็ริเริ่มวางแบรนด์ตัวเอง สร้างป้าย และมีเคาน์เตอร์
“ตอนนั้นมีเงินขึ้นมาหลักหมื่น จิตใจก็ฮึกเหิมอีกแล้ว (ยิ้ม) เราก็เริ่มมีหัว ก็เลยทำเคาน์เตอร์ไปให้น้าลง เอาหมูไปลงที่นั้น แต่ป้ายก็มีบางคนเอาไปใช้ บางคนก็ไม่เอาไปใช้ แต่คนก็เริ่มรู้จักเพิ่มมากขึ้น ซื้อต่อๆ กัน ทีนี้คนงานก็เพิ่ม เราก็ชักชวนคนแถวๆ นั้น มาช่วยเสียบไม้”
ตรงกับช่วงราวปี พ.ศ.2554 ชาวกรุงเทพฯ คงรู้กันดีว่าเกิดอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ ซึ่งทำให้เศรษฐกิจทรุดตัวลงเป็นอย่างมาก ไม่เว้นกระทั่งในวงการปิ้งหมู หลายต่อหลายเจ้าหนีน้ำ ยุติกิจการชั่วคราว แต่ทว่าเขากลับลองวัดดวง และสิ่งที่ใครๆ ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น
“ก็เราคิดอย่างเดียวว่าจะปลดหนี้ให้ได้ อยากจะดิ้นหนีความลำบาก มีเงินไปไถ่ที่ คิดแค่นี้ แม่ก็ถามว่าไม่กลัวหรือ ก็บอกไปว่าถ้ามันจะหมดก็ขอให้หมดอีกสักครั้ง เพราะปกติก็ไม่มีกันอยู่แล้ว ก็ไม่สนใจ ตั้งใจทำอย่างเดียว
“ปากเกร็ด น้ำก็จะท่วมแหล่ไม่ท่วมแหล่ แต่ได้อานิสงส์เมืองทอง ส่วนตรงอื่นท่ามไปหมดแล้ว ขณะที่ดอนเมืองยิงขู่กันทุกวันไม่ให้ทำลายคันดินกันน้ำที่ทำขึ้น ตรงโรงงานนี้ที่ทำอยู่ก็ไม่เหลือ เจ้าอื่นๆ เขาก็หยุดกัน เจ๊ๆ ที่ขายละแวกเราก็หยุด ลูกค้าก็เลยมาหาเรา ก็นับว่าโชคดี ตอนแรกเราก็นึกว่าจะทำไม่ทัน แต่บทมันจะโชคดีก็โชคดี ลูกจ้างของเจ้าอื่นๆ ก็ตกงาน เพราะเป็นงานเหมา เขาหยุดก็ไม่มีรายได้ ก็มาหาเรา กลายเป็นเราป๊อปขึ้นมาเลย
“ตอนนั้นลูกน้อง 40-50 คนเลย นั่งทำ น้ำขึ้นมาถึงหน้าแข้ง หูก็ฟังวิทยุประกาศทุกวัน เก็บข้าวของขึ้นที่สูงด้วย (หัวเราะ) แล้วส่งหมูเสร็จที ก็วิ่งไปดูน้ำที่แม่น้ำเจ้าพระยาที ว่ามาถึงไหนแล้ว”
เจ้าของโรงงานหมูเสียบไม้ยกมือท่วมหัว เพราะบทจะดี อะไรๆ มันก็ดีไปหมด ซึ่งยอดขายในคราวที่น้ำลด แทนที่จะลดไปตามน้ำ ทว่ากลับเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ และทำให้ใครต่อใครต่างเรียกขานเขาว่า “เฮีย” นับแต่นั้นมา
“เราก็เริ่มกลายเป็นเฮียขึ้นมา (หัวเราะ) ไม่ใช่เพราะว่ามีเชื้อสายจีนหรือรวยแล้วนะ แต่ตอนนั้น คนที่ขายหมูมีแต่เจ๊ๆ เราเป็นผู้ชายคนเดียว เขาก็เลยเรียกเฮียๆ เรื่อยมา”
เฮียนพกล่าวแซมยิ้ม ก่อนจะเล่าต่อถึงการขายที่ไม่หยุดหย่อนในช่วงนั้น
“ขายดีจนนมสดขาดตลาด ต้องไปดักซื้อที่บางบัวทอง ซื้อได้ไม่ถึงเดือน น้ำท่วมบางบัวทองอีก อีกแห่งก็โดน หาไม่ได้ ก็อาศัยสั่งลูกค้าไกลๆ แล้วนัดเจอกันบนทางด่วนบ้าง ตรงจุดสูงๆ ที่น้ำท่วมไปถึงบ้าง รถเก๋งเราเก่าๆ วิ่งไปจมไปครึ่งคัน แต่ก็วิ่ง
“ทีนี้ พอหนักๆ เข้า ตลาด 4 มุมเมืองก็จม ตลาดไทยจมหมด ใครก็อยากขายหมูให้เรา เราก็ได้หมูราคาถูก แถมได้ลูกค้าเพิ่ม คนงานมีเพิ่ม เพราะมีเราเจ้าเดียว ก็ขายดิบขายดี ไม่มีเวลานับ ไม่มีเวลาสนใจว่าได้เงินเท่าไหร่ จ่ายค่าหมู ค่าแรง ค่าของ ทุกอย่าง ทำเงินสดหมด ที่เหลือฝากตู้ๆ
“เชื่อไหมว่าแค่ช่วงเวลาประมาณ 3 เดือน พอน้ำลง จะไปเบิกเงินในบัญชีเพราะต้องการเงินไปไถ่ที่ และดูว่าเหลือเท่าไหร่ก็จะไปซื้อรถกระบะเอาไว้ใช้ขนส่ง จาก 3 ธนาคาร ตอนนั้นตกใจเลย เงินในบัญชีมีทั้งหมด 3 ล้านกว่าบาท"
กำเนิดโรงงานหมูปิ้งแห่งแรก
ในประวัติศาสตร์ชาติไทย
หลังจากครำเคี่ยวชีวิตล้มลุกหลายสิบปี ถึงตรงนี้นับเป็นความสำเร็จ จิตใจก็ยิ่งมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว มองภาพอนาคตถึงการสร้างโรงงานหมูปิ้ง ซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน
“คือเวลาเราเข้าร้านสะดวกซื้อ เราเห็นสินค้าอื่นๆ เขา เราก็อยากจะเห็นสินค้าเราบ้าง เพราะว่าของเราก็ขายได้ ถ้าเกิดเราทำได้มาตรฐานทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะเข้าไปวางในร้านสะดวกซื้อได้ เรามองอย่างนั้น แล้วก็ประจวบเหมะกับหลังน้ำลด ทางโรงพักเขาต้องการจะปรับปรุงวิสัยทัศน์ ที่ที่เราอยู่ตรงนั้นก็ต้องย้ายออก เราก็ไม่ว่าอะไร เพราะก็ถือเป็นบุญคุณอย่างล้นหลามแล้วที่เขาให้เราทำมาหากิน 3-4 ปี ก็ย้าย/ไปเช่าโรงงานร้างที่เขาเลิกกิจการแถวย่านติวานนท์
“ยอดขายก็ดีไม่มีตก และในระหว่างนั้นก็มีลูกค้าที่ซื้อขายกับเรามานาน แต่แรกๆ เขาสั่งทีละน้อยๆ ก่อน เหมือนลองตลาด จนเขาเห็นมันเป็นอะไรที่ว่ามันน่าจะไปได้ดี ก็เริ่มมาคุยกับเรา ถ้าสั่งวันละเท่านี้ราคาเท่าไหร่ ถ้าสั่งเท่านี้วันละเท่าไหร่ เอาราคามาต่อรองกัน เขาก็เข้ามาติดต่อออเดอร์ใหญ่วันละ 3-4 หมื่นไม้ เพราะเขาเห็นว่าเราส่งเองโดยตรงไม่ได้หรอก เพราะไม่มีทุน วันหนึ่ง 3-4 หมื่นไม้ เดือนเป็น 10 ล้าน เขาก็อาสามาเป็นคล้ายๆ ตัวประสาน เป็นคนรับส่ง
“ผมบอก ผมมั่นใจว่าทำให้ทัน แต่เอาเงินสดมาซื้อผม แล้วไปรับเครดิตเอา บวกราคาเพิ่มเอาเองแล้วกัน คือสมมุติว่าสามหมื่นไม้ บวกเพิ่มไม้ละ 50 สตางค์ วันหนึ่งก็ได้แล้ว 15,000 บาท ได้เท่าไหร่ก็แล้วแต่ เขาก็ไปนั่งคำนวณ กำไรมันเห็นๆ แค่ผ่านมือ แต่ว่าต้องเอาเงินสดมาให้เราเท่านั้นเอง แต่ตอนนั้นปัญหาเดียวก็คือเขากลัวว่าเราเลิกทำกลางคันจะทำอย่างไร เพราะเซ็นสัญญาซื้อขายกันเอาไว้ เราก็บอกว่าจะทำให้ดีที่สุด เอาเกียรติยศเป็นเดิมพัน คนไม่เคยรู้จักกัน ก็ไม่นึกว่าเขาจะเชื่อ แต่เราเป็นคนมีสัจจะ คำไหนคำนั้น ก็ทำมาตั้งแต่ตอนนั้น แล้วคนนี้ดีมาก เขาก็บอกว่าถ้าอยากจะเจริญก้าวหน้าต้องทำโรงงาน ทำให้ได้มาตรฐาน มี อย.รับรองด้วยยิ่งดีเลย เขาสอนเราหมด ก็ทำให้เราเริ่มมีฝัน
“แต่จะบอกกล่าวเหตุและผลกับใครในตอนนั้นก็ต้องถูกมองว่าบ้า เพราะในความคิดความอ่านของคนทั่วไป การประกอบอาชีพหมูปิ้ง ไม่ใช่เรื่องใหญ่ถึงขนาดต้องก่อโรงตั้งศาล เป็น “โรงงาน” อะไรใหญ่โต
“ทุกคนบอกว่าบ้าหมด ทุกคนที่ทำหมูด้วยกันบอกว่าบ้าหมด บ้าไปแล้ว หมูปิ้งก็เสียบตรงไหนก็ได้ มันไม่จำเป็นต้องมี อย. เพราะไม่ได้มีข้อกฎหมายกำหนด แล้วเราจะทำขายใครนักหนา เป็นแสนๆ ไม้ ก็ไม่มีใครเชื่อ
