คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.“บิ๊กตู่” ใช้ ม.44 ฟัน 71 ขรก.-นักการเมืองท้องถิ่น “ปลัด ก.ท่องเที่ยวฯ-เลขาฯ “สปสช.” ไม่รอด ด้าน “ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม” โดนด้วย!
เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เรื่องแต่งตั้งและให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดํารงตําแหน่งและปฏิบัติหน้าที่อื่น เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของงานอันเป็นประโยชน์ในการปฏิรูปราชการแผ่นดิน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 จึงมีคําสั่งดังนี้ 1.ให้นายสุวัตร สิทธิหล่อ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ไปดํารงตําแหน่งที่ปรึกษาพิเศษสํานักนายกรัฐมนตรี
2. ให้ผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการจำนวน 21 ราย หยุดปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งเดิมเป็นการชั่วคราว และไปปฏิบัติราชการในตําแหน่งประจําสํานักงานปลัดกระทรวงที่สังกัดโดยไม่ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิม และให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดมอบหมาย โดยนายกรัฐมนตรีจะมีคําสั่งให้ผู้นั้นไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐเป็นการชั่วคราวก็ได้ โดยข้าราชการกลุ่มนี้ ได้แก่ นายวินัย สวัสดิวร เลขาธิการสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กระทรวงสาธารณสุข , นายขวัญชัย วงศ์นิติกร อธิบดีกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ฯลฯ
3. ให้ผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 2 , 3 และ 4 หยุดปฏิบัติราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดํารงตําแหน่งอยู่เป็นการชั่วคราวโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน โดยผู้ที่อยู่ใน 3 กลุ่มนี้ มีจำนวน 32 ราย แบ่งเป็น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 7 ราย ได้แก่ นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ , นายพรชัย โควสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ฯลฯ , นายกและรองนายกองค์การบริหารส่วนตําบล 17 ราย , นายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาล 18 ราย
4. ให้ผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 5 ไปช่วยราชการที่ศาลากลางจังหวัดที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นตั้งอยู่หรือสถานที่ราชการอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกําหนด แต่ต้องมิใช่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่อยู่เดิม โดยไม่ต้องมีคําร้องขอ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นผู้บังคับบัญชามีอํานาจมอบหมายให้ผู้นั้นปฏิบัติงานตามความเหมาะสม มิให้บุคคลดังกล่าวได้รับเงินประจําตําแหน่งและสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว ซึ่งกลุ่มนี้เป็นข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 7 ราย ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 มิ.ย.2558 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ วันต่อมา(26 มิ.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้ออกมายืนยันว่า ข้าราชการทั้ง 71 คนยังไม่ถือว่ามีความผิด เพราะเป็นการรวบรวมรายชื่อที่มีการร้องเรียนอยู่ในกระบวนการตรวจสอบทั้งหมด ถ้าเรื่องไหนสำคัญมากๆ หรือเป็นปัญหาใหญ่ ก็จำเป็นต้องรื้อตำแหน่งระดับสูงให้ขยับออกมาก่อน เพื่อให้เกิดการสอบสวน หาพยานหลักฐานในเชิงประจักษ์ให้ได้ แต่ถ้าไม่ผิด ก็กลับมาที่เดิม เพราะตนไม่ได้ตั้งใครแทน เป็นการรักษาราชการ โดยผู้อาวุโสแต่ละหน่วยงานตั้งขึ้นมาตามระเบียบอยู่แล้ว
2.ตร.ญี่ปุ่น รวบ “คำรณวิทย์” คาสนามบิน ฐานพกปืนในกระเป๋าเดินทาง เจ้าตัวบอก ลืมไว้เมื่อไหร่ไม่รู้ ด้าน “บิ๊กตู่” สั่งสอบซุกปืนผ่านสุวรรณภูมิได้อย่างไร!
เมื่อเย็นวันที่ 22 มิ.ย. พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจประเทศญี่ปุ่นจับกุมตัวข้อหามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองที่สนามบินนาริตะ ขณะกำลังจะเดินทางกลับประเทศไทย ด้านสำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า โฆษกตำรวจญี่ปุ่นเผยว่า เจ้าหน้าที่สนามบินนาริตะตรวจพบปืนรีวอลโว่บรรจุกระสุน 5 นัด ในกระเป๋าเดินทางของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ จึงจับกุมข้อหาละเมิดกฎหมายควบคุมอาวุธปืนของญี่ปุ่น ซึ่ง พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ยอมรับว่า ปืนเป็นของตนเองจริง เป็นของขวัญที่ได้จากเพื่อน และลืมไปแล้วว่าใส่ไว้ในกระเป๋าเดินทาง โดย พล.ต.ท.คำรณวิทย์ เดินทางเข้าญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. เพื่อเยี่ยมชมโรงงานเผาขยะ โดยมีกลุ่มคณะที่เดินทางไปด้วยกันประมาณ 80 คน
ด้าน พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลง(24 มิ.ย.) ว่า เบื้องต้นทราบว่า พล.ต.ท.คำรณวิทย์ รับสารภาพว่าเป็นเจ้าของปืนดังกล่าว โดยลืมไว้ในกระเป๋าใส่ยา ตอนเดินทางไปญี่ปุ่นได้โหลดใส่ไว้ใต้เครื่อง แต่พอขากลับ นำกระเป๋ายามาใส่กระเป๋าสะพาย กระทั่งถูกจับกุมตัวดังกล่าว ผู้สื่อข่าวถามว่า ทำไมขาออกจากไทย จึงสแกนไม่พบปืนดังกล่าว พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า ถ้าเป็นปืนขนาดเล็ก เมื่อผ่านเครื่องสแกนในแนวตั้ง จะไม่เห็นว่าเป็นอาวุธปืน และว่า พล.ต.ท.คำรณวิทย์ คงมีปืนขนาดเล็กติดตัวไว้ ตั้งแต่รับราชการมาก็เคยใช้อยู่ตลอด ซึ่งเล็กมาก ใหญ่กว่าพวงกุญแจรถเบนซ์ไม่มาก
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เชื่อว่า กรณีที่ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ พกปืนในกระเป๋าเดินทางผ่านสนามบินสุวรรณภูมิและไปถูกจับที่สนามบินญี่ปุ่น จะไม่ส่งผลกระทบต่อการตรวจสอบขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ(ไอเคโอ) เพราะไม่เกี่ยวกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถือว่าประเทศไทยมีความผิดด้วยหรือไม่ เพราะปล่อยให้อาวุธออกนอกประเทศ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สั่งให้ไปสอบแล้วว่าผ่านการตรวจไปได้อย่างไร มีการละเว้นกันหรือไม่ เมื่อถามว่า จะช่วยเหลือ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ อย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่า อำนวยความสะดวกเรื่องทนายความ เรื่องความยุติธรรมก็ว่ากันไป
ด้าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวเช่นกันว่า กำลังตรวจสอบเรื่อง พล.ต.ท.คำรณวิทย์ พกปืนผ่านสนามบินสุวรรณภูมิและไปถูกจับที่ญี่ปุ่น “ทางสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ความมั่นคงจะต้องตรวจสอบเรื่องอาวุธและสิ่งผิดกฎหมายที่จะออกไปต่างประเทศให้ดี ถ้าเจอที่ต่างประเทศแล้วบอกว่าผ่านมาจากประเทศไทย แสดงว่าเครื่องมือเราใช้ไม่ได้ เจ้าหน้าที่ของเราห่วย”
ขณะที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การพกพาอาวุธข้ามประเทศ ทำได้ ถ้ามีใบอนุญาต และผ่านระบบนำออกให้เรียบร้อย แต่กรณี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ไม่มีการแจ้งสายการบินไทยเพื่อขออนุญาตนำอาวุธปืนขึ้นเครื่องบินแต่อย่างใด พร้อมยืนยันว่า บริษัทท่าอากาศยานไทย(ทอท.) ตรวจสอบกระเป๋าของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ทั้งที่โหลดใต้ท้องเครื่อง และกระเป๋าถือ ไม่มีปืนแน่นอน พล.อ.อ.ประจิน ยังย้ำด้วยว่า เรื่องอภิสิทธิ์ชนไม่มี ทุกคนต้องผ่านการตรวจหมด ทั้งวีไอพีด้วย และว่า ปีหน้า ไอเคโอจะมาตรวจสอบมาตรฐานการบินของไทย รวมถึงระบบตรวจสอบความปลอดภัยสนามบิน หนึ่งในนั้นคือการตรวจการพกพาอาวุธออกนอกประเทศด้วย ขณะนี้ถือว่าไทยมีมาตรฐานค่อนข้างเป็นสากล
