บนพื้นที่ซึ่งใครต่อใครมักมองว่าไร้หวัง แต่หญิงสาวคนหนึ่งกลับไม่คิดเช่นนั้น และตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา เธอได้เจียระไนเพชรหลายเม็ดขึ้นจากโคลนตมย่านคลองเตย ช่วยเด็กน้อยหลายชีวิตให้มีอนาคตที่สดใสอย่างคาดไม่ถึง
ด้วยทักษะด้านนาฏศิลป์ที่เรียนมา ด้วยพลังแรงใจไม่เคยหมด และด้วยคาดหวังในอนาคตของชาติ “ณัชตา ธรรมธนาคม” หรือที่ลูกศิษย์ลูกหาเรียกขานด้วยรักใคร่ว่า “ครูจิ๋ม” ดำรงหน้าที่ “เรือจ้าง” พัดพายเด็กไทยในย่านสลัมให้ถึงฝั่งแห่งความสำเร็จมารุ่นแล้วรุ่นเล่า ไม่ใช่เพียงแค่ระดับประเทศ หากแต่ยังขจรขจายไปไกลถึงต่างแดน หลายชีวิตเกือบล้มพับให้กับยาเสพติด กลายเป็นศิษย์ซึ่งมีชีวิตที่ดีงาม...
อย่าเป็นเพียงครู
เช้าชาม...เย็นชาม
“ตั้งแต่จำความได้ ตอนเด็กๆ เรียนหนังสือประมาณ ป.4 ครูก็อยากจะเป็นคุณครูแล้ว เพราะว่าชอบรำไทย แล้วก็มีความรู้สึกอยากเป็นครูสอนรำไทย ก็คิดอยู่อย่างนี้ ทั้งๆ ที่บ้านทำโรงกลึง ญาติๆ อากง อาม่า ก็คิดว่าเราควรจะต้องเรียนบัญชีเพื่อจะกลับไปช่วยที่บ้านได้”
ครูจิ๋ม ณัชตา กล่าวเริ่มต้นเส้นทางเรือจ้างที่ฝังแน่นหยั่งรากลึก ตั้งแต่ตอนนั้นจนปัจจุบันร่วม 30 กว่าปี
“อากง อาม่า เขาพูดเลยให้ลูกเรียนเต้นกินรำกินอนาคตจะไปมีอะไร เราก็ไม่ไปหาญาติเลย เพราะไปแล้วเขาก็จะถามไปเรียนอะไร (หัวเราะ) เราก็สงสารพ่อแม่เหมือนกัน แต่ท่านยินดีกับเรา เราก็เลยได้ไปสอบที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ เรียน 11 ปี แล้วก็ไปต่อปริญญาตรีที่บ้านสมเด็จฯ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา) ในระหว่างนั้นก็สอนที่โรงเรียนอนุบาล...เป็นโรงเรียนเอกชน มี 3 ระดับชั้น อนุบาล ประถม มัธยม เพราะอยากจะลองว่าเราสอนได้หรือไม่ คือเป็นอะไรที่เราอยากรู้อยากลอง ปรากกฎว่าเราก็สอนได้ ได้สอนเนิร์สเซอรีก่อน เป็นอาจารย์ประจำชั้นเด็กก่อนเข้าอนุบาล”
ด้วยความรักและความถนัดทางนาฏศิลป์ เพียงก้าวแรกแค่ไม่กี่ปีที่ทดสอบความเชื่อมั่นตั้งใจในตัวเอง คุณครูสาวก็สร้างปาฏิหาริย์ด้วยการคว้ารางวัลระดับประเทศในการเล่านิทาน
“เด็กระดับนี้เขายังพูดอะไรไม่ค่อยจะรู้ศัพท์เลยใช่ไหม เราก็ใช้วิธีหลอกเขา คือครูชอบเล่านิทานให้ฟัง เรื่องนั้นเรื่องนี้ เพราะมีวิธีการเบื้องต้นที่ศึกษาเด็กในวัยอนุบาล เขามีความต้องการอะไรที่แตกต่าง เราก็ต้องดู แล้วทางหลักสูตรเขาต้องการอะไร เราเป็นครูเราต้องมีอาวุธทางด้านนี้ แล้วบังเอิญเราพาเด็กไปแข่งประกวดเล่านิทานงานระดับประเทศ ก็คิดว่าคงไม่ได้แล้ว ปรากฏว่า เราได้ที่ 1 เล่านิทานประกอบท่าทางชนะเลิศ”
"ก็ดีใจกันใหญ่เลย (ยิ้ม) พอหลังจากนั้นผ่านมา ก็ได้ขึ้นเป็นครูสอนนาฏศิลป์ ทำอยู่สักระยะหนึ่งจนเรียนจบ ครูก็ได้ข่าวว่ามีการสอบบรรจุ ครูก็เลยสอบเพราะว่าพ่อแม่ทุกคนในสมัยนั้นถ้าลูกรับราชการเขาจะดีใจ ก็ลองสอบ สรุปว่าสอบได้ ครูก็เลยเลือกมาทางนี้”
แม้รู้ว่าระบบการศึกษาเอกชนจะมีราคาค่างวดที่สูงกว่ารัฐบาลหลายเท่าตัว ไหนจะสภาพแวดล้อมรายทางที่เจริญหูเจริญตามากกว่ามาก กระนั้นท้ายที่สุด ครูณัชตา เรือจ้างสาวก็เลือกลำนำทางสายนี้ที่โรงเรียน “ศูนย์รวมน้ำใจ”
"เด็กจบใหม่ไฟแรงด้วยไง..."
ครูว่าพลางเว้นวรรค ในบรรทัดที่ตกหล่นของสังคมเมืองหลวง เพราะเพียงระยะสองข้างฝั่งคอนกรีตพื้นถนน “ชุมชนคลองเตย” ย่านท่าเรือไม่ต่างจากดินแดนโลกที่ 4 ของยาเสพติด ชุมชนแออัด และสารพัดอบายมุข
"คือบรรยากาศทุกอย่าง เสื้อผ้าตากสวยงามมากเลย สีสันฉูดฉาดบาดตา คือเรารู้แล้วว่าที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องนี้ แต่เราไม่เคยสัมผัสจริงๆ แต่มันไม่เท่ากับเจอเด็กที่ไม่ใส่รองเท้า แล้วเสื้อผ้านักเรียน เขาก็ใส่ตัวเดียวทั้งอาทิตย์ นั่งสักพักได้กลิ่นโลชั่นแปลกๆ ลอยมาแล้ว มันก็มีอะไรบางอย่างสะท้อนให้เห็นว่านี่คือเมืองหลวงนะ ทำไมมันเป็นอย่างนี้"
"และในระหว่างที่คิดแรกๆ ก็ไม่เข้าใจ คิดว่าเราคิดผิดหรือเปล่า เพราะเราเจอเด็กๆ เช่น เขาขโมยของ ของเรา ของโรงเรียน แล้วบางทีเขาเอากลับไปบ้าน ที่บ้านเห็นดีเห็นงามด้วย เราก็ไม่เข้าใจ เราพยายามบอกว่า ไม่ใช่นะ ติดคุกนะ ของราชการ แล้วก็อย่างเธอเอาของครูไป ครูก็ไม่มีกิน แล้วครูก็ไม่รู้จะไปเอาคืนได้ที่ไหน"
ด้วยใจที่เปี่ยมมั่นไม่ถดถอย ทางออกแห่งการ “แก้ปัญหา” ไม่ใช่การละเลยเลิกคบค้าพฤติกรรมเหล่านี้ แล้วปล่อยชีวิตตาดำๆ เหล่านี้ เรียนรู้ผิดเป็นชอบ ถูกเป็นดี จึงตั้งชมรมนาฏศิลป์ขึ้นมา แล้วเฟ้นหาเด็กที่มีแวว พรสวรรค์ กระทั่งเด็กเกเรเกตุง ให้เข้ามาอยู่ในชมรม
"คือมันยังมีในเรื่องของภัยมืดของเด็กผู้หญิงอีก เพราะอย่างตอนนั้นมีเด็กของเราพ่อแม่ฝากไว้กับป้า ลุง ลุงเขย แต่ไม่ใช่ลุงตัวเอง มันก็เกิดเรื่อง แบบนี้มันช่วยได้ไหม ในยามวิกาล เรารู้ไหม ไม่รู้ พ่อแม่ก็ไม่รู้ พอมันเกิดขึ้นมา ถ้าเด็กฉลาด เขาหาทางเอาตัวรอด แต่ที่รับรู้มา แอบอยู่ในห้องน้ำไม่ยอมออก รอดตัว แต่จำเป็นต้องเล่าให้ผู้ปกครองหรือพ่อแม่รู้ เขาก็ไม่เล่า ก็มีเกิดขึ้นอีก เราก็เรียกพ่อแม่มา พ่อแม่ต้องออกจากงานคนหนึ่ง มาดูลูก ถูกแล้ว สร้างเขามา เมื่อเกิดเหตุอะไรต้องรีบช่วย"
"แต่ถ้าเราดึงมาซะ แล้วก็รู้เวลากลับ นัดกันกับผู้ปกครอง เวลาบ่าย 3-6 โมงเย็นอยู่กับเรา ฉะนั้น กลับบ้านไป ก็แทบเข้านอนได้เลย คือเราพยายามจะไม่ให้อยู่ตรงนั้นเลยดีกว่า ตื่นมาโรงเรียน เย็นอยู่กับเรา มืดเข้าบ้านนอน พรุ่งนี้เหมือนเดิม"
วันเวลาผ่านไปนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ที่ก่อตั้งชมรมในปลายปีที่ย้าย นำพาให้ชีวิตชีวิตหนึ่ง อีกโลกใบหนึ่งได้เห็นอีกหลายชีวิตที่แตกต่าง จนเกิดความเข้าใจก่อเป็นความสัมผัสในฐานะเรือจ้าง อุดมการณ์ “แม่คนที่ 2”
"พอเราก่อตั้งชมรมขึ้นมา หลังจากนั้น เรามีงานการประกวด เราก็กังวล เพราะว่าเด็กๆ ต้องซ้อมจนดึกดื่น หรือไม่บางทีไปประกวดตอนเย็น กลับมาก็ค่ำ เรากลัวว่าเขาจะเกิดอันตราย เราก็เลยไปส่งพวกเขา และนั่นก็ทำให้เราสัมผัสได้ว่า ข้ามถนนไป มันจะเป็นอย่างไร ตอนก่อนเราไป เราก็ได้ยินสรรพคุณเหมือนกันว่าจะต้องเห็นภาพอะไรอย่างนั้น ก็ถอดสร้อย แก้วแหวน ฝากเพื่อน เพื่อนก็นัดกัน ถ้าเลยเวลาที่กำหนดไปตามนะ เพราะมันประมาณ 1 - 2 ทุ่มครึ่งค่ำแล้ว