“ครอบครัวตอนนั้นก็ช็อก เพราะว่าลูกยังเรียนไม่จบเลย ภาระมากขึ้น ความคาดหวังมากขึ้น แม่ก็เหมือนกัน ว่าเลยว่าบ้าหรือไง ไปทำโรงงานหมูปิ้ง เพราะเสียบตามใต้ถุนบ้าน เขาทำกันเยอะแยะ แล้วถ้าหมดเงินจะทำอย่างไร มันจะไปได้สักแค่ไหน คือแม่ท่านคิดว่า ที่ได้มา เพราะมันได้ช่วงน้ำท่วม มันได้ช่วงโอกาส เหมือนฟลุ๊ค แล้วถ้าเกิดมันไปไม่รอดจะทำอย่างไร แต่เราคิดว่าไปรอด เพราะตั้งแต่ทำมา มันไม่เคยติดขัดอะไรเลยสักอย่าง มันก็ทำให้ใจเราฮึกเหิม ทีนี้ก็ต้องหาที่ใหม่เพื่อสร้างโรงงาน ก็ตระเวนขับรถดูสถานที่”
ขับดูอยู่หลายที่จนเจอแปลงที่ถูกใจ ทว่าว่าราคาที่สูงลิ่วกว่า 5 ล้านกว่าบาท เทียบเท่ากับเงินที่มี ถ้าซื้อที่ เงินลุงทุนในการทำกิจการต่อก็หมดสิ้น แต่บทคนเราจะโชคดี อะไรก็ฉุดไม่อยู่
“ก็อีกนั่นแหละ...บทมันจะโชคดีก็โชคดี โชคดีตั้งแต่มาเจอที่แปลงนี้แล้ว คือเราเป็นคนชอบให้ข้าวหมา ทำอย่างนี้มาตั้งแต่ตกงานแล้ว เพราะทำแล้วได้ความสบายใจ มันเป็นความสุขของเราที่ได้ให้ ได้เห็นเขาอิ่ม ไม่ต้องให้เขาไปคุ้ยขยะ กว่าจะได้มื้อหนึ่งกว่าจะอิ่ม แต่เราไปให้แค่กำมือเดียวอิ่มเลย เราก็มีความสุขของเรา
“จริงๆ แต่เดิมไม่ได้คลุกข้าว ที่ร้านน้องสาวเวลาข้าวเหลือ ก็เอาไปให้หมาตามข้างทาง บางทีวันไหนไม่มีก็คลุกข้าวให้มัน ทำจนถึงวันนี้ กลางคืนเที่ยงคืนตีหนึ่งขับรถไปให้ข้าวหมา เราก็ทำอย่างนี้ ผลสุดท้ายก็มาเจอที่แปลงนี้ตอนที่ขับรถเอาข้าวไปให้หมาในคืนหนึ่ง
“ก็ติดต่อคุยกันเสร็จ เจ้าของเอา 5 ล้าน 5 แสนบาท เขาไม่แบ่งขาย เจ้าของเขาแก่แล้ว ต้องซื้อหมดทีเดียว เราก็มีเงินแค่ 5 ล้าน ถ้าซื้อคือตอนนั้นสิ้นเนื้อประดาตัว เพราะยังกู้ก็ไม่ได้ ติดเครดิตอยู่ เราก็ต้องไปเซ็นค่าเนื้อหมูเขา ขอติด 2-3 เจ้า ได้เงินมา 5 แสน รวมแล้วไปซื้อ
“ซื้อมาได้ก็ไปขอแบบโรงงานจากโรงงานลูกชิ้นสุดซอย คนเขียนแบบเขาซื้อมา 6 หมื่นบาท ก็ไปยื่นเทศบาลปากเกร็ดว่าจะสร้างโรงงานหมูปิ้ง ไปตอนแรกเขาก็ขำและก็บอกเหมือนกับทุกคน จดทะเบียนบริษัทยุ่งยาก เสียภาษีอีกอะไรอีก เราก็บอกว่าไม่เป็นไร เราอยากทำ เขาก็ทนเราไม่ไหว ก็อนุญาตให้ก่อสร้าง ก็ต้องตั้งชื่อ ก็ช่วยกันคิด ผลสุดท้ายไปลงตัวที่คำว่า โรงงานเนื้อหมูเสียบไม้ ก็ได้ อ.1 ใบอนุญาตให้ก่อสร้างโรงงาน
“ทีนี้ทุนไม่มีก่อสร้าง ก็ติดต่อไปคุยกับผู้รับเหมาบอกว่าไม่มีสตางค์ แต่ว่าถ้ามีเงินเมื่อไหร่เริ่มลงมือได้เลย ถ้าไม่มีเงิน คุณจะหยุดแล้วไปทำงานข้างนอกก็ได้ พักที่นี่ได้ ใช้น้ำใช้ไฟที่นี้ได้เลย พอมีเงินค่อยกลับมาทำใหม่ ไม่ต้องทำสัญญากัน จะได้ไม่ต้องโดนปรับ วัดใจกัน ผลสุดท้ายเราก็โชคดี คือเราเจอแต่คนดี ไม่มีงานก็ไม่บ่นสักคำ พอมีเงินก็ทำที (ยิ้ม) ก็ค่อยทำมาจนจบปลายปี 2557 ใช้ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน จากนั้นก็ยื่นขอ อย.”
ก่อเกิดเป็นโรงงานหมูปิ้งอย่งาเต็มรูปแบบแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ยอดสั่งส่งขายทั่วภูมิภาคทั่วประเทศ สัปดาห์ละกว่าเกือบหนึ่งล้านไม้ ปัจจุบันเพิ่งเริ่มเปิดตัวไก่ปิ้งเสียบไม้ออกมาจำหน่ายอีกทางเลือก
“คือเรื่องของเรื่อง มีคนที่อยู่ต่างประเทศอย่างบังกะลาเทศ เขาเคยติดต่อขอให้เราทำ เพราะเขาเป็นมุสลิม มีคนไทยไปอยู่ที่นั่น เราก็เลยเริ่มทำ จริงๆ หลักการก็ไม่มีอะไร อย่างบางคนก็ถามเราเอาวิธีการคิดหลักการตลาดมาจากไหน บอกเลยไม่เคยอาย สูตรก็ไม่ใช่ของผม เพราะไม่ใช่ของเรา เราก็บอกเขาไปตามนี้ ใครก็เอาไปทำได้ แล้วถ้าคุณประสบความสำเร็จ เราก็ดีใจด้วย เราจึงเป็นเจ้าเดียวที่ไม่จดลิขสิทธิ์ ทุกคนรับของเราแล้วเอาไปสร้างแบรนด์กันเองได้
“หรือใครจะเอาป้ายผมไปติดก็ได้ ไม่ติดก็ได้ เพราะป้ายผมเป็นเพียงแค่แรงบันดาลใจให้กับเขา”
เฮียนพกล่าวถึงสิ่งที่ศรัทธายึดมั่น ตามสโลแกนแบรนด์โรงงานที่ว่า “เราผูกผันต่อความพอใจสูงสุดของลูกค้า”
“บางคนถามว่าถ้าอย่างนี้ก็มีคู่แข่ง เราก็ไม่กลัวหรือ ถ้ากลัวคู่แข่ง ผมถามว่าที่ทำกันอยู่ 20-30 เจ้า ถ้าเขาเลิกทำ ถ้าเหลือผมคนเดียวผมจะมีปัญญาทำทันไหม ไม่มีปัญญาทำทัน อย่างนี้ดีแล้ว ไม่เหนื่อยมาก แบ่งกันไป ทุกคนยังอยู่ก็แบ่งกันไป ความสุขก็มี คนขายก็ได้ขายกันทุกคน ไม่ใช่ว่ามีของบ้างไม่มีของบ้าง ก็ขาดทุนกันหมด ผมคิดของผมอย่างนี้ ไม่ได้คิดการยิ่งใหญ่ขนาดนั้น เอาแค่ว่าสร้างงานให้คนอื่นได้ คนที่ซื้อเราไปขายมีความสุข มีโอกาสได้ซื้อบ้าน รถ ได้เอาเงินไปทำบุญ ไปทำโครงการ เราเองได้เลี้ยงผู้คน แค่นี้ก็มีความสุขแล้ว
“แต่เราก็ไม่ได้ภาคภูมิใจในตัวเลขยอดขายนะ เพราะว่าสิ่งที่เราทำ เราเอาชีวิตเขามาต่อชีวิตเรา มันจะไปทำให้เราภาคภูมิใจได้ไง แม้จะเป็นกรรมที่เกิดจากสัมมาชีพ คือถ้าเราคิดเรื่องของอาหารการกินก็ทำอย่างนี้กันหมด หมู ไก่ แต่ถ้าถามจริงๆ อาหารที่ว่า เขามีสิทธิ์อยู่ในโลกนี้ไหม นก หนู ปู ปลา ก็มีสิทธิ์อยู่ในโลกนี้ บางทีเราเองเลยไม่สบายใจ ทุกวันนี้ทำบุญสร้างกุศลไม่ขาด สร้างกฐินผ้า ทอดผ้าป่า เลี้ยงอาหารกลางวัน แจกจักรยาน เด็กๆ ด้อยโอกาสตามต่างจังหวัด
“ทุกวันนี้ก็เลยยังใช้ชีวิตอยู่บ้านเอื้ออาทร คนอื่นเขาก็ถามทำไมเราไม่ซื้อบ้าน จะซื้อก็ได้ ก็บอกลูกกับภรรยาเหมือนกัน แต่บ้านใหญ่แค่ไหน เราก็นอนแค่อย่างมาก 2 เมตร ก็แค่ที่นอน ทุกวันนี้บางทีกางโซฟานอนในออฟฟิศ ทำงานเสร็จก็นอนในนี้ คือเป็นการใช้ความสุขจากความคิด จากจิตใจ ไม่ได้ใช้ความสุขจากเงินทอง ไม่เคยซื้อรถป้ายแดงส่วนตัว ถ้าเป็นรถขนส่งมี บริษัทมี เพราะมองว่าความสุขพวกนี้จริงๆ มันไม่ได้เกิดจากสิ่งสมมุติพวกนี้
“คือเรามีความสุขแล้วแค่นี้ มีความสุขกับสิ่งที่เราได้ให้งานเขาทำ สองร้อยกว่าคน เวลาเขาโอนเงินกลับบ้าน เรามีความสุขมาก เขาได้เงินกลับไป เราถามว่าส่งให้ลูกยัง เมียยัง พ่อแม่ยัง บางคนทางบ้านเขาโทรมาบอกเรา อย่าเพิ่งเลิกนะ หนูขายหมูเฮียแล้วก็ส่งด้วย ตอนนี้ซื้อบ้านได้แล้ว ซื้อรถได้แล้ว คือเราก็มีความสุขกับลูกค้าที่เห็นเขาตั้งตัวได้ เหมือนเห็นตัวเองในอดีต (ยิ้ม) เขามีอาชีพมีหลักแหล่ง ลูกน้องเราก็มีงานทำ ก็มีความสุข ความสุขอยู่ที่อย่างนั้นมากกว่า
“ถ้าใครสนใจ ผมเปิดสอนอาชีพทุกวันอาทิตย์ สอนปิ้งย่าง การนึ่งข้าวเหนียวอย่างไรให้นุ่ม คือผมไม่อยากให้คนที่ไม่มีสตางค์อยู่แล้ว มาซื้อหมูไปแล้วปิ้งไม่เป็นย่างไม่เป็นแล้วเสียหาย เงิน 400-500 บาทที่ใช้ลงทุนก็จะเสียเปล่า มาเรียนให้เป็นแล้วค่อยไปลงทุนขาย เขาจะได้ไม่ต้องเสียความรู้สึก”
