จากเด็กหนุ่มผู้ตกหลุมรักดนตรีคลาสสิกแบบรักแรกพบ ก่อนจะขยับขยายความรักสู่การศึกษาดนตรีอย่างจริงจัง และปัจจุบัน เขาคือหนึ่งในคนไทยไม่กี่คนที่ได้ทำงานในสายดนตรีประกอบภาพยนตร์ที่ฮอลลีวูด อยู่เบื้องหลังหนังฟอร์มยักษ์และงานบันเทิงมากมายในระดับโลก
“บาส-พันธวิต เคียงศิริ” แรกเริ่มเดิมที เพียงมีโอกาสได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ไปฝังตัวอยู่ที่อเมริกากับป้าแท้ๆ ขณะที่ความฝันเรื่องดนตรีของเขา จบลงตั้งแต่อายุไม่ถึงสิบขวบ ก่อนที่ดนตรีคลาสสิกจะมาเคาะเรียก ส่งเสียงเพรียกให้เขากลับไปสู่วิถีแห่งดนตรีอีกครั้ง และหลังจากนั้น คำว่าดนตรีก้ไม่เคยหายไปจากพจนานุกรมชีวิตของเขาเลย
เรื่องของ “บาส-พันธวิต” ก็คงไม่ต่างจากเรื่องของคอมโพสเซอร์หรือผู้ทำมิวสิกสกอร์หรือดนตรีประกอบให้กับภาพยนตร์ซึ่งซ่อนซุกอยู่เบื้องหลัง และยินดีที่จะถูก “กลืนหายไปในหนัง” อย่างไรก็ดี คงไม่มีใครหายจะปฏิเสธในการดำรงอยู่ของพวกเขา นั่นยิ่งไม่ต้องพูดถึงว่า เส้นทางแห่งความมุ่งหวังตั้งใจของพวกเขา ล้วนแล้วแต่เราสามารถเก็บเกี่ยวได้ในฐานะพลังแห่งการก้าวเดิน...
• คุณเริ่มสนใจดนตรีมาตั้งแต่เมื่อไหร่
(นิ่งคิด) เป็นคำถามที่ยากมากเลย คิดว่าตั้งแต่อยู่ในท้องแม่เลยมั้งครับ เพราะคุณแม่ของผมท่านเล่าให้ฟังว่า ร้องเพลงให้ผมฟังทุกวันเลย แล้วพอเกิดมาสัก 4-5 ปี ผมก็เริ่มสนใจดนตรี แต่ตอนนั้นเกิดอะไรขึ้นก็ไม่รู้ ผมก็ได้เรียนกับครูเปียโนท่านหนึ่ง คือ ครูมื้-สินนภา สารสาร ผมเรียนไปครั้งแรก ผมร้องไห้เลย คือไม่ชอบเลย ไม่รู้เป็นอะไร ต่อมาก็ไม่เอาอีกแล้วดนตรี เลิกไปเป็น 10 ปี หลังจากนั้น อายุ 14 จึงกลับมาชอบดนตรีใหม่
• หายไปจากดนตรีเป็นสิบปี แล้วอะไรทื่ดึงให้เราหวนคืนสู่ดนตรีอีกครั้งหนึ่ง
ช่วงนั้น ผมได้ไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่อเมริกา คุณป้าของผมซึ่งผมไปพักอาศัยอยู่กับท่าน ท่านมีซีดีอยู่แผ่นหนึ่ง ซึ่งเป็นของบีโธเฟ่น ผมก็สงสัยว่าซีดีอะไร ก็หยิบมาดู ข้างๆ ก็มีเครื่องเล่นซีดี ก็เปิดฟังเลยว่ามันเป็นยังไง ลองเปิดดู ปรากฎว่าเป็นเพลงคลาสสิก ชอบเลย หลังจากนั้นมา ผมก็ไม่หยุดเลย ผมก็พยายามที่จะเล่นเพลงนี้ให้ได้ ผมก็พยายามที่จะแต่งเพลงนู่นนี่ให้ได้ แล้วมันก็มาเรื่อยๆ
• บีโธเฟ่นและเพลงคลาสสิก ปลุกอะไรในตัวของเด็กชายบาส ในตอนนั้น
มันทำให้ผมรู้สึกอะไรมากเลยเวลาฟัง มันไม่เหมือนเวลาเราฟังเพลงป็อปที่ดูเนื้อร้องหรือศิลปินใช่มั้ยครับ มันเป็นดนตรีเพียวๆ แล้วมันทำให้ผมรู้สึกว่า โห เราจะตกหน้าผาแล้ว หรือเรากำลังตกหลุมรักคนอื่น มันมีพลังมาก มันมีอิทธิพลกับผมมาจนถึงวันนี้
• หลังจากตกหลุมรักเพลงคลาสสิก แล้วเกิดการพลิกเปลี่ยนในชีวิตไปอย่างไรต่อ
