นับเป็นเวลา เกือบ 10 ปี แล้ว ที่ “กลุ่มกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กล่องวิเศษ” กลุ่มคนเล็กๆ ที่มี ‘กรแก้ว เทียนศิริ’ เป็นผู้กุมบังเหียน ได้ดำเนินกิจกรรมหลากหลาย เพื่อช่วยเสริมสร้างความตระหนักและปลูกฝังจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านกิจกรรมรณรงค์รูปแบบต่างๆ อาทิ เรื่องการคัดแยกขยะ การจัดการวัสดุเหลือใช้ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคมในด้านต่างๆ ซึ่งแม้ว่าการดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ อาจจะยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เพราะพอเอ่ยถึง “ขยะ” แล้ว หลายๆคนก็คงรู้สึกแขยงไปก่อนล่วงหน้า เพราะความหมายของมันก็คือ สิ่งต่างๆ ที่เราไม่ต้องการในทุกสภาพ จนเราต้องเก็บกวาด และหาทางกำจัดส่วนเกินเหล่านี้ออกไปจากสภาวะแวดล้อมรอบข้างให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เป็นที่รำคาญตาและไม่เกิดกลิ่นรบกวน
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้วยอุปนิสัยโดยรวมของคนในสังคมทุกวันนี้ ที่ไม่ค่อยใส่ใจหรือให้ความสำคัญ กอปรกับพฤติกรรมมักง่ายในการทิ้งขยะ ส่งผลให้ปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ยิ่งแสดงให้เห็นว่า การจัดการขยะโดยการนำขยะหรือวัสดุเหลือใช้ มาประยุกต์ใช้ใหม่ หรือที่เรียกว่า ‘รีไซเคิล’ นั้น เป็นเรื่องที่รับรู้กันอย่างเข้าใจจริงๆ น้อยมาก
แต่อย่างไรก็ตาม การที่ทางกลุ่มฯกล่องวิเศษเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว และลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้ผู้คนได้เล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้นั้น นับเป็นการจุดประกายเล็กๆ ให้กับสังคมได้ประมาณหนึ่ง และทางกลุ่มฯกล่องวิเศษก็เชื่อว่า การจัดการแบบค่อยเป็นค่อยไปนี่แหละ ที่อาจจะทำให้ ‘ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ’ จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญสำหรับคนไทย ไม่วันใดก็วันหนึ่ง อย่างแน่นอน
• คุณเริ่มมาทำกิจกรรมลักษณะนี้มาตั้งแต่เมื่อไหร่
เพิ่งมาเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2550 นี้เอง หลังจากก่อตั้งกลุ่มแล้ว 2 ปี เริ่มอย่างจริงจังเลย เพราะมองเห็นว่า ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของคนไทย มันลดลงไป ซึ่งเมื่อช่วงเวลาก่อนหน้านี้ มันเป็นกระแสเป็นระยะๆ แม้กระทั่งใน กทม.เอง รณรงค์ไปเถอะ เรื่องถังคัดแยกประเภทต่างๆ แต่สุดท้ายก็มองว่า ถังคัดแยกที่เขาจัดมา เราทิ้งไม่ถูกถังเลย มันไม่ได้แล้ว แล้วคนที่จะมาทำเรื่องนี้จริงจังล่ะ มีน้อยมากที่จะทำจริงจังแล้วเกิดผล เราก็เลยคิดว่า อย่างน้อย เราขอเป็นส่วนหนึ่งที่คิดว่าน่าจะเป็นที่คนจะทำให้ตรงนี้มันเกิดขึ้นได้ ไม่มากก็น้อย แต่ก็ไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะร้อยเปอร์เซ็นต์นะ อย่างน้อยแต่ละปี เขยิบไปซัก 10-20 เปอร์เซ็นต์ ก็โอเคแล้ว และมองว่าการจัดการกับ ”ขยะ” ตรงนี้ จิตสำนึกความตระหนักของคนเรามันน้อยลงทุกที เราก็เลยลองเริ่มจากตัวเรานี่แหละว่าจะทำยังไงได้ เราจะคัดแยกได้มั้ย เรารวมกลุ่มมาเป็นกลุ่มเล็กๆ มีน้องๆ 4-5 คนในกลุ่ม เริ่มทำ ก็จิตอาสาทำ พอทำเป็นกลุ่มแรกๆ ก็เริ่มมีคนให้ทำงาน ก็เริ่มแคมเปญรณรงค์ทำกิจกรรมหน้าเสาธงบ้างอะไรบ้าง พอเริ่มทำไปเรื่อยๆ ก็เห็นแบบ เด็กๆ มีพลัง ตอบรับเราหน้าเสาธงนะ มันเป็นอะไรที่ขนลุก รู้สึกว่ามันได้ ในเมื่อโรงเรียนนี้ตอบรับ 2-3 โรงเรียนทำได้ เราจะทำให้มันใหญ่ขึ้นได้หรือเปล่า ก็เลยเอาตัวเราเป็นหลัก และน้องๆ ว่า ลุย ก็ไปให้ความรู้รณรงค์ อาจจะมีจดหมายไปก่อนว่าโรงเรียนสนใจมั้ย เราก็เข้าไปส่งเสริม จนทำและขยายกิจกรรมมาเรื่อยๆ
• ก็คือก่อนหน้านี้ คุณก็แทบไม่ได้สนใจในเรื่องนี้มากนัก
ก่อนหน้านี้ก็สนใจเหมือนกัน แต่ค่อนข้างน้อย เพราะน้องชายของเรา เป็นทูตตาวิเศษ รุ่นแรก ซึ่งตอนนั้นรณรงค์เรื่องการจัดการขยะ ต่อมาเราก็เริ่มเห็นความสำคัญว่า ปัญหาเรื่องขยะนี่ เป็นประเด็นที่น่าจะนำมาถ่ายทอด ให้ความรู้ และลงมือทำให้เกิดเป็นรูปธรรม แค่การพูดและโปรโมต แต่ไม่ได้ลงมือทำอย่างจริงจัง มันไม่น่าจะได้ผล เราก็คิดว่า เราน่าจะมีส่วนที่จะช่วยได้เหมือนกันนะ มันไม่น่ายาก มันเป็นอะไรที่เราช่วยได้ ใช้ความสามารถที่เรามี แรกๆ อาจจะลองผิดลองถูก ว่าจะเป็นยังไง พอหลังๆ เริ่มรู้แนวทางว่าจะต้องสอนเด็กยังไง ก็จะทำกิจกรรมให้กับเด็ก กลุ่มเป้าหมายที่ต่างกัน ลักษณะกิจกรรมก็ต่างกัน เราไม่ได้ทำเฉพาะกับเด็ก ทำกับผู้ใหญ่ด้วย นักศึกษาก็มีมหาวิทยาลัยก็มี หรือบริษัท หน่วยงาน โรงงาน ก็มีให้เราไปเป็นวิทยากร ไปทำกิจกรรมเวิร์กชอปให้ ก็เป็นการขยายผล ซึ่งก็เป็นผลตอบรับที่ดีขึ้น
• รูปแบบในการทำกิจกรรมของทางกลุ่ม เป็นไปในลักษณะใดบ้างครับ
ส่วนใหญ่เราก็จะทำในลักษณะของการเป็นทีมทำงานด้าน CSR ลงพื้นที่ให้กับองค์กรหน่วยงานต่างๆ ทั้งในรูปแบบของโครงการระยะยาว หรือกิจกรรมระยะสั้น ซึ่งก็ทำมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ตั้งแต่ปี 2548 ตอนนี้ก็จะครบ 10 ปีแล้วค่ะ เราก็เริ่มจากเล็กๆ ก่อน ต่อมาก็ค่อยๆขยายผลไปเรื่อย โดยเฉพาะลูกค้าเรามีไม่มาก แต่ละรายจะทำในระยะยาว ทำอย่างยั่งยืน แล้วก็ต่อเนื่อง เพราะทุกวันนี้อาจจะมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนระหว่าง CSR กับ PR ถ้าอย่างหลังคือ ทำแล้วประชาสัมพันธ์ ออกสื่อ จบ แต่อย่างแรกก็คือการทำโครงการหรือกิจกรรมอะไรก็ตามที่มันต่อยอดให้เกิดผลตอบรับที่ดีอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสิ่งแวดล้อม หรือ ทางด้านสังคม ทีนี้พอลูกค้าอยากจะให้ทำ CSR แต่ว่าไม่มีทีมทำ หรือไม่มีแนวทาง ว่าจะทำยังไง อะไรยังไงที่จะเหมาะกับงานของเขาน่ะค่ะ ก็จะมีติดต่อเข้ามา แล้วเราก็จะเข้าไปคุย ดูว่านโยบายบริษัทเป็นยังไง หรือเขาอยากจะได้อะไร หรือผลิตภัณฑ์ของเขาเกี่ยวกับอะไร เราจะทำให้ได้ตรงจุด แล้วเราจะไปคุย แล้วก็เสนอความคิดกันว่ายังไง คือถ้าเขาเห็นด้วยก็เริ่ม
ทราบมาว่า “กิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ” ของทางกลุ่ม ถือว่าเป็นจุดสำคัญที่สุดสำหรับทางกลุ่ม