หลังรอยยิ้มเต็มดวงหน้า ในแววตาดั่งเจิดจรัสด้วยวิสัยทัศน์และทัศนคติของชายวัยกลางคนผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตมีฐานะมั่นคงที่ใครๆ ต่างเรียกขานเคารพว่า “เฮีย”
ในขณะที่อีกด้านเรามองเห็น "เฮีย" ที่หมายถึงผู้มีหลักเลขที่มากกว่าและสูงด้วยประสบการณ์ที่สามารถแนะนำและเป็นต้นทางสำหรับใครก็ตามที่เจอะเจอเส้นทางในแบบเดียวกัน เป็นเข็มทิศชีวิตพิชิตอุปสรรค การต่อสู้ดิ้นรนคนหนึ่งที่น่ายกย่อง
“จริงๆ ผมมองว่าการที่เราอยู่กับอะไรนานๆ แล้วเราไปคิดถึงมันแต่ในทางลบ มันไม่สามารถจะแก้ปัญหาอะไรได้
“ถ้าเจอปัญหา คุณอย่าไปอยู่กับมันนานๆ อย่าไปให้อาหารแก่ปัญหา รีบเดินออกมาแล้วคิดว่ามันต้องแก้ได้ อย่าคิดสั้น อย่าคิดทำร้ายตัวเอง คิดว่าปัญหาเราหนักหนาที่สุดแล้ว ยังมีคนอื่นที่ปัญหาหนักอึ้งกว่าเราอีก ดูผมเป็นตัวอย่างก็ได้ ถ้าผมคิดสั้น ผมตายไม่รู้กี่รอบแล้ว บางเรื่องมันเป็นปัญหาหยุมหยิม มันไม่จำเป็น เพราะฉะนั้นก็อยากจะบอกว่าอย่าไปจมกับปัญหา รีบหาอะไรทำ รีบมองโลกในแง่ดี ทำอะไรที่เราถนัดที่สุด
“แต่ถ้าทำไปแล้วยังไม่เห็นผล เชื่อว่ามันมีปัจจัยหลายอย่าง เชื่อว่าบางคนทำไม่จริง ผมถึงพูดตลอดเสมอมาเวลาให้สัมภาษณ์กับสื่อทุกสื่อ เวลาที่เขาถามว่าทำอะไรถึงจะประสบความสำเร็จ
“อันที่จริง อาชีพทุกอาชีพมีคุณค่าเหมือนกันหมด รวยได้เหมือนกันหมด แต่อยู่ที่ว่าใครทำจริงไม่จริง ถ้าทำจริง คุณได้จริง แต่ถ้าทำเล่นๆ ก็ได้เล่นๆ มีบางคนโทรมาหาผม บอกว่ามีงานทำอยู่แล้ว จะเอาหมูไปขายเล่นๆ เราก็บอกเลยไม่ต้องขายดีกว่า เพราะทำเล่นๆ ก็จะได้แค่เล่นๆ อยู่แล้ว มันก็รู้ผลลัพธ์อยู่แล้ว ถ้าทำจริงก็ได้จริง ผมเชื่อว่าทุกอาชีพ ถ้าทำอย่างนี้ มันจะไปได้”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : สันติ เต๊ะเปีย
“หมูปิ้ง” อาหารพื้นบ้านธรรมดาที่หาทานได้และดูเหมือนว่าใครก็ทำได้ไม่ยาก แต่ใครเลยจะนึก ว่าหมูปิ้งธรรมดา จะกลายมาเป็น “เสาหลัก” ให้กับชีวิตของคนคนหนึ่งได้ จากคนที่กำลังตกต่ำถึงขีดสุด กลับกลายพลิกฟื้นคืนชีพ มีฐานะมั่นคงถึงขั้นเปิดโรงงานหมูปิ้ง ส่งออกขายทั่วประเทศ มีรายได้หลักแสนหลักล้านในช่วงเวลาไม่กี่ปี
เห็นว่าเป็นเรื่อง “หมู” ก็อย่าได้ดูแคลน
เพราะจากหมูเสียบไม้ราคาห้าบาทสิบบาท
ก็สร้างเงินสร้างรายรับ หลักแสนหลักล้านได้
เส้นทางของไม้เสียบและเนื้อหมูมารวมตัวกันได้อย่างไร
นี่คือเรื่องราวของโรงงานหมูปิ้งแห่งแรกในเมืองไทย
ที่ไม่เพียงชวนชิม หากแต่ยังชวนชมและชุบชูพลังชีวิตได้ดียิ่ง!
คล้ายคนจะซวย อะไรก็ช่วยไม่ได้
โหยและไห้ในคืนวันอันวิบาก
“บ้านเราไม่ค่อยมีฐานะอะไรนัก พ่อแม่มีอาชีพขายผัก ส่งเราเรียนหนังสือ เพราะพ่ออยากให้ลูกเรียนสูงๆ แต่พออายุ 11 ขวบ ตอนเรียนอยู่ ป.6 พ่อผมเสีย ทางบ้านซึ่งมีพี่สาวคนโตก็ต้องออกมาช่วยแม่ เราก็ยังได้เรียนจนถึง ม.3 แต่สุดท้ายก็ต้องออก เพราะน้องก็เรียนตามกันขึ้นมาอีก 2 คน
“ด้วยความที่เราเป็นผู้ชายก็เลยทำงานก่อสร้าง อายุมันแค่ 16-17 ทำอะไรไม่ได้ ก็ไปทาสี ไปหิ้วปูนกับเขา 40-50 บาทต่อวัน ค่าแรงตอนนั้น ช่วงปี 2526-27 ทำอยู่ประมาณ 2-3 ปี ก็มีผู้รับเหมาจากกรุงเทพฯ เขาได้งานทาสีที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ แล้วคนไม่พอ เขาก็ขึ้นไปรับคนที่นครสวรรค์ ที่ตาคลี เราก็มากับเขา เพราะเราเป็นวัยรุ่น วัยแสวงหา ก็มาทาสีกับเขา ทาอยู่ประมาณ 3-4 เดือน งานหมดแล้ว เขามีงานต่อก็ยาวเลย
“ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดอะไร ก็ทำงานก่อสร้างมาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ.2533 อายุประมาณ 25-26 ปี มีแฟนแต่งงาน เราก็เริ่มคิดที่จะตั้งหลัก เพราะอาชีพกรรมกรไม่แน่ไม่นอน สวัสดิการก็ไม่มี อย่างที่รู้ๆ กัน ก็เลยออกหางานใหม่ ตอนนั้นไปเจอบริษัทญี่ปุ่นที่นิคมอุตสาหกรรมบางกระดี่ ปทุมธานี เปิดรับสมัครพนักงาน มีสวัสดิการ รถรับส่ง มีห้องพยาบาล มีโรงอาหารราคาย่อมเยาว์ มีโอทีค่าล่วงเวลา ไปสมัครก็ไม่นึกว่าจะได้ แต่ปรากกฎว่าได้ ตำแหน่งพนักงานฝ่ายผลิต ได้ค่าแรง 73 บาท ยังไม่มีประกันสังคม ประกันสังคมมามีตอนปี 35 พอเริ่มมีประกันสังคมก็ถูกหักไป แต่ก็ยังอยู่ เพราะคิดว่าชีวิตจะฝากไว้ที่นี่ เรามีวุฒิแค่ ม.3 ได้ทำงานกับบริษัทใหญ่ มีสวัสดิการ เจ็บป่วยเบิกได้ มีประกันสังคม เพื่อนถามก็เท่แล้ว”
ต่อมาอีกกว่า 10 ปี มีลูก มีบ้านหนึ่งหลัง มีรถเก๋งหนึ่งคัน จนกระทั่ง พ.ศ.2540 เกิดวิกฤติ “ต้มยำกุ้ง” พิษเศรษฐกิจเล่นงาน ทุกอย่างพังพาบ
“ปีแรกๆ พ.ศ.2540-2543 ยังไม่เท่าไหร่ คือเศรษฐกิจมันล้มก็จริง แต่เรายังก็ไม่ค่อยเกี่ยว จนปี พ.ศ.2544 เริ่มมีผลกระทบกันทั่วแล้ว เพราะคนรวยเขาล้ม ธนาคารล้ม ก็มาถึงเรา บริษัทที่เราอยู่ตอนนั้นก็ถูกฝรั่งเทคโอเวอร์ซื้อหุ้นไปบ้างส่วน จากเดิมโรงเดียวกันผลิต 3 อย่าง มีเครื่องซักผ้า มีแอร์ แล้วก็ตู้เย็น ก็แยก ไม่อย่างนั้นอยู่ไม่รอด เราก็อยู่ในส่วนของฝรั่ง ซึ่งเขามีนโยบายเลิกจ้างพนักงานที่เงินเดือนเยอะๆ คนที่อายุงานนานๆ เพราะว่าค่าจ้างสูง
“จากที่คิดว่าจะฝากชีวิตไว้กับบริษัท พอมันเป็นอย่างนั้นก็พยายามคิดว่าเป็นโอกาส เพราะมันไม่ได้เป็นแต่เรา มันเดือดร้อนกันทุกคน คือ 3-4 ปี ไม่มีโอทีล่วงเวลาเลย ค่าแรงเท่าไหร่ได้เท่านั้น แล้วไหนจะโดนหักประกันสังคม เงินฝากสะสม หักอะไรแทบไม่เหลือ อยู่กัน 2 คนด้วย ก็อาศัยแค่ว่ามันไม่ต้องเสียค่ารถ ค่ากินก็ไม่แพง กินอาหารในโรงอาหาร เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ก็ดี เราจะได้เงิน “ค่าจ้างออก” สักก้อนหนึ่ง 2-3 หมื่นบาท จะได้มาลงทุน จิตใจมันก็ต้องคิดว่าเป็นโอกาส ก็ต้องทำใจให้มันสู้ ไม่เป็นไร ไม่อยู่โรงงานนี้ก็คงไม่อดตาย
“ด้วยความที่เราฮึกเหิม ออกมาก็ค้าขาย เพราะไม่มีความรู้ คือคนที่ทำงานรุ่นราวคราวเดียวกัน เขาเรียนต่อระหว่างทำงานไปด้วย ก็มีโอกาสเติบโต อายุเยอะก็ไม่เป็นไร แต่เราไม่ได้เรียน ก็ยังจบ ม.3 เท่าเดิม ทีนี้อายุมันเกิน ออกมาก็ 30 กว่าแล้ว เขาก็ไม่รับ ระหว่างนั้น ด้วยความที่เรารักต้นไม้ ก็เลยไปขายต้นไม้ ขายต้นไม้มงคล ไปรับซื้อมาจากบางบัวทอง ซื้อเสร็จก็เปลี่ยนกระถาง ให้สวยงามหน่อย แล้วก็ใส่รถเก่าๆ วิ่งตระเวนขาย
“แต่ก็ไปไม่รอด...”
