เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจไม่น้อยสำหรับหนังทุนน้อยเรื่องหนึ่งซึ่งสร้างกระแสได้ดีขนาดนี้ ถึงขั้นที่ใครต่อใครต่างปรบมือให้และเตรียมยกเป็นหนึ่งในหนังไทยเรื่องหนึ่งซึ่งจะดีที่สุดของ พ.ศ.นี้ และนั่นก็เป็นเหตุผลหนักแน่นเพียงพอที่จะทำให้ชื่อของ “อนุชา บุญวรรธนะ” ได้รับการกล่าวถึงอย่างชื่นชมในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ “อนธการ” หนังที่พร้อมจะขึ้นเป็นหนังเกย์ที่ยอดเยี่ยมเรื่องหนึ่งของไทย
โดยพื้นฐานที่มา “อนุชา บุญวรรธนะ” หาใช่คนไกลใครอื่น เพราะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบซีรีส์ยอดฮิตเรื่อง “เพื่อนเฮี้ยนโรงเรียนหลอน” ย่อมเคยผ่านเห็นผลงานของเขามาแล้วในการเป็นผู้กำกับซีรีส์ชุดดังกล่าวในชื่อตอน “คืนสีน้ำเงิน” ซึ่งความดีงามของมันก็ต่อยอดส่งมาสู่การขยับขยายเป็นหนังใหญ่ฉายโรงในชื่อที่จะอยู่ในความทรงจำของคนดูหนังไปอีกนาน “อนธการ” หรือ The Blue Hour

จากเจ้าของผลงานหนังสั้น ‘ตามสายน้ำ’ โปรเจกต์จบการศึกษา ที่คุณภาพดีพอต่อการได้รับรางวัลเทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 8 ของ มูลนิธิหนังไทย เมื่อ พ.ศ. 2547 ต่อยอดชีวิตสู่การทำงานด้านโฆษณา ก่อนขยับมาทำซีรีส์และเคลื่อนที่สู่จอเงิน
นอกจากที่เมืองไทย “อนธการ” ยังได้กระแสตอบรับที่น่าพอใจจากการเดินทางออกไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์ระดับนานาชาติมากกว่าสิบเทศกาล และยังคว้ามาได้สองรางวัลจากเทศกาลหนังนานาชาติแฟนตาเซีย (Fantasia International Film Festival) ที่ประเทศแคนาดา ทั้งหมดนี้ส่งผลให้หนัง “อนธการ” ไม่มืดมนอนธการเหมือนกับชื่อเรื่องหรือเนื้อหาในหนัง
ในวันที่กระแสหนังเกย์เริ่มมีถี่ขึ้นในบ้านเรา
ขณะที่ใครต่อใครเขาว่า หนังเกย์ชอบขายฉากเซ็กซ์
ในขณะที่เรื่อง “เพศทางเลือก” ยังล่องลอยคอยการยอมรับอย่างเต็มที่ ทั้งในแง่กฎหมายและอะไรต่ออะไร
และในขณะที่อนธการยังได้รับเสียงชมอย่างต่อเนื่อง
เราจับเข่าคุยกับอนุชา บุญวรรธนะ ในหลากหลายประเด็น ที่ผูกยึดโยงใยอยู่กับความเป็นไปของหนัง...ไปจนกระทั่งของ “เกย์” และเพศทางเลือก...

• ผลตอบรับและกระแสของหนังเรื่องนี้ โดยรวม เป็นอย่างไรบ้างครับ
ดีกว่าที่คาด ใช้คำนี้เลย เนื่องจากลักษณะหนังมันค่อนข้างจะไม่คุ้นชินกับคนไทยสักเท่าไหร่ เพราะมันเป็นอะไรที่ต้องตีความ ต้องคิด ต้องปะติดปะต่อเรื่องเยอะ และเป็นการควบรวมกันระหว่างความจริงและความฝัน มันทำให้คนดูจะไม่ค่อยเข้าใจทั้งหมด ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่มักจะชอบอะไรที่ตรงไปตรงมา แต่หนังเรื่องนี้มันมีความยอกย้อนอยู่พอสมควร ส่วนกระแสตอบรับดีกว่าที่คาด อาจเป็นเพราะว่าอารมณ์และบรรยากาศของหนังมันดึงให้คนดู ดูตั้งแต่ต้นจนจบไปได้
อันที่จริงก็ไม่ใช่คนไทยอย่างเดียวหรอกที่ไม่คุ้นชิน อย่างต่างประเทศที่ดูหนังแบบนี้ มันก็มีจำนวนจำกัดอยู่เช่นกัน แต่ในเมืองไทย เราก็ไม่รู้ว่ามันโปรโมตแล้วไปตรงจุดหรือเปล่า มันทำให้คนที่มาดูหนังเตรียมใจไว้แล้วว่ามาดูแล้วจะได้เจออะไรอย่างงี้ ทำให้กระแสในแง่ลบไม่ค่อยมี หรือน้อยกว่าที่คิดเยอะ
• เนื้อหาของความรุนแรง ถือเป็นจุดเด่นของหนังเรื่องนี้อย่างที่หลายคนพูดถึงหรือเปล่า
ถ้าเราดูหนัง ตัวละครก็เหมือนกับไม่ได้การยอมรับจากสังคมรอบข้างใช่มั้ย ก็เหมือนเป็นคนชายขอบด้วย ถ้าจะมองในภาพรวม ไม่เฉพาะว่าเป็นเกย์หรืออะไรอย่างเดียว แต่เขามีปัญหาอื่นๆ รุมล้อมอยู่ ทำให้เขาไม่มีที่ยืนในสังคม ซึ่งตัวละครได้ตอบโต้กับสังคมหรือคนรอบข้างด้วยวิธีที่รุนแรง แต่จุดเด่นที่สำคัญ สิ่งที่ทำไป ไม่ได้พิพากษาว่า อันนี้ผิดถูกชั่วดี ใครเป็นคนเลวคนชั่วกันแน่ หนังมันจะเป็น Blue Hour มีความก้ำกึ่งระหว่างความจริงและความฝัน กลางวันกลางคืน ความดีความชั่ว คนดูก็จะตีความไปต่างๆ นานาว่า ฉากนี้เป็นอย่างนี้ หมายถึงว่า ทำไมเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ซึ่งตรงกับจุดมุ่งหมายที่เราต้องการ และไม่คิดว่าจะมีคนพูดถึง หรือถกเถียงกันในลักษณะนี้เยอะขนาดนี้
คืออาจจะเป็นเพราะว่า หนังไทยก็ไม่ได้ทำแนวนี้นานแล้ว ไม่ค่อยได้เห็น มีทำมาแล้วเกิดความคลุมเครือ แล้วแบบยังดูรู้เรื่องว่าอะไรเป็นยังไง แต่มันไม่บอกชัดเจน มันมีความขัดแย้งอะไรบางอย่างอยู่ในซีน ที่คนดูต้องกลับมาคิดว่า ตกลงเรื่องมันเป็นยังไงกันแน่ ก็เลยอาจจะเป็นรสชาติที่แปลก ทำให้คนดูดูแล้วมีส่วนร่วมกับภาพยนตร์มาก

• แตกต่างจากหนังเกย์ยุคก่อนๆ หรือไม่อย่างไร
เราทำตัวละครที่เป็นเกย์ก็จริง แต่เราจะไม่ได้เล่าเรื่องเกย์ไง บางคนอาจจะดูและติดในประเด็นนั้นว่า เกย์จะต้องดูเป็นฆาตกร จะต้องดูแล้วไม่ประสบความสำเร็จ หรือดูแล้วผิดหวังในความรัก แต่เวลาเราทำ ก็ปฎิบัติและกำหนดว่าเป็นแค่มนุษย์คนหนึ่ง และที่สนใจเรื่องนี้ เพราะเราทำได้ดีในสิ่งนี้เท่านั้นเอง ก็เลยมองว่าเป็นนามธรรม แต่ในอีกแง่หนึ่ง ก็ไม่ได้ย้อนไปมาก ถึงแม้ว่าหนังเกย์ในเมืองไทยอาจจะวี้ดว้าย หรือครึกครื้นกันมาก แต่มองอีกด้าน มันก็มีคนที่ถูกกระทำอยู่เยอะ ซึ่งไม่ใช่แค่เพศทางเลือกอย่างเดียว ในสังคมก็มีคนที่ถูกกระทำแบบนี้ เออนี่แหละ มันไม่ยุติธรรม ว่าอะไรเป็นระดับล่าง หรือถูกผลักไปเป็นชายขอบ ซึ่งเราก็นำเสนอตรงนี้ออกมา