"ไปแสดง แค่เงิน 60 บาทของเด็กๆ เราก็พาไป ระหว่างพาไป เราก็เจอ เห็นกำลังเสพยากัน ฉีดเข้าเส้น แล้วเราสะท้อนใจนะ ที่นี่มันเมืองหลวง แล้วถ้าเราให้ลูกศิษย์เรากลับมาค่ำๆ มืดๆ สติสัมปชัญญะที่เขามีนั้น เขาจะคุมได้แค่ไหน แล้วเด็กเราจะมีลู่ทางไปอย่างไร ก็ปรากฏว่า พอไปส่งเสร็จ เขาไปเลย (หัวเราะ) จาก 5-4-3-2 ตอนแรกเราก็ไม่กลัวเพราะมีเขาเดินไปด้วย จนเหลือเราคนเดียว เราก็เดินกลับ แต่ในใจก็คิดว่าเราไม่เป็นไร เราไม่มีของมีค่าอะไร ก็เดินคิดอยู่ๆ ก็มีเด็กอยู่คนหนึ่งวิ่งมาจับมือ บอกครูขา...หนูไปส่งค่ะ เราก็หันไป เสียงเขาเพราะ เพราะมากเลย เราก็บอกเขาว่าวันจันทร์มาหาครูนะ ความกลัวอะไรหายไปหมดแล้ว เพราะเขาจูงมือมาส่ง พอวันจันทร์มาหา ก็เลยรู้ว่าเขาอ่านหนังสือไม่ออกทั้งๆ ที่เป็นเด็ก ป.1"
"ปรากฏว่าเราก็เห็นว่าเขามีพรสวรรค์ ก็เลยบอกว่าไป เดี๋ยวเราไปแข่งงานวิชาการ ก็ได้ดินสอมาแท่งหนึ่ง พอดีเขามีประกาศแข่งขันนักร้องสยามกลการ สมัยก่อนนานแล้วประมาณปี พ.ศ. 2533 ปรากฏว่าเราก็อัดเทปคาสเส็ต เลือกเพลงที่ดีที่สุดให้เขาร้อง เข้ารอบประกาศรายชื่อลงในหนังสือพิมพ์ ครูก็วิ่งถือมาเลย บอกว่ามีชื่อหนูด้วยนะ"
แม้จะผิดหวังได้เพียงเสื้อเชิ้ตหนึ่งตัว กับการได้เข้ารอบไปประชันความสามารถในรอบชิงชนะเลิศ ครูสาวก็ไม่หยุดยั้งหมดความหวังในแววตาที่มอง ซ้ำยังจุดประกายบางอย่างซึ่งในระยะเวลาต่อมาจะส่งผลต่ออนาคตอย่างยิ่งยวดของเด็กๆ สลัมข้างทางอีก 10 ชีวิต
"ตอนนั้นก็ได้เสื้อแจ็กเกตตัวหนึ่ง แล้วก็เข้าไปร้องสดให้เขาฟัง เข้าไปถึงรอบชิงปุ๊บ เราก็เลือกเพลง “ขอสักวัน” ของคุณฉันทะนา แต่ตกรอบ เพราะคนที่มาของเขาอลังการ ตัดท่อนโน้นต่อท่อนนี้ โหนเสียงโชว์ความสามารถ ของเราไม่ถึงก็ตกรอบ ตลกมากเลยคือเด็กน้องที่เข้าประกวดคนนั้นพอประกาศผลเสร็จเขาก็เล่นลูกโป่งต่อเลย (ยิ้ม)
"แต่เราก็ส่งเรื่อยๆ พอปีต่อมาก็ชนะได้ถ้วย ชนะหลังจากนั้นก็ไปเรียนต่อ เขาก็เรียนต่อเอก voice พอเขาจบการศึกษาเข้าระดับปริญญาตรี ในขณะนั้นเขาจะเรียนกับครูพิเศษตลอด ครูเขาก็แนะนำว่าอัดเสียงส่งไปต่างประเทศปรากฏว่าได้ ก็พอได้ปุ๊บ ปรากฏว่าไม่มีค่าเครื่องบิน ครูกับครูแก้ว (ชื่อจริง) ที่เป็นครูดนตรีก็ช่วยกันลงขันให้เขาไป เสร็จปุ๊บก็ตกรอบเพราะว่าที่ชนะนั้น เขาคนเดียว เสื้อผ้าคนหนึ่ง ผมคนหนึ่ง แล้วก็แต่งหน้าอีกคนหนึ่ง ส่วนเขานี้ตัวคนเดียวเลย เขาบอกเห็นแค่นี้ก็ฟ่อแล้ว
"เราก็บอกว่าอันนั้นไม่ใช่ส่วนประกอบ เขาก็เลยลงเรียนต่อที่นั่นเลย แล้วก็ได้ทุนของคุณหญิงพรทิพย์ 1 ล้าน คือหลังจากแข่งเสร็จก็ได้ทุน ก็เรียนจนจบแล้วก็เป็นนักร้องโอเปรา โด่งดังที่ยุโรป เขามีเอียร์เทรนนิ่งดีตั้งแต่เล็กๆ แล้ว เนี่ยพรสวรรค์เขาไปเจอ ก็เสร็จไป 1 รายที่เราช่วยสนับสนุน"
“โบ นาทลดา” คือชื่อสมาชิกรุ่นแรก ที่ก่อให้เกิดปาฏิหาริย์ เธอคือยุวทูตกรุงเทพมหานครรุ่น 1 ปี 2534 นักร้องเยาวชนดีเด่นแห่งประเทศไทยในปี 2535
"คนแรกที่ทำให้คิดอุปการะช่วยเหลือให้เขามีอนาคตคือ หลุดพ้นสิ่งเลวร้ายตรงนั้น"
ครูณัชตา กล่าวถึงมือน้อยๆ คู่นั้นที่โอบอุ้มกันและกันมา
เพราะต่างเรียนรู้กันและกัน
ต่างมอบสิ่งดีๆ ให้แก่กัน
และต่างนำพากันสู่หนทาง...ที่ดี
"คือเราทำไปโดยเป็นห่วงพรสวรรค์ที่มีอยู่ในแต่ละคน คือบางคนเนี่ยเขาพากย์เสียงเก่ง อย่างน้องชายพี่โบ คือ ตระกูลนี้เสียงดี เราก็บอกว่านี่คืออาชีพเธอในอนาคตนะ เขาก็พากย์ harry potter ทุกภาค พระมหาชนกก็พากย์ แต่ตอนนี้เขาไปทำอย่างอื่นแล้ว อันนั้นก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งของเขา"
"ก่อนหน้านั้นที่จะอุปถัมภ์ เราก็ไม่ได้รวย เงินเดือนราชการก็นิดเดียว แต่พอเราสัมผัส ทำไมต้องช่วยเหลือเด็ก มันมีองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น หิว แต่ไม่มีเงิน จริงที่เราช่วยอย่างอื่นก็ได้ แต่ถามว่าเราหิวเรากินไหม กิน เราชอบที่จะทานขนมทานอะไรกับเด็กๆ ในส่วนตัวเราชอบทาน แล้วเราก็คิดว่าเขาไม่มีเงิน แต่เรามี เรามากินด้วยกัน บางทีเหมือนเพื่อนกัน สนิทกัน ช่วยกัน เด็กมีขนมเขาก็จะ “คุณครูขา ทานค่ะ” เด็กยื่นให้ก่อน กินส้มตำ ถือจากไหนต่อไหนมา ต้องรอให้เราสักช้อนหนึ่ง มันสร้างความเป็นกันเอง
"แล้วเราให้โดยไม่หวังอะไร คุณครูมีปณิธานอยู่อย่างหนึ่งคือเราต้องให้โดยไม่ต้องหวังอะไร ไม่มีข้อแม้อะไรเลย แต่ก็มีคนถามบ่อยครั้งว่ามันจริงหรือ เราก็บอกว่ามันไม่เคยขัดสนเลยนะ ยิ่งให้มันก็ยิ่งได้ ทั้งๆ ที่เราไม่หวัง บางทีนั่งๆ อยู่ ผู้ปกครองนำผลไม้มาให้ บางทีมีข้าวสารเป็นกระสอบ บอกครูว่ายายไม่มีเงินให้ แต่ยายมีข้าวหลายกระสอบ ครูช่วยยายกินหน่อย อย่างนี้ก็มี
"อีกอย่าง โดยพื้นฐานที่บ้านครูมีโรงกลึง ก็ไม่ขัดสนอยู่แล้วเรื่องเงินทอง เราเองถ้าไม่มีก็พอขอที่บ้านได้ แล้วเขาก็เชียร์เต็มที่ คุณพ่อคุณแม่ บางทีช่วยด้วยซ้ำอีกแรง ถ้าเราเอ่ยปากอะไร
รุ่นใหม่ไฟแรงจึงไม่มอดลง เหลือเพียงเถ้าอุ่นๆ กับควันสีดอกเลาตามแรงลม
"การเป็นครูเช้าชามเย็นชาม" จึงไม่อยู่ในสารบบความคิด
"เขาไม่เชิงว่า แต่ตอนเราทำแรกๆ เขาพูดให้ได้ยินว่า "อย่าเป็นครูเช้าชามเย็นชามนะ" ในสิ่งที่เราทำ เราก็สะอึกแล้ว แล้วเราก็ไม่ได้คิดอย่างนั้น เราต้องการให้เขารอดจากตรงนั้น ขอให้รอดจากตรงนี้ เขามีพรสวรรค์ในตัวมา ถ้าเขารอดพ้นตรงนี้ แล้วเราประคับประคองให้เขาเรียนไป เขาจะไปเจอเส้นทาง เขามีอาชีพ เขาเป็นคนดีแน่นอน คือเราคุยกันไง เขากับเราคุยกันแบบหมดใจไม่ปิดบังเราจะไม่ทิ้ง ปรึกษาอะไร เราจะสังเกตเห็นพฤติกรรม เป็นอะไรหรือเปล่า
"อย่างมีเคสหนึ่งเขาปวดหัวบ่อย เราก็ถามว่าไปหาหมอหรือยัง เขาตอบว่ายัง เราก็เลยพาไปหาหมอ ก็ไปเจอมะเร็งในสมองระยะสุดท้าย รู้ในระยะที่สายซะแล้ว ที่เขาปวดหัวอยู่เรื่อยๆ หล่อมาก ร้องเพลงเพราะด้วย ไปประกวดก็ชนะ
