"ผมเนี่ย เพึ่งจะอายุ 23 งานการก็กำลังไปได้สวย ทำธุรกิจส่วนตัวที่เรื่องเวลาโคตรอิสระ คือทำตอนไหนก็ได้ว่างั้น ก็ติดเที่ยว ทั้งท่องราตรี ทั้งต่างจังหวัด ติดเพื่อนด้วย ชีวิตดีอ่ะครับว่าง่ายๆ ฮาๆ ผมก็จะติสต์ๆ หน่อย อยากไปไหนก็ไป อยากทำอะไรก็ทำ อยากตื่นตอนไหนก็ตื่น แต่ก็หาเงินเป็นนะครับ เพราะหาเงินเรียนเองตั้งแต่ปี 1 เทอม 2 จนเรียนจบ แม้จะขอยืมแม่แบบไม่คืนมาหลายรอบ ฮาๆ เอ๊ยยย แล้วเกี่ยวอะไรกับเด็กและเป็นพ่อคนได้อย่างไรน่ะเหรอ มาเข้าเรื่องกันเลย อวยตัวเองมาเยอะแล้ว..."
นั่นคือเรื่องราวจั่วหัวชวนติดตามของกระทู้ “จากวัยเฟี้ยวต้องมาเป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว” ที่ถูกแชร์กดไลค์อย่างล้นหลามในโลกออนไลน์เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา
สาเหตุก็เพราะนักแสดงไม่ใช่พระเอกดาราหรือคนดัง และเนื้อหาก็ไม่ใช่เรื่องแต่งแบบซีรีส์เกาหลีเรื่อง "ปะป๊าเบบี้" หรือ "คุณพ่อจอมเฟี้ยว" จากหนังญี่ปุ่น แต่นี่คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตที่ยิ่งกว่าละครของ "เบียร์-ศิริพงษ์ เหล่านุกูล" หนุ่มใสวัย 23 ปี ที่จู่ๆ ต้องกลายมาเป็นคุณพ่อแบบจับพลัดจับผลูไม่รู้ตัว
ใครจะเชื่อว่า ชีวิตหยำเปของคนคนหนึ่งจะเปลี่ยนแปลงได้เพียงเพราะ "เด็กน้อย" วัยขวบเศษที่ไม่ใช่ลูกในไส้
ใครจะเชื่อว่านี้คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง
ใครจะเชื่อว่าปาฏิหาริย์ในความรักสามารถเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งอย่างได้
และใครจะถ่ายทอดได้ดีเท่ากับเข้าไปสู่โลกของเขา...
โลก 'จากวัยเฟี้ยวต้องมาเป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว'
ความหมายของชีวิต
และสองหัวใจที่ผูกผัน
"ตอนแรกไม่คิดเลยไม่แม้แต่นิดเดียว" คุณพ่อวัยใสกล่าวถึงความรู้สึกแรกเริ่มที่ไม่คาดคิดว่าจะมีโอกาสได้เป็นพ่อคน ในช่วงระยะเวลาชีวิตขณะเรียน ด้วยวันวัยเพียงแค่ 22 ปี
"คือตอนนั้นผมก็เป็นเหมือนวัยรุ่นทั่วไปล่ะครับ ที่มีความฝัน มีความชอบ อยากท่องเที่ยว อยากใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ ก่อน เรื่องมีครอบครัวเรื่องแต่งงานเดี๋ยวสัก 27-28 ค่อยคิด เพราะเรียนก็กำลังจะจบ การงานก็กำลังไปได้สวย มีทั้งเงินทั้งเวลา ชีวิตอยากไปไหนก็ไป อยากทำอะไรก็ทำได้หมด"
ทั้งผับทั้งบาร์ ไปจนถึงร้านเหล้าชื่อดังและแหล่งท่องเที่ยวต่างจังหวัดที่ขึ้นชื่อ เขาก็ตะลุยไปมาแล้วทั่วสารทิศ จากเย็นย่ำค่ำมืดจรดรุ่งเช้า เนื่องสถานะนักศึกษามหาวิทยาลัยเปิดและจากการทำธุรกิจส่งออกคอยติดต่อประสานงานรับส่งออเดอร์ข้ามประเทศ ทำให้เขามีทั้งกำลังทรัพย์และเวลามากพอ ที่จะเอื้อชีวิตหนุ่มโสดให้ดำเนินไปอย่างเสรี
"จำได้เลยว่าตอนนั้น เคยเที่ยวหนักสุดๆ คืออาทิตย์หนึ่งเต็มๆ ไม่มีหยุด กลับมาจากที่นั่นไปที่นู่น จังหวัดนี้ไปจังหวัดนั้น กับเพื่อนบ้าง ไปคนเดียวบ้าง ห้องนี่แทบไม่ได้อยู่นอน (หัวเราะ)
"เพราะวันไหนถ้าไม่ได้ออกต่างจังหวัด กลางคืนก็จะไปแถวถนนข้าวสาร ไม่ก็อาร์ซีเอ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นข้าวสารมากกว่า เพราะเรารู้จักและเริ่มต้นธุรกิจส่งออกที่ทำให้เราใช้ชีวิตอย่างนี้ได้ ก็มาจากการที่เราเที่ยวที่นั่น แล้วบังเอิญไปรู้จักกับเพื่อนๆ ชาวต่างชาติ