เราว่าเราเสนอตัวเองดีกว่า ให้คนดูเขาถกเถียงกันเองว่าจะเป็นยังไง สังคมมันเป็นยังไง หรือว่าปัญหาควรจะแก้ไปทางไหน ทำไมความรุนแรงขนาดนี้จึงเกิดขึ้น ส่วนในเรื่องของความเท่าเทียม เราว่าหนังเกย์ที่ทำมาแล้ว treat เกย์แย่ๆ ไม่ใช่แบบว่าเป็นเกย์แล้วชอกช้ำระกำทรวงนะ แต่จะเป็นแบบเป็นตัวตลก เป็นตัวประหลาด อันนั้นเราไม่เห็นด้วยที่สุด ถ้าจะทำแบบนั้น มันก็มีแง่มุมในมิติเรื่องคาแรกเตอร์นิดหนึ่ง แต่ในเรื่องหนังเกย์ที่ทำแบบนั้น อันนั้นเราไม่เห็นด้วย แต่เรื่องนี้ มันมีความเป็นมนุษย์ มีชั่วมีดี มีสุขมีเศร้าของเขาไป ซึ่งบางคนที่ดูก็รู้สึกว่ารับได้กับจุดนี้ โอเค ถึงแม้ว่าเกย์อาจมีความรักที่จบไม่สวยหรู แต่หนังมันก็มีความเป็นกลางๆ อยู่ ไม่ได้ว่าเกย์จะต้องทุกข์โศกเสมอไป มันก็มีแง่มุมอื่น
• ในสายตาของคุณ มองกลุ่มหนังเพศทางเลือกของไทยในยุคนี้อย่างไรบ้าง
เรามองว่าเมืองไทยพิเศษตรงนี้นะ เพราะปกติเวลาทำหนังเกย์ อย่างอเมริกา หรือตามยุโรป เขาก็ไม่ได้ฉายกันครึกครื้นขนาดนี้ นี่อิงมาจากหลายเรื่องเลยนะ ทั้งหนังของพี่กอล์ฟ (ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ เรื่อง “คืนนั้น”) ถึงแม้จะไม่ได้ฉายทุกโรง แต่ก็เยอะ หรือว่า love love you, พี่ชาย My Hero หรือ yes or no ฉายอย่างครึกครื้นและเปิดเผย ไม่มีกระแสต่อต้านด้วย คนก็ไปดู คือเรามองว่าหนังเพศทางเลือกมีอยู่ในสังคมไทยมานานแล้ว ถ้าแบบสมัยก่อน ก็จะเป็นแนวๆ “สตรีเหล็ก” หรือ “ว้ายบึ้ม เชียร์กระหึ่มโลก” ที่จะเป็นกะเทยอยู่ เพราะสังคมไทยประมาณสิบกว่าปีก่อน เกย์ที่เพิ่งเริ่ม แต่คนจะเข้าใจเพศทางเลือกแค่ว่ากะเทยจะวี้ดว้าย ตลก แต่พอยุคใหม่ๆ ความเป็นเกย์ที่เป็นผู้ชายดูแมนๆ สังคมคุ้นชินมากขึ้น ได้เห็นมากขึ้น ก็เริ่มจะมีเล่าเรื่องของคนเหล่านี้มากขึ้น ทำมาเรื่อยๆ สภาพหนังที่เกี่ยวกับเพศทางเลือกของไทยก็เปลี่ยนไปตามสภาพที่มองเกย์กันว่าเป็นยังไง

• แต่ที่ยังไม่ยอมรับก็มีอยู่
มันมีอยู่ทุกที่แหละ ต่อให้เป็นสังคมที่เปิดกว้าง ก็จะมีคนที่รับไม่ได้กับเรื่องพวกนี้ แต่ว่ามันจะเป็นจำนวนที่น้อยลงไปเรื่อยๆ อยู่ดี อย่างหนังเรื่องนี้ก็มีพูดถึงประเด็นนี้อยู่ ถึงแม้ว่าสังคมโดยรวมอาจจะยอมรับ แต่หากมองลึกๆ แล้ว ก็ยังมีเส้นแบ่งๆ อยู่ว่าไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ อาจจะเพิ่มจากเดิม จาก 30 เป็น 60-70 แต่ความเท่าเทียมก็ยังไม่เต็มร้อย มันก็มีอยู่บ้าง คนที่คิดอย่างนั้น ก็ยังมี
ส่วนเหตุผลก็หลากหลาย เราไม่รู้นะว่าเขาเชื่อยังไง บางคนก็จะเชื่อว่าครอบครัวมันจะต้องสร้างแบบชายจริงหญิงแท้เท่านั้นหรือเปล่า จริงๆ ก็ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน แต่อย่างเมืองนอกที่มีแนวคิดเสรี ก็ยังมีฝ่ายอนุรักษนิยมที่ยังต้านอยู่ แต่แนวโน้มก็คงหยุดไม่ได้ เพราะว่าคนที่คิดแบบนั้น ก็จะน้อยลงไปเรื่อยๆ ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี
• แต่กฏหมายก็ยังไม่ยอมรับ
ใช่ๆ เรื่องกฎหมายก็ยังไม่ยอมรับนะ หมายถึงว่า ไม่ยอมรับในตัวตน ทั้งๆ ที่กฎหมายเขียนอยู่แล้วว่า การเป็นเพศทางเลือกก็ไม่ได้ผิดอะไร ทุกคนจะให้ความเท่าเทียมกัน ถ้ามาเลือกปฎิบัติ แต่ว่ากฎหมายไม่รองรับเรื่องชีวิตคู่ ไม่มี ก็มีเรื่องการผลักดันกันอยู่ ก็คงต้องใช้เวลา แต่กระแสสังคมคงไม่ต่อต้านมาก เพราะว่าสังคมไทยคุ้นชินกับเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว เช่น ข่าวคู่เกย์แต่งงาน กะเทยแต่งงานกับผู้ชาย ก็เริ่มมีแล้ว สังคมก็เริ่มชินแล้วว่าแบบนี้ก็ได้
ถึงแม้ว่าบ้านเราจะเป็นศาสนาพุทธ ซึ่งการเป็นเกย์ก็ไม่ได้เป็นเรื่องผิดบาปอะไร แต่มันอยู่ที่การกระทำมากกว่า แต่อาจจะมีบอกว่า เป็นกรรมมาจากชาติปางไหน เราก็ต้องมองในคัมภีร์พระศาสนาที่ว่า คุณจะเกิดมาเป็นผู้ชายผู้หญิงสูงต่ำดำขาว มันก็เกิดจากกรรมอยู่แล้ว แล้วก็ treat เกือบๆ เท่ากัน ก็โอเค เพียงแต่ว่าอาจจะไม่สามารถไปบวชได้ คือมันเป็นเรื่องของสังคมที่ต้องเข้าใจอยู่ดี พักหลังๆ เรื่องการบวชเขาก็อนุโลมกันมากขึ้น เพราะเหมือนกับสังคมเปิดรับมากขึ้น เพราะต้องมองย้อนไปในยุคสมัก่อนโน้นด้วยว่า พระพุทธเจ้าตรากฎที่เป็นบัณเฑาะว์ห้ามบวช เพราะว่าเหมือนมีคนที่ไปทำไม่ดีแล้วประพฤติตนที่ทำให้คนไม่นับถือ ท่านก็เลยตรากฎนี้ขึ้นมา ไม่ใช่ว่าคนพวกนี้บาปแล้วบวชไม่ได้ตั้งแต่ต้น หรือคนพวกนี้ไม่สามารถบรรลุนิพพานได้ ไม่ใช่ แต่ตราไว้เพราะว่า ป้องกันคนภายนอกที่จะทำไม่ดี แค่นั้นเอง ทีนี้ ถ้าเรามองสังคมว่า ถ้าเท่ากันไปเรื่อยๆ ในที่สุด กฎพวกนี้ก็จะต้องถูกอนุโลมไป อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ก็ไม่ได้เคร่งครัด หรือมีนโยบายออกมา

• ถ้าเปรียบหนังเพศทางเลือกบ้านเรากับที่อื่นๆ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ถ้าเป็นฝั่งโซนยุโรป ประเด็นที่เล่าจะลึกซึ้งกว่า แต่เราว่าหนังเกย์ไทย มันมีสีสันมากกว่า หากให้เทียบระหว่างยุโรปกับเอเชียนี่น้อยมากเลยนะ เพราะไม่เปิด ญี่ปุ่น เกาหลี นี่น้อยมาก แต่ไต้หวันอาจจะมีบ้าง เพราะเปิดกว้างหน่อย จีน เลิกถามเลย อินโดจีน ยังไม่มี ยังสู้ไม่ได้ ซึ่งอาจจะมีผู้กำกับที่เป็นอินดี้อยู่ แต่ยังเห็นไม่ชัด หรือสิงคโปร์ อินโดนีเซียนี่ไม่ แต่ฟิลิปปินส์ก็มีเยอะ ถ้าเป็นแนวนี้ แต่เราว่าหนังบ้านเรามันมีที่หลากหลาย มีหมดเลย กะเทย เกย์สาว เกย์รุก เป็นหนังตลกบ้าง หนังผีบ้าง แฟนตาซีบ้าง แต่ถ้าเทียบสัดส่วน คือเราก็สร้างไม่ได้เยอะเท่าเขา แต่มีความหลากหลายมาก แต่ฝั่งเขาจะเป็นแนวจริงจังดราม่า แต่จะให้แบบแหวกๆ ต่างดาว อวกาศ ก็ไม่มี จะเป็นแบบเล่าเรื่องการยอมรับ
