14 ปี นับแต่การเกิดมีศาลปกครองขึ้นมาในบ้านเรา ประชาชนจำนวนไม่น้อยอาจจะยังไม่รู้ว่าศาลแห่งนี้มีไว้เพื่อการใด และนั่นยังไม่ต้องพูดถึงการไม่เข้าใจว่าคดีใดแบบไหนบ้างที่เข้าข่ายสามารถฟ้องร้องให้ศาลปกครองช่วยไต่สวน
เราอาจจะรู้ว่าเราสามารถเรียกร้องให้ศาลปกครองช่วยตัดสิน เมื่อมีการละเมิดสิทธิของประชาชนที่กระทำโดยหน่วยงานของรัฐหรือราชการ แต่คดีปกครอง จำกัดอยู่เพียงแค่นั้น เท่านั้นหรือ
....
“สอบไม่ผ่าน ฟ้องศาลตรวจสอบอาจารย์ได้ไหม”
“ขับรถตกทางในเขตก่อสร้าง ใครรับผิดชอบ”
“ฝากบ้านกับตำรวจ โดนขโมยขึ้นบ้าย เอาผิดตำรวจได้ไหม”
“ทำกินในที่ดินไร้สิทธิ รัฐมีสิทธิทวงคืนได้ไหม”
“ข้าราชการถูกโอนย้ายไม่เป็นธรรม กลั่นแกล้งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือน”
...จากตัวอย่างคำโปรยเหล่านี้บนปกหลังของหนังสือ “คดีปกครองต้องรู้” คือตัวอย่างคร่าวๆ ที่บอกให้เรารู้ว่าเรื่องราวทางคดีปกครองนั้น กว้างมาก และเกี่ยวพันกับชีวิต สิทธิ ความเป็นอยู่ของประชาชนทุกคน หนังสือเล่มดังกล่าวนี้เป็นการรวบรวมเอาบทความยอดนิยมจากคอลัมน์ “ครบเครื่องคดีปกครอง” ซึ่งเขียนโดย “ครองธรรม ธรรมรัฐ” นามปากกาของ “ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม” เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง
ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้คือการที่ผู้เขียนเลือกสรรคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดมาเรียบเรียงในรูปแบบของการเล่าเรื่อง ผ่านตัวละครสมมติ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ชวนติดตาม และปรับภาษากฎหมายที่เป็นทางการมาเป็นภาษาแบบชาวบ้าน เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและทำความเข้าใจ โดยมีเป้าหมายคือมุ่งเน้นให้ทุกคนได้เรียนรู้และนำไปใช้ประโยชน์กับตัวเอง ทั้งการต่อสู้เรียกร้องสิทธิกับภาครัฐ หน้าที่การงาน หรือแม้แต่เรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน การอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อไม่ต้องถูกใครรังแก หรือเสียเปรียบใคร ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนทุกคน รวมถึงกระบวนยุติธรรมทางปกครองของไทยด้วย
ศาลปกครองเป็นศาลแบบไหน? และประชาชนจะเข้าถึงกระบวนยุติธรรมทางปกครองได้อย่างไร? อีกทั้งคดีแบบไหนบ้างที่เข้าข่ายคดีปกครอง? ในงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ “คดีปกครองต้องรู้” นอกเหนือจากการสนทนากับผู้เขียน ยังได้รับเกียรติจาก “ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองระยอง มาร่วมให้ความรู้ความเข้าใจซึ่งทั้งหมดทั้งมวล ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์สำหรับเราๆ ท่านๆ ที่เป็นประชาชนคนไทยด้วยกันทั้งสิ้น...
_________________________________________________________
• ในสังคมสมัยใหม่ เมื่อสิทธิพลเมืองชัดเจนยิ่งขึ้น บทบาทของศาลปกครองจะเป็นอย่างไร เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม : ผมมองว่า ยิ่งสังคมเราเป็นประชาธิปไตยมากเท่าไหร่ ศาลปกครองก็ยิ่งจำเป็นมากเท่านั้น เพราะหลักประชาธิปไตยมีอยู่สองสามเรื่อง คือหนึ่ง เรื่องการแบ่งแยกอำนาจ ก็ชัดเจนนครับ อำนาจออกกฏหมาย อำนาจของคนใช้กฏหมาย และอำนาจของผู้ตรวจสอบการใช้อำนาจเหล่านั้น แท้ที่จริงแล้วก็ต้องเป็นอำนาจที่เป็นอิสระ สอง เรื่องของสิทธิเสรีภาพประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่จะต้องได้รับการคุ้มครอง สองเรื่องนี้เห็นได้ชัดเจนว่าจะต้องมีศาลที่คอยตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายปกครอง เพราะฉะนั้น ศาลปกครองภารกิจมากขึ้นอยู่แล้วล่ะครับ รัฐธรรมนนุญใหม่ก็ระบุว่าจะมีแผนกวินัยการดำเนินงานและงบประมาณ อย่างนี้ กรณีที่ทำผิดในกระบวนการงบประมาณหรือใช้จ่ายงบประมาณ ก็จะให้ศาลปกครองดูแล ตรวจสอบเพื่อให้เกิดการจัดการบ้านเมืองที่ดี เพื่อให้เกิดการปฏิบัติราชการที่ดีมากขึ้น
• อยากให้ช่วยเล่าถึงหลักการของศาลปกครอง และชาวบ้านจะเข้าถึงกระบวนการทางศาลปกครองได้อย่างไร หากได้รับความเดือดร้อน
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม : อันดับแรกเลย คดีปกครองก็ต้องใช้ระบบไต่สวน โดยตุลาการเจ้าของสำนวน จะเป็นผู้ลงมาแสวงหาข้อเท็จจริง ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องให้ประชาชนใช้ทนายมาช่วย เพราะว่าตุลาการท่านจะลงไปช่วยเอง เวลาที่ผมอธิบายเรื่องนี้ต่อชาวบ้าน เคยยกตัวอย่างหนังจีนเรื่องสองเรื่อง นั่นก็คือเรื่องเปาบุ้นกับเรื่องซือกง ชาวบ้านที่ไม่มีความสามารถอะไร ไม่ต้องหาตัวช่วยอะไร เพียงแค่มาตีกลองหน้าศาลไคฟง ทันทีที่เปาบุ้นจิ้นรู้เรื่อง ก็จะเกิดกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริง ส่งจั่นเจา หม่าฮั่น ไปดูว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เมื่อความจริงปรากฏแล้วก็ตัดสินคดีได้
เมื่อศาลถูกออกแบบมาอย่างนี้ ตุลาการต้องทำหน้าที่ในการแสวงหาข้อเท็จจริงทั้งหมด เพราะฉะนั้น ตุลาการในระบบศาลปกครองทั้งหมด จึงต่างจากตุลาการศาลยุติธรรม คดีปกครองเป็นคดีที่เรียบง่าย ประชาชนใช้กระดาษแผ่นเดียวในการเล่าเรื่องก็ได้ มีข้อมูลอยู่ห้ารายการก็คือ ชื่อ, ที่อยู่, ได้รับความเดือดร้อนจากหน่วยงานของรัฐในเรื่องอะไร, การกระทำอะไรที่ทำให้เราเดือดร้อน และ...เราต้องการให้ศาลช่วยเหลือในเรื่องอะไร แล้วก็ลงลายมือชื่อ เท่านี้ก็เป็นคำฟ้องเรียบร้อยแล้วครับ และที่สำคัญ ส่งไปทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ ถือว่าฟ้องทางไปรษณีย์ได้ หรือว่าจะไปที่ศาลปกครองเลยก็ได้ ซึ่งตอนนี้ก็มีศาลปกครองที่กระจายอยู่ตามเมืองหลักๆ และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เพราะเรายึดหลักว่า ถ้าต้องใช้ค่าทนายหรือเสียค่าธรรมเนียม เราจะเข้าถึงความยุติธรรมได้โดยง่ายได้อย่างไร
แนวคิดเดิมๆ รุ่นคุณลุงคุณป้า บอกว่า ถ้าไปศาลนี่ ไปกินขี้หมาดีกว่า (หัวเราะ) โรงพัก โรงพยาบาล โรงศาลนี่ ไม่จำเป็นอย่าไปเดินผ่านเลย มันเป็นเสนียดกับตัว อะไรอย่างนั้น เพราะมันเป็นภาระ เป็นความยุ่งยาก เป็นความกังวลใจมากมาย แต่ว่าในระบบอย่างนี้ กระบวนการยุติธรรมทางปกครองที่ประเทศเราออกแบบให้มีศาลปกครอง ให้มีคดีปกครอง ให้มีการดูแลอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างนี้ ทำให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
• ชาวบ้านโดยทั่วไป มักจะกลัวเรื่องศาลหรือไม่อยากยุ่งยากกับการฟ้องคดี อยากให้ช่วยแนะนำตรงจุดนี้หน่อยครับ