"หลังจากนั้นพี่โบมาอยู่คนแรก ครอบครัวเขาแตกแยก น้องสาว น้องชายอีก 2 คน ดลดาคนน้องที่ 2 คนนี้ได้รับรางวัลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แกมีพฤติกรรมดี แล้วก็ขยันเรียน ตอนนี้เป็นผู้จัดการฝ่ายอาวุโส โรงแรมใหญ่ในกรุงเทพฯ แล้วเขาก็เป็นพิธีกรในรายการวิทยุ คือเขาเบ็ดเสวร็จในตัวเขา พี่เอ็ม ยุทธนา ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษและประธานบริษัท คิดบวกสิปป์ จำกัด แล้วก็ร้านข้าวมันไก่ฝากหลานๆ อยู่ต่างจังหวัด ก็ฝากมาเรียนเพราะเขามี่พรสวรรค์ ก็มาอยู่ ตอนนี้หลายร้านข้าวมันไก่ก็ตั้งคณะวงลูกทุ่งทุกวันนี้อยู่แถวราชบุรี แต่ตอนนี้เขาดังในเรื่องของการขายยางรถ
"มาอยู่เราก็สอนทุกเรื่อง โดยมีจริยธรรมแทรก สอนทุกอย่าง มันเหมือนกับเราปูพื้นอันนี้ไป ถ้าเขาไปอยู่ในมัธยมเขาก็เอาไปใช้ได้ ก็ไม่ได้คิดว่าเด็กที่เราช่วยจะเติบโตไปขนาดนี้ คิดตรงที่ว่าเขาจะพ้นจากตรงนั้น แต่พอเขามาอยู่กับเรา เขามีพฤติกรรมปฏิบัติกับเราเป๊ะมาก มีความรู้แล้วก็น่ารัก มันก็เป็นรุ่นแล้วรุ่นเล่า จบไปๆ รุ่นนี้ก็มีเรื่องนี้ มีปาฏิหาริย์อันนี้ รุ่นนี้ก็วิบากกรรมด้วยกันอย่างนี้ อะเมซิ่งมาก
"เราสู้เราไม่เหนื่อย เพราะเราอยู่กับเด็กๆ ก็สนุก คำว่า “หยุด” มันเลยไม่ใช่วิธีการของเรา เพราะเราเปิดชมรมไว้เด็กมาได้ทุกอย่าง ร้อง รำ ทำเพลง เต้น ละคร ดนตรี มันเป็นจุดหนึ่งที่ไม่ให้เด็กใช้เวลาว่างไปในทางที่เสื่อมเสีย อยู่ด้วยกันก็เป็นในลักษณะแม่ลูก วันไหนลืมไม่ได้กดตังค์ เขาก็บอกว่าไม่ต้องจ่ายๆ ผมกับหนูจะจ่ายกันเอง จากที่เคยรับ เพราะที่นี่มีคนมาบริจาคเยอะ เขาก็ได้เป็นผู้ให้ ครูเองครูก็บอกว่าครูอยากช่วย ก็เป็นที่รู้กันว่าวันไหนไม่มี เพราะว่ากระเป๋าเราไปเปิดเอาได้เลย เปิดแล้วหยิบเงินไปซื้อ มันก็ไม่มีเรื่องการลักเล็กขโมยน้อยอะไร เราเปิดใจ"
เพราะจริงใจ และใส่ใจ
เสมือนบันไดขั้นแรก
"มันเสียดาย คืออย่างเรามองเด็กคนหนึ่ง คนนี้วาดภาพเก่ง ลงสี กล้าตัดสินใจลงสี เลือกสีเองได้แล้วจับคู่สีได้สวย ไปหาครูสมพร คือเราจะดูแล้วส่งเหมือนแมวมอง แต่ถ้าเรื่องเดนตรีจะอยู่กับเรา แล้วถ้ามันเลยเส้นทางเรา คือมันเลยขีดความสามารถเรา เราจะให้ไปหาคนอื่น คนนี้
"เพราะถ้าเราไม่ทำ เขาจะมีแก๊งที่มาสอดแนมเด็กๆ พวกนี้ ถามว่าเบื่อไหม ถ้าเบื่อมาที่นี่ มีเด็กบางคนโดนไป พอโดนไปไอ้พิษของสารเสพ เขาก็ทรมาน เขาก็มาหาเรา เราก็อยากจะเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้"
ครูณัชตา บอกเล่าถึง "สิ่งเหล่านั้น" ที่นอกจากปัจจัยภายนอกซึ่งคอยชักชวน ยุยงไปในทางที่ไม่ดี ภายในเองยังถูกกัดแทะแซะซอน
"ในส่วนของเด็กผู้ชายเนี่ยมีเยอะ คุณครูหลายท่านมักจะคิดว่าคนนี้ก้าวร้าวออกไป คนนี้เกเรออกไป คนนี้ไม่เชื่อฟังออกไป พอไม่เชื่อฟังปุ๊บ เราถามอยู่กับใคร อยู่กับยาย โอ้ว... รู้เลย อย่างเด็กก้าวร้าว เด็กดื้อ บางครั้งมีคุณลักษณะพิเศษ คือเขาไม่ฟังคนอื่น แต่เขาฟังเรา เป็นเพราะเขาจะต้องเชื่อมั่นในครูสักคนหนึ่ง รักและศรัทธา เขาถึงจะมีอะไรออกมาให้เห็น เราเห็นอย่างนี้เป็นประจำ อย่างเด็กบางคน เราเอาเขามาตีกลองยาว พอเขาตีกลองยาวปุ๊บตีเพราะ มือเธอนี้มีพรสวรรค์ เราสอนไป 1 เขาได้ 10 เด็กที่กล้าที่จะใช้วาจาแสดงว่าเขามีอะไรสักอย่าง
"เราก็จะบอกกับเขาว่า สงสารยายนะ ถ้าอยู่กับเด็กดื้อ ยายจะไปไวนะลูก เขาก็ถามไปไหน (ยิ้ม) ก็ตายไงเธอ เธอต้องช่วยถ้าเธออยู่กับยาย สิ่งที่เธออยู่กับพ่อแม่ ตอนนั้นก่อนที่เธอจะเกิดมาพ่อแม่เขารักเธอใช่ไหม เธอถึงได้เกิดมา แต่เธอไม่รู้หรอก ทว่าพอหลังจากนั้นเขามีปัญหา แต่ถ้าเธอเอาชีวิตเธอไปจมกับปัญหาตรงนั้น ชีวิตเธอจะจบอยู่แค่นี้ แล้วเธอก็จะไปพึ่งยาเสพติด คุณครูพูดอย่างนี้ตลอดกับเด็กทุกคน เด็กที่ก้าวร้าวเด็กที่อะไรเขาจะเกิดความคิดครูคนนี้มาอะไรกับเขา แต่แทนที่เขากำลังจะคิด เรากอดเลย
"ด่านแรกเลยคือเราจริงใจกับเขา เราให้ความสนใจเขา"
"คือเราจบมาได้ เพราะเรามีครูบาร์อาจารย์ดี เราก็นำมาใช้กับเด็กๆ อย่างที่นี่ การที่มีมูลนิธิต่างๆ มาช่วยเหลือเป็นสิ่งที่ดี แต่เราเป็นครู เราก็ต้องเห็นจุดบกพร่องของเหตุการณ์”
...ในด้านงานการแสดงที่มีรายรับไม่ต่ำกว่าหลักพัน แบ่งเฉลี่ยเท่าๆ กัน อย่างไม่มีลำดับชั้น นักร้อง แดนเซอร์ คอนวอย ไปจนแผนแผนกซัปพอร์ตสิ่งที่ขาดเหลือ เพื่อเป็นการ "ปู" พื้นฐาน ลดตระหนี่ ความมืดดำของชีวิตสีน้ำครำและสังคม
"เราก็จะสอนว่าการรวมมีหลายแบบ 1. คือนั่งดู นี่ถือว่ารวมแล้ว และรับรู้มีความสุขด้วย แล้วถ้าบอกให้ลุกขึ้นเต้นก็เต้นตามได้ อันนี้คือแบบฝึกหัดแรก ส่วนอันที่สองเป็นผู้แสดงเอง ส่วนอันที่สาม เป็นตัวช่วยในเรื่องของเสื้อผ้าหน้าผม คือไม่มีความสามารถที่จะยืนออกมาร้อง หายใจเฮือก เด็กบางคนตื่นเต้น งานแรกถ้าผ่านปุ๊บ แบบเหมือนนักมวยฮึดขึ้นชก แต่บางคนฝ่อเลย อย่างนั้นเธอมีหน้าที่คอยหิ้วกระเป๋าเครื่องสำอาง แล้วลองมาหัดทำผมดูซิ ปรากฏว่าทำผมเก่ง มันก็ได้อีกอาชีพหนึ่ง คนนี้แต่งหน้าเก่ง เราได้ดูเด็กหลายๆ แบบ การเอารัดเอาเปรียบการให้กำลังใจ การเห็นอกเห็นใจในเรื่องของครอบครัว
"จากเรื่องของความอบอุ่นครอบครัวเราปูพื้นฐานให้เขาไม่ไปจม เขาก็ตั้งใจ ปรึกษาได้หมด อย่างถ้าอยากเรียนโรงเรียนดังๆ แต่ตกหมดทุกวิชา มาปรึกษา ทั้งจบแล้วมีงานทำก็ยังมี บางอย่างก็ยังต้องให้กำลังใจกัน เพราะมันมีทุกเรื่อง การทำงานมันมีเรื่องอิจฉาริษยาเราก็ต้องฝ่าฟันมันไปให้ได้ คือในบางครั้งเขาต้องหาตัวช่วยในการพูด บางทีไม่ใช่ลูกศิษย์เลย แต่เป็นเพื่อนของลูกศิษย์ ก็บอกเขาเธอต้องสู้โว้ย (หัวเราะ) มันมีหลากหลาย เราช่วยได้ เราช่วยทันที แล้วก็บอกกับเด็กเสมอเมื่อจบปริญญาตรีแล้วนะ ทำงานมีหลักแหล่ง เข้มแข็งแล้ว ช่วยเหลือคนอื่นทันทีเลย"
แม้เด็กๆ หลายคนหลายรุ่นจะจบไปแล้ว แต่ด้วยความรักความผูกพันระหว่าง "ศิษย์" และครู (ดั่งแม่) ที่กลับมาหาสู่ไม่รู้ขาด