"เราก็เลยเป็นคนที่อยากหาเงินเพื่อเที่ยว เพราะตอนนั้นเราไม่ได้สนใจอะไร ก็สนใจแต่เรื่องพวกนี้แหละ เรื่องเที่ยว เรื่องเพื่อน เรื่องเอาชีวิตตัวเองสนุกไว้ก่อน" เบียร์เล่าช่วงเวลาวันวานชีวิตที่น่าอิจฉาในฐานะวัยรุ่นคนหนึ่งซึ่งลงตัวไปได้สวยในทุกเรื่อง
ก่อนที่ทุกอย่างจะกลับตาลปัตรเมื่อเจ้าตัวน้อยเข้ามาในชีวิต
"ช่วงนั้นก็มีคนถามผมเยอะเหมือนกันว่าทำอย่างไร ทำงานทำการอะไร ชีวิตถึงทำได้อย่างนี้ ผมก็ไม่รู้จะบอกอย่างไร เพราะผมก็แค่เริ่มต้นที่ตัวเองก่อนว่า เดือนนี้อยากใช้เงินเท่าไหร่ สมมติสองหมื่นคือเป้า ทีนี้แล้วเราจะต้องทำอะไรบ้าง เราจะแบ่งเวลาอย่างไร ผมก็จะคิดจากตรงนั้น
"อย่างเมื่อก่อนผมทำอีเวนต์ออแกไนซ์ ผมก็จะต้องหางานให้ได้ขนาดนี้ๆ นะ เราก็จะอัดตารางงานเข้าไปให้ถึง บางวันนอน 2-3 ชั่วโมงก็ยอม เพราะผมรู้สึกว่าถ้าเราทำอะไรแล้วต้องเอาให้สุด งานก็คืองาน ถึงเวลาพักก็คือพักยาวเลย ผมก็ไม่ยอมเหมือนกัน"
และด้วยเหตุนี้ ชีวิตสุดเหวี่ยงที่แม้คนวัยเดียวกันจะมองว่าคือคนเต็มคน คือผู้ชายที่ใช้ชีวิตได้อย่างคุ้มค่าทุกนาที แต่กระนั้นในสายตาความคิดอ่านของผู้หลักผู้ใหญ่ โดยเฉพาะกับ "แม่" ผู้เฝ้าดูการเติบโตของลูกชายเพียงคนเดียว ชีวิตแบบนี้ไม่ต่างอะไรกับไม้หลักปักขี้เลน ไร้ซึ่งความรับผิดชอบที่ถูกทาง
ดังนั้น เมื่อหลังจากเหตุการณ์น้องสาวในวัยเรียนพลาดพลั้งมีทายาทจึงต้องแต่งงานมีครอบครัว กระทั่งเวลาต่อมาเกิดมีปัญหาหย่าร้าง น้องสาวจึงนำลูกน้อยมาฝากให้เขาช่วยดูแล เพราะด้วยความที่ทางบ้านประกอบอาชีพร้านอาหารยามค่ำคืน การจะดูแลเด็กน้อยวัยขวบปีย่อมเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ดี การออกปากรับหน้าที่ช่วยดูแลหลาน เพราะความเห็นใจในความเป็นไปของน้องสาว กลับนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตของเขา
"ด้วยความที่ผมเองใช้ชีวิตแบบนี้ ครอบครัวเขาจึงมองว่าผมไม่เอาไหน เพราะผมไม่ฟังอะไรใครเลย ผมก็เลยอยากจะพิสูจน์ให้เขารู้ว่าผมสามารถทำได้ ผมก็มีความรับผิดชอบเหมือนกัน"
"หลานพี่ พี่ดูแลเอง เดี๋ยวจะเอามาเลี้ยง เอามาเลย" เบียร์เอ่ยย้ำประโยคในวันนั้นที่พูดกับครอบครัวและน้องสาว เพราะไม่คิดว่ายากเกินความสามารถที่จะรับมือกับแค่เด็กคนหนึ่ง
"เพราะเราก็คิดว่าไม่ยาก ก็คิดตามซีรีส์ ผู้ชายคนหนึ่งเลี้ยงเด็ก เฮ้ยมันดูเท่ดี ผมก็คิดแค่นั้นจริงๆ คือไม่ได้คิดอะไรเลย คิดแค่ว่าตื่นมาจะอะไรมาก ป้อนข้าวป้อนน้ำ เที่ยงก็กิน บ่ายเดี๋ยวก็นอน เสร็จแล้วก็กินข้าวแล้วก็นอนต่อ ถ้าจะไปเที่ยวหรือไปไหนก็แค่จ้างเขาเลี้ยงเอาก็ได้จบ" เบียร์ว่าด้วยรอยยิ้มให้ความเยาว์ของตัวเองในวันนั้น
"คือตอนแรกผมยังบ่นยังว่าน้องอยู่เลย เพราะพอเรากลับมาถึงห้องแล้วเห็นห้องรก ก็ถามน้องว่าทำไมไม่เก็บ ตอนนั้นเราอยู่ด้วยกันสามคน ผมมีหน้าที่หาเงินอย่างเดียว น้องสาวเป็นคนดูแล ฉะนั้นผมจะไม่รู้อะไรเลย แค่ว่างผมก็พาไปเที่ยว เราก็เลยคิดว่ามันจะอะไรเยอะแยะ"
