กว่า 50 ปีที่คลุกคลีอยู่กับการทำหัวโขน ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย “สมชาย ล้วนวิลัย” ได้รับการเชิดชูด้วยรางวัลครูภูมิปัญญารุ่น 7 ที่ยืนหยัดทัดทานกระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมไทย
จากเด็กน้อยในครอบครัวยากจนย่านคลองสาน จับพลัดจับผลูฝึกหัดเขียนงานศิลปะจากตุ๊กตาไทยตัวจิ๋ว สู่การสร้างหัวโขนใต้ก้นกุฏิของบรมครู “ชิด แก้วดวงใหญ่” และไม่เคยจรจากไปไหนจากศิลปะแขนงนี้อีกเลย
เพราะรักจึงธำรง
เพราะเห็นค่าสูงส่ง จึงยังคงสืบสาน
เศียรโขนนั้นเป็นยิ่งกว่าตำนาน
เพราะคือหนึ่งในรากเหง้าที่ยืนยันตัวตนของเราคนไทย
ที่ควรส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น
ในทัศนะของครูชราวัยกว่า 70 ปี
“สมชาย ล้วนวิลัย”...
เพราะใจรัก...
จากเด็กปั้นนางรำสู่ช่างทำหัวโขนชั้นครู
"ผมเกิดในครอบครัวที่ฐานะยากจน อยู่แถวคลองสาน พ่อเป็นพนักงานรับจ้างของกรมสรรพาวุธ เงินเดือนไม่พอเลี้ยงลูก 7-8 คน ผมจบ ป.4 ก็ไม่ได้เรียนหนังสือต่อ และด้วยความเป็นเด็กเราก็ซน ผู้ใหญ่เขารำคาญ ยายจึงนำไปฝากกับบ้านข้างๆ ที่เขาปั้นตุ๊กตารำไทย ให้เป็นลูกมือ ตอนนั้นก็เลยได้โอกาสฝึกหัดการเขียนจนอายุประมาณ 14-15 เขาเลิกกิจการ ผู้ใหญ่เขาเห็นว่ามีแววทางด้านนี้ก็เลยพาไปฝาก"
และอาจารย์ผู้เบิกเนตรส่องทางในตอนนั้นก็คือ “ครูชิด แก้วดวงใหญ่” ปูชนียบุคคลซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สืบสานตำรับตำราการทำเศียรโขนจาก “คุณพระเทพยนต์” (จำรัส ยันตรปรากรณ์) และ “ขุนสกลบัณฑิต” ช่างหลวงในกรมสิบหมู่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6
"แรกๆ จริงๆ ก็ไม่รู้จักหัวโขนด้วยซ้ำ ตอนผู้ใหญ่เขาฝากฝังให้ ผมก็ไม่ได้เรียนแล้ว จบแค่ ป.4 พาไปไหนผมก็ไป เพราะเราก็จนมุม (หัวเราะ) พอไปอยู่กับครูชิด ก็เริ่มรู้จักหัวโขนที่แท้จริงหน้าตาเป็นอย่างไร แล้วก็ฝึกฝนกับครูชิด เป็นลูกมือท่าน ท่านใช้อะไร เราก็ทำ แต่ด้วยความที่ผมเคยทำตุ๊กตารำไทยในตำแหน่งช่างเขียน ก็เลยมีพื้นฐาน เวลาครูใช้อะไร ส่วนมากก็จะทำได้ดี ได้รับคำชมอยู่เสมอ แล้วเราก็ตั้งใจทำ
"ใหม่ๆ ก็แย่ตามภาษาเด็ก เรี่ยวแรงไม่ค่อยจะมี ทำวันแรกๆ ก็ไข้ขึ้นเลย แต่เราก็ทนไป เพราะไม่รู้จะทำอะไร" ครูสมชายเผยด้วยรอยยิ้มให้กับคืนวันที่ผ่านพ้น การทำหัวโขนสักหนึ่งเศียรมีขั้นตอนกรรมวิธีที่ต้องทั้งประณีต อดทน และใช้แรงอย่างยิ่งยวด
โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นขึ้นรูปด้วยการนำเอาดินเหนียวมาปั้นแต่ง เมื่อได้แล้วก็ต้องกัดดินเหนียวให้เป็นปูน (สมัยก่อนไม่มีปูนปลาสเตอร์ ก็จะเผาดินเหนียวให้สุข) พอแข็งแล้วก็ล้วงดินออก และก่อนจะเทปูนปลาสเตอร์เข้าไปที่เบ้า จะต้องทาด้วยน้ำมันกันติด เสร็จแล้วจึงแกะทุบเปลือกออกมาก็จะได้หัวโขน
หลังจากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนที่สองคือการปิดหุ่น จะต้องใช้กระดาษมาละเลงกับแป้งเปียกแล้วแปะหลายๆ ชั้น ส่วนมากจะใช้กระดาษ เพราะว่ามีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ แต่ต้องเป็นกระดาษที่ผลิตด้วยกรรมวิธีที่สะอาด เมื่อแปะกระดาษจนได้ความหนาที่ต้องการ จึงนำไปผึ่งแดด ขั้นตอนตรงนี้ใช้เวลารวมประมาณ 4 วัน ต่อการแปะในแต่ละชั้น เสร็จแล้วแกะออก แล้วเย็บตะเข็บให้เรียบร้อย
ขั้นที่สาม คือการปั่นแต่ง...หลังจากได้หุ่นหัวเศียรมาแล้ว โครงยังมีความไม่ชัดเจนคมชัดของใบหน้า หัวโขนจะสวยหรือไม่สวยอยู่ที่ขั้นตอนนี้ ช่างจะต้องขัดเกลาด้วยกระดาษทรายจากมือเปล่า 3-4 ครั้ง จนสวยได้รูป ซึ่งในสมัยโบราณจะใช้ “ลัก” แต่สมัยนี้นิยมใช้ขี้เลื่อยผสมแป้งเปียกเพื่อให้มีน้ำหนักเบา เรียบร้อยแล้วจึงลงลายและติดประดับส่วนองค์ต่างๆ ทีละชิ้นๆ ก่อนจะลงลักษณ์ปิดทอง เขียนหน้า ติดแวว เครื่องประดับเพชรต่างๆ หลักกลางร้อยเม็ด
รวมทั้งสิ้น 15 วันโดยเฉลี่ย ต่อการทำหัวโขนหนึ่งเศียร จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทำให้เกิดความรักกลายเป็นความผูกพันระหว่างคนกับงาน ยึดแนวทางนี้มาตั้งแต่ตอนนั้น
"ทีนี้พอได้เรียนรู้ พอเราได้ทำ มันก็เกิดความรัก เมื่อความรักมันเข้ามาบวกกับเราเห็นสิ่งที่ทำมากขึ้นๆ เราก็เริ่มศึกษา เริ่มรู้จักเรื่องราว มันก็ฝังเข้าไปในใจ เราก็อยากจะเป็นอย่างช่างฝีมือแบบช่างสมัยโบราณที่เน้นความประณีตงดงาม อีกอย่างมันก็เป็นรากเหง้าบรรพบุรุษของเรา ถ้าเราไม่ทำแล้วใครจะทำ แม้ว่าลำบากในเรื่องการเงินอย่างที่ครูชิดแกว่า ถ้าอยากรวยให้ไปทำอย่างอื่น
"ที่ครูชิดท่านว่าอย่างนั้น เป็นเพราะช่วงนั้นเพิ่งจะเลยช่วงหลังสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีมาหมาดๆ ที่เขามีการสั่งห้ามการแสดงที่ล้าสมัย คนก็เลยจะกลัวๆ กัน แล้วก็บวกกับความเชื่อค่านิยมเรื่องเศียรโขนว่าเป็นของสูง ศักดิ์สิทธิ์ เป็นของมีครู งานช่วงนั้นส่วนใหญ่เลยมีเพียงจากกรมศิลปากรเป็นหลัก แต่ก็มีไม่บ่อย นอกนั้นก็จะเป็นงานละครแถวๆ ย่านถนนหลานหลวง ถนนเพชรบุรี
