ASTVผู้จัดการ – ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2558 และ (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2558 กำหนดและเพิ่มโทษกรณีพรากผู้เยาว์อายุไม่เกิน 15 ปี ระบุถ้าโทรมเด็กหญิงหรือชายโดยใช้อาวุธ โทษจำคุกตลอดชีวิต ทั้งระบุความผิดเกี่ยวกับศพอันเป็นการละเมิดต่อสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ และชื่อเสียงให้ชัดเจนขึ้น มีผลบังคับใช้ 13 ก.พ. 2558
วานนี้ (13 ก.พ.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา (www.ratchakitcha.soc.go.th) ได้เผยแพร่ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 132 ตอน 10 ก รวม 11 เรื่อง โดยมีสองเรื่องเป็นพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2558 และ (ฉบับที่ 23) พ.ศ.2558
ทั้งนี้ ตอนหนึ่งของ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 23) พ.ศ.2558 ระบุว่า
“มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน
มาตรา ๒๗๗ ผู้ใดกระทําชําเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจําคุกต้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท
การกระทําชําเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การกระทําเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทํา โดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทํากระทํากับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทํากับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือจําคุกตลอดชีวิต
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสามได้กระทําโดยร่วมกระทําความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงหรือกระทํากับเด็กชายในลักษณะเดียวกันหรือได้กระทําโดยมีอาวุธปืน หรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้อาวุธ ต้องระวางโทษจําคุกตลอดชีวิต
ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกระทําโดยบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปีกระทําต่อเด็กซึ่งมีอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กผู้ถูกกระทํานั้นยินยอม ศาลที่มีอํานาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวจะพิจารณาให้มีการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กผู้ถูกกระทําหรือผู้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก หรือจะอนุญาตให้ทั้งสองฝ่ายสมรสกันโดยกําหนดเงื่อนไขให้ต้องดําเนินการภายหลัง การสมรสก็ได้ และเมื่อศาลได้พิจารณามีคําสั่งอย่างใดแล้ว ศาลจะลงโทษผู้กระทําความผิดน้อยกว่าที่กฎหมาย กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ ในการพิจารณาของศาลให้คํานึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ สิ่งแวดล้อมของผู้กระทําความผิดและเด็กผู้ถูกกระทํา ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทําความผิดกับเด็กผู้ถูกกระทํา หรือเหตุอื่นอันควรเพื่อประโยชน์ของเด็กผู้ถูกกระทําด้วย”
ขณะที่ ตอนหนึ่งของพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2558 ระบุว่า
“มาตรา ๓๖๖/๑ ผู้ใดกระทําชําเราศพ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
การกระทําชําเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การกระทําเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทําโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทํากระทํากับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของศพ หรือการใช้สิ่งอื่นใด กระทํากับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของศพ
มาตรา ๓๖๖/๒ ผู้ใดกระทําอนาจารแก่ศพ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๓๖๖/๓ ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ทําให้เสียหาย เคลื่อนย้าย ทําลาย ทําให้เสื่อมค่า หรือทําให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งศพ ส่วนของศพ อัฐิ หรือเถ้าของศพ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๓๖๖/๔ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดๆ อันเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามศพ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ”