“เห็นฝรั่งทำท่าจะถามแล้วรีบเดินหนี” เชื่อว่าหลายคนคงเป็นเช่นนี้กันบ้างล่ะ เพราะเหตุผลต่างๆ นานา บางคนอาย บางคนกลัวจะคุยไม่รู้เรื่อง แต่สำหรับ “เดชชาติ พวงเกษ” วินมอเตอร์ไซค์ย่านสุขุมวิท เขาให้สัญญากับชีวิตว่าชาตินี้ต้องสื่อสารอังกฤษให้ได้ และเขาก็ทำสำเร็จ ด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเอง ณ ตอนนี้ มีแต่คนชมเขาและเอาเขาเป็นเยี่ยงอย่างในการศึกษาภาษาอังกฤษ
ชายวัย 43 ปี ผู้มีภูมิลำเนาจากเมืองดอกลำดวน เริ่มสนใจภาษาของโลกตั้งแต่วัยเด็ก แม้จะไร้โอกาสในการศึกษาในชั้นเรียน แต่เขาก็พากเพียรเรียนรู้ด้วยตนเอง จนทุกวันนี้ เจอฝรั่งหรือคนต่างชาติที่ไหน ขอเพียงให้พูดอังกฤษได้ เขายินดีที่จะเจรจาด้วยและให้ความช่วยเหลือ
ใครกำลังเก้ๆ กังๆ ว่าจะ “อังกฤษยังไงดีนะ” บางที ถ้อยคำจากชายผู้นี้ อาจทำให้คุณรู้สึกมั่นใจขึ้น เมื่อเวลาต้องเผชิญหน้ากับฝรั่งหรือคนต่างชาติ และเลิกขลาดกลัวที่จะสื่อสารภาษาสากลนี้อีกต่อไป...
• ความสนใจภาษาอังกฤษของคุณ เริ่มต้นมาจากจุดไหน
เป็นช่วงที่ผมมาใช้ชีวิตในกรุงเทพครับ คือเวลาเดินไปไหนมาไหน เจอฝรั่งถามทาง ด้วยความที่เราไม่รู้เรื่อง ทำให้เรามีความคิดที่อยากจะเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น เพราะอยากจะสื่อสารกับเขาให้รู้เรื่อง ที่ผ่านมา เวลามีฝรั่งมาถามทาง เราจะได้ไม่ตอบแค่ no no no คำเดียวเลย
• คุณเริ่มต้นฝึกฝนภาษาอังกฤษด้วยวิธีการอย่างไร
หาหนังสือดิกชันนารี่พกติดตัวเลยครับ พอถึงช่วงเวลาทำงานโรงงาน วันหยุด เวลาไปเที่ยวที่ไหน หรือนั่งบนรถเมล์ ผมก็นั่งอ่านพจนานุกรมบนรถเมล์ หรือเวลามองป้ายข้างถนนและป้ายโฆษณาที่มันมีข้อความไทยและอังกฤษ ผมก็หัดสะกดคำ ซึ่งตอนนั้น อินเตอร์เน็ทยังไม่มี ใช้ดิกชันนารีอย่างเดียวในการเรียนภาษา
• คิดว่าลำบากไหมในการศึกษาภาษาอังกฤษตอนนั้น
ลำบากครับ การเรียนมันก็ไม่ได้ง่าย เหมือนกับทุกวันนี้ที่มีสื่อโซเชียลมีเดียให้เรียนได้ มียูทูปให้เรียนให้เข้าไปศึกษาได้ แต่ก็แปลกเหมือนกันนะ ในยุคที่ไม่มีสิ่งเหล่านี้กับยุคปัจจุบัน ผมว่าเราได้ความรู้เต็มๆ จากจุดที่ไม่มีสื่อมากมายอย่างในปัจจุบัน อย่างการอ่านดิกชั่นนารี อ่านหนังสือ การสนทนา ตอนนั้นรับมาเต็มๆ เลย หรือเพราะว่าเราสนใจก็ไม่รู้ ซึ่งพอมาเปรียบกับปัจจุบัน ที่มีสื่อมากมาย แต่ความรู้ก็ไม่ได้เท่ากับช่วงที่เราศึกษาแบบอ่านเอง เขียนเอง ฟังเองจากหนังสือเลยนะ คิดว่ามันน่าจะเป็นเพราะมีสมาธิมากกว่า