ในด้านสิ่งแวดล้อม หลักๆ เลย เราจะรณรงค์ให้ความรู้ในเรื่องการจัดการขยะและการคัดแยกขยะ แน่นอนกลุ่มเป้าหมายก็คือเด็กและเยาวชนอยู่ดี เพราะบางทีผู้ใหญ่ก็รู้ แต่ปฏิบัติค่อนข้างยาก เรารณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ไปจนถึงกล่องเครื่องดื่ม ซึ่งสมัยก่อน คนจะไม่รู้ว่า กล่อง UHT ไปรีไซเคิลได้ เราก็เริ่มรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับกล่องเครื่องดื่มและการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม ภายใต้โครงการ “แยกกล่อง ลดขยะ ลดภาวะโลกร้อน” โดยเริ่มจากกลุ่มโรงเรียนเป็นกลุ่มเป้าหมายอันดับแรก โครงการนี้เราทำในนาม ชมรมผู้ผลิตกล่องเครื่องดื่ม ซึ่งจะมีผู้สนับสนุนเป็นบริษัทผู้ผลิตกล่องเครื่องดื่มในประเทศไทย 2 บริษัท โดยเราเขียนโครงการไปนำเสนอ เขาก็สนับสนุนให้เราทำโครงการนี้มาอย่างต่อเนื่อง ปีนี้เป็นปีที่ 10 ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากว่า ช่วงแรกที่เราเริ่ม เรามี 25 โรงเรียนที่เป็นเครือข่าย เก็บกล่องนมมารีไซเคิล จนปัจจุบันก็จะมีประมาณ 1,000 โรงเรียนแล้ว และนอกจากนี้ก็มีเครือข่ายที่เป็นหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ เริ่มที่จะรู้แล้วว่า กล่องเครื่องดื่มนำไปรีไซเคิลได้ โดยเราจะให้ความรู้เขาน่ะค่ะ ว่า ดื่มเสร็จแล้ว อย่าไปทิ้งนะ เพราะว่ากล่องเครื่องดื่ม สามารถนำไปรีไซเคิลได้ นำไปแยกเป็นส่วนๆ ได้ เป็นกระดาษ เป็นพลาสติก เป็นฟอยล์ ซึ่งนอกจากช่วยลดปริมาณขยะแล้ว ยังสามารถนำไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เราช่วยกันใส่ใจสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นเหมือนกัน อันนี้ก็จะเป็นโครงการหลักๆ
• การนำกล่องเครื่องดื่มมารีไซเคิล สำหรับคนไทย ถือว่าเป็นเรื่องไม่คุ้นเคยนะครับ
ใช่ค่ะ คือต่างประเทศมีมานานแล้ว เรื่องของการเอากล่องเครื่องดื่มมารีไซเคิล แต่ก่อนหน้านี้บ้านเราไม่เคยรู้มาก่อนเลย ก็จะทิ้งเป็นขยะไป ทีนี้พอดื่มนมหรือน้ำผลไม้หมดกล่องแล้วทิ้งไป มดและแมลงจะมา และกลิ่นเต็มไปหมดเลย สร้างกลิ่นเหม็นเปรี้ยวให้เกิดมลภาวะขึ้นไปอีก ทีนี้พอเรารู้ว่าการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มทำยังไง เราก็ต้องไปสอนว่า กล่องนี่ประกอบด้วยอะไร ก็จะมีสื่อการสอน มีเครื่องมือ มีอุปกรณ์ของเรา ให้รู้ว่ากล่องสามารถไปแยกเป็นอะไรได้บ้าง แยกเป็นกระดาษ พลาสติก และฟอยล์ ในแต่ละส่วน โดยในการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม ไม่ได้หมายความว่าจะได้กล่องใบใหม่นะ คือมันจะแปลงร่างไปเลย จะไม่เหมือนกับกระดาษที่จะรีไซเคิลออกมาเป็นกระดาษ ขวดแก้วก็รีไซเคิลออกมาเป็นแก้ว พลาสติกก็เป็นพลาสติก ซึ่งกระบวนการให้ความรู้ความเข้าใจตรงนี้ เราก็จะมีหลากหลายกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น กล่องแปลงร่างสร้างโลก อย่างกระดาษที่มาจากกล่องยูเอชที 75 เปอร์เซ็นต์ ก็จะถูกนำไปผลิตเป็นกระดาษรีไซเคิล แล้วพลาสติกกับฟอยล์ เราก็มาทำเป็นพลาสติกรีไซเคิล หรือแม้กระทั่งตอนนี้ เราก็มาผลิตเป็นแผ่น eco-board ใช้งานแทนไม้ธรรมชาติ หรือทำเป็นแผ่น Eco-Roof แทนหลังคากระเบื้องก็มีเหมือนกัน อันนี้ก็เป็นเทคโนโลยีที่ทางโรงงานรีไซเคิลเองพัฒนามาเรื่อยๆ ซึ่งก่อนหน้านี้คนไม่รู้ เราก็มองเลยว่า เด็กไทยกินนมเยอะ เราก็เลยเริ่มลงที่โรงเรียนอนุบาลก่อน เพราะเด็กๆกินนมอยู่แล้วก็ควรจะต้องสอนให้รู้จักคัดแยก
พอถึงขั้นวิธีแยก วิธีจัดเก็บยังไงให้มันสะอาดและรีไซเคิลได้ เราก็จะบอกว่าต้องดื่มให้หมด ให้เกลี้ยงเลย ถ้าไม่หมด ยังมีปริมาณน้ำคงเหลืออยู่ มันจะเป็นที่มาของแมลง ของมด ของกลิ่น ก็ต้องจัดการให้สะอาด ดื่มให้หมดและพับให้แบน หลังๆ มา ไม่พับแบนแล้ว พับเล็กเลย แล้วมาตัดล้างดีที่สุด ก็จะเก็บ จะเห็นมากขึ้น จะเริ่มรู้มากขึ้น ทีนี้พอคนเริ่มจัดเก็บ เก็บแล้ว คัดแยกออกมาแล้ว เราก็ต้องต่อยอดกระบวนการจัดเก็บและส่งไปโรงงานด้วย ถ้าเกิดโรงเรียนคัดแยกแล้วไม่ไปเอาล่ะ เพราะซาเล้งยังไม่เอา ผู้รับซื้อก็ยังไม่เอา เพราะว่ามันยังขายไม่ได้ราคา ช่วงแรกๆ ที่ทำ ก็จะเหมือนกับว่า สร้างจิตสำนึกก่อนว่า เราช่วยกันลดปริมาณขยะ เพราะกล่องต่างๆ ที่เราดื่มเนี่ย กล่องนึงมันช่วยลดปริมาณขยะได้ แล้วมันเอาไปรีไซเคิลได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า อย่างบางโรงเรียนที่ดื่มนมถุงอยู่แล้ว แบบพาสเจอไรซ์หรืออื่นๆ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนมาเป็นนมกล่อง แต่เราจะบอกว่า ตราบเท่าที่คุณมีกล่องต่างๆ อยู่ในมือ ไม่ว่าจะเป็นกล่องนม กล่องน้ำผลไม้ หรือ กล่องกะทิก็ได้นะ คุณดื่มเสร็จหรือบริโภคเรียบร้อยแล้ว คุณควรจะต้องจัดการยังไง เพื่อให้มันกลับไปสู่กระบวนการรีไซเคิลได้
ในระยะหลังๆ มีผลตอบรับที่ค่อนข้างดี เพราะลูกค้าหรือผู้ผลิตกล่องเครื่องดื่ม หรือผู้ผลิตเครื่องดื่มชนิดต่างๆ ก็เริ่มมีการให้ความรู้ตรงนี้ เริ่มมีแคมเปญต่างๆ ที่จะมีให้คนหันมาสนใจในเรื่องการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มมากขึ้น ซึ่งคิดว่ามันก็เป็นจุดนึงที่คนตอบรับดี เริ่มรู้สึกแล้วว่าต้องมีการจัดการและคัดแยก เพราะว่ามันเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเขาน่ะค่ะ ดื่มแล้วก็จัดการล้าง เก็บคัดแยกเป็นอย่างดี แล้วเอาไปรีไซเคิลดีกว่า แต่ผลที่ตอบมาตอนนี้ ปัญหาก็คือว่า คนเก็บแล้ว ไปเข้าโรงงานรีไซเคิลแล้ว ผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆแล้ว แต่ประชาชนอาจจะยังไม่มีโอกาสได้ใช้ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลนั้นอย่างเพียงพอ
• เพราะอะไร
อาจจะเป็นเพราะว่า หนึ่ง ทางโรงงานรีไซเคิล อาจจะยังไม่ได้มีการทำการตลาดอย่างจริงจัง หรืออาจจะยังไม่ดี สอง คือคนไทย พอพูดถึงผลิตภัณฑ์รีไซเคิลแล้ว เขาจะมองว่าเป็นของที่ไม่โอเคเท่าไหร่ จะยี้ก่อน สมมติว่า อย่างกระดาษทิชชู่จะเป็นสีน้ำตาล คนทั่วไปก็คิดไปก่อนว่า อาจจะสกปรก จะเช็ดหน้าได้มั้ย ซึ่งแตกต่างจากต่างประเทศนะ หลังๆ นี้ หลายผลิตภัณฑ์ในไทยก็หันมาเริ่มใช้กระดาษสีน้ำตาลแล้วนะ คนก็จะเริ่มยอมรับมากขึ้น ก็จะมีบางกลุ่มที่ยอมรับ แต่อาจจะไม่ทั่วไป แล้วพอความต้องการของคนที่มาใช้งานมันน้อย ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาราคาค่อนข้างสูง พอราคาสูง คนก็ไม่ซื้อ แล้วพอไม่ซื้อ โรงงานก็ลำบาก อย่างกระดาษที่ทำมาจากกล่องนมเป็นกระดาษที่ใช้ในออฟฟิศ เราก็พยายามให้คนที่ส่งกล่องมารีไซเคิล เห็นประโยชน์ว่า สามารถทำกระดาษเอสี่ได้นะ มีหลายๆหน่วยงานที่เริ่มใช้แล้วเหมือนกัน แต่ใช้แค่ในสำนักงาน ก็สามารถใช้ได้ เพราะว่า ราคารีมนึงของกระดาษปกติก็ 80-90 บาทแล้ว อย่างน้อยคุณก็ช่วยลดปัญหาขยะ ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติบนโลก แต่ถ้าเป็นเอกสารที่คุณต้องส่งภายนอกหรือเป็นทางการ คุณก็อาจจะใช้กระดาษสีขาวปกติ