ผมก็เริ่มกลับมาหาครูดนตรีใหม่ ตอนนั้นยังไม่ได้เป็นนักแต่งเพลง อยากจะเล่นเปียโนก่อน ผมก็ได้ครูตูน-ธนรัตน์ อนุกูร ซึ่งเป็นครูคนแรกที่สอนผมอย่างจริงจัง ผมก็ไปเรียนเปียโนกับแก โอเคก็เล่นได้ แต่เราเริ่มช้า ผมมาเริ่มอีกทีก็อายุ 14 แล้ว คือกล้ามเนื้ออะไรมันก็ไม่ได้แล้ว จะโซโล่ก็ยังไม่ได้ คือนักเปียโนเขาทำไม่ได้ ผมก็รู้แล้วว่า ถ้าเล่นอย่างงี้ ไม่รอดหรอก แล้วอีกอย่างก็ขี้เกียจซ้อมด้วย (หัวเราะเบาๆ) เพราะตอนนั้นคิดว่า ทำไมนักเปียโนต้องมานั่งซ้อม 2-3 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นนักเปียโนจริงๆ ก็ 8-12 ชั่วโมง อีกอย่าง ผมเริ่มดื้อแล้ว เขาให้เล่นอะไร ผมก็เปลี่ยนหมดเลย ครูหย่อนอะไรมาที่หน้าผม ไหนลองทำซิ ทำแบบฝึกหัด ผมก็ขี้เกียจ ก็เปลี่ยนโน้ตนั่นนี่ จนครูเริ่มรู้แล้ว ก็เลยบอกว่า ‘อย่างเอ็งต้องแต่งเพลงดีกว่า’ เขาก็เริ่มสอนผมแต่งเพลง จนวันนั้น ผมก็เป็นนักแต่งเพลงตั้งแต่อายุ 14
• ตอนนั้น รู้หรือเข้าใจหรือยังว่านักแต่งเพลงนี่ต้องยังไงบ้าง
ในความคิดของผม นักแต่งเพลงต้องไม่อยู่ในกรอบ ต้องมีจินตนาการและมีความคิดสร้างสรรค์ และปล่อยให้สมองกับหัวใจไหลไปทั่วๆ เป็นสิ่งที่ผมทำมา และเปลี่ยนหมด สักพักหนึ่ง เปลี่ยนไม่พอ ก็คิดค้นของตัวเองแล้ว ‘เอ๊ะ เราทำอย่างงี้ๆๆ ก็พอฟังได้’ เราก็พัฒนามาเรื่อยๆ ตอนนั้น น่าจะปี 2002 ซึ่งเป็นปีแรกที่ผมเริ่มแต่งเพลง และเพราะเหตุว่า ผมไม่ค่อยชอบเพลงป็อปเท่าไหร่ ผมก็ฟังแต่เพลงคลาสสิก จนกระทั่งเวลาต่อมา ผมเริ่มมีความคิดที่กว้างขวางขึ้น เริ่มที่จะรับเพลงแนวอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเพลงป็อป เพลงไทยเดิม เพลงหนัง โดยเฉพาะเพลงหนังนี่ ทำให้ผมรู้สึกว่า เราอยากทำแบบนี้ และด้วยความที่คุณพ่อคุณแม่ผมก็เป็นคอหนังเหลือเกิน ท่านก็จะพาผมไปดูหนังทุกสัปดาห์ มันก็ซึมอยู่ในตัวอยู่แล้ว ตั้งแต่นั้นมาก็หันเหมาทางนี้ครับ
• เพราะเหตุนี้ด้วยหรือเปล่าที่ทำให้คุณมุ่งจะมาทางทำดนตรีประกอบหนัง
ผมชอบหนังมาตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะหนังแนวนิยายวิทยาศาสตร์ ไอ้เรื่องที่มันไม่จริงอ่ะ เรื่องที่อยู่นอกโลก อะไรที่อยู่บนโลก ผมไม่ค่อยดูเท่าไหร่ คือตอนนั้นเจาะจงหนังแนวนั้น แล้วไอ้เพลงที่มันติดหู ไม่ว่าจะเป็น Star War หรือ Star trek แล่นอยู่ในหัวผมน่ะ ติดอยู่ในนี้ พอหลังจากนั้นจึงรู้ว่าตัวเองอยากจะทำเพลงหนัง และมีฝันเลยว่าอยากจะทำแบบนั้น ผมเรียนปริญญาตรีที่ San Francisco Conservetory of music จากนั้นก็ต่อ ปริญญาโทที่เดิม 2 ปี สาขาแต่งเพลงคลาสสิก แล้วผมถึงผันมาเป็นการเป็นการทำเพลงภาพยนตร์ภายหลัง หลังจากนั้นปีหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้เริ่มทันทีนะ มันแล้วแต่คนด้วย เพราะว่าแต่ละคนก็ต้องมีดวง เดี๋ยวก็ดวงซวยบ้าง เฮงบ้าง แต่จะไปซวยตรงไหนหรือเฮ็งเมื่อไหร่ แล้วแต่คน ของผมนี่ ซวยก่อนเลย หลังจากเรียนจบ 6 เดือน ไม่มีงานเลย ว่างเลย หลังจากนั้น ก็ค่อยๆ ไหลเข้ามาเรื่อยๆ แต่บางคนเขาก็ได้ตั้งแต่ก่อนจบก็มี ลักษณะงานก็แตกต่างกันไป บางคนก็ได้แต่งเพลงเลย บางคนก็ไปช่วยคนอื่นก่อน
• 6 เดือนที่รอและเตะฝุ่น มีท้อไหมครับ
มีครับ เพราะตอนเรียน เราก็มีฝันว่าจบไปจะได้งานทำเลย ทำเพลงประกอบภาพยนตร์เลย มีวงออเครสตร้าใหญ่ๆ มาเล่นเพลงเรา แต่พอออกมาในโลกแห่งความเป็นจริง มันไม่ใช่ เราต้องมานั่งหางาน ต้องวิ่งหาผู้ใหญ่ ต้องกวาดคอนเน็กชั่นของตัวเอง ใช้เวลานาน คือท้อ แต่ยังไงผมก็ไม่ยอมแพ้ จนสุดท้ายก็มาหาได้
• ในช่วง 6 เดือนที่ว่าง เราทำอะไรบ้าง