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม : อันนี้มันเป็นเรื่องพัฒนาการนะครับ มันมาพร้อมกับความเป็นประชาธิปไตย คือแต่เดิม ระบบราชการก็เหมือนกับระบบปกครอง เราก็เข้าใจว่าประชาชนอยู่ภายใต้การปกครอง ไม่มีใครไปทะเลาะกับกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน หรือแม้กระทั่งว่าไม่มีข้าราชการตัวเล็กๆ ไปทะเลาะกับเจ้านาย อะไรอย่างนี้เป็นต้น แต่เมื่อกระแสมันเปลี่ยนไป มันเป็นไปทั้งโลก ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย ความเป็นประชาธิปไตยก็คือค้องเคารพสิทธิเสรีภาพของแต่ละคน ถ้าคนแต่ละคนได้รับการเคารพดูแลอย่างดี ประเทศนั้นก็จะเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ เพราะฉะนั้น หลักวิธีคิดในการปกครองประเทศ รวมทั้งกลไกในการสร้างประชาธิปไตยในสังคม รวมทั้งกลไกการใช้อำนาจในทางสามฝ่าย นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ อะไรต่างๆ ก็ยอมรับในเรื่องเหล่านี้มากขึ้น และยอมรับในเรื่องของการมีศาลปกครองเป็นกลไกในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และก็ยอมรับให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในด้านต่างๆ มากขึ้น
เพราะฉะนั้น ก็อยากจะบอกประชาชนว่าสังคมมันเปลี่ยนไปแล้ว เราไม่ต้องไปคิดอย่างเดิม ไม่ต้องไปกลัวเกรงอำนาจรัฐอย่างเดิม เพราะอำนาจรัฐก็คืออำนาจที่เราให้คนหนึ่งคนหรือหนึ่งกลุ่มคนไปใช้อำนาจนั้น ถ้าเปรียบให้ง่ายเข้าก็คือว่า ถ้าประเทศเป็นบริษัท เราประชาชนก็คือเจ้าของบริษัท เมื่อเราเป็นเจ้าของบริษัท เจ้าหน้าที่รัฐทั้งหลายเขาก็เป็นพนักงาน คุณต้องดูแลเราอย่างดี ถ้าเขาดูแลเราไม่ดี เราก็สามารถเล่นงานเขาได้เหมือนกัน วิธีคิดอย่างนี้แหละที่ทำให้เรากล้าที่จะตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ กล้าที่จะฟ้องคดีเพื่อให้ศาลมาตรวจสอบ ซึ่งแน่นอนว่า ศาลก็ไม่ได้เข้าข้างใคร ศาลก็ต้องดูแลประโยชน์สาธารณะ ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐคนนั้นได้ทำถูกต้อง ศาลตัดสินให้ถูกต้อง เขาก็จะมั่นใจในการทำงานต่อไป ประโยชน์สาธารณะก็เดินต่อไปได้ หรือถ้าเขาทำผิด หรือปฏิบัติงานแล้วไปกระทบสิทธิประชาชน ศาลก็จะมีแนวทางให้เยียวยาแก้ไข ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศต่อไป
• ศาลปกครองไม่ได้น่ากลัวใช่ไหมครับ
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม : ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดครับ ที่ว่าน่ากลัวก็เพราะว่าเราอาจจะติดยึดในวิธีการที่เราคุ้นเคยกับศาลยุติธรรมเดิม ซึ่งศาลยุติธรรมเขาก็มีเหตุผลเป็นของศาลยุติธรรม เพราะเขาเชื่อว่าคนแต่ละคนนั้นบริสุทธิ์ ถ้าไม่มีพยานหลักฐานที่ชี้ชัด ก็ไปลงโทษเขาไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็เป็นหน้าที่ของคู่กรณีนั่นแหละที่เดือดร้อน จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงต่างๆ ซึ่งหลักคิดแบบนั้นก็ไม่ได้บกพร่องอะไร แต่ก็จะเหมาะกับคดีแพร่งคดีอาญาที่คู่กรณีมีความเท่าเทียมกันในการที่จะมาต่อสู้คดี แต่ศาลปกครองไม่ใช่อย่างนั้น ศาลปกครองออกแบบมาเพื่อรองรับประชาชนที่เดือดร้อนจากการใช้อำนาจของรัฐ เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นสิ่งที่เรียบง่าย ฟ้องได้ง่าย เข้าถึงได้ง่าย และศาลจะเป็นผู้แสวงหาข้อเท็จจริงให้ ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องมีทนาย แต่ถ้าจะมีก็ได้ ถ้าคดีของเรามีความซับซ้อนหรือเราอยากมีผู้ช่วย ไม่ได้ห้าม แต่โดยหลักทั่วไป ไม่ต้องใช้ทนาย ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ก็ไปที่ศาลปกครอง เขาก็จะให้บริการ
ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว : ผมขอเสริมตรงนี้นิดหนึ่งครับ แต่ก่อนนั้น เราฟ้องอะไรๆ เราก็ใช้สิทธิ์ที่ศาลยุติธรรม ซึ่งก็ต้องใช้ทนายหรือว่าต้องจ้างทนายความ แต่สำหรับศาลปกครอง ศาลจะมีวิธีการที่แตกต่างไปจากระบบไต่สวนแบบเดิม ระบบไต่สวนก็คือว่า ตุลาการหรือว่าผู้พิพากษา สามารถที่จะแสวงหาข้อเท็จจริงได้ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
• ถามท่านชิชิวัฒน์ครับ ในฐานะที่เป็นตุลาการ ท่านวางหลักในการวินิจฉัยอย่างไรที่จะเป็นประโยชน์ ให้ความคุ้มครอง ความยุติธรรม แก่ประชาชน
ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว : ประการแรกที่สำคัญมาก คือต้องหาข้อเท็จจริงให้ได้ก่อน เพราะโดยปกติ เราจะได้รับข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเราเรียกกันว่าข้อเท็จจริง แต่เราไม่ค่อยรู้ว่าอะไรเป็นข้อเท็จ อะไรเป็นข้อเท็จจริง ตรงนี้ก็เป็นประเด็นที่ยุ่งยาก เพราะคู่ความ ทั้งผู้ฟ้องและผู้ถูกฟ้องก็มักจะนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง เราก็ไม่รู้ว่าใครพูดจริงหรือไม่จริง ดังนั้น เราก็ต้องแสวงหาข้อเท็จจริงให้ได้มากเพียงพอที่จะวินิจฉัย
หลักที่สอง คือจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับหลักกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายปกครอง หรือที่เรียกว่า กฎหมายมหาชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะ ซึ่งตรงนี้ เขาให้ดูสองอย่างครับ อย่างแรกก็คือ ในการทำงานของเจ้าหน้าที่ เขาไม่ได้ทำในฐานะที่เป็นตัวของเขาเอง แต่เขาทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ในการให้บริการกับพวกเขา เราเรียกรวมๆ ว่าเป็นภาคการบริการสาธารณะ อย่างที่สองที่กฎหมายมหาชนหรือที่ตุลาการพึงพิจารณา ก็คือ ในแง่ของสิทธิของประชาชน ถ้าหากประโยชน์ของสาธารณะกับประโยชน์ของประชาชนมันขัดแย้งกัน ก็เป็นเรื่องที่ต้องมานั่งชั่งน้ำหนักกันดูว่าตรงกลางมันน่าจะอยู่ที่ตรงไหน ความสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะกับประโยชน์ของบุคคลมันควรจะอยู่ที่ตรงไหน
ผมขอยกตัวอย่างเรื่องของการเวนคืนที่ดิน ท่านเคยเจอไหมครับ บางทีในมุมมองเรา เราก็จะคิดว่า ทำไมพื้นที่ตรงจุดที่เวนคืน มันตกอยู่ที่เราพอดีเลย ทำไมไม่ตกในที่คนอื่นเลย และเมื่อได้ค่าชดใช้หรือค่าชดเชย ทำไมมันน้อยจังเลย น้อยกว่าราคาตลาดอีก ซึ่งตรงนี้ก็ต้องคิดถึงทั้งเรื่องการคุ้มครองสิทธิของประชาชน และหน่วยงานรัฐที่เวนคืนที่ดินนั้นเขาก็ต้องการนำไปดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น คำถามสำคัญก็คือ ความสมดุลมันจะอยู่ที่ตรงไหน เราก็อาจจะพิจารณาว่าทำอย่างไร เพื่อจะให้ค่าชดเชยสมเหตุสมผล เป็นธรรมหรือไม่ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะต้องเอางบประมาณแผ่นดินจำนวนมากไปให้กับประชาชนกลุ่มหนึ่งซึ่งถูกเวนคืนพื้นที่ โดยไม่คำนึงถึงว่าเงินตรงนี้คือเงินภาษีของทุกคน ก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาในเชิงรายละเอียด
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม : ผมขอเสริมจากท่านชาชิวัฒน์สักเล็กน้อยครับว่า คดีปกครอง จำเป็นต้องดูสองส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือประโยชน์สาธารณะ ซึ่งก็ต้องไปดูอีกว่าประโยชน์สาธารณะคืออะไร ประโยชน์สาธารณะคือประโยชน์ของคนทั้งประเทศ และเมื่อเป็นประโยชน์ของทุกคน นี่ก็นับเป็นข้างหนึ่งของตาชั่งแล้ว อีกส่วนหนึ่งคือสิทธิเสรีภาพบุคคลหรือประโยชน์ของเอกชน ถามว่าถ้าเป็นประเทศแล้ว ก็จะให้ความสำคัญแต่ประโยชน์สาธารณะอย่างเดียว ไม่ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของเอกชนเลย ได้หรือไม่ ก็คงไม่ได้ ถูกไหมครับ เพราะว่า หน้าที่ของรัฐก็ต้องดูเอกชนด้วย เพราะเอกชนก็คือประชาชนเหมือนกัน แล้วสังคมประชาธิปไตย ที่อยู่ร่วมกันได้ก็คือการปกครองด้วยเสียงข้างมาก ที่อดทนและดูแลเสียงข้างน้อย ดูแลคนที่ด้อยโอกาสกว่า คนที่รายได้น้อยกว่า คนที่อ่อนแอกว่า
ย้อนกลับมาที่คดีปกครอง ก็จะมีเรื่องราวลักษณะนี้ บางเรื่องเป็นคดีสาธารณะ มากกว่าประโยชน์เอกชน เอกชนต้องฟัง นะครับ แต่ประโยชน์สาธารณะนั้นเป็นประโยชน์สาธารณะจริงหรือไม่ เพราะคนที่มาดูแลประโยชน์สาธารณะเป็นคนธรรมดา ไปสวมหมวกเป็นผู้ว่าฯ หรือนายอำเภอต่างๆ นานา ก็อาจจะมีชีวิตจิตใจ มีอคติหรือคิดไม่ถูกก็ได้ ก็ต้องถูกตรวจสอบใช่ไหมครับ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าจะต้องตัดถนนให้คนทั้งประเทศใช้ คนร้อยครอบครัวทำอย่างไรครับ ตัดสินอย่างไรก็ต้องยอม ยอมให้เขาตัดถนน เพราะคนทั้งประเทศได้ใช้ แต่ต้องดูแลคน 100 ครอบครัวนี้ ต้องถือว่า 100 ครอบครัว เขาเสียสละแทนคนทั้งประเทศ เพราะฉะนั้น ต้องหาที่อยู่ให้เหมาะสมกับเขา ชดเชยให้เขาอย่างดี เราก็ต้องถ่วงน้ำหนักอย่างนี้ จะหลับหูหลับตาให้ไปเยอะๆ ก็คงไม่ได้อยู่ดี เพราะว่าเป็นเงินภาษีอากร
กรณีตัวอย่างอันหนึ่ง เช่นเรื่องการสร้างตึก ศาลปกครองสั่งทุบตึกในซอยซอยหนึ่ง เหตุก็คือว่าจะมีการสร้างอาคารขนาดใหญ่ พื้นที่ใช้สอยประมาณ 10,000- 30,000 ตารางวา สร้างได้เฉพาะในซอยหรือถนนที่มีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร ตลอดแนว เวลาไปสร้างต้องขออนุญาต เขาก็ต้องรับรอง ปรากฏว่าอาคารที่ถูกศาลสั่งให้ทุบ อยู่ในถนนที่ความกว้างไม่ถึง10 เมตรครับ เพราะอะไรครับ มันจะมีปัญหาต่อการจราจร ต่อการรักษาความปลอดภัย มีไฟไหม้รถดับเพลิงเข้าไปไม่ได้ ถ้าปล่อยไว้แบบนี้แล้วมีปัญหา คนอยู่ในซอยในท้ายซอยเสียหายถึงชีวิตและทรัพย์สินได้ เป็นตน เพราะฉะนั้น ในกรณีอย่างนี้ศาลจึงสั่งให้รื้อ
หรือในต่างจังหวัดแห่งหนึ่ง ทางรัฐก็เจตนาดีมาก จะแก้ไขปัญหาจราจร ถนนมันแคบก็จะขยายถนนให้กว้างๆ จะได้วิ่งสะดวกๆๆ มีที่จอดรถมีอะไรต่างๆ จะค้าจะขายก็ทำได้ ทำแบบสำรวจชาวบ้านก็เห็นด้วย เห็นดีด้วย ปรากฏว่าอย่างไรรู้ไหมครับ ขยายถนนจนทางเท้าหายไปเลยครับ แล้วถ้าผมจะต้องเดิน ผมจะทำอย่างไร การขยายถนนเพื่ออะไรครับ เพื่อคนใช้รถ แต่คนเดิน ไม่ได้คำนึงถึงเลย อย่างนี้เป็นต้น แล้วพอมีการฟ้องศาล ศาลก็ลงไปตรวจสอบว่า ถนนและทางเท้า ในกฏของกรมโยธา เขามีกำหนดขนาดเท่าไหร่อย่างไร และการทำอย่างนี้มันไปกระทบสิทธิ์ของคนสัญจรในการเดิน ด้วยเหตุนี้ ศาลจึงบังคับให้เทศบาลรื้อถนน แล้วก็ทำทางเท้ากลับมาให้เหมือนเดิม เพื่อให้คนได้ใช้ทางเท้า อันนี้ก็เป็นตัวอย่างที่ได้ชี้ให้เห็นว่า วิธีคิดของศาลปกครอง หรือปรัชญาในการที่จะตัดสินคดี ก็คงจะต้องชั่งน้ำหนักแต่ละเรื่องไม่เหมือนกัน ตามข้อเท็จจริงในแต่ละเรื่องที่อาจจะแตกต่างกัน
ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว : ผมขอเสริมตรงนี้อีกหน่อยครับ โดยปกติ เรื่องการดำเนินการของภาครัฐที่กระทบต่อสิทธิของเรา ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในร่างกาย หรือสิทธิอย่างอื่นอย่างใด แต่ศาลปกครองตีความกว้างๆ อย่างท่านได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย ยกตัวอย่างเช่นว่า ท่านมีบ้านอยู่ในเขตเทศบาล อยู่ในซอยเปลี่ยว ไม่มีไฟฟ้าพอที่จะส่องสว่างทาง ท่านมองดูว่าจะไม่ปลอดภัย ตรงนี้ถือว่ากระทบสิทธิของท่าน หรือท่านจะมองในแง่ของความเสียหายของท่าน ความไม่มั่นคงปลอดภัยในชีวิต หรือทรัพย์สินของท่านเกิดความเดือนร้อนแล้ว ถือว่าเป็นเป็นผู้เสียหายแล้ว ขอให้มีผลกระทบที่เห็นได้ชัดจากการกระทำของฝ่ายรัฐหริอเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันนี้ก็ฟ้องศาลปกครองได้
• ถามว่า ถ้าประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของรัฐ ประชาชนจะเริ่มต้นอย่างไร หรือฟ้องอย่างไร
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม : ง่ายมากครับ เขียนใส่กระดาษกล้วยแขกมาฟ้องร้องยังได้เลย คือไม่ได้ห้ามอะไร แต่บางทีระบายอารมณ์เกินไป ใช้คำหยาบ มีสัตว์เต็มไปหมดเลย มาทั้งป่า คืออย่างนี้ก็ต้องเห็นใจตุลาการเหมือนกัน แล้วจริงๆ แล้วเราเข้าถึงได้ง่าย เว็ปไซต์ศาลปกครองเป็นที่นิยมนะครับ ท่านเข้าไปเลย มีตัวอย่าง มีการ์ตูน มีวิธี มีเงื่อนไขการฟ้องคดี สิทธิในการฟ้องคดี พฤติการณ์ในการฟ้องคดีของท่านได้เลย แล้วก็โทรศัพท์ 4 ตัว 1355 ทั่วประเทศ เสียเงินอยู่ 3 บาท แต่ว่าคุยอยู่ 3 ชั่วโมงก็ได้นะครับ ไม่มีปัญหาอะไร ถ้าเป็นสาระสำคัญ ท่านสามารถขอข้อมูลข่าวสาร หรือขอคุยกับเจ้าหน้าที่ที่เราจัดไว้ เป็นหน่วยให้คำปรึกษาแนะนำ
• เช่นเดียวกับชื่อหนังสือเล่มนี้ “คดีปกครองต้องรู้” ที่เหมือนว่าท่านต้องการจะเขียนขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องชี้แนะสำหรับประชาชนเพื่อให้ได้เข้าใจในสิทธิของตนและการได้มาซึ่งความยุติธรรม
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม : ผมขอเท้าความนิดหนึ่งนะครับ คือผมคิดแบบนี้ครับว่า ถ้าเรามานั่งมองดู คนไทยควรได้รับความยุติธรรมที่ไหน เราจะพบว่า ศาลเป็นปลายน้ำแล้ว ถ้าไม่จำเป็น คนไทยไม่ควรไปศาล เหมือนเราตั้งโรงพยาบาลในระบบสาธารณสุขนั่นล่ะครับ การที่เรามีคนไข้เต็มโรงพยาบาลถือว่าเป็นความสำเร็จของระบบสาธารณสุขหรือเปล่า ไม่ใช่เลยนะครับ
ในทำนองเดียวกัน ศาลปกครองก็เป็นปลายน้ำของกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง ผมเห็นว่าถ้าประเทศนี้ทำหน้าที่ได้ดี ประชาชนคนไทยได้รับความยุติธรรมตั้งแต่ต้นน้ำ หรือตั้งแต่เดินขึ้นไปอำเภอ ตั้งแต่เข้าไปติดต่อกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม เข้าไปกรมที่ดินอะไรต่างๆ แล้วเราได้รับการบริการที่ดี ได้รับความยุติธรรมทางปกครอง ไม่มีคดีมาสู่ศาล นั่นคือความปรารถนาสูงสุดของพวกเราทุกคน ทีนี้ทำอย่างไร คดีจะไม่มาสู่ศาล ทุกวันนี้ยังมีปัญหาของศาลปกครอง ปัญหาใหญ่ก็คือว่า คดีล้นศาล ศาลปกครองตั้งมาเมื่อปี 2544 มีคนไทยฟ้องคดีสี่พันรายต่อปีทั่วประเทศ ตั้งศาลปกครองมาสิบสี่ปี แทนที่คดีจะลดลง แต่ปีที่แล้ว มีคดีฟ้องเข้ามาหนึ่งหมื่นสามพันคดี แน่นอนล่ะว่า การที่คนไทยใช้สิทธิ์ เป็นเรื่องที่ดี เพราะเหมือนเราป่วยแล้วมีโรงพยาบาลรักษา แต่ถ้าเป็นเรื่องเดิมๆ ผิดซ้ำซากในหน่วยงานบางหน่วย มันก็ไม่ดีครับ มันไม่ควรให้ชาวบ้านเดือดร้อน
