เป็นที่รู้ทั่วกันดีว่า เรื่องราวปัญหาของ “เด็กช่างตีกัน” เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานมนานหลายสิบปี นานก่อนจะมีภาพยนตร์เลื่องชื่อ 2499 อันธพาลครองเมือง ที่โด่งดังจนขึ้นแท่นในราวปี พ.ศ. 2540 หรือหนังนักเรียนก่อนจะมาเป็นนักเลงโตคุมเกาะฮ่องกงอย่างเรื่อง กู๋หว่าไจ๋ (มังกรฟัดโลก) อีกหลายต่อหลายภาคในกาลต่อมา
ถ้าจะกล่าวอย่างย่นย่อ "เฉิน ห้าวหนาน" และ "แดง ไบเล่" อาจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างที่เราเคยมอง เพราะหลังจากกระแสหนังแนวแก๊งสเตอร์เริ่มจางหาย ถนนนักเรียนนักเลงในบ้านเราก็คงไม่ร้างห่างเสียงตะลุมบอนและร่องรอยการประกาศศักดาตามฝาผนัง
กระทั่งล่าสุดกลายเป็นปัญหาระดับชาติต้องมีนโยบายไม่รับเด็กที่มี “รอยสัก” และ “เจาะระเบิดหู” เข้าเรียนสถาบันอาชีวะ เพื่อตัดตอนตั้งแต่ก่อนเกิดนักเลงในคราบนักเรียน จนเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั้งไม่เห็นด้วยและเห็นด้วย
ในขณะนั้นเอง ตัวอย่างภาพยนตร์สั้นๆ ที่กำลังจะสร้างจากตำนานเรื่องจริงของ 4 สถาบัน หรือที่รู้จักกันในชื่อ “4 king” ช่างกลบุรณพนธ์ กนกอาชีวะ อินทรอาชีวะ และเทคโนฯ ประชาชื่น อาชีวะยุค 90 ที่ได้ชื่อว่าเป็นเอกอุด้านวิวาท ก็ดังแว่วเข้ามาให้ฉุกคิด..
"เรื่องราวชีวิตคนคนหนึ่ง มันมีค่าในตัวเองเสมอ"
บทเรียน “ชีวิต” ที่ว่ากันว่า เมื่อผ่านพ้นด้วยตัวเองจะคลี่คลายใช่หรือไม่
ลองไปฟังจากปากคำบอกเล่าของ "พุฒิ-พุฒิพงษ์ นาคทอง" และ "สลิม-กวีนิพนธ์ เกตุประสิทธิ์" สองหนุ่มผู้กำกับอดีตเด็กอาชีวะ ในมุมมองที่ผ่านเลนส์ชีวิตทางสายนี้ว่าจะเป็นอย่างไร...
เราเริ่มต้นโปรเจกต์ภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นมาอย่างไร
พุฒิ : ต้องบอกก่อนว่า ปกติ ผมทำงานด้านเบื้องหลัง เป็นผู้ช่วยผู้กำกับอยู่แล้ว ซึ่งผมก็มีความคิดที่ผมอยากจะทำหนัง เราก็เลยคิดว่าเราอยากจะเล่าอะไร บังเอิญว่า ณ ตอนนั้น เมื่อ 3 ปีที่แล้วก็มีประเด็นข่าวเรื่องเด็กอาชีวะบ่อยบนหน้าหนังสือพิมพ์ มันก็ทำให้ผมย้อนไปเมื่อตอนที่เราก็เด็กเรียนสายนี้ เลยได้ข้อสรุปว่า เราควรเล่าสิ่งที่เราเคยเจอ เคยสัมผัส เคยพบเห็นมาก่อน
สลิม : ส่วนผมทำงานโปรดักชั่นสารคดี ก็เลยมีโอกาสได้รู้จักกัน แต่ตอนแรกๆ ก็ยังไม่รู้ว่าเขาก็เคยเรียนสายอาชีวะ แต่ตัวผมเรียนจบจากเทคนิคมีนบุรี พุฒิก็มาปรึกษา ก็ได้ร่วมงานกันเพราะผมชอบไอเดียที่เขาบอกว่า
"ในวันหนึ่งที่เรายังเป็นวัยรุ่น เราจะมองเห็นโลกอีกแบบหนึ่ง แต่พอเราก้าวออกมาจากโลกนั้นแล้วมองย้อนกลับไป เราก็จะเห็นโลกอีกด้านหนึ่ง"
ซึ่งมันอาจจะทั้งใช่และไม่ใช่ความด่างพร้อย แต่ที่แน่ๆ มันเป็นประสบการณ์ที่สอนที่นำให้เรามาอยู่ตรงนี้ เขาก็เลยอยากจะนำเสนอมุมมอง ณ ตอนนั้น ที่ยังก้าวไม่ถึงจุดนี้ คือจริงๆ มันไม่ใช่แค่เรื่องของเด็กช่างอย่างเดียว แต่มันเป็นเรื่องของ “ชีวิตวัยรุ่น” ที่มันห่อไว้ด้วยเรื่องราวของเด็กช่าง ในหนังก็จะเหมือนกับว่าเราผ่านมาแล้ว เราก็จะบอกเขากลับไปว่า ไอ้สิ่งที่คุณทำอยู่เนี่ย มันมีตราบาปติดตามกลับมาด้วย ไอ้สิ่งที่คุณคิดว่ามันสนุก มันคือความท้าทาย มันคือความเท่ ไอ้สิ่งที่คุณทำไป คุณต้องยอมรับกับสิ่งที่มันเกิดขึ้นด้วย มันมีบางอย่างที่ติดตัวตามมา และก็พูดถึงปัญหาว่าทำไมเด็กเหล่านั้นถึงเป็นแบบนี้ จากประสบการณ์ที่เราเจอ คือมันจะจริงกว่าหนังหลายๆ เรื่องที่ทำออกมา
ขั้นตอนของหนังเรื่องนี้ไปถึงไหนแล้ว
สลิม : กำลังพูดคุยกับนายทุน พุฒิก็ควักเงินตัวเองมาก่อนก้อนหนึ่ง แล้วก็ไปเกณฑ์น้องๆ มาช่วย ไม่มีค่าใช้จ่าย ทำเป็นตัวหนังประมาณ 15 นาที ส่วนตัวอย่างที่เห็น เป็นทีเซอร์ที่เราถ่ายมาแล้วก็ตัด แล้วก็ไปวิ่งขายกัน
ก็บอบช้ำมาหลายๆ ที่ ด้วยเหตุผลหลายๆ อย่าง คือพอพูดว่าเป็นหนังเด็กช่าง ทุกคนก็จะบอกว่า เฮ้ย...เดี๋ยวคนดูมันก็เอาไปเลียนแบบบ้าง มันให้อะไรกับสังคมบ้าง ดูไปก็มีแต่ความรุนแรง คุณจะเอาหนังวัยรุ่นตีกันมาสอนคนได้อย่างไร
มองอย่างนั้นมันไม่ถูกหรือ...
สลิม : มันด้วยความเชื่อที่ต่างกัน ส่วนตัวผม ผมมองว่าเราไม่ควรดูถูกชีวิตใคร ทุกชีวิตมีคุณค่า มีบทเรียนเสมอ ถ้านำมาปรับใช้ เพราะอย่างที่บอก สุดท้ายแล้วมันไม่ใช่หนังเด็กอาชีวะซะทีเดียว คือหนังที่นำเสนอปัญหาวัยรุ่น ผ่านมุมมองเด็กอาชีวะเท่านั้นเอง ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ ก็อย่างเรื่อง “โลกทั้งใบให้นายคนเดียว” ที่มีตัวละครเป็นเด็กช่างวัยรุ่น แต่สุดท้ายมันก็ห่อด้วยปัญหาสังคม
จากวุฒิภาวะและประสบการณ์ หรือเรื่องราวที่เราจะนำเสนอ มันน่าจะช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ใหญ่ พ่อแม่ ได้ด้วยซ้ำ ไม่ใช่แค่กับเด็กวัยรุ่น ว่าเราควรจะมองช่วงเวลาเหล่านั้นของลูกๆ อย่างไร ด้วยเหตุนี้ นี่จึงเป็นกำแพงที่ใหญ่สุดที่นายทุนเขาจะวางให้เราข้ามไปให้ได้ ซึ่งหมายถึงเราก็ต้องนำเสนอให้เขาจนเห็นภาพที่มันข้ามกำแพงนั้นไป
พุฒิ : คือมีหลายคนคิดอย่างนั้น กลัวเด็กดูแล้วจะเอามาเลียนแบบพฤติกรรม แต่เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ตอนนั้นที่ผมเรียนอาชีวะ มีหนังเรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง หนังเรื่อง “กู๋หว่าไจ๋” ผมก็ดู แต่ผมไม่เคยคิดว่าผมอยากเป็นหัวหน้าแก๊งอย่างพระเอก “เฉิน ห้าวหนาน” ไม่เคยมี เพื่อนๆ ที่ดูก็ไม่เคยคิด
ผมรู้สึกว่าจริงๆ หนังเรื่องนี้มันค่อนข้างจะแอนตี้ฮีโร่ด้วยซ้ำ เพราะว่าสิ่งที่ผมกำลังจะบอกคือประเด็นที่แท้จริงที่มันทำให้มีเด็กพฤติกรรมความรุนแรงมันมาจากอะไร มันมาจากเรื่องครอบครัว คือต่อให้ไม่มีภาพยนตร์แนวนี้เลย หรือต่อให้ประเทศไทยไม่มีคำว่า “ช่างกล” ยังไงพฤติกรรมเหล่านี้มันก็อยู่ในช่วงเวลาที่เรียกว่า “วัยรุ่น” มันมีอยู่แล้ว และแน่นอนมันปรับเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย ยิ่งเราไม่เข้าใจมัน มันยิ่งเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความรุนแรงมันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น เราควรที่จะหาต้นตอให้เจอ แทนที่จะมาแก้ไขที่ปลายเหตุ
เท่าที่ฟังมาเรายกความเชื่อและประสบการณ์ที่เห็นต่าง จากหลายๆ เรื่องภาพยนตร์ที่เคยๆ ผ่านตากันมานำเสนอไม่ตรงจากสิ่งที่เป็น