ผมก็พยายามศึกษาด้วยตัวเอง ทางด้านเพลงประกอบภาพยนตร์ ดูหนังเยอะๆ ศึกษาเยอะๆ ดูเพลงที่คนอื่นเขาทำ ผมจะได้ไม่อยู่ว่าง จะได้มีทักษะเพื่อให้ฝีมือเก่งขึ้น ไม่ได้อยู่นิ่งๆ ผมหวังว่าพองานมาเมื่อไหร่ ผมจะได้พร้อมทำเลย ในขณะเดียวกัน ผมก็ออกไปเจอกับผู้คนมากมาย เพื่อที่จะได้คอนเน็กชั่นใหม่ๆ เพื่อนใหม่ๆ แล้วก็อาจจะพอมีโอกาส หางานในอนาคตทำได้
6 เดือนหลังจากนั้น เริ่มมีเพื่อนที่ผมไปรู้จักกับผมตอนเรียนอยู่ เป็นคนทำแอนิเมชั่น เขาก็เริ่มทำโปรเจกต์ของตัวเอง เป็นโปรเจกต์เล็กๆ แล้วผมก็มาขอให้ผมทำเพลง แล้วได้ค่าขนมนิดหน่อย นี่คือเริ่มจากตรงนั้น แล้วหลังจากตรงนั้นมา ก็ต่อยอดมาเรื่อยๆ
• การทำงานที่ฮอลลีวูด เป็นอย่างไรบ้าง
เคร่งครัดมากครับ เพราะอย่าลืมว่าตรงนั้นคือฮอลลีวูด มันคือต้นตำรับของการทำภาพยนตร์ เพราะฉะนั้น ทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นดนตรีประกอบ คอสตูม หรือว่าการทำหนัง หรือการกำกับ เขาต้องให้เพอร์เฟคต์มากที่สุด แล้วถึงจะปล่อยออก ไม่งั้นจะสั่งให้ผมแก้อยู่อย่างงั้น บางงานก็แก้ไป 20 รอบ จนพอใจแล้วเขาถึงค่อยปล่อยไป ซึ่งการทำงานถือว่าหนักมาก เพราะผมทำงานนี่ วันหนึ่งอย่างต่ำก็ประมาณ 9 ชั่วโมง หรือบางทีก็ขึ้นไปถึง 14 ชั่วโมงบ้างก็มี บางวันก็แทบไม่ได้นอนเลย บางวัน ถ้าเรารับโปรเจกต์มา 4-5 โปรเจกต์พร้อมๆ กัน ก็หนักอยู่
• ไปทำงานตรงนั้น คุณได้ร่วมงานกับใครบ้าง
อยู่ที่นั่น คนที่สำคัญที่สุดของผมคือ อาจารย์ผม “คริสโตเฟอร์ ยัง” (Christopher Young) เขาเป็นคอมโพสเซอร์มือเก๋าคนหนึ่ง ยกตัวอย่างที่เขาทำเพลงประกอบให้ คือ spider man ภาค 3 และเขาเป็นคนที่ทำมิวสิกสกอร์หนังผีเก่งมาก เช่น drag me to hell หรือ Species ซึ่งเราก็ได้ร่วมงานกับเขาเป็นหลัก ตอนนี้ผมก็ยังอยู่ในสังกัดเขาอยู่ ช่วยเรื่อยๆ คนอื่นๆ ก็มี Michael Kremer และ John Frizzle เป็นคอมโพสเซอร์ที่ลงมาทำพวกหนังทีวี
• การร่วมงานกับคนเก่งๆ เก๋าๆ แบบนั้น เราได้เรียนรู้อะไรมาบ้าง
ผมรู้สึกปลื้มมากเลย เพราะผมชอบเพลงเขามาตั้งแต่เด็ก ผมได้ดู species แล้วก็สงสัยว่าใครทำเพลง แล้ววันหนึ่งผมได้เจอเขา แล้วมันเป็นอะไรที่พระเจ้าช่วยมากเลย จริงๆ นะ แล้วความที่เราอยู่เมืองไทย เราก็รู้สึกว่าฮอลลีวูดมันไกลเหลือเกิน มันเกินเอื้อม พอได้ไปตรงนั้นแล้วได้เจอเขาจริงๆ ก็รู้สึกว่า ในที่สุด เราก็ได้เอื้อมถึงเขาแล้ว แล้วก็ได้เจอเขาทุกวัน โดนเขาด่าทุกวัน หรือบางทีเขาชมด้วย ถ้าทำงานดี แต่ส่วนใหญ่จะแบบ ไม่ได้ดั่งใจเลย เด็กคนนี้ทำอะไรอยู่
• ตำแหน่งที่เราได้ในกองนั้น คืออะไรครับ
เวลาผมช่วยเขา ผมเข้าไปช่วยในฐานะนักเรียบเรียงเสียงประสาน เพราะผมถนัดเรื่องการใช้เครื่องดนตรีในวงออเครสตร้า ทีนี้จะไปเรียบเรียงเพลงให้เขา ผมต้องนั่งอยู่กับเขาตอนแต่งเพลง ยกตัวอย่างหนังเรื่อง “หงอคง” ที่ผมได้ช่วยเขา ด้วยความที่เป็นหนังจีน แต่เขาเป็นคนทำเพลงที่เป็นฝรั่ง เขาจะต้องขอความช่วยเหลือเราเยอะมาก เพราะเขาไม่เข้าใจหนัง เขาก็ถาม เช่น หงอคงใส่หมวกอย่างนี้ หางนี้มันหมายความว่ายังไง ซึ่งเขาไม่รู้เรื่องเลย ก็มาถามผม ผมก็เตรียมหนังไปให้ แล้วไปเล่าให้เจ้านายฟังว่าฉากนี้เป็นอย่างงี้ๆ นะ นายต้องแต่งเพลงอย่างงี้ๆ นะ และผมก็ได้นั่งอยู่หลังเขาตอนเขาแต่ง นี่คือการเรียนที่ผมได้จากเขา เขาดูภาพ แล้วจะใส่เพลงยังไงบ้าง แล้วต้องเล่น dramatic point ยังไงบนหนัง ถ้าหนังแย่ๆ ซีนแย่ๆ ที่นักแสดงไม่เจ๋งพอ เขาจะช่วยหนังยังไงได้บ้าง ผมนั่งอยู่กับเขา 3 อาทิตย์ เรื่องเดียว วันละ 8-9 ชั่วโมง นั่งเล่นก๊องๆ แก๊งๆ ไป ออกมาแล้วผมรู้สึกว่า เฮ้ย ผมพร้อมขึ้นมาในอีกระดับหนึ่งเลย คือก่อนหน้านั้น ผมก็เป็นบ้างเล็กๆ น้อยๆ หลังจากเรื่องนั้นเรื่องเดียว ผมรู้สึกเลยว่า ผมพร้อมที่จะทำหนังใหญ่ ประมาณว่า คลั่งวิชาแล้ว (หัวเราะ)
• การทำงานแบบคริสโตเฟอร์ ยัง ซึ่งคุณถือว่าเป็นครู มีจุดที่น่าประทับใจอย่างไรบ้าง
ครูผมคนนี้เขาใจดีและเปิดกว้าง คอมโพสเซอร์บางท่านจะไม่ยอมนะ แบบถ้าเราไปช่วยหรือแนะนำอะไรเขา เขาจะเริ่มไม่พอใจ เพราะเขาเป็นผู้ใหญ่ เราเป็นเด็กอ่ะ แต่คริสจะบอกว่า ยูมีอะไร ยูต้องบอกไอเดี๋ยวนี้ ไออยากให้เพลงออกมาดีที่สุด ผมก็เต็มที่เลย ผมก็บอกเขาว่าอยากได้เครื่องแบบนี้ในเพลงนี้ เอาได้มั้ย ถ้าเขาชอบ เขาบอกเอา ถ้าเขาไม่ชอบก็จะแบบ ไม่ถูก แล้วเราได้คุยกันเยอะมาก
สิ่งที่ได้อีกอย่าง คือ ถ้าผมถามอะไร เขาตอบ ไม่หวงวิชา ซึ่งจากการที่เจอเขาวันละ 8 ชั่วโมง จะมี 2 ชั่วโมงที่ผมนั่งซักถามเขา ซึ่งถ้าเป็นคนอื่น จะไม่ยอมแน่ๆ คนอื่นจะแบบ..เดี๋ยวกูไปทำมาหากินก่อน แต่ผมนั่งถามเลย ค่อยๆ ถาม เขาก็ค่อยๆ โชว์ให้ผมดู เขามีความอดทนกับผมมาก ผมเลยปลื้มมากกับอาจารย์คนนี้
• คิดอย่างไรบ้างกับการเลือกเส้นทางของตนเองแบบนี้ แม้จะมีผลงานแล้ว แต่ก็ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก
เรารู้ตั้งแต่วันที่หนึ่งแล้วว่าเราเป็นเบื้องหลัง อย่างมากที่สุด อาจจะมีคนเห็นเครดิตว่า Music by ผม ก็เท่านั้นเอง คนจะไม่เห็นหน้า คนจะฟังแต่เพลง อารมณ์เหมือนปิดทองหลังพระมาก แต่คือเราชอบที่เห็นหนังเรื่องหนึ่งผ่านมือเราเข้ามา แล้วพอออกจากโต๊ะทำงานเราไป มันมีส่วนดีขึ้นเพราะเพลงของเรา นี่คือสิ่งที่ผมชอบมาตั้งแต่เริ่มทำเพลงประกอบภาพยนตร์ ไม่ได้หวังดัง คือไม่ได้มีความคิดเลยว่าจะต้องออกไปโชว์ตัวแบบนักร้องญี่ปุ่นหรือเกาหลี แต่เราก็จะมีรู้จักแค่แวดวงภายในว่า อ๋อ คนในแวดวงจะดูชื่อว่าใครทำเพลง เขาก็จะรู้จักผม แต่ว่าโลกภายนอก ผมว่าไม่มีใครรู้จักหรอก
สำหรับผมแล้ว อาชีพนี้ให้ความสุข พูดได้คำเดียว คือทุกเช้าที่ตื่นขึ้นมาแล้วได้จับดินสอแล้วเริ่มเขียนตัวโน้ต ผมแฮปปี้มากเลย อย่างว่า อาชีพมันก็ให้เงิน ให้เพื่อน แต่ว่าไม่ได้สำคัญขนาดนั้น สำหรับผมนะ คือผมได้นั่งอยู่เฉยๆ ได้เขียนตัวโน้ต มีอยู่ในหัว แล้วได้ถ่ายทอดลงบนกระดาษ แล้วก็ได้ฟังเพลงที่เราคิด บรรเลงโดยนักดนตรี แฮปปี้มีความสุขสำหรับผม แต่มันไม่ใช่อย่างเดียว แต่มันเป็นอย่างสำคัญที่สุด
นักแต่งเพลงหนังที่เก่งๆ เขาไม่ต้องการให้คนดูหนังได้ยินเพลงเขานะ เขาต้องการทำให้คนดูไม่ได้ยินเพลงเขา คุณต้องมีความสุขกับหนังมากจนลืม นี่คือความเก่งกาจของนักดนตรี นักแต่งเพลงประกอบหนัง เราต้องให้คนลืมเพลงที่อยู่ในนั้น ซึ่งค่อนข้างที่จะยากนะ ผมเองก็ลองผิดลองถูกมาตลอด
