ใกล้เข้ามาทุกขณะ สำหรับประชาคมอาเซียนที่จะเปิดอย่างเป็นทางการ มิวเซียมสยาม นำทุกท่านสัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่ในนิทรรศการ “ประสบการณ์หู สู่อาเซียน” ใช้หูเรียนรู้เพื่อนบ้าน ผ่านเสียงผู้คน ดนตรี วิถีชีวิต ธรรมชาติ และวัฒนธรรม เพื่อความเข้าใจในกันและกันระหว่างประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง
กล่าวได้ว่าเป็นนิทรรศการแปลกใหม่แบบที่ไม่ค่อยได้พบเห็นหรือกระทั่งไม่เคยได้พบเห็นมาก่อนในบ้านเรา สำหรับงาน “ประสบการณ์หู สู่อาเซียน เสียงฉัน เสียงเธอ เสียงของเรา” ซึ่งใช้ “หู” ในการ “ดูนิทรรศการ” แตกต่างจากที่ผ่านมา ซึ่งใช้สายตาในการชมภาพ
ความน่าสนใจของนิทรรศการนี้อยู่ที่รวบรวมเอาเสียงต่างๆ ทั้งเสียงดนตรี วิถีชีวิต ธรรมชาติ วัฒนธรรม ตลอดจนความเชื่อ ฯลฯ ซึ่งหาฟังได้ยาก จากภูมิภาคอาเซียน 10 ประเทศที่กำลังจะรวมตัวกันในนามของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มาเรียงร้อยเพื่อเล่าเรื่องในรูปแบบของนิทรรศการ “การจัดวางเสียง” (A Sound Installation Exhibition) ซึ่งใช้เทคนิคการบันทึกเสียงโดยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งเสียงที่มีมิติ ลุ่มลึก สมจริง ทิ้งทุกเสียงที่รบกวน นำผู้ฟังให้รู้สึกเสมือนหนึ่งได้เข้าไปฟังเสียงอยู่ในสถานที่นั้นจริงๆ
“มันคือการก้าวข้ามกรอบของการใช้แค่เพียงสัมผัสสะสายตา มาสู่การให้เสียงเป็นตัวกลางค่ะ”
ดร.อโณทัย นิติพน รองคณบดีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี หนึ่งในผู้พัฒนานิทรรศการครั้งนี้ ให้ความคิดเห็น
“ประสบการณ์หู สู่อาเซียน จะพาผู้ฟังจินตนาการข้ามเส้นเขตแดนของแผนที่ ท่องแดนอาเซียนไปกับเสียงดนตรี วิถีชีวิต ธรรมชาติ วัฒนธรรม ความเชื่อ และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อให้ผู้เข้าชมเข้าถึงความหลากหลายทางสังคม จุดร่วม จุดเชื่อม จุดต่าง ของวัฒนธรรม ผ่านประสบการณ์การได้ยิน”
ภายในงาน ผู้เข้าชมจะได้สัมผัส “เสียงอาเซียน” ผ่านโซนสองโซน ซึ่งประกอบไปด้วย
โซนที่ 1 สัมผัสกับเสียงในฐานะพลังงานอย่างหนึ่งซึ่งเปรียบเหมือนสัญญาณหรือสัญลักษณ์ของการสื่อสาร ที่มนุษย์ต้องทำความเข้าใจเพื่อการเรียนรู้และจดจำ โดยนำเสนอประสบการณ์ทางเสียงผ่านจอวีดิทัศน์คมชัดระดับไฮเดฟินิชัน พร้อมหูฟังคุณภาพสูง
สิ่งที่พิเศษในโซนนี้ คือการได้ฟังเสียงที่แตกต่างหลากหลาย เช่น เสียงดนตรีเขมรในยุค 60 ที่เหลือรอดจากการกวาดล้างของเขมรแดงอันสะท้อนภาพกัมพูชาในยุคที่วัฒนธรรมร่วมสมัยรุ่งเรืองในช่วงเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา, เสียงสวนเลนิน กรุงฮานอย ที่อื้ออึงไปด้วยจังหวะเพลงป๊อปประกอบการออกกำลังกายยามเช้าของชาวเวียดนาม, เสียงนกเงือกและชีวิตของผืนป่าแห่งซาราวักที่บันทึกจากเวลาฟ้าสางสู่กาลตะวันดับ บนเกาะบอร์เนียว มาเลเซีย, เสียงพิธีบวงสรวงร่างทรงองค์เทพของชาวบาหลี อินโดนีเซีย เสียงแห่งความเงียบของชายแดนไทย-เมียนมาร์ ฯลฯ
ขณะที่อีกหนึ่งโซน เป็นนิทรรศการสื่อผสม 360 องศา นำเสนอภาพและเสียงบนจอรอบทิศ ให้ผู้ชมสามารถหมุนได้รอบตัวเพื่อชมนิทรรศการอันตื่นตาตื่นใจ เรียนรู้จังหวะเสียงในแบบต่างๆ ที่จะแสดงถึงมิติทางสังคมของอาเซียน ทั้งในฐานะของเครื่องมือการก่อตัวทางสังคมและในฐานะเครื่องมือเชิงอำนาจ พร้อมด้วยการเปิดเว็บไซต์ให้ทุกคนได้ฟังเสียงประเภทต่างๆ จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจริงของศิลปิน และสามารถแบ่งปันเสียงให้คนทั่วโลกได้ฟัง ผ่านเว็บไซต์ www.asearn.com