หรือแม้กระทั่งเป็นสมุดนักเรียน ก็มีเหมือนกัน พอทำเป็นสมุด อย่างโรงเรียนนานาชาติก็เริ่มสนใจ ทางโรงงานก็เริ่มมีโอกาสแล้วที่จะทำยังไง ที่นำกล่องมารีไซเคิลตรงนี้ สามารถเอาผลิตภัณฑ์ไปแล้วคนได้ใช้แล้วตลาดรองรับมีคนใช้ คิดว่าถ้ามีคนใช้ แล้วเป็นที่นิยมกันมากขึ้น ก็จะทำให้ราคามันแตะได้ ราคาจับต้องได้ ตอนนี้ ที่เราทำก็เหมือนกับสนับสนุนให้คนไทย ลองมาเห็นประโยชน์แล้วลองมาใช้ตรงนี้บ้าง ซึ่งตอนนี้อาจจะยากอยู่ แต่คิดว่า มีแนวโน้มที่ดี ที่คนเริ่มเห็นความสำคัญแล้ว
• เป็นไปได้มั้ยว่า คนทั่วไป อาจจะยังไม่เข้าใจ จนไม่แพร่หลายในวงกว้าง
เราคิดว่า หนึ่ง อาจจะไม่ได้ทำการตลาดให้เป็นที่ยอมรับ เหมือนกับเรายังใช้ในการภายในอยู่ อาจจะเป็นเพราะว่า กระบวนการในการผลิต ระยะแรกๆ คุณภาพออกมา อาจจะยังไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ชัวร์ๆ เช่น ช่วงที่ทำกระดาษเอสี่ออกมาก็ยังเจอปัญหาเหมือนกัน ในเรื่องของความชื้น ซึ่งเดี๋ยวนี้มีการพัฒนาจนดีขึ้นมากๆ แล้ว แต่คนจะมองว่าราคามันสูง มันแพง สีไม่น่าใช้ สีหม่นๆ ก็ไม่ใช้ อาจจะซื้อใช้ส่วนตัว แต่ยังไม่ใช้ในวงกว้าง แต่ถ้าทางโรงงานเองสามารถพัฒนาคุณภาพ ให้ได้คุณภาพดียิ่งขึ้น คุณภาพมาตรฐาน ก็น่าจะมีการตอบรับได้อย่างดี หรืออย่างอีโคบอร์ด ที่เอาพลาสติกกับฟอยล์มาทำเป็นแผ่นๆ แทนไม้ธรรมชาติ หรือทำมาเป็นหลังคาเนี่ย ก็เริ่มที่จะขยายตลาดได้เหมือนกัน บางทีก็เอามาทำเป็นฝ้า ทำเป็นผนัง เราคิดว่ามันมีโอกาสอยู่ แต่ก็จะมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ eco จริงๆ นะ ถึงจะยอมรับได้ เพราะคนสมัยใหม่ที่ไม่เห็นความสำคัญก็ไม่ใช้นะ มันอาจจะไม่สวย สีเทาสีอะไรด้วย ต้องเป็นคนกลุ่มเฉพาะจริงๆ ที่จะยอมรับได้ เราคิดว่าช่วงนี้แหละที่จะต้องผลักดัน หน้าที่ตอนนี้นะ เพราะเรารณรงค์ให้รีไซเคิลแล้ว เอากล่องไปโรงงานแล้ว พอรีไซเคิลออกมา เราต้องช่วยผลักดันแล้วว่า จะทำยังไงให้คนยอมรับกับสิ่งนี้จากกล่องเครื่องดื่ม ก็มีทำแคมเปญ BeCare ขึ้นมา ซึ่งเป็นการสนับสนุนรีไซเคิลโปรดักต์จากกล่องเครื่องดื่ม ให้มาช่วยกันใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ภายใต้คอนเซ็ปต์ว่า รีไซเคิลกล่องยูเอชที สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม “แค่ใช้ ก็ได้ช่วยโลก” เพราะว่าทุกส่วนของกล่องเครื่องดื่ม เราเอามาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ทุกส่วนโดยไม่เหลือทิ้งเป็นขยะเลย
• ในเรื่องสิ่งแวดล้อมในบ้านเรา ต่อให้ทำกิจกรรมมาตั้งแต่อดีต ทุกวันนี้ก็ยังเหมือนเดิม โดยส่วนตัวคุณมองยังไง
เรามองว่ายาก ยากมากที่จะทำให้เรามีวินัยในการมีจิตสำนึกตรงนี้ แม้กระทั่งในสังคมเมืองเหมือนกับประเทศอื่นๆ เพราะว่าเราไม่ได้ปลูกฝังเหมือนกับประเทศอื่นๆ ทุกวันนี้ทำแคมเปญกับเด็กๆ เด็กดีมาก น่ารักมาก เด็กฉลาด เด็กโอเคมาก พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง พร้อมที่จะทำ แต่ปรากฏว่าผู้ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นในบ้าน หรือ คุณครูที่โรงเรียนเอง ถ้าไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตรงนี้ สอนเด็กไปก็ไม่มีประโยชน์ ก็กลับไปเหมือนเดิม จะมีน้อยมากที่ทำ ถึงแม้ว่าจะเป็นโรงเรียนในเครือข่าย ถือว่าเป็นผลตอบรับที่ดี เพราะว่าเขาคัดแยกกล่องเป็นระเบียบแล้ว จัดเป็นอย่างดี และสร้างจิตสำนึกอย่างดีแล้ว แต่พอกลับถึงบ้านเราควบคุมไม่ได้ ที่สำคัญเลยคือผู้ใหญ่ เหมือนเราเรียนภาษาใหม่ จนเวลาเรากลับมา ไม่มีใครพูดกับเรา เราก็ไม่มีโอกาสฝึกและได้ใช้ เพราะฉะนั้น ทางบ้านเอง หรือผู้ใหญ่ในบ้าน ต้องช่วยกัน สนับสนุนด้วย
อย่างประสบการณ์ที่ทำช่วงแรกๆ นี่ อย่างโรงเรียน ถ้าเป็นที่พ่อแม่มีฐานะ โรงเรียนที่ค่าเทอมแพงมีชื่อเสียง บางทีเขาก็ไม่สนใจเรื่องคัดแยกขยะนะ เขามุ่งแค่ว่าให้เด็กเก่ง ให้เด็กเข้าโรงเรียนที่มีชื่อ เคยเอาโครงการนี้เข้าไป ปรากฏว่า คุณครูบอกว่า ไม่สามารถจะให้เด็กแตะขยะได้ เพราะเขาจะมีแม่บ้านและภารโรงทำไปแล้ว ไม่อย่างงั้น ผู้ปกครองมา จะไม่พอใจที่ลูกมาแยกขยะ เลยกลายเป็นว่า หน้าที่เหล่านั้น เป็นหน้าที่ของแม่บ้านไป แต่ไม่พยายามที่จะปลูกฝัง เรามองว่า โรงเรียนที่มีชื่อเสียง โรงเรียนที่มีฐานะ มีครอบครัวดีๆ หน่อย อาจจะไม่เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม เพราะเวลาต่อมา เรียนจบอาจจะไปอยู่เมืองนอก ฉันก็ไม่แคร์ ไม่สนใจ แค่คงลืมมองไปว่า ถ้าคนที่เป็นพ่อแม่ไม่อยู่แล้ว รุ่นต่อไป จะได้ผลกระทบโดยตรง กลับกัน ในขณะที่เด็กต่างจังหวัด ยังทำหน้าที่นี้ได้ดีกว่า ตั้งหน้าตั้งตาทำได้ดีกว่า มีการจัดการที่ดีกว่า เรามองว่า อาจจะเป็นสถานะด้วยก็ได้นะ มุมมองทัศนคติของผู้ปกครองเด็ก ของครอบครัว ของโรงเรียนเป็นสำคัญ ถ้าโรงเรียนรวยๆ ปฎิเสธ โดยข้ออ้างว่าเด็กแยกขยะไม่ได้ เราก็คิดเลยว่า พอเด็กออกไปจะเป็นยังไง หากคุณจะเป็นนักธุรกิจที่เก่ง ประสบความสำเร็จ ทำเงินได้หลายล้าน แต่ถ้าแค่จิตสำนึกคุณไม่มี มีสมองแต่ไม่มีหัวใจ มองอย่างงั้นจริงๆ เพราะเราจะมองว่าปัดภาระไม่ได้ไง เพราะขยะมันเกิดจากเรา เราเป็นคนผลิตมัน แค่คุณดื่มน้ำ ดื่มนม แล้วแยก คุณยังไม่อยากให้ลูกคุณแยกเลย ทิ้งๆ ไป เดี๋ยวแม่บ้านแยกเอง มันก็ไม่ได้ มันเป็นอย่างงี้ เลยเป็นที่ผู้ใหญ่เป็นสำคัญ
• การที่ลงมาทำงานด้านนี้เต็มตัว ถือว่าหนักมั้ยครับ ในท่ามกลางสภาวะสิ่งแวดล้อมของบ้านเราที่เป็นแบบนี้