“เฮียนพ” เผยถึงช่วงเวลาชีวิตในตอนที่ยังไม่ประสีประสา เพราะด้วยความร้อนของรถที่อากาศไม่สามารถถ่ายเทได้ เวลาขนส่งจึงทำให้ต้นไม้เหี่ยวเฉา นั่นยังไม่นับรวมจำนวนการขนส่งน้อยนิดในแต่ละเที่ยวที่ยากจะกลายเป็นเงินที่มากพอ
“ขายได้ 4-5 เดือน ก็ไม่ไหว ต้นไม้มันร้อนระอุ เราไม่มีรถปิ๊กอัพกระบะ แล้วเวลาไปขนที่ไหนก็น้อย พอไปลงขายในตลาด ตามตึกที่มีพวกผู้ดีมีเงินก็ไม่สะดวก ก็ต้องเลิก หันไปขายเสื้อผ้าเด็กแทน แต่ก็ไม่ดี
“ตอนนั้นก็คิดอยู่ว่าจะทำอย่างไรดี ก็ไปเจอโฆษณาลุงขาวติดตามเสาไฟ ลุงขาวคือคนที่อุทิศตนเพื่อสังคม คล้ายๆ ครูที่เข้าไปสอนหนังสือนักเรียนในสลัม แต่ลุงขาวจะสอนอาชีพ สอนใต้ทางด่วน เป็นชมรมสร้างอาชีพฟรี สอนเรื่องการทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์ ทำน้ำยาล้างจาน สำหรับคนที่เร่ร่อนทั่วไป คือถ้าย้อนกลับไป 20 ปี จะดังมาก ลุงขาวนี่ถือว่าสร้างอาชีพให้คนเยอะ
“เราก็ไปเรียนทำน้ำยาล้างจาน เพราะตอนนั้นร้านหมูกะทะเปิดกันเยอะมาก เลยคิดว่าทำไปต้องขายได้แน่ๆ ก็ทำเป็นแกลลอนเพื่อเอาไปขาย แต่พอทำไปขาย ไม่มีคนซื้อ เพราะเขาไม่เชื่อเรา เราไม่มีแบรนด์ ไม่มียี่ห้อ เขาไม่สนใจเลยนะตอนที่เราไปแนะนำ ก็เปลี่ยนไปร้านอาหารตามสั่ง ก็ขายได้บ้าง แต่เขาซื้อขวดเล็กเท่านั้น เพราะเขาไม่รู้จะซื้อเป็นแกลลอนทำไม เงินมันจม ทั้งที่บอกว่ามันประหยัดอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ก็ไม่ซื้อกัน ก็ต้องเลิก หันไปขายไอติมกะทิสด ก็ไม่ทำให้ดีขึ้นมา”
3-4 อาชีพผ่านไป เงินทุนที่มีก้อนสุดท้ายก็ไม่เหลือ ในห้วงเวลาหน้าสิ่วหน้าขวาน ชะตาชีวิตดูจะริบหรี่สิ้นท่า ก็ยังนับว่ามีโชคอยู่บ้างที่ทำให้ไปเจอะเจอกับอาชีพรักษาความปลอดภัยให้พอต่อชีวิตวันต่อวัน
“ตอนนั้นก็บังเอิญไปเจอรองผู้กำกับจังหวัดปทุมธานี ซึ่งรู้จักกันตั้งนานแล้ว เขามีบริษัท รปภ. เราก็ไปสมัครเป็นยามกับเขา ในระหว่างนั้นไม่เคยมีเงินเหลือ เบิกทุกวัน ไม่เคยมีเงินเดือน เพราะเราไม่มีจะกิน
“ก็อยู่อย่างนั้นเกือบๆ 2 ปี แล้วมีอยู่วันหนึ่ง เราจะต้องควงกะ เราขับรถกลับไปบ้านตอนตี 4 เพื่อจะอาบน้ำ ไปถึงก็เจอโซ่คล้องประตูบ้าน เราก็เอ๊ะ...ใครมาทำอะไรบ้านเรา ก็เดินไปดูปรากฏว่ามีกระดาษติดให้ย้ายด่วน บ้านหลังนี้เขาซื้อแล้ว
“ใจหายเลย...คือเรารู้อยู่แล้วว่าบ้านถูกยึด เพราะระหว่างนั้นเงินไม่มีส่งเลย ธนาคารสงเคราะห์เขาก็ดีมาก ให้โอกาส 4-5 รอบ ไปทำสัญญา ให้เราอยู่ระหว่างที่เขายึด แต่ปัญหาคือเราไมรู่ว่าเขาเอาบ้านไปขายได้แล้ว ทีนี้ คนซื้อมาซื้อปุ๊บ ก็ถือเป็นเจ้าของเลย เราก็เข้าไม่ได้”
เจ้าของโรงงานหมูเสียบไม้บอกเล่าด้วยสีหน้าเคร่งเครียดอย่างเห็นได้ชัด เพราะชีวิตในตอนนั้นนับว่าย่ำแย่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ถ้าบวกกับจะต้องไม่มีที่อยู่อีก คงไม่ต้องมีคำอธิบายถึงความรู้สึกวินาทีนั้น
“เราก็รีบโทรไปหาเจ้าของบ้านคนใหม่เลยว่า ขอเข้าไปหน่อย พอดีมีของจำเป็น มีเสื้อผ้า สมบัติอื่นไม่มี เขาก็ไม่อยากจะมา ก็รอจนถึง 9 โมงเช้า เขาถึงยอมมา แต่เขาก็ไม่อนุญาตให้เราเข้าได้เลย ถ้าจะเข้าต้องเซ็นมิเตอร์น้ำ-ไฟให้เขา เขาจะได้ไม่ต้องขอ เราก็เตรียมจะเซ็นให้เขาเพื่อจะได้เอาของแล้วขนย้าย ก็เลยโทรไปหาพี่สาวให้ช่วยเอารถลงมาจากนครสวรรค์มาขนของให้หน่อย พี่สาวก็บอกว่าต้องใช้เงิน 2,000 บาท สำหรับรถที่จะมา เราก็เลยขอค่ามิเตอร์น้ำกับไฟ 2,000 บาทกับเจ้าของบ้าน เพราะเราจำไม่ได้ว่าตอนเราซื้อมิเตอร์กับน้ำไฟมันเท่าไหร่ แต่น่าจะมากกว่านั้น ปรากฏว่าเขาไม่ยอม เขาให้ 1500 บาท ก็เจราจาต่อรองทั้งฝ่ายเจ้าของบ้านแล้วก็พี่สาว ตกลงพี่สาวยอม ก็มาขนของ
“เสร็จเรื่องนั้น อีกเรื่องที่สำคัญคือเราไม่มีที่นอน ก็ต้องมาอาศัยนอนป้อมยาม หลังจากออกกะแล้วก็ไปนอน แต่ทีนี้บังเอิญวันนั้นมันซวย มันมีฝ่ายความปลอดภัยมาตรวจ ซึ่งปกติไม่ค่อยเข้ามากัน วันนั้นไม่รู้นึกอย่างไรเดินเข้าไป เห็นเรานอน เขาก็ด่าเราเสียๆ หายๆ เลย คือเราออกกะแล้วเข้าไปนอน เขาก็ฟ้องไปยังเจ้านาย เราก็ใจไม่ดี กลัวเขาจะไล่ออก ก็กราบขอโทษขอโพยเขา ผมไม่เจตนา ผมจะเข้าบ้านแล้วแฟนเอากุญแจไป ก็โกหกเขา เขาก็ยังโทรไปฟ้อง เจ้านายมาเราก็เลยบอกเจ้านายว่าบ้านเราโดนยึด กลับบ้านไม่ได้ เขาก็บอกว่าแต่เราไปนอนไม่ได้ ป้อมยามเขาไม่รู้หรอกว่าออกงานหรือยังไม่ออก มันเป็นป้อม ใครไปเจอก็เสียหมด
“แต่ก็โชคดีที่เขาแค่ตักเตือน ยังไม่ไล่ออก”
เจ้าของโรงงานหมูเสียบไม้เผยช่วงชีวิตในเวลานั้นที่เคราะห์ซ้ำกรรมซ้อน แม้แต่ที่ซุกหัวนอน ยังหายากเย็น
“ตอนนั้นก็ต้องย้ายเมียกับลูกไปอยู่สะพานใหม่ ใกล้ๆ โรงเรียนลูก ก็ไปเช่าบ้านอยู่ ภรรยาก็นั่งรถตู้จากสะพานใหม่ไปทำงานที่สีลม แล้วเราก็ต้องมาหาน้องสาวที่โรงพักปากเกร็ด น้องสาวเขาขายอาหารตามสั่ง ผมก็อาศัยนอนที่ร้านน้องสาว คืนแรกก็นั่งเก้าอี้หัวโล้นนอนแล้วทายากันยุงเอา วันต่อมาเราถึงนึกขึ้นได้สมัยที่ทำงานก่อสร้าง คนบ้านนอกชอบนอนเปลกัน เราก็วิ่งไปซื้อเปลเอามาแขวนนอน”
หมดเรื่องที่พักผ่อน ต่อมาก็คือเรื่องอาบน้ำ เจ้าของโรงงานหมูเสียบไม้เล่าว่า ต้องอาศัยอาบน้ำจากก๊อกน้ำห้องส้วมที่ป้อมยาม ใช้ขันรองให้เต็มแล้วค่อยๆ อาบ หรือไม่บางทีก็อาศัยความมืดยามค่ำคืนและเงาต้นไม้หลังเพิงหมาแหงนร้านขายอาหารของน้องสาวเพื่ออาบน้ำ
“เราเกรงใจน้องสาว เขามีแฟนเป็นตำรวจและลูกอีก 3 คน แล้วอยู่แฟลตตำรวจ พื้นที่ห้องมันก็เล็ก มันแน่น ก็รอจนปิดร้าน ตี 1-2 ค่อยอาบที่ร้าน
“ก็เป็นอยู่อย่างนั้นสักพักใหญ่ ก่อนจะไปเจอพรรคพวกกันที่เขาขับแท็กซี่ เขาบอกว่ารายได้ดี เพื่อนขับนี่ กินข้าวอยู่ก็ต้องรีบไป จอดปุ๊บคนขึ้นๆ เราก็ไปเช่ามาขับบ้าง (ยิ้ม) คือชีวิตเราไม่อยากอยู่อย่างนี้ไปตลอด จำได้เลยตอนนั้น ค่าเช่าแท็กซี่รุ่นไฮท็อค เก่าหน่อย แค่ 600 บาท จะขับตอนไหนก็ได้ เราออกกะจากยามแล้วก็ไปขับ บางวันก็ลา ไม่เข้า ให้เพื่อนเข้าแทน”
เช้าไปรอหน้าโรงงาน ตามป้ายรถเมล์ กลางวันไปรอตามห้าง เย็นๆ กลับไปเฝ้าที่ป้ายรถเมล์อีก เพราะคนกลับบ้าน ส่วนกลางคืนรอหน้าผับหน้าบาร์ หลังคนเลิกเที่ยว ตามสูตร ทว่าเหมือนโชคชะตาเล่นตลก ท้ายที่สุดก็ไม่รอดอีกเช่นเคย