"เราก็ไม่ได้คิดว่าเขาจะต้องมาช่วยครูนะ นั่นแล้วแต่เขา เขารอดแล้วค่อยว่า เพราะว่าเราจะบอก “ออกไป เธอไปให้ไกลๆ เลย” (หัวเราะ) ไม่ต้องกังวลว่า เดี๋ยวจะต้องมาหา ครูไม่เคยคิดตรงนี้ เธอไปเลย ได้ดีแล้วก็ทำอะไรให้มันเป็นกอบเป็นกำแล้ว คิดถึงครูก็มาได้ แต่ส่วนใหญ่เขาจะ “ครูขา (ลากเสียง) หาเด็กให้หนู 6 คน” เราก็จะถามว่าทำอะไร "หนูจะมาสอนเต้น สอนรำ จะมาฝึกให้"
“มันคล้ายๆ ว่าเขาเคยได้รับโอกาส เขาก็อยากจะสร้างโอกาสเหล่านี้ให้น้องๆ บ้าง"
จะ “แม่พิมพ์” หรือ "เรือจ้าง"
คุณค่าที่คงค้าง คือผู้ขุดเพชรจากโคลนตม
นอกจากนักเรียนในโรงเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เด็กต่างจังหวัดยังเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ครูผู้นี้ต่อยอดเข้าไปช่วยเหลือ ผ่าน "นาฏยศัพท์" ที่กลายเป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับนักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร พิมพ์ครั้งที่ 3 และมีการแปลภาษาอังกฤษ
"คือในการเรียนที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ เขาจะสอนแบบโบราณ ลุกขึ้นรำตาม รำต่อได้ ก็ดีไป แต่ถ้ารำไม่ได้ พ่อครูแม่ครูก็จะหงุดหงิด ทีนี้เขาจะไม่บอกว่าอันนี้คืออะไรอันนี้จะต้องเอามาจากตรงนี้ เราเอามาจากตรงนี้มาทำเป็นสื่อให้กับกรุงเทพมหานคร เช่นท่ารำ เป็นท่ารำก็จะมีศัพท์เรียก เราก็ขมวดให้เป็นเซต แล้วมีภาพ มีตัวหนังสือ ถ้าจะทำเป็นคอมพิวเตอร์มันจะลำบากคือเด็กทุกคนต้องไปเข้าห้องแล้วก็อออกมารำ แต่ถ้าเป็นภาพ ถือเห็นแล้วพลิกอ่านจบ ต่อให้ในป่าก็ใช้ได้ ก็ทำ ใช้ 400 โรงเรียน ตอนช่วงปี พ.ศ. 2544-2546
"แล้วก็ได้มีโอกาสจัดรายการวิทยุ ทำให้กับกระทรวงศึกษาธิการ การศึกษานอกโรงเรียนสำหรับเด็กต่างจังหวัด เปิดวิทยุจะได้ฟัง ก็จะมีเพลง เอาเพลงสมัยปัจจุบัน เพลงป๊อป ที่มีเนื้อหาดีๆ มาให้ฟัง แล้วก็เพลงเก่าที่มีเนื้อหาดีๆ ให้ฟัง มีนิทาน มีขำขัน มีรายการเพื่อเด็ก แต่ตอนนี้เลิกไปแล้ว
"เรื่องของเรื่องคือกรุงเทพมหานคร เขามีศูนย์เทคโนสารสนเทศและการสื่อสารเขาทำรายการ ที่นี้เขาคิดอยากจะได้เสียงเด็ก ก็เอาพี่เล็ก ดลลดา น้องพี่โบไปพากย์เข้าละคร ทำไปทำมาได้ทำรายการเป็นของตัวเองเลย แล้วก็พี่นุ่นเขาเป็นโปรดิวเซอร์ซึ่งมองเห็น เลยให้เราจัดทีม แล้วก็ทำอย่างนี้ 11 ตอน มันก็เลยได้ทำรายการเพื่อเด็ก รายการวันหยุดนักขัตฤกษ์ รายการคณิตของรายการวิทยุ แต่งแพลงเอง ออกทางรายการโทรทัศน์ช่อง ETV มันจะเป็นสรุปคณิตศาสตร์เป็นเพลง อย่างตอนแรกเป็นที่มาของคณิตคิดสนุก "ฮินดูอารบิก เป็นตัวเลขของชาวฮินดู อาหรับเอาไปใช้" เราแต่งเองแล้วก็ให้เด็กไปร้อง พอคุณครูคณิตอธิบายเสร็จปุ๊บเกี่ยวกับที่มาของเลขอารบิก เขาก็จะเปิดอันนี้ดู"
"ที่ทำทั้งหมดคือเพราะเราเป็นเรือจ้าง หน้าที่ของเราคือมอบสิ่งที่ดีให้กับลูกศิษย์ ในเรื่องราวชีวิตคนทั่วไปอาจจะมองว่าเราเป็นผู้ 'ขุดเพชรในโคลนตม' ก็แล้วแต่คนจะมอง เราไม่มีความรู้สึกหรือคิดว่าเป็นแบบนั้น เราคิดว่าทำอย่างไรให้เขาพ้น ให้ปลอดภัย แล้วก็ให้เขารู้คุณค่าตัวเอง แล้วก็ให้เขาไม่กล้าที่จะทำผิด เพราะบางครั้ง อย่าทำผิด ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ แต่ถ้าเราบอกเขาว่า เธอ...มีคุณค่านะ เธอสามารถเป็นอย่างนี้นะ แล้วเธอสามารถที่จะช่วยคนอื่นได้อีกให้เป็นเหมือนเธอ แล้วถ้าในวันใดวันหนึ่งเธอมีลูก หรือเธอเป็นครูเหมือนครู สิ่งนี้มันจะเป็นตัวกระตุ้นเตือนใจ ให้มันเป็นความสวยงามแล้วการกระทำของเธอมันออกมาแล้ว คนหลายๆ คนเขาก็จะเลื่อมใสและศรัทธาเอง"
"แล้วแต่คนจะมองหรือตั้งชื่ออะไรก็ได้ เรือจ้าง...ส่งถึงฝั่ง แล้วแต่จะคิดอะไรก็ได้ แต่ครูศรัทธา สำหรับครูเองแล้วเธอต้องเป็นผู้ให้ เพราะครูให้ แล้วก็ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน"
..."แต่ตอนเขาเดินจากไปก็ร้องไห้ วันจบก็ไม่อยากจบ เราก็บอกว่าเธอต้องไป เธอต้องโต แต่ถ้าเธอโตแล้วเธอยังอยู่อย่างนี้ เธอสอบตกไง ก็พูดแหย่เขาเล่นไปงั้นแหละ เพราะจริงๆ แล้วมันต้องตัดใจ แล้วก็ให้กำลังใจเขา ครูเห็นเด็กอยู่ด้วยกันมา 6 ปี พอใกล้วันที่จะจบ เรารู้ เศร้าเหมือนกัน แต่เราเองก็บอกว่าต้องไปเรียน ไปเอาวิชาความรู้ให้ได้มากๆ จะได้มีเงินเลี้ยงตัวเอง จบปริญญาตรีกับมัธยม เงินเดือนมันไม่เท่ากันนะลูก เขาก็จะรายงาน เขาก็จะบอก ก็จะดีใจกับเขา บางคนส่งมาแล้วตอนนี้หนูอยู่ที่นี่ต่างประเทศแล้ว อ้าวทำไม ตอนแรกบอกอยู่ที่นี่ ก็เขาต้องไปเรียนอินเดียร้องเขาก็ไห้เลย กำลังเล่นเรื่องบัลลังก์เมฆ ปรากฏว่ายายให้ไปเรียนที่อินเดีย"
และนี่คือภาพฉากของความสัมพันธ์เรื่องราวในบ้าน "ธรรมธนาคม" และ "โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ" ที่มีเพียงความรู้สึกหลงเหลือทิ้งไว้ถึงอนุสรณ์ที่เป็นดั่งความทรงจำ
ระหว่าง ศิษย์ กับ ครู
ระหว่าง ลูก กับ แม่
ที่แม้ไกลจนมองไม่เห็น ห่างจนไม่ได้ยินเสียง แต่สายสัมพันธ์นั้นยังคงไม่จืดจาง
"ก็ไม่ได้มุ่งหวัง ได้แต่ให้เขารอดพ้น ถ้าเขาประสบความสำเร็จมันก็เป็นผลพลอยได้ มันเป็นอะไรที่ได้ทุกอย่างแล้วแต่จะคิด มันดีใจนะ ทั้งเรื่องลูกศิษย์เราแล้วก็เรื่องรางวัลครูคุณากรรางวัลของมูลนิธิสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีที่ได้รับ เพราะว่ามันเป็นเกียรติประวัติ แต่จะได้รางวัลอะไรก็ตาม เราไม่ได้ทำเอง ก็ถือว่ามันเป็นความสำเร็จของลูกศิษย์ที่เขาคิดว่าตรงนี้เขาศรัทธาและรักเรา เขาจึงทำส่งเรื่องของเรา
"แต่เราเองเราก็ถือว่า เธอทำให้คุณครูรู้ว่าเธอรักเรา มันก็เป็นภาพที่ทำให้มองเห็นครูกับลูกศิษย์ ที่ทำงานกันแล้วลูกศิษย์ก็ประสบความสำเร็จ มันเป็นอะไรที่เห็นตอนเรายังอยู่ ก่อนตาย"
..............................................................................................................................................................................................................................................................