ขณะที่ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้สั่งให้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ พกปืนผ่านด่านตรวจที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ออกนอกประเทศจนถูกจับกุมที่ญี่ปุ่น จึงได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 รับไปดำเนินการ และว่า เรื่องนี้ยังไม่ได้รับการประสานจากทางการญี่ปุ่นเรื่องคดีความ แต่ส่วนตัวเชื่อว่า พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ไม่ได้ตั้งใจที่จะพกปืนขึ้นเครื่องบินไป
ทั้งนี้ มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. เจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงโตเกียวพร้อมด้วยทนายความของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ได้เดินทางไปหารือกับอัยการของญี่ปุ่น ซึ่งอัยการญี่ปุ่นยังไม่มีการส่งสำนวนไปยังศาลแต่อย่างใด โดยขณะนี้อยู่ระหว่างควบคุมตัว พล.ต.ท.คำรณวิทย์ เป็นเวลา 10 วัน ตามคำสั่งศาล เพื่อสอบสวนข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งอาจมีการเรียกผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาว่าจะส่งฟ้องหรือไม่ โดยระหว่างนี้ ห้ามญาติเข้าเยี่ยม เว้นแต่จะทำเรื่องขอเข้าเยี่ยมผ่านทางทนายความ แต่เจ้าหน้าที่ของสถานทูตและทนายความสามารถเข้าเยี่ยมได้
มีรายงานด้วยว่า โทษสำหรับการพกพาอาวุธของประเทศญี่ปุ่นที่มีการเผยแพร่ในโซเชียลมีเดีย ระบุว่า การครอบครองอาวุธปืน ถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรงในประเทศญี่ปุ่น และมีบทลงโทษสถานหนัก หากครอบครองอาวุธปืน มีโทษจำคุกระหว่าง 1-10 ปี หากมีอาวุธปืนในครอบครอง 2 กระบอกขึ้นไป จะมีโทษจำคุก 1-15 ปี หากครอบครองอาวุธปืน พร้อมกระสุนปืน มีโทษจำคุก 3-20 ปี และว่า หากถูกตัดสินว่ามีความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืนในญี่ปุ่น โทษจำคุกมักจะไม่รอลงอาญา และมักจะอ้างว่าไม่เจตนาไม่ได้
3.“บิ๊กตู่” สั่ง ผบ.ตร.เลิกพูดเรื่องบ่อนกาสิโน ยันไม่เกิดในรัฐบาลนี้แน่ ด้าน “สมยศ-สปช.กลุ่มรักชาติ” จ๋อย ยอมหยุดพูด!
เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.กล่าวถึงแนวคิดการเปิดบ่อนกาสิโนถูกกฎหมายในไทยที่เสนอโดยสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “กลุ่มรักชาติ” นำโดย พ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย และ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) ได้ออกโรงหนุนว่า “ผมเองยังงงๆ อยู่ เขาพูดหมายถึงว่าเป็นเอ็นเตอร์เมนต์คอมเพล็กซ์หรือไม่...หรือจะเป็นการเปิดบ่อนให้คนไทยเล่น ยังไม่รู้เลย...” ผู้สื่อข่าวถามว่า ผบ.ตร. ได้ประสานมาเพื่อจะอธิบายเรื่องการตั้งบ่อนกาสิโนหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า คงไม่ต้องมาอธิบายอะไร ตนมีสมอง คิดเป็น
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เผยว่า ในอดีต สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตนได้รับมอบหมายให้เป็นประธานพิจารณาการเปิดบ่อนกาสิโน โดยมีเสียงเรียกร้องมากในขณะนั้น หลังจากพิจารณาข้อดีข้อเสีย สุดท้ายก็ได้ทำรายงานเสนอรัฐบาลว่าไม่ควรตั้ง
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ ออกมาแสดงจุดยืนว่า รัฐบาลมีความคิดจะเปิดบ่อนกาสิโนหรือไม่ เพราะที่ผ่านมา ประเทศเสียเวลาไปกับเรื่องนี้ แทนที่จะได้แก้ไขปัญหาสังคม กลับต้องมาถกเถียงว่าจะเปิดหรือไม่เปิดบ่อนการพนัน ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ แสดงจุดยืนของรัฐบาลต่อสาธารณะ เรื่องจะได้จบ
ด้านนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ชี้ว่า การท่องเที่ยวของไทยยืนอยู่ได้ด้วยสิ่งที่ประเทศมี กาสิโนไม่จำเป็นต้องมีในไทยก็ได้ เพราะคนเดินทางมาท่องเที่ยวในไทยต่างเข้ามาด้วยเหตุผลทางศิลปวัฒนธรรม
เป็นที่น่าสังเกตว่า นายสิระ เจนจาคะ สปช.ด้านสังคม ซึ่งมีท่าทีชัดเจนตั้งแต่แรกคัดค้านการเปิดกาสิโน กล่าวถึงกรณีที่ สปช.กลุ่มรักชาติเสนอให้รัฐบาลตั้งบ่อนกาสิโนถูกกฎหมายในไทยว่า ตนได้ข้อมูลมาว่า เรื่องดังกล่าวมีใบสั่งจาก พล.อ.คนหนึ่งว่า หากสมาชิก สปช.คนใดกล้าออกมาเคลื่อนไหวหนุนเปิดบ่อนกาสิโน จะได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ นอกจากนี้ยังมีกระแสข่าวว่า คนที่สามารถผลักดันให้เกิดบ่อนกาสิโนในไทยได้สำเร็จจะได้รับเงิน 1 หมื่นล้านบาท เพื่อนำไปตั้งพรรคการเมืองพรรคใหม่ จึงอยากถามว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ทั้งนี้ นายสิระ ได้สาปแช่งผู้ที่ออกมาสนับสนุนเรื่องเปิดบ่อนกาสิโนในไทยด้วยว่า ให้ครอบครัวและบุตรหลานของคนเหล่านี้ติดการพนัน แล้วจะรู้ว่าครอบครัวแตกแยกเป็นอย่างไร
ด้าน พ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย สปช.ประธานกลุ่มรักชาติ ได้ออกมาปฏิเสธ(24 มิ.ย.) ว่า การออกมาผลักดันเรื่องเปิดบ่อนกาสิโนในไทยของกลุ่มตน ไม่มีใครอยู่เบื้องหลังและไม่มีการต่อรอง และว่า สปช.กลุ่มตนจะหยุดผลักดันเรื่องบ่อนกาสิโนก็ต่อเมื่อ 1.นายกรัฐมนตรีบอกว่าไม่เอา 2.ประชาชนไม่เอาด้วย และ 3.สร้างความขัดแย้งขยายวงออกไป
เป็นที่น่าสังเกตว่า วันเดียวกัน(24 มิ.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้ออกมาแสดงจุดยืนเกี่ยวกับบ่อนกาสิโนถูกกฎหมายค่อนข้างชัดเจนเป็นครั้งแรก โดยบอกว่า ไม่อยากให้มีการพูดถึงกาสิโนอีกแล้ว เพราะไม่อยากให้ทุกคนไปให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก “อย่าเพิ่งไปให้ความสำคัญว่าจะเกิดหรือไม่เกิด เพราะอย่างไรก็ยังไม่เกิดหรอกในวันนี้ รัฐบาลยังไม่ได้ตัดสินใจอะไรเลย ยังไม่มีการพิจารณาเรื่องนี้ด้วยซ้ำ แต่เมื่อมีการยกประเด็นกันขึ้นมาก็ว่ากันไป วันนี้ก็ได้แจ้งไปยัง พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร.แล้วว่าให้หยุดพูด เพราะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ” พล.อ.ประยุทธ์ ยังยืนยันด้วยว่า เรื่องบ่อนกาสิโนไม่ใช่จะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ต้องใช้เวลานาน ถ้าจะทำ และจะยังไม่เปิดในรัฐบาลนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังออกอาการไม่พอใจที่มีการพูดกันว่า มี พล.อ.คนหนึ่งอยู่เบื้องหลังเรื่องบ่อนกาสิโน โดยบอก “พล.อ.ไหน ผมไม่เห็นมี มันก็อ้างไปเรื่อย เดี๋ยวจะเรียกมาสอบ ไปหาหลักฐานมาว่า พล.อ.ที่ไหน ใครจะให้เงินหมื่นล้าน จะพูดจาอะไรขอให้มีหลักฐาน ถ้าไม่มีหลักฐาน ผมขี้เกียจฟัง”
ด้านนายสิระ เจนจาคะ สปช.ด้านสังคม ผู้ที่ออกมาแฉว่ามี พล.อ.คนหนึ่งอยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวให้เปิดบ่อนกาสิโนถูกกฎหมายในไทย ได้ออกมาชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าวมีคนไปพูด แล้วตนได้ยินมา จึงเอามาบอกต่อ เพราะเห็นว่าไม่ถูกต้อง ก็ต้องถามผู้เกี่ยวข้องว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องจริงหรือโดนแอบอ้าง “ลองคิดดูว่า มี 12 คนนั่งกินข้าวกัน จู่ๆ ก็จับมือกันไปแถลงข่าวเรื่องการเปิดกาสิโนเป็นเรื่องเป็นราว มีใครเขาทำกัน จะเป็นไปได้หรือ ถ้าไม่มีอะไรเป็นภูมิหลังและไม่ได้อะไร...”