“คือมันเหมือนช่วงดวงเราตก ทำอะไรไม่ขึ้น บอกตรงๆ ถ้าใครไม่เคยเจอจะไม่รู้ ตกจนไม่รู้จะตกอย่างไร เล่าให้ใครฟังเขาก็ไม่อยากเชื่อ เวลาทำมาหากินไม่ขึ้น มันไม่ขึ้นจริงๆ เพื่อนขับได้ แต่เราไม่ได้เลย ไม่มีคนขึ้น เพื่อนก็แนะอีกว่ารถคงจะเก่า ให้ไปวิ่งกลางคืนอย่างเดียว เขาจะได้ไม่เห็น เราก็เข้าเวรกลางวัน ส่วนกลางคืนขับแท็กซี่ ผลสุดท้ายก็ไม่รอด มันไม่มีคนขึ้นอยู่ดี เราก็เริ่มเป็นหนี้ ก็ต้องเลิก
“ก็กลับไปเป็นยามอย่างเดียวเหมือนเดิม เบิกเงินแทบทุกวันประทังชีวิต ก็บังเอิญโชคดี น้องคนรู้จักเขาเป็นหัวหน้าวิวอยู่ตรงโรงพักปากเกร็ด เขามีเสื้อวินเหลือ เขาเห็นเราแย่ เขาก็สงสาร ให้เสื้อวินเรามาฟรีๆ หนึ่งตัว ปกติต้องเสียเงินซื้อ 2,000 บาท ทีแรกก็ไม่กล้าขับ เพราะหนึ่งเลย เราอาย สองคือเราอายุ 30 กว่าแล้ว ก็กลัวจะขับเอาลูกเต้าเขาไปล้ม หูตาก็ไม่ดี ก็เก็บเสื้อไว้ตั้งนาน จนชีวิตมันไม่ไหวแล้ว มันแย่ ออกกะจากยามวันนั้นก็เลยตัดสินใจใส่เสื้อวินนั่งอยู่ที่คิว เชื่อไหมว่าแป๊บเดียว มีคนเรียกให้ไปส่งลูกเขาที่เมืองทองธานี ได้ค่าโดยสาร 40 บาท ขากกลับมาเจอคนระหว่างทางเรียกไปวัดสลักได้อีก 20 บาท กำลังจะกลับ เรียกไปส่งที่ปากเกร็ดอีก 40 บาท กว่าจะกลับถึงวินได้ 100 บาท กำเงินแน่นเลย
“คราวนี้เราก็ไม่ถอดเสื้อเลย จากที่อายก็ใส่ยัน 5-6 ทุ่ม เพราะพอคนในวินตอนเย็นส่งนักเรียนเสร็จ เขาก็เลิกวิ่งกันแล้ว ก็เหลือแต่เรา ทีนี้ คนที่มาติดต่อโรงพักก็เสร็จเราหมด รายได้เฉลี่ยตอนนั้นตกแล้ววันละ 200-300 ต่อคืน ก็เอาสตางค์ที่เป็นแบงค์ย่อยที่เป็นเหรียญไปแลก แล้วก็ไปฝากตู้ฝากธนาคารส่งให้ลูก
“ถามว่าท้อไหมกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา ทำไมจะไม่ท้อ เคยสิ้นหวังไหม ทำไม่จะไม่เคย บางทีขับวินมอเตอร์ไซค์ไปจอดส่งเด็ก เราเห็นคนเดินมา รุ่นราวคราวเดียวกันกับเรา มี 3 ดาวบนบ่า เป็นพันเอกพันโท บางคนใส่สูทผูกเนคไทเป็นผู้จัดการ ทำไมเรายังขับวินมอเตอร์ไซค์อยู่ แต่ว่าเราจะเป็นคนคิดเรื่องพวกนี้เพียงแป๊บเดียว พอมองเห็นปุ๊บ จะคิดว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวก็ดีขึ้น หันหัวกลับ คือไม่ยึดติดกับมันนานๆ ไม่คิดเรื่องพวกนี้นานๆ คิดแต่ว่าเราต้องดีขึ้น”
คล้ายคนจะรวย อะไรๆ ก็ช่วยอำนวยให้
ยิ้มได้สักทีนะชีวิต!
“ก็ขับวินมอเตอร์ไซค์มาเรื่อยๆ รายได้ก็พอมี ทีนี้ แม่บ้านที่ปากเกร็ดเขาชื่อคุณ "ฮั้ว อักษร" ที่เขียนที่ป้าย สูตรคุณฮั้ว...ชุบชีวิต เขาเป็นหัวหน้าแม่บ้าน เป็นภรรยาตำรวจ เขาพอมีเวลาว่างและทำหมูปิ้งขาย แต่เขาก็ไม่ได้ทำเยอะ เขาก็ทำขายที่โรงพัก แล้วก็มีส่งบ้าง เขาก็เดินมาจ้างเราให้ไปส่งหมูให้เขา วันแรกไปส่งการบินไทย ได้ 40-50 บาท อ้าว เดี๋ยวไปตลาดบองมาร์เช่ที่ประชาชื่น เราก็ไป ไป อตก.เราก็ไป”
เฮียนพว่าพรางเว้นวรรค ก่อนจะกล่าวด้วยรอยยิ้มให้กับชะตาดีๆ ที่ยังพอมีอยู่บ้าง โดยไม่รู้ว่าต่อจากนี้ไป อาชีพวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างภายใต้หมายเลย 10 จะเป็นสารถีกรุยทางให้ได้มารู้จักกับ “หมูปิ้ง” ที่ชุบชีวิต
“ผลสุดท้าย น้องคนเล็กที่ได้แฟนเป็นตำรวจเหมือนกัน สามีเขาเสียชีวิต น้องก็เลยประกอบอาชีพเย็บเสื้อโหลส่ง ทีนี้ก็ไม่มีคนไปรับผ้าให้ เย็บเสร็จก็ไม่มีคนไปส่ง เขาก็เลยไปหาคุณฮั้ว คุณฮั้วเขาก็สอนสูตรให้น้องทำหมูปิ้ง ก็ไปทำ ซื้อ หมัก ทำขายที่ โรงเรียนปากเกร็ด แต่ทำได้ 3-4 เดือน ซื้อหมู หั่นหมู หมักหมู เสียบหมู ขายหมู ทำเองทุกขั้นตอน ก็ไม่ไหว จึงไปพาพี่สาวมาช่วย เราก็ขับวินมอเตอร์ไซค์และควบเป็นยามอยู่ตอนนั้น ยังไม่ได้คิดอะไร เขาก็มาชวนให้เราทำหมูปิ้ง บอกว่าขายดีเหมือนกัน วันละ 200-300 ไม้ ก็ได้เป็นพันบาท
“เราก็อยากจะได้เงินเพิ่มขึ้นมา ก็เลยถามน้องว่าใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ เขาก็บอกว่าประมาณ 500-600 บาท เพราะหมูกิโลกรัมละ 80 บาทเองตอนนั้น ทำสัก 5 กิโลกรัมก็พอ ก็ตัดสินใจลองทำ ที่เรากล้าเพราะว่าเรามีคนขายให้ เราขายเองทำไม่ได้หรอก ก็ทำในส่วนผลิต ไปซื้อตอน 5 ทุ่ม กลับมาหมักหมูเที่ยงคืน แล้วก็มาคลุก มาหมัก เสร็จก็ตี 2 ตี 3 แล้วก็นอนเปล เช้ามาก็เสียบหมู ส่งให้น้องสาว ขายได้วันละ 200-300 ไม้”
และแม้ไม่คิดว่าจะได้กำไรมาก เนื่องด้วยราคาหมูปิ้งในช่วงนั้นอยู่ที่ไม้ละ 5 บาท ทั้งไหนจะขั้นตอนกระบวนการทำตั้งแต่ซื้อ หมัก เสียบ รวมไปถึงวัตถุดิบเครื่องปรุง กำไรจะไปอยู่กับคนปิ้งขายหน้าร้าน แต่เพื่ออนาคตก็สู้ทำเพิ่มรายได้
“เพราะมันไม่ได้มีความหวังอะไรในชีวิตเรา คิดอย่างเดียวทำอย่างไรให้มีเงินให้ลูกได้ไปโรงเรียนทุกวัน โดยที่แม่เขาไม่ต้องโทรมาฝากบอกถึงเรา เพราะแทบจะไม่ได้กลับไปหาเลย โทรศัพท์ก็ไม่มี บางทีจะไปหา จะซื้อโทรศัพท์ให้ลูกสักเครื่องเล็กๆ เมื่อก่อน ยี่ห้อซีเมนต์ เครื่องละ 300 บาทก็ไม่มีปัญญาซื้อ เวลาจะติดต่อ ต้องโทรไปร้านข้าวข้างๆ ให้เขาไปเรียกลูกมาให้ เพราะลูกเขากับลูกเราเรียนปีเดียวกัน ห้องเดียวกัน
“ตอนนั้นก็นอกจากทำหมูปิ้งส่งให้น้องขาย ก็ส่งป้าอีกคน ซึ่งตอนแรกแกขายไอติมโบราณอยู่ที่หน้าโรงเรียนนวมินทราชินูทิศหอวัง นนทบุรี แล้วแกรู้ว่าเราขายหมูได้ แกก็รับไปขายบ้าง”
“นั่นแหละจึงเป็นจุดพลิกผันที่ทำให้มองเห็นลู่ทาง”
เฮียนพโพล่งขึ้นด้วยน้ำเสียงชื่นใจ ราวกับต้นไม้ที่ขาดน้ำจนดินแตกระแหงแล้วจู่ๆ ก็มีฝนโปรยปรายให้ชุ่มฉ่ำ
“คือมีผู้ปกครองท่านหนึ่ง เขามาส่งรับลูกหลานที่โรงเรียนแล้วเขามากินหมูปิ้งร้านป้าคนนี้ เขาบอกว่าอร่อย เลยถามป้าว่าใครทำ จะเอาไปขายบ้าง เพราะเขาขายของอยู่กลางซอยวัดเชิงหวาย เป็นร้านอาหารชื่อ 'ร้านอิ่มจัง' ป้าแกก็ชี้มาทางเราที่นอนเปลอยู่ระหว่างรอคนขึ้นวิน ก็คุยกัน เขาสั่งให้ไปส่งที่วัดเชิงหวาย ทีแรกเราเห็นว่าไกล อยู่ตั้งเตาปูน เขาก็ว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวจะสั่งไปเยอะๆ เก็บเอาไว้ เพราะมีตู้แช่”