ถามว่าหนักมั้ย หนัก เหนื่อยมั้ย เหนื่อย เครียดมั้ย ไม่เครียด เพราะถือว่า ในเมื่อเราเป็นกลไกลหนึ่งที่ถือว่าจะช่วยขับเคลื่อนได้ เราก็ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด เพราะสุดท้ายแล้ว ผลตอบรับมาโดยส่วนตัวเรา เราไม่ได้ทำเพื่อตัวเองอยู่แล้ว เราก็หวังถึงผู้ใหญ่ในสังคมที่มีอำนาจหน้าที่ในความรับผิดชอบตรงนี้ จะหันมามองและให้ความสำคัญมากขึ้น อย่าเอาเงินไปละลายให้กับอะไรก็ไม่รู้ แล้วไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร แรกๆ ก็เคยกังวลว่า จะได้ผลมั้ยเหมือนกัน แต่สุดท้ายก็มาทำใจได้ว่า ไม่เป็นไร เราถือว่า เราตั้งเป้าหมายว่า เราจะทำอะไร แล้วเราได้ทำแล้ว เราได้ทำหน้าที่พลเมืองของเราแล้ว ได้เต็มที่แล้ว สุดท้าย เราคงไม่สามารถไปเปลี่ยนโลกทั้งใบได้ด้วยตัวเรา ในวันนี้หรือตอนนี้อาจจะไม่ได้ แต่ถ้าเกิดเราไม่ได้เป็นกระบอกเสียงที่มาทำตรงนี้ มันก็จะไม่มีคนทำเลย มันก็จะไม่มีเส้นเค้าลางเลยว่า จะมีคนไหนมาทำ แต่อย่างน้อย เราก็ยังเป็นหนึ่งในกลไกในพลังที่ทำให้มันเกิดขึ้นจริงๆ ว่าซักวันหนึ่ง ผู้ใหญ่ในบ้านเมือง หรือ คนที่มีอำนาจ เขาจะเห็นประโยชน์มากขึ้น ทุกวันนี้อาจจะเห็นอยู่ แต่ภารกิจอาจจะเยอะไง จึงให้หน่วยงานเล็กๆ นี่แหละ ช่วยๆ กัน ในแต่ละหน่วย ให้เห็นความสำคัญ แค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแค่นั้นเอง
• แต่บางรายก็ทำดีต่อโลก ก็ถูกมองว่า เป็นคนแปลกแยกไป
บางคนคิดดีทำดี แต่กลายเป็นคนแปลกแยก เพราะสังคมไม่ได้ทำแบบเราไง แต่จริงๆ อยากให้มีคนแบบนี้ และไม่ต้องคิดว่าเป็นคนแปลกแยกนะ คิดว่าเราจะต้องทำแบบนี้แหละ เพราะว่าเรามีจิตสำนึกไง ที่เราทำก็ไม่ได้ผิดอะไร เราได้ช่วยโลกอีก แล้วพยายามให้คนอื่นมาทำแบบเรา อย่างทุกวันนี้ก็ใช้กระติกน้ำเวลาไปไหนก็พกไปด้วย จนปรับเปลี่ยนนิสัยเราไปเลย ไปไหนมาไหนก็ต้องพกน้ำ ไม่ต้องไปซื้อไม่ต้องไปอะไร หรือไม่ถ้าทานข้าว ก็จะพยายามไม่เอากล่องโฟมนะ คิดว่ามีคนกลุ่มนึงที่คิดเหมือนเรา เพียงแต่ว่า ถ้าเราคิดว่าเราทำแล้วมีความสุข โดยที่ไม่ต้องสนใจว่าจะมองเรายังไง ให้มีคนแบบนี้เยอะๆ มันช่วยได้จริงๆ เริ่มต้นและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากตัวเราก่อน แต่ถ้าเกิดเป็นเด็กวัยรุ่น บางทีเขาอายไง หิ้วปิ่นโตไปประมาณเนี้ย ก็คงปลูกฝังยาก อาจจะค่อยๆ เป็นค่อยๆไป
• เพราะฉะนั้น อย่าไปกลัว
อยากให้คนที่ทำอะไรดีๆ อยู่แล้ว เราต้องกล้าที่จะแสดงว่าเรามีดีที่จะทำดี อะไรที่มันทำแล้วเราคิดว่าจะช่วยโลกได้ แล้วสิ่งที่เราได้ทำดีอยู่แล้ว จากจิตใจที่ดีๆ ของเราเนี่ย เราสามารถที่จะแสดงออกได้เลย เราไม่ต้องกลัวหรอกว่า เราจะแปลกแยก เราอาจจะเป็นผู้นำเทรนด์ก็ได้ ถ้าเราตั้งใจ อย่างน้อยเราก็น่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนได้ อย่างน้อยก็ลดขยะจากเราแหละ วันละชิ้น วันนึงเรากินน้ำ 5 ขวด พอเราเอากระติกน้ำไป เราก็สามารถลดได้ 5 ขวด หรือเราเอากล่องใส่ข้าวหรือปิ่นโตไป อย่างน้อยเราก็ลดกล่องข้าวกล่องนึง ลดถุงพลาสติกถุงนึง ลดช้อนพลาสติกคันนึง ลดถุงพริกน้ำปลาได้อีก แต่ซึ่งมันก็ช่วยในการลดปริมาณขยะ ได้เยอะเลยนะ
• ในความเห็นส่วนตัว จากในการทำโครงการมาเกือบ 10 ปี ถือว่าให้ความพึงพอใจมั้ย
ถือว่าพอใจมาก พอใจที่เราเป็นกลไกหนึ่ง ที่เราช่วยขับเคลื่อนในตรงนี้ไม่มากก็น้อย จากคนที่ไม่รู้จักกล่องวิเศษเลย ตอนนี้คนเริ่มรู้จักมากขึ้น คนก็จะเริ่มรู้ว่า ในเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อมในการคัดแยกขยะ ให้ทางเราช่วยดูแล ช่วยจัดการให้ เพราะว่าเราเป็นผู้ประกอบการทางสังคม เราเป็น SE เราก็เหมือนออแกไนเซอร์น่ะค่ะ ที่จัดงานให้กับหน่วยงานต่างๆ เพียงแต่ว่า เน้นจัดทางสิ่งแวดล้อมทางด้านสังคม ไม่ได้เน้นโฆษณาสินค้า พอเราเป็นแบบนี้ กำไรสูงสุด ไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดของเรา คือทำเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงทีมงาน แล้วรายได้ที่ได้มา ถ้าพอที่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน เราก็จะเอาลงไปแบ่งปัน ในนามกล่องปันสุข ซึ่งก็เป็นอีกรูปแบบของเรา โดยรายได้ที่ได้มา จะมาอยู่ในรูปแบบนี้ พอถึงปีนึง หรือทุกครั้งที่มีโอกาส เราสามารถไปทำอะไรได้โดยไม่ต้องไปขอสปอนเซอร์ใคร เราสามารถนำมาจากกล่องนี้ไปทำได้เองเลย
อย่างช่วงตอนน้ำท่วม มีการแจ้งมาทางเราว่า ต้องการความช่วยเหลือ เราก็จัดซื้อได้เลย ไม่ต้องรอจากใคร หรืออย่างวันเด็ก เวลาไปทำกิจกรรมที่ไหน เราก็สามารถไปได้เลย มันก็เป็นอย่างนึงที่เราสามารถขยายผล ได้ทำอย่างที่ใจต้องการ ไม่ต้องทำโครงการ เพื่อตามวัตถุประสงค์ของลูกค้า มันก็เลยเกิดขึ้นตรงนี้ อย่างน้อยก็เกิดจากกล่องปันสุข เพิ่มขึ้น ก็เลยรู้สึกว่า เป็นโอกาสอันดีที่จะได้แชร์ตรงนี้ ต่อให้คุณไม่ต้องแบ่งปันด้วยเงินนะ คุณมีความรู้ คุณมีเวลามาทำงาน มาทำกิจกรรมกับเราได้ เวลามีกิจกรรม เราก็ประชาสัมพันธ์ แล้วเราจะได้อาสาสมัครมาร่วมทำโครงการเยอะมาก คืออย่างน้อยได้มีโมเมนต์นึงที่ได้ทำตรงนี้ เพื่อสังคม ถามว่าเคยมีอุปสรรคมั้ย ทั้งเหนื่อยและท้อมั้ย ตอบเลยว่ามี แต่เราก็เข้าสู่ความจริงที่ว่า ท้ายที่สุดแล้ว ถ้าเราตั้งใจทำดีที่สุดแล้ว ในฐานะหน้าที่พลเมืองไทยที่จะช่วยอะไรได้ ผลตอบรับอาจจะไม่ได้เลิศหรูอย่างที่หวัง แต่เมื่อมันมีการขับเคลื่อนไป มันน่าจะไปได้อย่างสวยงามในอนาคต ก็ต้องฝากคนรุ่นต่อไป
• เป้าหมายต่อไปกับการทำกิจกรรมสำหรับคุณและทางกลุ่มครับ
อยากจะทำกิจกรรมขยายผล ขยายงานด้านสังคมให้มากขึ้น เพราะเราทำเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก อยากจะทำงานที่สร้างจิตสำนึกค่ะ อยากจะให้เกิดคนดีในสังคม ทุกวันนี้คนเห็นแก่ตัวมากขึ้น จนคนไม่รู้จักว่า อะไรดี อะไรไม่ดี แยกแยะได้ยาก อยากเห็นสังคมมีความใจเย็นมากขึ้น เพราะทุกวันนี้คนใจร้อน อยากให้เผื่อแผ่กันมากขึ้น ซึ่งก็ยังคิดตกผลึกไม่ได้นะว่ามันจะออกมาเป็นแบบไหน แต่ก็วางแผนว่าทำยังไงที่จะให้คนดีๆ มารวมกัน ให้คนดีๆ มีพื้นที่ในการแสดงออกถึงความดีของเขา แล้วอาจจะไปจับกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น เพราะว่าหลังจากที่ทำกิจกรรมกับเด็กแล้วเนี่ย เราก็จะเห็นอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งคนรุ่นนี้ยังมีความสามารถอยู่มาก แต่เกษียณแล้ว ถูกอยู่เฝ้าบ้าน จะเลี้ยงหลาน แล้วไม่มีการต่อยอด ไม่ได้มีการเอาความสามารถในตัวเขาออกมาสานต่อ คืออยากทำตรงนี้ ให้คนได้เห็นคุณค่าของผู้สูงอายุในบ้าน ไม่ใช่แค่ให้พ่อแม่เลี้ยงหลานให้ แต่จริงๆ ศักยภาพของท่านน่าจะมีอะไรมากกว่านี้ เราคิดว่าประสบการณ์จากช่วงวัยเด็ก หรือ วัยหนุ่มสาว ของคนกลุ่มนี้ อาจจะมาถ่ายทอดให้กับคนรุ่นใหม่ๆ ได้อีกมาก แล้วพอเรามองที่เด็ก เราอาจจะละเลยผู้สูงอายุไป เพราะพวกเขาก็มีที่ถูกทอดทิ้งมาก ดังนั้น อาจจะพุ่งเป้าไปที่กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุมากขึ้น