• นอกจากอ่านดิกชันนารี่หรือฝึกจากหนังสือ คุณมีวิธีการฝึกฝนภาษาอย่างไรอีกบ้าง
ดูหนังฮอลลีวูดที่เป็นเสียงซาวนด์แทร็ก และคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย เราก็เลือกเป็นภาษาอังกฤษไปเลย เพราะมันจะเหมือนกับสอนให้เราอ่านไปในตัวประมาณนี้ เราก็ฝึกออกเสียงตามเลย ไม่เหมือนกับเราเปิดซับไทย มันไม่สอนให้เราอ่าน ซึ่งหนังเรื่องแรกที่เราดูคือ Titanic ที่ดูแล้วประทับใจ ชอบ และได้คำศัพท์จากเรื่องนี้ เพราะเราชอบอยู่แล้ว ดูแล้วเป็นหนังโรแมนติก แล้วก็มีทั้งซับและซาวน์แทร็ก ประทับใจถึงขนาดซื้อแผ่นมาเก็บไว้ และในขณะเดียวกันต้องซื้อหาแผ่นที่ต้องเป็นภาษาอังกฤษด้วย ซึ่งหายากมาก แต่เราก็หาจนได้
• จากการที่เราฝึกภาษา คนรอบข้างเขาว่าเราอย่างไรบ้างไหม
เขาก็มองเรานะครับ อย่างเพื่อนร่วมงานที่ทำงานด้วยกัน เวลาพักเที่ยงหรือเลิกงาน เราก็อ่านดิกชันนารีไป เพื่อนๆ ก็บอก ภาษาไทยยังไม่ชัดเลย เรียนภาษาไทยให้เก่งก่อนดีมั้ย จะเอาทำไมภาษาอังกฤษ ซึ่งเราก็ไม่ท้อแท้นะ แต่มันเป็นพลังให้เรายิ่งต้องอ่านให้มันเยอะๆ ไป เพราะภาษาไทยยังไงเราก็ได้อยู่แล้ว อยากให้ภาษาอื่นเข้าไปในสมองเราบ้าง เราก็ไม่ได้ไปแคร์อะไร และยิ่งเป็นพลังให้เราอยากอ่านมันมากขึ้น
• ยังจำความรู้สึกแรกในการคุยกับชาวต่างชาติได้หรือเปล่า
ตื่นเต้นครับ หลังจากที่ศึกษาเอง ประมาณ 5-6 ปี กว่าที่เริ่มจะกล้าพูด กล้าเขียน จำได้ว่าวันนั้นความรู้สึกเหมือนประมาณว่า “เอาวะ ก็ลองพูดดู ก็มีฝรั่งมาถามทาง เราก็ how to get there ก็ชี้ในแผนที่ เราก็ดูว่าเป็นสนามหลวงประมาณนี้ เราก็อธิบายเขาไป ประมาณนี้ครับ พอเขาขอบคุณกลับมา ก็รู้สึกภูมิใจที่ได้ช่วยชาวต่างชาติที่มาเที่ยวเมืองไทยได้
จากจุดนั้นมา มันทำให้เรามีความกล้ามากขึ้น สามารถอธิบายทางที่เขาถามทางเราได้ ทำให้เราไม่กลัวฝรั่ง บางทีนั่งรถเมล์ มีเก้าอี้ว่าง เราก็ถามเขา ถึงแม้ว่าภาษาของเราจะยังไม่แน่นเหมือนทุกวันนี้นะครับ ตอนนั้นยังงูๆ ปลาๆ แต่อย่างน้อยเราก็กล้าถามมากขึ้น
• ตอนที่หัดพูดใหม่ๆ เคยมีแบบปล่อยไก่ แบบผิดมั้ย