"ฉะนั้น ว่ากันที่รายรับ ก็จะไม่รุ่งเรืองเท่าไหร่ แต่ทางด้านความหมายศิลปะรุ่งเรืองมาก ความนิยมมีเป็นอย่างมาก สมัยนั้น ราคาหัวโขนหนึ่งเศียรประมาณ 800 บาท เต็มที่เลย ก็เยอะนะ แต่ก็ยังไม่พอกิน ขายได้ในวงจำกัดเจ้าขุนมูลนาย แล้วการทำงานสมัยนั้น สิ่งต่างๆ เครื่องมืออุปกรณ์วัสดุ มันค่อนข้างลำบาก อย่างจำพวกวัตถุดิบ ลัก มันก็จะแข็ง ทำงานยาก เดือนหนึ่ง ทำได้สองหัว ก็นับว่าเก่งแล้ว
"ต่อมา บ้านเมืองของเราเปลี่ยนไป ในยุคของผมคือปลายๆ ยุคครูชิด เริ่มเปลี่ยนมาในเรื่องของการท่องเที่ยวมากขึ้น จะมีฝรั่งเข้ามาเยอะขึ้น เพราะสมัยนั้นมีสงครามเวียดนาม ฝรั่งก็จะมาตั้งฐานทัพที่สัตหีบ แล้วพวกนี้เขาก็ไม่ได้มาแต่ทหาร ก็จะมีพวกพ่อค้าติดมาด้วย ฉะนั้น ในยุคนั้น บ้านเมืองเราก็จะเกิดพวกบาร์ พวกร้านจิวเวลรี
"พวกนี้ก็จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนลักษณะ จากหัวโขนเศียรใหญ่ที่คนสวมใช้เพื่อการแสดงแล้ว ก็ย่อลงมาเป็นของที่ระลึก คือถ้าเราทำหัวโขนอย่างที่เราใช้สวมศีรษะอย่างเดียว ฝรั่งเขาก็เอาไปไม่สะดวกใช่ไหม มันก็จะเริ่มเกิดจากตรงนั้น จุดแรกก็แถวราชประสงค์"
การค้าขายที่กว้างขวางขึ้น กลายเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยเผยแพร่ส่งต่อในเวลานั้น
"ก็มีการพัฒนาไปเรื่อยๆ มีการท่องเที่ยวกว้างมากขึ้น อย่างโขนคณะหนึ่งหัวหน้าคณะก็ลำบาก เพราะต้องใช้คนเยอะ พอใช้เยอะ ทุนมันก็เยอะ เลี้ยงกันไม่ไหว ต่ำๆ โรงหนึ่งขี้หมูขี้หมาต้องมี 30 กว่าคน เพราะสองกองทัพ กองทัพสักโหลหนึ่งก็จำนวน 24 คนเข้าไปแล้ว ไหนจะเครื่องระนาด คนเบื้องหลังอีกหลายคน ฉะนั้น ทุนรอนก็จะสู้ไม่ค่อยไหว ก็เลิกกันไปเยอะ บางคนถ้ามีงานประจำ ประเภทงานหลักเมืองก็พออยู่ได้ ใครไม่มีก็อยู่ไม่ได้
"ช่วงราวปี พ.ศ. 2517 ผมเริ่มออกมาสร้างสรรค์ผลงานเอง ผมก็เริ่มไปมองกลุ่มลูกค้าจิวเวลรี เพราะต้องมีลูกค้าแน่นอน แต่ก็เจอปัญหาใหญ่เข้าเลย คือเรามีแต่ความรู้เรื่องของการทำ แต่เราไม่มีความรู้เรื่องของการขาย เราก็คิดว่าทำแล้วคงจะมีคนเขาแย่งซื้อเรา เปล่าเลย เดินขายจนรองเท้าขาดเป็นคู่ๆ ยังไม่ค่อยได้เลย เพราะว่ามันมีเทคนิคเยอะ คือส่วนหนึ่งเราเข้าไปขาย ต้องอย่าลืมว่าเราต้องชิงลูกค้าจากที่เขามีอยู่เดิมแล้ว
"อีกอย่าง พ่อค้าส่วนหนึ่งเขาก็ต้องการของถูกแต่ดี บางครั้งเขาก็บอกให้ฝากขายไว้ก่อน ขายได้เมื่อไหร่ก็มาเอาไป ซึ่งเราเอง ทุนรอนก็ไม่ค่อยมี ไปวางอย่างนั้น เราก็อดตาย เราก็ต้องเรียนรู้จากตรงนี้ บางครั้งต้องยอมขายถูกเพื่อความอยู่รอดไว้ก่อน ก็ขายถูกลงมาหน่อย แล้วแต่เราจะตกลง แล้วแต่เขาจะมีน้ำใจกรุณา เราคิดว่าเราเอาถูกดีกว่า ยังไงก็ได้เงินกลับบ้าน ก็ต้องยอม แรกๆ ก็อย่างนั้น แต่พอของเราเข้าไปอยู่ในตลาดแล้ว คนซื้อเขาเป็นผู้ตัดสิน ของเราก็ขายได้"
เมื่อทำไปได้สักระยะหนึ่ง ครูสมชายในสมัยนั้นต้องพับวางมือการทำเศียรโขนลงชั่วคราว จากที่เคยเรียกได้ว่าทำในทุกลมหายใจเข้าออก กลายมาเป็นงานอดิเรกช่วงวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ ที่ว่างเว้นจากงานประจำร่วมกว่า 10 ปี
"คือพอทำได้สักระยะหนึ่ง ก็ต้องไปทำงานเป็นลูกจ้าง ทำกระสุนปืนที่กรมสรรพาวุธทหารบก (หัวเราะ) ซึ่งตรงนั้น เราก็ไม่ชอบอยู่แล้ว รู้สึกว่ามันบาป ผมก็คิดจะออกตลอดเวลา แต่เพราะว่าต้องหาทุน อย่างน้อยเราก็เอามาซื้อของซื้ออะไร เอาไว้ทำในวันเสาร์-อาทิตย์ที่เราหยุด แล้วเราก็จะได้ไม่ต้องกดดัน รีบขายราคาต่ำ เพราะเรามีเงินเดือนกินใช้ ก็ทนทำอยู่เกือบ 10 ปี
"จนกระทั่งได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ ทำให้เกิดการกระจายสินค้า ลูกค้ากลุ่มนี้ก็คือคนกลางที่เขารับจัดการขายของให้กับลูกค้าแทบทุกชนิด เราเข้าไปตรงนี้ก็ได้จำนวนเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าเขาไม่ได้ขายอย่างเดียว เขาสามารถจะกระจายสินค้าเราได้ มี 2-3 รายก็พอแล้ว คือถ้าไปขายที่พัทยาก็เกือบทั้งจังหวัด กลุ่มลูกค้าก็เพิ่มมากขึ้น ผมคิดว่าอยู่ไหวแล้ว ผมก็เลยลาออกจากกรมสรรพาวุธ"
ครูภูมิปัญญารุ่น 7
ชีวิตนี้อุทิศเพื่อ "โขน"
จากที่ไม่รู้จัก กระทั่งเกิดเป็นความรักความผูกพัน แม้ว่าต้องลำบากในเรื่องของการเงิน แต่เมื่อรักแล้ว ย่อมต้องมุ่งต่อไปข้างหน้า หาวิธีอยู่ร่วมกับสิ่งนั้นให้ได้
"ลูกค้าตอนนั้น คนไทยก็เพิ่มมากขึ้น พอเราเปลี่ยนงานมาส่วนหนึ่ง ก็พอมีคนรู้จักบ้าง เริ่มมีคนมาติดต่อ แนะนำกันปากต่อปาก ให้มาซ่อมงาน ก็กล้าให้งานดีๆ เราทำ เพราะฝีไม้ฝีมือเราพอจะเข้าขั้น ระยะต่อมาก็มีโอกาสไปออกงานต่างๆ อย่างเช่นงานที่ได้รับการตอบรับและทำให้มีชื่อเสียงขึ้นมาก็คือ งานพระเจ้าตาก วันพระเจ้าตาก ที่คลองสาน"
ครูสมชายเล่าถึงช่วงชีวิตที่เริ่มพลิกฟื้น หลังจาก 12 ปีที่ผ่านมา คลุกคลานไร้ชื่อเสียง จนกระทั่งวัยล่วงเลยเบญจเพส
"สำคัญคือเราได้มีโอกาสเปิดตัว ตอนนั้นอายุก็ประมาณ 25-26 แต่งงานมีลูกแล้ว ก็เพิ่งจะได้โอกาส จริงๆ เรื่องการเปิดตัวผมก็ไม่ได้ตั้งใจ ก็เป็นความบังเอิญ เพราะว่าในตอนนั้นที่เขตคลองสานเขาจะมีงานครบรอบ 80 ปีเขต ท่าน ผอ.ประวิทย์ ทองภูเบศร์ สมัยนั้น ท่านเป็นคนที่ชอบอะไรเก่าๆ แล้วก็อีกประการหนึ่ง เขตคลองสานเป็นเขตที่เขาเรียกว่าเมืองหลวงเก่า ฉะนั้น เขตนี้ก็จะมีความเจริญในอดีตสูง อย่างเช่นบ้านคุณหลวงเจ้าพระยาอะไรทั้งหลายตั้งอยู่ในเขตนี้นั้น พวกตระกูลต่างๆ ตระกูลหวั่งหลี ตระกูลล่ำซำ ก็อยู่ตรงนั้น ทำให้มีประวัติเก่าแก่ ท่านก็เลยอยากจะย้อนประวัติศาสตร์ จึงจัดงาน “80 ปี คลองสาน” ขึ้นมา