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลัง พล.อ.ประยุทธ์ ออกมาส่งสัญญาณชัดเจนให้ทุกคน โดยเฉพาะ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร. เลิกพูดเรื่องบ่อนกาสิโน ปรากฏว่า พล.ต.อ.สมยศ ได้ออกมาประกาศแล้วว่า น้อมรับคำท้วงติงของนายกฯ ที่บอกถึงความไม่เหมาะสม เนื่องจากเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ดังนั้นจากนี้ไปจะขอยุติการแสดงความเห็นส่วนตัวเรื่องดังกล่าว ขณะที่ พ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย สปช.กลุ่มรักชาติ ที่หนุนเปิดบ่อนกาสิโน ก็ประกาศเช่นกันว่า จะเลิกพูดเรื่องบ่อนกาสิโน แต่ยังยืนยันว่า จะเสนอรายงานการศึกษาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียเรื่อง “เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ คอมเพล็กซ์ ให้นายกฯ ภายในวันที่ 25 ก.ค.
4.ศาลฎีกา พิพากษายืนจำคุก “โอ๋ สืบ 6” 2 ปี แต่ให้รอลงอาญา คดีสั่งคนทำร้ายพันธมิตรฯ ปี ’49!
เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. ศาลอาญาได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 และผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ที่ถูกทำร้าย เป็นโจทก์ และโจทก์ร่วม ยื่นฟ้อง พล.ต.ต.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผู้บังคับการอำนวยการ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ หรือ พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา อดีตผู้กำกับการกองกำกับการสืบสวน กองบังคับการตำรวจนครบาล 6(ผกก.สส.บก.น.6) หรือ "โอ๋ สืบ 6" เป็นจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ สร้างความเสียหายให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด และเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาร่วมกันกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง อันเป็นการมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ,200 ประกอบมาตรา 83 และ 90
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2550 สรุปว่า เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2549 จำเลยดำรงตำแหน่ง ผกก.สส.บก.น.6 เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา หรือจัดการให้เป็นไปตามกฎหมายอาญา และมีหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงฯ โดยจำเลยได้ร่วมกับนายจรัล จงอ่อน นายชัยสิทธิ์ ลอม๊ะห์ และนายสุเมธ บุญยรัตพันธุ์ เข้าไปรุมใช้กำลังประทุษร้ายนายฤทธิรงค์ ลิขิตประเสริฐกุล และนายวิชัย เอื้อปิยาพันธุ์ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ตะโกนขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ไปร่วมงานบริเวณห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ย่านปทุมวัน โดยจำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่จับกุมนายจรัลกับพวกมาดำเนินคดี
โดยคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2551 ว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 157 ให้จำคุก 2 ปีและปรับ 10,000 บาท แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยกระทำความผิดมาก่อน ขณะที่จำเลยได้ประกอบคุณงามความดีด้วยการปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อประเทศชาติด้วยดีตลอดมา ประกอบกับได้ความว่า หลังจากเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยถูกลงโทษทางวินัยให้ไล่ออกจากราชการ อันทำให้จำเลยหมดอนาคตในชีวิตราชการ นับได้ว่าจำเลยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในหน้าที่การงานจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จำเลยคงสำนึกในการกระทำของตน ถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรปรานี และเพื่อให้โอกาสจำเลยได้กลับตัวประพฤติตนเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์ โดยต่อสู้ว่า ไม่เคยรู้จักกับนายจรัล กับพวกมาก่อน พร้อมอ้างว่า การไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ชี้มูลความผิดจำเลยไม่ชอบ ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำเลยจึงยื่นฎีกาต่อสู้ว่าการกระทำของจำเลยไม่ได้เป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามมาตรา 157
ทั้งนี้ ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า ที่จำเลยต่อสู้ว่า นายต่อตระกูล ยมนาค อนุกรรมการไต่สวน ของ ป.ป.ช. กระทำการขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และระเบียบของ ป.ป.ช.ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของอนุกรรมการไต่สวน พ.ศ. 2547 กรณีที่นายต่อตระกูลนำแผ่นวิซีดีที่บันทึกภาพเหตุการณ์ที่จะเป็นหลักฐานไปให้กับสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวีนั้น ศาลเห็นว่า การนำวิซีดีหลักฐานไปให้กับโจทก์ร่วมและสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวีนั้นได้กระทำก่อนที่นายต่อตระกูลจะได้รับการแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการไต่สวน กรณีของนายต่อตระกูลจึงไม่ใช่ประเด็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่จะขัดต่อระเบียบการไต่สวนของ ป.ป.ช. ขณะที่จำเลยก็ไม่ได้ต่อสู้โต้แย้งในประเด็นนี้ตั้งแต่แรก และในการไต่สวน ป.ป.ช.ได้เปิดโอกาสให้จำเลยนำเสนอพยานหลักฐานเข้าต่อสู้ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ขณะเกิดเหตุจำเลยยังเป็นนายตำรวจยศ พ.ต.อ. จึงยากที่ใครจะมากลั่นแกล้ง
ขณะที่การไต่สวนในชั้น ป.ป.ช.ก็มีหลักฐานที่เป็นแผ่นวิซีดีบันทึกภาพและเสียงการสนทนาของจำเลยและกลุ่มนายจรัล ซึ่งจำเลยอยู่ในเหตุการณ์ โดยมีการพูดคุยกับนายจรัลและนายสุเมธจริงตามภาพบันทึกเหตุการณ์ในแผ่นวิซีดี ซึ่งเมื่อพิจารณาคำพูดในแผ่นวิซีดีแล้ว จำเลยเคยรู้จักและมีอำนาจสั่งการเหนือนายจรัลและนายสุเมธมาก่อน เชื่อได้ว่าจำเลยมีส่วนรู้เห็น เพราะอยู่ในพื้นที่และสถานการณ์เดียวกัน การที่นายจรัลและนายสุเมธซึ่งไม่มีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยนายกรัฐมนตรีทำร้ายผู้เสียหาย โดยที่จำเลยไม่เข้าไประงับเหตุการณ์ ทั้งที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ต้องจับกุมผู้กระทำผิด แต่กลับละเลยไม่กระทำการดังกล่าว ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม จึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ สร้างความเสียหายให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามมาตรา 157 ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืน
เป็นที่น่าสังเกตว่า เหตุผลสำคัญอันหนึ่งที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โทษจำคุก พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ รอลงอาญา 2 ปี และในที่สุด ศาลฎีกาพิพากษายืน คือ เห็นว่า พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เคยถูกลงโทษทางวินัยร้ายแรงให้ออกจากราชการ ทำให้ได้รับผลกระทบรุนแรงต่อหน้าที่ ไม่มีอนาคตทางราชการแล้ว ...แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่า พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ ที่ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ยังไม่ถูกปลดออกจากราชการตามมติของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) แต่อย่างใด โดยยังคงรับราชการและเจริญเติบโตในหน้าที่การงาน สังเกตได้จาก เมื่อวันที่ 2 มี.ค.2553 พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ ในชื่อใหม่ พ.ต.อ.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ได้ปรากฏตัวในการแถลงข่าวจับกุมยาบ้าร่วมกับ พล.ต.ต.อดิเทพ ปัญจมานนท์ ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด โดย พ.ต.อ.ธนายุตม์ มีตำแหน่งใหม่เป็น “รองผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 3” ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก หลังจากข่าวคราวของเขาเงียบหายไปนาน