"แต่ทำไปทำมาทุกวันนี้รู้แล้ว (หัวเราะ) รู้แล้วว่าเป็นอย่างไร คือหลังจากที่น้องสาวกลับบ้านไปช่วยแม่ทำกิจการ เราซึ่งไม่เคยรู้ว่าเหนื่อยขนาดไหน เราซึ่งไม่รู้เลยว่าน้องอยู่กันสองคนเป็นอย่างไร เราก็ได้รู้ ได้เห็นว่ามันไม่ได้มีแค่กินนอนเล่น ไม่ได้มีแค่นั้น แต่มันมีเป็นพันๆ ข้อ แล้วในพันๆ ข้อ มันก็ยังมีหมายเหตุย่อยอีกมากมาย"
"โห่..." เบียร์ลากเสียงจากลำคอ แสดงแทนความเหนื่อยล้ากว่าขวบปีที่ต้องผ่านเรื่องร้องไห้กระจองอแงของเด็กน้อย ส่งผลถึงตัวเขาที่ไมเกรนกำเริบ กินไม่ได้นอนไม่หลับ จาก "กะเพรา" อาหารสิ้นคิดหนึ่งมื้อที่กินเป็นประจำก็ต้องเปลี่ยนเป็นเข้าครัวถือตะกร้าจ่ายตลาดทำกับข้าวแทน ชีวิตจากที่ต้องเปิดอีเมลสื่อสารก็แทนที่ด้วยการนั่งหาเมนูใหม่ๆ ในอินเทอร์เน็ตเพื่อคัดสรรสารอาหารให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ
“4-5 วันแรก เขาไม่ได้ร้องแบบ 20 นาทีแล้วหยุด แต่เขาร้องเป็นชั่วโมงๆ” เบียร์วาดสีหน้าภาพชั่วโมงนาทีที่ต้องกัดฟันจำใจฝืนฟันยิ้มแต่ทว่า...ในใจ “โธ่ ชีวิตทำไมมันแย่ขนาดนี้”
“คือพอผ่านเรื่องร้องไห้เสร็จ กลายเป็นเรื่องกินข้าวอีก (ลากเสียงสูง) เพราะจากเมื่อก่อนเรากินข้าวผัดกะเพราทุกวันเราก็กินได้ แต่พอเขามาเราก็ต้องมาสั่งข้าวผัด ข้าวผัดบ่อยๆ ก็ไม่ได้ มันไม่ดี เดี๋ยวสารอาหารไม่ครบถ้วน เราก็เลยต้องหาต้องเสิร์ชเข้าอินเทอร์เน็ตลองทำอะไรให้เขากินใหม่ๆ เข้าครัวจ่ายตลาด ถือตะกร้ามือหนึ่ง อุ้มน้องมือหนึ่ง
“แล้วน้องก็ไม่ยอมลงเดินเองด้วยนะ” น้ำเสียงของเบียร์ฟังดูเพลียๆ เมื่อเล่าถึงช่วงกลางชีวิตปะป๊าวัยละอ่อน เพราะนอกจากต้องรับมืออารมณ์หนูน้อย อีกสิ่งหนึ่งที่เขายังต้องรับมือ คือคำถามพัฒนาการในอนาคตของเด็ก--ถึงเกณฑ์เข้าเรียนหรือยัง--ฉีดวัคซีนหรือยัง
“ก็มีแต่คนชอบเข้ามาถามว่าน้องจะเข้าโรงเรียนหรือยังบ้าง ฉีดวัคซีนครบยัง เราก็เงิบเลยครับ ตอบไม่ถูกเพราะไม่รู้อะไรเลย คือลืมคิดไปเลยว่าเด็กต้องเรียนตอนไหน แล้ววัคซีนอะไรวะ มีด้วยหรือ (หัวเราะ)
“ก็ต้องไปเสิร์ชดูว่าต้องเรียนตอนไหนอะไรยังไงบ้าง แล้ววัยนี้มีพัฒนาการอย่างไร เข้าไปปรึกษาคุณหมอ อะไรๆ ที่เราไม่รู้ก็ต้องไปนั่งหาข้อมูลทุกอย่าง ชีวิตมันก็เลยเริ่มเปลี่ยนไป”
กระป๋องขวดเบียร์ เสียงดนตรีและฉากแสงวิบวับของหลอดนีออนค่อยๆ เงียบเชียบจากชีวิต เหลือเพียงเวทีไม่กี่ตารางเมตรหลังห้องพักให้ดื่มด่ำเป็นบางครั้งบางคราวกับเพื่อนฝูงบ้างหลังลูกน้อยหลับใหล
แต่กระนั้นเมื่อถามถึงชีวิตในช่วงเปลี่ยนผ่านวุ่นวายมากน้อยแค่ไหน เบียร์อมยิ้มแล้วบอกสั้นๆ ว่า "ไม่" เพราะแม้จะด้วยความที่เป็นผู้ชาย ความรู้เรื่องการเลี้ยงเด็กจะต้องพึ่งพากูรูจากทุกด้าน บางครั้งคำถามคำเดียวกัน แต่กลับได้คำตอบร้อยแปด ทว่าเรื่องวุ่นวายในคำจำกัดความของใครหลายคนที่คิดภาพตามถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเบื้องหน้า เบียร์ก็กลับย้อนศรแปรเปลี่ยนให้มันเป็นรอยยิ้มและเสียงหัวเราะจนเกิดภาพน่ารักน่าชัง ทะเล้นทะลึ่ง ที่มีผู้คนติดตามกว่า 3 หมื่นในเฟซบุ๊ก
"คืออย่างแรกเลยผมรู้สึกว่า ผมจะเลี้ยงเด็กอย่างไรดี ผมจะต้องมานั่งประคบประหงมไหม แต่ด้วยความที่ผมก็อยากใช้ชีวิตของผมปกติ (หัวเราะ) ผมก็เลยเอาเขาเข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตผม อาบน้ำด้วยกัน เข้าห้องน้ำพร้อมกัน ทำอะไรด้วยกันหมดเลย