"โดยวัตถุประสงค์ของงาน ท่านอยากให้เน้นหนักในเรื่องฝีไม้ลายมือ ก็ให้หน่วยพัฒนาชุมชนจัดการดำเนินการสรรหา เขาก็มาเจอผมกำลังทำงานที่บ้าน (หัวเราะ) เลยชวนไปออกงานที่เขตคลองสาน งานจัดทั้งหมด 3 วัน เราก็ไปตามนิสัยที่ไม่ได้คิดอะไร ไปทั้งๆ ที่ตัวเองก็ไม่แน่ใจว่าจะขายได้หรือเปล่า ก็คิดแค่ว่าเอาไปให้เด็กดูแล้วกัน ของเราก็ไม่มีมากหรอก เขาก็ให้บูทหนึ่ง แต่ปรากฏว่ามันผิดคาด งานนั้นขายกันไม่รู้เรื่องเลย มีแต่คนเข้ามา งานนั้นถือเป็นงานแรกเลยที่หัวโขนซึ่งเราทำได้รับการจัดให้เป็นของดีเขตคลองสาน"
ต่อมาก็ได้เป็น “ของดี โอทอป” (OTOP) และในปี พ.ศ. 2548 ครูสมชายก็ได้รับการเสนอชื่อรับรางวัล "ครูภูมิปัญญารุ่นที่ 7" สาขาศิลปกรรม ก่อนที่หลังจากนั้นจะร่วมสร้างกิจการกับภรรยาในนาม "บ้านโขนไทย" อันเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ทั้งในและนอกวงการ ซึ่งยังได้รับการสืบทอดโดยทายาทอยู่จนทุกวันนี้
"เวลาเราทำงาน ลูกมือที่ดีที่สุดก็คือเมีย (หัวเราะ) เพราะว่าไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง ก็ช่วยๆ กัน อีกทั้งตอนนั้นก็ไม่ได้คิดใหญ่โตไปจ้างใคร ก็ทำในครอบครัวมากกว่า แต่ว่าฐานะก็ยังไม่ดีเท่าไหร่นะ ก็ทำไป ช่วยๆ กันไป แต่ว่าภรรยาผมจะถนัดในเรื่องขายมากกว่า หลังๆ ก็เลยให้เขาไปเป็นแผนกขาย ส่วนผมก็ทำอยู่เบื้องหลังแทน"
"แต่ตอนนี้ไม่ได้ทำกับเขาแล้ว ลูกๆ เขาดูแล เราก็ออกมาทำของเราในชื่อเรา"
ครูสมชายเผย ก่อนจะเว้นวรรค ละไว้ในฐานที่เข้าใจ แม้ชีวิตคู่อาจจะแยกย้าย แต่สิ่งหนึ่งที่ยังมั่นคงก็คือการสืบสานศิลปวัฒนธรรมโขนอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติบ้านเมือง
"นอกจากทำเคียรในส่วนของเรา ผมก็ยังเคยมีให้คำปรึกษา ให้ความรู้แก่เด็กๆ ปีหนึ่งๆ ก็เยอะเหมือนกัน เพราะผมก็เคยสอนตามโรงเรียนมาบ้าง แล้วบางทีเด็กๆ ที่มาขอความรู้เพื่อทำรายงานกับผมก็เยอะ แนะนำกันมารุ่นสู่รุ่น แทบจะทุกมหาวิทยาลัย จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ มีหมด เคยมีถึงระดับปริญญาโทมาทำปริญญานิพนธ์
"คือถ้าถามว่าทำไมถึงยังทำอยู่ ไม่ไปหาอะไรอย่างอื่นทำ ผมก็ไม่รู้ เพราะเราทำมาจนถึงตอนนี้ก็ 50 กว่าปีแล้ว มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว อาจจะลำบากหน่อย อาศัยบ้านพี่สาวอยู่ แต่เรารักที่จะทำอย่างที่บอก เราไม่เคยหวั่น ทุกวันนี้ก็ยังคงทำเศียรโขนอยู่ทุกวัน ไม่มีวันหยุด เพราะโขนคือรากเหง้า เรามีประสบการณ์ความสามารถก็อยากจะถ่ายทอด แถมสถานการณ์ตอนนี้ของโขนก็กำลังดี ดีกว่าสมัยก่อนอีก เราจะเห็นว่าโขนเข้าสู่สถาบันการศึกษาหรือในรูปของการท่องเที่ยว การแสดงก็กว้างขวางมากขึ้น มีโรงแรมรองรับ คนที่เล่นก็สามารถประกอบอาชีพเสริมพิเศษ คืนหนึ่ง อาจจะรับแสดงเล่นสองงาน หรือไม่ก็ไปสอนตามโรงเรียน หรือเปิดสอนอบรมที่บ้านตัวเอง
“ที่สำคัญ เขามีโอกาสแสดงงานเยอะ ไม่ต้องอยู่แต่ในกรมกอง รองานแสดงพิธีต่างๆ เท่านั้น สมัยนี้สามารถขยายออกไปได้ มันรุ่งกว่า ไหนจะต่างชาติที่ให้ความนิยม สังเกตง่ายๆ เดี๋ยวนี้ ฝรั่งนั่งสมาธิกันเยอะขึ้น เรื่องโขนก็เช่นกัน ฝรั่งเขาก็ชอบสิ่งที่คนไทยเราทำ สิ่งที่อ่อนหวาน สิ่งที่เป็นจรรยามารยาท ทำไมฝรั่งมาเมืองไทย เขาถึงอยากยกมือไหว้ กินต้มยำกุ้งแล้วบอกอร่อย
“ถ้ามีโอกาสมีผู้สนับสนุนก็อยากทำอีกในเรื่องของการเผยแพร่ เพราะผมคงอยู่ได้อีกไม่นาน ฉะนั้น ชีวิตบั้นปลายอยากจะมอบอุทิศความรู้ที่เรามีให้สังคม แต่ถ้าไม่มี อย่างน้อยที่สุดก็ฝากไว้อยู่คู่ฟ้าคู่ดินในแผ่นดิน เพราะปัจจุบันนี้ ความคิดอย่างนั้นมันก็ยังไม่หมด ถึงจะแก่ขนาดนี้ผมก็ยังจะทำ ยังมีไฟที่จะอยากสร้างสรรค์ให้งาน ก็คิดว่าตลอดชีวิตจะให้กับงานตรงนี้"
คน “โขน” คือ คน “ไทย”
วิถีที่ไม่มีวันตาย
ท่ามกลางเทคโนโลยีทีรุกคืบศิลปวัฒนธรรมค่อยๆ ถูกกลืนหาย ลมหายใจของโขน ศิลปะแขนงโบราณอันเป็นรากเหง้าวัฒนธรรมกว่าหลายร้อยปีจะ เป็นอยู่อย่างไร
หลักๆ ตอนนี้มีช่างคนไหนบ้างที่ยังคงร่วมสืบสานศิลปะโขน
รุ่นอาวุโสรุ่นที่อยู่ในระดับแนวหน้าก็จะมีครูสำเนียง ผดุงศิลป์ จังหวัดอ่างทอง อาจารย์ตู่ วรวินัย หิรัญมาศ อาจารย์เพาะช่าง แล้วก็มีตาบทิพย์ แก้วดวงใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม ก็จะมี 3 ราย คือรุ่นนี้ก็จะทำหน้าที่ต่างกัน อย่างผมเองก็จะทำประดิษฐ์ผลงาน ส่วนอาจารย์วรวินัย ครูสำเนียง เขาก็จะผลิตด้านของคนก็จะผลิตนักศึกษามาเยอะ หรืออย่างอาจารย์ตาบทิพย์ก็ประดิษฐ์หัดสอนในวังชาย พวกนี้แหละที่จะมาเป็นคนรุ่นใหม่ที่ทำ
คิดว่าศิลปะแขนงนี้จะไม่สูญหายไป
ไม่สูญหายแน่นอน สบายใจได้ เพราะก็ยังมีคนรุ่นใหม่มีฝีมือหลายคน มีแววขึ้นเยอะ เพราะต่อให้คนส่วนใหญ่จะมองว่าเด็กรุ่นใหม่สมัยนี้นิยมค่านิยมต่างชาติ แต่เมื่อใดก็ตามที่อายุเขามากขึ้น เขาก็จะหวนกลับมาสู่เรื่องตรงนี้ ผมเองเมื่อก่อนก็คลั่ง เอลวิส เพรสลีย์ เหมือนกัน แต่พอถึงจุดหนึ่งก็กลับมา เพราะมันคือตัวตนเรา มันเป็นจิตวิญญาณของเรา มันถูกจริต งานพวกนี้เราต้องเข้าใจว่า กว่าจะเป็นประเทศเรามาได้ มันต้องผ่านอะไรมาก่อนเยอะ ผ่านเวลา ผ่านชีวิตผู้คนต่างๆ