นอกจากนี้ชื่อของ พ.ต.อ.ธนายุตม์ ยังปรากฏขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 27 พ.ค.2557 หลังเหตุการณ์รัฐประหาร 22 พ.ค.ไม่กี่วัน โดยวันนั้น(27 พค.57) พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในขณะนั้น ได้สั่งโยกย้ายนายตำรวจระดับสูงในต่างจังหวัดรวม 16 นาย ให้ไปปฏิบัติราชการที่ศูนย์ปฏิบัติการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งปรากฏว่า 1 ใน 16 นาย มีชื่อของ พ.ต.อ.ธนายุตม์ หรือ โอ๋ สืบ 6 รวมอยู่ด้วย โดยคราวนี้ ยศของเขาสูงขึ้นเป็น “พล.ต.ต.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์” และตำแหน่งของเขาก็คือ “ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี”
ไม่เท่านั้น เมื่อวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันที่ศาลฎีกานัดอ่านคำพิพากษาคดี “โอ๋ สืบ 6” แต่ พล.ต.ต.ธนายุตม์ ไม่เดินทางมาศาล โดยอ้างว่า ยังไม่ได้รับหมายและติดธุระราชการ ศาลฎีกา จึงเลื่อนอ่านคำพิพากษามาเป็นวันที่ 25 มิ.ย.แทน ซึ่เป็นที่น่าสังเกตว่า ตำแหน่งของ พล.ต.ต.ธนายุตม์ เปลี่ยนไปอีกครั้ง คราวนี้เป็น “ผู้บังคับการกองอำนวยการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ”
นั่นหมายความว่า ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน พล.ต.ต.ธนายุตม์ หรือ โอ๋ สืบ 6 ยังไม่ได้รับโทษจากการกระทำของตนเองแต่อย่างใด เพราะในแง่โทษทางวินัย ก็ยังไม่ถูกปลดออกจากราชการจริง แต่ดูเหมือนศาลจะเข้าใจว่าถูกออกจากราชการไปแล้ว จึงนำประเด็นนั้นมาเป็นเหตุผลสำคัญในการให้โทษจำคุก พล.ต.ต.ธนายุตม์ รอลงอาญา 2 ปี
5.ศาลแพ่ง สั่ง 13 แกนนำพันธมิตรฯ จ่ายค่าเสียหาย ทอท.เกือบ 600 ล้านกรณีชุมนุมสนามบิน ด้านพันธมิตรฯ เตรียมแถลงแนวทางสู้คดีเร็วๆ นี้!
เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความของแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) กล่าวถึงคดีที่ศาลแพ่งมีคำพิพากษาให้ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ รวม 13 คน ชดใช้ค่าเสียหายแก่ บริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. จำนวน 522,160,947 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากการชุมนุมที่สนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิเมื่อปี 2551 ว่า หลังจากที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้แกนนำพันธมิตรฯ ทั้ง 13 คนต้องชดใช้เงินค่าเสียหายแล้ว และคดีจะครบกำหนดในการยื่นฎีกาในวันที่ 26 มิ.ย. ตนและทีมทนายความ อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดเพื่อยื่นฎีกาขอต่อสู้คดี แต่อาจไม่ทันช่วงเวลาที่กำหนด จึงเตรียมแนวทางยื่นคำร้องขอขยายเวลาในการยื่นฎีกาก่อน ซึ่งในการยื่นฎีกา ฝ่ายจำเลยจะต้องนำเงิน 7 ล้านบาทมาวางเป็นค่าธรรมเนียมศาลในการยื่นฎีกาด้วย ตนจึงเตรียมยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาเรื่องค่าธรรมเนียมเป็นกรณีอนาถา เพื่องดเว้นการวางเงินค่าธรรมเนียม 7 ล้านบาท ซึ่งต้องดูว่าศาลจะพิจารณาและมีคำสั่งอย่างไรต่อไป
สำหรับคดีนี้ สืบเนื่องจาก ทอท. ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง กับพวก ซึ่งเป็นแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ รวม 13 คน ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย กรณีร่วมกันนำผู้ชุมนุมหลายหมื่นคนไปบุกยึดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมืองระหว่างวันที่ 24 พ.ย. - 3 ธ.ค. 2551 เพื่อประท้วงรัฐบาลและขับไล่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ทำให้การให้บริการต่างๆ ภายในท่าอากาศยานทั้งสองแห่งต้องหยุดลง
ซึ่งศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาชั้นต้นเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2554 ให้จำเลยทั้ง 13 คน ร่วมกันชดใช้เงินกว่า 522 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันที่ 3 ธ.ค. 2551 จนกว่าจะชำระเสร็จ รวมทั้งให้จ่ายค่าธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์เป็นเงิน 80,000 บาทด้วย เนื่องจากเห็นว่าการชุมนุมที่จะได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 63 นั้น หมายถึงการชุมนุมที่เป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธ ตาม มาตรา 63 วรรคหนึ่ง แต่การชุมนุมของพวกจำเลย ไม่ได้เป็นไปตามหลักการดังกล่าว และยังส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและประโยชน์สาธารณะ ละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพและการคมนาคมของประชาชน ซึ่งการชุมนุมจะต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี ตามมาตรา 28 การชุมนุมจะต้องตั้งอยู่บนหลักแห่งความสมดุลกับสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่ใช่สิทธิเด็ดขาดที่พวกจำเลยทั้ง 13 ซึ่งเป็นผู้จัดการชุมนุมหรือผู้เข้าร่วมชุมนุม จะสามารถกระทำการใดๆ ก็ได้ โดยไม่อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือข้อบังคับใดๆ อีกทั้งการปิดสนามบินยังก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายในหมู่ผู้โดยสาร และผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์ ส่งผลเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศอย่างรุนแรง จึงเป็นวัตถุประสงค์ให้เกิดความไม่สงบภายในบ้านเมือง
ต่อมา เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. นายสุริยะใส กตะศิลา อาจารย์นวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และอดีตผู้ประสานงานกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงความคืบหน้าแนวทางการต่อสู้คดีแพ่งที่ศาลสั่งให้แกนนำพันธมิตรฯ 13 คนชดใช้ค่าเสียหาย 600 ล้านบาทกรณีชุมนุมที่สนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิว่า แกนนำพันธมิตรฯ ไม่ได้ยื่นขอขยายเวลาต่อศาลฎีกา และว่า ทีมทนายและนักกฎหมายได้ระดมความคิดอย่างหนักตลอด 2-3 วันที่ผ่านมา พบช่องทางตามกฎหมายในเบื้องต้น คาดว่า 2-3 วันจะได้ข้อสรุป และจะแถลงต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการอีกครั้ง
ส่วนเงินบริจาคที่พี่น้องประชาชนบริจาคผ่านกองทุนสู้คดีของพันธมิตรฯ นั้น นายสุริยะใส เผยว่า ขณะนี้ยอด ณ วันที่ 26 มิ.ย.ทะลุ 7 ล้านบาทแล้ว โดยยังคงมีผู้บริจาคเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งตนและคณะจะชี้แจงและรายงานอย่างเป็นทางการ รวมถึงแนวทางในการบริหารจัดการเงินที่พี่น้องบริจาคเข้ามา เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย พร้อมขอบคุณทุกคนที่ห่วงใย ช่วยกันบริจาค และคอยให้กำลังใจอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
1.“บิ๊กตู่” ใช้ ม.44 ฟัน 71 ขรก.-นักการเมืองท้องถิ่น “ปลัด ก.ท่องเที่ยวฯ-เลขาฯ “สปสช.” ไม่รอด ด้าน “ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม” โดนด้วย!
เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เรื่องแต่งตั้งและให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดํารงตําแหน่งและปฏิบัติหน้าที่อื่น เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของงานอันเป็นประโยชน์ในการปฏิรูปราชการแผ่นดิน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 จึงมีคําสั่งดังนี้ 1.ให้นายสุวัตร สิทธิหล่อ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ไปดํารงตําแหน่งที่ปรึกษาพิเศษสํานักนายกรัฐมนตรี
2. ให้ผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการจำนวน 21 ราย หยุดปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งเดิมเป็นการชั่วคราว และไปปฏิบัติราชการในตําแหน่งประจําสํานักงานปลัดกระทรวงที่สังกัดโดยไม่ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิม และให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดมอบหมาย โดยนายกรัฐมนตรีจะมีคําสั่งให้ผู้นั้นไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐเป็นการชั่วคราวก็ได้ โดยข้าราชการกลุ่มนี้ ได้แก่ นายวินัย สวัสดิวร เลขาธิการสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กระทรวงสาธารณสุข , นายขวัญชัย วงศ์นิติกร อธิบดีกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ฯลฯ
3. ให้ผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 2 , 3 และ 4 หยุดปฏิบัติราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดํารงตําแหน่งอยู่เป็นการชั่วคราวโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน โดยผู้ที่อยู่ใน 3 กลุ่มนี้ มีจำนวน 32 ราย แบ่งเป็น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 7 ราย ได้แก่ นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ , นายพรชัย โควสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ฯลฯ , นายกและรองนายกองค์การบริหารส่วนตําบล 17 ราย , นายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาล 18 ราย
4. ให้ผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 5 ไปช่วยราชการที่ศาลากลางจังหวัดที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นตั้งอยู่หรือสถานที่ราชการอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกําหนด แต่ต้องมิใช่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่อยู่เดิม โดยไม่ต้องมีคําร้องขอ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นผู้บังคับบัญชามีอํานาจมอบหมายให้ผู้นั้นปฏิบัติงานตามความเหมาะสม มิให้บุคคลดังกล่าวได้รับเงินประจําตําแหน่งและสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว ซึ่งกลุ่มนี้เป็นข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 7 ราย ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 มิ.ย.2558 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ วันต่อมา(26 มิ.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้ออกมายืนยันว่า ข้าราชการทั้ง 71 คนยังไม่ถือว่ามีความผิด เพราะเป็นการรวบรวมรายชื่อที่มีการร้องเรียนอยู่ในกระบวนการตรวจสอบทั้งหมด ถ้าเรื่องไหนสำคัญมากๆ หรือเป็นปัญหาใหญ่ ก็จำเป็นต้องรื้อตำแหน่งระดับสูงให้ขยับออกมาก่อน เพื่อให้เกิดการสอบสวน หาพยานหลักฐานในเชิงประจักษ์ให้ได้ แต่ถ้าไม่ผิด ก็กลับมาที่เดิม เพราะตนไม่ได้ตั้งใครแทน เป็นการรักษาราชการ โดยผู้อาวุโสแต่ละหน่วยงานตั้งขึ้นมาตามระเบียบอยู่แล้ว
2.ตร.ญี่ปุ่น รวบ “คำรณวิทย์” คาสนามบิน ฐานพกปืนในกระเป๋าเดินทาง เจ้าตัวบอก ลืมไว้เมื่อไหร่ไม่รู้ ด้าน “บิ๊กตู่” สั่งสอบซุกปืนผ่านสุวรรณภูมิได้อย่างไร!
เมื่อเย็นวันที่ 22 มิ.ย. พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจประเทศญี่ปุ่นจับกุมตัวข้อหามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองที่สนามบินนาริตะ ขณะกำลังจะเดินทางกลับประเทศไทย ด้านสำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า โฆษกตำรวจญี่ปุ่นเผยว่า เจ้าหน้าที่สนามบินนาริตะตรวจพบปืนรีวอลโว่บรรจุกระสุน 5 นัด ในกระเป๋าเดินทางของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ จึงจับกุมข้อหาละเมิดกฎหมายควบคุมอาวุธปืนของญี่ปุ่น ซึ่ง พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ยอมรับว่า ปืนเป็นของตนเองจริง เป็นของขวัญที่ได้จากเพื่อน และลืมไปแล้วว่าใส่ไว้ในกระเป๋าเดินทาง โดย พล.ต.ท.คำรณวิทย์ เดินทางเข้าญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. เพื่อเยี่ยมชมโรงงานเผาขยะ โดยมีกลุ่มคณะที่เดินทางไปด้วยกันประมาณ 80 คน
ด้าน พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลง(24 มิ.ย.) ว่า เบื้องต้นทราบว่า พล.ต.ท.คำรณวิทย์ รับสารภาพว่าเป็นเจ้าของปืนดังกล่าว โดยลืมไว้ในกระเป๋าใส่ยา ตอนเดินทางไปญี่ปุ่นได้โหลดใส่ไว้ใต้เครื่อง แต่พอขากลับ นำกระเป๋ายามาใส่กระเป๋าสะพาย กระทั่งถูกจับกุมตัวดังกล่าว ผู้สื่อข่าวถามว่า ทำไมขาออกจากไทย จึงสแกนไม่พบปืนดังกล่าว พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า ถ้าเป็นปืนขนาดเล็ก เมื่อผ่านเครื่องสแกนในแนวตั้ง จะไม่เห็นว่าเป็นอาวุธปืน และว่า พล.ต.ท.คำรณวิทย์ คงมีปืนขนาดเล็กติดตัวไว้ ตั้งแต่รับราชการมาก็เคยใช้อยู่ตลอด ซึ่งเล็กมาก ใหญ่กว่าพวงกุญแจรถเบนซ์ไม่มาก
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เชื่อว่า กรณีที่ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ พกปืนในกระเป๋าเดินทางผ่านสนามบินสุวรรณภูมิและไปถูกจับที่สนามบินญี่ปุ่น จะไม่ส่งผลกระทบต่อการตรวจสอบขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ(ไอเคโอ) เพราะไม่เกี่ยวกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถือว่าประเทศไทยมีความผิดด้วยหรือไม่ เพราะปล่อยให้อาวุธออกนอกประเทศ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สั่งให้ไปสอบแล้วว่าผ่านการตรวจไปได้อย่างไร มีการละเว้นกันหรือไม่ เมื่อถามว่า จะช่วยเหลือ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ อย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่า อำนวยความสะดวกเรื่องทนายความ เรื่องความยุติธรรมก็ว่ากันไป
ด้าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวเช่นกันว่า กำลังตรวจสอบเรื่อง พล.ต.ท.คำรณวิทย์ พกปืนผ่านสนามบินสุวรรณภูมิและไปถูกจับที่ญี่ปุ่น “ทางสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ความมั่นคงจะต้องตรวจสอบเรื่องอาวุธและสิ่งผิดกฎหมายที่จะออกไปต่างประเทศให้ดี ถ้าเจอที่ต่างประเทศแล้วบอกว่าผ่านมาจากประเทศไทย แสดงว่าเครื่องมือเราใช้ไม่ได้ เจ้าหน้าที่ของเราห่วย”
ขณะที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การพกพาอาวุธข้ามประเทศ ทำได้ ถ้ามีใบอนุญาต และผ่านระบบนำออกให้เรียบร้อย แต่กรณี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ไม่มีการแจ้งสายการบินไทยเพื่อขออนุญาตนำอาวุธปืนขึ้นเครื่องบินแต่อย่างใด พร้อมยืนยันว่า บริษัทท่าอากาศยานไทย(ทอท.) ตรวจสอบกระเป๋าของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ทั้งที่โหลดใต้ท้องเครื่อง และกระเป๋าถือ ไม่มีปืนแน่นอน พล.อ.อ.ประจิน ยังย้ำด้วยว่า เรื่องอภิสิทธิ์ชนไม่มี ทุกคนต้องผ่านการตรวจหมด ทั้งวีไอพีด้วย และว่า ปีหน้า ไอเคโอจะมาตรวจสอบมาตรฐานการบินของไทย รวมถึงระบบตรวจสอบความปลอดภัยสนามบิน หนึ่งในนั้นคือการตรวจการพกพาอาวุธออกนอกประเทศด้วย ขณะนี้ถือว่าไทยมีมาตรฐานค่อนข้างเป็นสากล