“แต่ทีนี้พอเขาทำอะไรตามเรา อย่างพอผมแปรงฟัน น้องเขาก็ต้องแปรงฟันเหมือนผม เห็นผมใส่เสื้อผ้า เขาก็ต้องใส่เสื้อผ้าเหมือนผม หรือขนาดผมใส่กางเกงเขาก็ยังอยากใส่กางเกงให้ผม เราก็ต้องใส่ให้เหลือไว้หูหนึ่ง ปล่อยให้เขาใส่ให้ผม เราก็จะทำกิจกรรมด้วยกันอย่างนี้ จากที่เราต้องเอาชีวิตเราไปดูแลเอาใจใส่เขา กลับกลายเป็นว่าเรามาใช้ชีวิตด้วยกัน เราก็รู้สึกว่ามันเท่ดี" เบียร์ว่า ก่อนจะเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้สองชีวิตผูกพันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งทุกวันนี้ แค่ห่างสักนาทีก็เป็นห่วงและคิดถึง
"อย่างจุดเริ่มต้นเลยก็คือวันนั้นไปซักผ้า แล้วเขาร้องอยากช่วย จะเอาตะกร้าถือแบบเรา ผมก็เลยแบ่งตะกร้าให้ บังเอิญมีคนมาเห็นเขาก็บอกว่าน่ารักดีแล้วก็ขอเราถ่ายรูป เราก็เลยขอแชร์ด้วย เสร็จปุ๊บพอลงเท่านั้นล่ะ คนเข้ามากดไลค์เข้ามาคอนเมนต์พรึ่บเลย
"ตั้งแต่นั้นมา ผมก็เลยเริ่มรู้สึกว่าถ้าเกิดเราลองเปลี่ยนมุมมองว่า เราเป็นพ่อคนหนึ่งที่เลี้ยงลูกจริงๆ ไม่ใช่หลาน แล้วเราลองแชร์อะไรลงไป มันก็คงเป็นอะไรที่ดี และมันก็ดีจริงๆ คือถ้าถามว่าหากมีโอกาสให้เลือกอีกครั้ง ผมจะเลือกไหม ผมตอบเลยว่าก็เลือกที่จะทำอย่างนี้ เพราะจากตอนแรกที่คิดว่าพอน้องเข้ามาแล้วจะทำให้ชีวิตที่เราอิสระหมดไป แต่จริงๆ น้องเขาเข้ามาเติมเต็มส่วนที่เราขาดต่างหาก
"เพราะด้วยความที่เราเติบโตมาในครอบครัวที่คุณพ่อคุณแม่แยกทางกัน ผมมาอยู่กับคุณพ่อที่กรุงเทพฯ แล้วคุณพ่อต้องเดินทางไปทำงานบ่อย ผมจึงอยู่กับพี่แค่สองคน ชีวิตเราก็เลยอยู่แบบตัวใครตัวมัน ทำอะไรเองมาตลอด ขนาดเข้า ม.1 ยังเลือกโรงเรียนที่จะเรียนเอง เราก็เลยไม่ค่อยผูกพันกับที่บ้าน ไม่ใช่ว่าคิดน้อยใจ ผมไม่ได้รู้สึกด้วยซ้ำว่าขาดหรือแปลกจากคนอื่น แต่คิดว่าครอบครัวไม่สำคัญอะไรหรอก เพราะเราก็อยู่คนเดียวได้ เราคิดอย่างนั้นจริงๆ เราก็เลยคิดว่าชีวิตที่เราทำชีวิตที่เราเป็นมันคือชีวิตที่ดีแล้ว แต่จริงๆ ไม่ใช่
"คือจริงอยู่ที่เราอาจจะมีเป้ามีการวางแผนอีก 10 ปีข้างหน้า เราจะเป็นแบบนี้ๆ นะ แต่เราไม่ได้ทำอะไรในวันนี้ ไม่ได้คิดอะไรในวันนี้เผื่อวันพรุ่งนี้ อย่างเรื่องการใช้เงิน เราเคยใช้แบบนี้ หาแบบนี้ ตั้งเป้าไว้แค่นั้นๆ อย่างที่บอก แต่พอวันที่น้องป่วยน้องไม่สบายหนัก ต้องเข้าโรงพยาบาล เงินเรามีก็จริง แต่มันก็ต้องใช้เงินเยอะ ก็ทำให้เราเห็นภาพอนาคต ทำให้เรากลับมานั่งคิดทบทวนไปมา แล้วถ้าสมมติว่าวันพรุ่งนี้เป็นเราป่วยล่ะ เราจะทำอย่างไร คือไม่ต้องคิดไกลขนาดว่าใครจะดูแลเขาแทนผมก็ได้ คิดแค่ใกล้ๆ ใครจะดูแลเรา มันก็ทำให้ผมรู้สึกว่าเราต้องดูแลตัวเองด้วยนะ มันก็ทำให้เรารู้สึกมองย้อนชีวิตที่ผ่านมา จุดนี้เลยทำให้ชีวิตผมเปลี่ยนเลยไปหมดเลยทั้งชีวิต เหมือนกระจกที่สะท้อนกลับไป”
"กลับไป" ที่ว่านี้ของเขาคือการกลับไปสู่ความหมายของชีวิตจริงๆ ที่ไม่ใช่เพียงแค่การดำรงอยู่ ทำงาน กิน เที่ยว คือความสุข การโผบินโดดเดี่ยวคือความแข็งแกร่งมั่นคง