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : พลภัทร วรรณดี
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้วยอุปนิสัยโดยรวมของคนในสังคมทุกวันนี้ ที่ไม่ค่อยใส่ใจหรือให้ความสำคัญ กอปรกับพฤติกรรมมักง่ายในการทิ้งขยะ ส่งผลให้ปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ยิ่งแสดงให้เห็นว่า การจัดการขยะโดยการนำขยะหรือวัสดุเหลือใช้ มาประยุกต์ใช้ใหม่ หรือที่เรียกว่า ‘รีไซเคิล’ นั้น เป็นเรื่องที่รับรู้กันอย่างเข้าใจจริงๆ น้อยมาก
แต่อย่างไรก็ตาม การที่ทางกลุ่มฯกล่องวิเศษเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว และลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้ผู้คนได้เล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้นั้น นับเป็นการจุดประกายเล็กๆ ให้กับสังคมได้ประมาณหนึ่ง และทางกลุ่มฯกล่องวิเศษก็เชื่อว่า การจัดการแบบค่อยเป็นค่อยไปนี่แหละ ที่อาจจะทำให้ ‘ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ’ จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญสำหรับคนไทย ไม่วันใดก็วันหนึ่ง อย่างแน่นอน
• คุณเริ่มมาทำกิจกรรมลักษณะนี้มาตั้งแต่เมื่อไหร่
เพิ่งมาเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2550 นี้เอง หลังจากก่อตั้งกลุ่มแล้ว 2 ปี เริ่มอย่างจริงจังเลย เพราะมองเห็นว่า ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของคนไทย มันลดลงไป ซึ่งเมื่อช่วงเวลาก่อนหน้านี้ มันเป็นกระแสเป็นระยะๆ แม้กระทั่งใน กทม.เอง รณรงค์ไปเถอะ เรื่องถังคัดแยกประเภทต่างๆ แต่สุดท้ายก็มองว่า ถังคัดแยกที่เขาจัดมา เราทิ้งไม่ถูกถังเลย มันไม่ได้แล้ว แล้วคนที่จะมาทำเรื่องนี้จริงจังล่ะ มีน้อยมากที่จะทำจริงจังแล้วเกิดผล เราก็เลยคิดว่า อย่างน้อย เราขอเป็นส่วนหนึ่งที่คิดว่าน่าจะเป็นที่คนจะทำให้ตรงนี้มันเกิดขึ้นได้ ไม่มากก็น้อย แต่ก็ไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะร้อยเปอร์เซ็นต์นะ อย่างน้อยแต่ละปี เขยิบไปซัก 10-20 เปอร์เซ็นต์ ก็โอเคแล้ว และมองว่าการจัดการกับ ”ขยะ” ตรงนี้ จิตสำนึกความตระหนักของคนเรามันน้อยลงทุกที เราก็เลยลองเริ่มจากตัวเรานี่แหละว่าจะทำยังไงได้ เราจะคัดแยกได้มั้ย เรารวมกลุ่มมาเป็นกลุ่มเล็กๆ มีน้องๆ 4-5 คนในกลุ่ม เริ่มทำ ก็จิตอาสาทำ พอทำเป็นกลุ่มแรกๆ ก็เริ่มมีคนให้ทำงาน ก็เริ่มแคมเปญรณรงค์ทำกิจกรรมหน้าเสาธงบ้างอะไรบ้าง พอเริ่มทำไปเรื่อยๆ ก็เห็นแบบ เด็กๆ มีพลัง ตอบรับเราหน้าเสาธงนะ มันเป็นอะไรที่ขนลุก รู้สึกว่ามันได้ ในเมื่อโรงเรียนนี้ตอบรับ 2-3 โรงเรียนทำได้ เราจะทำให้มันใหญ่ขึ้นได้หรือเปล่า ก็เลยเอาตัวเราเป็นหลัก และน้องๆ ว่า ลุย ก็ไปให้ความรู้รณรงค์ อาจจะมีจดหมายไปก่อนว่าโรงเรียนสนใจมั้ย เราก็เข้าไปส่งเสริม จนทำและขยายกิจกรรมมาเรื่อยๆ
• ก็คือก่อนหน้านี้ คุณก็แทบไม่ได้สนใจในเรื่องนี้มากนัก
ก่อนหน้านี้ก็สนใจเหมือนกัน แต่ค่อนข้างน้อย เพราะน้องชายของเรา เป็นทูตตาวิเศษ รุ่นแรก ซึ่งตอนนั้นรณรงค์เรื่องการจัดการขยะ ต่อมาเราก็เริ่มเห็นความสำคัญว่า ปัญหาเรื่องขยะนี่ เป็นประเด็นที่น่าจะนำมาถ่ายทอด ให้ความรู้ และลงมือทำให้เกิดเป็นรูปธรรม แค่การพูดและโปรโมต แต่ไม่ได้ลงมือทำอย่างจริงจัง มันไม่น่าจะได้ผล เราก็คิดว่า เราน่าจะมีส่วนที่จะช่วยได้เหมือนกันนะ มันไม่น่ายาก มันเป็นอะไรที่เราช่วยได้ ใช้ความสามารถที่เรามี แรกๆ อาจจะลองผิดลองถูก ว่าจะเป็นยังไง พอหลังๆ เริ่มรู้แนวทางว่าจะต้องสอนเด็กยังไง ก็จะทำกิจกรรมให้กับเด็ก กลุ่มเป้าหมายที่ต่างกัน ลักษณะกิจกรรมก็ต่างกัน เราไม่ได้ทำเฉพาะกับเด็ก ทำกับผู้ใหญ่ด้วย นักศึกษาก็มีมหาวิทยาลัยก็มี หรือบริษัท หน่วยงาน โรงงาน ก็มีให้เราไปเป็นวิทยากร ไปทำกิจกรรมเวิร์กชอปให้ ก็เป็นการขยายผล ซึ่งก็เป็นผลตอบรับที่ดีขึ้น
• รูปแบบในการทำกิจกรรมของทางกลุ่ม เป็นไปในลักษณะใดบ้างครับ
ส่วนใหญ่เราก็จะทำในลักษณะของการเป็นทีมทำงานด้าน CSR ลงพื้นที่ให้กับองค์กรหน่วยงานต่างๆ ทั้งในรูปแบบของโครงการระยะยาว หรือกิจกรรมระยะสั้น ซึ่งก็ทำมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ตั้งแต่ปี 2548 ตอนนี้ก็จะครบ 10 ปีแล้วค่ะ เราก็เริ่มจากเล็กๆ ก่อน ต่อมาก็ค่อยๆขยายผลไปเรื่อย โดยเฉพาะลูกค้าเรามีไม่มาก แต่ละรายจะทำในระยะยาว ทำอย่างยั่งยืน แล้วก็ต่อเนื่อง เพราะทุกวันนี้อาจจะมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนระหว่าง CSR กับ PR ถ้าอย่างหลังคือ ทำแล้วประชาสัมพันธ์ ออกสื่อ จบ แต่อย่างแรกก็คือการทำโครงการหรือกิจกรรมอะไรก็ตามที่มันต่อยอดให้เกิดผลตอบรับที่ดีอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสิ่งแวดล้อม หรือ ทางด้านสังคม ทีนี้พอลูกค้าอยากจะให้ทำ CSR แต่ว่าไม่มีทีมทำ หรือไม่มีแนวทาง ว่าจะทำยังไง อะไรยังไงที่จะเหมาะกับงานของเขาน่ะค่ะ ก็จะมีติดต่อเข้ามา แล้วเราก็จะเข้าไปคุย ดูว่านโยบายบริษัทเป็นยังไง หรือเขาอยากจะได้อะไร หรือผลิตภัณฑ์ของเขาเกี่ยวกับอะไร เราจะทำให้ได้ตรงจุด แล้วเราจะไปคุย แล้วก็เสนอความคิดกันว่ายังไง คือถ้าเขาเห็นด้วยก็เริ่ม
ทราบมาว่า “กิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ” ของทางกลุ่ม ถือว่าเป็นจุดสำคัญที่สุดสำหรับทางกลุ่ม