คนเราจะอยู่หมู่บ้านร่วมกันได้มันต้องคิดใกล้เคียงกัน นิสัยก็ต้องคล้ายคลึงกัน มันก็จะเริ่มมีขอบเขต มีกฎเกณฑ์ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี จนกระทั่งหล่อหลอมมาเป็นคนไทย สมมติง่ายๆ เราไปต่างประเทศ เราไม่เห็นวัดเลย ก็จะนึกถึง ทั้งๆ ที่บางที เราก็ตำหนิพระ เราอยู่บ้านเรา เราเบื่อวัดก็มี มันก็เป็นอย่างนั้น เขาถึงได้บอกว่า ของบางสิ่ง ถ้ายังมีอยู่ เราก็ยังไม่นึกถึง แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่หาย เราจะรู้สึกเลยว่าเราขาดอะไรไป
แนวโน้มมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี มีการแตกแขนงกิ่งก้าน การผสมผสานศิลปะดั้งเดิมกับศิลปะสมัยใหม่ เราต้องคำนึงถึงอะไรบ้างมั้ยเพื่อไม่ให้ความถูกต้องถูกกลืนหายไป
ตรงนี้จริง เพราะมันจะเปลี่ยนไปหมดเลยเรื่อยๆ ถ้าเรายังไม่หาทางที่จะให้คนเข้าใจในเรื่องนี้ว่าจุดสำคัญของมันควรจะเป็นตรงไหน ศิลปะโขนไม่ใช่มาแข่งในเรื่องที่ไม่ควรจะแข่งแล้วเราก็ไปจี้ตรงนั้น อย่างการทำเศียรโขนของเดิมโบราณที่ถูกต้องเขาจะมองที่ลักษณะใบหน้า ทรงชฎาถูกต้องหรือไม่ แล้วเวลาใส่ คนมองต้องรู้สึกสบายๆ ไม่ใช่ใส่แล้วทำให้คนรู้สึกว่ามันลงมาตรงหน้าผาก ไม่เจ็บหรือ และก็ไม่ใช่เครื่องประดับประดาเพชรพลอยจินดาเหมือนสมัยนี้ ใส่สายเข้าไปเยอะๆ โบราณเขาใส่สายพอดี แค่ไหนเขาหยุดแค่นั้น เขาไม่ต่อจนเต็ม เขาจะเน้นไปที่หน้า พอมองหน้าแล้วปุ๊บ อย่างหน้าฤาษี สบายๆ ท่านไม่ลำบากเหมือนเรามองพระพุทธรูปนั้นคือความรู้สึกที่เรารู้สึกได้เป็นศิลปะชั้นสูง ตรงนี้ถือว่าเจ๋งที่สุดแล้ว ถ้าคุณทำไม่ได้ก็ไม่เอา
อย่างของผมคือการทำงานผมจะเน้นพยายามแนวอนุรักษ์ คือผมจะไม่มีการไปดัดแปลงหรือไปแก้ไขพยายามตามของเก่าให้ใกล้เคียงที่สุด คนดูแล้วถ้าคนมองงานอาจรู้สึกว่าไม่หวือหวาไม่โดน แต่ว่าเรามองไประยะยาวสิ่งเหล่านี้ต้องคงไว้ ไม่อย่างนั้นบางครั้งเราทำงานกลายเป็นทำงานตามใจคนสั่ง คนสั่งกลายเป็นผู้รู้มากกว่า จะเอาอย่างนี้แบบนี้ บางทีเราจะเอาเงินก็ต้องยอม คือแทนที่เขาจะถามว่าแบบไหนที่มันถูกต้อง ที่มันดี หรือว่าตรงนี้มันเป็นอย่างไร
ถ้าพูดถึงกรณีการนำโขนมาดัดแปลงประยุกต์จะเป็นการเสื่อม การลบหลู่หรือไม่
จริงๆ เราพูดอย่างนั้นมันก็ไม่ค่อยยุติธรรม บางทีไอ้การที่เรามองว่าเป็นการลบหลู่ ถ้าอย่างนั้นมันก็จะอยู่ในส่วนแคบ แต่ถ้าศิลปะโขนอยู่กับทุกคนแฝงอยู่กับทุกอาชีพ หนึ่งมันก็ทำให้ช่างอยู่ได้ เราอยู่ได้งานก็คงอยู่ ยังได้เผยแพร่ เพียงแต่ว่าทุกอย่างมีความสำคัญ อย่างหน้าครูบาร์อาจารย์หรือหน้าเทพคุณก็ควรทำให้มันสมควร
ส่วนถ้าเขาเอาไปทำอะไรไม่ดี ความเสื่อมมันก็จะอยู่กับเขาเอง สมัยโบราณก็มีพวกที่เขาเอาไปเล่นเลียนแบบกรมศิลป์ บอกตัวเองว่าเป็นกรมสาก เล่นแบบไม่นุ่งผ้า โชว์หน้าอก ตรงนี้ถ้าถามว่าจะว่าใคร จะว่าคนทำหรือจะว่าคนเล่น มันก็ต้องว่าเขาเอง ถ้าสังคมตรงนั้นเขาไม่ต้อนรับ คุณก็อยู่ไม่ได้ จริงๆ แล้วทุกอย่างจะโทษคนทำไม่ได้ ต้องคนหนุนด้วย คุณไม่ดู ใครจะอยู่ได้อย่างไร
ทั้งหมดทั้งมวลสำหรับตัวครู มองว่าคุณค่าทางศิลปะแขนงนี้คือเส้นสายเรื่องราวรากเหง้าบ้านเรา
เรื่องคุณค่าของคนไทย เราต้องยอมรับว่ามันมีหลายแบบ อาหารทางกายมันก็สำคัญ แต่ทางเรื่องศิลปะมันเป็นอาหารทางใจ คนเราจะมีความสุข เราจะแค่กินแค่เที่ยวก็ไม่ได้ ก็ต้องมีความสุขที่จิตใจด้วย ศิลปะมันก็จะให้ในเรื่องความสุขทางใจ อย่างน้อยในเรื่องความสงบ เรานั่งมองหัวโขนหัวโขนหนึ่ง เราอาจจะนั่งมองได้เป็นชั่วโมงๆ แล้วก็คิดถึงเรื่องราวมากมาย เวลาที่เขาแสดงเป็นอย่างไร หรือว่าเขาคิดขึ้นมาได้อย่างไร ขั้นตอนการทำเขาทำอย่างไร และหัวโขน ถ้าทำดีๆ มันจะมีเสน่ห์มากเลย สวยงามมาก
ฉะนั้น ในหัวโขนมันก็จะมีทั้งเรื่องราว ทั้งลักษณะสีสันที่สวยงามถูกจริตมนุษย์ ข้อสำคัญคืองานพวกนี้มันเป็นสุดยอดศิลปะ เหตุเพราะมันเป็นจินตนากาที่ไม่มีในโลกนี้ ฉะนั้น อะไรก็ตามที่มันไม่มีในโลกนี้มันย่อมดูไม่เบื่อ ไม่เหมือนอย่างเรามีดอกไม้สักดอก เราดูแป๊บเดียวก็เบื่อ นั่นเพราะมันมีให้เห็นบนโลกอย่างมากมาย แต่ศิลปะการทำหัวโขนถ้าเราได้สัมผัส เราจะรู้ว่าเป็นสิ่งที่มีค่าสวยงาม เหมาะที่จะเก็บรักษาเอาไว้ มันเป็นของโบราณที่เขาได้สร้างมา ก็มีอายุหลายสิบหลายร้อยปีแล้ว เราก็ถือว่าเป็นรุ่นต่อไปที่ควรจะรักษา
เวลานี้ ช่างหัวโขนมีไม่มากนัก ก็อยากให้คนไทยเราหันมามองศิลปะแขนงนี้ ถือว่าเป็นการช่วยกันคนละไม้ละมือ ส่วนผม บั้นปลายชีวิตก็ตั้งใจไว้ว่าจะทำจนวันสุดท้าย ถึงแก่อายุ 66 ปีแล้วในตอนนี้ แต่ไฟที่จะสร้างสรรค์นั้นไม่เคยมอด
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : สันติ เต๊ะเปีย
จากเด็กน้อยในครอบครัวยากจนย่านคลองสาน จับพลัดจับผลูฝึกหัดเขียนงานศิลปะจากตุ๊กตาไทยตัวจิ๋ว สู่การสร้างหัวโขนใต้ก้นกุฏิของบรมครู “ชิด แก้วดวงใหญ่” และไม่เคยจรจากไปไหนจากศิลปะแขนงนี้อีกเลย
เพราะรักจึงธำรง
เพราะเห็นค่าสูงส่ง จึงยังคงสืบสาน
เศียรโขนนั้นเป็นยิ่งกว่าตำนาน
เพราะคือหนึ่งในรากเหง้าที่ยืนยันตัวตนของเราคนไทย
ที่ควรส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น
ในทัศนะของครูชราวัยกว่า 70 ปี
“สมชาย ล้วนวิลัย”...