"พอเราเริ่มคิดอะไรเยอะขึ้น เราก็เริ่มรู้ว่าเวลามันเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะเราจะไม่มีทางรู้เลยว่าเวลาของเรามันจะจบลงเมื่อไหร่ เวลามันก็ถอยหลังไปเรื่อยๆ เราก็รู้สึกว่าสิ่งที่เราโหยหาที่สุด มันไม่ใช่การใช้ชีวิตแบบเมื่อก่อนแล้ว แต่มันคือการใช้ชีวิตที่เราได้อยู่กับเขา ได้อยู่กับครอบครัว"
"ชีวิตก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ดีขึ้นมาก ทุกวันนี้ทุกคนมีความสุข ครอบครัวทุกคนพยายามหาทางอยู่ร่วมกัน มีวางแผนพูดคุยปรึกษากันตลอด และสำหรับผม จากที่ไม่เคยเข้าใจเหตุผลเรื่องครอบครัว เดี๋ยวนี้ก็เข้าใจ ได้รู้ถึงความหมาย ได้รู้คุณค่าของชีวิต เราเคยเป็นแบบนี้มาก่อนและเป็นจนโต พ่อแม่เราจะเป็นอย่างไรเนี่ย ขนาดเรายังรู้สึกแย่ๆ ทั้งๆ ที่เขาเป็นแค่เด็ก ก็ทำให้เราเห็นคุณค่าของตรงนั้นมากขึ้น"
"ทุกวันนี้ บางครั้งเราก็ลืมตัวเพราะเป็นห่วงเขามากเกิน แต่มันก็ทำให้ผมยิ่งรู้สึกเลยว่า พ่อกับแม่เราเขาก็เคยเป็นห่วงเราแบบนี้ รักเราแบบนี้ นี่แหละคือสิ่งที่เราสมควรจะรักลูกเราแบบนั้น แบบที่เราเคยได้ความรักจากพ่อแม่ของเรา"
ทุกชีวิตมีคุณค่า
ความในใจคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว
หลังจากที่หนึ่งชีวิตก้าวเข้ามาอยู่ร่วมห้องหัวใจดวงเดียวกัน นอกจากจะเปลี่ยนแปลงทัศนคติส่วนตัวของเขาแล้วนั้น เรื่องราวของกระทู้ 'จากวัยเฟี้ยวต้องมาเป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว' ก็ยังเปลี่ยนแปลงทัศนคติของใครอีกหลายคนด้วยเช่นกัน
"คือผมก็ไม่ใช่คนที่มีหัวใจที่ยิ่งใหญ่หรือว่าอะไร เพราะทุกคนที่เป็นพ่อเป็นแม่มีหัวใจอย่างนี้ทุกคน แต่พอมีคนมาขอคำปรึกษา ผมก็ยินดี ผมก็ตอบได้ในสิ่งที่ผมรู้ ก็ภูมิใจที่เรื่องราวของเราทำให้คนรู้สึกและคิดถึงเรื่องตรงนี้กันมากขึ้น
"แต่ในอีกมุมหนึ่งมันก็ทำให้ผมรู้สึกสะเทือนใจเหมือนกัน เพราะตั้งแต่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมามีคนมาปรึกษาเยอะมาก ทั้งคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวที่รู้สึกว่าเด็กคนนี้คือปัญหาของชีวิต เด็กคนนี้คือตัวถ่วงชีวิตเขา”
"บางครั้งอ่านสิ่งที่เขาเล่าแล้วเราร้องไห้เลย" คุณพ่อวัยใสว่าพลางกวาดสายตาไปที่หนูน้อยวัยกำลังซน ก่อนจะบอกเล่าเคสที่ปรึกษาแล้วหาวิธีแก้ไขด้วยการเอาเด็กออก ซึ่งเขาไม่รีรอที่จะกระโจนขึ้นรถแท็กซี่เพื่อไปให้กำลังใจ
"คือผมก็ไม่รู้ว่าไปแล้วมันจะให้อะไรเขาได้แค่ไหน เพราะที่ผมไป ผมแค่อยากจะบอกเขาว่า ถึงเขาไม่มีใคร แต่ก็ยังมีผมอยู่ข้างๆ นะในเวลานั้น และสิ่งสำคัญสำหรับเขามันคือตัวเขาและลูก เพราะฉะนั้น ถ้าใครไม่เห็นเขาสำคัญไม่เป็นไรเราเห็นความสำคัญของตัวเราก็พอ แต่พอไปถึงเขาก็เข้ามากอด แล้วบอกว่าขอบคุณที่ทำให้รู้ความหมายของชีวิต
"จริงๆ ทำไมคนเรามองชีวิตชีวิตหนึ่งแค่นั้น ทั้งๆ ที่ชีวิตหนึ่งเกิดมา มันมีความหมายเยอะมาก มันไม่จำเป็นที่เราเกิดมาแล้วเราจะต้องเป็นอะไร ไม่จำเป็นว่าเกิดมาแล้วเราจะต้องทำอาชีพอะไร ไม่จำเป็นว่าเกิดมาแล้วเราต้องเรียนจบด้วยเกียรตินิยมเท่าไหร่ แต่มันขึ้นอยู่กับว่าเราเติบโตมาแล้ว เราเติบโตมาด้วยความรัก เติบโตมาด้วยความอบอุ่น เติบโตมาพร้อมกับชีวิตที่เราอยากจะทำ"