• มาสเตอร์พีซของหนังเกย์สำหรับคุณ มีเรื่องอะไรบ้าง
ก็มีหลายเรื่องนะ ถ้าในความคิดเรา ก็สัตว์ประหลาด หรือ happy together ของ หว่อง กา ไว หรือ Farewell my Concubine แต่มันเยอะมาก อย่าง Stranger by the lake แต่ก็เปรี้ยวสุดไป หรือ the way he look แต่ก็ไม่เท่าไหร่นะ ซึ่งถ้ามาสเตอร์พีซของเรา จะนึกถึงพวกนี้ อย่างหนังเกย์อเมริกัน มี Brokeback Mountain มีเรื่องก่อนๆ อีก ที่เป็นแนวนี้ก็มี แต่เรื่องนี้อาจจะเป็นเพราะว่าใช้ดาราดังเล่น สร้างเป็นรูปแบบใหญ่ แล้วทำได้ละเมียดละไม ผู้ชายพอจะเข้าถึงได้ ก็เลยถูกพูดถึงในวงกว้าง แต่จะจัดได้ว่าเป็นที่สุด ก็คงตอบไม่ได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละคนไป แต่ Brokeback Mountain ก็เป็นเรื่องที่ฉายได้กว้าง ในช่วงเวลานั้นเป็นที่ฮือฮาและได้รางวัลมาเพียบเลย และเพราะว่าได้รางวัลนี่แหละ ผู้ชายเลยไปดู (หัวเราะ) ถ้าไม่ได้รางวัล ไม่ดูหรอก ต่อให้อั้งลี่กำกับ ก็ถือว่าเป็นหนังเกย์ที่คนดูเยอะที่สุดด้วยมั้ง

• บางคนอาจจะมีคำถามว่า แล้วทำไมเวลาปล่อยทีเซอร์ออกมา จะต้องมีฉากเลิฟซีนวาบหวิวเป็นตัวชูโรง ถือว่าเป็นการเรียกคนดูทางอ้อมหรือเปล่า
ก็ยอมรับด้วยส่วนหนึ่ง เพราะเกย์ก็ชอบดูอะไรที่เหมือนผู้ชายผู้หญิงแหละ เวลาทำหนังที่มีความสัมพันธ์ โอเคมันอาจจะมีหนังที่ไม่มีเซ็กซ์เลย อย่าง love love you เขาก็ไม่ได้ขายเซ็กซ์เลย ก็เป็นแนวน่ารักเลย โรแมนติก แต่พอเราทำเรื่องความสัมพันธ์จริงจัง เพราะหนังเกย์ต้องเล่าเรื่องนี้ ไม่ได้ทำหนังเกย์เป็นแอกชัน คือหนังเกย์จะไม่ได้ไปอยู่ในหนังแอกชัน ไซไฟ เพราะฉะนั้น ฉากเลิฟซีนมันก็มีบ้าง เรามองว่าเป็นปกติ
• จริงไหมที่ว่า การทำหนังแบบนี้เป็นการสนองความต้องการของตัวเอง
ผู้กำกับแต่ละคน ทำหนังมาก็ต้องสนองอยู่แล้ว เพราะว่ามันต้องมาจากตัวเอง มันเป็น passion ในเรื่องต่างๆ ทั้งความรัก หรือเรื่องอื่นๆ นั่นแหละ มันเป็นแนวทาง ส่วนสนอง need มั้ย มันก็ต้องสนองในสิ่งที่เราอยากทำ ที่เราอยากเห็น แล้วมันเป็นส่วนสำคัญนะ เพราะอย่างหนังของเรา เวลาที่ไปฉายตามเทศกาลในต่างประเทศ เขาจะดูเป็นพันเรื่อง หนังเราต้อง stand out สิ่งที่เป็นตัวตนของเรา ไม่ใช่เราไปก๊อปงานชาวบ้านมา เพราะฉะนั้น เรื่องตัวตนนี่สำคัญมาก ในการที่จะก้าวไปสู่เวทีนานาชาติ เพราะฉะนั้น การที่จะทำให้ได้ signature นี่ ก็ต้องสนอง need แต่ก็ไม่ใช่สนองแบบหยาบๆ นะ แต่เป็นแบบว่า เราจะทำอะไรออกมาให้มันดี เราชอบอะไร แล้วนำเสนอออกมาให้เป็นศิลปะ นั่นเป็นการสนองนี้ดแบบไปในระดับอินเตอร์ได้

• คือไหนๆ จะทำแล้ว เราก็มีจรรยาบรรณในทางศิลปะ
ใช่ๆ จรรยาบรรณของเราคือ เรื่องไหนที่ไม่ได้เล่า แล้วเราคิดว่าควรจะเล่า หรือเรื่องไหนที่สื่อไม่ได้นำเสนอ อันนี้ที่จะทำในระดับแรก อันดับสอง เราก็ต้องดูว่า เรื่องที่เราจะทำ เราจะเล่าให้ใครฟัง แล้วเราต้องการให้ไปที่คนกลุ่มไหนบ้าง เราก็ต้องทำให้มันเหมาะ อย่างหนังเรา เรื่องนี้ไม่ได้ในวงกว้างเยอะ หรือมันจะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ก็เขาเสนอข่าว แต่ไม่ได้ลงลึกอะไร เราเลือกที่จะทำเรื่องแบบนี้ ให้กับคนที่ไม่มีที่ยืน ตัวต้นปัญหาความรุนแรง ทีนี้ทำแล้ว จะเอาไปให้ใครดู หนังวัยรุ่น ยังไงก็ต้องเป็นวัยรุ่นดูอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้น เราก็ทำในแง่ที่ว่า ให้มันเป็นความจริง ความฝัน ให้มันคลุมเครือ ไม่ได้ทำเพื่อพิพากษา ไม่ได้ตัดสินถูกผิด ให้ดูแล้วโยนคำถามกลับไปที่สังคมดีกว่าว่าเรื่องเป็นยังไง เพื่อให้เขาไปคิด ไม่ใช่โยนหินถามทาง แต่ถามปัญหากลับไป เราโยนไปเลย เรื่องแนวทางที่ว่าคือ เรื่องมันดูรุนแรง แต่วิธีการนำเสนอ มันทำให้ดูไม่รุนแรง มันดูไปในทางตั้งคำถามมากกว่า เพราะข่าวก็ถูกนำเสนออยู่แล้ว ต้องมานั่งคิดไงว่า สาเหตุมันเป็นอะไร ทำไมเป็นแบบนี้
• ในปัจจุบัน เราได้เห็นคนที่เป็นเพศทางเลือกมากขึ้น ตามสังคมรอบตัว คิดว่ามันเป็นเพราะอะไร
อาจจะเป็นเพราะว่าเขาเปิดเผยตัวเองมากขึ้นมั้ง บางคนก็จะบอกว่า เกย์ไม่ได้มีเพิ่มขึ้นหรอก อาจจะมีเท่าเดิม พอสังคมเปิดเผยมากขึ้น เขาก็ไม่จำเป็นที่จะเก็บกดหรือปกปิดแล้ว ก็เปิดเผยตัวมากขึ้น ก็เลยกลายเป็นว่า คนก็เห็นมากขึ้น พอสังคมเปิดกว้าง ก็ไม่จำเป็นต้องมาแอบกันแล้ว มันไม่ใช่เป็นเรื่องน่าอายอีกแล้ว พอคนเปิดมากขึ้น คนนั้นก็เป็น คนนี้ก็เป็น ก็เลยดูเหมือนว่ามีมากขึ้น แต่ตามหลักการก็เท่าเดิมสิ ไม่ใช่โรคติดต่อที่จะแพร่ได้สักหน่อย

• หรือความรักแบบนี้จะเป็นเทรนด์ โดยส่วนตัวคิดว่ายังไง