ก็มีนะครับ แบบออกเสียงผิด แต่คู่สนทนาก็ฟังและรู้เรื่องว่าเราจะสื่ออะไร เขาก็แก้ไขคำผิดให้เรา เช่น ผมจะพูดว่า ฝนตกปรอยๆ ตอนแรกเราเคยได้ยินว่า raining but just a shower พอเขาฟังก็บอกว่า คุณสามารถใช้คำว่า drizzle ได้ นั่นให้เราเรียนรู้ได้เพิ่ม จากที่เราพูดตอนแรก
• โน้ต อุดม เคยพูดในเดี่ยวไมโครโฟนว่า เวลาคนไทยเจอชาวต่างชาติเหมือนกับเราเจอแมลงสาบ คุณรู้สึกยังไงกับคำเปรียบเปรยนี้
ความรู้สึกแบบนั้น มันจะเป็นแบบคนที่เรียนภาษาอังกฤษแล้วยังไม่เข้าในส่วนสมองมากกว่า ซึ่งถ้าเรียนมา ณ จุดหนึ่งซึ่งเราสามารถจะอธิบายได้ว่าไปอะไรยังไง มันจะไม่รู้สึกแบบนั้น แต่ถ้าเรียนแบบครึ่งๆ กลางๆ รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง มันจะรู้สึกแบบนั้นจริงๆ คือพูดไม่ออก เหมือนจุกอยู่ที่คอ แต่ถ้าเกิดเราเรียนมา คือมีความมั่นใจว่าเราอธิบายได้แน่นอน มันจะไม่รู้สึกแบบนั้นนะ มาเถอะ อยากบอกอธิบาย เพื่อเป็นการปรับปรุงเราไปในตัวด้วย ผิดถูกช่างมัน คือถ้าเราพูดไปแล้ว พูดผิดไปแล้ว ฝรั่งเขาตอบกลับมา เขาจะแก้ไขคำผิดให้เราเอง มันทำให้เราอยากจะเจอมากกว่า อยากจะหนีนะ
• ในขณะเดียวกันมันสะท้อนด้วยนะ ว่าบ้านเราเรียนมาเป็น 10 ปี แต่แทบจะใช้ไม่ได้เลย เป็นไปได้มั้ยว่า อาจเป็นเพราะความเขินอายด้วย
ใช่ครับ บางคนเขาอาย เลยไม่กล้าใช้ บางคนก็พอได้นะ งูๆ ปลาๆ ไปได้นะ แต่ว่าเขาไม่กล้าครับ เช่นเวลาฝรั่งเขาเข้ามาถามทาง เขารู้นะว่านั่งสายอะไร ถนนอะไร เขารู้ แต่เวลาที่เขาจะสื่อสารออกไป เขาไม่กล้า เขาอายครับ มันก็เหมือนกับว่า เขาพูดไม่ได้ไปเลย ทั้งๆ ที่เขาพูดได้ แต่คนไทยมีนิสัยอายที่จะพูดภาษานี้
ผมคิดว่า บ้านเราเรียนภาษาอังกฤษแบบเน้นเป็นวิชาการมากเกินไป เลยทำให้คนเรียนเครียดและเบื่อไปเลย คือเขาไม่ได้เรียนแบบสนุกสนาน การเรียนภาษาไม่ต้องเน้นแกรมมาร์จนเกินไป ขอให้แค่สื่อสารได้ ผมว่าน่าจะโอเค เพราะอย่างผมทุกวันนี้ หลักแกรมม่าร์ก็แทบจะไม่ได้เลยนะ แต่เราอาศัยจำว่าเวลาเขาพูดคุยอะไรยังไงใช้ยังไง การเรียนภาษาอังกฤษไม่เป็นสิ่งที่น่าเบื่อ ไม่เป็นสิ่งที่น่ากลัวนะ เพราะว่ามันสำคัญที่คนทั่วโลกเขาเรียนกัน แล้วถ้าเราเรียน เราก็สามารถคุยกับเขารู้เรื่อง สื่อสารกับเขารู้เรื่อง อย่างน้อยเราก็สื่อสารได้
• ในฐานะที่เราเรียนรู้ด้วยตนเอง เราอยากจะบอกอะไรกับคนไทย ต่อ การสื่อสารภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติ
อย่างแรกเลย คือเปลี่ยนความคิดจากสิ่งน่ากลัว ให้กลายเป็นว่าเป็นพระเอกนางเอกเลยครับ ไม่ต้องกลัว เดินเข้าใส่เข้าหาเลย และก็พกความมั่นใจที่เรามี อย่างน้อยๆ พูดว่า hello แล้วยิ้ม เขาก็รู้ว่าเรามาดี ต้องการทักทาย เรามีดิกชันนารี้แล้ว เราท่องตามที่เราเรียนรู้ ก็พูดไปเลยครับ เหมือนชวนเขาคุย
จริงๆ คนต่างชาตินิสัยเขาก็ดีนะ เท่าที่ผมเคยเจอมา แต่ส่วนมากเขาก็อยากคุยกับเรา ก็ถามไปเลย ให้เราคิดว่าเขาก็เป็นมนุษย์เพื่อนร่วมโลกคนหนึ่งที่เราจะสื่อสารด้วย จริงๆ ดีด้วยซ้ำไป ให้เราคิดว่าเขาเป็นครูครูสอนภาษาอังกฤษให้เรา ไม่ต้องอาย คือถ้าเราผิดไป เขาจะแก้กลับมาเอง
• หลังจากที่เราได้เรียนรู้มา คุณอยากจะบอกอะไรให้กับคนที่ยังไม่กล้าที่จะเรียนรู้กับสิ่งเหล่านี้
ความรู้สามารถเรียนรู้ได้ตัวเองทุกคน คือความรู้ไม่จำเป็นต้องซื้อหรอกครับ ทุกวันนี้ เพราะว่ามีเต็มไปหมดเลยในเว็บไซต์ ทั้งในสมาร์ทโฟน เว็บไซต์ หรือ ยูทูป เราสามารถเรียนรู้ได้ เช่น ภาษาอังกฤษ สมัยก่อนมีแค่คนรวยที่ได้เรียน เพราะว่ามันต้องเสียเงินไปเรียนตามติวเตอร์ ตามโรงเรียนสอนภาษาต่างๆ แต่ปัจจุบัน คนจนก็เรียนได้ เราสามารถเข้าถึงได้ ไปสามารถรับข้อมูลจากโลกออนไลน์ได้
คือความรู้ในสมัยนี้ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้หมด ไม่ได้จำกัดว่า คนระดับไหน เรียนรู้ ซึ่งถึงแม้ว่าเราไม่มีเงิน เราก็สามารถเข้าห้องสมุดได้ เพราะห้องสมุดมีหนังสือมากมาย มีให้อ่านเยอะแยะเลยครับ พร้อมกันนี้ เราก็ต้องพร้อมเปิดใจด้วย ก็คือเรียนให้สนุกน่ะครับ ใจเราต้องมาก่อนอันดับแรกว่าเราพร้อมที่จะเรียนรู้จริงๆ มันอยู่ที่ใจ ไม่ใช่ตามเพื่อน และก็มีสิ่งนี้ด้วย ทุกอย่างมีในนี้หมด ทุกวันนี้ผมแทบไม่ต้องจับคอมพิวเตอร์เลย เพราะมันสามารถแทนได้ทุกอย่างเลย
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : วชิร สายจำปา
ชายวัย 43 ปี ผู้มีภูมิลำเนาจากเมืองดอกลำดวน เริ่มสนใจภาษาของโลกตั้งแต่วัยเด็ก แม้จะไร้โอกาสในการศึกษาในชั้นเรียน แต่เขาก็พากเพียรเรียนรู้ด้วยตนเอง จนทุกวันนี้ เจอฝรั่งหรือคนต่างชาติที่ไหน ขอเพียงให้พูดอังกฤษได้ เขายินดีที่จะเจรจาด้วยและให้ความช่วยเหลือ
ใครกำลังเก้ๆ กังๆ ว่าจะ “อังกฤษยังไงดีนะ” บางที ถ้อยคำจากชายผู้นี้ อาจทำให้คุณรู้สึกมั่นใจขึ้น เมื่อเวลาต้องเผชิญหน้ากับฝรั่งหรือคนต่างชาติ และเลิกขลาดกลัวที่จะสื่อสารภาษาสากลนี้อีกต่อไป...