สลิม : คือในยุคก่อนอย่างภาพยนตร์เรื่อง “18 ฝน คนอันตราย” หรือ “เด็กเสเพล” ผมว่าค่อนข้างตีแผ่ได้ตรง แต่พอมาช่วงหลัง หนังที่เกี่ยวกับเด็กอาชีวะ เด็กตีกัน แรงผลักดันตัวละครหลายๆ อย่างที่เราดู เราเรียนอาชีวะ เราไม่เจอสิ่งเหล่านั้น ถึงอาจจะมีบ้างแต่ก็ส่วนน้อยมาก อย่างมันก็มีเรื่องราวของเด็กอาชีวะที่จบมาแล้วไปอยู่ในแวดวงของการทำงาน แล้วคนก็มองว่าไอ้พวกนี้มันเป็นเด็กช่าง สู้กับไอ้พวกที่มันจบสถาบันดีๆ ไม่ได้ มันก็ยังเป็นภาพจำของคนในสังคมอยู่
หรือแม้แต่ตอนนี้ ผมไปพูดคุยกับใครก็ตามว่าจะทำหนังเด็กอาชีวะ คนก็ยังร้องว่าหนังเด็กตีกัน คนก็ยังมองอย่างนั้น แต่ส่วนตัวเราผ่านมา เราก็อาชีวะนะ เราก็ตีกันมา แต่ว่าสุดท้ายแล้ว ชีวิตผมตอนนี้ ผมทำสารคดีที่พูดถึงชีวิตคน พูดถึงเรื่องของแรงผลักดันในชีวิติ พูดถึงการมองโลกที่เป็นจริง ไม่ได้มีความรุนแรงอยู่ในนั้นเลย ขนาดสารคดีที่เกี่ยวกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผมทำ มันก็ไม่มีความรุนแรงอยู่ในสารคดีผม ผมก็เป็นเด็กช่าง
มันคือช่วงวัยหนึ่ง พอเราก้าวข้ามผ่านมาแล้ว เราก็คือคนปกติคนหนึ่ง ซึ่งเราก็ไม่อยากให้เด็กช่างเหล่านั้นเป็นตราบาปสังคม แน่นอนว่าเด็กตีกันมันผิด แต่ประเด็นคือคนที่ผิดมากกว่าเด็กมันมีไหม เด็กที่ไปเที่ยวผับเที่ยวบาร์ เราจะโทษเด็กได้ไหม คำถามคือเด็กมันทำผับทำบาร์ได้เองหรือเปล่า แล้วใครทำผับบาร์ให้เด็กเที่ยว ปัญหาสังคมมันไม่ได้เกิดขึ้นแค่คนที่ทำผิด แต่คนที่อยู่แวดล้อมที่ใหญ่กว่า คุณมีหน้าที่ที่ต้องบอกเด็กใช่หรือเปล่า คุณมีหน้าที่ที่จะต้องดูแล ให้ความรู้เขาหรือเปล่า หรือว่าเขาเป็นตัวปัญหาก็ตัดเขาทิ้งเลย มากกว่าวิธีแก้ไข จะให้เสียแล้วเสียเลย
แต่ในทางกลับกัน ถ้ามีคนเข้าใจเขา มีคนให้โอกาสเขา ผมเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนต้องการคือ “โอกาส” เขาพร้อมที่จะกลับมา ถ้าเขายังมีโอกาสอยู่ ไม่ว่าเขาจะผิดพลาดขาดไหนก็ตาม ซึ่งประเด็นเหล่านี้ มันก็จะถูกเล่าในนั้นด้วย แล้วเราก็รู้สึกว่ามันเป็นความจริงที่เราต้องพูด เรามีวันนี้ แล้ววันนี้เราสามารถเป็นกระบอกเสียงได้ เราก็ต้องทำ
อย่างที่เราบอกว่าพอผ่านช่วงเวลานั้นมา แล้วจะรู้ แต่กว่าเราจะโตเราจะรอดมาได้อย่างไร
พุฒิ : จริงๆ ช่วงเวลา ณ ตอนนั้น ผมว่าเด็กทุกคนมันคิดได้ตั้งแต่จุดง่ายๆ ใกล้ๆ ตัว ตอนที่ผมตีกัน ผมก็คิดได้นะครับ เราทำทำไม ทำเพื่ออะไร เวลาเราเห็นพ่อกับแม่ร้องไห้ เราก็เสียใจ แต่มันก็ด้วยเพราะสิ่งแวดล้อม ช่วงเวลานั้น ต่อให้ใครพูด ก็ไม่ฟัง ยิ่งมาขวางมากั้น เราก็ยิ่งมีปฏิกิริยาโต้ตอบในทางตรงกันข้ามกับเขาสิ้นเชิง คือต่อให้เราคิดได้ในใจ รู้ลิมิตตัวเองว่าประมาณไหน สิ่งใดเราไม่ยุ่ง เรารู้สึกว่าเราผิดมากพอแล้ว แต่มันเป็นช่วงเวลาต่อต้านทุกสิ่งทุกอย่าง ใครบอกว่าไม่ เราจะบอกว่าใช่ เราจะทำอะไรที่มันแปลกหูแปลกตา
แต่หลังจากนั้น พอผ่านมาปุ๊บ ทุกคนคิดได้หมดว่าเราจะเรียนอะไร ทำอะไร ผมเชื่อว่าการทำอะไร ณ ตอนนั้น คือถ้ามันสุดมันก็จะคิดเส้นทางของตัวเองได้ เพียงแต่ปัจจุบันนี้อาจจะต้องใช้เวลา เพราะมันเป็นยุคของโซเชียลเน็ตเวิร์กไปหมดแล้ว พ่อแม่ก็ไม่ฟัง ครูบาอาจารย์ก็ไม่ฟัง จะเชื่อกันแต่โลกสังคมนี้ ตอนนี้เด็กทุกคนเลยหาตัวเองไม่เจอ ไม่รู้จะไปอะไรยังไง ยังไม่รู้ว่า อันนี้ใช่ สิ่งนี้ไม่ใช่ หลุดไปกันหมด
สลิม : เรียกว่าความคะนอง ยกตัวอย่างให้ชัดๆ สงครามมันดีไหม มันก็ไม่ดี แต่ว่าสุดท้ายแล้ว สงครามมันเกิดมาเพราะมนุษย์ ทุกวันนี้มนุษย์ยังมีอยู่ สงครามมันก็ยังมีอยู่ คือไม่ว่าเราจะเรียนรู้บทเรียนแห่งความสูญเสียมาเท่าไหร่ มันก็ยังมีอยู่ดี ขึ้นอยู่กับว่าเราสร้างความชอบธรรมให้ตัวเองมากน้อยแค่ไหน เหมือนกันกับเรื่องนี้ พอมีความคะนอง เราก็พยายามจะหาเหตุผลมาสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเอง เพื่อนโดนตบปากการ็อตติ้งอันละ 100 บาท ต้องไปเอาคืน เพราะกว่าพ่อแม่จะหาเงินซื้อมาให้ได้ มันลำบาก และจากเรื่องปากการ็อตติ้งด้ามเดียว มันอาจจะกลายเป็นศึกที่ยิ่งใหญ่ ตีกันฟันกันเลือดท่วมก็ได้
แต่ว่าก็อย่างที่บอก ความคะนอง มันเหมือนกับช่วงนั้น เราไม่ต้องคิดอะไรมาก ตื่นเช้ามา พ่อแม่ก็ให้เงิน มันก็จะเหมือนกับเราอยู่ในความฝันอย่างหนึ่ง มีความที่สุด ไม่คิดหน้าหลัง แต่จนมาวันหนึ่ง เราเข้าปีสุดท้าย มันก็เหมือนเราตื่นขึ้นมาเจอความจริง แล้วต่อจากนี้ เราจะเลี้ยงชีวิตตัวเองอย่างไร ไอ้โลกภาพฝันเหล่านั้นมันก็เป็นข้อคิดหรือว่าเป็นประสบการณ์ใบหนึ่ง ไม่ใช่ว่ามันเป็นสิ่งที่แย่ แต่มันก็ไม่ใช่สิ่งที่ดี มันก็เป็นประสบการณ์ที่เราต้องไปต่อยอดกับมัน ไปเรียนรู้กับมัน แล้วพอเราตื่นมาเจอโลกแห่งความเป็นจริงมันก็ทำให้เราต้องคิดได้ไปโดยปริยาย
ท้ายที่สุด ทั้งหมดทั้งมวลมันทำให้เราเป็นเรา ทุกวันนี้ไม่ชอบความรุนแรงไปโดยปริยาย ไม่ชอบมีปัญหากับใคร ยอมก็ได้ ถ้าไม่เสียหายอะไรมาก ก็ปล่อยๆ ไป เพราะจากตรงนั้นที่เจอมา “การไม่ยอม” มันทำให้เกิดอะไรขึ้น ซึ่งประสบการณ์เหล่านั้น คนที่ไม่เคยผ่านมา พอโตขึ้นมา เขาก็อาจจะอยากเอาชนะก็ได้ ถึงบอกว่ามันอาจจะเป็นประสบการณ์ที่เลวร้ายก็จริง แต่ว่ามันก็คือบทเรียนที่เราสามารถนำมาปรับใช้ได้
“วัยรุ่น” คือวัยที่กำลังไม่ฟังต่อให้เป็นความจริง แล้วบทเรียนนี้จะชักนำเขากลับมาอย่างไร
พุฒิ : ก่อนอื่นเลย 4 สถาบันนี้ ย้อนกลับไปในช่วงปี 80-90 คือ 4 สถาบันนี้ค่อนข้างจะมีชื่อเสียงมากในการทะเลาะวิวาท ข่าวที่ลงในหนังหนังสือพิมพ์ก็จะมีอยู่ 4 โรงเรียนนี้จนเขาก็ปิดตัวไป 20 ปีแล้ว คือมันเป็นอดีตที่เขาก็เจ็บปวดเหมือนกัน แต่พอเราบอกเจตนารมณ์บอกเหตุผล ถ้าปล่อยไว้อย่างนี้ มันก็จะหายไปตามกาลเวลา แต่ถ้าเรานำสิ่งเหล่านี้มาเป็นบทเรียนให้คนในสังคมได้ มันก็น่าจะมีประโยชน์กว่าที่จะปล่อยให้หายไปเฉยๆ
ผมเชื่อว่า ประสบการณ์ที่เลวร้ายของหนึ่งชีวิต สามารถมาต่อยอดสอนประสบการณ์อีกหนึ่งชีวิตให้คิดทบทวนได้ คือบทเรียนก้าวพลาดในช่วงเวลาของเราของพี่ๆ ที่ลงไปเก็บข้อมูล ขอประสบการณ์ เรื่องราวของพี่ๆ เหล่านั้นมันไม่มีอะไรดีเลย นอกจากตราบาปที่อยู่ในใจของเขาทุกคน ถ้าเด็กสมัยนี้ดูหนังเรื่องนี้ เชื่อว่าต้องคิด เพราะทุกวันนี้หลายๆ คนที่อยู่ ณ จุดนั้น ตื่นเช้ามา ภาพเหล่านั้นยังคงอยู่ในหัวเสมอ มันไม่มีอะไรดี มันมีแต่สิ่งที่เป็นตราบบาปในใจ หลายๆ คน พอพูดถึงเรื่องนี้ยังน้ำตาตกอยู่ถึงเรื่องราวที่ทำไป