เพชรแห่งความสำเร็จ
1.น.ส.นาทลดา ธรรมธนาคม (ขอใช้นามสกุล) ยุวทูตกรุงเทพมหานคร รุ่นที่ 1 ปี 2534 นักร้องยุวชนดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2535 ปัจจุบันเป็นนักร้องโอเปรา มีผลงานทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
2.น.ส.ดลลดา ธรรมธนาคม (ขอใช้นามสกุล) นักเรียนรางวัลพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปี 2537 ปัจจุบันเป็นผู้จัดการฝ่ายขายอาวุโส โรงแรมชั้นนำในประเทศไทย
3.นายยุทธนา อัมระรงค์ ยุวทูตกรุงเทพมหานคร รุ่น 4 ปี 2537 ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษและประธานบริษัท คิดบวกสิปป์ จำกัด
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : พลภัทร วรรณดี
ด้วยทักษะด้านนาฏศิลป์ที่เรียนมา ด้วยพลังแรงใจไม่เคยหมด และด้วยคาดหวังในอนาคตของชาติ “ณัชตา ธรรมธนาคม” หรือที่ลูกศิษย์ลูกหาเรียกขานด้วยรักใคร่ว่า “ครูจิ๋ม” ดำรงหน้าที่ “เรือจ้าง” พัดพายเด็กไทยในย่านสลัมให้ถึงฝั่งแห่งความสำเร็จมารุ่นแล้วรุ่นเล่า ไม่ใช่เพียงแค่ระดับประเทศ หากแต่ยังขจรขจายไปไกลถึงต่างแดน หลายชีวิตเกือบล้มพับให้กับยาเสพติด กลายเป็นศิษย์ซึ่งมีชีวิตที่ดีงาม...
อย่าเป็นเพียงครู
เช้าชาม...เย็นชาม
“ตั้งแต่จำความได้ ตอนเด็กๆ เรียนหนังสือประมาณ ป.4 ครูก็อยากจะเป็นคุณครูแล้ว เพราะว่าชอบรำไทย แล้วก็มีความรู้สึกอยากเป็นครูสอนรำไทย ก็คิดอยู่อย่างนี้ ทั้งๆ ที่บ้านทำโรงกลึง ญาติๆ อากง อาม่า ก็คิดว่าเราควรจะต้องเรียนบัญชีเพื่อจะกลับไปช่วยที่บ้านได้”
ครูจิ๋ม ณัชตา กล่าวเริ่มต้นเส้นทางเรือจ้างที่ฝังแน่นหยั่งรากลึก ตั้งแต่ตอนนั้นจนปัจจุบันร่วม 30 กว่าปี
“อากง อาม่า เขาพูดเลยให้ลูกเรียนเต้นกินรำกินอนาคตจะไปมีอะไร เราก็ไม่ไปหาญาติเลย เพราะไปแล้วเขาก็จะถามไปเรียนอะไร (หัวเราะ) เราก็สงสารพ่อแม่เหมือนกัน แต่ท่านยินดีกับเรา เราก็เลยได้ไปสอบที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ เรียน 11 ปี แล้วก็ไปต่อปริญญาตรีที่บ้านสมเด็จฯ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา) ในระหว่างนั้นก็สอนที่โรงเรียนอนุบาล...เป็นโรงเรียนเอกชน มี 3 ระดับชั้น อนุบาล ประถม มัธยม เพราะอยากจะลองว่าเราสอนได้หรือไม่ คือเป็นอะไรที่เราอยากรู้อยากลอง ปรากกฎว่าเราก็สอนได้ ได้สอนเนิร์สเซอรีก่อน เป็นอาจารย์ประจำชั้นเด็กก่อนเข้าอนุบาล”
ด้วยความรักและความถนัดทางนาฏศิลป์ เพียงก้าวแรกแค่ไม่กี่ปีที่ทดสอบความเชื่อมั่นตั้งใจในตัวเอง คุณครูสาวก็สร้างปาฏิหาริย์ด้วยการคว้ารางวัลระดับประเทศในการเล่านิทาน
“เด็กระดับนี้เขายังพูดอะไรไม่ค่อยจะรู้ศัพท์เลยใช่ไหม เราก็ใช้วิธีหลอกเขา คือครูชอบเล่านิทานให้ฟัง เรื่องนั้นเรื่องนี้ เพราะมีวิธีการเบื้องต้นที่ศึกษาเด็กในวัยอนุบาล เขามีความต้องการอะไรที่แตกต่าง เราก็ต้องดู แล้วทางหลักสูตรเขาต้องการอะไร เราเป็นครูเราต้องมีอาวุธทางด้านนี้ แล้วบังเอิญเราพาเด็กไปแข่งประกวดเล่านิทานงานระดับประเทศ ก็คิดว่าคงไม่ได้แล้ว ปรากฏว่า เราได้ที่ 1 เล่านิทานประกอบท่าทางชนะเลิศ”
"ก็ดีใจกันใหญ่เลย (ยิ้ม) พอหลังจากนั้นผ่านมา ก็ได้ขึ้นเป็นครูสอนนาฏศิลป์ ทำอยู่สักระยะหนึ่งจนเรียนจบ ครูก็ได้ข่าวว่ามีการสอบบรรจุ ครูก็เลยสอบเพราะว่าพ่อแม่ทุกคนในสมัยนั้นถ้าลูกรับราชการเขาจะดีใจ ก็ลองสอบ สรุปว่าสอบได้ ครูก็เลยเลือกมาทางนี้”
แม้รู้ว่าระบบการศึกษาเอกชนจะมีราคาค่างวดที่สูงกว่ารัฐบาลหลายเท่าตัว ไหนจะสภาพแวดล้อมรายทางที่เจริญหูเจริญตามากกว่ามาก กระนั้นท้ายที่สุด ครูณัชตา เรือจ้างสาวก็เลือกลำนำทางสายนี้ที่โรงเรียน “ศูนย์รวมน้ำใจ”
"เด็กจบใหม่ไฟแรงด้วยไง..."
ครูว่าพลางเว้นวรรค ในบรรทัดที่ตกหล่นของสังคมเมืองหลวง เพราะเพียงระยะสองข้างฝั่งคอนกรีตพื้นถนน “ชุมชนคลองเตย” ย่านท่าเรือไม่ต่างจากดินแดนโลกที่ 4 ของยาเสพติด ชุมชนแออัด และสารพัดอบายมุข
"คือบรรยากาศทุกอย่าง เสื้อผ้าตากสวยงามมากเลย สีสันฉูดฉาดบาดตา คือเรารู้แล้วว่าที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องนี้ แต่เราไม่เคยสัมผัสจริงๆ แต่มันไม่เท่ากับเจอเด็กที่ไม่ใส่รองเท้า แล้วเสื้อผ้านักเรียน เขาก็ใส่ตัวเดียวทั้งอาทิตย์ นั่งสักพักได้กลิ่นโลชั่นแปลกๆ ลอยมาแล้ว มันก็มีอะไรบางอย่างสะท้อนให้เห็นว่านี่คือเมืองหลวงนะ ทำไมมันเป็นอย่างนี้"
"และในระหว่างที่คิดแรกๆ ก็ไม่เข้าใจ คิดว่าเราคิดผิดหรือเปล่า เพราะเราเจอเด็กๆ เช่น เขาขโมยของ ของเรา ของโรงเรียน แล้วบางทีเขาเอากลับไปบ้าน ที่บ้านเห็นดีเห็นงามด้วย เราก็ไม่เข้าใจ เราพยายามบอกว่า ไม่ใช่นะ ติดคุกนะ ของราชการ แล้วก็อย่างเธอเอาของครูไป ครูก็ไม่มีกิน แล้วครูก็ไม่รู้จะไปเอาคืนได้ที่ไหน"
ด้วยใจที่เปี่ยมมั่นไม่ถดถอย ทางออกแห่งการ “แก้ปัญหา” ไม่ใช่การละเลยเลิกคบค้าพฤติกรรมเหล่านี้ แล้วปล่อยชีวิตตาดำๆ เหล่านี้ เรียนรู้ผิดเป็นชอบ ถูกเป็นดี จึงตั้งชมรมนาฏศิลป์ขึ้นมา แล้วเฟ้นหาเด็กที่มีแวว พรสวรรค์ กระทั่งเด็กเกเรเกตุง ให้เข้ามาอยู่ในชมรม
"คือมันยังมีในเรื่องของภัยมืดของเด็กผู้หญิงอีก เพราะอย่างตอนนั้นมีเด็กของเราพ่อแม่ฝากไว้กับป้า ลุง ลุงเขย แต่ไม่ใช่ลุงตัวเอง มันก็เกิดเรื่อง แบบนี้มันช่วยได้ไหม ในยามวิกาล เรารู้ไหม ไม่รู้ พ่อแม่ก็ไม่รู้ พอมันเกิดขึ้นมา ถ้าเด็กฉลาด เขาหาทางเอาตัวรอด แต่ที่รับรู้มา แอบอยู่ในห้องน้ำไม่ยอมออก รอดตัว แต่จำเป็นต้องเล่าให้ผู้ปกครองหรือพ่อแม่รู้ เขาก็ไม่เล่า ก็มีเกิดขึ้นอีก เราก็เรียกพ่อแม่มา พ่อแม่ต้องออกจากงานคนหนึ่ง มาดูลูก ถูกแล้ว สร้างเขามา เมื่อเกิดเหตุอะไรต้องรีบช่วย"
"แต่ถ้าเราดึงมาซะ แล้วก็รู้เวลากลับ นัดกันกับผู้ปกครอง เวลาบ่าย 3-6 โมงเย็นอยู่กับเรา ฉะนั้น กลับบ้านไป ก็แทบเข้านอนได้เลย คือเราพยายามจะไม่ให้อยู่ตรงนั้นเลยดีกว่า ตื่นมาโรงเรียน เย็นอยู่กับเรา มืดเข้าบ้านนอน พรุ่งนี้เหมือนเดิม"
วันเวลาผ่านไปนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ที่ก่อตั้งชมรมในปลายปีที่ย้าย นำพาให้ชีวิตชีวิตหนึ่ง อีกโลกใบหนึ่งได้เห็นอีกหลายชีวิตที่แตกต่าง จนเกิดความเข้าใจก่อเป็นความสัมผัสในฐานะเรือจ้าง อุดมการณ์ “แม่คนที่ 2”