ทีนี้ ผมก็มานั่งตั้งคำถามต่ออีกว่า ทำอย่างไร คนไทยจะได้เรียนรู้คดีปกครอง ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐได้เรียนรู้ว่าหน่วยงานที่เขาทำอยู่ เคยทำผิดพลาดอะไรมาบ้าง แล้วเราไม่ควรทำอีก มันก็จะไม่เป็นคดี ทำนองเดียวกันครับ สำคัญที่สุดก็คือประชาชน ถ้าประชาชนมีความรู้มากขึ้น หนึ่งก็คือจะทำให้ฟ้องคดีได้ถูกต้องมากขึ้น ไม่เอาคดีที่ไม่ใช่คดีปกครองมาฟ้องที่ศาลปกครอง อันที่สองก็คือว่า ถ้าประชาชนมีความรู้ จะช่วยตรวจสอบครับ เวลาไปติดต่ออะไร ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐไม่ปฏิบัติหน้าที่ ก็จะสามารถเตือนเขาได้ ในกรอบของกฎหมาย ในอำนาจหน้าที่ของกฎหมาย มีเรื่องนั้นเรื่องนี้ยกตัวอย่างให้เจ้าหน้าที่ได้รู้ด้วย จริงๆ แล้ว ข้าราชการก็ไม่ได้จะเกิดมาอยากทำผิดทำชั่วหรือทำไม่ดี บางคนก็ตั้งใจทำงาน แต่บางทีก็ขาดความเข้าใจ พอเรามีความเข้าใจหรือมีการไปเตือนกันบ้าง คดีจะลดลงครับ
ทีนี้ กลับมาสู่เรื่องที่ว่า ทำอย่างไร คนไทยจะมีความรู้มากขึ้น ที่ผ่านมา ก็มีการพิมพ์เอกสารเป็นแสนเป็นล้านเหมือนกันไปแจก คู่มือ “ทำอย่างไรเมื่อไปศาลปกครอง” อะไรต่างๆ เชื่อไหมครับว่า คนไม่อ่านกันเลยครับ เพราะมันเป็นเรื่องศาล เรื่องคดี มันยุ่งยาก ถ้าไม่เกิดกับตัวเราจริงๆ เราก็ไม่ค่อยอยากจะหาความรู้ ดังนั้นแล้ว ปัจจุบัน เราจึงพบว่ามีคดีที่ขึ้นศาลปกครองนับแสนๆ คดีแล้วครับ ตัดสินไปแล้ว แปดหมื่นห้าพันคดี แต่ถามว่าคนไทยรู้ไหมว่าเขาตัดสินเรื่องอะไรไปบ้าง อาจจะรู้บ้างทางหน้าหนังสือพิมพ์
และที่สำคัญ วิธีอธิบายทางกฎหมาย ถ้าทำให้ยาก ยิ่งยุ่งยากกันไปใหญ่เลย ผมก็เลยคิดว่า ถ้าจะนำเสนอ ผมก็คิดว่าเอาใจเขามาใส่ใจเรา ทำอย่างไรเพื่อที่จะทำให้เรื่องที่มันยุ่งยาก อธิบายให้มันง่าย เรื่องกฎหมายก็ทำให้ง่าย มีตัวละครขึ้นมาประกอบ หลายคนก็บอกว่า ทำไมไม่พูดไปเลยว่า เทศบาลนั้นนี้ ทำผิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ เรื่องแบบนี้ต้องเห็นใจเขาเหล่านั้นเหมือนกัน เพราะการกระทำผิดเหล่านั้น อาจจะไม่ได้ตั้งใจก็ได้ แล้วต่อมา เขาก็ได้ปรับปรุงการทำงานของเขาไปแล้ว ถ้าเราไปซ้ำเติมว่าเขาทำผิดอยู่อย่างนั้นอย่างนี้ เหมือนไปตำหนิเขา ก็ไม่ควรทำอีกเหมือนกัน ดังนั้น การเขียนของผมก็จะเล่าเรื่องด้วยการสมมุติตัวละครขึ้นมา เพราะว่าประโยชน์ที่ได้ก็คือ ตัวสาระ แก่นของเรื่อง ที่เป็นเรื่องใกล้ตัว
คดีแต่ละคดีที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ จะเป็นตัวอย่างรูปธรรมของการชั่งน้ำหนัก รูปธรรมของการให้เหตุผลของการพิพากษาคดี เช่น คดีของคนขับรถไปต่างจังหวัด อยู่ๆ กำลังข้ามสะพาน แต่ปรากฏว่าสะพานมีอยู่ครึ่งเดียว รถตกน้ำไปเลย ถ้าเราคิดว่าเป็นเวรเป็นกรรม เป็นความประมาทเลินเล่อของเราเอง มันก็จะผ่านไป แต่เมื่อเราได้เรียนรู้ เริ่มตั้งคำถามว่า ตรงนี้คือหน้าที่ของใครที่จะต้องมาดูแล สะพานแห่งนี้อยู่ในการซ่อมบำรุง เพราะน้ำท่วมแล้วสะพานขาด และอยู่ในระหว่างการซ่อมแซม มีป้ายทางเข้าออกบอกไว้อย่างดี ว่าสะพานขาด ห้ามเข้า แต่ป้ายนั้นอยู่ห่างไป 2 กิโลเมตร แล้วก็เราอาจจะไม่ได้อ่านก็ได้ แล้วพอมาถึงสะพาน ก็มีถังน้ำมัน 200 ลิตรตั้งอยู่ และก็มีช่องว่างตรงกลางพอให้รถวิ่งผ่านไปได้ เราก็ไป
โดยสรุปก็คือว่า เรื่องนี้ศาลตัดสินให้เทศบาลชดใช้ รถคันนี้ 80% เพราะว่าจริงๆ แล้ว ป้ายอย่างเดียวไม่พอหรอกครับ มันต้องมีอะไรมากั้นทางด้วย ไม่ควรให้คนหรือรถผ่านไป ก็เป็นความบกพร่องของทางเทศบาล อย่างไรก็ดี ถ้าคนขับรถได้เฉลียวใจ ได้อ่านป้ายบ้าง ก็คงไม่จบไปตรงนั้น คนขับก็ถือว่ามีความผิดร่วมกัน เพียงแต่ผิดน้อยหน่อย เพราะฉะนั้น ทั้ง 100% ก็ให้เทศบาลช่วยชดใช้ 80% ซึ่งก็ดีนะครับ
อีกเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวเลย โครงการฝากบ้านไว้กับตำรวจ ศาลปกรองตัดสินให้บ้านที่ทรัพย์สินศูนย์หายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติชดใช้เงินเหมือนกัน เขาบอกว่า กองบัญชาการตำรวจนครบาลเมื่อมีนโยบายประกาศแจ้งต่อประชาชน ก็เหมือนสัญญากับมหาชนว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ เมื่อมีประกาศอย่างนี้แล้ว ก็จำเป็นจะต้องมีแผนปฏิบัติให้ได้ตามนโยบายเหล่านั้น ใช่ไหม เมื่อมีแผนบอกว่าถ้าใครมาลงทะเบียนกับเรา เราก็จะดูว่ามีกี่หลัง ก็ต้องจัดอัตรากำลัง จัดจุดตรวจไปตั้ง ก็ต้องวางแผนอย่างนั้น แต่ปรากฏว่ารายนี้บอกว่า นี่ถ้าไม่มีโครงการ ฉันก็จะให้พี่น้องมานอนเฝ้า แต่เห็นประกาศดีว่าฝากไว้กับตำรวจแล้วสบายใจ ก็เลยไม่ได้ให้ญาติมานอนเฝ้า สุดท้ายของหาย แล้วไม่ได้หายเฉพาะชิ้นเล็กชิ้นน้อย ทีวี ตู้เย็นก็หายไป แม้แต่แชมพูในห้องน้ำยังหายไปด้วยเลย เขาว่าอย่างนี้ ก็บรรยายดี
สุดท้าย ศาลตัดสินให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ชดใช้ อันนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ก็คงอาจจะไม่ได้ความตั้งใจอะไรมาก แต่เป็นบทรียนว่า หน่วยงานของรัฐ ต้องมีความพร้อมในการที่จะประกาศนโยบายอะไรต่างๆ ออกไป แล้วมีแผนก็ต้องทำตามแผน ถ้าไม่ได้ทำตามนั้น ก็ต้องรับผิดชอบเช่นเดียวกัน
• ชื่อหนังสือ “คดีปกครองต้องรู้” ฟังดูเหมือนกับว่า นอกจากประชาชนควรจะรู้แล้ว ศาลปกครองก็ต้องรู้เช่นเดียวกัน
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม : อันที่จริง ผมอยากฝากบอกหนังสือเล่มนี้ครับว่า จริงๆ แล้ว ศาลปกครองเป็นของประชาชน ตั้งคำถามง่ายๆ ถ้าศาลปกครองทำงานได้ดี ใครได้ประโยชน์ครับ ประชาชนครับ ถ้าศาลปกครองทำงานได้ดี คนทั้งประเทศได้ประโยชน์ ตรงกันนข้ามถ้าศาลปกครองทำงานได้ไม่ดี ใครเสียประโยชนน์ครับ ประชาชน เพราะฉะนั้น การทำงานของศาลปกครองไม่ใช่ของใคร ตั้งขึ้นด้วยเงินของภาษีอากรทุกคนครับ พวกผม ท่านตุลาการก็ดี ข้าราชการก็ดี เงินภาษีอากรทั้งนั้นเลย แล้วผมมาแล้วก็ไป แต่สิ่งที่จะอยู่กับประชาชนคือตัวองค์กรศาลปกครอง
ถ้าเรามาเรียนรู้ร่วมกัน เรามาแสดงความเป็นเจ้าของศาลปกครอง อะไรที่เราช่วยได้ เราก็ช่วย ส่วนหนึ่งก็อย่างที่ได้เรียนไปว่า ศาลปกครองมีคดีมาก ทำอย่างไรคดีจะน้อยลง ทำอย่างไร เราจะช่วยให้เกิดกระบวนการยุติธรรมการปกครองรับความเป็นธรรมการปกครองตั้งแต่ ณ เวลาที่เราไปติดต่อราชการ ฉะนั้น เราคงจะต้องมาใส่ใจ มาเรียนรู้ ทำความเข้าใจกับเรื่องการปกครองมากขึ้น เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว
ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว : สำหรับผม หนังสือเล่มนี้ นอกจากอ่านเพลินแล้ว ยังมีตัวอย่างคดีที่ไม่แน่ว่า สักวันหนึ่ง เราอาจจะต้องประสบพบเจอ ตรงนี้ก็เท่ากับว่าเราจะได้เตรียมตัว ในแง่ที่ว่าเราจะปกป้องคุ้มใครองสิทธิ์ของเราอย่างไร ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยราชการ ได้มีแนวทางหรือนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องต่อไป
________________________
ภาพโดย : ศิวกร เสนสอน
เราอาจจะรู้ว่าเราสามารถเรียกร้องให้ศาลปกครองช่วยตัดสิน เมื่อมีการละเมิดสิทธิของประชาชนที่กระทำโดยหน่วยงานของรัฐหรือราชการ แต่คดีปกครอง จำกัดอยู่เพียงแค่นั้น เท่านั้นหรือ
....