เราคิดว่าคนเป็นเกย์ ความสัมพันธ์ก็ไปได้ปกตินะในปัจจุบันนี้ ก็มีรักเลิกหรือคบกันยืนยาวปกติ คือบางทีอาจจะเลิกเพราะไปแต่งกับผู้หญิงก็มี แต่อาจจะเลิกเพราะว่าเบื่อ อาจจะดูเหมือนคู่รักเกย์ที่หายากที่รักกันยืนยาวกว่าผู้ชาย อาจเป็นเพราะประชาการเกย์มีน้อย อีกส่วนหนึ่งก็ไม่มีกฎหมายรองรับไง พอไม่มี มันก็ไม่มีความมั่นคงในชีวิตคู่อ่ะ บางคนก็ยังไม่มองเห็นตรงจุดหมายนั้น ไม่เหมือนกับผู้ชายผู้หญิงที่สามารถอยู่ด้วยกันและดูแลกันแล้วมีกฎหมายรองรับด้วย อย่างเราก็จะเห็นแบบว่า ถ้าเกิดอีกฝ่ายตาย สมบัติก็จะอยู่กับอีกฝ่าย สิ่งเหล่านี้ เราว่าอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกย์คบง่ายและเลิกง่าย และการที่ไม่มีพันธะเรื่องของลูกด้วย เพราะบางคนคู่สามี-ภรรยา ไม่หย่ากันก็เพราะลูกนะ ความสัมพันธ์อาจจะไม่ดีแล้วก็ได้ อยู่กันเพราะลูก แต่สำหรับเกย์การไม่มีลูก การดำเนินชีวิตก็ไม่มีปัญหา แต่อาจจะเลิกได้ง่ายหน่อย แต่ว่าความสัมพันธ์อาจจะเหมือนกับชายหญิงทั่วไป มีสุขทุกข์ทั่วไป
• คุณผ่านการเติบโต ในภาวะที่เป็นยังไงบ้าง หมายถึงว่า เคยมีเพื่อนแกล้งมั้ย
น้อยมาก แต่ก็มีผู้ชายมาแกล้งบ้าง แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะสุดท้ายพวกเขาก็ต้องมาศิโรราบให้ เนื่องจากเราเป็นคนเรียนเก่ง เพราะฉะนั้น คนเรียนเก่งก็ถูกปกป้องอยู่แล้ว แล้วเราก็สามารถให้ประโยชน์กับเขาได้ไง เช่น เพื่อนผู้ชายจะให้เราติวให้ ซึ่งข้อนั้นก็ทำให้เรามีเพื่อนผู้ชายเยอะนะ เพื่อนเกย์น้อย อาจเป็นเพราะว่าเราเข้ากันได้ด้วย ก็เลยไม่ค่อยมีปัญหาอะไร

• สังคมเกย์ยุคที่คุณยังเป็นวัยรุ่น เป็นยังไงบ้าง
ยังมีไม่เยอะ เพราะสมัยเรียนมัธยม การที่เป็นผู้ชายแล้วเราลองมาคบกัน เดินจูงมือกันนั้น ไม่มีอยู่ในหัวเด็กในสมัยนั้นเลย เป็นไปไม่ได้ ถ้าเป็นกะเทยก็เป็นไป แต่ก็มีประปรายอยู่บ้าง มีเรียกผู้ปกครองมาพบว่าเราเบี่ยงเบนนะ ก็จะมีอยู่บ้างแต่ไม่เยอะ แต่การที่จะคิดถึงขั้นว่าคบกันเป็นแฟน เป็นที่เปิดเผยกัน ยังไม่เกิดขึ้น มันเพิ่งมีในยุคหลังๆ นี่เอง มีค่านิยมที่คบกันเป็นแฟนเปิดเผย แม้กระทั่งช่วงมหา’ลัย การที่จะมาคบกันเป็นแฟน ก็น้อยคู่ หรือมี แต่ก็ไม่เปิดเผยแบบครึกครื้น ไม่ได้แบบว่าว้ายกรี๊ด จะเป็นแค่ซุบซิบกันมากกว่า อยู่ในขั้นเรียบร้อย
คนที่เป็นสภาวะแบบเดียวกัน จะไม่เปิดเผยเลย สมัยก่อนจะมีอีแอบเยอะนะ แต่ปัจจุบันนี่ไม่ค่อยแล้ว น้อยลง เดี๋ยวนี้จะเป็นแบบไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นเพศไหนมากกว่า สมัยก่อนจะเป็นอีแอบเลย แต่จะเป็น 2 แบบ คืออีแอบกับเพื่อนกะเทยที่ได้ผัวฝรั่งก็มี ก็เปิดเผยเฮฮาไป ไม่แคร์ แต่เดี๋ยวนี้ การปกปิดก็แทบจะไม่มีแล้วล่ะ ถ้าไม่เกิดความกดดันจากสังคมรอบข้างจริงๆ ก็จะไม่เกิดเหตุการณ์แบบนั้น
• จากการที่เราเรียนดี กิจกรรมเด่น ถือว่าเป็นเกราะให้กับเรามั้ย ในช่วงเวลานั้น
ตอนเด็กก็ไม่ได้คิดหรอกว่าเป็นเกราะมั้ย แต่รู้สึกว่า เพื่อนผู้ชายก็ไม่ได้อะไรกับเรามาก เพราะเราอาจจะอยู่ในห้องเด็กเก่งด้วยมั้ง แวดล้อมอยู่ในห้องเด็กเรียนไง ก็จะไม่มีแบบทะโมนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นค่อนข้างที่จะอยู่ในสังคมที่เป็นเด็กเรียบร้อย เด็กเรียน แต่เราก็เห็นคนอื่นอยู่ในกลุ่มก้อนของเขา ซึ่งผู้ชายก็ไม่ได้อะไรไง แต่ก็ไม่ได้ถึงขั้นแกล้งหรือล้อเลียนอะไร เพราะการกระทำแบบนั้นมันอยู่ในขั้นน้อยแล้วนะ อาจจะมีบ้าง แต่ก็ไม่ได้เป็นส่วนใหญ่ แล้วไม่ได้ถูกยอมรับไปเรื่อยๆ แต่ถ้าก่อนหน้านั้นก็อาจจะมี เพราะสังคมมันเปิดขึ้นเรื่อยๆ พอเปิดแล้ว หนังก็มีออกมา คนก็เห็น แล้วแบบไม่เห็นเป็นไรเลยนี่ การเป็นแบบนี้ก็ทำประโยชน์ได้ ก็ยังใช้ชีวิตปกติได้ คนก็โอเคมากขึ้น แต่ถ้าคนที่เปิดในก่อนหน้านี้ อาจจะถูกแกล้ง แต่เราจะไม่ค่อยเจอแบบหนักๆ แกล้งมา กูสู้กลับ (หัวเราะ)

• นอกจากการเปิดกว้าง คุณมองอนาคตข้างหน้าของกลุ่มเพศทางเลือกนี้อย่างไร
ต่อไป เป็นเรื่องในทางกฎหมายแล้วล่ะ อันนั้นแหละสำคัญ เป็นรากฐานที่ทำให้เกิดความยุติธรรมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างเป็นทางการ คือบ้านเรายอมรับ แต่ไม่สมบูรณ์ มันยังมีเส้นบางๆ อยู่ เช่น เวลาสัมภาษณ์งาน คนหนึ่งเป็นผู้ชาย คนหนึ่งเป็นตุ๊ด อาจจะเลือกผู้ชาย แต่อันนั้นก็ว่าไม่ได้ มันเป็นเรื่องที่ค่อยๆ ปรับ แต่เราว่าตอนนี้ก็แนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ ก็มีเทศกาลหนังเกย์ มีสงกรานต์ที่แบบถล่มทลายเลย มากกว่าเมืองนอกอีก สงกรานต์สีลมนี่แหละ ทุกคนก็รู้อยู่แล้วว่า มีเมื่อไหร่ นั่นแหละเต็มที่ เป็นอีกเทศกาลหนึ่งของโลก แต่ไม่ทางการซะทีเดียว ซึ่งเรามองว่าบางทีก็ไม่จำเป็นต้องทางการหรอก ก็ธรรมดา แล้วแต่ แต่กฎหมายชีวิตคู่ น่าจะมีรองรับ เพราะว่าทำให้เกิดความเท่าเทียมยอมรับขึ้นมา
• คิดว่าอะไรที่ทำให้เรายืนหยัดในความเป็นตัวเราได้
มันเป็นส่วนตัวของเรามากว่า ถ้าเราทำเรื่องที่ไม่ใช่สไตล์เรา มักจะไม่สำเร็จ เพราะเราตั้งใจทำงาน หมายความว่าถ้าเราตั้งใจทำงาน แล้วเราไม่ได้มีอะไรที่เราชอบอยู่ มันต้องใช้ระยะเวลายาวแบบ 5 เดือน 3 เดือน ทำเรื่องหนึ่ง มันทำไม่ไหว เพราะไม่สำเร็จ การทำหนังเรื่องหนึ่ง เราต้องใช้เรี่ยวแรงเยอะ มันต้องเป็นสิ่งที่เราชอบและเชื่อเท่านั้น เชื่อในความเชื่อของตัวเอง มันจะทำให้งานออกมาดี เชื่อมั่นในเรื่องที่อยากบอกเล่า ในสไตล์ของเรา ต้องชัดเจนในตัวเองว่าอะไรที่เราชอบไม่ชอบ อะไรทำแล้วไม่ได้ดี รอเวลาดีกว่าเพื่อจะได้ทำในสิ่งที่เราคิดว่าทำได้
พยายามหาอะไรที่เชื่อมกับสิ่งที่เราชอบ เพราะเราทำโฆษณามา แต่เวลาที่เราสร้างหนังที่เป็นตัวตนเรามาได้ มันต้องมีความชัดเจน เด็ดขาด และเด็ดเดี่ยวพอสมควร ก่อนหน้านี้ก็มีคนชวนไปทำนะ ถ้าเราจะทำ ก็ได้ แต่อาจจะทำไม่ดี ซึ่งมันอาจจะติดตัวเราไป และสุดท้าย มีความรับผิดชอบในผลงาน เพราะว่างานมันออกไปแล้วก็จะติดตัวเราไปตลอด ดังนั้น เราขอทำในแบบของเราดีกว่า