• ความสนใจภาษาอังกฤษของคุณ เริ่มต้นมาจากจุดไหน
เป็นช่วงที่ผมมาใช้ชีวิตในกรุงเทพครับ คือเวลาเดินไปไหนมาไหน เจอฝรั่งถามทาง ด้วยความที่เราไม่รู้เรื่อง ทำให้เรามีความคิดที่อยากจะเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น เพราะอยากจะสื่อสารกับเขาให้รู้เรื่อง ที่ผ่านมา เวลามีฝรั่งมาถามทาง เราจะได้ไม่ตอบแค่ no no no คำเดียวเลย
• คุณเริ่มต้นฝึกฝนภาษาอังกฤษด้วยวิธีการอย่างไร
หาหนังสือดิกชันนารี่พกติดตัวเลยครับ พอถึงช่วงเวลาทำงานโรงงาน วันหยุด เวลาไปเที่ยวที่ไหน หรือนั่งบนรถเมล์ ผมก็นั่งอ่านพจนานุกรมบนรถเมล์ หรือเวลามองป้ายข้างถนนและป้ายโฆษณาที่มันมีข้อความไทยและอังกฤษ ผมก็หัดสะกดคำ ซึ่งตอนนั้น อินเตอร์เน็ทยังไม่มี ใช้ดิกชันนารีอย่างเดียวในการเรียนภาษา
• คิดว่าลำบากไหมในการศึกษาภาษาอังกฤษตอนนั้น
ลำบากครับ การเรียนมันก็ไม่ได้ง่าย เหมือนกับทุกวันนี้ที่มีสื่อโซเชียลมีเดียให้เรียนได้ มียูทูปให้เรียนให้เข้าไปศึกษาได้ แต่ก็แปลกเหมือนกันนะ ในยุคที่ไม่มีสิ่งเหล่านี้กับยุคปัจจุบัน ผมว่าเราได้ความรู้เต็มๆ จากจุดที่ไม่มีสื่อมากมายอย่างในปัจจุบัน อย่างการอ่านดิกชั่นนารี อ่านหนังสือ การสนทนา ตอนนั้นรับมาเต็มๆ เลย หรือเพราะว่าเราสนใจก็ไม่รู้ ซึ่งพอมาเปรียบกับปัจจุบัน ที่มีสื่อมากมาย แต่ความรู้ก็ไม่ได้เท่ากับช่วงที่เราศึกษาแบบอ่านเอง เขียนเอง ฟังเองจากหนังสือเลยนะ คิดว่ามันน่าจะเป็นเพราะมีสมาธิมากกว่า
• นอกจากอ่านดิกชันนารี่หรือฝึกจากหนังสือ คุณมีวิธีการฝึกฝนภาษาอย่างไรอีกบ้าง
ดูหนังฮอลลีวูดที่เป็นเสียงซาวนด์แทร็ก และคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย เราก็เลือกเป็นภาษาอังกฤษไปเลย เพราะมันจะเหมือนกับสอนให้เราอ่านไปในตัวประมาณนี้ เราก็ฝึกออกเสียงตามเลย ไม่เหมือนกับเราเปิดซับไทย มันไม่สอนให้เราอ่าน ซึ่งหนังเรื่องแรกที่เราดูคือ Titanic ที่ดูแล้วประทับใจ ชอบ และได้คำศัพท์จากเรื่องนี้ เพราะเราชอบอยู่แล้ว ดูแล้วเป็นหนังโรแมนติก แล้วก็มีทั้งซับและซาวน์แทร็ก ประทับใจถึงขนาดซื้อแผ่นมาเก็บไว้ และในขณะเดียวกันต้องซื้อหาแผ่นที่ต้องเป็นภาษาอังกฤษด้วย ซึ่งหายากมาก แต่เราก็หาจนได้
• จากการที่เราฝึกภาษา คนรอบข้างเขาว่าเราอย่างไรบ้างไหม
เขาก็มองเรานะครับ อย่างเพื่อนร่วมงานที่ทำงานด้วยกัน เวลาพักเที่ยงหรือเลิกงาน เราก็อ่านดิกชันนารีไป เพื่อนๆ ก็บอก ภาษาไทยยังไม่ชัดเลย เรียนภาษาไทยให้เก่งก่อนดีมั้ย จะเอาทำไมภาษาอังกฤษ ซึ่งเราก็ไม่ท้อแท้นะ แต่มันเป็นพลังให้เรายิ่งต้องอ่านให้มันเยอะๆ ไป เพราะภาษาไทยยังไงเราก็ได้อยู่แล้ว อยากให้ภาษาอื่นเข้าไปในสมองเราบ้าง เราก็ไม่ได้ไปแคร์อะไร และยิ่งเป็นพลังให้เราอยากอ่านมันมากขึ้น