“สอบไม่ผ่าน ฟ้องศาลตรวจสอบอาจารย์ได้ไหม”
“ขับรถตกทางในเขตก่อสร้าง ใครรับผิดชอบ”
“ฝากบ้านกับตำรวจ โดนขโมยขึ้นบ้าย เอาผิดตำรวจได้ไหม”
“ทำกินในที่ดินไร้สิทธิ รัฐมีสิทธิทวงคืนได้ไหม”
“ข้าราชการถูกโอนย้ายไม่เป็นธรรม กลั่นแกล้งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือน”
...จากตัวอย่างคำโปรยเหล่านี้บนปกหลังของหนังสือ “คดีปกครองต้องรู้” คือตัวอย่างคร่าวๆ ที่บอกให้เรารู้ว่าเรื่องราวทางคดีปกครองนั้น กว้างมาก และเกี่ยวพันกับชีวิต สิทธิ ความเป็นอยู่ของประชาชนทุกคน หนังสือเล่มดังกล่าวนี้เป็นการรวบรวมเอาบทความยอดนิยมจากคอลัมน์ “ครบเครื่องคดีปกครอง” ซึ่งเขียนโดย “ครองธรรม ธรรมรัฐ” นามปากกาของ “ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม” เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง
ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้คือการที่ผู้เขียนเลือกสรรคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดมาเรียบเรียงในรูปแบบของการเล่าเรื่อง ผ่านตัวละครสมมติ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ชวนติดตาม และปรับภาษากฎหมายที่เป็นทางการมาเป็นภาษาแบบชาวบ้าน เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและทำความเข้าใจ โดยมีเป้าหมายคือมุ่งเน้นให้ทุกคนได้เรียนรู้และนำไปใช้ประโยชน์กับตัวเอง ทั้งการต่อสู้เรียกร้องสิทธิกับภาครัฐ หน้าที่การงาน หรือแม้แต่เรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน การอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อไม่ต้องถูกใครรังแก หรือเสียเปรียบใคร ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนทุกคน รวมถึงกระบวนยุติธรรมทางปกครองของไทยด้วย
ศาลปกครองเป็นศาลแบบไหน? และประชาชนจะเข้าถึงกระบวนยุติธรรมทางปกครองได้อย่างไร? อีกทั้งคดีแบบไหนบ้างที่เข้าข่ายคดีปกครอง? ในงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ “คดีปกครองต้องรู้” นอกเหนือจากการสนทนากับผู้เขียน ยังได้รับเกียรติจาก “ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองระยอง มาร่วมให้ความรู้ความเข้าใจซึ่งทั้งหมดทั้งมวล ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์สำหรับเราๆ ท่านๆ ที่เป็นประชาชนคนไทยด้วยกันทั้งสิ้น...
_________________________________________________________
• ในสังคมสมัยใหม่ เมื่อสิทธิพลเมืองชัดเจนยิ่งขึ้น บทบาทของศาลปกครองจะเป็นอย่างไร เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม : ผมมองว่า ยิ่งสังคมเราเป็นประชาธิปไตยมากเท่าไหร่ ศาลปกครองก็ยิ่งจำเป็นมากเท่านั้น เพราะหลักประชาธิปไตยมีอยู่สองสามเรื่อง คือหนึ่ง เรื่องการแบ่งแยกอำนาจ ก็ชัดเจนนครับ อำนาจออกกฏหมาย อำนาจของคนใช้กฏหมาย และอำนาจของผู้ตรวจสอบการใช้อำนาจเหล่านั้น แท้ที่จริงแล้วก็ต้องเป็นอำนาจที่เป็นอิสระ สอง เรื่องของสิทธิเสรีภาพประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่จะต้องได้รับการคุ้มครอง สองเรื่องนี้เห็นได้ชัดเจนว่าจะต้องมีศาลที่คอยตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายปกครอง เพราะฉะนั้น ศาลปกครองภารกิจมากขึ้นอยู่แล้วล่ะครับ รัฐธรรมนนุญใหม่ก็ระบุว่าจะมีแผนกวินัยการดำเนินงานและงบประมาณ อย่างนี้ กรณีที่ทำผิดในกระบวนการงบประมาณหรือใช้จ่ายงบประมาณ ก็จะให้ศาลปกครองดูแล ตรวจสอบเพื่อให้เกิดการจัดการบ้านเมืองที่ดี เพื่อให้เกิดการปฏิบัติราชการที่ดีมากขึ้น
• อยากให้ช่วยเล่าถึงหลักการของศาลปกครอง และชาวบ้านจะเข้าถึงกระบวนการทางศาลปกครองได้อย่างไร หากได้รับความเดือดร้อน
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม : อันดับแรกเลย คดีปกครองก็ต้องใช้ระบบไต่สวน โดยตุลาการเจ้าของสำนวน จะเป็นผู้ลงมาแสวงหาข้อเท็จจริง ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องให้ประชาชนใช้ทนายมาช่วย เพราะว่าตุลาการท่านจะลงไปช่วยเอง เวลาที่ผมอธิบายเรื่องนี้ต่อชาวบ้าน เคยยกตัวอย่างหนังจีนเรื่องสองเรื่อง นั่นก็คือเรื่องเปาบุ้นกับเรื่องซือกง ชาวบ้านที่ไม่มีความสามารถอะไร ไม่ต้องหาตัวช่วยอะไร เพียงแค่มาตีกลองหน้าศาลไคฟง ทันทีที่เปาบุ้นจิ้นรู้เรื่อง ก็จะเกิดกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริง ส่งจั่นเจา หม่าฮั่น ไปดูว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เมื่อความจริงปรากฏแล้วก็ตัดสินคดีได้
เมื่อศาลถูกออกแบบมาอย่างนี้ ตุลาการต้องทำหน้าที่ในการแสวงหาข้อเท็จจริงทั้งหมด เพราะฉะนั้น ตุลาการในระบบศาลปกครองทั้งหมด จึงต่างจากตุลาการศาลยุติธรรม คดีปกครองเป็นคดีที่เรียบง่าย ประชาชนใช้กระดาษแผ่นเดียวในการเล่าเรื่องก็ได้ มีข้อมูลอยู่ห้ารายการก็คือ ชื่อ, ที่อยู่, ได้รับความเดือดร้อนจากหน่วยงานของรัฐในเรื่องอะไร, การกระทำอะไรที่ทำให้เราเดือดร้อน และ...เราต้องการให้ศาลช่วยเหลือในเรื่องอะไร แล้วก็ลงลายมือชื่อ เท่านี้ก็เป็นคำฟ้องเรียบร้อยแล้วครับ และที่สำคัญ ส่งไปทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ ถือว่าฟ้องทางไปรษณีย์ได้ หรือว่าจะไปที่ศาลปกครองเลยก็ได้ ซึ่งตอนนี้ก็มีศาลปกครองที่กระจายอยู่ตามเมืองหลักๆ และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เพราะเรายึดหลักว่า ถ้าต้องใช้ค่าทนายหรือเสียค่าธรรมเนียม เราจะเข้าถึงความยุติธรรมได้โดยง่ายได้อย่างไร
แนวคิดเดิมๆ รุ่นคุณลุงคุณป้า บอกว่า ถ้าไปศาลนี่ ไปกินขี้หมาดีกว่า (หัวเราะ) โรงพัก โรงพยาบาล โรงศาลนี่ ไม่จำเป็นอย่าไปเดินผ่านเลย มันเป็นเสนียดกับตัว อะไรอย่างนั้น เพราะมันเป็นภาระ เป็นความยุ่งยาก เป็นความกังวลใจมากมาย แต่ว่าในระบบอย่างนี้ กระบวนการยุติธรรมทางปกครองที่ประเทศเราออกแบบให้มีศาลปกครอง ให้มีคดีปกครอง ให้มีการดูแลอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างนี้ ทำให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
• ชาวบ้านโดยทั่วไป มักจะกลัวเรื่องศาลหรือไม่อยากยุ่งยากกับการฟ้องคดี อยากให้ช่วยแนะนำตรงจุดนี้หน่อยครับ