ขณะที่ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้สั่งให้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ พกปืนผ่านด่านตรวจที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ออกนอกประเทศจนถูกจับกุมที่ญี่ปุ่น จึงได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 รับไปดำเนินการ และว่า เรื่องนี้ยังไม่ได้รับการประสานจากทางการญี่ปุ่นเรื่องคดีความ แต่ส่วนตัวเชื่อว่า พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ไม่ได้ตั้งใจที่จะพกปืนขึ้นเครื่องบินไป
ทั้งนี้ มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. เจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงโตเกียวพร้อมด้วยทนายความของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ได้เดินทางไปหารือกับอัยการของญี่ปุ่น ซึ่งอัยการญี่ปุ่นยังไม่มีการส่งสำนวนไปยังศาลแต่อย่างใด โดยขณะนี้อยู่ระหว่างควบคุมตัว พล.ต.ท.คำรณวิทย์ เป็นเวลา 10 วัน ตามคำสั่งศาล เพื่อสอบสวนข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งอาจมีการเรียกผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาว่าจะส่งฟ้องหรือไม่ โดยระหว่างนี้ ห้ามญาติเข้าเยี่ยม เว้นแต่จะทำเรื่องขอเข้าเยี่ยมผ่านทางทนายความ แต่เจ้าหน้าที่ของสถานทูตและทนายความสามารถเข้าเยี่ยมได้
มีรายงานด้วยว่า โทษสำหรับการพกพาอาวุธของประเทศญี่ปุ่นที่มีการเผยแพร่ในโซเชียลมีเดีย ระบุว่า การครอบครองอาวุธปืน ถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรงในประเทศญี่ปุ่น และมีบทลงโทษสถานหนัก หากครอบครองอาวุธปืน มีโทษจำคุกระหว่าง 1-10 ปี หากมีอาวุธปืนในครอบครอง 2 กระบอกขึ้นไป จะมีโทษจำคุก 1-15 ปี หากครอบครองอาวุธปืน พร้อมกระสุนปืน มีโทษจำคุก 3-20 ปี และว่า หากถูกตัดสินว่ามีความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืนในญี่ปุ่น โทษจำคุกมักจะไม่รอลงอาญา และมักจะอ้างว่าไม่เจตนาไม่ได้
3.“บิ๊กตู่” สั่ง ผบ.ตร.เลิกพูดเรื่องบ่อนกาสิโน ยันไม่เกิดในรัฐบาลนี้แน่ ด้าน “สมยศ-สปช.กลุ่มรักชาติ” จ๋อย ยอมหยุดพูด!
เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.กล่าวถึงแนวคิดการเปิดบ่อนกาสิโนถูกกฎหมายในไทยที่เสนอโดยสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “กลุ่มรักชาติ” นำโดย พ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย และ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) ได้ออกโรงหนุนว่า “ผมเองยังงงๆ อยู่ เขาพูดหมายถึงว่าเป็นเอ็นเตอร์เมนต์คอมเพล็กซ์หรือไม่...หรือจะเป็นการเปิดบ่อนให้คนไทยเล่น ยังไม่รู้เลย...” ผู้สื่อข่าวถามว่า ผบ.ตร. ได้ประสานมาเพื่อจะอธิบายเรื่องการตั้งบ่อนกาสิโนหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า คงไม่ต้องมาอธิบายอะไร ตนมีสมอง คิดเป็น
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เผยว่า ในอดีต สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตนได้รับมอบหมายให้เป็นประธานพิจารณาการเปิดบ่อนกาสิโน โดยมีเสียงเรียกร้องมากในขณะนั้น หลังจากพิจารณาข้อดีข้อเสีย สุดท้ายก็ได้ทำรายงานเสนอรัฐบาลว่าไม่ควรตั้ง
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ ออกมาแสดงจุดยืนว่า รัฐบาลมีความคิดจะเปิดบ่อนกาสิโนหรือไม่ เพราะที่ผ่านมา ประเทศเสียเวลาไปกับเรื่องนี้ แทนที่จะได้แก้ไขปัญหาสังคม กลับต้องมาถกเถียงว่าจะเปิดหรือไม่เปิดบ่อนการพนัน ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ แสดงจุดยืนของรัฐบาลต่อสาธารณะ เรื่องจะได้จบ
ด้านนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ชี้ว่า การท่องเที่ยวของไทยยืนอยู่ได้ด้วยสิ่งที่ประเทศมี กาสิโนไม่จำเป็นต้องมีในไทยก็ได้ เพราะคนเดินทางมาท่องเที่ยวในไทยต่างเข้ามาด้วยเหตุผลทางศิลปวัฒนธรรม
เป็นที่น่าสังเกตว่า นายสิระ เจนจาคะ สปช.ด้านสังคม ซึ่งมีท่าทีชัดเจนตั้งแต่แรกคัดค้านการเปิดกาสิโน กล่าวถึงกรณีที่ สปช.กลุ่มรักชาติเสนอให้รัฐบาลตั้งบ่อนกาสิโนถูกกฎหมายในไทยว่า ตนได้ข้อมูลมาว่า เรื่องดังกล่าวมีใบสั่งจาก พล.อ.คนหนึ่งว่า หากสมาชิก สปช.คนใดกล้าออกมาเคลื่อนไหวหนุนเปิดบ่อนกาสิโน จะได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ นอกจากนี้ยังมีกระแสข่าวว่า คนที่สามารถผลักดันให้เกิดบ่อนกาสิโนในไทยได้สำเร็จจะได้รับเงิน 1 หมื่นล้านบาท เพื่อนำไปตั้งพรรคการเมืองพรรคใหม่ จึงอยากถามว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ทั้งนี้ นายสิระ ได้สาปแช่งผู้ที่ออกมาสนับสนุนเรื่องเปิดบ่อนกาสิโนในไทยด้วยว่า ให้ครอบครัวและบุตรหลานของคนเหล่านี้ติดการพนัน แล้วจะรู้ว่าครอบครัวแตกแยกเป็นอย่างไร
ด้าน พ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย สปช.ประธานกลุ่มรักชาติ ได้ออกมาปฏิเสธ(24 มิ.ย.) ว่า การออกมาผลักดันเรื่องเปิดบ่อนกาสิโนในไทยของกลุ่มตน ไม่มีใครอยู่เบื้องหลังและไม่มีการต่อรอง และว่า สปช.กลุ่มตนจะหยุดผลักดันเรื่องบ่อนกาสิโนก็ต่อเมื่อ 1.นายกรัฐมนตรีบอกว่าไม่เอา 2.ประชาชนไม่เอาด้วย และ 3.สร้างความขัดแย้งขยายวงออกไป
เป็นที่น่าสังเกตว่า วันเดียวกัน(24 มิ.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้ออกมาแสดงจุดยืนเกี่ยวกับบ่อนกาสิโนถูกกฎหมายค่อนข้างชัดเจนเป็นครั้งแรก โดยบอกว่า ไม่อยากให้มีการพูดถึงกาสิโนอีกแล้ว เพราะไม่อยากให้ทุกคนไปให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก “อย่าเพิ่งไปให้ความสำคัญว่าจะเกิดหรือไม่เกิด เพราะอย่างไรก็ยังไม่เกิดหรอกในวันนี้ รัฐบาลยังไม่ได้ตัดสินใจอะไรเลย ยังไม่มีการพิจารณาเรื่องนี้ด้วยซ้ำ แต่เมื่อมีการยกประเด็นกันขึ้นมาก็ว่ากันไป วันนี้ก็ได้แจ้งไปยัง พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร.แล้วว่าให้หยุดพูด เพราะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ” พล.อ.ประยุทธ์ ยังยืนยันด้วยว่า เรื่องบ่อนกาสิโนไม่ใช่จะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ต้องใช้เวลานาน ถ้าจะทำ และจะยังไม่เปิดในรัฐบาลนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังออกอาการไม่พอใจที่มีการพูดกันว่า มี พล.อ.คนหนึ่งอยู่เบื้องหลังเรื่องบ่อนกาสิโน โดยบอก “พล.อ.ไหน ผมไม่เห็นมี มันก็อ้างไปเรื่อย เดี๋ยวจะเรียกมาสอบ ไปหาหลักฐานมาว่า พล.อ.ที่ไหน ใครจะให้เงินหมื่นล้าน จะพูดจาอะไรขอให้มีหลักฐาน ถ้าไม่มีหลักฐาน ผมขี้เกียจฟัง”
ด้านนายสิระ เจนจาคะ สปช.ด้านสังคม ผู้ที่ออกมาแฉว่ามี พล.อ.คนหนึ่งอยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวให้เปิดบ่อนกาสิโนถูกกฎหมายในไทย ได้ออกมาชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าวมีคนไปพูด แล้วตนได้ยินมา จึงเอามาบอกต่อ เพราะเห็นว่าไม่ถูกต้อง ก็ต้องถามผู้เกี่ยวข้องว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องจริงหรือโดนแอบอ้าง “ลองคิดดูว่า มี 12 คนนั่งกินข้าวกัน จู่ๆ ก็จับมือกันไปแถลงข่าวเรื่องการเปิดกาสิโนเป็นเรื่องเป็นราว มีใครเขาทำกัน จะเป็นไปได้หรือ ถ้าไม่มีอะไรเป็นภูมิหลังและไม่ได้อะไร...”