• ยังจำความรู้สึกแรกในการคุยกับชาวต่างชาติได้หรือเปล่า
ตื่นเต้นครับ หลังจากที่ศึกษาเอง ประมาณ 5-6 ปี กว่าที่เริ่มจะกล้าพูด กล้าเขียน จำได้ว่าวันนั้นความรู้สึกเหมือนประมาณว่า “เอาวะ ก็ลองพูดดู ก็มีฝรั่งมาถามทาง เราก็ how to get there ก็ชี้ในแผนที่ เราก็ดูว่าเป็นสนามหลวงประมาณนี้ เราก็อธิบายเขาไป ประมาณนี้ครับ พอเขาขอบคุณกลับมา ก็รู้สึกภูมิใจที่ได้ช่วยชาวต่างชาติที่มาเที่ยวเมืองไทยได้
จากจุดนั้นมา มันทำให้เรามีความกล้ามากขึ้น สามารถอธิบายทางที่เขาถามทางเราได้ ทำให้เราไม่กลัวฝรั่ง บางทีนั่งรถเมล์ มีเก้าอี้ว่าง เราก็ถามเขา ถึงแม้ว่าภาษาของเราจะยังไม่แน่นเหมือนทุกวันนี้นะครับ ตอนนั้นยังงูๆ ปลาๆ แต่อย่างน้อยเราก็กล้าถามมากขึ้น
• ตอนที่หัดพูดใหม่ๆ เคยมีแบบปล่อยไก่ แบบผิดมั้ย
ก็มีนะครับ แบบออกเสียงผิด แต่คู่สนทนาก็ฟังและรู้เรื่องว่าเราจะสื่ออะไร เขาก็แก้ไขคำผิดให้เรา เช่น ผมจะพูดว่า ฝนตกปรอยๆ ตอนแรกเราเคยได้ยินว่า raining but just a shower พอเขาฟังก็บอกว่า คุณสามารถใช้คำว่า drizzle ได้ นั่นให้เราเรียนรู้ได้เพิ่ม จากที่เราพูดตอนแรก
• โน้ต อุดม เคยพูดในเดี่ยวไมโครโฟนว่า เวลาคนไทยเจอชาวต่างชาติเหมือนกับเราเจอแมลงสาบ คุณรู้สึกยังไงกับคำเปรียบเปรยนี้
ความรู้สึกแบบนั้น มันจะเป็นแบบคนที่เรียนภาษาอังกฤษแล้วยังไม่เข้าในส่วนสมองมากกว่า ซึ่งถ้าเรียนมา ณ จุดหนึ่งซึ่งเราสามารถจะอธิบายได้ว่าไปอะไรยังไง มันจะไม่รู้สึกแบบนั้น แต่ถ้าเรียนแบบครึ่งๆ กลางๆ รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง มันจะรู้สึกแบบนั้นจริงๆ คือพูดไม่ออก เหมือนจุกอยู่ที่คอ แต่ถ้าเกิดเราเรียนมา คือมีความมั่นใจว่าเราอธิบายได้แน่นอน มันจะไม่รู้สึกแบบนั้นนะ มาเถอะ อยากบอกอธิบาย เพื่อเป็นการปรับปรุงเราไปในตัวด้วย ผิดถูกช่างมัน คือถ้าเราพูดไปแล้ว พูดผิดไปแล้ว ฝรั่งเขาตอบกลับมา เขาจะแก้ไขคำผิดให้เราเอง มันทำให้เราอยากจะเจอมากกว่า อยากจะหนีนะ
• ในขณะเดียวกันมันสะท้อนด้วยนะ ว่าบ้านเราเรียนมาเป็น 10 ปี แต่แทบจะใช้ไม่ได้เลย เป็นไปได้มั้ยว่า อาจเป็นเพราะความเขินอายด้วย
ใช่ครับ บางคนเขาอาย เลยไม่กล้าใช้ บางคนก็พอได้นะ งูๆ ปลาๆ ไปได้นะ แต่ว่าเขาไม่กล้าครับ เช่นเวลาฝรั่งเขาเข้ามาถามทาง เขารู้นะว่านั่งสายอะไร ถนนอะไร เขารู้ แต่เวลาที่เขาจะสื่อสารออกไป เขาไม่กล้า เขาอายครับ มันก็เหมือนกับว่า เขาพูดไม่ได้ไปเลย ทั้งๆ ที่เขาพูดได้ แต่คนไทยมีนิสัยอายที่จะพูดภาษานี้
