xs
xsm
sm
md
lg

สัมมนาร่วมไทย-จีน เส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 ตามรอยเจิ้งเหอในไทย 27 พ.ย.นี้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีนกำหนดจัดสัมมนาร่วมไทย-จีน เรื่องเส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 และตามรอยเจิ้งเหอในประเทศไทย 27 พ.ย.นี้ ที่โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ

ดร.ภูวนิดา คุนผลิน เลขานุการคณะกรรมการประสานงานร่วมจัดทำโครงการตามรอยเจิ้งเหอในประเทศไทย ของสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน เปิดเผยว่าคณะกรรมการร่วมฝ่ายไทยลงมติจัดสัมมนาร่วมไทย-จีน เรื่องเส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 และตามรอยเจิ้งเหอในประเทศไทย ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 ที่โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ ทั้งนี้จะมีการเชิญมูลนิธิเพื่อสันติภาพและการพัฒนา แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และพันธมิตรจากประเทศจีนจำนวน 20 คน มาเข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าวด้วย

ดร.ภูวนิดา คุนผลิน กล่าวว่าการสัมมนาจะจัดขึ้นเป็น 2 ภาค คือภาคเช้า เรื่องเส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 และภาคบ่าย เรื่องตามรอยเจิ้งเหอในประเทศไทย โดยจะเป็นการจัดสัมมนาเชิงเสวนาที่แต่ละภาคจะมี key note speaker ฝ่ายจีน-ไทย ฝ่ายละ 1 คน และมีนักวิชาการที่เกี่ยวข้องภาคเช้าฝ่ายละ 3 คน ภาคบ่ายฝ่ายละ 3 คน โดยจะเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้

ดร.ภูวนิดา คุนผลิน กล่าวอีกว่า การจัดสัมมนาเรื่องเส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 จะเป็นการนำข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ของยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 โดยในประเด็นสำคัญนั้นจะเป็นการจุดประกายความคิดว่า ประเทศไทยและชาวไทยจะเตรียมการรองรับเงินลงทุน 1.25 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และนักท่องเที่ยว 500 ล้านคน ที่จีนจะนำไปลงทุนในต่างประเทศ และให้ประชาชนจีนไปท่องเที่ยวต่างประเทศได้อย่างไร จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทย และยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น สำหรับการสัมมนาเรื่องตามรอยเจิ้งเหอในประเทศไทยนั้น จะเป็นการสัมมนาเพื่อนำข้อมูลทางประวัติศาสตร์มาบอกกล่าวต่อชาวโลกว่า เส้นทางสายไหมนั้นคือเส้นทางแห่งไมตรีการค้า และการลงทุน ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วตั้งแต่ 600 ปีก่อน และเป็นประโยชน์ยิ่งต่อภูมิภาคนี้ ทั้งนี้มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เจิ้งเหอเดินทางเข้ามาในประเทศไทยที่สมบูรณ์มาก จะเป็นการเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะตามเส้นทางเจิ้งเหอ คือตลอดฝั่งทะเลภาคใต้ขึ้นไปยังกรุงศรีอยุธยา และนครสวรรค์ ยาวไปถึงจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย เชื่อมโยงไปยังยูนนานและเมืองฉวนโจว มณฑลฮกเกี้ยนด้วย

กำหนดการสัมมนา

เวลา 08:30 น. - ลงทะเบียนสื่อมวลชนและผู้เข้าสัมมนา

เวลา 09:00 น. - พิธีเปิดงานสัมมนา “เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 ข้อเสนอแห่งสันติภาพและการพัฒนา?”
- ดร.ภูวนิดา คุนผลิน รองเลขาธิการ สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน กล่าวรายงาน
- ดร.โภคิน พลกุล นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน กล่าวเปิดงานสัมมนา
- Li Ruogu, Vice Chairman of China Foundation for Peace and Development (CFPD), Former Chairman and President of the Export-import Bank of China กล่าวปาฐกถา