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : สันติ เต๊ะเปีย
โดยพื้นฐานที่มา “อนุชา บุญวรรธนะ” หาใช่คนไกลใครอื่น เพราะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบซีรีส์ยอดฮิตเรื่อง “เพื่อนเฮี้ยนโรงเรียนหลอน” ย่อมเคยผ่านเห็นผลงานของเขามาแล้วในการเป็นผู้กำกับซีรีส์ชุดดังกล่าวในชื่อตอน “คืนสีน้ำเงิน” ซึ่งความดีงามของมันก็ต่อยอดส่งมาสู่การขยับขยายเป็นหนังใหญ่ฉายโรงในชื่อที่จะอยู่ในความทรงจำของคนดูหนังไปอีกนาน “อนธการ” หรือ The Blue Hour
จากเจ้าของผลงานหนังสั้น ‘ตามสายน้ำ’ โปรเจกต์จบการศึกษา ที่คุณภาพดีพอต่อการได้รับรางวัลเทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 8 ของ มูลนิธิหนังไทย เมื่อ พ.ศ. 2547 ต่อยอดชีวิตสู่การทำงานด้านโฆษณา ก่อนขยับมาทำซีรีส์และเคลื่อนที่สู่จอเงิน
นอกจากที่เมืองไทย “อนธการ” ยังได้กระแสตอบรับที่น่าพอใจจากการเดินทางออกไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์ระดับนานาชาติมากกว่าสิบเทศกาล และยังคว้ามาได้สองรางวัลจากเทศกาลหนังนานาชาติแฟนตาเซีย (Fantasia International Film Festival) ที่ประเทศแคนาดา ทั้งหมดนี้ส่งผลให้หนัง “อนธการ” ไม่มืดมนอนธการเหมือนกับชื่อเรื่องหรือเนื้อหาในหนัง
ในวันที่กระแสหนังเกย์เริ่มมีถี่ขึ้นในบ้านเรา
ขณะที่ใครต่อใครเขาว่า หนังเกย์ชอบขายฉากเซ็กซ์
ในขณะที่เรื่อง “เพศทางเลือก” ยังล่องลอยคอยการยอมรับอย่างเต็มที่ ทั้งในแง่กฎหมายและอะไรต่ออะไร
และในขณะที่อนธการยังได้รับเสียงชมอย่างต่อเนื่อง
เราจับเข่าคุยกับอนุชา บุญวรรธนะ ในหลากหลายประเด็น ที่ผูกยึดโยงใยอยู่กับความเป็นไปของหนัง...ไปจนกระทั่งของ “เกย์” และเพศทางเลือก...
• ผลตอบรับและกระแสของหนังเรื่องนี้ โดยรวม เป็นอย่างไรบ้างครับ
ดีกว่าที่คาด ใช้คำนี้เลย เนื่องจากลักษณะหนังมันค่อนข้างจะไม่คุ้นชินกับคนไทยสักเท่าไหร่ เพราะมันเป็นอะไรที่ต้องตีความ ต้องคิด ต้องปะติดปะต่อเรื่องเยอะ และเป็นการควบรวมกันระหว่างความจริงและความฝัน มันทำให้คนดูจะไม่ค่อยเข้าใจทั้งหมด ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่มักจะชอบอะไรที่ตรงไปตรงมา แต่หนังเรื่องนี้มันมีความยอกย้อนอยู่พอสมควร ส่วนกระแสตอบรับดีกว่าที่คาด อาจเป็นเพราะว่าอารมณ์และบรรยากาศของหนังมันดึงให้คนดู ดูตั้งแต่ต้นจนจบไปได้
อันที่จริงก็ไม่ใช่คนไทยอย่างเดียวหรอกที่ไม่คุ้นชิน อย่างต่างประเทศที่ดูหนังแบบนี้ มันก็มีจำนวนจำกัดอยู่เช่นกัน แต่ในเมืองไทย เราก็ไม่รู้ว่ามันโปรโมตแล้วไปตรงจุดหรือเปล่า มันทำให้คนที่มาดูหนังเตรียมใจไว้แล้วว่ามาดูแล้วจะได้เจออะไรอย่างงี้ ทำให้กระแสในแง่ลบไม่ค่อยมี หรือน้อยกว่าที่คิดเยอะ
• เนื้อหาของความรุนแรง ถือเป็นจุดเด่นของหนังเรื่องนี้อย่างที่หลายคนพูดถึงหรือเปล่า
ถ้าเราดูหนัง ตัวละครก็เหมือนกับไม่ได้การยอมรับจากสังคมรอบข้างใช่มั้ย ก็เหมือนเป็นคนชายขอบด้วย ถ้าจะมองในภาพรวม ไม่เฉพาะว่าเป็นเกย์หรืออะไรอย่างเดียว แต่เขามีปัญหาอื่นๆ รุมล้อมอยู่ ทำให้เขาไม่มีที่ยืนในสังคม ซึ่งตัวละครได้ตอบโต้กับสังคมหรือคนรอบข้างด้วยวิธีที่รุนแรง แต่จุดเด่นที่สำคัญ สิ่งที่ทำไป ไม่ได้พิพากษาว่า อันนี้ผิดถูกชั่วดี ใครเป็นคนเลวคนชั่วกันแน่ หนังมันจะเป็น Blue Hour มีความก้ำกึ่งระหว่างความจริงและความฝัน กลางวันกลางคืน ความดีความชั่ว คนดูก็จะตีความไปต่างๆ นานาว่า ฉากนี้เป็นอย่างนี้ หมายถึงว่า ทำไมเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ซึ่งตรงกับจุดมุ่งหมายที่เราต้องการ และไม่คิดว่าจะมีคนพูดถึง หรือถกเถียงกันในลักษณะนี้เยอะขนาดนี้
คืออาจจะเป็นเพราะว่า หนังไทยก็ไม่ได้ทำแนวนี้นานแล้ว ไม่ค่อยได้เห็น มีทำมาแล้วเกิดความคลุมเครือ แล้วแบบยังดูรู้เรื่องว่าอะไรเป็นยังไง แต่มันไม่บอกชัดเจน มันมีความขัดแย้งอะไรบางอย่างอยู่ในซีน ที่คนดูต้องกลับมาคิดว่า ตกลงเรื่องมันเป็นยังไงกันแน่ ก็เลยอาจจะเป็นรสชาติที่แปลก ทำให้คนดูดูแล้วมีส่วนร่วมกับภาพยนตร์มาก
• แตกต่างจากหนังเกย์ยุคก่อนๆ หรือไม่อย่างไร
เราทำตัวละครที่เป็นเกย์ก็จริง แต่เราจะไม่ได้เล่าเรื่องเกย์ไง บางคนอาจจะดูและติดในประเด็นนั้นว่า เกย์จะต้องดูเป็นฆาตกร จะต้องดูแล้วไม่ประสบความสำเร็จ หรือดูแล้วผิดหวังในความรัก แต่เวลาเราทำ ก็ปฎิบัติและกำหนดว่าเป็นแค่มนุษย์คนหนึ่ง และที่สนใจเรื่องนี้ เพราะเราทำได้ดีในสิ่งนี้เท่านั้นเอง ก็เลยมองว่าเป็นนามธรรม แต่ในอีกแง่หนึ่ง ก็ไม่ได้ย้อนไปมาก ถึงแม้ว่าหนังเกย์ในเมืองไทยอาจจะวี้ดว้าย หรือครึกครื้นกันมาก แต่มองอีกด้าน มันก็มีคนที่ถูกกระทำอยู่เยอะ ซึ่งไม่ใช่แค่เพศทางเลือกอย่างเดียว ในสังคมก็มีคนที่ถูกกระทำแบบนี้ เออนี่แหละ มันไม่ยุติธรรม ว่าอะไรเป็นระดับล่าง หรือถูกผลักไปเป็นชายขอบ ซึ่งเราก็นำเสนอตรงนี้ออกมา