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม : อันนี้มันเป็นเรื่องพัฒนาการนะครับ มันมาพร้อมกับความเป็นประชาธิปไตย คือแต่เดิม ระบบราชการก็เหมือนกับระบบปกครอง เราก็เข้าใจว่าประชาชนอยู่ภายใต้การปกครอง ไม่มีใครไปทะเลาะกับกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน หรือแม้กระทั่งว่าไม่มีข้าราชการตัวเล็กๆ ไปทะเลาะกับเจ้านาย อะไรอย่างนี้เป็นต้น แต่เมื่อกระแสมันเปลี่ยนไป มันเป็นไปทั้งโลก ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย ความเป็นประชาธิปไตยก็คือค้องเคารพสิทธิเสรีภาพของแต่ละคน ถ้าคนแต่ละคนได้รับการเคารพดูแลอย่างดี ประเทศนั้นก็จะเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ เพราะฉะนั้น หลักวิธีคิดในการปกครองประเทศ รวมทั้งกลไกในการสร้างประชาธิปไตยในสังคม รวมทั้งกลไกการใช้อำนาจในทางสามฝ่าย นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ อะไรต่างๆ ก็ยอมรับในเรื่องเหล่านี้มากขึ้น และยอมรับในเรื่องของการมีศาลปกครองเป็นกลไกในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และก็ยอมรับให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในด้านต่างๆ มากขึ้น
เพราะฉะนั้น ก็อยากจะบอกประชาชนว่าสังคมมันเปลี่ยนไปแล้ว เราไม่ต้องไปคิดอย่างเดิม ไม่ต้องไปกลัวเกรงอำนาจรัฐอย่างเดิม เพราะอำนาจรัฐก็คืออำนาจที่เราให้คนหนึ่งคนหรือหนึ่งกลุ่มคนไปใช้อำนาจนั้น ถ้าเปรียบให้ง่ายเข้าก็คือว่า ถ้าประเทศเป็นบริษัท เราประชาชนก็คือเจ้าของบริษัท เมื่อเราเป็นเจ้าของบริษัท เจ้าหน้าที่รัฐทั้งหลายเขาก็เป็นพนักงาน คุณต้องดูแลเราอย่างดี ถ้าเขาดูแลเราไม่ดี เราก็สามารถเล่นงานเขาได้เหมือนกัน วิธีคิดอย่างนี้แหละที่ทำให้เรากล้าที่จะตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ กล้าที่จะฟ้องคดีเพื่อให้ศาลมาตรวจสอบ ซึ่งแน่นอนว่า ศาลก็ไม่ได้เข้าข้างใคร ศาลก็ต้องดูแลประโยชน์สาธารณะ ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐคนนั้นได้ทำถูกต้อง ศาลตัดสินให้ถูกต้อง เขาก็จะมั่นใจในการทำงานต่อไป ประโยชน์สาธารณะก็เดินต่อไปได้ หรือถ้าเขาทำผิด หรือปฏิบัติงานแล้วไปกระทบสิทธิประชาชน ศาลก็จะมีแนวทางให้เยียวยาแก้ไข ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศต่อไป
• ศาลปกครองไม่ได้น่ากลัวใช่ไหมครับ
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม : ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดครับ ที่ว่าน่ากลัวก็เพราะว่าเราอาจจะติดยึดในวิธีการที่เราคุ้นเคยกับศาลยุติธรรมเดิม ซึ่งศาลยุติธรรมเขาก็มีเหตุผลเป็นของศาลยุติธรรม เพราะเขาเชื่อว่าคนแต่ละคนนั้นบริสุทธิ์ ถ้าไม่มีพยานหลักฐานที่ชี้ชัด ก็ไปลงโทษเขาไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็เป็นหน้าที่ของคู่กรณีนั่นแหละที่เดือดร้อน จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงต่างๆ ซึ่งหลักคิดแบบนั้นก็ไม่ได้บกพร่องอะไร แต่ก็จะเหมาะกับคดีแพร่งคดีอาญาที่คู่กรณีมีความเท่าเทียมกันในการที่จะมาต่อสู้คดี แต่ศาลปกครองไม่ใช่อย่างนั้น ศาลปกครองออกแบบมาเพื่อรองรับประชาชนที่เดือดร้อนจากการใช้อำนาจของรัฐ เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นสิ่งที่เรียบง่าย ฟ้องได้ง่าย เข้าถึงได้ง่าย และศาลจะเป็นผู้แสวงหาข้อเท็จจริงให้ ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องมีทนาย แต่ถ้าจะมีก็ได้ ถ้าคดีของเรามีความซับซ้อนหรือเราอยากมีผู้ช่วย ไม่ได้ห้าม แต่โดยหลักทั่วไป ไม่ต้องใช้ทนาย ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ก็ไปที่ศาลปกครอง เขาก็จะให้บริการ
ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว : ผมขอเสริมตรงนี้นิดหนึ่งครับ แต่ก่อนนั้น เราฟ้องอะไรๆ เราก็ใช้สิทธิ์ที่ศาลยุติธรรม ซึ่งก็ต้องใช้ทนายหรือว่าต้องจ้างทนายความ แต่สำหรับศาลปกครอง ศาลจะมีวิธีการที่แตกต่างไปจากระบบไต่สวนแบบเดิม ระบบไต่สวนก็คือว่า ตุลาการหรือว่าผู้พิพากษา สามารถที่จะแสวงหาข้อเท็จจริงได้ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
• ถามท่านชิชิวัฒน์ครับ ในฐานะที่เป็นตุลาการ ท่านวางหลักในการวินิจฉัยอย่างไรที่จะเป็นประโยชน์ ให้ความคุ้มครอง ความยุติธรรม แก่ประชาชน
ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว : ประการแรกที่สำคัญมาก คือต้องหาข้อเท็จจริงให้ได้ก่อน เพราะโดยปกติ เราจะได้รับข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเราเรียกกันว่าข้อเท็จจริง แต่เราไม่ค่อยรู้ว่าอะไรเป็นข้อเท็จ อะไรเป็นข้อเท็จจริง ตรงนี้ก็เป็นประเด็นที่ยุ่งยาก เพราะคู่ความ ทั้งผู้ฟ้องและผู้ถูกฟ้องก็มักจะนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง เราก็ไม่รู้ว่าใครพูดจริงหรือไม่จริง ดังนั้น เราก็ต้องแสวงหาข้อเท็จจริงให้ได้มากเพียงพอที่จะวินิจฉัย
หลักที่สอง คือจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับหลักกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายปกครอง หรือที่เรียกว่า กฎหมายมหาชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะ ซึ่งตรงนี้ เขาให้ดูสองอย่างครับ อย่างแรกก็คือ ในการทำงานของเจ้าหน้าที่ เขาไม่ได้ทำในฐานะที่เป็นตัวของเขาเอง แต่เขาทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ในการให้บริการกับพวกเขา เราเรียกรวมๆ ว่าเป็นภาคการบริการสาธารณะ อย่างที่สองที่กฎหมายมหาชนหรือที่ตุลาการพึงพิจารณา ก็คือ ในแง่ของสิทธิของประชาชน ถ้าหากประโยชน์ของสาธารณะกับประโยชน์ของประชาชนมันขัดแย้งกัน ก็เป็นเรื่องที่ต้องมานั่งชั่งน้ำหนักกันดูว่าตรงกลางมันน่าจะอยู่ที่ตรงไหน ความสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะกับประโยชน์ของบุคคลมันควรจะอยู่ที่ตรงไหน
ผมขอยกตัวอย่างเรื่องของการเวนคืนที่ดิน ท่านเคยเจอไหมครับ บางทีในมุมมองเรา เราก็จะคิดว่า ทำไมพื้นที่ตรงจุดที่เวนคืน มันตกอยู่ที่เราพอดีเลย ทำไมไม่ตกในที่คนอื่นเลย และเมื่อได้ค่าชดใช้หรือค่าชดเชย ทำไมมันน้อยจังเลย น้อยกว่าราคาตลาดอีก ซึ่งตรงนี้ก็ต้องคิดถึงทั้งเรื่องการคุ้มครองสิทธิของประชาชน และหน่วยงานรัฐที่เวนคืนที่ดินนั้นเขาก็ต้องการนำไปดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น คำถามสำคัญก็คือ ความสมดุลมันจะอยู่ที่ตรงไหน เราก็อาจจะพิจารณาว่าทำอย่างไร เพื่อจะให้ค่าชดเชยสมเหตุสมผล เป็นธรรมหรือไม่ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะต้องเอางบประมาณแผ่นดินจำนวนมากไปให้กับประชาชนกลุ่มหนึ่งซึ่งถูกเวนคืนพื้นที่ โดยไม่คำนึงถึงว่าเงินตรงนี้คือเงินภาษีของทุกคน ก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาในเชิงรายละเอียด
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม : ผมขอเสริมจากท่านชาชิวัฒน์สักเล็กน้อยครับว่า คดีปกครอง จำเป็นต้องดูสองส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือประโยชน์สาธารณะ ซึ่งก็ต้องไปดูอีกว่าประโยชน์สาธารณะคืออะไร ประโยชน์สาธารณะคือประโยชน์ของคนทั้งประเทศ และเมื่อเป็นประโยชน์ของทุกคน นี่ก็นับเป็นข้างหนึ่งของตาชั่งแล้ว อีกส่วนหนึ่งคือสิทธิเสรีภาพบุคคลหรือประโยชน์ของเอกชน ถามว่าถ้าเป็นประเทศแล้ว ก็จะให้ความสำคัญแต่ประโยชน์สาธารณะอย่างเดียว ไม่ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของเอกชนเลย ได้หรือไม่ ก็คงไม่ได้ ถูกไหมครับ เพราะว่า หน้าที่ของรัฐก็ต้องดูเอกชนด้วย เพราะเอกชนก็คือประชาชนเหมือนกัน แล้วสังคมประชาธิปไตย ที่อยู่ร่วมกันได้ก็คือการปกครองด้วยเสียงข้างมาก ที่อดทนและดูแลเสียงข้างน้อย ดูแลคนที่ด้อยโอกาสกว่า คนที่รายได้น้อยกว่า คนที่อ่อนแอกว่า