"ย้อนดูตัวเราสิ เรายังมีสิทธิ์ที่จะโตเลยไม่ใช่หรือ" เขาย้อนถาม "สำหรับผม คำว่าไม่พร้อม มันคืออะไร ถามใจตัวเองก่อน คำว่าไม่พร้อมคือทัศนคติของตัวเองมากกว่าไหม คือการที่ทุกคนต่างพยายามหาเหตุผลว่าทำไม ทำไมต้องเป็นแบบนั้น ทำไมต้องเป็นแบบนี้ ถ้าเกิดชีวิตเราไม่เป็นแบบนั้น เราก็คงไม่ต้องเป็นแบบนี้ แทนการคิดกลับกันว่าเราจะทำยังไง เราต้องทำอย่างไรกับสิ่งที่มันเกิดขึ้นหรือเปล่า"
"อย่างเรียนหนังสืออยู่ ไม่พร้อมที่จะมีลูกด้วยวัยด้วยอายุ แต่จริงๆ ทุกคนคิดว่าไม่พร้อมที่จะออกจากมหาวิทยาลัยเพื่อจะไปเลี้ยงลูกมากกว่า แล้วถ้าถามตรงๆ ว่าอันไหนมันสำคัญกว่ากัน ชีวิตหนึ่งที่คุณจะต้องรับผิดชอบเพราะทำให้เขาเกิดมา กับอีกชีวิตหนึ่งของคุณเอง”
"เพราะฉะนั้น คำว่า 'ภาระ' กับหนึ่งชีวิตที่เกิดมา เด็กไม่ใช่ภาระของคุณ แต่คุณกำลังเป็นภาระของสังคมต่างหาก" ใบหน้าของคุณพ่อยังหนุ่มจริงจังขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อพูดถึงตรงนี้ ตรงที่หากย้อนกลับไป เขาก็เพิ่งผ่านพ้นวัยดูการ์ตูนมาไม่นาน ก็ต้องกลับไปนั่งดูนั่งอ่านนิทาน เล่นพี่เสือ พี่หมู แต่เขาก็สามารถทำได้โดยไม่แคร์สายตาใคร
"จริงๆ แล้ว การเป็นพ่อเป็นแม่คนที่ดีมันก็เป็นได้ไม่ยากหรอกครับ เราทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นพ่อคนแม่คนได้สบาย เพียงแค่เราเอาใจเข้าไปใส่เท่านั้นเอง"
"คือผมไม่รู้ว่าคนอื่นเป็นเหมือนผมหรือเปล่า และผมก็ไม่รู้ว่าคนทุกคนจะเป็นเหมือนกันไหม เพราะเราทุกคนคิดไม่เหมือนกันอยู่แล้ว แต่ผมเชื่อว่าทุกคนที่เลี้ยงลูก ทุกคนที่ดูแลเขา ทุกคนรัก ถึงแม้ว่าครั้งแรกเราจะรู้สึกว่าเขาคือภาระ แต่ผมรู้เลยว่าทุกคนจะรู้สึก รู้สึกใส่ใจและรู้สึกรัก โดยที่มันไม่มีเหตุผลจริงๆ ไม่มีเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องดูแลเขาขนาดนี้ แต่ ณ วันหนึ่งที่เขาโตขึ้น ณ วันหนึ่งที่เขายิ้ม ที่เขาหัวเราะ ณ วันหนึ่งที่เขากอดคุณ มันเป็นวันที่เราจะรู้สึกว่า สิ่งที่เราทำมา ความเหนื่อยที่เรามี กับสิ่งที่เราทุ่มเทไปมันมีความหมาย ชีวิตมันมีความหมาย"
"แต่ถ้าเราคิดว่าชีวิตเรายังต้องเป็นแบบนั้น ยังต้องเป็นแบบนี้ อายุยังไม่มาก เรายังจะต้องเที่ยว ต้องเจริญก้าวหน้า อย่ามีลูก อย่ามีครอบครัว ทางที่ดีอย่ามีแฟนเลยดีกว่า ใช้ชีวิตของตัวเองให้ที่สุด ให้ไปถึงที่สุด ให้ไปถึงที่ว่าพอแล้ว ต่อไปจะต้องใช้ชีวิตเพื่อคนอื่น"
แต่ถ้าเลือกแล้วที่จะไม่มีเพราะความไม่พร้อม แต่ทุกอย่างย่อมมีความผิดพลาดเกิดขึ้น คุณพ่อยังหนุ่มแนะนำว่า "ให้ตั้งโจทย์ที่ตัวเรา"
"คือกรอบทุกกรอบที่เราใส่ให้ชีวิตของเรามันไม่มีจริง ก็อยากให้คนทุกคนที่กำลังเจอปัญหานี้ลบทุกอย่างออกหมด ลบโจทย์ในชีวิตของตัวเอง ลบโจทย์ชีวิตบนโลกนี้ออกให้หมด ทัศนคติคนรอบข้างที่คุณเคยเจอมา ลบออกให้หมด แล้วมองดูตัวเอง ตั้งโจทย์ของตัวเองขึ้นมา เรามีอะไร เราต้องทำอย่างไร หนึ่งเรามีลูกใช่ไหม เราต้องทำอย่างไร เรามีครอบครัว เราต้องทำอย่างไร เรามีคนรักใช่ไหม เราต้องทำอย่างไร