เพราะใจรัก...
จากเด็กปั้นนางรำสู่ช่างทำหัวโขนชั้นครู
"ผมเกิดในครอบครัวที่ฐานะยากจน อยู่แถวคลองสาน พ่อเป็นพนักงานรับจ้างของกรมสรรพาวุธ เงินเดือนไม่พอเลี้ยงลูก 7-8 คน ผมจบ ป.4 ก็ไม่ได้เรียนหนังสือต่อ และด้วยความเป็นเด็กเราก็ซน ผู้ใหญ่เขารำคาญ ยายจึงนำไปฝากกับบ้านข้างๆ ที่เขาปั้นตุ๊กตารำไทย ให้เป็นลูกมือ ตอนนั้นก็เลยได้โอกาสฝึกหัดการเขียนจนอายุประมาณ 14-15 เขาเลิกกิจการ ผู้ใหญ่เขาเห็นว่ามีแววทางด้านนี้ก็เลยพาไปฝาก"
และอาจารย์ผู้เบิกเนตรส่องทางในตอนนั้นก็คือ “ครูชิด แก้วดวงใหญ่” ปูชนียบุคคลซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สืบสานตำรับตำราการทำเศียรโขนจาก “คุณพระเทพยนต์” (จำรัส ยันตรปรากรณ์) และ “ขุนสกลบัณฑิต” ช่างหลวงในกรมสิบหมู่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6
"แรกๆ จริงๆ ก็ไม่รู้จักหัวโขนด้วยซ้ำ ตอนผู้ใหญ่เขาฝากฝังให้ ผมก็ไม่ได้เรียนแล้ว จบแค่ ป.4 พาไปไหนผมก็ไป เพราะเราก็จนมุม (หัวเราะ) พอไปอยู่กับครูชิด ก็เริ่มรู้จักหัวโขนที่แท้จริงหน้าตาเป็นอย่างไร แล้วก็ฝึกฝนกับครูชิด เป็นลูกมือท่าน ท่านใช้อะไร เราก็ทำ แต่ด้วยความที่ผมเคยทำตุ๊กตารำไทยในตำแหน่งช่างเขียน ก็เลยมีพื้นฐาน เวลาครูใช้อะไร ส่วนมากก็จะทำได้ดี ได้รับคำชมอยู่เสมอ แล้วเราก็ตั้งใจทำ
"ใหม่ๆ ก็แย่ตามภาษาเด็ก เรี่ยวแรงไม่ค่อยจะมี ทำวันแรกๆ ก็ไข้ขึ้นเลย แต่เราก็ทนไป เพราะไม่รู้จะทำอะไร" ครูสมชายเผยด้วยรอยยิ้มให้กับคืนวันที่ผ่านพ้น การทำหัวโขนสักหนึ่งเศียรมีขั้นตอนกรรมวิธีที่ต้องทั้งประณีต อดทน และใช้แรงอย่างยิ่งยวด
โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นขึ้นรูปด้วยการนำเอาดินเหนียวมาปั้นแต่ง เมื่อได้แล้วก็ต้องกัดดินเหนียวให้เป็นปูน (สมัยก่อนไม่มีปูนปลาสเตอร์ ก็จะเผาดินเหนียวให้สุข) พอแข็งแล้วก็ล้วงดินออก และก่อนจะเทปูนปลาสเตอร์เข้าไปที่เบ้า จะต้องทาด้วยน้ำมันกันติด เสร็จแล้วจึงแกะทุบเปลือกออกมาก็จะได้หัวโขน
หลังจากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนที่สองคือการปิดหุ่น จะต้องใช้กระดาษมาละเลงกับแป้งเปียกแล้วแปะหลายๆ ชั้น ส่วนมากจะใช้กระดาษ เพราะว่ามีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ แต่ต้องเป็นกระดาษที่ผลิตด้วยกรรมวิธีที่สะอาด เมื่อแปะกระดาษจนได้ความหนาที่ต้องการ จึงนำไปผึ่งแดด ขั้นตอนตรงนี้ใช้เวลารวมประมาณ 4 วัน ต่อการแปะในแต่ละชั้น เสร็จแล้วแกะออก แล้วเย็บตะเข็บให้เรียบร้อย
ขั้นที่สาม คือการปั่นแต่ง...หลังจากได้หุ่นหัวเศียรมาแล้ว โครงยังมีความไม่ชัดเจนคมชัดของใบหน้า หัวโขนจะสวยหรือไม่สวยอยู่ที่ขั้นตอนนี้ ช่างจะต้องขัดเกลาด้วยกระดาษทรายจากมือเปล่า 3-4 ครั้ง จนสวยได้รูป ซึ่งในสมัยโบราณจะใช้ “ลัก” แต่สมัยนี้นิยมใช้ขี้เลื่อยผสมแป้งเปียกเพื่อให้มีน้ำหนักเบา เรียบร้อยแล้วจึงลงลายและติดประดับส่วนองค์ต่างๆ ทีละชิ้นๆ ก่อนจะลงลักษณ์ปิดทอง เขียนหน้า ติดแวว เครื่องประดับเพชรต่างๆ หลักกลางร้อยเม็ด
รวมทั้งสิ้น 15 วันโดยเฉลี่ย ต่อการทำหัวโขนหนึ่งเศียร จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทำให้เกิดความรักกลายเป็นความผูกพันระหว่างคนกับงาน ยึดแนวทางนี้มาตั้งแต่ตอนนั้น
"ทีนี้พอได้เรียนรู้ พอเราได้ทำ มันก็เกิดความรัก เมื่อความรักมันเข้ามาบวกกับเราเห็นสิ่งที่ทำมากขึ้นๆ เราก็เริ่มศึกษา เริ่มรู้จักเรื่องราว มันก็ฝังเข้าไปในใจ เราก็อยากจะเป็นอย่างช่างฝีมือแบบช่างสมัยโบราณที่เน้นความประณีตงดงาม อีกอย่างมันก็เป็นรากเหง้าบรรพบุรุษของเรา ถ้าเราไม่ทำแล้วใครจะทำ แม้ว่าลำบากในเรื่องการเงินอย่างที่ครูชิดแกว่า ถ้าอยากรวยให้ไปทำอย่างอื่น
"ที่ครูชิดท่านว่าอย่างนั้น เป็นเพราะช่วงนั้นเพิ่งจะเลยช่วงหลังสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีมาหมาดๆ ที่เขามีการสั่งห้ามการแสดงที่ล้าสมัย คนก็เลยจะกลัวๆ กัน แล้วก็บวกกับความเชื่อค่านิยมเรื่องเศียรโขนว่าเป็นของสูง ศักดิ์สิทธิ์ เป็นของมีครู งานช่วงนั้นส่วนใหญ่เลยมีเพียงจากกรมศิลปากรเป็นหลัก แต่ก็มีไม่บ่อย นอกนั้นก็จะเป็นงานละครแถวๆ ย่านถนนหลานหลวง ถนนเพชรบุรี
"ฉะนั้น ว่ากันที่รายรับ ก็จะไม่รุ่งเรืองเท่าไหร่ แต่ทางด้านความหมายศิลปะรุ่งเรืองมาก ความนิยมมีเป็นอย่างมาก สมัยนั้น ราคาหัวโขนหนึ่งเศียรประมาณ 800 บาท เต็มที่เลย ก็เยอะนะ แต่ก็ยังไม่พอกิน ขายได้ในวงจำกัดเจ้าขุนมูลนาย แล้วการทำงานสมัยนั้น สิ่งต่างๆ เครื่องมืออุปกรณ์วัสดุ มันค่อนข้างลำบาก อย่างจำพวกวัตถุดิบ ลัก มันก็จะแข็ง ทำงานยาก เดือนหนึ่ง ทำได้สองหัว ก็นับว่าเก่งแล้ว
"ต่อมา บ้านเมืองของเราเปลี่ยนไป ในยุคของผมคือปลายๆ ยุคครูชิด เริ่มเปลี่ยนมาในเรื่องของการท่องเที่ยวมากขึ้น จะมีฝรั่งเข้ามาเยอะขึ้น เพราะสมัยนั้นมีสงครามเวียดนาม ฝรั่งก็จะมาตั้งฐานทัพที่สัตหีบ แล้วพวกนี้เขาก็ไม่ได้มาแต่ทหาร ก็จะมีพวกพ่อค้าติดมาด้วย ฉะนั้น ในยุคนั้น บ้านเมืองเราก็จะเกิดพวกบาร์ พวกร้านจิวเวลรี