ในด้านสิ่งแวดล้อม หลักๆ เลย เราจะรณรงค์ให้ความรู้ในเรื่องการจัดการขยะและการคัดแยกขยะ แน่นอนกลุ่มเป้าหมายก็คือเด็กและเยาวชนอยู่ดี เพราะบางทีผู้ใหญ่ก็รู้ แต่ปฏิบัติค่อนข้างยาก เรารณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ไปจนถึงกล่องเครื่องดื่ม ซึ่งสมัยก่อน คนจะไม่รู้ว่า กล่อง UHT ไปรีไซเคิลได้ เราก็เริ่มรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับกล่องเครื่องดื่มและการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม ภายใต้โครงการ “แยกกล่อง ลดขยะ ลดภาวะโลกร้อน” โดยเริ่มจากกลุ่มโรงเรียนเป็นกลุ่มเป้าหมายอันดับแรก โครงการนี้เราทำในนาม ชมรมผู้ผลิตกล่องเครื่องดื่ม ซึ่งจะมีผู้สนับสนุนเป็นบริษัทผู้ผลิตกล่องเครื่องดื่มในประเทศไทย 2 บริษัท โดยเราเขียนโครงการไปนำเสนอ เขาก็สนับสนุนให้เราทำโครงการนี้มาอย่างต่อเนื่อง ปีนี้เป็นปีที่ 10 ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากว่า ช่วงแรกที่เราเริ่ม เรามี 25 โรงเรียนที่เป็นเครือข่าย เก็บกล่องนมมารีไซเคิล จนปัจจุบันก็จะมีประมาณ 1,000 โรงเรียนแล้ว และนอกจากนี้ก็มีเครือข่ายที่เป็นหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ เริ่มที่จะรู้แล้วว่า กล่องเครื่องดื่มนำไปรีไซเคิลได้ โดยเราจะให้ความรู้เขาน่ะค่ะ ว่า ดื่มเสร็จแล้ว อย่าไปทิ้งนะ เพราะว่ากล่องเครื่องดื่ม สามารถนำไปรีไซเคิลได้ นำไปแยกเป็นส่วนๆ ได้ เป็นกระดาษ เป็นพลาสติก เป็นฟอยล์ ซึ่งนอกจากช่วยลดปริมาณขยะแล้ว ยังสามารถนำไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เราช่วยกันใส่ใจสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นเหมือนกัน อันนี้ก็จะเป็นโครงการหลักๆ
• การนำกล่องเครื่องดื่มมารีไซเคิล สำหรับคนไทย ถือว่าเป็นเรื่องไม่คุ้นเคยนะครับ
ใช่ค่ะ คือต่างประเทศมีมานานแล้ว เรื่องของการเอากล่องเครื่องดื่มมารีไซเคิล แต่ก่อนหน้านี้บ้านเราไม่เคยรู้มาก่อนเลย ก็จะทิ้งเป็นขยะไป ทีนี้พอดื่มนมหรือน้ำผลไม้หมดกล่องแล้วทิ้งไป มดและแมลงจะมา และกลิ่นเต็มไปหมดเลย สร้างกลิ่นเหม็นเปรี้ยวให้เกิดมลภาวะขึ้นไปอีก ทีนี้พอเรารู้ว่าการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มทำยังไง เราก็ต้องไปสอนว่า กล่องนี่ประกอบด้วยอะไร ก็จะมีสื่อการสอน มีเครื่องมือ มีอุปกรณ์ของเรา ให้รู้ว่ากล่องสามารถไปแยกเป็นอะไรได้บ้าง แยกเป็นกระดาษ พลาสติก และฟอยล์ ในแต่ละส่วน โดยในการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม ไม่ได้หมายความว่าจะได้กล่องใบใหม่นะ คือมันจะแปลงร่างไปเลย จะไม่เหมือนกับกระดาษที่จะรีไซเคิลออกมาเป็นกระดาษ ขวดแก้วก็รีไซเคิลออกมาเป็นแก้ว พลาสติกก็เป็นพลาสติก ซึ่งกระบวนการให้ความรู้ความเข้าใจตรงนี้ เราก็จะมีหลากหลายกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น กล่องแปลงร่างสร้างโลก อย่างกระดาษที่มาจากกล่องยูเอชที 75 เปอร์เซ็นต์ ก็จะถูกนำไปผลิตเป็นกระดาษรีไซเคิล แล้วพลาสติกกับฟอยล์ เราก็มาทำเป็นพลาสติกรีไซเคิล หรือแม้กระทั่งตอนนี้ เราก็มาผลิตเป็นแผ่น eco-board ใช้งานแทนไม้ธรรมชาติ หรือทำเป็นแผ่น Eco-Roof แทนหลังคากระเบื้องก็มีเหมือนกัน อันนี้ก็เป็นเทคโนโลยีที่ทางโรงงานรีไซเคิลเองพัฒนามาเรื่อยๆ ซึ่งก่อนหน้านี้คนไม่รู้ เราก็มองเลยว่า เด็กไทยกินนมเยอะ เราก็เลยเริ่มลงที่โรงเรียนอนุบาลก่อน เพราะเด็กๆกินนมอยู่แล้วก็ควรจะต้องสอนให้รู้จักคัดแยก
พอถึงขั้นวิธีแยก วิธีจัดเก็บยังไงให้มันสะอาดและรีไซเคิลได้ เราก็จะบอกว่าต้องดื่มให้หมด ให้เกลี้ยงเลย ถ้าไม่หมด ยังมีปริมาณน้ำคงเหลืออยู่ มันจะเป็นที่มาของแมลง ของมด ของกลิ่น ก็ต้องจัดการให้สะอาด ดื่มให้หมดและพับให้แบน หลังๆ มา ไม่พับแบนแล้ว พับเล็กเลย แล้วมาตัดล้างดีที่สุด ก็จะเก็บ จะเห็นมากขึ้น จะเริ่มรู้มากขึ้น ทีนี้พอคนเริ่มจัดเก็บ เก็บแล้ว คัดแยกออกมาแล้ว เราก็ต้องต่อยอดกระบวนการจัดเก็บและส่งไปโรงงานด้วย ถ้าเกิดโรงเรียนคัดแยกแล้วไม่ไปเอาล่ะ เพราะซาเล้งยังไม่เอา ผู้รับซื้อก็ยังไม่เอา เพราะว่ามันยังขายไม่ได้ราคา ช่วงแรกๆ ที่ทำ ก็จะเหมือนกับว่า สร้างจิตสำนึกก่อนว่า เราช่วยกันลดปริมาณขยะ เพราะกล่องต่างๆ ที่เราดื่มเนี่ย กล่องนึงมันช่วยลดปริมาณขยะได้ แล้วมันเอาไปรีไซเคิลได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า อย่างบางโรงเรียนที่ดื่มนมถุงอยู่แล้ว แบบพาสเจอไรซ์หรืออื่นๆ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนมาเป็นนมกล่อง แต่เราจะบอกว่า ตราบเท่าที่คุณมีกล่องต่างๆ อยู่ในมือ ไม่ว่าจะเป็นกล่องนม กล่องน้ำผลไม้ หรือ กล่องกะทิก็ได้นะ คุณดื่มเสร็จหรือบริโภคเรียบร้อยแล้ว คุณควรจะต้องจัดการยังไง เพื่อให้มันกลับไปสู่กระบวนการรีไซเคิลได้
ในระยะหลังๆ มีผลตอบรับที่ค่อนข้างดี เพราะลูกค้าหรือผู้ผลิตกล่องเครื่องดื่ม หรือผู้ผลิตเครื่องดื่มชนิดต่างๆ ก็เริ่มมีการให้ความรู้ตรงนี้ เริ่มมีแคมเปญต่างๆ ที่จะมีให้คนหันมาสนใจในเรื่องการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มมากขึ้น ซึ่งคิดว่ามันก็เป็นจุดนึงที่คนตอบรับดี เริ่มรู้สึกแล้วว่าต้องมีการจัดการและคัดแยก เพราะว่ามันเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเขาน่ะค่ะ ดื่มแล้วก็จัดการล้าง เก็บคัดแยกเป็นอย่างดี แล้วเอาไปรีไซเคิลดีกว่า แต่ผลที่ตอบมาตอนนี้ ปัญหาก็คือว่า คนเก็บแล้ว ไปเข้าโรงงานรีไซเคิลแล้ว ผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆแล้ว แต่ประชาชนอาจจะยังไม่มีโอกาสได้ใช้ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลนั้นอย่างเพียงพอ
• เพราะอะไร
อาจจะเป็นเพราะว่า หนึ่ง ทางโรงงานรีไซเคิล อาจจะยังไม่ได้มีการทำการตลาดอย่างจริงจัง หรืออาจจะยังไม่ดี สอง คือคนไทย พอพูดถึงผลิตภัณฑ์รีไซเคิลแล้ว เขาจะมองว่าเป็นของที่ไม่โอเคเท่าไหร่ จะยี้ก่อน สมมติว่า อย่างกระดาษทิชชู่จะเป็นสีน้ำตาล คนทั่วไปก็คิดไปก่อนว่า อาจจะสกปรก จะเช็ดหน้าได้มั้ย ซึ่งแตกต่างจากต่างประเทศนะ หลังๆ นี้ หลายผลิตภัณฑ์ในไทยก็หันมาเริ่มใช้กระดาษสีน้ำตาลแล้วนะ คนก็จะเริ่มยอมรับมากขึ้น ก็จะมีบางกลุ่มที่ยอมรับ แต่อาจจะไม่ทั่วไป แล้วพอความต้องการของคนที่มาใช้งานมันน้อย ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาราคาค่อนข้างสูง พอราคาสูง คนก็ไม่ซื้อ แล้วพอไม่ซื้อ โรงงานก็ลำบาก อย่างกระดาษที่ทำมาจากกล่องนมเป็นกระดาษที่ใช้ในออฟฟิศ เราก็พยายามให้คนที่ส่งกล่องมารีไซเคิล เห็นประโยชน์ว่า สามารถทำกระดาษเอสี่ได้นะ มีหลายๆหน่วยงานที่เริ่มใช้แล้วเหมือนกัน แต่ใช้แค่ในสำนักงาน ก็สามารถใช้ได้ เพราะว่า ราคารีมนึงของกระดาษปกติก็ 80-90 บาทแล้ว อย่างน้อยคุณก็ช่วยลดปัญหาขยะ ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติบนโลก แต่ถ้าเป็นเอกสารที่คุณต้องส่งภายนอกหรือเป็นทางการ คุณก็อาจจะใช้กระดาษสีขาวปกติ