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : พงษ์ฤทธิ์ฑา ขวัญเนตร
“บาส-พันธวิต เคียงศิริ” แรกเริ่มเดิมที เพียงมีโอกาสได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ไปฝังตัวอยู่ที่อเมริกากับป้าแท้ๆ ขณะที่ความฝันเรื่องดนตรีของเขา จบลงตั้งแต่อายุไม่ถึงสิบขวบ ก่อนที่ดนตรีคลาสสิกจะมาเคาะเรียก ส่งเสียงเพรียกให้เขากลับไปสู่วิถีแห่งดนตรีอีกครั้ง และหลังจากนั้น คำว่าดนตรีก้ไม่เคยหายไปจากพจนานุกรมชีวิตของเขาเลย
เรื่องของ “บาส-พันธวิต” ก็คงไม่ต่างจากเรื่องของคอมโพสเซอร์หรือผู้ทำมิวสิกสกอร์หรือดนตรีประกอบให้กับภาพยนตร์ซึ่งซ่อนซุกอยู่เบื้องหลัง และยินดีที่จะถูก “กลืนหายไปในหนัง” อย่างไรก็ดี คงไม่มีใครหายจะปฏิเสธในการดำรงอยู่ของพวกเขา นั่นยิ่งไม่ต้องพูดถึงว่า เส้นทางแห่งความมุ่งหวังตั้งใจของพวกเขา ล้วนแล้วแต่เราสามารถเก็บเกี่ยวได้ในฐานะพลังแห่งการก้าวเดิน...
• คุณเริ่มสนใจดนตรีมาตั้งแต่เมื่อไหร่
(นิ่งคิด) เป็นคำถามที่ยากมากเลย คิดว่าตั้งแต่อยู่ในท้องแม่เลยมั้งครับ เพราะคุณแม่ของผมท่านเล่าให้ฟังว่า ร้องเพลงให้ผมฟังทุกวันเลย แล้วพอเกิดมาสัก 4-5 ปี ผมก็เริ่มสนใจดนตรี แต่ตอนนั้นเกิดอะไรขึ้นก็ไม่รู้ ผมก็ได้เรียนกับครูเปียโนท่านหนึ่ง คือ ครูมื้-สินนภา สารสาร ผมเรียนไปครั้งแรก ผมร้องไห้เลย คือไม่ชอบเลย ไม่รู้เป็นอะไร ต่อมาก็ไม่เอาอีกแล้วดนตรี เลิกไปเป็น 10 ปี หลังจากนั้น อายุ 14 จึงกลับมาชอบดนตรีใหม่
• หายไปจากดนตรีเป็นสิบปี แล้วอะไรทื่ดึงให้เราหวนคืนสู่ดนตรีอีกครั้งหนึ่ง
ช่วงนั้น ผมได้ไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่อเมริกา คุณป้าของผมซึ่งผมไปพักอาศัยอยู่กับท่าน ท่านมีซีดีอยู่แผ่นหนึ่ง ซึ่งเป็นของบีโธเฟ่น ผมก็สงสัยว่าซีดีอะไร ก็หยิบมาดู ข้างๆ ก็มีเครื่องเล่นซีดี ก็เปิดฟังเลยว่ามันเป็นยังไง ลองเปิดดู ปรากฎว่าเป็นเพลงคลาสสิก ชอบเลย หลังจากนั้นมา ผมก็ไม่หยุดเลย ผมก็พยายามที่จะเล่นเพลงนี้ให้ได้ ผมก็พยายามที่จะแต่งเพลงนู่นนี่ให้ได้ แล้วมันก็มาเรื่อยๆ
• บีโธเฟ่นและเพลงคลาสสิก ปลุกอะไรในตัวของเด็กชายบาส ในตอนนั้น
มันทำให้ผมรู้สึกอะไรมากเลยเวลาฟัง มันไม่เหมือนเวลาเราฟังเพลงป็อปที่ดูเนื้อร้องหรือศิลปินใช่มั้ยครับ มันเป็นดนตรีเพียวๆ แล้วมันทำให้ผมรู้สึกว่า โห เราจะตกหน้าผาแล้ว หรือเรากำลังตกหลุมรักคนอื่น มันมีพลังมาก มันมีอิทธิพลกับผมมาจนถึงวันนี้
• หลังจากตกหลุมรักเพลงคลาสสิก แล้วเกิดการพลิกเปลี่ยนในชีวิตไปอย่างไรต่อ
ผมก็เริ่มกลับมาหาครูดนตรีใหม่ ตอนนั้นยังไม่ได้เป็นนักแต่งเพลง อยากจะเล่นเปียโนก่อน ผมก็ได้ครูตูน-ธนรัตน์ อนุกูร ซึ่งเป็นครูคนแรกที่สอนผมอย่างจริงจัง ผมก็ไปเรียนเปียโนกับแก โอเคก็เล่นได้ แต่เราเริ่มช้า ผมมาเริ่มอีกทีก็อายุ 14 แล้ว คือกล้ามเนื้ออะไรมันก็ไม่ได้แล้ว จะโซโล่ก็ยังไม่ได้ คือนักเปียโนเขาทำไม่ได้ ผมก็รู้แล้วว่า ถ้าเล่นอย่างงี้ ไม่รอดหรอก แล้วอีกอย่างก็ขี้เกียจซ้อมด้วย (หัวเราะเบาๆ) เพราะตอนนั้นคิดว่า ทำไมนักเปียโนต้องมานั่งซ้อม 2-3 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นนักเปียโนจริงๆ ก็ 8-12 ชั่วโมง อีกอย่าง ผมเริ่มดื้อแล้ว เขาให้เล่นอะไร ผมก็เปลี่ยนหมดเลย ครูหย่อนอะไรมาที่หน้าผม ไหนลองทำซิ ทำแบบฝึกหัด ผมก็ขี้เกียจ ก็เปลี่ยนโน้ตนั่นนี่ จนครูเริ่มรู้แล้ว ก็เลยบอกว่า ‘อย่างเอ็งต้องแต่งเพลงดีกว่า’ เขาก็เริ่มสอนผมแต่งเพลง จนวันนั้น ผมก็เป็นนักแต่งเพลงตั้งแต่อายุ 14