“จากเดิมที่ทำเพียงแค่ไม่เกิน 500 ไม้ เขาก็สั่งเราเลย 10 กล่อง 1,000 ไม้ เราก็ตกใจ วันนั้นทำแทบไม่ทัน กว่าจะเสร็จ ช่วยกันทำจนตี 2 ไปส่งเขาตอนตี 4 ได้เงินมา 4,000 บาท ส่งไม้ละ 4 บาท นั่นเป็นจุดเริ่มต้นเลย กำเงินแน่นยิ่งกว่าเมื่อครั้งขับวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างได้เงินครั้งแรกอีกเพราะไม่เคยมีเงินถึงหลักพันมาเป็นสิบปีแล้ว ได้มาใช้ไป หมดตลอด แต่ก็ยังไม่ดีใจเท่าไหร่ เพราะคิดว่าเขาสั่งทีหนึ่ง คงจะหายไปอีกหลายวัน
“ปรากฏว่าวันรุ่งขึ้น ช่วงบ่ายๆ เจ้าเดิมเขาก็โทรมาอีก บอกให้มาส่ง 10 กล่อง"
เฮียนพเล่าว่าวินาทีนั้นทั้งประหลาดใจและทั้งนึกสงสัย ว่าทำไมหมู 1,000 ไม้ จึงหมดเร็ว ก็คิดว่าคงจะเอาไปแจกเลี้ยงโรงทาน
“ตอนแรกคิดว่าเขาไปแจก แต่ไม่ใช่ เขาเอาไปขายเด็กนักเรียน เพราะละแวกในซอยวัดเชิงหวายมีโรงเรียนเป็นโรงเรียนใหญ่ นักเรียนตั้ง 5-6 พันคน เขาขายกับข้าวอยู่แล้ว และมีหน้าร้าน ปรากฏว่าขายนักเรียนหมดไป 700-800 ไม้ แล้วเหลือ 200 เขากลัวไม่พอก็สั่งเราเพิ่ม พอไปส่งเสร็จ ก็กลายเป็นว่าวันรุ่งขึ้นก็ขายดีมาก ก็สั่งอีกวันละ 1,000 ทุกวัน
“เราขับไปส่งทุกวัน ใจเราก็ฮึกเหิมอีกแล้ว (ยิ้ม) น้องเราก็ขายได้ และมีคนรับไปอีกต่อหนึ่งอีก ยอดขายในส่วนของน้องก็เริ่มดีขึ้น ยอดตรงนี้ก็ดีขึ้น ก็มีเงินวันละ 4,000 บาท ทีนี้เราก็คิดว่าจะทำไงดี ถ้ามีอีกสัก 3-4 เจ้า เราต้องมีเงินแน่ จิตใจเราคิดอย่างเดียวจะต้องดิ้นหนีไอ้ปัญหาต่างๆ ความลำบากต่างๆ ดิ้นให้เร็วที่สุด เพราะตอนนั้นที่บ้านโดนยึดไป เอาไปขายทอดตลาด เราก็ยังเป็นหนี้อีก 2 แสนกว่าบาท ไม่ได้จ่าย ก็ไปตามยึดที่เราที่นครสวรรค์ แม่ก็ร้องไห้เป็นลม เพราะเป็นเหมือนมรดกสมบัติชิ้นสุดท้ายของพ่อ เป็นชื่อของเรา 4 พี่น้อง ที่ดินโฉนดเดียวก็ต้องยึดทั้งโฉนดแล้วเอาไปขาย จากนั้นค่อยเอาเงินส่วนของเรามาใช้หนี้ ส่วนที่เหลือก็แบ่งพี่น้องทั้ง 3 คน”
ใจก็ได้แต่ไหว้พระสวดมนต์ ภาวนาขอให้เขาอย่าเพิ่งขายที่ทางที่ต่างจังหวัดได้ ส่วนอีกทางก็เร่งเดินหน้าทำกานขยายตลาดแบบไม่อาย เจอะเจอใครที่ค้าขายในทางเดียวกัน ก็ชักชวนให้ร่วมธุรกิจ
“คือพอเรากลับจากเตาปูน มันจะมีตลาดแถวนั้น เราก็จอดมอเตอร์ไซค์ เอาหมูที่ติดไป ไปหาพ่อค้าแม่ค้าที่เขาปิ้งลูกชิ้น ไส้กรอก พี่เอาหมูผมขายไหม เขาก็ไม่สนใจ แต่ปากก็พูดไปเรื่อย หมูผมไม่ต้องใช้น้ำจิ้มนะ ไม่ต้องให้ผักนะ ไส้กรอกลูกหนึ่งต้องให้ขิง ให้ผัก ให้พริก ของเราไม่ต้องเลย ไม่ต้องลงทุนเยอะ แล้วก็ขายข้าวเหนียวได้ด้วยนะ ข้าวเหนียวนี่กิโลกรัมหนึ่งไปแช่แล้วเอามาหุงได้เพิ่มเป็นกิโลกรัมครึ่ง เอามาใส่ห่อได้ 15 ห่อ ห่อละขีด ขายได้ 75 บาท แต่ว่าต้นทุน 30 บาท บางคนเขาก็เชื่อ แม่ค้าเขาก็ฟังเราพูด หลายเจ้าเขาก็สั่ง หรือแม้แต่เจอคนตามใต้สะพานลอยที่เขาขายของ ป้ายรถเมล์ ใครขายตรงไหนจอดหมด ไปดอนเมืองเจอคนวิ่งก็เอาไปฝาก
“ทีนี้ บางคนพอเขาลองขาย แล้วได้กำไร เขาเชื่อที่เราบอก ก็เริ่มบอกต่อพี่ๆ น้องๆ ต่อๆ กันไป จากที่เคยสั่ง 50 ไม้ ก็เริ่มเป็น 100 ไม้ ที่เตาปูนก็ได้ลูกค้าเพิ่มมา 4-5 เจ้า วิ่งไปดอนเมืองก็เริ่มมีคนโทรมาสั่ง เราก็นึกใจ ทำไงดี ที่จะทำให้คนรู้จัก ก็เห็นร้านอาหาร “เขาสวนกวาง” เขาทำโปรโมทร้านค้า เราก็ไปจ้างเขาทำในตลาดที่ดอนเมือง ทำเป็นสติ๊กเกอร์แผ่นละ 6 บาท เราก็ไปขอติดแท็กซี่ของพรรคพวกที่ขับอยู่ แล้วก็สองแถวที่หน้าคิวมอเตอร์ไซค์ ขับไปตรงไหน ไม่เจอใครก็ติดตู้โทรศัพท์”
ใช้ชื่อว่า “หมูปิ้งปากเกร็ด” และเมื่อเป็นที่รู้จักพอสมควร ก็ริเริ่มวางแบรนด์ตัวเอง สร้างป้าย และมีเคาน์เตอร์
“ตอนนั้นมีเงินขึ้นมาหลักหมื่น จิตใจก็ฮึกเหิมอีกแล้ว (ยิ้ม) เราก็เริ่มมีหัว ก็เลยทำเคาน์เตอร์ไปให้น้าลง เอาหมูไปลงที่นั้น แต่ป้ายก็มีบางคนเอาไปใช้ บางคนก็ไม่เอาไปใช้ แต่คนก็เริ่มรู้จักเพิ่มมากขึ้น ซื้อต่อๆ กัน ทีนี้คนงานก็เพิ่ม เราก็ชักชวนคนแถวๆ นั้น มาช่วยเสียบไม้”
ตรงกับช่วงราวปี พ.ศ.2554 ชาวกรุงเทพฯ คงรู้กันดีว่าเกิดอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ ซึ่งทำให้เศรษฐกิจทรุดตัวลงเป็นอย่างมาก ไม่เว้นกระทั่งในวงการปิ้งหมู หลายต่อหลายเจ้าหนีน้ำ ยุติกิจการชั่วคราว แต่ทว่าเขากลับลองวัดดวง และสิ่งที่ใครๆ ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น
“ก็เราคิดอย่างเดียวว่าจะปลดหนี้ให้ได้ อยากจะดิ้นหนีความลำบาก มีเงินไปไถ่ที่ คิดแค่นี้ แม่ก็ถามว่าไม่กลัวหรือ ก็บอกไปว่าถ้ามันจะหมดก็ขอให้หมดอีกสักครั้ง เพราะปกติก็ไม่มีกันอยู่แล้ว ก็ไม่สนใจ ตั้งใจทำอย่างเดียว
“ปากเกร็ด น้ำก็จะท่วมแหล่ไม่ท่วมแหล่ แต่ได้อานิสงส์เมืองทอง ส่วนตรงอื่นท่ามไปหมดแล้ว ขณะที่ดอนเมืองยิงขู่กันทุกวันไม่ให้ทำลายคันดินกันน้ำที่ทำขึ้น ตรงโรงงานนี้ที่ทำอยู่ก็ไม่เหลือ เจ้าอื่นๆ เขาก็หยุดกัน เจ๊ๆ ที่ขายละแวกเราก็หยุด ลูกค้าก็เลยมาหาเรา ก็นับว่าโชคดี ตอนแรกเราก็นึกว่าจะทำไม่ทัน แต่บทมันจะโชคดีก็โชคดี ลูกจ้างของเจ้าอื่นๆ ก็ตกงาน เพราะเป็นงานเหมา เขาหยุดก็ไม่มีรายได้ ก็มาหาเรา กลายเป็นเราป๊อปขึ้นมาเลย
“ตอนนั้นลูกน้อง 40-50 คนเลย นั่งทำ น้ำขึ้นมาถึงหน้าแข้ง หูก็ฟังวิทยุประกาศทุกวัน เก็บข้าวของขึ้นที่สูงด้วย (หัวเราะ) แล้วส่งหมูเสร็จที ก็วิ่งไปดูน้ำที่แม่น้ำเจ้าพระยาที ว่ามาถึงไหนแล้ว”
เจ้าของโรงงานหมูเสียบไม้ยกมือท่วมหัว เพราะบทจะดี อะไรๆ มันก็ดีไปหมด ซึ่งยอดขายในคราวที่น้ำลด แทนที่จะลดไปตามน้ำ ทว่ากลับเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ และทำให้ใครต่อใครต่างเรียกขานเขาว่า “เฮีย” นับแต่นั้นมา
“เราก็เริ่มกลายเป็นเฮียขึ้นมา (หัวเราะ) ไม่ใช่เพราะว่ามีเชื้อสายจีนหรือรวยแล้วนะ แต่ตอนนั้น คนที่ขายหมูมีแต่เจ๊ๆ เราเป็นผู้ชายคนเดียว เขาก็เลยเรียกเฮียๆ เรื่อยมา”
เฮียนพกล่าวแซมยิ้ม ก่อนจะเล่าต่อถึงการขายที่ไม่หยุดหย่อนในช่วงนั้น
“ขายดีจนนมสดขาดตลาด ต้องไปดักซื้อที่บางบัวทอง ซื้อได้ไม่ถึงเดือน น้ำท่วมบางบัวทองอีก อีกแห่งก็โดน หาไม่ได้ ก็อาศัยสั่งลูกค้าไกลๆ แล้วนัดเจอกันบนทางด่วนบ้าง ตรงจุดสูงๆ ที่น้ำท่วมไปถึงบ้าง รถเก๋งเราเก่าๆ วิ่งไปจมไปครึ่งคัน แต่ก็วิ่ง