ย้อนกลับมาที่คดีปกครอง ก็จะมีเรื่องราวลักษณะนี้ บางเรื่องเป็นคดีสาธารณะ มากกว่าประโยชน์เอกชน เอกชนต้องฟัง นะครับ แต่ประโยชน์สาธารณะนั้นเป็นประโยชน์สาธารณะจริงหรือไม่ เพราะคนที่มาดูแลประโยชน์สาธารณะเป็นคนธรรมดา ไปสวมหมวกเป็นผู้ว่าฯ หรือนายอำเภอต่างๆ นานา ก็อาจจะมีชีวิตจิตใจ มีอคติหรือคิดไม่ถูกก็ได้ ก็ต้องถูกตรวจสอบใช่ไหมครับ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าจะต้องตัดถนนให้คนทั้งประเทศใช้ คนร้อยครอบครัวทำอย่างไรครับ ตัดสินอย่างไรก็ต้องยอม ยอมให้เขาตัดถนน เพราะคนทั้งประเทศได้ใช้ แต่ต้องดูแลคน 100 ครอบครัวนี้ ต้องถือว่า 100 ครอบครัว เขาเสียสละแทนคนทั้งประเทศ เพราะฉะนั้น ต้องหาที่อยู่ให้เหมาะสมกับเขา ชดเชยให้เขาอย่างดี เราก็ต้องถ่วงน้ำหนักอย่างนี้ จะหลับหูหลับตาให้ไปเยอะๆ ก็คงไม่ได้อยู่ดี เพราะว่าเป็นเงินภาษีอากร
กรณีตัวอย่างอันหนึ่ง เช่นเรื่องการสร้างตึก ศาลปกครองสั่งทุบตึกในซอยซอยหนึ่ง เหตุก็คือว่าจะมีการสร้างอาคารขนาดใหญ่ พื้นที่ใช้สอยประมาณ 10,000- 30,000 ตารางวา สร้างได้เฉพาะในซอยหรือถนนที่มีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร ตลอดแนว เวลาไปสร้างต้องขออนุญาต เขาก็ต้องรับรอง ปรากฏว่าอาคารที่ถูกศาลสั่งให้ทุบ อยู่ในถนนที่ความกว้างไม่ถึง10 เมตรครับ เพราะอะไรครับ มันจะมีปัญหาต่อการจราจร ต่อการรักษาความปลอดภัย มีไฟไหม้รถดับเพลิงเข้าไปไม่ได้ ถ้าปล่อยไว้แบบนี้แล้วมีปัญหา คนอยู่ในซอยในท้ายซอยเสียหายถึงชีวิตและทรัพย์สินได้ เป็นตน เพราะฉะนั้น ในกรณีอย่างนี้ศาลจึงสั่งให้รื้อ
หรือในต่างจังหวัดแห่งหนึ่ง ทางรัฐก็เจตนาดีมาก จะแก้ไขปัญหาจราจร ถนนมันแคบก็จะขยายถนนให้กว้างๆ จะได้วิ่งสะดวกๆๆ มีที่จอดรถมีอะไรต่างๆ จะค้าจะขายก็ทำได้ ทำแบบสำรวจชาวบ้านก็เห็นด้วย เห็นดีด้วย ปรากฏว่าอย่างไรรู้ไหมครับ ขยายถนนจนทางเท้าหายไปเลยครับ แล้วถ้าผมจะต้องเดิน ผมจะทำอย่างไร การขยายถนนเพื่ออะไรครับ เพื่อคนใช้รถ แต่คนเดิน ไม่ได้คำนึงถึงเลย อย่างนี้เป็นต้น แล้วพอมีการฟ้องศาล ศาลก็ลงไปตรวจสอบว่า ถนนและทางเท้า ในกฏของกรมโยธา เขามีกำหนดขนาดเท่าไหร่อย่างไร และการทำอย่างนี้มันไปกระทบสิทธิ์ของคนสัญจรในการเดิน ด้วยเหตุนี้ ศาลจึงบังคับให้เทศบาลรื้อถนน แล้วก็ทำทางเท้ากลับมาให้เหมือนเดิม เพื่อให้คนได้ใช้ทางเท้า อันนี้ก็เป็นตัวอย่างที่ได้ชี้ให้เห็นว่า วิธีคิดของศาลปกครอง หรือปรัชญาในการที่จะตัดสินคดี ก็คงจะต้องชั่งน้ำหนักแต่ละเรื่องไม่เหมือนกัน ตามข้อเท็จจริงในแต่ละเรื่องที่อาจจะแตกต่างกัน
ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว : ผมขอเสริมตรงนี้อีกหน่อยครับ โดยปกติ เรื่องการดำเนินการของภาครัฐที่กระทบต่อสิทธิของเรา ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในร่างกาย หรือสิทธิอย่างอื่นอย่างใด แต่ศาลปกครองตีความกว้างๆ อย่างท่านได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย ยกตัวอย่างเช่นว่า ท่านมีบ้านอยู่ในเขตเทศบาล อยู่ในซอยเปลี่ยว ไม่มีไฟฟ้าพอที่จะส่องสว่างทาง ท่านมองดูว่าจะไม่ปลอดภัย ตรงนี้ถือว่ากระทบสิทธิของท่าน หรือท่านจะมองในแง่ของความเสียหายของท่าน ความไม่มั่นคงปลอดภัยในชีวิต หรือทรัพย์สินของท่านเกิดความเดือนร้อนแล้ว ถือว่าเป็นเป็นผู้เสียหายแล้ว ขอให้มีผลกระทบที่เห็นได้ชัดจากการกระทำของฝ่ายรัฐหริอเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันนี้ก็ฟ้องศาลปกครองได้
• ถามว่า ถ้าประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของรัฐ ประชาชนจะเริ่มต้นอย่างไร หรือฟ้องอย่างไร
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม : ง่ายมากครับ เขียนใส่กระดาษกล้วยแขกมาฟ้องร้องยังได้เลย คือไม่ได้ห้ามอะไร แต่บางทีระบายอารมณ์เกินไป ใช้คำหยาบ มีสัตว์เต็มไปหมดเลย มาทั้งป่า คืออย่างนี้ก็ต้องเห็นใจตุลาการเหมือนกัน แล้วจริงๆ แล้วเราเข้าถึงได้ง่าย เว็ปไซต์ศาลปกครองเป็นที่นิยมนะครับ ท่านเข้าไปเลย มีตัวอย่าง มีการ์ตูน มีวิธี มีเงื่อนไขการฟ้องคดี สิทธิในการฟ้องคดี พฤติการณ์ในการฟ้องคดีของท่านได้เลย แล้วก็โทรศัพท์ 4 ตัว 1355 ทั่วประเทศ เสียเงินอยู่ 3 บาท แต่ว่าคุยอยู่ 3 ชั่วโมงก็ได้นะครับ ไม่มีปัญหาอะไร ถ้าเป็นสาระสำคัญ ท่านสามารถขอข้อมูลข่าวสาร หรือขอคุยกับเจ้าหน้าที่ที่เราจัดไว้ เป็นหน่วยให้คำปรึกษาแนะนำ
• เช่นเดียวกับชื่อหนังสือเล่มนี้ “คดีปกครองต้องรู้” ที่เหมือนว่าท่านต้องการจะเขียนขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องชี้แนะสำหรับประชาชนเพื่อให้ได้เข้าใจในสิทธิของตนและการได้มาซึ่งความยุติธรรม
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม : ผมขอเท้าความนิดหนึ่งนะครับ คือผมคิดแบบนี้ครับว่า ถ้าเรามานั่งมองดู คนไทยควรได้รับความยุติธรรมที่ไหน เราจะพบว่า ศาลเป็นปลายน้ำแล้ว ถ้าไม่จำเป็น คนไทยไม่ควรไปศาล เหมือนเราตั้งโรงพยาบาลในระบบสาธารณสุขนั่นล่ะครับ การที่เรามีคนไข้เต็มโรงพยาบาลถือว่าเป็นความสำเร็จของระบบสาธารณสุขหรือเปล่า ไม่ใช่เลยนะครับ
ในทำนองเดียวกัน ศาลปกครองก็เป็นปลายน้ำของกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง ผมเห็นว่าถ้าประเทศนี้ทำหน้าที่ได้ดี ประชาชนคนไทยได้รับความยุติธรรมตั้งแต่ต้นน้ำ หรือตั้งแต่เดินขึ้นไปอำเภอ ตั้งแต่เข้าไปติดต่อกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม เข้าไปกรมที่ดินอะไรต่างๆ แล้วเราได้รับการบริการที่ดี ได้รับความยุติธรรมทางปกครอง ไม่มีคดีมาสู่ศาล นั่นคือความปรารถนาสูงสุดของพวกเราทุกคน ทีนี้ทำอย่างไร คดีจะไม่มาสู่ศาล ทุกวันนี้ยังมีปัญหาของศาลปกครอง ปัญหาใหญ่ก็คือว่า คดีล้นศาล ศาลปกครองตั้งมาเมื่อปี 2544 มีคนไทยฟ้องคดีสี่พันรายต่อปีทั่วประเทศ ตั้งศาลปกครองมาสิบสี่ปี แทนที่คดีจะลดลง แต่ปีที่แล้ว มีคดีฟ้องเข้ามาหนึ่งหมื่นสามพันคดี แน่นอนล่ะว่า การที่คนไทยใช้สิทธิ์ เป็นเรื่องที่ดี เพราะเหมือนเราป่วยแล้วมีโรงพยาบาลรักษา แต่ถ้าเป็นเรื่องเดิมๆ ผิดซ้ำซากในหน่วยงานบางหน่วย มันก็ไม่ดีครับ มันไม่ควรให้ชาวบ้านเดือดร้อน