"พอเราก่อตั้งชมรมขึ้นมา หลังจากนั้น เรามีงานการประกวด เราก็กังวล เพราะว่าเด็กๆ ต้องซ้อมจนดึกดื่น หรือไม่บางทีไปประกวดตอนเย็น กลับมาก็ค่ำ เรากลัวว่าเขาจะเกิดอันตราย เราก็เลยไปส่งพวกเขา และนั่นก็ทำให้เราสัมผัสได้ว่า ข้ามถนนไป มันจะเป็นอย่างไร ตอนก่อนเราไป เราก็ได้ยินสรรพคุณเหมือนกันว่าจะต้องเห็นภาพอะไรอย่างนั้น ก็ถอดสร้อย แก้วแหวน ฝากเพื่อน เพื่อนก็นัดกัน ถ้าเลยเวลาที่กำหนดไปตามนะ เพราะมันประมาณ 1 - 2 ทุ่มครึ่งค่ำแล้ว
"ไปแสดง แค่เงิน 60 บาทของเด็กๆ เราก็พาไป ระหว่างพาไป เราก็เจอ เห็นกำลังเสพยากัน ฉีดเข้าเส้น แล้วเราสะท้อนใจนะ ที่นี่มันเมืองหลวง แล้วถ้าเราให้ลูกศิษย์เรากลับมาค่ำๆ มืดๆ สติสัมปชัญญะที่เขามีนั้น เขาจะคุมได้แค่ไหน แล้วเด็กเราจะมีลู่ทางไปอย่างไร ก็ปรากฏว่า พอไปส่งเสร็จ เขาไปเลย (หัวเราะ) จาก 5-4-3-2 ตอนแรกเราก็ไม่กลัวเพราะมีเขาเดินไปด้วย จนเหลือเราคนเดียว เราก็เดินกลับ แต่ในใจก็คิดว่าเราไม่เป็นไร เราไม่มีของมีค่าอะไร ก็เดินคิดอยู่ๆ ก็มีเด็กอยู่คนหนึ่งวิ่งมาจับมือ บอกครูขา...หนูไปส่งค่ะ เราก็หันไป เสียงเขาเพราะ เพราะมากเลย เราก็บอกเขาว่าวันจันทร์มาหาครูนะ ความกลัวอะไรหายไปหมดแล้ว เพราะเขาจูงมือมาส่ง พอวันจันทร์มาหา ก็เลยรู้ว่าเขาอ่านหนังสือไม่ออกทั้งๆ ที่เป็นเด็ก ป.1"
"ปรากฏว่าเราก็เห็นว่าเขามีพรสวรรค์ ก็เลยบอกว่าไป เดี๋ยวเราไปแข่งงานวิชาการ ก็ได้ดินสอมาแท่งหนึ่ง พอดีเขามีประกาศแข่งขันนักร้องสยามกลการ สมัยก่อนนานแล้วประมาณปี พ.ศ. 2533 ปรากฏว่าเราก็อัดเทปคาสเส็ต เลือกเพลงที่ดีที่สุดให้เขาร้อง เข้ารอบประกาศรายชื่อลงในหนังสือพิมพ์ ครูก็วิ่งถือมาเลย บอกว่ามีชื่อหนูด้วยนะ"
แม้จะผิดหวังได้เพียงเสื้อเชิ้ตหนึ่งตัว กับการได้เข้ารอบไปประชันความสามารถในรอบชิงชนะเลิศ ครูสาวก็ไม่หยุดยั้งหมดความหวังในแววตาที่มอง ซ้ำยังจุดประกายบางอย่างซึ่งในระยะเวลาต่อมาจะส่งผลต่ออนาคตอย่างยิ่งยวดของเด็กๆ สลัมข้างทางอีก 10 ชีวิต
"ตอนนั้นก็ได้เสื้อแจ็กเกตตัวหนึ่ง แล้วก็เข้าไปร้องสดให้เขาฟัง เข้าไปถึงรอบชิงปุ๊บ เราก็เลือกเพลง “ขอสักวัน” ของคุณฉันทะนา แต่ตกรอบ เพราะคนที่มาของเขาอลังการ ตัดท่อนโน้นต่อท่อนนี้ โหนเสียงโชว์ความสามารถ ของเราไม่ถึงก็ตกรอบ ตลกมากเลยคือเด็กน้องที่เข้าประกวดคนนั้นพอประกาศผลเสร็จเขาก็เล่นลูกโป่งต่อเลย (ยิ้ม)
"แต่เราก็ส่งเรื่อยๆ พอปีต่อมาก็ชนะได้ถ้วย ชนะหลังจากนั้นก็ไปเรียนต่อ เขาก็เรียนต่อเอก voice พอเขาจบการศึกษาเข้าระดับปริญญาตรี ในขณะนั้นเขาจะเรียนกับครูพิเศษตลอด ครูเขาก็แนะนำว่าอัดเสียงส่งไปต่างประเทศปรากฏว่าได้ ก็พอได้ปุ๊บ ปรากฏว่าไม่มีค่าเครื่องบิน ครูกับครูแก้ว (ชื่อจริง) ที่เป็นครูดนตรีก็ช่วยกันลงขันให้เขาไป เสร็จปุ๊บก็ตกรอบเพราะว่าที่ชนะนั้น เขาคนเดียว เสื้อผ้าคนหนึ่ง ผมคนหนึ่ง แล้วก็แต่งหน้าอีกคนหนึ่ง ส่วนเขานี้ตัวคนเดียวเลย เขาบอกเห็นแค่นี้ก็ฟ่อแล้ว
"เราก็บอกว่าอันนั้นไม่ใช่ส่วนประกอบ เขาก็เลยลงเรียนต่อที่นั่นเลย แล้วก็ได้ทุนของคุณหญิงพรทิพย์ 1 ล้าน คือหลังจากแข่งเสร็จก็ได้ทุน ก็เรียนจนจบแล้วก็เป็นนักร้องโอเปรา โด่งดังที่ยุโรป เขามีเอียร์เทรนนิ่งดีตั้งแต่เล็กๆ แล้ว เนี่ยพรสวรรค์เขาไปเจอ ก็เสร็จไป 1 รายที่เราช่วยสนับสนุน"
“โบ นาทลดา” คือชื่อสมาชิกรุ่นแรก ที่ก่อให้เกิดปาฏิหาริย์ เธอคือยุวทูตกรุงเทพมหานครรุ่น 1 ปี 2534 นักร้องเยาวชนดีเด่นแห่งประเทศไทยในปี 2535
"คนแรกที่ทำให้คิดอุปการะช่วยเหลือให้เขามีอนาคตคือ หลุดพ้นสิ่งเลวร้ายตรงนั้น"
ครูณัชตา กล่าวถึงมือน้อยๆ คู่นั้นที่โอบอุ้มกันและกันมา
เพราะต่างเรียนรู้กันและกัน
ต่างมอบสิ่งดีๆ ให้แก่กัน
และต่างนำพากันสู่หนทาง...ที่ดี
"คือเราทำไปโดยเป็นห่วงพรสวรรค์ที่มีอยู่ในแต่ละคน คือบางคนเนี่ยเขาพากย์เสียงเก่ง อย่างน้องชายพี่โบ คือ ตระกูลนี้เสียงดี เราก็บอกว่านี่คืออาชีพเธอในอนาคตนะ เขาก็พากย์ harry potter ทุกภาค พระมหาชนกก็พากย์ แต่ตอนนี้เขาไปทำอย่างอื่นแล้ว อันนั้นก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งของเขา"
"ก่อนหน้านั้นที่จะอุปถัมภ์ เราก็ไม่ได้รวย เงินเดือนราชการก็นิดเดียว แต่พอเราสัมผัส ทำไมต้องช่วยเหลือเด็ก มันมีองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น หิว แต่ไม่มีเงิน จริงที่เราช่วยอย่างอื่นก็ได้ แต่ถามว่าเราหิวเรากินไหม กิน เราชอบที่จะทานขนมทานอะไรกับเด็กๆ ในส่วนตัวเราชอบทาน แล้วเราก็คิดว่าเขาไม่มีเงิน แต่เรามี เรามากินด้วยกัน บางทีเหมือนเพื่อนกัน สนิทกัน ช่วยกัน เด็กมีขนมเขาก็จะ “คุณครูขา ทานค่ะ” เด็กยื่นให้ก่อน กินส้มตำ ถือจากไหนต่อไหนมา ต้องรอให้เราสักช้อนหนึ่ง มันสร้างความเป็นกันเอง
"แล้วเราให้โดยไม่หวังอะไร คุณครูมีปณิธานอยู่อย่างหนึ่งคือเราต้องให้โดยไม่ต้องหวังอะไร ไม่มีข้อแม้อะไรเลย แต่ก็มีคนถามบ่อยครั้งว่ามันจริงหรือ เราก็บอกว่ามันไม่เคยขัดสนเลยนะ ยิ่งให้มันก็ยิ่งได้ ทั้งๆ ที่เราไม่หวัง บางทีนั่งๆ อยู่ ผู้ปกครองนำผลไม้มาให้ บางทีมีข้าวสารเป็นกระสอบ บอกครูว่ายายไม่มีเงินให้ แต่ยายมีข้าวหลายกระสอบ ครูช่วยยายกินหน่อย อย่างนี้ก็มี
"อีกอย่าง โดยพื้นฐานที่บ้านครูมีโรงกลึง ก็ไม่ขัดสนอยู่แล้วเรื่องเงินทอง เราเองถ้าไม่มีก็พอขอที่บ้านได้ แล้วเขาก็เชียร์เต็มที่ คุณพ่อคุณแม่ บางทีช่วยด้วยซ้ำอีกแรง ถ้าเราเอ่ยปากอะไร
รุ่นใหม่ไฟแรงจึงไม่มอดลง เหลือเพียงเถ้าอุ่นๆ กับควันสีดอกเลาตามแรงลม
"การเป็นครูเช้าชามเย็นชาม" จึงไม่อยู่ในสารบบความคิด
"เขาไม่เชิงว่า แต่ตอนเราทำแรกๆ เขาพูดให้ได้ยินว่า "อย่าเป็นครูเช้าชามเย็นชามนะ" ในสิ่งที่เราทำ เราก็สะอึกแล้ว แล้วเราก็ไม่ได้คิดอย่างนั้น เราต้องการให้เขารอดจากตรงนั้น ขอให้รอดจากตรงนี้ เขามีพรสวรรค์ในตัวมา ถ้าเขารอดพ้นตรงนี้ แล้วเราประคับประคองให้เขาเรียนไป เขาจะไปเจอเส้นทาง เขามีอาชีพ เขาเป็นคนดีแน่นอน คือเราคุยกันไง เขากับเราคุยกันแบบหมดใจไม่ปิดบังเราจะไม่ทิ้ง ปรึกษาอะไร เราจะสังเกตเห็นพฤติกรรม เป็นอะไรหรือเปล่า
"อย่างมีเคสหนึ่งเขาปวดหัวบ่อย เราก็ถามว่าไปหาหมอหรือยัง เขาตอบว่ายัง เราก็เลยพาไปหาหมอ ก็ไปเจอมะเร็งในสมองระยะสุดท้าย รู้ในระยะที่สายซะแล้ว ที่เขาปวดหัวอยู่เรื่อยๆ หล่อมาก ร้องเพลงเพราะด้วย ไปประกวดก็ชนะ