หรือแม้กระทั่งเป็นสมุดนักเรียน ก็มีเหมือนกัน พอทำเป็นสมุด อย่างโรงเรียนนานาชาติก็เริ่มสนใจ ทางโรงงานก็เริ่มมีโอกาสแล้วที่จะทำยังไง ที่นำกล่องมารีไซเคิลตรงนี้ สามารถเอาผลิตภัณฑ์ไปแล้วคนได้ใช้แล้วตลาดรองรับมีคนใช้ คิดว่าถ้ามีคนใช้ แล้วเป็นที่นิยมกันมากขึ้น ก็จะทำให้ราคามันแตะได้ ราคาจับต้องได้ ตอนนี้ ที่เราทำก็เหมือนกับสนับสนุนให้คนไทย ลองมาเห็นประโยชน์แล้วลองมาใช้ตรงนี้บ้าง ซึ่งตอนนี้อาจจะยากอยู่ แต่คิดว่า มีแนวโน้มที่ดี ที่คนเริ่มเห็นความสำคัญแล้ว
• เป็นไปได้มั้ยว่า คนทั่วไป อาจจะยังไม่เข้าใจ จนไม่แพร่หลายในวงกว้าง
เราคิดว่า หนึ่ง อาจจะไม่ได้ทำการตลาดให้เป็นที่ยอมรับ เหมือนกับเรายังใช้ในการภายในอยู่ อาจจะเป็นเพราะว่า กระบวนการในการผลิต ระยะแรกๆ คุณภาพออกมา อาจจะยังไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ชัวร์ๆ เช่น ช่วงที่ทำกระดาษเอสี่ออกมาก็ยังเจอปัญหาเหมือนกัน ในเรื่องของความชื้น ซึ่งเดี๋ยวนี้มีการพัฒนาจนดีขึ้นมากๆ แล้ว แต่คนจะมองว่าราคามันสูง มันแพง สีไม่น่าใช้ สีหม่นๆ ก็ไม่ใช้ อาจจะซื้อใช้ส่วนตัว แต่ยังไม่ใช้ในวงกว้าง แต่ถ้าทางโรงงานเองสามารถพัฒนาคุณภาพ ให้ได้คุณภาพดียิ่งขึ้น คุณภาพมาตรฐาน ก็น่าจะมีการตอบรับได้อย่างดี หรืออย่างอีโคบอร์ด ที่เอาพลาสติกกับฟอยล์มาทำเป็นแผ่นๆ แทนไม้ธรรมชาติ หรือทำมาเป็นหลังคาเนี่ย ก็เริ่มที่จะขยายตลาดได้เหมือนกัน บางทีก็เอามาทำเป็นฝ้า ทำเป็นผนัง เราคิดว่ามันมีโอกาสอยู่ แต่ก็จะมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ eco จริงๆ นะ ถึงจะยอมรับได้ เพราะคนสมัยใหม่ที่ไม่เห็นความสำคัญก็ไม่ใช้นะ มันอาจจะไม่สวย สีเทาสีอะไรด้วย ต้องเป็นคนกลุ่มเฉพาะจริงๆ ที่จะยอมรับได้ เราคิดว่าช่วงนี้แหละที่จะต้องผลักดัน หน้าที่ตอนนี้นะ เพราะเรารณรงค์ให้รีไซเคิลแล้ว เอากล่องไปโรงงานแล้ว พอรีไซเคิลออกมา เราต้องช่วยผลักดันแล้วว่า จะทำยังไงให้คนยอมรับกับสิ่งนี้จากกล่องเครื่องดื่ม ก็มีทำแคมเปญ BeCare ขึ้นมา ซึ่งเป็นการสนับสนุนรีไซเคิลโปรดักต์จากกล่องเครื่องดื่ม ให้มาช่วยกันใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ภายใต้คอนเซ็ปต์ว่า รีไซเคิลกล่องยูเอชที สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม “แค่ใช้ ก็ได้ช่วยโลก” เพราะว่าทุกส่วนของกล่องเครื่องดื่ม เราเอามาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ทุกส่วนโดยไม่เหลือทิ้งเป็นขยะเลย
• ในเรื่องสิ่งแวดล้อมในบ้านเรา ต่อให้ทำกิจกรรมมาตั้งแต่อดีต ทุกวันนี้ก็ยังเหมือนเดิม โดยส่วนตัวคุณมองยังไง
เรามองว่ายาก ยากมากที่จะทำให้เรามีวินัยในการมีจิตสำนึกตรงนี้ แม้กระทั่งในสังคมเมืองเหมือนกับประเทศอื่นๆ เพราะว่าเราไม่ได้ปลูกฝังเหมือนกับประเทศอื่นๆ ทุกวันนี้ทำแคมเปญกับเด็กๆ เด็กดีมาก น่ารักมาก เด็กฉลาด เด็กโอเคมาก พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง พร้อมที่จะทำ แต่ปรากฏว่าผู้ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นในบ้าน หรือ คุณครูที่โรงเรียนเอง ถ้าไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตรงนี้ สอนเด็กไปก็ไม่มีประโยชน์ ก็กลับไปเหมือนเดิม จะมีน้อยมากที่ทำ ถึงแม้ว่าจะเป็นโรงเรียนในเครือข่าย ถือว่าเป็นผลตอบรับที่ดี เพราะว่าเขาคัดแยกกล่องเป็นระเบียบแล้ว จัดเป็นอย่างดี และสร้างจิตสำนึกอย่างดีแล้ว แต่พอกลับถึงบ้านเราควบคุมไม่ได้ ที่สำคัญเลยคือผู้ใหญ่ เหมือนเราเรียนภาษาใหม่ จนเวลาเรากลับมา ไม่มีใครพูดกับเรา เราก็ไม่มีโอกาสฝึกและได้ใช้ เพราะฉะนั้น ทางบ้านเอง หรือผู้ใหญ่ในบ้าน ต้องช่วยกัน สนับสนุนด้วย
อย่างประสบการณ์ที่ทำช่วงแรกๆ นี่ อย่างโรงเรียน ถ้าเป็นที่พ่อแม่มีฐานะ โรงเรียนที่ค่าเทอมแพงมีชื่อเสียง บางทีเขาก็ไม่สนใจเรื่องคัดแยกขยะนะ เขามุ่งแค่ว่าให้เด็กเก่ง ให้เด็กเข้าโรงเรียนที่มีชื่อ เคยเอาโครงการนี้เข้าไป ปรากฏว่า คุณครูบอกว่า ไม่สามารถจะให้เด็กแตะขยะได้ เพราะเขาจะมีแม่บ้านและภารโรงทำไปแล้ว ไม่อย่างงั้น ผู้ปกครองมา จะไม่พอใจที่ลูกมาแยกขยะ เลยกลายเป็นว่า หน้าที่เหล่านั้น เป็นหน้าที่ของแม่บ้านไป แต่ไม่พยายามที่จะปลูกฝัง เรามองว่า โรงเรียนที่มีชื่อเสียง โรงเรียนที่มีฐานะ มีครอบครัวดีๆ หน่อย อาจจะไม่เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม เพราะเวลาต่อมา เรียนจบอาจจะไปอยู่เมืองนอก ฉันก็ไม่แคร์ ไม่สนใจ แค่คงลืมมองไปว่า ถ้าคนที่เป็นพ่อแม่ไม่อยู่แล้ว รุ่นต่อไป จะได้ผลกระทบโดยตรง กลับกัน ในขณะที่เด็กต่างจังหวัด ยังทำหน้าที่นี้ได้ดีกว่า ตั้งหน้าตั้งตาทำได้ดีกว่า มีการจัดการที่ดีกว่า เรามองว่า อาจจะเป็นสถานะด้วยก็ได้นะ มุมมองทัศนคติของผู้ปกครองเด็ก ของครอบครัว ของโรงเรียนเป็นสำคัญ ถ้าโรงเรียนรวยๆ ปฎิเสธ โดยข้ออ้างว่าเด็กแยกขยะไม่ได้ เราก็คิดเลยว่า พอเด็กออกไปจะเป็นยังไง หากคุณจะเป็นนักธุรกิจที่เก่ง ประสบความสำเร็จ ทำเงินได้หลายล้าน แต่ถ้าแค่จิตสำนึกคุณไม่มี มีสมองแต่ไม่มีหัวใจ มองอย่างงั้นจริงๆ เพราะเราจะมองว่าปัดภาระไม่ได้ไง เพราะขยะมันเกิดจากเรา เราเป็นคนผลิตมัน แค่คุณดื่มน้ำ ดื่มนม แล้วแยก คุณยังไม่อยากให้ลูกคุณแยกเลย ทิ้งๆ ไป เดี๋ยวแม่บ้านแยกเอง มันก็ไม่ได้ มันเป็นอย่างงี้ เลยเป็นที่ผู้ใหญ่เป็นสำคัญ
• การที่ลงมาทำงานด้านนี้เต็มตัว ถือว่าหนักมั้ยครับ ในท่ามกลางสภาวะสิ่งแวดล้อมของบ้านเราที่เป็นแบบนี้
ถามว่าหนักมั้ย หนัก เหนื่อยมั้ย เหนื่อย เครียดมั้ย ไม่เครียด เพราะถือว่า ในเมื่อเราเป็นกลไกลหนึ่งที่ถือว่าจะช่วยขับเคลื่อนได้ เราก็ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด เพราะสุดท้ายแล้ว ผลตอบรับมาโดยส่วนตัวเรา เราไม่ได้ทำเพื่อตัวเองอยู่แล้ว เราก็หวังถึงผู้ใหญ่ในสังคมที่มีอำนาจหน้าที่ในความรับผิดชอบตรงนี้ จะหันมามองและให้ความสำคัญมากขึ้น อย่าเอาเงินไปละลายให้กับอะไรก็ไม่รู้ แล้วไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร แรกๆ ก็เคยกังวลว่า จะได้ผลมั้ยเหมือนกัน แต่สุดท้ายก็มาทำใจได้ว่า ไม่เป็นไร เราถือว่า เราตั้งเป้าหมายว่า เราจะทำอะไร แล้วเราได้ทำแล้ว เราได้ทำหน้าที่พลเมืองของเราแล้ว ได้เต็มที่แล้ว สุดท้าย เราคงไม่สามารถไปเปลี่ยนโลกทั้งใบได้ด้วยตัวเรา ในวันนี้หรือตอนนี้อาจจะไม่ได้ แต่ถ้าเกิดเราไม่ได้เป็นกระบอกเสียงที่มาทำตรงนี้ มันก็จะไม่มีคนทำเลย มันก็จะไม่มีเส้นเค้าลางเลยว่า จะมีคนไหนมาทำ แต่อย่างน้อย เราก็ยังเป็นหนึ่งในกลไกในพลังที่ทำให้มันเกิดขึ้นจริงๆ ว่าซักวันหนึ่ง ผู้ใหญ่ในบ้านเมือง หรือ คนที่มีอำนาจ เขาจะเห็นประโยชน์มากขึ้น ทุกวันนี้อาจจะเห็นอยู่ แต่ภารกิจอาจจะเยอะไง จึงให้หน่วยงานเล็กๆ นี่แหละ ช่วยๆ กัน ในแต่ละหน่วย ให้เห็นความสำคัญ แค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแค่นั้นเอง