"พวกนี้ก็จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนลักษณะ จากหัวโขนเศียรใหญ่ที่คนสวมใช้เพื่อการแสดงแล้ว ก็ย่อลงมาเป็นของที่ระลึก คือถ้าเราทำหัวโขนอย่างที่เราใช้สวมศีรษะอย่างเดียว ฝรั่งเขาก็เอาไปไม่สะดวกใช่ไหม มันก็จะเริ่มเกิดจากตรงนั้น จุดแรกก็แถวราชประสงค์"
การค้าขายที่กว้างขวางขึ้น กลายเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยเผยแพร่ส่งต่อในเวลานั้น
"ก็มีการพัฒนาไปเรื่อยๆ มีการท่องเที่ยวกว้างมากขึ้น อย่างโขนคณะหนึ่งหัวหน้าคณะก็ลำบาก เพราะต้องใช้คนเยอะ พอใช้เยอะ ทุนมันก็เยอะ เลี้ยงกันไม่ไหว ต่ำๆ โรงหนึ่งขี้หมูขี้หมาต้องมี 30 กว่าคน เพราะสองกองทัพ กองทัพสักโหลหนึ่งก็จำนวน 24 คนเข้าไปแล้ว ไหนจะเครื่องระนาด คนเบื้องหลังอีกหลายคน ฉะนั้น ทุนรอนก็จะสู้ไม่ค่อยไหว ก็เลิกกันไปเยอะ บางคนถ้ามีงานประจำ ประเภทงานหลักเมืองก็พออยู่ได้ ใครไม่มีก็อยู่ไม่ได้
"ช่วงราวปี พ.ศ. 2517 ผมเริ่มออกมาสร้างสรรค์ผลงานเอง ผมก็เริ่มไปมองกลุ่มลูกค้าจิวเวลรี เพราะต้องมีลูกค้าแน่นอน แต่ก็เจอปัญหาใหญ่เข้าเลย คือเรามีแต่ความรู้เรื่องของการทำ แต่เราไม่มีความรู้เรื่องของการขาย เราก็คิดว่าทำแล้วคงจะมีคนเขาแย่งซื้อเรา เปล่าเลย เดินขายจนรองเท้าขาดเป็นคู่ๆ ยังไม่ค่อยได้เลย เพราะว่ามันมีเทคนิคเยอะ คือส่วนหนึ่งเราเข้าไปขาย ต้องอย่าลืมว่าเราต้องชิงลูกค้าจากที่เขามีอยู่เดิมแล้ว
"อีกอย่าง พ่อค้าส่วนหนึ่งเขาก็ต้องการของถูกแต่ดี บางครั้งเขาก็บอกให้ฝากขายไว้ก่อน ขายได้เมื่อไหร่ก็มาเอาไป ซึ่งเราเอง ทุนรอนก็ไม่ค่อยมี ไปวางอย่างนั้น เราก็อดตาย เราก็ต้องเรียนรู้จากตรงนี้ บางครั้งต้องยอมขายถูกเพื่อความอยู่รอดไว้ก่อน ก็ขายถูกลงมาหน่อย แล้วแต่เราจะตกลง แล้วแต่เขาจะมีน้ำใจกรุณา เราคิดว่าเราเอาถูกดีกว่า ยังไงก็ได้เงินกลับบ้าน ก็ต้องยอม แรกๆ ก็อย่างนั้น แต่พอของเราเข้าไปอยู่ในตลาดแล้ว คนซื้อเขาเป็นผู้ตัดสิน ของเราก็ขายได้"
เมื่อทำไปได้สักระยะหนึ่ง ครูสมชายในสมัยนั้นต้องพับวางมือการทำเศียรโขนลงชั่วคราว จากที่เคยเรียกได้ว่าทำในทุกลมหายใจเข้าออก กลายมาเป็นงานอดิเรกช่วงวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ ที่ว่างเว้นจากงานประจำร่วมกว่า 10 ปี
"คือพอทำได้สักระยะหนึ่ง ก็ต้องไปทำงานเป็นลูกจ้าง ทำกระสุนปืนที่กรมสรรพาวุธทหารบก (หัวเราะ) ซึ่งตรงนั้น เราก็ไม่ชอบอยู่แล้ว รู้สึกว่ามันบาป ผมก็คิดจะออกตลอดเวลา แต่เพราะว่าต้องหาทุน อย่างน้อยเราก็เอามาซื้อของซื้ออะไร เอาไว้ทำในวันเสาร์-อาทิตย์ที่เราหยุด แล้วเราก็จะได้ไม่ต้องกดดัน รีบขายราคาต่ำ เพราะเรามีเงินเดือนกินใช้ ก็ทนทำอยู่เกือบ 10 ปี
"จนกระทั่งได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ ทำให้เกิดการกระจายสินค้า ลูกค้ากลุ่มนี้ก็คือคนกลางที่เขารับจัดการขายของให้กับลูกค้าแทบทุกชนิด เราเข้าไปตรงนี้ก็ได้จำนวนเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าเขาไม่ได้ขายอย่างเดียว เขาสามารถจะกระจายสินค้าเราได้ มี 2-3 รายก็พอแล้ว คือถ้าไปขายที่พัทยาก็เกือบทั้งจังหวัด กลุ่มลูกค้าก็เพิ่มมากขึ้น ผมคิดว่าอยู่ไหวแล้ว ผมก็เลยลาออกจากกรมสรรพาวุธ"
ครูภูมิปัญญารุ่น 7
ชีวิตนี้อุทิศเพื่อ "โขน"
จากที่ไม่รู้จัก กระทั่งเกิดเป็นความรักความผูกพัน แม้ว่าต้องลำบากในเรื่องของการเงิน แต่เมื่อรักแล้ว ย่อมต้องมุ่งต่อไปข้างหน้า หาวิธีอยู่ร่วมกับสิ่งนั้นให้ได้
"ลูกค้าตอนนั้น คนไทยก็เพิ่มมากขึ้น พอเราเปลี่ยนงานมาส่วนหนึ่ง ก็พอมีคนรู้จักบ้าง เริ่มมีคนมาติดต่อ แนะนำกันปากต่อปาก ให้มาซ่อมงาน ก็กล้าให้งานดีๆ เราทำ เพราะฝีไม้ฝีมือเราพอจะเข้าขั้น ระยะต่อมาก็มีโอกาสไปออกงานต่างๆ อย่างเช่นงานที่ได้รับการตอบรับและทำให้มีชื่อเสียงขึ้นมาก็คือ งานพระเจ้าตาก วันพระเจ้าตาก ที่คลองสาน"
ครูสมชายเล่าถึงช่วงชีวิตที่เริ่มพลิกฟื้น หลังจาก 12 ปีที่ผ่านมา คลุกคลานไร้ชื่อเสียง จนกระทั่งวัยล่วงเลยเบญจเพส
"สำคัญคือเราได้มีโอกาสเปิดตัว ตอนนั้นอายุก็ประมาณ 25-26 แต่งงานมีลูกแล้ว ก็เพิ่งจะได้โอกาส จริงๆ เรื่องการเปิดตัวผมก็ไม่ได้ตั้งใจ ก็เป็นความบังเอิญ เพราะว่าในตอนนั้นที่เขตคลองสานเขาจะมีงานครบรอบ 80 ปีเขต ท่าน ผอ.ประวิทย์ ทองภูเบศร์ สมัยนั้น ท่านเป็นคนที่ชอบอะไรเก่าๆ แล้วก็อีกประการหนึ่ง เขตคลองสานเป็นเขตที่เขาเรียกว่าเมืองหลวงเก่า ฉะนั้น เขตนี้ก็จะมีความเจริญในอดีตสูง อย่างเช่นบ้านคุณหลวงเจ้าพระยาอะไรทั้งหลายตั้งอยู่ในเขตนี้นั้น พวกตระกูลต่างๆ ตระกูลหวั่งหลี ตระกูลล่ำซำ ก็อยู่ตรงนั้น ทำให้มีประวัติเก่าแก่ ท่านก็เลยอยากจะย้อนประวัติศาสตร์ จึงจัดงาน “80 ปี คลองสาน” ขึ้นมา