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลัง พล.อ.ประยุทธ์ ออกมาส่งสัญญาณชัดเจนให้ทุกคน โดยเฉพาะ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร. เลิกพูดเรื่องบ่อนกาสิโน ปรากฏว่า พล.ต.อ.สมยศ ได้ออกมาประกาศแล้วว่า น้อมรับคำท้วงติงของนายกฯ ที่บอกถึงความไม่เหมาะสม เนื่องจากเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ดังนั้นจากนี้ไปจะขอยุติการแสดงความเห็นส่วนตัวเรื่องดังกล่าว ขณะที่ พ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย สปช.กลุ่มรักชาติ ที่หนุนเปิดบ่อนกาสิโน ก็ประกาศเช่นกันว่า จะเลิกพูดเรื่องบ่อนกาสิโน แต่ยังยืนยันว่า จะเสนอรายงานการศึกษาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียเรื่อง “เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ คอมเพล็กซ์ ให้นายกฯ ภายในวันที่ 25 ก.ค.
4.ศาลฎีกา พิพากษายืนจำคุก “โอ๋ สืบ 6” 2 ปี แต่ให้รอลงอาญา คดีสั่งคนทำร้ายพันธมิตรฯ ปี ’49!
เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. ศาลอาญาได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 และผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ที่ถูกทำร้าย เป็นโจทก์ และโจทก์ร่วม ยื่นฟ้อง พล.ต.ต.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผู้บังคับการอำนวยการ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ หรือ พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา อดีตผู้กำกับการกองกำกับการสืบสวน กองบังคับการตำรวจนครบาล 6(ผกก.สส.บก.น.6) หรือ "โอ๋ สืบ 6" เป็นจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ สร้างความเสียหายให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด และเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาร่วมกันกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง อันเป็นการมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ,200 ประกอบมาตรา 83 และ 90
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2550 สรุปว่า เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2549 จำเลยดำรงตำแหน่ง ผกก.สส.บก.น.6 เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา หรือจัดการให้เป็นไปตามกฎหมายอาญา และมีหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงฯ โดยจำเลยได้ร่วมกับนายจรัล จงอ่อน นายชัยสิทธิ์ ลอม๊ะห์ และนายสุเมธ บุญยรัตพันธุ์ เข้าไปรุมใช้กำลังประทุษร้ายนายฤทธิรงค์ ลิขิตประเสริฐกุล และนายวิชัย เอื้อปิยาพันธุ์ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ตะโกนขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ไปร่วมงานบริเวณห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ย่านปทุมวัน โดยจำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่จับกุมนายจรัลกับพวกมาดำเนินคดี
โดยคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2551 ว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 157 ให้จำคุก 2 ปีและปรับ 10,000 บาท แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยกระทำความผิดมาก่อน ขณะที่จำเลยได้ประกอบคุณงามความดีด้วยการปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อประเทศชาติด้วยดีตลอดมา ประกอบกับได้ความว่า หลังจากเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยถูกลงโทษทางวินัยให้ไล่ออกจากราชการ อันทำให้จำเลยหมดอนาคตในชีวิตราชการ นับได้ว่าจำเลยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในหน้าที่การงานจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จำเลยคงสำนึกในการกระทำของตน ถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรปรานี และเพื่อให้โอกาสจำเลยได้กลับตัวประพฤติตนเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์ โดยต่อสู้ว่า ไม่เคยรู้จักกับนายจรัล กับพวกมาก่อน พร้อมอ้างว่า การไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ชี้มูลความผิดจำเลยไม่ชอบ ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำเลยจึงยื่นฎีกาต่อสู้ว่าการกระทำของจำเลยไม่ได้เป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามมาตรา 157
ทั้งนี้ ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า ที่จำเลยต่อสู้ว่า นายต่อตระกูล ยมนาค อนุกรรมการไต่สวน ของ ป.ป.ช. กระทำการขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และระเบียบของ ป.ป.ช.ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของอนุกรรมการไต่สวน พ.ศ. 2547 กรณีที่นายต่อตระกูลนำแผ่นวิซีดีที่บันทึกภาพเหตุการณ์ที่จะเป็นหลักฐานไปให้กับสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวีนั้น ศาลเห็นว่า การนำวิซีดีหลักฐานไปให้กับโจทก์ร่วมและสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวีนั้นได้กระทำก่อนที่นายต่อตระกูลจะได้รับการแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการไต่สวน กรณีของนายต่อตระกูลจึงไม่ใช่ประเด็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่จะขัดต่อระเบียบการไต่สวนของ ป.ป.ช. ขณะที่จำเลยก็ไม่ได้ต่อสู้โต้แย้งในประเด็นนี้ตั้งแต่แรก และในการไต่สวน ป.ป.ช.ได้เปิดโอกาสให้จำเลยนำเสนอพยานหลักฐานเข้าต่อสู้ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ขณะเกิดเหตุจำเลยยังเป็นนายตำรวจยศ พ.ต.อ. จึงยากที่ใครจะมากลั่นแกล้ง
ขณะที่การไต่สวนในชั้น ป.ป.ช.ก็มีหลักฐานที่เป็นแผ่นวิซีดีบันทึกภาพและเสียงการสนทนาของจำเลยและกลุ่มนายจรัล ซึ่งจำเลยอยู่ในเหตุการณ์ โดยมีการพูดคุยกับนายจรัลและนายสุเมธจริงตามภาพบันทึกเหตุการณ์ในแผ่นวิซีดี ซึ่งเมื่อพิจารณาคำพูดในแผ่นวิซีดีแล้ว จำเลยเคยรู้จักและมีอำนาจสั่งการเหนือนายจรัลและนายสุเมธมาก่อน เชื่อได้ว่าจำเลยมีส่วนรู้เห็น เพราะอยู่ในพื้นที่และสถานการณ์เดียวกัน การที่นายจรัลและนายสุเมธซึ่งไม่มีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยนายกรัฐมนตรีทำร้ายผู้เสียหาย โดยที่จำเลยไม่เข้าไประงับเหตุการณ์ ทั้งที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ต้องจับกุมผู้กระทำผิด แต่กลับละเลยไม่กระทำการดังกล่าว ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม จึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ สร้างความเสียหายให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามมาตรา 157 ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืน
เป็นที่น่าสังเกตว่า เหตุผลสำคัญอันหนึ่งที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โทษจำคุก พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ รอลงอาญา 2 ปี และในที่สุด ศาลฎีกาพิพากษายืน คือ เห็นว่า พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เคยถูกลงโทษทางวินัยร้ายแรงให้ออกจากราชการ ทำให้ได้รับผลกระทบรุนแรงต่อหน้าที่ ไม่มีอนาคตทางราชการแล้ว ...แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่า พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ ที่ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ยังไม่ถูกปลดออกจากราชการตามมติของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) แต่อย่างใด โดยยังคงรับราชการและเจริญเติบโตในหน้าที่การงาน สังเกตได้จาก เมื่อวันที่ 2 มี.ค.2553 พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ ในชื่อใหม่ พ.ต.อ.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ได้ปรากฏตัวในการแถลงข่าวจับกุมยาบ้าร่วมกับ พล.ต.ต.อดิเทพ ปัญจมานนท์ ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด โดย พ.ต.อ.ธนายุตม์ มีตำแหน่งใหม่เป็น “รองผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 3” ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก หลังจากข่าวคราวของเขาเงียบหายไปนาน