“ทีนี้ พอหนักๆ เข้า ตลาด 4 มุมเมืองก็จม ตลาดไทยจมหมด ใครก็อยากขายหมูให้เรา เราก็ได้หมูราคาถูก แถมได้ลูกค้าเพิ่ม คนงานมีเพิ่ม เพราะมีเราเจ้าเดียว ก็ขายดิบขายดี ไม่มีเวลานับ ไม่มีเวลาสนใจว่าได้เงินเท่าไหร่ จ่ายค่าหมู ค่าแรง ค่าของ ทุกอย่าง ทำเงินสดหมด ที่เหลือฝากตู้ๆ
“เชื่อไหมว่าแค่ช่วงเวลาประมาณ 3 เดือน พอน้ำลง จะไปเบิกเงินในบัญชีเพราะต้องการเงินไปไถ่ที่ และดูว่าเหลือเท่าไหร่ก็จะไปซื้อรถกระบะเอาไว้ใช้ขนส่ง จาก 3 ธนาคาร ตอนนั้นตกใจเลย เงินในบัญชีมีทั้งหมด 3 ล้านกว่าบาท"
กำเนิดโรงงานหมูปิ้งแห่งแรก
ในประวัติศาสตร์ชาติไทย
หลังจากครำเคี่ยวชีวิตล้มลุกหลายสิบปี ถึงตรงนี้นับเป็นความสำเร็จ จิตใจก็ยิ่งมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว มองภาพอนาคตถึงการสร้างโรงงานหมูปิ้ง ซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน
“คือเวลาเราเข้าร้านสะดวกซื้อ เราเห็นสินค้าอื่นๆ เขา เราก็อยากจะเห็นสินค้าเราบ้าง เพราะว่าของเราก็ขายได้ ถ้าเกิดเราทำได้มาตรฐานทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะเข้าไปวางในร้านสะดวกซื้อได้ เรามองอย่างนั้น แล้วก็ประจวบเหมะกับหลังน้ำลด ทางโรงพักเขาต้องการจะปรับปรุงวิสัยทัศน์ ที่ที่เราอยู่ตรงนั้นก็ต้องย้ายออก เราก็ไม่ว่าอะไร เพราะก็ถือเป็นบุญคุณอย่างล้นหลามแล้วที่เขาให้เราทำมาหากิน 3-4 ปี ก็ย้าย/ไปเช่าโรงงานร้างที่เขาเลิกกิจการแถวย่านติวานนท์
“ยอดขายก็ดีไม่มีตก และในระหว่างนั้นก็มีลูกค้าที่ซื้อขายกับเรามานาน แต่แรกๆ เขาสั่งทีละน้อยๆ ก่อน เหมือนลองตลาด จนเขาเห็นมันเป็นอะไรที่ว่ามันน่าจะไปได้ดี ก็เริ่มมาคุยกับเรา ถ้าสั่งวันละเท่านี้ราคาเท่าไหร่ ถ้าสั่งเท่านี้วันละเท่าไหร่ เอาราคามาต่อรองกัน เขาก็เข้ามาติดต่อออเดอร์ใหญ่วันละ 3-4 หมื่นไม้ เพราะเขาเห็นว่าเราส่งเองโดยตรงไม่ได้หรอก เพราะไม่มีทุน วันหนึ่ง 3-4 หมื่นไม้ เดือนเป็น 10 ล้าน เขาก็อาสามาเป็นคล้ายๆ ตัวประสาน เป็นคนรับส่ง
“ผมบอก ผมมั่นใจว่าทำให้ทัน แต่เอาเงินสดมาซื้อผม แล้วไปรับเครดิตเอา บวกราคาเพิ่มเอาเองแล้วกัน คือสมมุติว่าสามหมื่นไม้ บวกเพิ่มไม้ละ 50 สตางค์ วันหนึ่งก็ได้แล้ว 15,000 บาท ได้เท่าไหร่ก็แล้วแต่ เขาก็ไปนั่งคำนวณ กำไรมันเห็นๆ แค่ผ่านมือ แต่ว่าต้องเอาเงินสดมาให้เราเท่านั้นเอง แต่ตอนนั้นปัญหาเดียวก็คือเขากลัวว่าเราเลิกทำกลางคันจะทำอย่างไร เพราะเซ็นสัญญาซื้อขายกันเอาไว้ เราก็บอกว่าจะทำให้ดีที่สุด เอาเกียรติยศเป็นเดิมพัน คนไม่เคยรู้จักกัน ก็ไม่นึกว่าเขาจะเชื่อ แต่เราเป็นคนมีสัจจะ คำไหนคำนั้น ก็ทำมาตั้งแต่ตอนนั้น แล้วคนนี้ดีมาก เขาก็บอกว่าถ้าอยากจะเจริญก้าวหน้าต้องทำโรงงาน ทำให้ได้มาตรฐาน มี อย.รับรองด้วยยิ่งดีเลย เขาสอนเราหมด ก็ทำให้เราเริ่มมีฝัน
“แต่จะบอกกล่าวเหตุและผลกับใครในตอนนั้นก็ต้องถูกมองว่าบ้า เพราะในความคิดความอ่านของคนทั่วไป การประกอบอาชีพหมูปิ้ง ไม่ใช่เรื่องใหญ่ถึงขนาดต้องก่อโรงตั้งศาล เป็น “โรงงาน” อะไรใหญ่โต
“ทุกคนบอกว่าบ้าหมด ทุกคนที่ทำหมูด้วยกันบอกว่าบ้าหมด บ้าไปแล้ว หมูปิ้งก็เสียบตรงไหนก็ได้ มันไม่จำเป็นต้องมี อย. เพราะไม่ได้มีข้อกฎหมายกำหนด แล้วเราจะทำขายใครนักหนา เป็นแสนๆ ไม้ ก็ไม่มีใครเชื่อ
“ครอบครัวตอนนั้นก็ช็อก เพราะว่าลูกยังเรียนไม่จบเลย ภาระมากขึ้น ความคาดหวังมากขึ้น แม่ก็เหมือนกัน ว่าเลยว่าบ้าหรือไง ไปทำโรงงานหมูปิ้ง เพราะเสียบตามใต้ถุนบ้าน เขาทำกันเยอะแยะ แล้วถ้าหมดเงินจะทำอย่างไร มันจะไปได้สักแค่ไหน คือแม่ท่านคิดว่า ที่ได้มา เพราะมันได้ช่วงน้ำท่วม มันได้ช่วงโอกาส เหมือนฟลุ๊ค แล้วถ้าเกิดมันไปไม่รอดจะทำอย่างไร แต่เราคิดว่าไปรอด เพราะตั้งแต่ทำมา มันไม่เคยติดขัดอะไรเลยสักอย่าง มันก็ทำให้ใจเราฮึกเหิม ทีนี้ก็ต้องหาที่ใหม่เพื่อสร้างโรงงาน ก็ตระเวนขับรถดูสถานที่”
ขับดูอยู่หลายที่จนเจอแปลงที่ถูกใจ ทว่าว่าราคาที่สูงลิ่วกว่า 5 ล้านกว่าบาท เทียบเท่ากับเงินที่มี ถ้าซื้อที่ เงินลุงทุนในการทำกิจการต่อก็หมดสิ้น แต่บทคนเราจะโชคดี อะไรก็ฉุดไม่อยู่
“ก็อีกนั่นแหละ...บทมันจะโชคดีก็โชคดี โชคดีตั้งแต่มาเจอที่แปลงนี้แล้ว คือเราเป็นคนชอบให้ข้าวหมา ทำอย่างนี้มาตั้งแต่ตกงานแล้ว เพราะทำแล้วได้ความสบายใจ มันเป็นความสุขของเราที่ได้ให้ ได้เห็นเขาอิ่ม ไม่ต้องให้เขาไปคุ้ยขยะ กว่าจะได้มื้อหนึ่งกว่าจะอิ่ม แต่เราไปให้แค่กำมือเดียวอิ่มเลย เราก็มีความสุขของเรา
“จริงๆ แต่เดิมไม่ได้คลุกข้าว ที่ร้านน้องสาวเวลาข้าวเหลือ ก็เอาไปให้หมาตามข้างทาง บางทีวันไหนไม่มีก็คลุกข้าวให้มัน ทำจนถึงวันนี้ กลางคืนเที่ยงคืนตีหนึ่งขับรถไปให้ข้าวหมา เราก็ทำอย่างนี้ ผลสุดท้ายก็มาเจอที่แปลงนี้ตอนที่ขับรถเอาข้าวไปให้หมาในคืนหนึ่ง
“ก็ติดต่อคุยกันเสร็จ เจ้าของเอา 5 ล้าน 5 แสนบาท เขาไม่แบ่งขาย เจ้าของเขาแก่แล้ว ต้องซื้อหมดทีเดียว เราก็มีเงินแค่ 5 ล้าน ถ้าซื้อคือตอนนั้นสิ้นเนื้อประดาตัว เพราะยังกู้ก็ไม่ได้ ติดเครดิตอยู่ เราก็ต้องไปเซ็นค่าเนื้อหมูเขา ขอติด 2-3 เจ้า ได้เงินมา 5 แสน รวมแล้วไปซื้อ
“ซื้อมาได้ก็ไปขอแบบโรงงานจากโรงงานลูกชิ้นสุดซอย คนเขียนแบบเขาซื้อมา 6 หมื่นบาท ก็ไปยื่นเทศบาลปากเกร็ดว่าจะสร้างโรงงานหมูปิ้ง ไปตอนแรกเขาก็ขำและก็บอกเหมือนกับทุกคน จดทะเบียนบริษัทยุ่งยาก เสียภาษีอีกอะไรอีก เราก็บอกว่าไม่เป็นไร เราอยากทำ เขาก็ทนเราไม่ไหว ก็อนุญาตให้ก่อสร้าง ก็ต้องตั้งชื่อ ก็ช่วยกันคิด ผลสุดท้ายไปลงตัวที่คำว่า โรงงานเนื้อหมูเสียบไม้ ก็ได้ อ.1 ใบอนุญาตให้ก่อสร้างโรงงาน
“ทีนี้ทุนไม่มีก่อสร้าง ก็ติดต่อไปคุยกับผู้รับเหมาบอกว่าไม่มีสตางค์ แต่ว่าถ้ามีเงินเมื่อไหร่เริ่มลงมือได้เลย ถ้าไม่มีเงิน คุณจะหยุดแล้วไปทำงานข้างนอกก็ได้ พักที่นี่ได้ ใช้น้ำใช้ไฟที่นี้ได้เลย พอมีเงินค่อยกลับมาทำใหม่ ไม่ต้องทำสัญญากัน จะได้ไม่ต้องโดนปรับ วัดใจกัน ผลสุดท้ายเราก็โชคดี คือเราเจอแต่คนดี ไม่มีงานก็ไม่บ่นสักคำ พอมีเงินก็ทำที (ยิ้ม) ก็ค่อยทำมาจนจบปลายปี 2557 ใช้ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน จากนั้นก็ยื่นขอ อย.”