มีรุ่นพี่คนหนึ่ง ขาขาดสองข้าง ต้องขายลอตเตอรี่ จากอนาคตที่กำลังเตรียมจะสอบเข้าตำรวจหลังเรียนจบ เขาไปดูคอนเสิร์ตแล้วโดนยิง เขาเล่าให้ฟังว่าสุดท้ายเขาก็ไม่รู้ว่าทำไปทำไม แล้วอีกหลายตัวอย่างที่มีทั้งเป็นฝ่ายกระทำเขาบ้าง ภาพยังติดตาทุกวันนี้ แต่ก็ยังมีพวกที่ยึดติด พวกที่จบมาคิดไม่ได้ ยังส่งเสริมลูกให้เหมือนตัวเองก็มี สุดท้ายตราบาปก็ไปตกอยู่ที่ลูก ลูกโดนยิงตาย เพิ่งจะมาคิดได้
สลิม : คือด้วยความที่บอกว่าหนังเรื่องก่อนๆ หน้านี้ มันอาจจะไม่สมจริง มันเลยไม่สามารถผลักดันให้เห็นหรือเป็นอุทาหรณ์ได้ แต่อันนี้ตัวละครในเรื่องมีอยู่จริง เรื่องราวเป็นของจริง เพื่อที่จะได้คุย เพื่อได้แลกเปลี่ยน เพื่อที่จะได้ถ่ายทอดประสบการณ์ที่แท้จริง และพี่ๆ เหล่านั้นเขาก็ยังรู้สึกว่าเป็นตราบาปเขาอยู่ เขาไม่ได้รู้สึกว่ามันดีนะ แต่ว่ามันผ่านมาแล้ว แก้ไขไม่ได้ ผมว่าการเข้าถึงข้อมูล ไปเสาะหาเรื่องราวเหล่านี้มา มันน่าจะมีอะไรที่มากกว่าหนังเด็กช่างทั่วๆ ไปที่เขาบอกว่านี่มันหนังเด็กช่าง จริงๆ มันไม่ใช่
ฟังๆ ดูเหมือนว่ามันไม่ใช่แค่เรื่องของเด็กช่าง เรื่องของสถาบัน แต่มันรวมเป็นเรื่องของวัยรุ่น
พุฒิ : ความคะนองทุกอย่าง ต่อให้ไม่มีสถาบัน ต่อให้ไม่มีโรงเรียนอาชีวะ เด็กก็ตีกัน แล้วเราจะทำอย่างไร ในเมื่อถ้าไม่มีอาชีวะ มันก็ตีกัน มันอาจจะเปลี่ยนไปในรูปแบบแก๊งสเตอร์ แก๊งยาเสพติด เพราะมันอยู่ในช่วงความคะนองของคำว่าวัยรุ่น และวิวัฒนาการของเด็กสมัยนี้ก็ต่างจากเมื่อก่อนเยอะ สมัยนี้จะไม่เรียกว่าพฤติกรรมการตีกันแล้ว มันค่อนข้างที่จะมีการวางแผน มีการตระเตรียม ยุคสมัยมันเปลี่ยน ยุคสมัยนี้มันคือยุคสมัยที่ปืนหาง่ายกว่าห้องสมุดอีก คือผมเคยถามตอนสำรวจข้อมูล ผมเคยบอกว่าทำอย่างนี้ไม่ถูกนะ เขาตอบกลับมาว่าแล้วจะให้วิ่งไล่ตีกันเหมือนสมัยพี่เหรอ ผมก็โดนตำรวจจับ กล้องวงจรปิดเยอะแยะไปหมด ก็เลยต้องมีมอเตอร์ไซค์ เรื่องนี้ทำให้รู้ว่ามุมมองเขาเป็นอย่างนี้ แล้วยิ่งผมถามต่อไปว่าถูกหรือเปล่า เรายังไม่รู้ตัวเลยว่าใช่หรือไม่ใช่ แต่เราไปตัดสินไปทำอย่างนั้นแล้ว เด็กสมัยนี้ พอด้วยความที่อาวุธที่ใช้ ไม่ใช่หมัด ไม้ แต่เป็นปืน การตัดสินใจมันง่ายกว่าแต่ก่อนที่ถึงเนื้อถึงตัว สมัยนี้การตัดสินใจมันอยู่แค่ปลายนิ้วเอง และแค่ปลายนิ้วมันสามารถเปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนชีวิตทั้งคนที่จะโดนและตัวเรา เขาบอกว่าไม่รู้ มันทำเพื่อนผม มันคือการคิดอย่างนั้น แล้วผมถามว่ามีรุ่นพี่บอกมาไหม เขาก็บอกว่าไม่ เพื่อนผมโดน
สลิม : วิวัฒนาการมันเปลี่ยนด้วย คือยุคนี้มันมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น ไม่รู้สังเกตไหม การมีเรื่องกันมันจะเป็นชื่อของคนแล้ว ไม่ใช่ชื่อสถาบัน เราก็เห็นเน็ตไอดอลหลายๆ คนที่ดังเรื่องทะเลาะวิวาท จากนี้ไป จะเป็นเพื่อความพราวของตัวเอง ความเป็นสถาบันมันจะลดน้อยลง แต่ละคนพยายามหาเครดิตให้ตัวเอง ยิ่งทำแรงมากเท่าไหร่ เครดิตก็ยิ่งมาก
คือแนวโน้มยิ่งรุนแรงกว่าเดิม?
สลิม : เพราะแจ้งเกิดได้ในชั่วข้ามคืน เราเลยยอมกันไม่ได้ แต่สมัยก่อนไม่ขนาดนี้ เล่นกันพอหอมปากหอมคอ ไม่ถึงตาย แต่นี่ไม่ต้องเป็นเด็กช่างกล เด็กอาชีวะ ขาสั้น ปริญญาตรี พวกเราจะเห็นหลายๆ คนในโซเชียลยอมไม่ได้ อย่างโน้นอย่างนี้อย่างนั้น คือมันเป็นยุคอย่างนั้นไปแล้ว ซึ่งตอนนี้เราควรจะตั้งรับสิ่งที่กำลังจะเกิดภาคหน้า ผมว่ามันต้องทวีคูณขึ้นไปอีก
เดี๋ยวนี้ เห็นเขามีแนวทางพยายามแก้ไขหลายอย่างเกี่ยวกับเด็กช่าง คุณรู้สึกนึกคิดอย่างไรบ้างกับแนวทางเหล่านั้น เช่น เรื่องรอยสัก เจาะหู ฯ
สลิม : เรื่องรอยสักกับเจาะหู มันเป็นเพียงแค่เทรนด์ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย อย่างกางเกง เมื่อก่อนห้ามใส่ขาเล็กเกิน ขวดน้ำยัดไม่ได้ ยุคหนึ่งโดนจับ จริงๆ คือผมมองว่าผู้ใหญ่อย่างเราต้องทำงานให้หนักขึ้น คือยอมทำงานให้หนักขึ้น ให้เหนื่อยขึ้นดีกว่าที่จะตัดปัญหา เพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไข ทุกคนอาจต้องช่วยกันแบ่งเบาภาระตรงนั้น ให้หนักขึ้น เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น แล้วก็อย่างเรื่องของโอกาส คือถ้าเราใจกว้างพอที่เราให้ สมมตินี่คือกรอบโอกาส คนที่จะอยู่ในกรอบ มีแค่ 10 คนที่จะช่วยเหลือเขาให้พ้นจากตรงนี้ได้ ถ้าจะช่วยเหลือให้กว้างขึ้น โอกาสที่กว้างขึ้นมันอาจจะกลายเป็น 20-30 คน
แต่ทีนี้ถ้าตัดโอกาสให้มันแคบลง โอกาสมันมีอยู่ แต่มันก็แคบลง เราก็จะช่วยเหลือคนที่ก้าวพลาดได้น้อยลง การที่เราจะช่วยเหลือเยาวชนที่เขาก้าวพลาดเนี่ย หรือกำลังที่จะมีแนวโน้มที่เสี่ยงผิดพลาดมันก็น้อยลง ทั้งที่คุณจะเอาคนเหล่านั้นมาอบรมให้ สามารถกลับมาเป็นพลังของสังคม กลับมาเป็นบุคลากรที่ดีของสังคมมันก็ตัดโอกาสตรงนั้นไป คือในทางกลับกันคือสิ่งที่คุณทำเหล่านั้น ผลจะกลับมาเอง ถ้าเด็กเหล่มนั้นไม่ได้โอกาส แล้วเขาก้าวข้ามไปเป็นโจร ขโมย มันก็จะเป็นภัยของสังคมอีก แทนที่จะเอาโอกาสตรงนั้นตอนแรกไปเปลี่ยนแปลงเขากับผลักไสเขาไป สุดท้ายเขาก็ต้องกลับมาอีกเพราะเราอยู่ในสังคมเดียวกัน
อันนี้ก็เป็นเรื่องของวิสัยทัศน์แล้วล่ะครับ เราจะไม่บอกว่าดีหรือไม่ดี แต่ในความรู้สึกผม ผมมองว่าโอกาสยังสำคัญเสมอ โดยเฉพาะกับผู้ใหญ่ ซึ่งมีหน้าที่ที่จะให้โอกาสกับเด็ก ผมเชื่อว่ามันยังสำคัญเสมอ เพราะสุดท้าย พอมันถึงเวลา คนเรามันต้องคิดได้ ตื่นขึ้นมาในความเป็นจริง ก็ต้องคิดได้ คำถามคือแล้วคุณจะต่อสู้ชีวิตให้หลุดพ้นอย่างไร มันขึ้นอยู่ว่าใครจะเจอความจริงนั้นเร็วหรือช้า แต่สุดท้ายมันก็ต้องเห็นอยู่ดี
พุฒิ : ผมศึกษาโปรเจกต์นี้มานาน เชื่อว่าคนที่เคยก้าวผิด เรียนผิดมาก่อน เขาจะรู้ เขาจะมีมุมมองที่สามารถย้ำเตือนตัวเอง เหยียบตัวเองว่าสิ่งนี้คือทางผิด แต่ทุกวันนี้เราลองมองคนที่อาจจะไม่เคยทำผิดหรือคิดว่าไม่เคยทำผิด บอกว่าทิ้งขยะลงพื้นไม่ดี แต่ตัวเองยังเขี่ยขี้บุหรี่ลงพื้น เขายังไม่รู้ตัวเองเลยว่าสิ่งที่เขาทำอยู่มันก็ไม่ได้แตกต่างอะไรจากการที่เขาไปว่าเด็ก ตัวเขาบางทียังทำผิดอยู่เลย ฉะนั้น เราไปว่าเด็ก เขาเป็นเด็ก เขายังอายุไม่ถึง 18 ด้วยซ้ำบางคน แต่ตัวเองก็เกิน 30 กันแล้ว อันนี้ผมว่าสังคมควรจะมาแก้ไขบุคคลอย่างนี้มากกว่า
เพราะฉะนั้นเราควรให้การศึกษา เราควรให้การอบรม สอนเขา เราอย่าไปตัดขาดเขา เราอย่าเพิ่งไปตีค่าว่าเขาคือคนผิดที่ไม่ควรให้อภัย ที่ผมจบมาได้ทุกวันนี้ก็เพราะครูสมมาตร สนทมิโน ครูคอยบอกผมตลอด ท่านอบรมมาตลอด ผมไม่เคยฟังพ่อแม่เลย แต่ครูเป็นคนบอกผม ผมมีทุกวันนี้ได้ก็เพราะครู แต่ครูก็จะโดนอาจารย์ท่านอื่นบอกว่าทำไมต้องเอาเราด้วยล่ะ ก็ปล่อยให้โดนออกไปสิ ผมถามว่าถ้าวันนั้นอาจารย์ไม่ดึงผมกลับไปเรียนแล้วผมหลุดไป ออกจากวงโคจร ผมคิดอะไรไม่ออกเลยนะ อนาคตผมจะมีอะไรบ้าง ผมก็จมอยู่ตรงนั้น
สังคมเราอย่ามองว่าคือการไปเพาะพันธุ์คนกลุ่มนี้ที่เป็นบัวใต้น้ำที่ไม่มีทางขึ้นมาบนน้ำได้ อย่าไปคิดอย่างนั้น การที่เราได้ช่วยคนที่ก้าวพลาด บุญกุศลผมไม่รู้ว่ามันมีหรือเปล่า แต่มันถือว่าเป็นการทำให้ช่วยคนได้อีกเยอะ เพราะคนเหล่านี้ ผมก็เลยมีสิ่งที่ผมอยากจะเล่า ประสบการณ์ที่ผมเจอ ผมเลยอยากมาเล่าสอนเด็ก แล้วผมเชื่อว่าคนเหล่านี้จะมาสอนเด็กได้อีกเยอะเลย
สลิม : เหมือนเราขับรถไปบนถนน เราอาจจะหลงทาง มันมีหลายคนที่หลงทาง เพราะเราไม่มีแผนที่กับชีวิต ไม่มีจีพีเอส เรารู้ว่าหลงเราก็ต้องขับต่อ ก็ต้องขับตรงต่อไปเรื่อยๆ แต่ถ้ามันมียูเทิร์นข้างหน้าแล้วเรารู้ว่าเราหลง เราจะยูเทิร์นกลับไปไหม แน่นอนเราเลี้ยว หรือหลายคนอาจจะไปต่อ ไอ้พวกที่ยังขับต่อไปเรื่อยๆ ก็มีอีก มันหมายความว่าอะไร มันคือโอกาส มันรู้แล้วว่าอย่างนี้เป็นอย่างนี้ แต่มันยังมีคนทำให้เราเป็นระยะๆ เขาก็กลับ เราอาจจะไม่สามารถดึงกลับมาได้ทั้งหมด มันอาจจะเป็นไปได้ยาก แต่ถ้าร้อยคนได้มาสัก 10 -20 คน แน่นอนว่ามันเป็นประโยชน์อยู่แล้ว เราจะลดคนที่ไปสร้างความเดือดร้อนให้สังคม ในขณะเดียวกัน เราก็จะเพิ่มพลังทางบวกให้กับคนอีก 20 คน ซึ่งผมมองว่ามันคุ้มค้ากว่า
โอกาสก็ยังเป็นสิ่งที่สำคัญ อย่างบ้านกาญจนาภิเษก คุกที่ไม่มีรั้ว ผมเคยไปทำสารคดีที่นั่น ก็จะมีเยาวชนที่ติดจากคดีหนักๆ แต่กระบวนการที่เขาทำในนั้นทำให้คนเหล่านั้นกลับมาคิดได้ ทำให้คนคิดได้ คือมันขึ้นอยู่กับคนที่สอน อย่างป้ามล ทิชา ณ นคร ป้าเขาเป็นคนที่มีศรัทธาในตัวเด็กมาก ไม่ใช่ความเชื่อ เขามีศรัทธา เขาเชื่อเด็กกลับตัวได้ ทั้งๆ ที่ตัวเด็กบางคนยังไม่เชื่อตัวเอง แต่ถ้ามีคนคนหนึ่งเดินมาบอกว่า เราเชื่อว่าเราเป็นคนดี เราพร้อมจะกลับตัวหรือเปล่า เราทำให้เขารู้สึกว่าคือเพื่อน มีคนที่ให้โอกาส มีคนที่เชื่อในตัวเขาด้วย ผมเชื่อว่าสุดท้ายมนุษย์ก็คือมนุษย์ มนุษย์มันไม่ใช่ปีศาจ แต่คำถามคือคนแบบป้ามน คนที่เชื่อในการกลับตัว มันมีกี่คนในประเทศ
แล้วเราเชื่อมากน้อยแค่ไหนว่าทางแก้และการป้องกันจะสามารถหยุดวงจร นักเรียนนักเลงลงได้
สลิม : เอาง่ายๆ ผมเคยได้ยินคนพูดมาว่า พ่อแม่เวลาที่ลูกต้องการให้สอน ให้คำปรึกษา ไม่สอน ไม่ให้ ไม่อยู่ แต่จะมาสอนตอนลูกไม่ฟังแล้ว คือพ่อแม่อาจจะให้เหตุผลว่าต้องทำงานเลี้ยงดู คุณหาเงินมาเพื่อให้ลูกจริงไหม ถ้าคุณอุทิศตัวมาให้ลูกจริงแล้ว คุณเอาเวลานั้นมาสอนเขาไม่ดีกว่าเหรอ ในช่วงที่เราควรจะสอนเขา
ฉะนั้น ผมก็เห็นด้วยว่าจุดเริ่มต้น ควรเริ่มที่ครอบครัว แล้วก็เรื่องของจริยธรรม คนที่เชื่อในศาสนา ก็ศาสนา คนที่ไม่เชื่อในศาสนาก็เรื่องจรรยาบรรณจริยธรรม ในเรื่องต่างๆ ของความเป็นมนุษย์ก็ตาม สิ่งเหล่านี้มันหายไป เราเห็นคณิตศาสตร์ การชนะ การชิงดีชิงเด่นกัน ดีกว่า อันนี้ก็เป็นปัจจัยหนึ่งด้วย ขอให้ลูกเรียนเก่ง เป็นยังไงก็ได้ไม่เป็นไร มันก็เป็นคำถามกลับไปถามว่า แล้วความเป็นมนุษย์ จริยธรรมต่างๆ สิ่งที่ลูกควรได้จากพ่อแม่มีไหม หรือในทางกลับกันเลย พ่อแม่ ผมก็ไม่ได้ว่า คืออาจจะเป็นเพราะพ่อแม่ไม่มีอะไรดี ที่จะสอนให้ลูกหรือเป็นแบบอย่าง มันก็ต้องกลับมามีคำถามที่พ่อแม่ มันก็ต้องย้อนไปที่ต้นตอจริงๆ
พุฒิ : คิดดูดีๆ การปราบปรามเด็กอาชีวะหรือจะป้องกัน ต่อให้ไม่มีเด็กช่างกลก็ตีกัน วัยรุ่นเด็กอเมริกายังตีกันเลย ทั้งที่ประเทศเขาพัฒนากว่าเราเยอะ เพราะอะไร เพราะมันเกิดจากครอบครัว ปัญหาเกิดจากสิ่งแวดล้อม แล้วก็ครอบครัวเป็นหลัก ความรักความอบอุ่น ความเอาใจใส่ของพ่อแม่ที่มีต่อลูกมากที่สุด คือเด็กเหล่านี้จะรู้สึกว่าไม่มีใครขึ้นมาทันที ถ้าไม่ได้รับความรักความอบอุ่น แล้วเขาก็จะไปหาจุดเด่น ไปหาสิ่งที่เขาคิดว่ามันจะทำให้ได้ความรัก ไปหาสิ่งทดแทนความรักจากพ่อแม่ อีก 10-20 ปี เราไม่มีทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ ถ้าสถาบันครอบครัวเราไม่เข้มแข็ง
ก็อยากให้นายทุนหรือใครสักคนเห็นความสำคัญที่เรากำลังพยายามทำอยู่ แล้วก็อยากได้โอกาสตรงนั้น เพราะทุกชีวิตมีบทเรียน เราอยากจะบอกว่า คนเราอย่าไปตัดสินใคร ถึงแม้เราจะก้าวผิดพลาดมาก่อน หรืออย่างตอนนี้ที่เด็กช่างจะถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ไปสอนใครไม่ได้ ทุกคนมันมีผิดพลาดอยู่แล้ว แม้แต่คนที่เป็นคนเก็บขยะ ยังสอนคนที่เป็นลูกเศรษฐีให้รู้จักความอดทนหรือความเพียรได้เลย แต่เราจะทำอย่างไรให้เขารู้และกลับมา ก้าวพลาดของคนที่ผิด มันสามารถเป็นก้าวที่ถูกของคนที่คิดจะทำผิดในตอนนี้ได้เสมอ
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : วรวิทย์ พานิชนันท์
ถ้าจะกล่าวอย่างย่นย่อ "เฉิน ห้าวหนาน" และ "แดง ไบเล่" อาจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างที่เราเคยมอง เพราะหลังจากกระแสหนังแนวแก๊งสเตอร์เริ่มจางหาย ถนนนักเรียนนักเลงในบ้านเราก็คงไม่ร้างห่างเสียงตะลุมบอนและร่องรอยการประกาศศักดาตามฝาผนัง
กระทั่งล่าสุดกลายเป็นปัญหาระดับชาติต้องมีนโยบายไม่รับเด็กที่มี “รอยสัก” และ “เจาะระเบิดหู” เข้าเรียนสถาบันอาชีวะ เพื่อตัดตอนตั้งแต่ก่อนเกิดนักเลงในคราบนักเรียน จนเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั้งไม่เห็นด้วยและเห็นด้วย
ในขณะนั้นเอง ตัวอย่างภาพยนตร์สั้นๆ ที่กำลังจะสร้างจากตำนานเรื่องจริงของ 4 สถาบัน หรือที่รู้จักกันในชื่อ “4 king” ช่างกลบุรณพนธ์ กนกอาชีวะ อินทรอาชีวะ และเทคโนฯ ประชาชื่น อาชีวะยุค 90 ที่ได้ชื่อว่าเป็นเอกอุด้านวิวาท ก็ดังแว่วเข้ามาให้ฉุกคิด..
"เรื่องราวชีวิตคนคนหนึ่ง มันมีค่าในตัวเองเสมอ"
บทเรียน “ชีวิต” ที่ว่ากันว่า เมื่อผ่านพ้นด้วยตัวเองจะคลี่คลายใช่หรือไม่
ลองไปฟังจากปากคำบอกเล่าของ "พุฒิ-พุฒิพงษ์ นาคทอง" และ "สลิม-กวีนิพนธ์ เกตุประสิทธิ์" สองหนุ่มผู้กำกับอดีตเด็กอาชีวะ ในมุมมองที่ผ่านเลนส์ชีวิตทางสายนี้ว่าจะเป็นอย่างไร...
เราเริ่มต้นโปรเจกต์ภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นมาอย่างไร
พุฒิ : ต้องบอกก่อนว่า ปกติ ผมทำงานด้านเบื้องหลัง เป็นผู้ช่วยผู้กำกับอยู่แล้ว ซึ่งผมก็มีความคิดที่ผมอยากจะทำหนัง เราก็เลยคิดว่าเราอยากจะเล่าอะไร บังเอิญว่า ณ ตอนนั้น เมื่อ 3 ปีที่แล้วก็มีประเด็นข่าวเรื่องเด็กอาชีวะบ่อยบนหน้าหนังสือพิมพ์ มันก็ทำให้ผมย้อนไปเมื่อตอนที่เราก็เด็กเรียนสายนี้ เลยได้ข้อสรุปว่า เราควรเล่าสิ่งที่เราเคยเจอ เคยสัมผัส เคยพบเห็นมาก่อน
สลิม : ส่วนผมทำงานโปรดักชั่นสารคดี ก็เลยมีโอกาสได้รู้จักกัน แต่ตอนแรกๆ ก็ยังไม่รู้ว่าเขาก็เคยเรียนสายอาชีวะ แต่ตัวผมเรียนจบจากเทคนิคมีนบุรี พุฒิก็มาปรึกษา ก็ได้ร่วมงานกันเพราะผมชอบไอเดียที่เขาบอกว่า
"ในวันหนึ่งที่เรายังเป็นวัยรุ่น เราจะมองเห็นโลกอีกแบบหนึ่ง แต่พอเราก้าวออกมาจากโลกนั้นแล้วมองย้อนกลับไป เราก็จะเห็นโลกอีกด้านหนึ่ง"
ซึ่งมันอาจจะทั้งใช่และไม่ใช่ความด่างพร้อย แต่ที่แน่ๆ มันเป็นประสบการณ์ที่สอนที่นำให้เรามาอยู่ตรงนี้ เขาก็เลยอยากจะนำเสนอมุมมอง ณ ตอนนั้น ที่ยังก้าวไม่ถึงจุดนี้ คือจริงๆ มันไม่ใช่แค่เรื่องของเด็กช่างอย่างเดียว แต่มันเป็นเรื่องของ “ชีวิตวัยรุ่น” ที่มันห่อไว้ด้วยเรื่องราวของเด็กช่าง ในหนังก็จะเหมือนกับว่าเราผ่านมาแล้ว เราก็จะบอกเขากลับไปว่า ไอ้สิ่งที่คุณทำอยู่เนี่ย มันมีตราบาปติดตามกลับมาด้วย ไอ้สิ่งที่คุณคิดว่ามันสนุก มันคือความท้าทาย มันคือความเท่ ไอ้สิ่งที่คุณทำไป คุณต้องยอมรับกับสิ่งที่มันเกิดขึ้นด้วย มันมีบางอย่างที่ติดตัวตามมา และก็พูดถึงปัญหาว่าทำไมเด็กเหล่านั้นถึงเป็นแบบนี้ จากประสบการณ์ที่เราเจอ คือมันจะจริงกว่าหนังหลายๆ เรื่องที่ทำออกมา
ขั้นตอนของหนังเรื่องนี้ไปถึงไหนแล้ว
สลิม : กำลังพูดคุยกับนายทุน พุฒิก็ควักเงินตัวเองมาก่อนก้อนหนึ่ง แล้วก็ไปเกณฑ์น้องๆ มาช่วย ไม่มีค่าใช้จ่าย ทำเป็นตัวหนังประมาณ 15 นาที ส่วนตัวอย่างที่เห็น เป็นทีเซอร์ที่เราถ่ายมาแล้วก็ตัด แล้วก็ไปวิ่งขายกัน
ก็บอบช้ำมาหลายๆ ที่ ด้วยเหตุผลหลายๆ อย่าง คือพอพูดว่าเป็นหนังเด็กช่าง ทุกคนก็จะบอกว่า เฮ้ย...เดี๋ยวคนดูมันก็เอาไปเลียนแบบบ้าง มันให้อะไรกับสังคมบ้าง ดูไปก็มีแต่ความรุนแรง คุณจะเอาหนังวัยรุ่นตีกันมาสอนคนได้อย่างไร
มองอย่างนั้นมันไม่ถูกหรือ...
สลิม : มันด้วยความเชื่อที่ต่างกัน ส่วนตัวผม ผมมองว่าเราไม่ควรดูถูกชีวิตใคร ทุกชีวิตมีคุณค่า มีบทเรียนเสมอ ถ้านำมาปรับใช้ เพราะอย่างที่บอก สุดท้ายแล้วมันไม่ใช่หนังเด็กอาชีวะซะทีเดียว คือหนังที่นำเสนอปัญหาวัยรุ่น ผ่านมุมมองเด็กอาชีวะเท่านั้นเอง ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ ก็อย่างเรื่อง “โลกทั้งใบให้นายคนเดียว” ที่มีตัวละครเป็นเด็กช่างวัยรุ่น แต่สุดท้ายมันก็ห่อด้วยปัญหาสังคม
จากวุฒิภาวะและประสบการณ์ หรือเรื่องราวที่เราจะนำเสนอ มันน่าจะช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ใหญ่ พ่อแม่ ได้ด้วยซ้ำ ไม่ใช่แค่กับเด็กวัยรุ่น ว่าเราควรจะมองช่วงเวลาเหล่านั้นของลูกๆ อย่างไร ด้วยเหตุนี้ นี่จึงเป็นกำแพงที่ใหญ่สุดที่นายทุนเขาจะวางให้เราข้ามไปให้ได้ ซึ่งหมายถึงเราก็ต้องนำเสนอให้เขาจนเห็นภาพที่มันข้ามกำแพงนั้นไป
พุฒิ : คือมีหลายคนคิดอย่างนั้น กลัวเด็กดูแล้วจะเอามาเลียนแบบพฤติกรรม แต่เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ตอนนั้นที่ผมเรียนอาชีวะ มีหนังเรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง หนังเรื่อง “กู๋หว่าไจ๋” ผมก็ดู แต่ผมไม่เคยคิดว่าผมอยากเป็นหัวหน้าแก๊งอย่างพระเอก “เฉิน ห้าวหนาน” ไม่เคยมี เพื่อนๆ ที่ดูก็ไม่เคยคิด
ผมรู้สึกว่าจริงๆ หนังเรื่องนี้มันค่อนข้างจะแอนตี้ฮีโร่ด้วยซ้ำ เพราะว่าสิ่งที่ผมกำลังจะบอกคือประเด็นที่แท้จริงที่มันทำให้มีเด็กพฤติกรรมความรุนแรงมันมาจากอะไร มันมาจากเรื่องครอบครัว คือต่อให้ไม่มีภาพยนตร์แนวนี้เลย หรือต่อให้ประเทศไทยไม่มีคำว่า “ช่างกล” ยังไงพฤติกรรมเหล่านี้มันก็อยู่ในช่วงเวลาที่เรียกว่า “วัยรุ่น” มันมีอยู่แล้ว และแน่นอนมันปรับเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย ยิ่งเราไม่เข้าใจมัน มันยิ่งเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความรุนแรงมันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น เราควรที่จะหาต้นตอให้เจอ แทนที่จะมาแก้ไขที่ปลายเหตุ
เท่าที่ฟังมาเรายกความเชื่อและประสบการณ์ที่เห็นต่าง จากหลายๆ เรื่องภาพยนตร์ที่เคยๆ ผ่านตากันมานำเสนอไม่ตรงจากสิ่งที่เป็น
สลิม : คือในยุคก่อนอย่างภาพยนตร์เรื่อง “18 ฝน คนอันตราย” หรือ “เด็กเสเพล” ผมว่าค่อนข้างตีแผ่ได้ตรง แต่พอมาช่วงหลัง หนังที่เกี่ยวกับเด็กอาชีวะ เด็กตีกัน แรงผลักดันตัวละครหลายๆ อย่างที่เราดู เราเรียนอาชีวะ เราไม่เจอสิ่งเหล่านั้น ถึงอาจจะมีบ้างแต่ก็ส่วนน้อยมาก อย่างมันก็มีเรื่องราวของเด็กอาชีวะที่จบมาแล้วไปอยู่ในแวดวงของการทำงาน แล้วคนก็มองว่าไอ้พวกนี้มันเป็นเด็กช่าง สู้กับไอ้พวกที่มันจบสถาบันดีๆ ไม่ได้ มันก็ยังเป็นภาพจำของคนในสังคมอยู่
หรือแม้แต่ตอนนี้ ผมไปพูดคุยกับใครก็ตามว่าจะทำหนังเด็กอาชีวะ คนก็ยังร้องว่าหนังเด็กตีกัน คนก็ยังมองอย่างนั้น แต่ส่วนตัวเราผ่านมา เราก็อาชีวะนะ เราก็ตีกันมา แต่ว่าสุดท้ายแล้ว ชีวิตผมตอนนี้ ผมทำสารคดีที่พูดถึงชีวิตคน พูดถึงเรื่องของแรงผลักดันในชีวิติ พูดถึงการมองโลกที่เป็นจริง ไม่ได้มีความรุนแรงอยู่ในนั้นเลย ขนาดสารคดีที่เกี่ยวกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผมทำ มันก็ไม่มีความรุนแรงอยู่ในสารคดีผม ผมก็เป็นเด็กช่าง
มันคือช่วงวัยหนึ่ง พอเราก้าวข้ามผ่านมาแล้ว เราก็คือคนปกติคนหนึ่ง ซึ่งเราก็ไม่อยากให้เด็กช่างเหล่านั้นเป็นตราบาปสังคม แน่นอนว่าเด็กตีกันมันผิด แต่ประเด็นคือคนที่ผิดมากกว่าเด็กมันมีไหม เด็กที่ไปเที่ยวผับเที่ยวบาร์ เราจะโทษเด็กได้ไหม คำถามคือเด็กมันทำผับทำบาร์ได้เองหรือเปล่า แล้วใครทำผับบาร์ให้เด็กเที่ยว ปัญหาสังคมมันไม่ได้เกิดขึ้นแค่คนที่ทำผิด แต่คนที่อยู่แวดล้อมที่ใหญ่กว่า คุณมีหน้าที่ที่ต้องบอกเด็กใช่หรือเปล่า คุณมีหน้าที่ที่จะต้องดูแล ให้ความรู้เขาหรือเปล่า หรือว่าเขาเป็นตัวปัญหาก็ตัดเขาทิ้งเลย มากกว่าวิธีแก้ไข จะให้เสียแล้วเสียเลย
แต่ในทางกลับกัน ถ้ามีคนเข้าใจเขา มีคนให้โอกาสเขา ผมเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนต้องการคือ “โอกาส” เขาพร้อมที่จะกลับมา ถ้าเขายังมีโอกาสอยู่ ไม่ว่าเขาจะผิดพลาดขาดไหนก็ตาม ซึ่งประเด็นเหล่านี้ มันก็จะถูกเล่าในนั้นด้วย แล้วเราก็รู้สึกว่ามันเป็นความจริงที่เราต้องพูด เรามีวันนี้ แล้ววันนี้เราสามารถเป็นกระบอกเสียงได้ เราก็ต้องทำ
อย่างที่เราบอกว่าพอผ่านช่วงเวลานั้นมา แล้วจะรู้ แต่กว่าเราจะโตเราจะรอดมาได้อย่างไร
พุฒิ : จริงๆ ช่วงเวลา ณ ตอนนั้น ผมว่าเด็กทุกคนมันคิดได้ตั้งแต่จุดง่ายๆ ใกล้ๆ ตัว ตอนที่ผมตีกัน ผมก็คิดได้นะครับ เราทำทำไม ทำเพื่ออะไร เวลาเราเห็นพ่อกับแม่ร้องไห้ เราก็เสียใจ แต่มันก็ด้วยเพราะสิ่งแวดล้อม ช่วงเวลานั้น ต่อให้ใครพูด ก็ไม่ฟัง ยิ่งมาขวางมากั้น เราก็ยิ่งมีปฏิกิริยาโต้ตอบในทางตรงกันข้ามกับเขาสิ้นเชิง คือต่อให้เราคิดได้ในใจ รู้ลิมิตตัวเองว่าประมาณไหน สิ่งใดเราไม่ยุ่ง เรารู้สึกว่าเราผิดมากพอแล้ว แต่มันเป็นช่วงเวลาต่อต้านทุกสิ่งทุกอย่าง ใครบอกว่าไม่ เราจะบอกว่าใช่ เราจะทำอะไรที่มันแปลกหูแปลกตา
แต่หลังจากนั้น พอผ่านมาปุ๊บ ทุกคนคิดได้หมดว่าเราจะเรียนอะไร ทำอะไร ผมเชื่อว่าการทำอะไร ณ ตอนนั้น คือถ้ามันสุดมันก็จะคิดเส้นทางของตัวเองได้ เพียงแต่ปัจจุบันนี้อาจจะต้องใช้เวลา เพราะมันเป็นยุคของโซเชียลเน็ตเวิร์กไปหมดแล้ว พ่อแม่ก็ไม่ฟัง ครูบาอาจารย์ก็ไม่ฟัง จะเชื่อกันแต่โลกสังคมนี้ ตอนนี้เด็กทุกคนเลยหาตัวเองไม่เจอ ไม่รู้จะไปอะไรยังไง ยังไม่รู้ว่า อันนี้ใช่ สิ่งนี้ไม่ใช่ หลุดไปกันหมด
สลิม : เรียกว่าความคะนอง ยกตัวอย่างให้ชัดๆ สงครามมันดีไหม มันก็ไม่ดี แต่ว่าสุดท้ายแล้ว สงครามมันเกิดมาเพราะมนุษย์ ทุกวันนี้มนุษย์ยังมีอยู่ สงครามมันก็ยังมีอยู่ คือไม่ว่าเราจะเรียนรู้บทเรียนแห่งความสูญเสียมาเท่าไหร่ มันก็ยังมีอยู่ดี ขึ้นอยู่กับว่าเราสร้างความชอบธรรมให้ตัวเองมากน้อยแค่ไหน เหมือนกันกับเรื่องนี้ พอมีความคะนอง เราก็พยายามจะหาเหตุผลมาสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเอง เพื่อนโดนตบปากการ็อตติ้งอันละ 100 บาท ต้องไปเอาคืน เพราะกว่าพ่อแม่จะหาเงินซื้อมาให้ได้ มันลำบาก และจากเรื่องปากการ็อตติ้งด้ามเดียว มันอาจจะกลายเป็นศึกที่ยิ่งใหญ่ ตีกันฟันกันเลือดท่วมก็ได้
แต่ว่าก็อย่างที่บอก ความคะนอง มันเหมือนกับช่วงนั้น เราไม่ต้องคิดอะไรมาก ตื่นเช้ามา พ่อแม่ก็ให้เงิน มันก็จะเหมือนกับเราอยู่ในความฝันอย่างหนึ่ง มีความที่สุด ไม่คิดหน้าหลัง แต่จนมาวันหนึ่ง เราเข้าปีสุดท้าย มันก็เหมือนเราตื่นขึ้นมาเจอความจริง แล้วต่อจากนี้ เราจะเลี้ยงชีวิตตัวเองอย่างไร ไอ้โลกภาพฝันเหล่านั้นมันก็เป็นข้อคิดหรือว่าเป็นประสบการณ์ใบหนึ่ง ไม่ใช่ว่ามันเป็นสิ่งที่แย่ แต่มันก็ไม่ใช่สิ่งที่ดี มันก็เป็นประสบการณ์ที่เราต้องไปต่อยอดกับมัน ไปเรียนรู้กับมัน แล้วพอเราตื่นมาเจอโลกแห่งความเป็นจริงมันก็ทำให้เราต้องคิดได้ไปโดยปริยาย
ท้ายที่สุด ทั้งหมดทั้งมวลมันทำให้เราเป็นเรา ทุกวันนี้ไม่ชอบความรุนแรงไปโดยปริยาย ไม่ชอบมีปัญหากับใคร ยอมก็ได้ ถ้าไม่เสียหายอะไรมาก ก็ปล่อยๆ ไป เพราะจากตรงนั้นที่เจอมา “การไม่ยอม” มันทำให้เกิดอะไรขึ้น ซึ่งประสบการณ์เหล่านั้น คนที่ไม่เคยผ่านมา พอโตขึ้นมา เขาก็อาจจะอยากเอาชนะก็ได้ ถึงบอกว่ามันอาจจะเป็นประสบการณ์ที่เลวร้ายก็จริง แต่ว่ามันก็คือบทเรียนที่เราสามารถนำมาปรับใช้ได้
“วัยรุ่น” คือวัยที่กำลังไม่ฟังต่อให้เป็นความจริง แล้วบทเรียนนี้จะชักนำเขากลับมาอย่างไร
พุฒิ : ก่อนอื่นเลย 4 สถาบันนี้ ย้อนกลับไปในช่วงปี 80-90 คือ 4 สถาบันนี้ค่อนข้างจะมีชื่อเสียงมากในการทะเลาะวิวาท ข่าวที่ลงในหนังหนังสือพิมพ์ก็จะมีอยู่ 4 โรงเรียนนี้จนเขาก็ปิดตัวไป 20 ปีแล้ว คือมันเป็นอดีตที่เขาก็เจ็บปวดเหมือนกัน แต่พอเราบอกเจตนารมณ์บอกเหตุผล ถ้าปล่อยไว้อย่างนี้ มันก็จะหายไปตามกาลเวลา แต่ถ้าเรานำสิ่งเหล่านี้มาเป็นบทเรียนให้คนในสังคมได้ มันก็น่าจะมีประโยชน์กว่าที่จะปล่อยให้หายไปเฉยๆ
ผมเชื่อว่า ประสบการณ์ที่เลวร้ายของหนึ่งชีวิต สามารถมาต่อยอดสอนประสบการณ์อีกหนึ่งชีวิตให้คิดทบทวนได้ คือบทเรียนก้าวพลาดในช่วงเวลาของเราของพี่ๆ ที่ลงไปเก็บข้อมูล ขอประสบการณ์ เรื่องราวของพี่ๆ เหล่านั้นมันไม่มีอะไรดีเลย นอกจากตราบาปที่อยู่ในใจของเขาทุกคน ถ้าเด็กสมัยนี้ดูหนังเรื่องนี้ เชื่อว่าต้องคิด เพราะทุกวันนี้หลายๆ คนที่อยู่ ณ จุดนั้น ตื่นเช้ามา ภาพเหล่านั้นยังคงอยู่ในหัวเสมอ มันไม่มีอะไรดี มันมีแต่สิ่งที่เป็นตราบบาปในใจ หลายๆ คน พอพูดถึงเรื่องนี้ยังน้ำตาตกอยู่ถึงเรื่องราวที่ทำไป
มีรุ่นพี่คนหนึ่ง ขาขาดสองข้าง ต้องขายลอตเตอรี่ จากอนาคตที่กำลังเตรียมจะสอบเข้าตำรวจหลังเรียนจบ เขาไปดูคอนเสิร์ตแล้วโดนยิง เขาเล่าให้ฟังว่าสุดท้ายเขาก็ไม่รู้ว่าทำไปทำไม แล้วอีกหลายตัวอย่างที่มีทั้งเป็นฝ่ายกระทำเขาบ้าง ภาพยังติดตาทุกวันนี้ แต่ก็ยังมีพวกที่ยึดติด พวกที่จบมาคิดไม่ได้ ยังส่งเสริมลูกให้เหมือนตัวเองก็มี สุดท้ายตราบาปก็ไปตกอยู่ที่ลูก ลูกโดนยิงตาย เพิ่งจะมาคิดได้
สลิม : คือด้วยความที่บอกว่าหนังเรื่องก่อนๆ หน้านี้ มันอาจจะไม่สมจริง มันเลยไม่สามารถผลักดันให้เห็นหรือเป็นอุทาหรณ์ได้ แต่อันนี้ตัวละครในเรื่องมีอยู่จริง เรื่องราวเป็นของจริง เพื่อที่จะได้คุย เพื่อได้แลกเปลี่ยน เพื่อที่จะได้ถ่ายทอดประสบการณ์ที่แท้จริง และพี่ๆ เหล่านั้นเขาก็ยังรู้สึกว่าเป็นตราบาปเขาอยู่ เขาไม่ได้รู้สึกว่ามันดีนะ แต่ว่ามันผ่านมาแล้ว แก้ไขไม่ได้ ผมว่าการเข้าถึงข้อมูล ไปเสาะหาเรื่องราวเหล่านี้มา มันน่าจะมีอะไรที่มากกว่าหนังเด็กช่างทั่วๆ ไปที่เขาบอกว่านี่มันหนังเด็กช่าง จริงๆ มันไม่ใช่
ฟังๆ ดูเหมือนว่ามันไม่ใช่แค่เรื่องของเด็กช่าง เรื่องของสถาบัน แต่มันรวมเป็นเรื่องของวัยรุ่น
พุฒิ : ความคะนองทุกอย่าง ต่อให้ไม่มีสถาบัน ต่อให้ไม่มีโรงเรียนอาชีวะ เด็กก็ตีกัน แล้วเราจะทำอย่างไร ในเมื่อถ้าไม่มีอาชีวะ มันก็ตีกัน มันอาจจะเปลี่ยนไปในรูปแบบแก๊งสเตอร์ แก๊งยาเสพติด เพราะมันอยู่ในช่วงความคะนองของคำว่าวัยรุ่น และวิวัฒนาการของเด็กสมัยนี้ก็ต่างจากเมื่อก่อนเยอะ สมัยนี้จะไม่เรียกว่าพฤติกรรมการตีกันแล้ว มันค่อนข้างที่จะมีการวางแผน มีการตระเตรียม ยุคสมัยมันเปลี่ยน ยุคสมัยนี้มันคือยุคสมัยที่ปืนหาง่ายกว่าห้องสมุดอีก คือผมเคยถามตอนสำรวจข้อมูล ผมเคยบอกว่าทำอย่างนี้ไม่ถูกนะ เขาตอบกลับมาว่าแล้วจะให้วิ่งไล่ตีกันเหมือนสมัยพี่เหรอ ผมก็โดนตำรวจจับ กล้องวงจรปิดเยอะแยะไปหมด ก็เลยต้องมีมอเตอร์ไซค์ เรื่องนี้ทำให้รู้ว่ามุมมองเขาเป็นอย่างนี้ แล้วยิ่งผมถามต่อไปว่าถูกหรือเปล่า เรายังไม่รู้ตัวเลยว่าใช่หรือไม่ใช่ แต่เราไปตัดสินไปทำอย่างนั้นแล้ว เด็กสมัยนี้ พอด้วยความที่อาวุธที่ใช้ ไม่ใช่หมัด ไม้ แต่เป็นปืน การตัดสินใจมันง่ายกว่าแต่ก่อนที่ถึงเนื้อถึงตัว สมัยนี้การตัดสินใจมันอยู่แค่ปลายนิ้วเอง และแค่ปลายนิ้วมันสามารถเปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนชีวิตทั้งคนที่จะโดนและตัวเรา เขาบอกว่าไม่รู้ มันทำเพื่อนผม มันคือการคิดอย่างนั้น แล้วผมถามว่ามีรุ่นพี่บอกมาไหม เขาก็บอกว่าไม่ เพื่อนผมโดน
สลิม : วิวัฒนาการมันเปลี่ยนด้วย คือยุคนี้มันมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น ไม่รู้สังเกตไหม การมีเรื่องกันมันจะเป็นชื่อของคนแล้ว ไม่ใช่ชื่อสถาบัน เราก็เห็นเน็ตไอดอลหลายๆ คนที่ดังเรื่องทะเลาะวิวาท จากนี้ไป จะเป็นเพื่อความพราวของตัวเอง ความเป็นสถาบันมันจะลดน้อยลง แต่ละคนพยายามหาเครดิตให้ตัวเอง ยิ่งทำแรงมากเท่าไหร่ เครดิตก็ยิ่งมาก
คือแนวโน้มยิ่งรุนแรงกว่าเดิม?
สลิม : เพราะแจ้งเกิดได้ในชั่วข้ามคืน เราเลยยอมกันไม่ได้ แต่สมัยก่อนไม่ขนาดนี้ เล่นกันพอหอมปากหอมคอ ไม่ถึงตาย แต่นี่ไม่ต้องเป็นเด็กช่างกล เด็กอาชีวะ ขาสั้น ปริญญาตรี พวกเราจะเห็นหลายๆ คนในโซเชียลยอมไม่ได้ อย่างโน้นอย่างนี้อย่างนั้น คือมันเป็นยุคอย่างนั้นไปแล้ว ซึ่งตอนนี้เราควรจะตั้งรับสิ่งที่กำลังจะเกิดภาคหน้า ผมว่ามันต้องทวีคูณขึ้นไปอีก
เดี๋ยวนี้ เห็นเขามีแนวทางพยายามแก้ไขหลายอย่างเกี่ยวกับเด็กช่าง คุณรู้สึกนึกคิดอย่างไรบ้างกับแนวทางเหล่านั้น เช่น เรื่องรอยสัก เจาะหู ฯ
สลิม : เรื่องรอยสักกับเจาะหู มันเป็นเพียงแค่เทรนด์ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย อย่างกางเกง เมื่อก่อนห้ามใส่ขาเล็กเกิน ขวดน้ำยัดไม่ได้ ยุคหนึ่งโดนจับ จริงๆ คือผมมองว่าผู้ใหญ่อย่างเราต้องทำงานให้หนักขึ้น คือยอมทำงานให้หนักขึ้น ให้เหนื่อยขึ้นดีกว่าที่จะตัดปัญหา เพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไข ทุกคนอาจต้องช่วยกันแบ่งเบาภาระตรงนั้น ให้หนักขึ้น เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น แล้วก็อย่างเรื่องของโอกาส คือถ้าเราใจกว้างพอที่เราให้ สมมตินี่คือกรอบโอกาส คนที่จะอยู่ในกรอบ มีแค่ 10 คนที่จะช่วยเหลือเขาให้พ้นจากตรงนี้ได้ ถ้าจะช่วยเหลือให้กว้างขึ้น โอกาสที่กว้างขึ้นมันอาจจะกลายเป็น 20-30 คน
แต่ทีนี้ถ้าตัดโอกาสให้มันแคบลง โอกาสมันมีอยู่ แต่มันก็แคบลง เราก็จะช่วยเหลือคนที่ก้าวพลาดได้น้อยลง การที่เราจะช่วยเหลือเยาวชนที่เขาก้าวพลาดเนี่ย หรือกำลังที่จะมีแนวโน้มที่เสี่ยงผิดพลาดมันก็น้อยลง ทั้งที่คุณจะเอาคนเหล่านั้นมาอบรมให้ สามารถกลับมาเป็นพลังของสังคม กลับมาเป็นบุคลากรที่ดีของสังคมมันก็ตัดโอกาสตรงนั้นไป คือในทางกลับกันคือสิ่งที่คุณทำเหล่านั้น ผลจะกลับมาเอง ถ้าเด็กเหล่มนั้นไม่ได้โอกาส แล้วเขาก้าวข้ามไปเป็นโจร ขโมย มันก็จะเป็นภัยของสังคมอีก แทนที่จะเอาโอกาสตรงนั้นตอนแรกไปเปลี่ยนแปลงเขากับผลักไสเขาไป สุดท้ายเขาก็ต้องกลับมาอีกเพราะเราอยู่ในสังคมเดียวกัน
อันนี้ก็เป็นเรื่องของวิสัยทัศน์แล้วล่ะครับ เราจะไม่บอกว่าดีหรือไม่ดี แต่ในความรู้สึกผม ผมมองว่าโอกาสยังสำคัญเสมอ โดยเฉพาะกับผู้ใหญ่ ซึ่งมีหน้าที่ที่จะให้โอกาสกับเด็ก ผมเชื่อว่ามันยังสำคัญเสมอ เพราะสุดท้าย พอมันถึงเวลา คนเรามันต้องคิดได้ ตื่นขึ้นมาในความเป็นจริง ก็ต้องคิดได้ คำถามคือแล้วคุณจะต่อสู้ชีวิตให้หลุดพ้นอย่างไร มันขึ้นอยู่ว่าใครจะเจอความจริงนั้นเร็วหรือช้า แต่สุดท้ายมันก็ต้องเห็นอยู่ดี