“เชื่อว่าหลังจากชมจนจบนิทรรศการ เราสามารถจะใช้หูของตัวเองในกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นค่ะ” ดร.อโณทัย นิติพน กล่าวย้ำอีกครั้ง
“บางคนอาจจะเงี่ยหูรับฟังเสียงบางเสียงอย่างตั้งใจมากขึ้น และได้รับรู้รับฟังเสียงที่ต่างออกไป ทั้งที่อยู่รอบตัวเราทุกวันแต่ไม่เคยสังเกตก็เป็นได้ นิทรรศการนี้เท่ากับเป็นการเปิดโลกกว้างให้กับหูของเรา หลายคนเคยมาชมแล้วครั้งหนึ่ง แต่ก็ต้องกลับมาชมอีกครั้งหนึ่งหรืออีกหลายๆ ครั้ง เพราะเสียงที่นี่ มีมาเพิ่มเติมให้เราได้เรียนรู้มากขึ้นเรื่อยๆ ไปจนกว่าจะถึงวันสุดท้ายของการแสดง"
นิทรรศการนี้ มิวเซียมสยามได้รับความร่วมมือจากสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา, คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศิลปินผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสียงจากประเทศในอาเซียน โดยผู้สนใจ สามารถข้าชมได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 20 ธันวาคมนี้ เวลา 10.00 - 18.00 น. (ปิดเฉพาะวันจันทร์) โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาการจัดแสดงนิทรรศการ จะมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น การแสดงดนตรีจากศิลปินอาเซียน การฉายหนังกลางแปลง การบรรยาย และการเวิร์กช็อปอีกมากมาย ตลอดจนมีการเปิดเว็บไซด์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-225-2777 ต่อ 422 หรือเฟซบุ๊ก museumsiamfan
________________________________________
ข้อมูลบางส่วนและภาพบางภาพจากมิวเซียมสยาม
กล่าวได้ว่าเป็นนิทรรศการแปลกใหม่แบบที่ไม่ค่อยได้พบเห็นหรือกระทั่งไม่เคยได้พบเห็นมาก่อนในบ้านเรา สำหรับงาน “ประสบการณ์หู สู่อาเซียน เสียงฉัน เสียงเธอ เสียงของเรา” ซึ่งใช้ “หู” ในการ “ดูนิทรรศการ” แตกต่างจากที่ผ่านมา ซึ่งใช้สายตาในการชมภาพ
ความน่าสนใจของนิทรรศการนี้อยู่ที่รวบรวมเอาเสียงต่างๆ ทั้งเสียงดนตรี วิถีชีวิต ธรรมชาติ วัฒนธรรม ตลอดจนความเชื่อ ฯลฯ ซึ่งหาฟังได้ยาก จากภูมิภาคอาเซียน 10 ประเทศที่กำลังจะรวมตัวกันในนามของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มาเรียงร้อยเพื่อเล่าเรื่องในรูปแบบของนิทรรศการ “การจัดวางเสียง” (A Sound Installation Exhibition) ซึ่งใช้เทคนิคการบันทึกเสียงโดยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งเสียงที่มีมิติ ลุ่มลึก สมจริง ทิ้งทุกเสียงที่รบกวน นำผู้ฟังให้รู้สึกเสมือนหนึ่งได้เข้าไปฟังเสียงอยู่ในสถานที่นั้นจริงๆ
“มันคือการก้าวข้ามกรอบของการใช้แค่เพียงสัมผัสสะสายตา มาสู่การให้เสียงเป็นตัวกลางค่ะ”
ดร.อโณทัย นิติพน รองคณบดีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี หนึ่งในผู้พัฒนานิทรรศการครั้งนี้ ให้ความคิดเห็น
“ประสบการณ์หู สู่อาเซียน จะพาผู้ฟังจินตนาการข้ามเส้นเขตแดนของแผนที่ ท่องแดนอาเซียนไปกับเสียงดนตรี วิถีชีวิต ธรรมชาติ วัฒนธรรม ความเชื่อ และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อให้ผู้เข้าชมเข้าถึงความหลากหลายทางสังคม จุดร่วม จุดเชื่อม จุดต่าง ของวัฒนธรรม ผ่านประสบการณ์การได้ยิน”