"แล้วอย่าไปคิดว่าทำไมชีวิตไม่เหมือนอย่างนั้น ไม่เหมือนคนนี้ มันไม่ 1-2-3-4 กันทุกคน แต่ในเมื่อความผิดพลาดมันเกิดจากเรา เราก็ต้องยอมรับ เราก็ต้องหาวิธีแก้ไข โดยการทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ชีวิตมันมีความสุข อยู่กับสิ่งที่มีให้มีความสุข นั่นแหละคือสิ่งที่คุณควรจะทำ นั่นแหละคือชีวิตที่เราควรจะเป็น
เพราะชีวิตเรามักจะไม่ได้ในสิ่งที่เราต้องการ แต่เราจะได้ในสิ่งที่เราคู่ควร ดังนั้นเราควรจะต้องมองว่าเราคู่ควรกับอะไร ใจเราใหญ่แค่ไหน ปัญหามันยิ่งเล็ก"
เรื่อง :รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ :ศิวกร เสนสอน
นั่นคือเรื่องราวจั่วหัวชวนติดตามของกระทู้ “จากวัยเฟี้ยวต้องมาเป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว” ที่ถูกแชร์กดไลค์อย่างล้นหลามในโลกออนไลน์เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา
สาเหตุก็เพราะนักแสดงไม่ใช่พระเอกดาราหรือคนดัง และเนื้อหาก็ไม่ใช่เรื่องแต่งแบบซีรีส์เกาหลีเรื่อง "ปะป๊าเบบี้" หรือ "คุณพ่อจอมเฟี้ยว" จากหนังญี่ปุ่น แต่นี่คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตที่ยิ่งกว่าละครของ "เบียร์-ศิริพงษ์ เหล่านุกูล" หนุ่มใสวัย 23 ปี ที่จู่ๆ ต้องกลายมาเป็นคุณพ่อแบบจับพลัดจับผลูไม่รู้ตัว
ใครจะเชื่อว่า ชีวิตหยำเปของคนคนหนึ่งจะเปลี่ยนแปลงได้เพียงเพราะ "เด็กน้อย" วัยขวบเศษที่ไม่ใช่ลูกในไส้
ใครจะเชื่อว่านี้คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง
ใครจะเชื่อว่าปาฏิหาริย์ในความรักสามารถเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งอย่างได้
และใครจะถ่ายทอดได้ดีเท่ากับเข้าไปสู่โลกของเขา...
โลก 'จากวัยเฟี้ยวต้องมาเป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว'
ความหมายของชีวิต
และสองหัวใจที่ผูกผัน
"ตอนแรกไม่คิดเลยไม่แม้แต่นิดเดียว" คุณพ่อวัยใสกล่าวถึงความรู้สึกแรกเริ่มที่ไม่คาดคิดว่าจะมีโอกาสได้เป็นพ่อคน ในช่วงระยะเวลาชีวิตขณะเรียน ด้วยวันวัยเพียงแค่ 22 ปี
"คือตอนนั้นผมก็เป็นเหมือนวัยรุ่นทั่วไปล่ะครับ ที่มีความฝัน มีความชอบ อยากท่องเที่ยว อยากใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ ก่อน เรื่องมีครอบครัวเรื่องแต่งงานเดี๋ยวสัก 27-28 ค่อยคิด เพราะเรียนก็กำลังจะจบ การงานก็กำลังไปได้สวย มีทั้งเงินทั้งเวลา ชีวิตอยากไปไหนก็ไป อยากทำอะไรก็ทำได้หมด"
ทั้งผับทั้งบาร์ ไปจนถึงร้านเหล้าชื่อดังและแหล่งท่องเที่ยวต่างจังหวัดที่ขึ้นชื่อ เขาก็ตะลุยไปมาแล้วทั่วสารทิศ จากเย็นย่ำค่ำมืดจรดรุ่งเช้า เนื่องสถานะนักศึกษามหาวิทยาลัยเปิดและจากการทำธุรกิจส่งออกคอยติดต่อประสานงานรับส่งออเดอร์ข้ามประเทศ ทำให้เขามีทั้งกำลังทรัพย์และเวลามากพอ ที่จะเอื้อชีวิตหนุ่มโสดให้ดำเนินไปอย่างเสรี
"จำได้เลยว่าตอนนั้น เคยเที่ยวหนักสุดๆ คืออาทิตย์หนึ่งเต็มๆ ไม่มีหยุด กลับมาจากที่นั่นไปที่นู่น จังหวัดนี้ไปจังหวัดนั้น กับเพื่อนบ้าง ไปคนเดียวบ้าง ห้องนี่แทบไม่ได้อยู่นอน (หัวเราะ)