เราว่าเราเสนอตัวเองดีกว่า ให้คนดูเขาถกเถียงกันเองว่าจะเป็นยังไง สังคมมันเป็นยังไง หรือว่าปัญหาควรจะแก้ไปทางไหน ทำไมความรุนแรงขนาดนี้จึงเกิดขึ้น ส่วนในเรื่องของความเท่าเทียม เราว่าหนังเกย์ที่ทำมาแล้ว treat เกย์แย่ๆ ไม่ใช่แบบว่าเป็นเกย์แล้วชอกช้ำระกำทรวงนะ แต่จะเป็นแบบเป็นตัวตลก เป็นตัวประหลาด อันนั้นเราไม่เห็นด้วยที่สุด ถ้าจะทำแบบนั้น มันก็มีแง่มุมในมิติเรื่องคาแรกเตอร์นิดหนึ่ง แต่ในเรื่องหนังเกย์ที่ทำแบบนั้น อันนั้นเราไม่เห็นด้วย แต่เรื่องนี้ มันมีความเป็นมนุษย์ มีชั่วมีดี มีสุขมีเศร้าของเขาไป ซึ่งบางคนที่ดูก็รู้สึกว่ารับได้กับจุดนี้ โอเค ถึงแม้ว่าเกย์อาจมีความรักที่จบไม่สวยหรู แต่หนังมันก็มีความเป็นกลางๆ อยู่ ไม่ได้ว่าเกย์จะต้องทุกข์โศกเสมอไป มันก็มีแง่มุมอื่น
• ในสายตาของคุณ มองกลุ่มหนังเพศทางเลือกของไทยในยุคนี้อย่างไรบ้าง
เรามองว่าเมืองไทยพิเศษตรงนี้นะ เพราะปกติเวลาทำหนังเกย์ อย่างอเมริกา หรือตามยุโรป เขาก็ไม่ได้ฉายกันครึกครื้นขนาดนี้ นี่อิงมาจากหลายเรื่องเลยนะ ทั้งหนังของพี่กอล์ฟ (ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ เรื่อง “คืนนั้น”) ถึงแม้จะไม่ได้ฉายทุกโรง แต่ก็เยอะ หรือว่า love love you, พี่ชาย My Hero หรือ yes or no ฉายอย่างครึกครื้นและเปิดเผย ไม่มีกระแสต่อต้านด้วย คนก็ไปดู คือเรามองว่าหนังเพศทางเลือกมีอยู่ในสังคมไทยมานานแล้ว ถ้าแบบสมัยก่อน ก็จะเป็นแนวๆ “สตรีเหล็ก” หรือ “ว้ายบึ้ม เชียร์กระหึ่มโลก” ที่จะเป็นกะเทยอยู่ เพราะสังคมไทยประมาณสิบกว่าปีก่อน เกย์ที่เพิ่งเริ่ม แต่คนจะเข้าใจเพศทางเลือกแค่ว่ากะเทยจะวี้ดว้าย ตลก แต่พอยุคใหม่ๆ ความเป็นเกย์ที่เป็นผู้ชายดูแมนๆ สังคมคุ้นชินมากขึ้น ได้เห็นมากขึ้น ก็เริ่มจะมีเล่าเรื่องของคนเหล่านี้มากขึ้น ทำมาเรื่อยๆ สภาพหนังที่เกี่ยวกับเพศทางเลือกของไทยก็เปลี่ยนไปตามสภาพที่มองเกย์กันว่าเป็นยังไง
• แต่ที่ยังไม่ยอมรับก็มีอยู่
มันมีอยู่ทุกที่แหละ ต่อให้เป็นสังคมที่เปิดกว้าง ก็จะมีคนที่รับไม่ได้กับเรื่องพวกนี้ แต่ว่ามันจะเป็นจำนวนที่น้อยลงไปเรื่อยๆ อยู่ดี อย่างหนังเรื่องนี้ก็มีพูดถึงประเด็นนี้อยู่ ถึงแม้ว่าสังคมโดยรวมอาจจะยอมรับ แต่หากมองลึกๆ แล้ว ก็ยังมีเส้นแบ่งๆ อยู่ว่าไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ อาจจะเพิ่มจากเดิม จาก 30 เป็น 60-70 แต่ความเท่าเทียมก็ยังไม่เต็มร้อย มันก็มีอยู่บ้าง คนที่คิดอย่างนั้น ก็ยังมี
ส่วนเหตุผลก็หลากหลาย เราไม่รู้นะว่าเขาเชื่อยังไง บางคนก็จะเชื่อว่าครอบครัวมันจะต้องสร้างแบบชายจริงหญิงแท้เท่านั้นหรือเปล่า จริงๆ ก็ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน แต่อย่างเมืองนอกที่มีแนวคิดเสรี ก็ยังมีฝ่ายอนุรักษนิยมที่ยังต้านอยู่ แต่แนวโน้มก็คงหยุดไม่ได้ เพราะว่าคนที่คิดแบบนั้น ก็จะน้อยลงไปเรื่อยๆ ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี
• แต่กฏหมายก็ยังไม่ยอมรับ
ใช่ๆ เรื่องกฎหมายก็ยังไม่ยอมรับนะ หมายถึงว่า ไม่ยอมรับในตัวตน ทั้งๆ ที่กฎหมายเขียนอยู่แล้วว่า การเป็นเพศทางเลือกก็ไม่ได้ผิดอะไร ทุกคนจะให้ความเท่าเทียมกัน ถ้ามาเลือกปฎิบัติ แต่ว่ากฎหมายไม่รองรับเรื่องชีวิตคู่ ไม่มี ก็มีเรื่องการผลักดันกันอยู่ ก็คงต้องใช้เวลา แต่กระแสสังคมคงไม่ต่อต้านมาก เพราะว่าสังคมไทยคุ้นชินกับเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว เช่น ข่าวคู่เกย์แต่งงาน กะเทยแต่งงานกับผู้ชาย ก็เริ่มมีแล้ว สังคมก็เริ่มชินแล้วว่าแบบนี้ก็ได้
ถึงแม้ว่าบ้านเราจะเป็นศาสนาพุทธ ซึ่งการเป็นเกย์ก็ไม่ได้เป็นเรื่องผิดบาปอะไร แต่มันอยู่ที่การกระทำมากกว่า แต่อาจจะมีบอกว่า เป็นกรรมมาจากชาติปางไหน เราก็ต้องมองในคัมภีร์พระศาสนาที่ว่า คุณจะเกิดมาเป็นผู้ชายผู้หญิงสูงต่ำดำขาว มันก็เกิดจากกรรมอยู่แล้ว แล้วก็ treat เกือบๆ เท่ากัน ก็โอเค เพียงแต่ว่าอาจจะไม่สามารถไปบวชได้ คือมันเป็นเรื่องของสังคมที่ต้องเข้าใจอยู่ดี พักหลังๆ เรื่องการบวชเขาก็อนุโลมกันมากขึ้น เพราะเหมือนกับสังคมเปิดรับมากขึ้น เพราะต้องมองย้อนไปในยุคสมัก่อนโน้นด้วยว่า พระพุทธเจ้าตรากฎที่เป็นบัณเฑาะว์ห้ามบวช เพราะว่าเหมือนมีคนที่ไปทำไม่ดีแล้วประพฤติตนที่ทำให้คนไม่นับถือ ท่านก็เลยตรากฎนี้ขึ้นมา ไม่ใช่ว่าคนพวกนี้บาปแล้วบวชไม่ได้ตั้งแต่ต้น หรือคนพวกนี้ไม่สามารถบรรลุนิพพานได้ ไม่ใช่ แต่ตราไว้เพราะว่า ป้องกันคนภายนอกที่จะทำไม่ดี แค่นั้นเอง ทีนี้ ถ้าเรามองสังคมว่า ถ้าเท่ากันไปเรื่อยๆ ในที่สุด กฎพวกนี้ก็จะต้องถูกอนุโลมไป อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ก็ไม่ได้เคร่งครัด หรือมีนโยบายออกมา
• ถ้าเปรียบหนังเพศทางเลือกบ้านเรากับที่อื่นๆ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ถ้าเป็นฝั่งโซนยุโรป ประเด็นที่เล่าจะลึกซึ้งกว่า แต่เราว่าหนังเกย์ไทย มันมีสีสันมากกว่า หากให้เทียบระหว่างยุโรปกับเอเชียนี่น้อยมากเลยนะ เพราะไม่เปิด ญี่ปุ่น เกาหลี นี่น้อยมาก แต่ไต้หวันอาจจะมีบ้าง เพราะเปิดกว้างหน่อย จีน เลิกถามเลย อินโดจีน ยังไม่มี ยังสู้ไม่ได้ ซึ่งอาจจะมีผู้กำกับที่เป็นอินดี้อยู่ แต่ยังเห็นไม่ชัด หรือสิงคโปร์ อินโดนีเซียนี่ไม่ แต่ฟิลิปปินส์ก็มีเยอะ ถ้าเป็นแนวนี้ แต่เราว่าหนังบ้านเรามันมีที่หลากหลาย มีหมดเลย กะเทย เกย์สาว เกย์รุก เป็นหนังตลกบ้าง หนังผีบ้าง แฟนตาซีบ้าง แต่ถ้าเทียบสัดส่วน คือเราก็สร้างไม่ได้เยอะเท่าเขา แต่มีความหลากหลายมาก แต่ฝั่งเขาจะเป็นแนวจริงจังดราม่า แต่จะให้แบบแหวกๆ ต่างดาว อวกาศ ก็ไม่มี จะเป็นแบบเล่าเรื่องการยอมรับ