"หลังจากนั้นพี่โบมาอยู่คนแรก ครอบครัวเขาแตกแยก น้องสาว น้องชายอีก 2 คน ดลดาคนน้องที่ 2 คนนี้ได้รับรางวัลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แกมีพฤติกรรมดี แล้วก็ขยันเรียน ตอนนี้เป็นผู้จัดการฝ่ายอาวุโส โรงแรมใหญ่ในกรุงเทพฯ แล้วเขาก็เป็นพิธีกรในรายการวิทยุ คือเขาเบ็ดเสวร็จในตัวเขา พี่เอ็ม ยุทธนา ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษและประธานบริษัท คิดบวกสิปป์ จำกัด แล้วก็ร้านข้าวมันไก่ฝากหลานๆ อยู่ต่างจังหวัด ก็ฝากมาเรียนเพราะเขามี่พรสวรรค์ ก็มาอยู่ ตอนนี้หลายร้านข้าวมันไก่ก็ตั้งคณะวงลูกทุ่งทุกวันนี้อยู่แถวราชบุรี แต่ตอนนี้เขาดังในเรื่องของการขายยางรถ
"มาอยู่เราก็สอนทุกเรื่อง โดยมีจริยธรรมแทรก สอนทุกอย่าง มันเหมือนกับเราปูพื้นอันนี้ไป ถ้าเขาไปอยู่ในมัธยมเขาก็เอาไปใช้ได้ ก็ไม่ได้คิดว่าเด็กที่เราช่วยจะเติบโตไปขนาดนี้ คิดตรงที่ว่าเขาจะพ้นจากตรงนั้น แต่พอเขามาอยู่กับเรา เขามีพฤติกรรมปฏิบัติกับเราเป๊ะมาก มีความรู้แล้วก็น่ารัก มันก็เป็นรุ่นแล้วรุ่นเล่า จบไปๆ รุ่นนี้ก็มีเรื่องนี้ มีปาฏิหาริย์อันนี้ รุ่นนี้ก็วิบากกรรมด้วยกันอย่างนี้ อะเมซิ่งมาก
"เราสู้เราไม่เหนื่อย เพราะเราอยู่กับเด็กๆ ก็สนุก คำว่า “หยุด” มันเลยไม่ใช่วิธีการของเรา เพราะเราเปิดชมรมไว้เด็กมาได้ทุกอย่าง ร้อง รำ ทำเพลง เต้น ละคร ดนตรี มันเป็นจุดหนึ่งที่ไม่ให้เด็กใช้เวลาว่างไปในทางที่เสื่อมเสีย อยู่ด้วยกันก็เป็นในลักษณะแม่ลูก วันไหนลืมไม่ได้กดตังค์ เขาก็บอกว่าไม่ต้องจ่ายๆ ผมกับหนูจะจ่ายกันเอง จากที่เคยรับ เพราะที่นี่มีคนมาบริจาคเยอะ เขาก็ได้เป็นผู้ให้ ครูเองครูก็บอกว่าครูอยากช่วย ก็เป็นที่รู้กันว่าวันไหนไม่มี เพราะว่ากระเป๋าเราไปเปิดเอาได้เลย เปิดแล้วหยิบเงินไปซื้อ มันก็ไม่มีเรื่องการลักเล็กขโมยน้อยอะไร เราเปิดใจ"
เพราะจริงใจ และใส่ใจ
เสมือนบันไดขั้นแรก
"มันเสียดาย คืออย่างเรามองเด็กคนหนึ่ง คนนี้วาดภาพเก่ง ลงสี กล้าตัดสินใจลงสี เลือกสีเองได้แล้วจับคู่สีได้สวย ไปหาครูสมพร คือเราจะดูแล้วส่งเหมือนแมวมอง แต่ถ้าเรื่องเดนตรีจะอยู่กับเรา แล้วถ้ามันเลยเส้นทางเรา คือมันเลยขีดความสามารถเรา เราจะให้ไปหาคนอื่น คนนี้
"เพราะถ้าเราไม่ทำ เขาจะมีแก๊งที่มาสอดแนมเด็กๆ พวกนี้ ถามว่าเบื่อไหม ถ้าเบื่อมาที่นี่ มีเด็กบางคนโดนไป พอโดนไปไอ้พิษของสารเสพ เขาก็ทรมาน เขาก็มาหาเรา เราก็อยากจะเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้"
ครูณัชตา บอกเล่าถึง "สิ่งเหล่านั้น" ที่นอกจากปัจจัยภายนอกซึ่งคอยชักชวน ยุยงไปในทางที่ไม่ดี ภายในเองยังถูกกัดแทะแซะซอน
"ในส่วนของเด็กผู้ชายเนี่ยมีเยอะ คุณครูหลายท่านมักจะคิดว่าคนนี้ก้าวร้าวออกไป คนนี้เกเรออกไป คนนี้ไม่เชื่อฟังออกไป พอไม่เชื่อฟังปุ๊บ เราถามอยู่กับใคร อยู่กับยาย โอ้ว... รู้เลย อย่างเด็กก้าวร้าว เด็กดื้อ บางครั้งมีคุณลักษณะพิเศษ คือเขาไม่ฟังคนอื่น แต่เขาฟังเรา เป็นเพราะเขาจะต้องเชื่อมั่นในครูสักคนหนึ่ง รักและศรัทธา เขาถึงจะมีอะไรออกมาให้เห็น เราเห็นอย่างนี้เป็นประจำ อย่างเด็กบางคน เราเอาเขามาตีกลองยาว พอเขาตีกลองยาวปุ๊บตีเพราะ มือเธอนี้มีพรสวรรค์ เราสอนไป 1 เขาได้ 10 เด็กที่กล้าที่จะใช้วาจาแสดงว่าเขามีอะไรสักอย่าง
"เราก็จะบอกกับเขาว่า สงสารยายนะ ถ้าอยู่กับเด็กดื้อ ยายจะไปไวนะลูก เขาก็ถามไปไหน (ยิ้ม) ก็ตายไงเธอ เธอต้องช่วยถ้าเธออยู่กับยาย สิ่งที่เธออยู่กับพ่อแม่ ตอนนั้นก่อนที่เธอจะเกิดมาพ่อแม่เขารักเธอใช่ไหม เธอถึงได้เกิดมา แต่เธอไม่รู้หรอก ทว่าพอหลังจากนั้นเขามีปัญหา แต่ถ้าเธอเอาชีวิตเธอไปจมกับปัญหาตรงนั้น ชีวิตเธอจะจบอยู่แค่นี้ แล้วเธอก็จะไปพึ่งยาเสพติด คุณครูพูดอย่างนี้ตลอดกับเด็กทุกคน เด็กที่ก้าวร้าวเด็กที่อะไรเขาจะเกิดความคิดครูคนนี้มาอะไรกับเขา แต่แทนที่เขากำลังจะคิด เรากอดเลย
"ด่านแรกเลยคือเราจริงใจกับเขา เราให้ความสนใจเขา"
"คือเราจบมาได้ เพราะเรามีครูบาร์อาจารย์ดี เราก็นำมาใช้กับเด็กๆ อย่างที่นี่ การที่มีมูลนิธิต่างๆ มาช่วยเหลือเป็นสิ่งที่ดี แต่เราเป็นครู เราก็ต้องเห็นจุดบกพร่องของเหตุการณ์”
...ในด้านงานการแสดงที่มีรายรับไม่ต่ำกว่าหลักพัน แบ่งเฉลี่ยเท่าๆ กัน อย่างไม่มีลำดับชั้น นักร้อง แดนเซอร์ คอนวอย ไปจนแผนแผนกซัปพอร์ตสิ่งที่ขาดเหลือ เพื่อเป็นการ "ปู" พื้นฐาน ลดตระหนี่ ความมืดดำของชีวิตสีน้ำครำและสังคม
"เราก็จะสอนว่าการรวมมีหลายแบบ 1. คือนั่งดู นี่ถือว่ารวมแล้ว และรับรู้มีความสุขด้วย แล้วถ้าบอกให้ลุกขึ้นเต้นก็เต้นตามได้ อันนี้คือแบบฝึกหัดแรก ส่วนอันที่สองเป็นผู้แสดงเอง ส่วนอันที่สาม เป็นตัวช่วยในเรื่องของเสื้อผ้าหน้าผม คือไม่มีความสามารถที่จะยืนออกมาร้อง หายใจเฮือก เด็กบางคนตื่นเต้น งานแรกถ้าผ่านปุ๊บ แบบเหมือนนักมวยฮึดขึ้นชก แต่บางคนฝ่อเลย อย่างนั้นเธอมีหน้าที่คอยหิ้วกระเป๋าเครื่องสำอาง แล้วลองมาหัดทำผมดูซิ ปรากฏว่าทำผมเก่ง มันก็ได้อีกอาชีพหนึ่ง คนนี้แต่งหน้าเก่ง เราได้ดูเด็กหลายๆ แบบ การเอารัดเอาเปรียบการให้กำลังใจ การเห็นอกเห็นใจในเรื่องของครอบครัว
"จากเรื่องของความอบอุ่นครอบครัวเราปูพื้นฐานให้เขาไม่ไปจม เขาก็ตั้งใจ ปรึกษาได้หมด อย่างถ้าอยากเรียนโรงเรียนดังๆ แต่ตกหมดทุกวิชา มาปรึกษา ทั้งจบแล้วมีงานทำก็ยังมี บางอย่างก็ยังต้องให้กำลังใจกัน เพราะมันมีทุกเรื่อง การทำงานมันมีเรื่องอิจฉาริษยาเราก็ต้องฝ่าฟันมันไปให้ได้ คือในบางครั้งเขาต้องหาตัวช่วยในการพูด บางทีไม่ใช่ลูกศิษย์เลย แต่เป็นเพื่อนของลูกศิษย์ ก็บอกเขาเธอต้องสู้โว้ย (หัวเราะ) มันมีหลากหลาย เราช่วยได้ เราช่วยทันที แล้วก็บอกกับเด็กเสมอเมื่อจบปริญญาตรีแล้วนะ ทำงานมีหลักแหล่ง เข้มแข็งแล้ว ช่วยเหลือคนอื่นทันทีเลย"
แม้เด็กๆ หลายคนหลายรุ่นจะจบไปแล้ว แต่ด้วยความรักความผูกพันระหว่าง "ศิษย์" และครู (ดั่งแม่) ที่กลับมาหาสู่ไม่รู้ขาด
"เราก็ไม่ได้คิดว่าเขาจะต้องมาช่วยครูนะ นั่นแล้วแต่เขา เขารอดแล้วค่อยว่า เพราะว่าเราจะบอก “ออกไป เธอไปให้ไกลๆ เลย” (หัวเราะ) ไม่ต้องกังวลว่า เดี๋ยวจะต้องมาหา ครูไม่เคยคิดตรงนี้ เธอไปเลย ได้ดีแล้วก็ทำอะไรให้มันเป็นกอบเป็นกำแล้ว คิดถึงครูก็มาได้ แต่ส่วนใหญ่เขาจะ “ครูขา (ลากเสียง) หาเด็กให้หนู 6 คน” เราก็จะถามว่าทำอะไร "หนูจะมาสอนเต้น สอนรำ จะมาฝึกให้"
“มันคล้ายๆ ว่าเขาเคยได้รับโอกาส เขาก็อยากจะสร้างโอกาสเหล่านี้ให้น้องๆ บ้าง"