พุฒิ : ผมศึกษาโปรเจกต์นี้มานาน เชื่อว่าคนที่เคยก้าวผิด เรียนผิดมาก่อน เขาจะรู้ เขาจะมีมุมมองที่สามารถย้ำเตือนตัวเอง เหยียบตัวเองว่าสิ่งนี้คือทางผิด แต่ทุกวันนี้เราลองมองคนที่อาจจะไม่เคยทำผิดหรือคิดว่าไม่เคยทำผิด บอกว่าทิ้งขยะลงพื้นไม่ดี แต่ตัวเองยังเขี่ยขี้บุหรี่ลงพื้น เขายังไม่รู้ตัวเองเลยว่าสิ่งที่เขาทำอยู่มันก็ไม่ได้แตกต่างอะไรจากการที่เขาไปว่าเด็ก ตัวเขาบางทียังทำผิดอยู่เลย ฉะนั้น เราไปว่าเด็ก เขาเป็นเด็ก เขายังอายุไม่ถึง 18 ด้วยซ้ำบางคน แต่ตัวเองก็เกิน 30 กันแล้ว อันนี้ผมว่าสังคมควรจะมาแก้ไขบุคคลอย่างนี้มากกว่า
เพราะฉะนั้นเราควรให้การศึกษา เราควรให้การอบรม สอนเขา เราอย่าไปตัดขาดเขา เราอย่าเพิ่งไปตีค่าว่าเขาคือคนผิดที่ไม่ควรให้อภัย ที่ผมจบมาได้ทุกวันนี้ก็เพราะครูสมมาตร สนทมิโน ครูคอยบอกผมตลอด ท่านอบรมมาตลอด ผมไม่เคยฟังพ่อแม่เลย แต่ครูเป็นคนบอกผม ผมมีทุกวันนี้ได้ก็เพราะครู แต่ครูก็จะโดนอาจารย์ท่านอื่นบอกว่าทำไมต้องเอาเราด้วยล่ะ ก็ปล่อยให้โดนออกไปสิ ผมถามว่าถ้าวันนั้นอาจารย์ไม่ดึงผมกลับไปเรียนแล้วผมหลุดไป ออกจากวงโคจร ผมคิดอะไรไม่ออกเลยนะ อนาคตผมจะมีอะไรบ้าง ผมก็จมอยู่ตรงนั้น
สังคมเราอย่ามองว่าคือการไปเพาะพันธุ์คนกลุ่มนี้ที่เป็นบัวใต้น้ำที่ไม่มีทางขึ้นมาบนน้ำได้ อย่าไปคิดอย่างนั้น การที่เราได้ช่วยคนที่ก้าวพลาด บุญกุศลผมไม่รู้ว่ามันมีหรือเปล่า แต่มันถือว่าเป็นการทำให้ช่วยคนได้อีกเยอะ เพราะคนเหล่านี้ ผมก็เลยมีสิ่งที่ผมอยากจะเล่า ประสบการณ์ที่ผมเจอ ผมเลยอยากมาเล่าสอนเด็ก แล้วผมเชื่อว่าคนเหล่านี้จะมาสอนเด็กได้อีกเยอะเลย
สลิม : เหมือนเราขับรถไปบนถนน เราอาจจะหลงทาง มันมีหลายคนที่หลงทาง เพราะเราไม่มีแผนที่กับชีวิต ไม่มีจีพีเอส เรารู้ว่าหลงเราก็ต้องขับต่อ ก็ต้องขับตรงต่อไปเรื่อยๆ แต่ถ้ามันมียูเทิร์นข้างหน้าแล้วเรารู้ว่าเราหลง เราจะยูเทิร์นกลับไปไหม แน่นอนเราเลี้ยว หรือหลายคนอาจจะไปต่อ ไอ้พวกที่ยังขับต่อไปเรื่อยๆ ก็มีอีก มันหมายความว่าอะไร มันคือโอกาส มันรู้แล้วว่าอย่างนี้เป็นอย่างนี้ แต่มันยังมีคนทำให้เราเป็นระยะๆ เขาก็กลับ เราอาจจะไม่สามารถดึงกลับมาได้ทั้งหมด มันอาจจะเป็นไปได้ยาก แต่ถ้าร้อยคนได้มาสัก 10 -20 คน แน่นอนว่ามันเป็นประโยชน์อยู่แล้ว เราจะลดคนที่ไปสร้างความเดือดร้อนให้สังคม ในขณะเดียวกัน เราก็จะเพิ่มพลังทางบวกให้กับคนอีก 20 คน ซึ่งผมมองว่ามันคุ้มค้ากว่า
โอกาสก็ยังเป็นสิ่งที่สำคัญ อย่างบ้านกาญจนาภิเษก คุกที่ไม่มีรั้ว ผมเคยไปทำสารคดีที่นั่น ก็จะมีเยาวชนที่ติดจากคดีหนักๆ แต่กระบวนการที่เขาทำในนั้นทำให้คนเหล่านั้นกลับมาคิดได้ ทำให้คนคิดได้ คือมันขึ้นอยู่กับคนที่สอน อย่างป้ามล ทิชา ณ นคร ป้าเขาเป็นคนที่มีศรัทธาในตัวเด็กมาก ไม่ใช่ความเชื่อ เขามีศรัทธา เขาเชื่อเด็กกลับตัวได้ ทั้งๆ ที่ตัวเด็กบางคนยังไม่เชื่อตัวเอง แต่ถ้ามีคนคนหนึ่งเดินมาบอกว่า เราเชื่อว่าเราเป็นคนดี เราพร้อมจะกลับตัวหรือเปล่า เราทำให้เขารู้สึกว่าคือเพื่อน มีคนที่ให้โอกาส มีคนที่เชื่อในตัวเขาด้วย ผมเชื่อว่าสุดท้ายมนุษย์ก็คือมนุษย์ มนุษย์มันไม่ใช่ปีศาจ แต่คำถามคือคนแบบป้ามน คนที่เชื่อในการกลับตัว มันมีกี่คนในประเทศ
แล้วเราเชื่อมากน้อยแค่ไหนว่าทางแก้และการป้องกันจะสามารถหยุดวงจร นักเรียนนักเลงลงได้
สลิม : เอาง่ายๆ ผมเคยได้ยินคนพูดมาว่า พ่อแม่เวลาที่ลูกต้องการให้สอน ให้คำปรึกษา ไม่สอน ไม่ให้ ไม่อยู่ แต่จะมาสอนตอนลูกไม่ฟังแล้ว คือพ่อแม่อาจจะให้เหตุผลว่าต้องทำงานเลี้ยงดู คุณหาเงินมาเพื่อให้ลูกจริงไหม ถ้าคุณอุทิศตัวมาให้ลูกจริงแล้ว คุณเอาเวลานั้นมาสอนเขาไม่ดีกว่าเหรอ ในช่วงที่เราควรจะสอนเขา
ฉะนั้น ผมก็เห็นด้วยว่าจุดเริ่มต้น ควรเริ่มที่ครอบครัว แล้วก็เรื่องของจริยธรรม คนที่เชื่อในศาสนา ก็ศาสนา คนที่ไม่เชื่อในศาสนาก็เรื่องจรรยาบรรณจริยธรรม ในเรื่องต่างๆ ของความเป็นมนุษย์ก็ตาม สิ่งเหล่านี้มันหายไป เราเห็นคณิตศาสตร์ การชนะ การชิงดีชิงเด่นกัน ดีกว่า อันนี้ก็เป็นปัจจัยหนึ่งด้วย ขอให้ลูกเรียนเก่ง เป็นยังไงก็ได้ไม่เป็นไร มันก็เป็นคำถามกลับไปถามว่า แล้วความเป็นมนุษย์ จริยธรรมต่างๆ สิ่งที่ลูกควรได้จากพ่อแม่มีไหม หรือในทางกลับกันเลย พ่อแม่ ผมก็ไม่ได้ว่า คืออาจจะเป็นเพราะพ่อแม่ไม่มีอะไรดี ที่จะสอนให้ลูกหรือเป็นแบบอย่าง มันก็ต้องกลับมามีคำถามที่พ่อแม่ มันก็ต้องย้อนไปที่ต้นตอจริงๆ
พุฒิ : คิดดูดีๆ การปราบปรามเด็กอาชีวะหรือจะป้องกัน ต่อให้ไม่มีเด็กช่างกลก็ตีกัน วัยรุ่นเด็กอเมริกายังตีกันเลย ทั้งที่ประเทศเขาพัฒนากว่าเราเยอะ เพราะอะไร เพราะมันเกิดจากครอบครัว ปัญหาเกิดจากสิ่งแวดล้อม แล้วก็ครอบครัวเป็นหลัก ความรักความอบอุ่น ความเอาใจใส่ของพ่อแม่ที่มีต่อลูกมากที่สุด คือเด็กเหล่านี้จะรู้สึกว่าไม่มีใครขึ้นมาทันที ถ้าไม่ได้รับความรักความอบอุ่น แล้วเขาก็จะไปหาจุดเด่น ไปหาสิ่งที่เขาคิดว่ามันจะทำให้ได้ความรัก ไปหาสิ่งทดแทนความรักจากพ่อแม่ อีก 10-20 ปี เราไม่มีทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ ถ้าสถาบันครอบครัวเราไม่เข้มแข็ง
ก็อยากให้นายทุนหรือใครสักคนเห็นความสำคัญที่เรากำลังพยายามทำอยู่ แล้วก็อยากได้โอกาสตรงนั้น เพราะทุกชีวิตมีบทเรียน เราอยากจะบอกว่า คนเราอย่าไปตัดสินใคร ถึงแม้เราจะก้าวผิดพลาดมาก่อน หรืออย่างตอนนี้ที่เด็กช่างจะถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ไปสอนใครไม่ได้ ทุกคนมันมีผิดพลาดอยู่แล้ว แม้แต่คนที่เป็นคนเก็บขยะ ยังสอนคนที่เป็นลูกเศรษฐีให้รู้จักความอดทนหรือความเพียรได้เลย แต่เราจะทำอย่างไรให้เขารู้และกลับมา ก้าวพลาดของคนที่ผิด มันสามารถเป็นก้าวที่ถูกของคนที่คิดจะทำผิดในตอนนี้ได้เสมอ
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : วรวิทย์ พานิชนันท์