นอกจากนี้ชื่อของ พ.ต.อ.ธนายุตม์ ยังปรากฏขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 27 พ.ค.2557 หลังเหตุการณ์รัฐประหาร 22 พ.ค.ไม่กี่วัน โดยวันนั้น(27 พค.57) พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในขณะนั้น ได้สั่งโยกย้ายนายตำรวจระดับสูงในต่างจังหวัดรวม 16 นาย ให้ไปปฏิบัติราชการที่ศูนย์ปฏิบัติการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งปรากฏว่า 1 ใน 16 นาย มีชื่อของ พ.ต.อ.ธนายุตม์ หรือ โอ๋ สืบ 6 รวมอยู่ด้วย โดยคราวนี้ ยศของเขาสูงขึ้นเป็น “พล.ต.ต.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์” และตำแหน่งของเขาก็คือ “ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี”
ไม่เท่านั้น เมื่อวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันที่ศาลฎีกานัดอ่านคำพิพากษาคดี “โอ๋ สืบ 6” แต่ พล.ต.ต.ธนายุตม์ ไม่เดินทางมาศาล โดยอ้างว่า ยังไม่ได้รับหมายและติดธุระราชการ ศาลฎีกา จึงเลื่อนอ่านคำพิพากษามาเป็นวันที่ 25 มิ.ย.แทน ซึ่เป็นที่น่าสังเกตว่า ตำแหน่งของ พล.ต.ต.ธนายุตม์ เปลี่ยนไปอีกครั้ง คราวนี้เป็น “ผู้บังคับการกองอำนวยการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ”
นั่นหมายความว่า ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน พล.ต.ต.ธนายุตม์ หรือ โอ๋ สืบ 6 ยังไม่ได้รับโทษจากการกระทำของตนเองแต่อย่างใด เพราะในแง่โทษทางวินัย ก็ยังไม่ถูกปลดออกจากราชการจริง แต่ดูเหมือนศาลจะเข้าใจว่าถูกออกจากราชการไปแล้ว จึงนำประเด็นนั้นมาเป็นเหตุผลสำคัญในการให้โทษจำคุก พล.ต.ต.ธนายุตม์ รอลงอาญา 2 ปี
5.ศาลแพ่ง สั่ง 13 แกนนำพันธมิตรฯ จ่ายค่าเสียหาย ทอท.เกือบ 600 ล้านกรณีชุมนุมสนามบิน ด้านพันธมิตรฯ เตรียมแถลงแนวทางสู้คดีเร็วๆ นี้!
เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความของแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) กล่าวถึงคดีที่ศาลแพ่งมีคำพิพากษาให้ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ รวม 13 คน ชดใช้ค่าเสียหายแก่ บริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. จำนวน 522,160,947 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากการชุมนุมที่สนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิเมื่อปี 2551 ว่า หลังจากที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้แกนนำพันธมิตรฯ ทั้ง 13 คนต้องชดใช้เงินค่าเสียหายแล้ว และคดีจะครบกำหนดในการยื่นฎีกาในวันที่ 26 มิ.ย. ตนและทีมทนายความ อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดเพื่อยื่นฎีกาขอต่อสู้คดี แต่อาจไม่ทันช่วงเวลาที่กำหนด จึงเตรียมแนวทางยื่นคำร้องขอขยายเวลาในการยื่นฎีกาก่อน ซึ่งในการยื่นฎีกา ฝ่ายจำเลยจะต้องนำเงิน 7 ล้านบาทมาวางเป็นค่าธรรมเนียมศาลในการยื่นฎีกาด้วย ตนจึงเตรียมยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาเรื่องค่าธรรมเนียมเป็นกรณีอนาถา เพื่องดเว้นการวางเงินค่าธรรมเนียม 7 ล้านบาท ซึ่งต้องดูว่าศาลจะพิจารณาและมีคำสั่งอย่างไรต่อไป
สำหรับคดีนี้ สืบเนื่องจาก ทอท. ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง กับพวก ซึ่งเป็นแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ รวม 13 คน ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย กรณีร่วมกันนำผู้ชุมนุมหลายหมื่นคนไปบุกยึดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมืองระหว่างวันที่ 24 พ.ย. - 3 ธ.ค. 2551 เพื่อประท้วงรัฐบาลและขับไล่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ทำให้การให้บริการต่างๆ ภายในท่าอากาศยานทั้งสองแห่งต้องหยุดลง
ซึ่งศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาชั้นต้นเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2554 ให้จำเลยทั้ง 13 คน ร่วมกันชดใช้เงินกว่า 522 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันที่ 3 ธ.ค. 2551 จนกว่าจะชำระเสร็จ รวมทั้งให้จ่ายค่าธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์เป็นเงิน 80,000 บาทด้วย เนื่องจากเห็นว่าการชุมนุมที่จะได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 63 นั้น หมายถึงการชุมนุมที่เป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธ ตาม มาตรา 63 วรรคหนึ่ง แต่การชุมนุมของพวกจำเลย ไม่ได้เป็นไปตามหลักการดังกล่าว และยังส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและประโยชน์สาธารณะ ละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพและการคมนาคมของประชาชน ซึ่งการชุมนุมจะต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี ตามมาตรา 28 การชุมนุมจะต้องตั้งอยู่บนหลักแห่งความสมดุลกับสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่ใช่สิทธิเด็ดขาดที่พวกจำเลยทั้ง 13 ซึ่งเป็นผู้จัดการชุมนุมหรือผู้เข้าร่วมชุมนุม จะสามารถกระทำการใดๆ ก็ได้ โดยไม่อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือข้อบังคับใดๆ อีกทั้งการปิดสนามบินยังก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายในหมู่ผู้โดยสาร และผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์ ส่งผลเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศอย่างรุนแรง จึงเป็นวัตถุประสงค์ให้เกิดความไม่สงบภายในบ้านเมือง
ต่อมา เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. นายสุริยะใส กตะศิลา อาจารย์นวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และอดีตผู้ประสานงานกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงความคืบหน้าแนวทางการต่อสู้คดีแพ่งที่ศาลสั่งให้แกนนำพันธมิตรฯ 13 คนชดใช้ค่าเสียหาย 600 ล้านบาทกรณีชุมนุมที่สนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิว่า แกนนำพันธมิตรฯ ไม่ได้ยื่นขอขยายเวลาต่อศาลฎีกา และว่า ทีมทนายและนักกฎหมายได้ระดมความคิดอย่างหนักตลอด 2-3 วันที่ผ่านมา พบช่องทางตามกฎหมายในเบื้องต้น คาดว่า 2-3 วันจะได้ข้อสรุป และจะแถลงต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการอีกครั้ง
ส่วนเงินบริจาคที่พี่น้องประชาชนบริจาคผ่านกองทุนสู้คดีของพันธมิตรฯ นั้น นายสุริยะใส เผยว่า ขณะนี้ยอด ณ วันที่ 26 มิ.ย.ทะลุ 7 ล้านบาทแล้ว โดยยังคงมีผู้บริจาคเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งตนและคณะจะชี้แจงและรายงานอย่างเป็นทางการ รวมถึงแนวทางในการบริหารจัดการเงินที่พี่น้องบริจาคเข้ามา เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย พร้อมขอบคุณทุกคนที่ห่วงใย ช่วยกันบริจาค และคอยให้กำลังใจอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