ภายในงาน ผู้เข้าชมจะได้สัมผัส “เสียงอาเซียน” ผ่านโซนสองโซน ซึ่งประกอบไปด้วย
โซนที่ 1 สัมผัสกับเสียงในฐานะพลังงานอย่างหนึ่งซึ่งเปรียบเหมือนสัญญาณหรือสัญลักษณ์ของการสื่อสาร ที่มนุษย์ต้องทำความเข้าใจเพื่อการเรียนรู้และจดจำ โดยนำเสนอประสบการณ์ทางเสียงผ่านจอวีดิทัศน์คมชัดระดับไฮเดฟินิชัน พร้อมหูฟังคุณภาพสูง
สิ่งที่พิเศษในโซนนี้ คือการได้ฟังเสียงที่แตกต่างหลากหลาย เช่น เสียงดนตรีเขมรในยุค 60 ที่เหลือรอดจากการกวาดล้างของเขมรแดงอันสะท้อนภาพกัมพูชาในยุคที่วัฒนธรรมร่วมสมัยรุ่งเรืองในช่วงเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา, เสียงสวนเลนิน กรุงฮานอย ที่อื้ออึงไปด้วยจังหวะเพลงป๊อปประกอบการออกกำลังกายยามเช้าของชาวเวียดนาม, เสียงนกเงือกและชีวิตของผืนป่าแห่งซาราวักที่บันทึกจากเวลาฟ้าสางสู่กาลตะวันดับ บนเกาะบอร์เนียว มาเลเซีย, เสียงพิธีบวงสรวงร่างทรงองค์เทพของชาวบาหลี อินโดนีเซีย เสียงแห่งความเงียบของชายแดนไทย-เมียนมาร์ ฯลฯ
ขณะที่อีกหนึ่งโซน เป็นนิทรรศการสื่อผสม 360 องศา นำเสนอภาพและเสียงบนจอรอบทิศ ให้ผู้ชมสามารถหมุนได้รอบตัวเพื่อชมนิทรรศการอันตื่นตาตื่นใจ เรียนรู้จังหวะเสียงในแบบต่างๆ ที่จะแสดงถึงมิติทางสังคมของอาเซียน ทั้งในฐานะของเครื่องมือการก่อตัวทางสังคมและในฐานะเครื่องมือเชิงอำนาจ พร้อมด้วยการเปิดเว็บไซต์ให้ทุกคนได้ฟังเสียงประเภทต่างๆ จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจริงของศิลปิน และสามารถแบ่งปันเสียงให้คนทั่วโลกได้ฟัง ผ่านเว็บไซต์ www.asearn.com
“เชื่อว่าหลังจากชมจนจบนิทรรศการ เราสามารถจะใช้หูของตัวเองในกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นค่ะ” ดร.อโณทัย นิติพน กล่าวย้ำอีกครั้ง
“บางคนอาจจะเงี่ยหูรับฟังเสียงบางเสียงอย่างตั้งใจมากขึ้น และได้รับรู้รับฟังเสียงที่ต่างออกไป ทั้งที่อยู่รอบตัวเราทุกวันแต่ไม่เคยสังเกตก็เป็นได้ นิทรรศการนี้เท่ากับเป็นการเปิดโลกกว้างให้กับหูของเรา หลายคนเคยมาชมแล้วครั้งหนึ่ง แต่ก็ต้องกลับมาชมอีกครั้งหนึ่งหรืออีกหลายๆ ครั้ง เพราะเสียงที่นี่ มีมาเพิ่มเติมให้เราได้เรียนรู้มากขึ้นเรื่อยๆ ไปจนกว่าจะถึงวันสุดท้ายของการแสดง"
นิทรรศการนี้ มิวเซียมสยามได้รับความร่วมมือจากสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา, คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศิลปินผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสียงจากประเทศในอาเซียน โดยผู้สนใจ สามารถข้าชมได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 20 ธันวาคมนี้ เวลา 10.00 - 18.00 น. (ปิดเฉพาะวันจันทร์) โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาการจัดแสดงนิทรรศการ จะมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น การแสดงดนตรีจากศิลปินอาเซียน การฉายหนังกลางแปลง การบรรยาย และการเวิร์กช็อปอีกมากมาย ตลอดจนมีการเปิดเว็บไซด์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-225-2777 ต่อ 422 หรือเฟซบุ๊ก museumsiamfan
________________________________________
ข้อมูลบางส่วนและภาพบางภาพจากมิวเซียมสยาม