• แต่บางรายก็ทำดีต่อโลก ก็ถูกมองว่า เป็นคนแปลกแยกไป
บางคนคิดดีทำดี แต่กลายเป็นคนแปลกแยก เพราะสังคมไม่ได้ทำแบบเราไง แต่จริงๆ อยากให้มีคนแบบนี้ และไม่ต้องคิดว่าเป็นคนแปลกแยกนะ คิดว่าเราจะต้องทำแบบนี้แหละ เพราะว่าเรามีจิตสำนึกไง ที่เราทำก็ไม่ได้ผิดอะไร เราได้ช่วยโลกอีก แล้วพยายามให้คนอื่นมาทำแบบเรา อย่างทุกวันนี้ก็ใช้กระติกน้ำเวลาไปไหนก็พกไปด้วย จนปรับเปลี่ยนนิสัยเราไปเลย ไปไหนมาไหนก็ต้องพกน้ำ ไม่ต้องไปซื้อไม่ต้องไปอะไร หรือไม่ถ้าทานข้าว ก็จะพยายามไม่เอากล่องโฟมนะ คิดว่ามีคนกลุ่มนึงที่คิดเหมือนเรา เพียงแต่ว่า ถ้าเราคิดว่าเราทำแล้วมีความสุข โดยที่ไม่ต้องสนใจว่าจะมองเรายังไง ให้มีคนแบบนี้เยอะๆ มันช่วยได้จริงๆ เริ่มต้นและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากตัวเราก่อน แต่ถ้าเกิดเป็นเด็กวัยรุ่น บางทีเขาอายไง หิ้วปิ่นโตไปประมาณเนี้ย ก็คงปลูกฝังยาก อาจจะค่อยๆ เป็นค่อยๆไป
• เพราะฉะนั้น อย่าไปกลัว
อยากให้คนที่ทำอะไรดีๆ อยู่แล้ว เราต้องกล้าที่จะแสดงว่าเรามีดีที่จะทำดี อะไรที่มันทำแล้วเราคิดว่าจะช่วยโลกได้ แล้วสิ่งที่เราได้ทำดีอยู่แล้ว จากจิตใจที่ดีๆ ของเราเนี่ย เราสามารถที่จะแสดงออกได้เลย เราไม่ต้องกลัวหรอกว่า เราจะแปลกแยก เราอาจจะเป็นผู้นำเทรนด์ก็ได้ ถ้าเราตั้งใจ อย่างน้อยเราก็น่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนได้ อย่างน้อยก็ลดขยะจากเราแหละ วันละชิ้น วันนึงเรากินน้ำ 5 ขวด พอเราเอากระติกน้ำไป เราก็สามารถลดได้ 5 ขวด หรือเราเอากล่องใส่ข้าวหรือปิ่นโตไป อย่างน้อยเราก็ลดกล่องข้าวกล่องนึง ลดถุงพลาสติกถุงนึง ลดช้อนพลาสติกคันนึง ลดถุงพริกน้ำปลาได้อีก แต่ซึ่งมันก็ช่วยในการลดปริมาณขยะ ได้เยอะเลยนะ
• ในความเห็นส่วนตัว จากในการทำโครงการมาเกือบ 10 ปี ถือว่าให้ความพึงพอใจมั้ย
ถือว่าพอใจมาก พอใจที่เราเป็นกลไกหนึ่ง ที่เราช่วยขับเคลื่อนในตรงนี้ไม่มากก็น้อย จากคนที่ไม่รู้จักกล่องวิเศษเลย ตอนนี้คนเริ่มรู้จักมากขึ้น คนก็จะเริ่มรู้ว่า ในเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อมในการคัดแยกขยะ ให้ทางเราช่วยดูแล ช่วยจัดการให้ เพราะว่าเราเป็นผู้ประกอบการทางสังคม เราเป็น SE เราก็เหมือนออแกไนเซอร์น่ะค่ะ ที่จัดงานให้กับหน่วยงานต่างๆ เพียงแต่ว่า เน้นจัดทางสิ่งแวดล้อมทางด้านสังคม ไม่ได้เน้นโฆษณาสินค้า พอเราเป็นแบบนี้ กำไรสูงสุด ไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดของเรา คือทำเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงทีมงาน แล้วรายได้ที่ได้มา ถ้าพอที่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน เราก็จะเอาลงไปแบ่งปัน ในนามกล่องปันสุข ซึ่งก็เป็นอีกรูปแบบของเรา โดยรายได้ที่ได้มา จะมาอยู่ในรูปแบบนี้ พอถึงปีนึง หรือทุกครั้งที่มีโอกาส เราสามารถไปทำอะไรได้โดยไม่ต้องไปขอสปอนเซอร์ใคร เราสามารถนำมาจากกล่องนี้ไปทำได้เองเลย
อย่างช่วงตอนน้ำท่วม มีการแจ้งมาทางเราว่า ต้องการความช่วยเหลือ เราก็จัดซื้อได้เลย ไม่ต้องรอจากใคร หรืออย่างวันเด็ก เวลาไปทำกิจกรรมที่ไหน เราก็สามารถไปได้เลย มันก็เป็นอย่างนึงที่เราสามารถขยายผล ได้ทำอย่างที่ใจต้องการ ไม่ต้องทำโครงการ เพื่อตามวัตถุประสงค์ของลูกค้า มันก็เลยเกิดขึ้นตรงนี้ อย่างน้อยก็เกิดจากกล่องปันสุข เพิ่มขึ้น ก็เลยรู้สึกว่า เป็นโอกาสอันดีที่จะได้แชร์ตรงนี้ ต่อให้คุณไม่ต้องแบ่งปันด้วยเงินนะ คุณมีความรู้ คุณมีเวลามาทำงาน มาทำกิจกรรมกับเราได้ เวลามีกิจกรรม เราก็ประชาสัมพันธ์ แล้วเราจะได้อาสาสมัครมาร่วมทำโครงการเยอะมาก คืออย่างน้อยได้มีโมเมนต์นึงที่ได้ทำตรงนี้ เพื่อสังคม ถามว่าเคยมีอุปสรรคมั้ย ทั้งเหนื่อยและท้อมั้ย ตอบเลยว่ามี แต่เราก็เข้าสู่ความจริงที่ว่า ท้ายที่สุดแล้ว ถ้าเราตั้งใจทำดีที่สุดแล้ว ในฐานะหน้าที่พลเมืองไทยที่จะช่วยอะไรได้ ผลตอบรับอาจจะไม่ได้เลิศหรูอย่างที่หวัง แต่เมื่อมันมีการขับเคลื่อนไป มันน่าจะไปได้อย่างสวยงามในอนาคต ก็ต้องฝากคนรุ่นต่อไป
• เป้าหมายต่อไปกับการทำกิจกรรมสำหรับคุณและทางกลุ่มครับ
อยากจะทำกิจกรรมขยายผล ขยายงานด้านสังคมให้มากขึ้น เพราะเราทำเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก อยากจะทำงานที่สร้างจิตสำนึกค่ะ อยากจะให้เกิดคนดีในสังคม ทุกวันนี้คนเห็นแก่ตัวมากขึ้น จนคนไม่รู้จักว่า อะไรดี อะไรไม่ดี แยกแยะได้ยาก อยากเห็นสังคมมีความใจเย็นมากขึ้น เพราะทุกวันนี้คนใจร้อน อยากให้เผื่อแผ่กันมากขึ้น ซึ่งก็ยังคิดตกผลึกไม่ได้นะว่ามันจะออกมาเป็นแบบไหน แต่ก็วางแผนว่าทำยังไงที่จะให้คนดีๆ มารวมกัน ให้คนดีๆ มีพื้นที่ในการแสดงออกถึงความดีของเขา แล้วอาจจะไปจับกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น เพราะว่าหลังจากที่ทำกิจกรรมกับเด็กแล้วเนี่ย เราก็จะเห็นอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งคนรุ่นนี้ยังมีความสามารถอยู่มาก แต่เกษียณแล้ว ถูกอยู่เฝ้าบ้าน จะเลี้ยงหลาน แล้วไม่มีการต่อยอด ไม่ได้มีการเอาความสามารถในตัวเขาออกมาสานต่อ คืออยากทำตรงนี้ ให้คนได้เห็นคุณค่าของผู้สูงอายุในบ้าน ไม่ใช่แค่ให้พ่อแม่เลี้ยงหลานให้ แต่จริงๆ ศักยภาพของท่านน่าจะมีอะไรมากกว่านี้ เราคิดว่าประสบการณ์จากช่วงวัยเด็ก หรือ วัยหนุ่มสาว ของคนกลุ่มนี้ อาจจะมาถ่ายทอดให้กับคนรุ่นใหม่ๆ ได้อีกมาก แล้วพอเรามองที่เด็ก เราอาจจะละเลยผู้สูงอายุไป เพราะพวกเขาก็มีที่ถูกทอดทิ้งมาก ดังนั้น อาจจะพุ่งเป้าไปที่กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุมากขึ้น
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : พลภัทร วรรณดี