ก่อเกิดเป็นโรงงานหมูปิ้งอย่งาเต็มรูปแบบแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ยอดสั่งส่งขายทั่วภูมิภาคทั่วประเทศ สัปดาห์ละกว่าเกือบหนึ่งล้านไม้ ปัจจุบันเพิ่งเริ่มเปิดตัวไก่ปิ้งเสียบไม้ออกมาจำหน่ายอีกทางเลือก
“คือเรื่องของเรื่อง มีคนที่อยู่ต่างประเทศอย่างบังกะลาเทศ เขาเคยติดต่อขอให้เราทำ เพราะเขาเป็นมุสลิม มีคนไทยไปอยู่ที่นั่น เราก็เลยเริ่มทำ จริงๆ หลักการก็ไม่มีอะไร อย่างบางคนก็ถามเราเอาวิธีการคิดหลักการตลาดมาจากไหน บอกเลยไม่เคยอาย สูตรก็ไม่ใช่ของผม เพราะไม่ใช่ของเรา เราก็บอกเขาไปตามนี้ ใครก็เอาไปทำได้ แล้วถ้าคุณประสบความสำเร็จ เราก็ดีใจด้วย เราจึงเป็นเจ้าเดียวที่ไม่จดลิขสิทธิ์ ทุกคนรับของเราแล้วเอาไปสร้างแบรนด์กันเองได้
“หรือใครจะเอาป้ายผมไปติดก็ได้ ไม่ติดก็ได้ เพราะป้ายผมเป็นเพียงแค่แรงบันดาลใจให้กับเขา”
เฮียนพกล่าวถึงสิ่งที่ศรัทธายึดมั่น ตามสโลแกนแบรนด์โรงงานที่ว่า “เราผูกผันต่อความพอใจสูงสุดของลูกค้า”
“บางคนถามว่าถ้าอย่างนี้ก็มีคู่แข่ง เราก็ไม่กลัวหรือ ถ้ากลัวคู่แข่ง ผมถามว่าที่ทำกันอยู่ 20-30 เจ้า ถ้าเขาเลิกทำ ถ้าเหลือผมคนเดียวผมจะมีปัญญาทำทันไหม ไม่มีปัญญาทำทัน อย่างนี้ดีแล้ว ไม่เหนื่อยมาก แบ่งกันไป ทุกคนยังอยู่ก็แบ่งกันไป ความสุขก็มี คนขายก็ได้ขายกันทุกคน ไม่ใช่ว่ามีของบ้างไม่มีของบ้าง ก็ขาดทุนกันหมด ผมคิดของผมอย่างนี้ ไม่ได้คิดการยิ่งใหญ่ขนาดนั้น เอาแค่ว่าสร้างงานให้คนอื่นได้ คนที่ซื้อเราไปขายมีความสุข มีโอกาสได้ซื้อบ้าน รถ ได้เอาเงินไปทำบุญ ไปทำโครงการ เราเองได้เลี้ยงผู้คน แค่นี้ก็มีความสุขแล้ว
“แต่เราก็ไม่ได้ภาคภูมิใจในตัวเลขยอดขายนะ เพราะว่าสิ่งที่เราทำ เราเอาชีวิตเขามาต่อชีวิตเรา มันจะไปทำให้เราภาคภูมิใจได้ไง แม้จะเป็นกรรมที่เกิดจากสัมมาชีพ คือถ้าเราคิดเรื่องของอาหารการกินก็ทำอย่างนี้กันหมด หมู ไก่ แต่ถ้าถามจริงๆ อาหารที่ว่า เขามีสิทธิ์อยู่ในโลกนี้ไหม นก หนู ปู ปลา ก็มีสิทธิ์อยู่ในโลกนี้ บางทีเราเองเลยไม่สบายใจ ทุกวันนี้ทำบุญสร้างกุศลไม่ขาด สร้างกฐินผ้า ทอดผ้าป่า เลี้ยงอาหารกลางวัน แจกจักรยาน เด็กๆ ด้อยโอกาสตามต่างจังหวัด
“ทุกวันนี้ก็เลยยังใช้ชีวิตอยู่บ้านเอื้ออาทร คนอื่นเขาก็ถามทำไมเราไม่ซื้อบ้าน จะซื้อก็ได้ ก็บอกลูกกับภรรยาเหมือนกัน แต่บ้านใหญ่แค่ไหน เราก็นอนแค่อย่างมาก 2 เมตร ก็แค่ที่นอน ทุกวันนี้บางทีกางโซฟานอนในออฟฟิศ ทำงานเสร็จก็นอนในนี้ คือเป็นการใช้ความสุขจากความคิด จากจิตใจ ไม่ได้ใช้ความสุขจากเงินทอง ไม่เคยซื้อรถป้ายแดงส่วนตัว ถ้าเป็นรถขนส่งมี บริษัทมี เพราะมองว่าความสุขพวกนี้จริงๆ มันไม่ได้เกิดจากสิ่งสมมุติพวกนี้
“คือเรามีความสุขแล้วแค่นี้ มีความสุขกับสิ่งที่เราได้ให้งานเขาทำ สองร้อยกว่าคน เวลาเขาโอนเงินกลับบ้าน เรามีความสุขมาก เขาได้เงินกลับไป เราถามว่าส่งให้ลูกยัง เมียยัง พ่อแม่ยัง บางคนทางบ้านเขาโทรมาบอกเรา อย่าเพิ่งเลิกนะ หนูขายหมูเฮียแล้วก็ส่งด้วย ตอนนี้ซื้อบ้านได้แล้ว ซื้อรถได้แล้ว คือเราก็มีความสุขกับลูกค้าที่เห็นเขาตั้งตัวได้ เหมือนเห็นตัวเองในอดีต (ยิ้ม) เขามีอาชีพมีหลักแหล่ง ลูกน้องเราก็มีงานทำ ก็มีความสุข ความสุขอยู่ที่อย่างนั้นมากกว่า
“ถ้าใครสนใจ ผมเปิดสอนอาชีพทุกวันอาทิตย์ สอนปิ้งย่าง การนึ่งข้าวเหนียวอย่างไรให้นุ่ม คือผมไม่อยากให้คนที่ไม่มีสตางค์อยู่แล้ว มาซื้อหมูไปแล้วปิ้งไม่เป็นย่างไม่เป็นแล้วเสียหาย เงิน 400-500 บาทที่ใช้ลงทุนก็จะเสียเปล่า มาเรียนให้เป็นแล้วค่อยไปลงทุนขาย เขาจะได้ไม่ต้องเสียความรู้สึก”
หลังรอยยิ้มเต็มดวงหน้า ในแววตาดั่งเจิดจรัสด้วยวิสัยทัศน์และทัศนคติของชายวัยกลางคนผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตมีฐานะมั่นคงที่ใครๆ ต่างเรียกขานเคารพว่า “เฮีย”
ในขณะที่อีกด้านเรามองเห็น "เฮีย" ที่หมายถึงผู้มีหลักเลขที่มากกว่าและสูงด้วยประสบการณ์ที่สามารถแนะนำและเป็นต้นทางสำหรับใครก็ตามที่เจอะเจอเส้นทางในแบบเดียวกัน เป็นเข็มทิศชีวิตพิชิตอุปสรรค การต่อสู้ดิ้นรนคนหนึ่งที่น่ายกย่อง
“จริงๆ ผมมองว่าการที่เราอยู่กับอะไรนานๆ แล้วเราไปคิดถึงมันแต่ในทางลบ มันไม่สามารถจะแก้ปัญหาอะไรได้
“ถ้าเจอปัญหา คุณอย่าไปอยู่กับมันนานๆ อย่าไปให้อาหารแก่ปัญหา รีบเดินออกมาแล้วคิดว่ามันต้องแก้ได้ อย่าคิดสั้น อย่าคิดทำร้ายตัวเอง คิดว่าปัญหาเราหนักหนาที่สุดแล้ว ยังมีคนอื่นที่ปัญหาหนักอึ้งกว่าเราอีก ดูผมเป็นตัวอย่างก็ได้ ถ้าผมคิดสั้น ผมตายไม่รู้กี่รอบแล้ว บางเรื่องมันเป็นปัญหาหยุมหยิม มันไม่จำเป็น เพราะฉะนั้นก็อยากจะบอกว่าอย่าไปจมกับปัญหา รีบหาอะไรทำ รีบมองโลกในแง่ดี ทำอะไรที่เราถนัดที่สุด
“แต่ถ้าทำไปแล้วยังไม่เห็นผล เชื่อว่ามันมีปัจจัยหลายอย่าง เชื่อว่าบางคนทำไม่จริง ผมถึงพูดตลอดเสมอมาเวลาให้สัมภาษณ์กับสื่อทุกสื่อ เวลาที่เขาถามว่าทำอะไรถึงจะประสบความสำเร็จ
“อันที่จริง อาชีพทุกอาชีพมีคุณค่าเหมือนกันหมด รวยได้เหมือนกันหมด แต่อยู่ที่ว่าใครทำจริงไม่จริง ถ้าทำจริง คุณได้จริง แต่ถ้าทำเล่นๆ ก็ได้เล่นๆ มีบางคนโทรมาหาผม บอกว่ามีงานทำอยู่แล้ว จะเอาหมูไปขายเล่นๆ เราก็บอกเลยไม่ต้องขายดีกว่า เพราะทำเล่นๆ ก็จะได้แค่เล่นๆ อยู่แล้ว มันก็รู้ผลลัพธ์อยู่แล้ว ถ้าทำจริงก็ได้จริง ผมเชื่อว่าทุกอาชีพ ถ้าทำอย่างนี้ มันจะไปได้”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : สันติ เต๊ะเปีย