• ตอนนั้น รู้หรือเข้าใจหรือยังว่านักแต่งเพลงนี่ต้องยังไงบ้าง
ในความคิดของผม นักแต่งเพลงต้องไม่อยู่ในกรอบ ต้องมีจินตนาการและมีความคิดสร้างสรรค์ และปล่อยให้สมองกับหัวใจไหลไปทั่วๆ เป็นสิ่งที่ผมทำมา และเปลี่ยนหมด สักพักหนึ่ง เปลี่ยนไม่พอ ก็คิดค้นของตัวเองแล้ว ‘เอ๊ะ เราทำอย่างงี้ๆๆ ก็พอฟังได้’ เราก็พัฒนามาเรื่อยๆ ตอนนั้น น่าจะปี 2002 ซึ่งเป็นปีแรกที่ผมเริ่มแต่งเพลง และเพราะเหตุว่า ผมไม่ค่อยชอบเพลงป็อปเท่าไหร่ ผมก็ฟังแต่เพลงคลาสสิก จนกระทั่งเวลาต่อมา ผมเริ่มมีความคิดที่กว้างขวางขึ้น เริ่มที่จะรับเพลงแนวอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเพลงป็อป เพลงไทยเดิม เพลงหนัง โดยเฉพาะเพลงหนังนี่ ทำให้ผมรู้สึกว่า เราอยากทำแบบนี้ และด้วยความที่คุณพ่อคุณแม่ผมก็เป็นคอหนังเหลือเกิน ท่านก็จะพาผมไปดูหนังทุกสัปดาห์ มันก็ซึมอยู่ในตัวอยู่แล้ว ตั้งแต่นั้นมาก็หันเหมาทางนี้ครับ
• เพราะเหตุนี้ด้วยหรือเปล่าที่ทำให้คุณมุ่งจะมาทางทำดนตรีประกอบหนัง
ผมชอบหนังมาตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะหนังแนวนิยายวิทยาศาสตร์ ไอ้เรื่องที่มันไม่จริงอ่ะ เรื่องที่อยู่นอกโลก อะไรที่อยู่บนโลก ผมไม่ค่อยดูเท่าไหร่ คือตอนนั้นเจาะจงหนังแนวนั้น แล้วไอ้เพลงที่มันติดหู ไม่ว่าจะเป็น Star War หรือ Star trek แล่นอยู่ในหัวผมน่ะ ติดอยู่ในนี้ พอหลังจากนั้นจึงรู้ว่าตัวเองอยากจะทำเพลงหนัง และมีฝันเลยว่าอยากจะทำแบบนั้น ผมเรียนปริญญาตรีที่ San Francisco Conservetory of music จากนั้นก็ต่อ ปริญญาโทที่เดิม 2 ปี สาขาแต่งเพลงคลาสสิก แล้วผมถึงผันมาเป็นการเป็นการทำเพลงภาพยนตร์ภายหลัง หลังจากนั้นปีหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้เริ่มทันทีนะ มันแล้วแต่คนด้วย เพราะว่าแต่ละคนก็ต้องมีดวง เดี๋ยวก็ดวงซวยบ้าง เฮงบ้าง แต่จะไปซวยตรงไหนหรือเฮ็งเมื่อไหร่ แล้วแต่คน ของผมนี่ ซวยก่อนเลย หลังจากเรียนจบ 6 เดือน ไม่มีงานเลย ว่างเลย หลังจากนั้น ก็ค่อยๆ ไหลเข้ามาเรื่อยๆ แต่บางคนเขาก็ได้ตั้งแต่ก่อนจบก็มี ลักษณะงานก็แตกต่างกันไป บางคนก็ได้แต่งเพลงเลย บางคนก็ไปช่วยคนอื่นก่อน
• 6 เดือนที่รอและเตะฝุ่น มีท้อไหมครับ
มีครับ เพราะตอนเรียน เราก็มีฝันว่าจบไปจะได้งานทำเลย ทำเพลงประกอบภาพยนตร์เลย มีวงออเครสตร้าใหญ่ๆ มาเล่นเพลงเรา แต่พอออกมาในโลกแห่งความเป็นจริง มันไม่ใช่ เราต้องมานั่งหางาน ต้องวิ่งหาผู้ใหญ่ ต้องกวาดคอนเน็กชั่นของตัวเอง ใช้เวลานาน คือท้อ แต่ยังไงผมก็ไม่ยอมแพ้ จนสุดท้ายก็มาหาได้
• ในช่วง 6 เดือนที่ว่าง เราทำอะไรบ้าง