จะ “แม่พิมพ์” หรือ "เรือจ้าง"
คุณค่าที่คงค้าง คือผู้ขุดเพชรจากโคลนตม
นอกจากนักเรียนในโรงเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เด็กต่างจังหวัดยังเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ครูผู้นี้ต่อยอดเข้าไปช่วยเหลือ ผ่าน "นาฏยศัพท์" ที่กลายเป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับนักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร พิมพ์ครั้งที่ 3 และมีการแปลภาษาอังกฤษ
"คือในการเรียนที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ เขาจะสอนแบบโบราณ ลุกขึ้นรำตาม รำต่อได้ ก็ดีไป แต่ถ้ารำไม่ได้ พ่อครูแม่ครูก็จะหงุดหงิด ทีนี้เขาจะไม่บอกว่าอันนี้คืออะไรอันนี้จะต้องเอามาจากตรงนี้ เราเอามาจากตรงนี้มาทำเป็นสื่อให้กับกรุงเทพมหานคร เช่นท่ารำ เป็นท่ารำก็จะมีศัพท์เรียก เราก็ขมวดให้เป็นเซต แล้วมีภาพ มีตัวหนังสือ ถ้าจะทำเป็นคอมพิวเตอร์มันจะลำบากคือเด็กทุกคนต้องไปเข้าห้องแล้วก็อออกมารำ แต่ถ้าเป็นภาพ ถือเห็นแล้วพลิกอ่านจบ ต่อให้ในป่าก็ใช้ได้ ก็ทำ ใช้ 400 โรงเรียน ตอนช่วงปี พ.ศ. 2544-2546
"แล้วก็ได้มีโอกาสจัดรายการวิทยุ ทำให้กับกระทรวงศึกษาธิการ การศึกษานอกโรงเรียนสำหรับเด็กต่างจังหวัด เปิดวิทยุจะได้ฟัง ก็จะมีเพลง เอาเพลงสมัยปัจจุบัน เพลงป๊อป ที่มีเนื้อหาดีๆ มาให้ฟัง แล้วก็เพลงเก่าที่มีเนื้อหาดีๆ ให้ฟัง มีนิทาน มีขำขัน มีรายการเพื่อเด็ก แต่ตอนนี้เลิกไปแล้ว
"เรื่องของเรื่องคือกรุงเทพมหานคร เขามีศูนย์เทคโนสารสนเทศและการสื่อสารเขาทำรายการ ที่นี้เขาคิดอยากจะได้เสียงเด็ก ก็เอาพี่เล็ก ดลลดา น้องพี่โบไปพากย์เข้าละคร ทำไปทำมาได้ทำรายการเป็นของตัวเองเลย แล้วก็พี่นุ่นเขาเป็นโปรดิวเซอร์ซึ่งมองเห็น เลยให้เราจัดทีม แล้วก็ทำอย่างนี้ 11 ตอน มันก็เลยได้ทำรายการเพื่อเด็ก รายการวันหยุดนักขัตฤกษ์ รายการคณิตของรายการวิทยุ แต่งแพลงเอง ออกทางรายการโทรทัศน์ช่อง ETV มันจะเป็นสรุปคณิตศาสตร์เป็นเพลง อย่างตอนแรกเป็นที่มาของคณิตคิดสนุก "ฮินดูอารบิก เป็นตัวเลขของชาวฮินดู อาหรับเอาไปใช้" เราแต่งเองแล้วก็ให้เด็กไปร้อง พอคุณครูคณิตอธิบายเสร็จปุ๊บเกี่ยวกับที่มาของเลขอารบิก เขาก็จะเปิดอันนี้ดู"
"ที่ทำทั้งหมดคือเพราะเราเป็นเรือจ้าง หน้าที่ของเราคือมอบสิ่งที่ดีให้กับลูกศิษย์ ในเรื่องราวชีวิตคนทั่วไปอาจจะมองว่าเราเป็นผู้ 'ขุดเพชรในโคลนตม' ก็แล้วแต่คนจะมอง เราไม่มีความรู้สึกหรือคิดว่าเป็นแบบนั้น เราคิดว่าทำอย่างไรให้เขาพ้น ให้ปลอดภัย แล้วก็ให้เขารู้คุณค่าตัวเอง แล้วก็ให้เขาไม่กล้าที่จะทำผิด เพราะบางครั้ง อย่าทำผิด ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ แต่ถ้าเราบอกเขาว่า เธอ...มีคุณค่านะ เธอสามารถเป็นอย่างนี้นะ แล้วเธอสามารถที่จะช่วยคนอื่นได้อีกให้เป็นเหมือนเธอ แล้วถ้าในวันใดวันหนึ่งเธอมีลูก หรือเธอเป็นครูเหมือนครู สิ่งนี้มันจะเป็นตัวกระตุ้นเตือนใจ ให้มันเป็นความสวยงามแล้วการกระทำของเธอมันออกมาแล้ว คนหลายๆ คนเขาก็จะเลื่อมใสและศรัทธาเอง"
"แล้วแต่คนจะมองหรือตั้งชื่ออะไรก็ได้ เรือจ้าง...ส่งถึงฝั่ง แล้วแต่จะคิดอะไรก็ได้ แต่ครูศรัทธา สำหรับครูเองแล้วเธอต้องเป็นผู้ให้ เพราะครูให้ แล้วก็ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน"
..."แต่ตอนเขาเดินจากไปก็ร้องไห้ วันจบก็ไม่อยากจบ เราก็บอกว่าเธอต้องไป เธอต้องโต แต่ถ้าเธอโตแล้วเธอยังอยู่อย่างนี้ เธอสอบตกไง ก็พูดแหย่เขาเล่นไปงั้นแหละ เพราะจริงๆ แล้วมันต้องตัดใจ แล้วก็ให้กำลังใจเขา ครูเห็นเด็กอยู่ด้วยกันมา 6 ปี พอใกล้วันที่จะจบ เรารู้ เศร้าเหมือนกัน แต่เราเองก็บอกว่าต้องไปเรียน ไปเอาวิชาความรู้ให้ได้มากๆ จะได้มีเงินเลี้ยงตัวเอง จบปริญญาตรีกับมัธยม เงินเดือนมันไม่เท่ากันนะลูก เขาก็จะรายงาน เขาก็จะบอก ก็จะดีใจกับเขา บางคนส่งมาแล้วตอนนี้หนูอยู่ที่นี่ต่างประเทศแล้ว อ้าวทำไม ตอนแรกบอกอยู่ที่นี่ ก็เขาต้องไปเรียนอินเดียร้องเขาก็ไห้เลย กำลังเล่นเรื่องบัลลังก์เมฆ ปรากฏว่ายายให้ไปเรียนที่อินเดีย"
และนี่คือภาพฉากของความสัมพันธ์เรื่องราวในบ้าน "ธรรมธนาคม" และ "โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ" ที่มีเพียงความรู้สึกหลงเหลือทิ้งไว้ถึงอนุสรณ์ที่เป็นดั่งความทรงจำ
ระหว่าง ศิษย์ กับ ครู
ระหว่าง ลูก กับ แม่
ที่แม้ไกลจนมองไม่เห็น ห่างจนไม่ได้ยินเสียง แต่สายสัมพันธ์นั้นยังคงไม่จืดจาง
"ก็ไม่ได้มุ่งหวัง ได้แต่ให้เขารอดพ้น ถ้าเขาประสบความสำเร็จมันก็เป็นผลพลอยได้ มันเป็นอะไรที่ได้ทุกอย่างแล้วแต่จะคิด มันดีใจนะ ทั้งเรื่องลูกศิษย์เราแล้วก็เรื่องรางวัลครูคุณากรรางวัลของมูลนิธิสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีที่ได้รับ เพราะว่ามันเป็นเกียรติประวัติ แต่จะได้รางวัลอะไรก็ตาม เราไม่ได้ทำเอง ก็ถือว่ามันเป็นความสำเร็จของลูกศิษย์ที่เขาคิดว่าตรงนี้เขาศรัทธาและรักเรา เขาจึงทำส่งเรื่องของเรา
"แต่เราเองเราก็ถือว่า เธอทำให้คุณครูรู้ว่าเธอรักเรา มันก็เป็นภาพที่ทำให้มองเห็นครูกับลูกศิษย์ ที่ทำงานกันแล้วลูกศิษย์ก็ประสบความสำเร็จ มันเป็นอะไรที่เห็นตอนเรายังอยู่ ก่อนตาย"
..............................................................................................................................................................................................................................................................
เพชรแห่งความสำเร็จ
1.น.ส.นาทลดา ธรรมธนาคม (ขอใช้นามสกุล) ยุวทูตกรุงเทพมหานคร รุ่นที่ 1 ปี 2534 นักร้องยุวชนดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2535 ปัจจุบันเป็นนักร้องโอเปรา มีผลงานทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
2.น.ส.ดลลดา ธรรมธนาคม (ขอใช้นามสกุล) นักเรียนรางวัลพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปี 2537 ปัจจุบันเป็นผู้จัดการฝ่ายขายอาวุโส โรงแรมชั้นนำในประเทศไทย
3.นายยุทธนา อัมระรงค์ ยุวทูตกรุงเทพมหานคร รุ่น 4 ปี 2537 ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษและประธานบริษัท คิดบวกสิปป์ จำกัด
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : พลภัทร วรรณดี