เวลา 09:30 น. - แถลงข่าวการสัมมนา


เริ่มการสัมมนาช่วงเช้า

เวลา 10:00 น.-การบรรยาย

-Liu Ya, Council Member of CFPD, Vice President of the University of International Business and Economics (UIBE) ในหัวข้อ “เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21”

-คุณทนง ขันทอง บรรณาธิการอาวุโสเครือเนชั่น ในหัวข้อ “ทิศทางโลกภายใต้การขับเคลื่อนเส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21”

-Jin Yongming, Research Fellow of Institute of Law, Director of Research Center for China Ocean Strategy, Shanghai academy of social sciences, China ocean strategy research ในหัวข้อ “เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 กับ สันติภาพและการพัฒนา”

- Professor Zhang Xizhen Teaches of Pridi Banomyong International College, Thammasat University. ในหัวข้อ “เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 กับประเด็นที่ภาครัฐและภาคธุรกิจไทย ต้องจับตา”

-Wang Haifeng, Director of Trade and Investment Research, National Development and Reform Commission ในหัวข้อ “The Belt and Road เปิดเส้นเศรษฐกิจ บนเส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 ”

-พลโทหญิงดวงกมล สุคนธทรัพย์ ที่ปรึกษาและกรรมการสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน ในหัวข้อ “เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 อดีต-ปัจจุบัน และความสัมพันธ์ต่อภูมิภาคและประเทศไทย”


เริ่มการสัมมนาช่วงบ่าย

เวลา 13:00 น. -“ตามรอยเส้นทางแห่งสันติภาพยุค “เจิ้งเหอ” เมื่อ 600 ปีก่อน กล่าวเปิดการสัมมนาและปาฐกถาโดย
- คุณไพศาล พืชมงคล อุปนายกและเลขาธิการสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทยจีน
- Ji Ping, Deputy Sectary General of CFPD
เวลา 13:30 น. - Wu Hao, Executive director,School of Silk Road Research, Beijing Foreign Studies University ในหัวข้อ “ประวัติเส้นทางชีวิตและผลงานเจิ้งเหอ”
- ดร.สิทธิพล เครือรัฐติกาล ผู้อำนวยการโครงการปริญญาเอกสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนงานวิจัย "เจิ้งเหอในฐานะทูตสันติภาพของจีนเรื่องจริงหรืออิงนิยาย" ในหัวข้อ “เจิ้งเหอในฐานะทูตสันติภาพของจีน”
- Meng Fanshao, Specially Invited Director of CFPD, President of Beijing Yidege Cultural Industry Co. Ltd ในหัวข้อ “ตามรอยการสร้างกองเรือมหาสมบัติและการเตรียมการเดินทางสู่ท้อง ทะเล เมื่อ 600 ปีก่อน”
- คุณกวินธร วงศ์ลือเกียรติ และรศ.จีริจันทร์ วงศ์ลือเกียรติ ทายาทเจิ้งเหอ ในประเทศไทย ในหัวข้อ “เจิ้งเหอและกองเรือมหาสมบัติ กับการเยือนอาณาจักรสยาม”
- Zhang Zhen’gao, Council Member of CFPD, Board Director of China Poly Group Cooperation. ในหัวข้อ “เปิดปูมเส้นทางการเดินเรือ 7 ครั้ง ของเจิ้งเหอ และการก่อเกิดสันติภาพและการพัฒนา”
- Dr. Tan Ta Sen Chairman of the International Zheng He Societyในหัวข้อ “The 8th Zhenghe Voyage to the Western Ocean in the 21st Century: The Challenge and Opportuny”

เวลา 15:30 น. - ดร.ภูวนิดา คุนผลิน เลขานุการคณะกรรมการประสานงานโครงการ “สำรวจตามรอยเจิ้งเหอในประเทศไทย” ของสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน กล่าวสรุปการสัมมนา

เวลา 15.45 น. - ดร.ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง อุปนายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน และ ประธานมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี กล่าวปิดงานสัมมนา

สัมมนาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
สำรองที่นั่ง คลิกที่นี่

กำลังโหลดความคิดเห็น