ผมก็พยายามศึกษาด้วยตัวเอง ทางด้านเพลงประกอบภาพยนตร์ ดูหนังเยอะๆ ศึกษาเยอะๆ ดูเพลงที่คนอื่นเขาทำ ผมจะได้ไม่อยู่ว่าง จะได้มีทักษะเพื่อให้ฝีมือเก่งขึ้น ไม่ได้อยู่นิ่งๆ ผมหวังว่าพองานมาเมื่อไหร่ ผมจะได้พร้อมทำเลย ในขณะเดียวกัน ผมก็ออกไปเจอกับผู้คนมากมาย เพื่อที่จะได้คอนเน็กชั่นใหม่ๆ เพื่อนใหม่ๆ แล้วก็อาจจะพอมีโอกาส หางานในอนาคตทำได้
6 เดือนหลังจากนั้น เริ่มมีเพื่อนที่ผมไปรู้จักกับผมตอนเรียนอยู่ เป็นคนทำแอนิเมชั่น เขาก็เริ่มทำโปรเจกต์ของตัวเอง เป็นโปรเจกต์เล็กๆ แล้วผมก็มาขอให้ผมทำเพลง แล้วได้ค่าขนมนิดหน่อย นี่คือเริ่มจากตรงนั้น แล้วหลังจากตรงนั้นมา ก็ต่อยอดมาเรื่อยๆ
• การทำงานที่ฮอลลีวูด เป็นอย่างไรบ้าง
เคร่งครัดมากครับ เพราะอย่าลืมว่าตรงนั้นคือฮอลลีวูด มันคือต้นตำรับของการทำภาพยนตร์ เพราะฉะนั้น ทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นดนตรีประกอบ คอสตูม หรือว่าการทำหนัง หรือการกำกับ เขาต้องให้เพอร์เฟคต์มากที่สุด แล้วถึงจะปล่อยออก ไม่งั้นจะสั่งให้ผมแก้อยู่อย่างงั้น บางงานก็แก้ไป 20 รอบ จนพอใจแล้วเขาถึงค่อยปล่อยไป ซึ่งการทำงานถือว่าหนักมาก เพราะผมทำงานนี่ วันหนึ่งอย่างต่ำก็ประมาณ 9 ชั่วโมง หรือบางทีก็ขึ้นไปถึง 14 ชั่วโมงบ้างก็มี บางวันก็แทบไม่ได้นอนเลย บางวัน ถ้าเรารับโปรเจกต์มา 4-5 โปรเจกต์พร้อมๆ กัน ก็หนักอยู่
• ไปทำงานตรงนั้น คุณได้ร่วมงานกับใครบ้าง
อยู่ที่นั่น คนที่สำคัญที่สุดของผมคือ อาจารย์ผม “คริสโตเฟอร์ ยัง” (Christopher Young) เขาเป็นคอมโพสเซอร์มือเก๋าคนหนึ่ง ยกตัวอย่างที่เขาทำเพลงประกอบให้ คือ spider man ภาค 3 และเขาเป็นคนที่ทำมิวสิกสกอร์หนังผีเก่งมาก เช่น drag me to hell หรือ Species ซึ่งเราก็ได้ร่วมงานกับเขาเป็นหลัก ตอนนี้ผมก็ยังอยู่ในสังกัดเขาอยู่ ช่วยเรื่อยๆ คนอื่นๆ ก็มี Michael Kremer และ John Frizzle เป็นคอมโพสเซอร์ที่ลงมาทำพวกหนังทีวี
• การร่วมงานกับคนเก่งๆ เก๋าๆ แบบนั้น เราได้เรียนรู้อะไรมาบ้าง
ผมรู้สึกปลื้มมากเลย เพราะผมชอบเพลงเขามาตั้งแต่เด็ก ผมได้ดู species แล้วก็สงสัยว่าใครทำเพลง แล้ววันหนึ่งผมได้เจอเขา แล้วมันเป็นอะไรที่พระเจ้าช่วยมากเลย จริงๆ นะ แล้วความที่เราอยู่เมืองไทย เราก็รู้สึกว่าฮอลลีวูดมันไกลเหลือเกิน มันเกินเอื้อม พอได้ไปตรงนั้นแล้วได้เจอเขาจริงๆ ก็รู้สึกว่า ในที่สุด เราก็ได้เอื้อมถึงเขาแล้ว แล้วก็ได้เจอเขาทุกวัน โดนเขาด่าทุกวัน หรือบางทีเขาชมด้วย ถ้าทำงานดี แต่ส่วนใหญ่จะแบบ ไม่ได้ดั่งใจเลย เด็กคนนี้ทำอะไรอยู่
• ตำแหน่งที่เราได้ในกองนั้น คืออะไรครับ
เวลาผมช่วยเขา ผมเข้าไปช่วยในฐานะนักเรียบเรียงเสียงประสาน เพราะผมถนัดเรื่องการใช้เครื่องดนตรีในวงออเครสตร้า ทีนี้จะไปเรียบเรียงเพลงให้เขา ผมต้องนั่งอยู่กับเขาตอนแต่งเพลง ยกตัวอย่างหนังเรื่อง “หงอคง” ที่ผมได้ช่วยเขา ด้วยความที่เป็นหนังจีน แต่เขาเป็นคนทำเพลงที่เป็นฝรั่ง เขาจะต้องขอความช่วยเหลือเราเยอะมาก เพราะเขาไม่เข้าใจหนัง เขาก็ถาม เช่น หงอคงใส่หมวกอย่างนี้ หางนี้มันหมายความว่ายังไง ซึ่งเขาไม่รู้เรื่องเลย ก็มาถามผม ผมก็เตรียมหนังไปให้ แล้วไปเล่าให้เจ้านายฟังว่าฉากนี้เป็นอย่างงี้ๆ นะ นายต้องแต่งเพลงอย่างงี้ๆ นะ และผมก็ได้นั่งอยู่หลังเขาตอนเขาแต่ง