"โดยวัตถุประสงค์ของงาน ท่านอยากให้เน้นหนักในเรื่องฝีไม้ลายมือ ก็ให้หน่วยพัฒนาชุมชนจัดการดำเนินการสรรหา เขาก็มาเจอผมกำลังทำงานที่บ้าน (หัวเราะ) เลยชวนไปออกงานที่เขตคลองสาน งานจัดทั้งหมด 3 วัน เราก็ไปตามนิสัยที่ไม่ได้คิดอะไร ไปทั้งๆ ที่ตัวเองก็ไม่แน่ใจว่าจะขายได้หรือเปล่า ก็คิดแค่ว่าเอาไปให้เด็กดูแล้วกัน ของเราก็ไม่มีมากหรอก เขาก็ให้บูทหนึ่ง แต่ปรากฏว่ามันผิดคาด งานนั้นขายกันไม่รู้เรื่องเลย มีแต่คนเข้ามา งานนั้นถือเป็นงานแรกเลยที่หัวโขนซึ่งเราทำได้รับการจัดให้เป็นของดีเขตคลองสาน"
ต่อมาก็ได้เป็น “ของดี โอทอป” (OTOP) และในปี พ.ศ. 2548 ครูสมชายก็ได้รับการเสนอชื่อรับรางวัล "ครูภูมิปัญญารุ่นที่ 7" สาขาศิลปกรรม ก่อนที่หลังจากนั้นจะร่วมสร้างกิจการกับภรรยาในนาม "บ้านโขนไทย" อันเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ทั้งในและนอกวงการ ซึ่งยังได้รับการสืบทอดโดยทายาทอยู่จนทุกวันนี้
"เวลาเราทำงาน ลูกมือที่ดีที่สุดก็คือเมีย (หัวเราะ) เพราะว่าไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง ก็ช่วยๆ กัน อีกทั้งตอนนั้นก็ไม่ได้คิดใหญ่โตไปจ้างใคร ก็ทำในครอบครัวมากกว่า แต่ว่าฐานะก็ยังไม่ดีเท่าไหร่นะ ก็ทำไป ช่วยๆ กันไป แต่ว่าภรรยาผมจะถนัดในเรื่องขายมากกว่า หลังๆ ก็เลยให้เขาไปเป็นแผนกขาย ส่วนผมก็ทำอยู่เบื้องหลังแทน"
"แต่ตอนนี้ไม่ได้ทำกับเขาแล้ว ลูกๆ เขาดูแล เราก็ออกมาทำของเราในชื่อเรา"
ครูสมชายเผย ก่อนจะเว้นวรรค ละไว้ในฐานที่เข้าใจ แม้ชีวิตคู่อาจจะแยกย้าย แต่สิ่งหนึ่งที่ยังมั่นคงก็คือการสืบสานศิลปวัฒนธรรมโขนอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติบ้านเมือง
"นอกจากทำเคียรในส่วนของเรา ผมก็ยังเคยมีให้คำปรึกษา ให้ความรู้แก่เด็กๆ ปีหนึ่งๆ ก็เยอะเหมือนกัน เพราะผมก็เคยสอนตามโรงเรียนมาบ้าง แล้วบางทีเด็กๆ ที่มาขอความรู้เพื่อทำรายงานกับผมก็เยอะ แนะนำกันมารุ่นสู่รุ่น แทบจะทุกมหาวิทยาลัย จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ มีหมด เคยมีถึงระดับปริญญาโทมาทำปริญญานิพนธ์
"คือถ้าถามว่าทำไมถึงยังทำอยู่ ไม่ไปหาอะไรอย่างอื่นทำ ผมก็ไม่รู้ เพราะเราทำมาจนถึงตอนนี้ก็ 50 กว่าปีแล้ว มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว อาจจะลำบากหน่อย อาศัยบ้านพี่สาวอยู่ แต่เรารักที่จะทำอย่างที่บอก เราไม่เคยหวั่น ทุกวันนี้ก็ยังคงทำเศียรโขนอยู่ทุกวัน ไม่มีวันหยุด เพราะโขนคือรากเหง้า เรามีประสบการณ์ความสามารถก็อยากจะถ่ายทอด แถมสถานการณ์ตอนนี้ของโขนก็กำลังดี ดีกว่าสมัยก่อนอีก เราจะเห็นว่าโขนเข้าสู่สถาบันการศึกษาหรือในรูปของการท่องเที่ยว การแสดงก็กว้างขวางมากขึ้น มีโรงแรมรองรับ คนที่เล่นก็สามารถประกอบอาชีพเสริมพิเศษ คืนหนึ่ง อาจจะรับแสดงเล่นสองงาน หรือไม่ก็ไปสอนตามโรงเรียน หรือเปิดสอนอบรมที่บ้านตัวเอง
“ที่สำคัญ เขามีโอกาสแสดงงานเยอะ ไม่ต้องอยู่แต่ในกรมกอง รองานแสดงพิธีต่างๆ เท่านั้น สมัยนี้สามารถขยายออกไปได้ มันรุ่งกว่า ไหนจะต่างชาติที่ให้ความนิยม สังเกตง่ายๆ เดี๋ยวนี้ ฝรั่งนั่งสมาธิกันเยอะขึ้น เรื่องโขนก็เช่นกัน ฝรั่งเขาก็ชอบสิ่งที่คนไทยเราทำ สิ่งที่อ่อนหวาน สิ่งที่เป็นจรรยามารยาท ทำไมฝรั่งมาเมืองไทย เขาถึงอยากยกมือไหว้ กินต้มยำกุ้งแล้วบอกอร่อย
“ถ้ามีโอกาสมีผู้สนับสนุนก็อยากทำอีกในเรื่องของการเผยแพร่ เพราะผมคงอยู่ได้อีกไม่นาน ฉะนั้น ชีวิตบั้นปลายอยากจะมอบอุทิศความรู้ที่เรามีให้สังคม แต่ถ้าไม่มี อย่างน้อยที่สุดก็ฝากไว้อยู่คู่ฟ้าคู่ดินในแผ่นดิน เพราะปัจจุบันนี้ ความคิดอย่างนั้นมันก็ยังไม่หมด ถึงจะแก่ขนาดนี้ผมก็ยังจะทำ ยังมีไฟที่จะอยากสร้างสรรค์ให้งาน ก็คิดว่าตลอดชีวิตจะให้กับงานตรงนี้"
คน “โขน” คือ คน “ไทย”
วิถีที่ไม่มีวันตาย
ท่ามกลางเทคโนโลยีทีรุกคืบศิลปวัฒนธรรมค่อยๆ ถูกกลืนหาย ลมหายใจของโขน ศิลปะแขนงโบราณอันเป็นรากเหง้าวัฒนธรรมกว่าหลายร้อยปีจะ เป็นอยู่อย่างไร
หลักๆ ตอนนี้มีช่างคนไหนบ้างที่ยังคงร่วมสืบสานศิลปะโขน
รุ่นอาวุโสรุ่นที่อยู่ในระดับแนวหน้าก็จะมีครูสำเนียง ผดุงศิลป์ จังหวัดอ่างทอง อาจารย์ตู่ วรวินัย หิรัญมาศ อาจารย์เพาะช่าง แล้วก็มีตาบทิพย์ แก้วดวงใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม ก็จะมี 3 ราย คือรุ่นนี้ก็จะทำหน้าที่ต่างกัน อย่างผมเองก็จะทำประดิษฐ์ผลงาน ส่วนอาจารย์วรวินัย ครูสำเนียง เขาก็จะผลิตด้านของคนก็จะผลิตนักศึกษามาเยอะ หรืออย่างอาจารย์ตาบทิพย์ก็ประดิษฐ์หัดสอนในวังชาย พวกนี้แหละที่จะมาเป็นคนรุ่นใหม่ที่ทำ
คิดว่าศิลปะแขนงนี้จะไม่สูญหายไป
ไม่สูญหายแน่นอน สบายใจได้ เพราะก็ยังมีคนรุ่นใหม่มีฝีมือหลายคน มีแววขึ้นเยอะ เพราะต่อให้คนส่วนใหญ่จะมองว่าเด็กรุ่นใหม่สมัยนี้นิยมค่านิยมต่างชาติ แต่เมื่อใดก็ตามที่อายุเขามากขึ้น เขาก็จะหวนกลับมาสู่เรื่องตรงนี้ ผมเองเมื่อก่อนก็คลั่ง เอลวิส เพรสลีย์ เหมือนกัน แต่พอถึงจุดหนึ่งก็กลับมา เพราะมันคือตัวตนเรา มันเป็นจิตวิญญาณของเรา มันถูกจริต งานพวกนี้เราต้องเข้าใจว่า กว่าจะเป็นประเทศเรามาได้ มันต้องผ่านอะไรมาก่อนเยอะ ผ่านเวลา ผ่านชีวิตผู้คนต่างๆ