ทีนี้ ผมก็มานั่งตั้งคำถามต่ออีกว่า ทำอย่างไร คนไทยจะได้เรียนรู้คดีปกครอง ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐได้เรียนรู้ว่าหน่วยงานที่เขาทำอยู่ เคยทำผิดพลาดอะไรมาบ้าง แล้วเราไม่ควรทำอีก มันก็จะไม่เป็นคดี ทำนองเดียวกันครับ สำคัญที่สุดก็คือประชาชน ถ้าประชาชนมีความรู้มากขึ้น หนึ่งก็คือจะทำให้ฟ้องคดีได้ถูกต้องมากขึ้น ไม่เอาคดีที่ไม่ใช่คดีปกครองมาฟ้องที่ศาลปกครอง อันที่สองก็คือว่า ถ้าประชาชนมีความรู้ จะช่วยตรวจสอบครับ เวลาไปติดต่ออะไร ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐไม่ปฏิบัติหน้าที่ ก็จะสามารถเตือนเขาได้ ในกรอบของกฎหมาย ในอำนาจหน้าที่ของกฎหมาย มีเรื่องนั้นเรื่องนี้ยกตัวอย่างให้เจ้าหน้าที่ได้รู้ด้วย จริงๆ แล้ว ข้าราชการก็ไม่ได้จะเกิดมาอยากทำผิดทำชั่วหรือทำไม่ดี บางคนก็ตั้งใจทำงาน แต่บางทีก็ขาดความเข้าใจ พอเรามีความเข้าใจหรือมีการไปเตือนกันบ้าง คดีจะลดลงครับ
ทีนี้ กลับมาสู่เรื่องที่ว่า ทำอย่างไร คนไทยจะมีความรู้มากขึ้น ที่ผ่านมา ก็มีการพิมพ์เอกสารเป็นแสนเป็นล้านเหมือนกันไปแจก คู่มือ “ทำอย่างไรเมื่อไปศาลปกครอง” อะไรต่างๆ เชื่อไหมครับว่า คนไม่อ่านกันเลยครับ เพราะมันเป็นเรื่องศาล เรื่องคดี มันยุ่งยาก ถ้าไม่เกิดกับตัวเราจริงๆ เราก็ไม่ค่อยอยากจะหาความรู้ ดังนั้นแล้ว ปัจจุบัน เราจึงพบว่ามีคดีที่ขึ้นศาลปกครองนับแสนๆ คดีแล้วครับ ตัดสินไปแล้ว แปดหมื่นห้าพันคดี แต่ถามว่าคนไทยรู้ไหมว่าเขาตัดสินเรื่องอะไรไปบ้าง อาจจะรู้บ้างทางหน้าหนังสือพิมพ์
และที่สำคัญ วิธีอธิบายทางกฎหมาย ถ้าทำให้ยาก ยิ่งยุ่งยากกันไปใหญ่เลย ผมก็เลยคิดว่า ถ้าจะนำเสนอ ผมก็คิดว่าเอาใจเขามาใส่ใจเรา ทำอย่างไรเพื่อที่จะทำให้เรื่องที่มันยุ่งยาก อธิบายให้มันง่าย เรื่องกฎหมายก็ทำให้ง่าย มีตัวละครขึ้นมาประกอบ หลายคนก็บอกว่า ทำไมไม่พูดไปเลยว่า เทศบาลนั้นนี้ ทำผิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ เรื่องแบบนี้ต้องเห็นใจเขาเหล่านั้นเหมือนกัน เพราะการกระทำผิดเหล่านั้น อาจจะไม่ได้ตั้งใจก็ได้ แล้วต่อมา เขาก็ได้ปรับปรุงการทำงานของเขาไปแล้ว ถ้าเราไปซ้ำเติมว่าเขาทำผิดอยู่อย่างนั้นอย่างนี้ เหมือนไปตำหนิเขา ก็ไม่ควรทำอีกเหมือนกัน ดังนั้น การเขียนของผมก็จะเล่าเรื่องด้วยการสมมุติตัวละครขึ้นมา เพราะว่าประโยชน์ที่ได้ก็คือ ตัวสาระ แก่นของเรื่อง ที่เป็นเรื่องใกล้ตัว
คดีแต่ละคดีที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ จะเป็นตัวอย่างรูปธรรมของการชั่งน้ำหนัก รูปธรรมของการให้เหตุผลของการพิพากษาคดี เช่น คดีของคนขับรถไปต่างจังหวัด อยู่ๆ กำลังข้ามสะพาน แต่ปรากฏว่าสะพานมีอยู่ครึ่งเดียว รถตกน้ำไปเลย ถ้าเราคิดว่าเป็นเวรเป็นกรรม เป็นความประมาทเลินเล่อของเราเอง มันก็จะผ่านไป แต่เมื่อเราได้เรียนรู้ เริ่มตั้งคำถามว่า ตรงนี้คือหน้าที่ของใครที่จะต้องมาดูแล สะพานแห่งนี้อยู่ในการซ่อมบำรุง เพราะน้ำท่วมแล้วสะพานขาด และอยู่ในระหว่างการซ่อมแซม มีป้ายทางเข้าออกบอกไว้อย่างดี ว่าสะพานขาด ห้ามเข้า แต่ป้ายนั้นอยู่ห่างไป 2 กิโลเมตร แล้วก็เราอาจจะไม่ได้อ่านก็ได้ แล้วพอมาถึงสะพาน ก็มีถังน้ำมัน 200 ลิตรตั้งอยู่ และก็มีช่องว่างตรงกลางพอให้รถวิ่งผ่านไปได้ เราก็ไป
โดยสรุปก็คือว่า เรื่องนี้ศาลตัดสินให้เทศบาลชดใช้ รถคันนี้ 80% เพราะว่าจริงๆ แล้ว ป้ายอย่างเดียวไม่พอหรอกครับ มันต้องมีอะไรมากั้นทางด้วย ไม่ควรให้คนหรือรถผ่านไป ก็เป็นความบกพร่องของทางเทศบาล อย่างไรก็ดี ถ้าคนขับรถได้เฉลียวใจ ได้อ่านป้ายบ้าง ก็คงไม่จบไปตรงนั้น คนขับก็ถือว่ามีความผิดร่วมกัน เพียงแต่ผิดน้อยหน่อย เพราะฉะนั้น ทั้ง 100% ก็ให้เทศบาลช่วยชดใช้ 80% ซึ่งก็ดีนะครับ
อีกเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวเลย โครงการฝากบ้านไว้กับตำรวจ ศาลปกรองตัดสินให้บ้านที่ทรัพย์สินศูนย์หายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติชดใช้เงินเหมือนกัน เขาบอกว่า กองบัญชาการตำรวจนครบาลเมื่อมีนโยบายประกาศแจ้งต่อประชาชน ก็เหมือนสัญญากับมหาชนว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ เมื่อมีประกาศอย่างนี้แล้ว ก็จำเป็นจะต้องมีแผนปฏิบัติให้ได้ตามนโยบายเหล่านั้น ใช่ไหม เมื่อมีแผนบอกว่าถ้าใครมาลงทะเบียนกับเรา เราก็จะดูว่ามีกี่หลัง ก็ต้องจัดอัตรากำลัง จัดจุดตรวจไปตั้ง ก็ต้องวางแผนอย่างนั้น แต่ปรากฏว่ารายนี้บอกว่า นี่ถ้าไม่มีโครงการ ฉันก็จะให้พี่น้องมานอนเฝ้า แต่เห็นประกาศดีว่าฝากไว้กับตำรวจแล้วสบายใจ ก็เลยไม่ได้ให้ญาติมานอนเฝ้า สุดท้ายของหาย แล้วไม่ได้หายเฉพาะชิ้นเล็กชิ้นน้อย ทีวี ตู้เย็นก็หายไป แม้แต่แชมพูในห้องน้ำยังหายไปด้วยเลย เขาว่าอย่างนี้ ก็บรรยายดี
สุดท้าย ศาลตัดสินให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ชดใช้ อันนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ก็คงอาจจะไม่ได้ความตั้งใจอะไรมาก แต่เป็นบทรียนว่า หน่วยงานของรัฐ ต้องมีความพร้อมในการที่จะประกาศนโยบายอะไรต่างๆ ออกไป แล้วมีแผนก็ต้องทำตามแผน ถ้าไม่ได้ทำตามนั้น ก็ต้องรับผิดชอบเช่นเดียวกัน
• ชื่อหนังสือ “คดีปกครองต้องรู้” ฟังดูเหมือนกับว่า นอกจากประชาชนควรจะรู้แล้ว ศาลปกครองก็ต้องรู้เช่นเดียวกัน
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม : อันที่จริง ผมอยากฝากบอกหนังสือเล่มนี้ครับว่า จริงๆ แล้ว ศาลปกครองเป็นของประชาชน ตั้งคำถามง่ายๆ ถ้าศาลปกครองทำงานได้ดี ใครได้ประโยชน์ครับ ประชาชนครับ ถ้าศาลปกครองทำงานได้ดี คนทั้งประเทศได้ประโยชน์ ตรงกันนข้ามถ้าศาลปกครองทำงานได้ไม่ดี ใครเสียประโยชนน์ครับ ประชาชน เพราะฉะนั้น การทำงานของศาลปกครองไม่ใช่ของใคร ตั้งขึ้นด้วยเงินของภาษีอากรทุกคนครับ พวกผม ท่านตุลาการก็ดี ข้าราชการก็ดี เงินภาษีอากรทั้งนั้นเลย แล้วผมมาแล้วก็ไป แต่สิ่งที่จะอยู่กับประชาชนคือตัวองค์กรศาลปกครอง
ถ้าเรามาเรียนรู้ร่วมกัน เรามาแสดงความเป็นเจ้าของศาลปกครอง อะไรที่เราช่วยได้ เราก็ช่วย ส่วนหนึ่งก็อย่างที่ได้เรียนไปว่า ศาลปกครองมีคดีมาก ทำอย่างไรคดีจะน้อยลง ทำอย่างไร เราจะช่วยให้เกิดกระบวนการยุติธรรมการปกครองรับความเป็นธรรมการปกครองตั้งแต่ ณ เวลาที่เราไปติดต่อราชการ ฉะนั้น เราคงจะต้องมาใส่ใจ มาเรียนรู้ ทำความเข้าใจกับเรื่องการปกครองมากขึ้น เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว
ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว : สำหรับผม หนังสือเล่มนี้ นอกจากอ่านเพลินแล้ว ยังมีตัวอย่างคดีที่ไม่แน่ว่า สักวันหนึ่ง เราอาจจะต้องประสบพบเจอ ตรงนี้ก็เท่ากับว่าเราจะได้เตรียมตัว ในแง่ที่ว่าเราจะปกป้องคุ้มใครองสิทธิ์ของเราอย่างไร ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยราชการ ได้มีแนวทางหรือนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องต่อไป
________________________
ภาพโดย : ศิวกร เสนสอน