นี่คือการเรียนที่ผมได้จากเขา เขาดูภาพ แล้วจะใส่เพลงยังไงบ้าง แล้วต้องเล่น dramatic point ยังไงบนหนัง ถ้าหนังแย่ๆ ซีนแย่ๆ ที่นักแสดงไม่เจ๋งพอ เขาจะช่วยหนังยังไงได้บ้าง ผมนั่งอยู่กับเขา 3 อาทิตย์ เรื่องเดียว วันละ 8-9 ชั่วโมง นั่งเล่นก๊องๆ แก๊งๆ ไป ออกมาแล้วผมรู้สึกว่า เฮ้ย ผมพร้อมขึ้นมาในอีกระดับหนึ่งเลย คือก่อนหน้านั้น ผมก็เป็นบ้างเล็กๆ น้อยๆ หลังจากเรื่องนั้นเรื่องเดียว ผมรู้สึกเลยว่า ผมพร้อมที่จะทำหนังใหญ่ ประมาณว่า คลั่งวิชาแล้ว (หัวเราะ)
• การทำงานแบบคริสโตเฟอร์ ยัง ซึ่งคุณถือว่าเป็นครู มีจุดที่น่าประทับใจอย่างไรบ้าง
ครูผมคนนี้เขาใจดีและเปิดกว้าง คอมโพสเซอร์บางท่านจะไม่ยอมนะ แบบถ้าเราไปช่วยหรือแนะนำอะไรเขา เขาจะเริ่มไม่พอใจ เพราะเขาเป็นผู้ใหญ่ เราเป็นเด็กอ่ะ แต่คริสจะบอกว่า ยูมีอะไร ยูต้องบอกไอเดี๋ยวนี้ ไออยากให้เพลงออกมาดีที่สุด ผมก็เต็มที่เลย ผมก็บอกเขาว่าอยากได้เครื่องแบบนี้ในเพลงนี้ เอาได้มั้ย ถ้าเขาชอบ เขาบอกเอา ถ้าเขาไม่ชอบก็จะแบบ ไม่ถูก แล้วเราได้คุยกันเยอะมาก
สิ่งที่ได้อีกอย่าง คือ ถ้าผมถามอะไร เขาตอบ ไม่หวงวิชา ซึ่งจากการที่เจอเขาวันละ 8 ชั่วโมง จะมี 2 ชั่วโมงที่ผมนั่งซักถามเขา ซึ่งถ้าเป็นคนอื่น จะไม่ยอมแน่ๆ คนอื่นจะแบบ..เดี๋ยวกูไปทำมาหากินก่อน แต่ผมนั่งถามเลย ค่อยๆ ถาม เขาก็ค่อยๆ โชว์ให้ผมดู เขามีความอดทนกับผมมาก ผมเลยปลื้มมากกับอาจารย์คนนี้
• คิดอย่างไรบ้างกับการเลือกเส้นทางของตนเองแบบนี้ แม้จะมีผลงานแล้ว แต่ก็ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก
เรารู้ตั้งแต่วันที่หนึ่งแล้วว่าเราเป็นเบื้องหลัง อย่างมากที่สุด อาจจะมีคนเห็นเครดิตว่า Music by ผม ก็เท่านั้นเอง คนจะไม่เห็นหน้า คนจะฟังแต่เพลง อารมณ์เหมือนปิดทองหลังพระมาก แต่คือเราชอบที่เห็นหนังเรื่องหนึ่งผ่านมือเราเข้ามา แล้วพอออกจากโต๊ะทำงานเราไป มันมีส่วนดีขึ้นเพราะเพลงของเรา นี่คือสิ่งที่ผมชอบมาตั้งแต่เริ่มทำเพลงประกอบภาพยนตร์ ไม่ได้หวังดัง คือไม่ได้มีความคิดเลยว่าจะต้องออกไปโชว์ตัวแบบนักร้องญี่ปุ่นหรือเกาหลี แต่เราก็จะมีรู้จักแค่แวดวงภายในว่า อ๋อ คนในแวดวงจะดูชื่อว่าใครทำเพลง เขาก็จะรู้จักผม แต่ว่าโลกภายนอก ผมว่าไม่มีใครรู้จักหรอก
สำหรับผมแล้ว อาชีพนี้ให้ความสุข พูดได้คำเดียว คือทุกเช้าที่ตื่นขึ้นมาแล้วได้จับดินสอแล้วเริ่มเขียนตัวโน้ต ผมแฮปปี้มากเลย อย่างว่า อาชีพมันก็ให้เงิน ให้เพื่อน แต่ว่าไม่ได้สำคัญขนาดนั้น สำหรับผมนะ คือผมได้นั่งอยู่เฉยๆ ได้เขียนตัวโน้ต มีอยู่ในหัว แล้วได้ถ่ายทอดลงบนกระดาษ แล้วก็ได้ฟังเพลงที่เราคิด บรรเลงโดยนักดนตรี แฮปปี้มีความสุขสำหรับผม แต่มันไม่ใช่อย่างเดียว แต่มันเป็นอย่างสำคัญที่สุด
นักแต่งเพลงหนังที่เก่งๆ เขาไม่ต้องการให้คนดูหนังได้ยินเพลงเขานะ เขาต้องการทำให้คนดูไม่ได้ยินเพลงเขา คุณต้องมีความสุขกับหนังมากจนลืม นี่คือความเก่งกาจของนักดนตรี นักแต่งเพลงประกอบหนัง เราต้องให้คนลืมเพลงที่อยู่ในนั้น ซึ่งค่อนข้างที่จะยากนะ ผมเองก็ลองผิดลองถูกมาตลอด
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : พงษ์ฤทธิ์ฑา ขวัญเนตร