• มาสเตอร์พีซของหนังเกย์สำหรับคุณ มีเรื่องอะไรบ้าง
ก็มีหลายเรื่องนะ ถ้าในความคิดเรา ก็สัตว์ประหลาด หรือ happy together ของ หว่อง กา ไว หรือ Farewell my Concubine แต่มันเยอะมาก อย่าง Stranger by the lake แต่ก็เปรี้ยวสุดไป หรือ the way he look แต่ก็ไม่เท่าไหร่นะ ซึ่งถ้ามาสเตอร์พีซของเรา จะนึกถึงพวกนี้ อย่างหนังเกย์อเมริกัน มี Brokeback Mountain มีเรื่องก่อนๆ อีก ที่เป็นแนวนี้ก็มี แต่เรื่องนี้อาจจะเป็นเพราะว่าใช้ดาราดังเล่น สร้างเป็นรูปแบบใหญ่ แล้วทำได้ละเมียดละไม ผู้ชายพอจะเข้าถึงได้ ก็เลยถูกพูดถึงในวงกว้าง แต่จะจัดได้ว่าเป็นที่สุด ก็คงตอบไม่ได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละคนไป แต่ Brokeback Mountain ก็เป็นเรื่องที่ฉายได้กว้าง ในช่วงเวลานั้นเป็นที่ฮือฮาและได้รางวัลมาเพียบเลย และเพราะว่าได้รางวัลนี่แหละ ผู้ชายเลยไปดู (หัวเราะ) ถ้าไม่ได้รางวัล ไม่ดูหรอก ต่อให้อั้งลี่กำกับ ก็ถือว่าเป็นหนังเกย์ที่คนดูเยอะที่สุดด้วยมั้ง
• บางคนอาจจะมีคำถามว่า แล้วทำไมเวลาปล่อยทีเซอร์ออกมา จะต้องมีฉากเลิฟซีนวาบหวิวเป็นตัวชูโรง ถือว่าเป็นการเรียกคนดูทางอ้อมหรือเปล่า
ก็ยอมรับด้วยส่วนหนึ่ง เพราะเกย์ก็ชอบดูอะไรที่เหมือนผู้ชายผู้หญิงแหละ เวลาทำหนังที่มีความสัมพันธ์ โอเคมันอาจจะมีหนังที่ไม่มีเซ็กซ์เลย อย่าง love love you เขาก็ไม่ได้ขายเซ็กซ์เลย ก็เป็นแนวน่ารักเลย โรแมนติก แต่พอเราทำเรื่องความสัมพันธ์จริงจัง เพราะหนังเกย์ต้องเล่าเรื่องนี้ ไม่ได้ทำหนังเกย์เป็นแอกชัน คือหนังเกย์จะไม่ได้ไปอยู่ในหนังแอกชัน ไซไฟ เพราะฉะนั้น ฉากเลิฟซีนมันก็มีบ้าง เรามองว่าเป็นปกติ
• จริงไหมที่ว่า การทำหนังแบบนี้เป็นการสนองความต้องการของตัวเอง
ผู้กำกับแต่ละคน ทำหนังมาก็ต้องสนองอยู่แล้ว เพราะว่ามันต้องมาจากตัวเอง มันเป็น passion ในเรื่องต่างๆ ทั้งความรัก หรือเรื่องอื่นๆ นั่นแหละ มันเป็นแนวทาง ส่วนสนอง need มั้ย มันก็ต้องสนองในสิ่งที่เราอยากทำ ที่เราอยากเห็น แล้วมันเป็นส่วนสำคัญนะ เพราะอย่างหนังของเรา เวลาที่ไปฉายตามเทศกาลในต่างประเทศ เขาจะดูเป็นพันเรื่อง หนังเราต้อง stand out สิ่งที่เป็นตัวตนของเรา ไม่ใช่เราไปก๊อปงานชาวบ้านมา เพราะฉะนั้น เรื่องตัวตนนี่สำคัญมาก ในการที่จะก้าวไปสู่เวทีนานาชาติ เพราะฉะนั้น การที่จะทำให้ได้ signature นี่ ก็ต้องสนอง need แต่ก็ไม่ใช่สนองแบบหยาบๆ นะ แต่เป็นแบบว่า เราจะทำอะไรออกมาให้มันดี เราชอบอะไร แล้วนำเสนอออกมาให้เป็นศิลปะ นั่นเป็นการสนองนี้ดแบบไปในระดับอินเตอร์ได้
• คือไหนๆ จะทำแล้ว เราก็มีจรรยาบรรณในทางศิลปะ
ใช่ๆ จรรยาบรรณของเราคือ เรื่องไหนที่ไม่ได้เล่า แล้วเราคิดว่าควรจะเล่า หรือเรื่องไหนที่สื่อไม่ได้นำเสนอ อันนี้ที่จะทำในระดับแรก อันดับสอง เราก็ต้องดูว่า เรื่องที่เราจะทำ เราจะเล่าให้ใครฟัง แล้วเราต้องการให้ไปที่คนกลุ่มไหนบ้าง เราก็ต้องทำให้มันเหมาะ อย่างหนังเรา เรื่องนี้ไม่ได้ในวงกว้างเยอะ หรือมันจะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ก็เขาเสนอข่าว แต่ไม่ได้ลงลึกอะไร เราเลือกที่จะทำเรื่องแบบนี้ ให้กับคนที่ไม่มีที่ยืน ตัวต้นปัญหาความรุนแรง ทีนี้ทำแล้ว จะเอาไปให้ใครดู หนังวัยรุ่น ยังไงก็ต้องเป็นวัยรุ่นดูอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้น เราก็ทำในแง่ที่ว่า ให้มันเป็นความจริง ความฝัน ให้มันคลุมเครือ ไม่ได้ทำเพื่อพิพากษา ไม่ได้ตัดสินถูกผิด ให้ดูแล้วโยนคำถามกลับไปที่สังคมดีกว่าว่าเรื่องเป็นยังไง เพื่อให้เขาไปคิด ไม่ใช่โยนหินถามทาง แต่ถามปัญหากลับไป เราโยนไปเลย เรื่องแนวทางที่ว่าคือ เรื่องมันดูรุนแรง แต่วิธีการนำเสนอ มันทำให้ดูไม่รุนแรง มันดูไปในทางตั้งคำถามมากกว่า เพราะข่าวก็ถูกนำเสนออยู่แล้ว ต้องมานั่งคิดไงว่า สาเหตุมันเป็นอะไร ทำไมเป็นแบบนี้
• ในปัจจุบัน เราได้เห็นคนที่เป็นเพศทางเลือกมากขึ้น ตามสังคมรอบตัว คิดว่ามันเป็นเพราะอะไร
อาจจะเป็นเพราะว่าเขาเปิดเผยตัวเองมากขึ้นมั้ง บางคนก็จะบอกว่า เกย์ไม่ได้มีเพิ่มขึ้นหรอก อาจจะมีเท่าเดิม พอสังคมเปิดเผยมากขึ้น เขาก็ไม่จำเป็นที่จะเก็บกดหรือปกปิดแล้ว ก็เปิดเผยตัวมากขึ้น ก็เลยกลายเป็นว่า คนก็เห็นมากขึ้น พอสังคมเปิดกว้าง ก็ไม่จำเป็นต้องมาแอบกันแล้ว มันไม่ใช่เป็นเรื่องน่าอายอีกแล้ว พอคนเปิดมากขึ้น คนนั้นก็เป็น คนนี้ก็เป็น ก็เลยดูเหมือนว่ามีมากขึ้น แต่ตามหลักการก็เท่าเดิมสิ ไม่ใช่โรคติดต่อที่จะแพร่ได้สักหน่อย
• หรือความรักแบบนี้จะเป็นเทรนด์ โดยส่วนตัวคิดว่ายังไง
เราคิดว่าคนเป็นเกย์ ความสัมพันธ์ก็ไปได้ปกตินะในปัจจุบันนี้ ก็มีรักเลิกหรือคบกันยืนยาวปกติ คือบางทีอาจจะเลิกเพราะไปแต่งกับผู้หญิงก็มี แต่อาจจะเลิกเพราะว่าเบื่อ อาจจะดูเหมือนคู่รักเกย์ที่หายากที่รักกันยืนยาวกว่าผู้ชาย อาจเป็นเพราะประชาการเกย์มีน้อย อีกส่วนหนึ่งก็ไม่มีกฎหมายรองรับไง พอไม่มี มันก็ไม่มีความมั่นคงในชีวิตคู่อ่ะ บางคนก็ยังไม่มองเห็นตรงจุดหมายนั้น ไม่เหมือนกับผู้ชายผู้หญิงที่สามารถอยู่ด้วยกันและดูแลกันแล้วมีกฎหมายรองรับด้วย อย่างเราก็จะเห็นแบบว่า ถ้าเกิดอีกฝ่ายตาย สมบัติก็จะอยู่กับอีกฝ่าย สิ่งเหล่านี้ เราว่าอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกย์คบง่ายและเลิกง่าย และการที่ไม่มีพันธะเรื่องของลูกด้วย เพราะบางคนคู่สามี-ภรรยา ไม่หย่ากันก็เพราะลูกนะ ความสัมพันธ์อาจจะไม่ดีแล้วก็ได้ อยู่กันเพราะลูก แต่สำหรับเกย์การไม่มีลูก การดำเนินชีวิตก็ไม่มีปัญหา แต่อาจจะเลิกได้ง่ายหน่อย แต่ว่าความสัมพันธ์อาจจะเหมือนกับชายหญิงทั่วไป มีสุขทุกข์ทั่วไป