คนเราจะอยู่หมู่บ้านร่วมกันได้มันต้องคิดใกล้เคียงกัน นิสัยก็ต้องคล้ายคลึงกัน มันก็จะเริ่มมีขอบเขต มีกฎเกณฑ์ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี จนกระทั่งหล่อหลอมมาเป็นคนไทย สมมติง่ายๆ เราไปต่างประเทศ เราไม่เห็นวัดเลย ก็จะนึกถึง ทั้งๆ ที่บางที เราก็ตำหนิพระ เราอยู่บ้านเรา เราเบื่อวัดก็มี มันก็เป็นอย่างนั้น เขาถึงได้บอกว่า ของบางสิ่ง ถ้ายังมีอยู่ เราก็ยังไม่นึกถึง แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่หาย เราจะรู้สึกเลยว่าเราขาดอะไรไป
แนวโน้มมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี มีการแตกแขนงกิ่งก้าน การผสมผสานศิลปะดั้งเดิมกับศิลปะสมัยใหม่ เราต้องคำนึงถึงอะไรบ้างมั้ยเพื่อไม่ให้ความถูกต้องถูกกลืนหายไป
ตรงนี้จริง เพราะมันจะเปลี่ยนไปหมดเลยเรื่อยๆ ถ้าเรายังไม่หาทางที่จะให้คนเข้าใจในเรื่องนี้ว่าจุดสำคัญของมันควรจะเป็นตรงไหน ศิลปะโขนไม่ใช่มาแข่งในเรื่องที่ไม่ควรจะแข่งแล้วเราก็ไปจี้ตรงนั้น อย่างการทำเศียรโขนของเดิมโบราณที่ถูกต้องเขาจะมองที่ลักษณะใบหน้า ทรงชฎาถูกต้องหรือไม่ แล้วเวลาใส่ คนมองต้องรู้สึกสบายๆ ไม่ใช่ใส่แล้วทำให้คนรู้สึกว่ามันลงมาตรงหน้าผาก ไม่เจ็บหรือ และก็ไม่ใช่เครื่องประดับประดาเพชรพลอยจินดาเหมือนสมัยนี้ ใส่สายเข้าไปเยอะๆ โบราณเขาใส่สายพอดี แค่ไหนเขาหยุดแค่นั้น เขาไม่ต่อจนเต็ม เขาจะเน้นไปที่หน้า พอมองหน้าแล้วปุ๊บ อย่างหน้าฤาษี สบายๆ ท่านไม่ลำบากเหมือนเรามองพระพุทธรูปนั้นคือความรู้สึกที่เรารู้สึกได้เป็นศิลปะชั้นสูง ตรงนี้ถือว่าเจ๋งที่สุดแล้ว ถ้าคุณทำไม่ได้ก็ไม่เอา
อย่างของผมคือการทำงานผมจะเน้นพยายามแนวอนุรักษ์ คือผมจะไม่มีการไปดัดแปลงหรือไปแก้ไขพยายามตามของเก่าให้ใกล้เคียงที่สุด คนดูแล้วถ้าคนมองงานอาจรู้สึกว่าไม่หวือหวาไม่โดน แต่ว่าเรามองไประยะยาวสิ่งเหล่านี้ต้องคงไว้ ไม่อย่างนั้นบางครั้งเราทำงานกลายเป็นทำงานตามใจคนสั่ง คนสั่งกลายเป็นผู้รู้มากกว่า จะเอาอย่างนี้แบบนี้ บางทีเราจะเอาเงินก็ต้องยอม คือแทนที่เขาจะถามว่าแบบไหนที่มันถูกต้อง ที่มันดี หรือว่าตรงนี้มันเป็นอย่างไร
ถ้าพูดถึงกรณีการนำโขนมาดัดแปลงประยุกต์จะเป็นการเสื่อม การลบหลู่หรือไม่
จริงๆ เราพูดอย่างนั้นมันก็ไม่ค่อยยุติธรรม บางทีไอ้การที่เรามองว่าเป็นการลบหลู่ ถ้าอย่างนั้นมันก็จะอยู่ในส่วนแคบ แต่ถ้าศิลปะโขนอยู่กับทุกคนแฝงอยู่กับทุกอาชีพ หนึ่งมันก็ทำให้ช่างอยู่ได้ เราอยู่ได้งานก็คงอยู่ ยังได้เผยแพร่ เพียงแต่ว่าทุกอย่างมีความสำคัญ อย่างหน้าครูบาร์อาจารย์หรือหน้าเทพคุณก็ควรทำให้มันสมควร
ส่วนถ้าเขาเอาไปทำอะไรไม่ดี ความเสื่อมมันก็จะอยู่กับเขาเอง สมัยโบราณก็มีพวกที่เขาเอาไปเล่นเลียนแบบกรมศิลป์ บอกตัวเองว่าเป็นกรมสาก เล่นแบบไม่นุ่งผ้า โชว์หน้าอก ตรงนี้ถ้าถามว่าจะว่าใคร จะว่าคนทำหรือจะว่าคนเล่น มันก็ต้องว่าเขาเอง ถ้าสังคมตรงนั้นเขาไม่ต้อนรับ คุณก็อยู่ไม่ได้ จริงๆ แล้วทุกอย่างจะโทษคนทำไม่ได้ ต้องคนหนุนด้วย คุณไม่ดู ใครจะอยู่ได้อย่างไร
ทั้งหมดทั้งมวลสำหรับตัวครู มองว่าคุณค่าทางศิลปะแขนงนี้คือเส้นสายเรื่องราวรากเหง้าบ้านเรา
เรื่องคุณค่าของคนไทย เราต้องยอมรับว่ามันมีหลายแบบ อาหารทางกายมันก็สำคัญ แต่ทางเรื่องศิลปะมันเป็นอาหารทางใจ คนเราจะมีความสุข เราจะแค่กินแค่เที่ยวก็ไม่ได้ ก็ต้องมีความสุขที่จิตใจด้วย ศิลปะมันก็จะให้ในเรื่องความสุขทางใจ อย่างน้อยในเรื่องความสงบ เรานั่งมองหัวโขนหัวโขนหนึ่ง เราอาจจะนั่งมองได้เป็นชั่วโมงๆ แล้วก็คิดถึงเรื่องราวมากมาย เวลาที่เขาแสดงเป็นอย่างไร หรือว่าเขาคิดขึ้นมาได้อย่างไร ขั้นตอนการทำเขาทำอย่างไร และหัวโขน ถ้าทำดีๆ มันจะมีเสน่ห์มากเลย สวยงามมาก
ฉะนั้น ในหัวโขนมันก็จะมีทั้งเรื่องราว ทั้งลักษณะสีสันที่สวยงามถูกจริตมนุษย์ ข้อสำคัญคืองานพวกนี้มันเป็นสุดยอดศิลปะ เหตุเพราะมันเป็นจินตนากาที่ไม่มีในโลกนี้ ฉะนั้น อะไรก็ตามที่มันไม่มีในโลกนี้มันย่อมดูไม่เบื่อ ไม่เหมือนอย่างเรามีดอกไม้สักดอก เราดูแป๊บเดียวก็เบื่อ นั่นเพราะมันมีให้เห็นบนโลกอย่างมากมาย แต่ศิลปะการทำหัวโขนถ้าเราได้สัมผัส เราจะรู้ว่าเป็นสิ่งที่มีค่าสวยงาม เหมาะที่จะเก็บรักษาเอาไว้ มันเป็นของโบราณที่เขาได้สร้างมา ก็มีอายุหลายสิบหลายร้อยปีแล้ว เราก็ถือว่าเป็นรุ่นต่อไปที่ควรจะรักษา
เวลานี้ ช่างหัวโขนมีไม่มากนัก ก็อยากให้คนไทยเราหันมามองศิลปะแขนงนี้ ถือว่าเป็นการช่วยกันคนละไม้ละมือ ส่วนผม บั้นปลายชีวิตก็ตั้งใจไว้ว่าจะทำจนวันสุดท้าย ถึงแก่อายุ 66 ปีแล้วในตอนนี้ แต่ไฟที่จะสร้างสรรค์นั้นไม่เคยมอด
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : สันติ เต๊ะเปีย