ผมคิดว่า บ้านเราเรียนภาษาอังกฤษแบบเน้นเป็นวิชาการมากเกินไป เลยทำให้คนเรียนเครียดและเบื่อไปเลย คือเขาไม่ได้เรียนแบบสนุกสนาน การเรียนภาษาไม่ต้องเน้นแกรมมาร์จนเกินไป ขอให้แค่สื่อสารได้ ผมว่าน่าจะโอเค เพราะอย่างผมทุกวันนี้ หลักแกรมม่าร์ก็แทบจะไม่ได้เลยนะ แต่เราอาศัยจำว่าเวลาเขาพูดคุยอะไรยังไงใช้ยังไง การเรียนภาษาอังกฤษไม่เป็นสิ่งที่น่าเบื่อ ไม่เป็นสิ่งที่น่ากลัวนะ เพราะว่ามันสำคัญที่คนทั่วโลกเขาเรียนกัน แล้วถ้าเราเรียน เราก็สามารถคุยกับเขารู้เรื่อง สื่อสารกับเขารู้เรื่อง อย่างน้อยเราก็สื่อสารได้
• ในฐานะที่เราเรียนรู้ด้วยตนเอง เราอยากจะบอกอะไรกับคนไทย ต่อ การสื่อสารภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติ
อย่างแรกเลย คือเปลี่ยนความคิดจากสิ่งน่ากลัว ให้กลายเป็นว่าเป็นพระเอกนางเอกเลยครับ ไม่ต้องกลัว เดินเข้าใส่เข้าหาเลย และก็พกความมั่นใจที่เรามี อย่างน้อยๆ พูดว่า hello แล้วยิ้ม เขาก็รู้ว่าเรามาดี ต้องการทักทาย เรามีดิกชันนารี้แล้ว เราท่องตามที่เราเรียนรู้ ก็พูดไปเลยครับ เหมือนชวนเขาคุย
จริงๆ คนต่างชาตินิสัยเขาก็ดีนะ เท่าที่ผมเคยเจอมา แต่ส่วนมากเขาก็อยากคุยกับเรา ก็ถามไปเลย ให้เราคิดว่าเขาก็เป็นมนุษย์เพื่อนร่วมโลกคนหนึ่งที่เราจะสื่อสารด้วย จริงๆ ดีด้วยซ้ำไป ให้เราคิดว่าเขาเป็นครูครูสอนภาษาอังกฤษให้เรา ไม่ต้องอาย คือถ้าเราผิดไป เขาจะแก้กลับมาเอง
• หลังจากที่เราได้เรียนรู้มา คุณอยากจะบอกอะไรให้กับคนที่ยังไม่กล้าที่จะเรียนรู้กับสิ่งเหล่านี้
ความรู้สามารถเรียนรู้ได้ตัวเองทุกคน คือความรู้ไม่จำเป็นต้องซื้อหรอกครับ ทุกวันนี้ เพราะว่ามีเต็มไปหมดเลยในเว็บไซต์ ทั้งในสมาร์ทโฟน เว็บไซต์ หรือ ยูทูป เราสามารถเรียนรู้ได้ เช่น ภาษาอังกฤษ สมัยก่อนมีแค่คนรวยที่ได้เรียน เพราะว่ามันต้องเสียเงินไปเรียนตามติวเตอร์ ตามโรงเรียนสอนภาษาต่างๆ แต่ปัจจุบัน คนจนก็เรียนได้ เราสามารถเข้าถึงได้ ไปสามารถรับข้อมูลจากโลกออนไลน์ได้
คือความรู้ในสมัยนี้ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้หมด ไม่ได้จำกัดว่า คนระดับไหน เรียนรู้ ซึ่งถึงแม้ว่าเราไม่มีเงิน เราก็สามารถเข้าห้องสมุดได้ เพราะห้องสมุดมีหนังสือมากมาย มีให้อ่านเยอะแยะเลยครับ พร้อมกันนี้ เราก็ต้องพร้อมเปิดใจด้วย ก็คือเรียนให้สนุกน่ะครับ ใจเราต้องมาก่อนอันดับแรกว่าเราพร้อมที่จะเรียนรู้จริงๆ มันอยู่ที่ใจ ไม่ใช่ตามเพื่อน และก็มีสิ่งนี้ด้วย ทุกอย่างมีในนี้หมด ทุกวันนี้ผมแทบไม่ต้องจับคอมพิวเตอร์เลย เพราะมันสามารถแทนได้ทุกอย่างเลย
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : วชิร สายจำปา