• คุณผ่านการเติบโต ในภาวะที่เป็นยังไงบ้าง หมายถึงว่า เคยมีเพื่อนแกล้งมั้ย
น้อยมาก แต่ก็มีผู้ชายมาแกล้งบ้าง แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะสุดท้ายพวกเขาก็ต้องมาศิโรราบให้ เนื่องจากเราเป็นคนเรียนเก่ง เพราะฉะนั้น คนเรียนเก่งก็ถูกปกป้องอยู่แล้ว แล้วเราก็สามารถให้ประโยชน์กับเขาได้ไง เช่น เพื่อนผู้ชายจะให้เราติวให้ ซึ่งข้อนั้นก็ทำให้เรามีเพื่อนผู้ชายเยอะนะ เพื่อนเกย์น้อย อาจเป็นเพราะว่าเราเข้ากันได้ด้วย ก็เลยไม่ค่อยมีปัญหาอะไร
• สังคมเกย์ยุคที่คุณยังเป็นวัยรุ่น เป็นยังไงบ้าง
ยังมีไม่เยอะ เพราะสมัยเรียนมัธยม การที่เป็นผู้ชายแล้วเราลองมาคบกัน เดินจูงมือกันนั้น ไม่มีอยู่ในหัวเด็กในสมัยนั้นเลย เป็นไปไม่ได้ ถ้าเป็นกะเทยก็เป็นไป แต่ก็มีประปรายอยู่บ้าง มีเรียกผู้ปกครองมาพบว่าเราเบี่ยงเบนนะ ก็จะมีอยู่บ้างแต่ไม่เยอะ แต่การที่จะคิดถึงขั้นว่าคบกันเป็นแฟน เป็นที่เปิดเผยกัน ยังไม่เกิดขึ้น มันเพิ่งมีในยุคหลังๆ นี่เอง มีค่านิยมที่คบกันเป็นแฟนเปิดเผย แม้กระทั่งช่วงมหา’ลัย การที่จะมาคบกันเป็นแฟน ก็น้อยคู่ หรือมี แต่ก็ไม่เปิดเผยแบบครึกครื้น ไม่ได้แบบว่าว้ายกรี๊ด จะเป็นแค่ซุบซิบกันมากกว่า อยู่ในขั้นเรียบร้อย
คนที่เป็นสภาวะแบบเดียวกัน จะไม่เปิดเผยเลย สมัยก่อนจะมีอีแอบเยอะนะ แต่ปัจจุบันนี่ไม่ค่อยแล้ว น้อยลง เดี๋ยวนี้จะเป็นแบบไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นเพศไหนมากกว่า สมัยก่อนจะเป็นอีแอบเลย แต่จะเป็น 2 แบบ คืออีแอบกับเพื่อนกะเทยที่ได้ผัวฝรั่งก็มี ก็เปิดเผยเฮฮาไป ไม่แคร์ แต่เดี๋ยวนี้ การปกปิดก็แทบจะไม่มีแล้วล่ะ ถ้าไม่เกิดความกดดันจากสังคมรอบข้างจริงๆ ก็จะไม่เกิดเหตุการณ์แบบนั้น
• จากการที่เราเรียนดี กิจกรรมเด่น ถือว่าเป็นเกราะให้กับเรามั้ย ในช่วงเวลานั้น
ตอนเด็กก็ไม่ได้คิดหรอกว่าเป็นเกราะมั้ย แต่รู้สึกว่า เพื่อนผู้ชายก็ไม่ได้อะไรกับเรามาก เพราะเราอาจจะอยู่ในห้องเด็กเก่งด้วยมั้ง แวดล้อมอยู่ในห้องเด็กเรียนไง ก็จะไม่มีแบบทะโมนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นค่อนข้างที่จะอยู่ในสังคมที่เป็นเด็กเรียบร้อย เด็กเรียน แต่เราก็เห็นคนอื่นอยู่ในกลุ่มก้อนของเขา ซึ่งผู้ชายก็ไม่ได้อะไรไง แต่ก็ไม่ได้ถึงขั้นแกล้งหรือล้อเลียนอะไร เพราะการกระทำแบบนั้นมันอยู่ในขั้นน้อยแล้วนะ อาจจะมีบ้าง แต่ก็ไม่ได้เป็นส่วนใหญ่ แล้วไม่ได้ถูกยอมรับไปเรื่อยๆ แต่ถ้าก่อนหน้านั้นก็อาจจะมี เพราะสังคมมันเปิดขึ้นเรื่อยๆ พอเปิดแล้ว หนังก็มีออกมา คนก็เห็น แล้วแบบไม่เห็นเป็นไรเลยนี่ การเป็นแบบนี้ก็ทำประโยชน์ได้ ก็ยังใช้ชีวิตปกติได้ คนก็โอเคมากขึ้น แต่ถ้าคนที่เปิดในก่อนหน้านี้ อาจจะถูกแกล้ง แต่เราจะไม่ค่อยเจอแบบหนักๆ แกล้งมา กูสู้กลับ (หัวเราะ)
• นอกจากการเปิดกว้าง คุณมองอนาคตข้างหน้าของกลุ่มเพศทางเลือกนี้อย่างไร
ต่อไป เป็นเรื่องในทางกฎหมายแล้วล่ะ อันนั้นแหละสำคัญ เป็นรากฐานที่ทำให้เกิดความยุติธรรมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างเป็นทางการ คือบ้านเรายอมรับ แต่ไม่สมบูรณ์ มันยังมีเส้นบางๆ อยู่ เช่น เวลาสัมภาษณ์งาน คนหนึ่งเป็นผู้ชาย คนหนึ่งเป็นตุ๊ด อาจจะเลือกผู้ชาย แต่อันนั้นก็ว่าไม่ได้ มันเป็นเรื่องที่ค่อยๆ ปรับ แต่เราว่าตอนนี้ก็แนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ ก็มีเทศกาลหนังเกย์ มีสงกรานต์ที่แบบถล่มทลายเลย มากกว่าเมืองนอกอีก สงกรานต์สีลมนี่แหละ ทุกคนก็รู้อยู่แล้วว่า มีเมื่อไหร่ นั่นแหละเต็มที่ เป็นอีกเทศกาลหนึ่งของโลก แต่ไม่ทางการซะทีเดียว ซึ่งเรามองว่าบางทีก็ไม่จำเป็นต้องทางการหรอก ก็ธรรมดา แล้วแต่ แต่กฎหมายชีวิตคู่ น่าจะมีรองรับ เพราะว่าทำให้เกิดความเท่าเทียมยอมรับขึ้นมา
• คิดว่าอะไรที่ทำให้เรายืนหยัดในความเป็นตัวเราได้
มันเป็นส่วนตัวของเรามากว่า ถ้าเราทำเรื่องที่ไม่ใช่สไตล์เรา มักจะไม่สำเร็จ เพราะเราตั้งใจทำงาน หมายความว่าถ้าเราตั้งใจทำงาน แล้วเราไม่ได้มีอะไรที่เราชอบอยู่ มันต้องใช้ระยะเวลายาวแบบ 5 เดือน 3 เดือน ทำเรื่องหนึ่ง มันทำไม่ไหว เพราะไม่สำเร็จ การทำหนังเรื่องหนึ่ง เราต้องใช้เรี่ยวแรงเยอะ มันต้องเป็นสิ่งที่เราชอบและเชื่อเท่านั้น เชื่อในความเชื่อของตัวเอง มันจะทำให้งานออกมาดี เชื่อมั่นในเรื่องที่อยากบอกเล่า ในสไตล์ของเรา ต้องชัดเจนในตัวเองว่าอะไรที่เราชอบไม่ชอบ อะไรทำแล้วไม่ได้ดี รอเวลาดีกว่าเพื่อจะได้ทำในสิ่งที่เราคิดว่าทำได้
พยายามหาอะไรที่เชื่อมกับสิ่งที่เราชอบ เพราะเราทำโฆษณามา แต่เวลาที่เราสร้างหนังที่เป็นตัวตนเรามาได้ มันต้องมีความชัดเจน เด็ดขาด และเด็ดเดี่ยวพอสมควร ก่อนหน้านี้ก็มีคนชวนไปทำนะ ถ้าเราจะทำ ก็ได้ แต่อาจจะทำไม่ดี ซึ่งมันอาจจะติดตัวเราไป และสุดท้าย มีความรับผิดชอบในผลงาน เพราะว่างานมันออกไปแล้วก็จะติดตัวเราไปตลอด ดังนั้น เราขอทำในแบบของเราดีกว่า
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : สันติ เต๊ะเปีย