"เพราะวันไหนถ้าไม่ได้ออกต่างจังหวัด กลางคืนก็จะไปแถวถนนข้าวสาร ไม่ก็อาร์ซีเอ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นข้าวสารมากกว่า เพราะเรารู้จักและเริ่มต้นธุรกิจส่งออกที่ทำให้เราใช้ชีวิตอย่างนี้ได้ ก็มาจากการที่เราเที่ยวที่นั่น แล้วบังเอิญไปรู้จักกับเพื่อนๆ ชาวต่างชาติ
"เราก็เลยเป็นคนที่อยากหาเงินเพื่อเที่ยว เพราะตอนนั้นเราไม่ได้สนใจอะไร ก็สนใจแต่เรื่องพวกนี้แหละ เรื่องเที่ยว เรื่องเพื่อน เรื่องเอาชีวิตตัวเองสนุกไว้ก่อน" เบียร์เล่าช่วงเวลาวันวานชีวิตที่น่าอิจฉาในฐานะวัยรุ่นคนหนึ่งซึ่งลงตัวไปได้สวยในทุกเรื่อง
ก่อนที่ทุกอย่างจะกลับตาลปัตรเมื่อเจ้าตัวน้อยเข้ามาในชีวิต
"ช่วงนั้นก็มีคนถามผมเยอะเหมือนกันว่าทำอย่างไร ทำงานทำการอะไร ชีวิตถึงทำได้อย่างนี้ ผมก็ไม่รู้จะบอกอย่างไร เพราะผมก็แค่เริ่มต้นที่ตัวเองก่อนว่า เดือนนี้อยากใช้เงินเท่าไหร่ สมมติสองหมื่นคือเป้า ทีนี้แล้วเราจะต้องทำอะไรบ้าง เราจะแบ่งเวลาอย่างไร ผมก็จะคิดจากตรงนั้น
"อย่างเมื่อก่อนผมทำอีเวนต์ออแกไนซ์ ผมก็จะต้องหางานให้ได้ขนาดนี้ๆ นะ เราก็จะอัดตารางงานเข้าไปให้ถึง บางวันนอน 2-3 ชั่วโมงก็ยอม เพราะผมรู้สึกว่าถ้าเราทำอะไรแล้วต้องเอาให้สุด งานก็คืองาน ถึงเวลาพักก็คือพักยาวเลย ผมก็ไม่ยอมเหมือนกัน"
และด้วยเหตุนี้ ชีวิตสุดเหวี่ยงที่แม้คนวัยเดียวกันจะมองว่าคือคนเต็มคน คือผู้ชายที่ใช้ชีวิตได้อย่างคุ้มค่าทุกนาที แต่กระนั้นในสายตาความคิดอ่านของผู้หลักผู้ใหญ่ โดยเฉพาะกับ "แม่" ผู้เฝ้าดูการเติบโตของลูกชายเพียงคนเดียว ชีวิตแบบนี้ไม่ต่างอะไรกับไม้หลักปักขี้เลน ไร้ซึ่งความรับผิดชอบที่ถูกทาง
ดังนั้น เมื่อหลังจากเหตุการณ์น้องสาวในวัยเรียนพลาดพลั้งมีทายาทจึงต้องแต่งงานมีครอบครัว กระทั่งเวลาต่อมาเกิดมีปัญหาหย่าร้าง น้องสาวจึงนำลูกน้อยมาฝากให้เขาช่วยดูแล เพราะด้วยความที่ทางบ้านประกอบอาชีพร้านอาหารยามค่ำคืน การจะดูแลเด็กน้อยวัยขวบปีย่อมเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ดี การออกปากรับหน้าที่ช่วยดูแลหลาน เพราะความเห็นใจในความเป็นไปของน้องสาว กลับนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตของเขา
"ด้วยความที่ผมเองใช้ชีวิตแบบนี้ ครอบครัวเขาจึงมองว่าผมไม่เอาไหน เพราะผมไม่ฟังอะไรใครเลย ผมก็เลยอยากจะพิสูจน์ให้เขารู้ว่าผมสามารถทำได้ ผมก็มีความรับผิดชอบเหมือนกัน"
"หลานพี่ พี่ดูแลเอง เดี๋ยวจะเอามาเลี้ยง เอามาเลย" เบียร์เอ่ยย้ำประโยคในวันนั้นที่พูดกับครอบครัวและน้องสาว เพราะไม่คิดว่ายากเกินความสามารถที่จะรับมือกับแค่เด็กคนหนึ่ง
"เพราะเราก็คิดว่าไม่ยาก ก็คิดตามซีรีส์ ผู้ชายคนหนึ่งเลี้ยงเด็ก เฮ้ยมันดูเท่ดี ผมก็คิดแค่นั้นจริงๆ คือไม่ได้คิดอะไรเลย คิดแค่ว่าตื่นมาจะอะไรมาก ป้อนข้าวป้อนน้ำ เที่ยงก็กิน บ่ายเดี๋ยวก็นอน เสร็จแล้วก็กินข้าวแล้วก็นอนต่อ ถ้าจะไปเที่ยวหรือไปไหนก็แค่จ้างเขาเลี้ยงเอาก็ได้จบ" เบียร์ว่าด้วยรอยยิ้มให้ความเยาว์ของตัวเองในวันนั้น
"คือตอนแรกผมยังบ่นยังว่าน้องอยู่เลย เพราะพอเรากลับมาถึงห้องแล้วเห็นห้องรก ก็ถามน้องว่าทำไมไม่เก็บ ตอนนั้นเราอยู่ด้วยกันสามคน ผมมีหน้าที่หาเงินอย่างเดียว น้องสาวเป็นคนดูแล ฉะนั้นผมจะไม่รู้อะไรเลย แค่ว่างผมก็พาไปเที่ยว เราก็เลยคิดว่ามันจะอะไรเยอะแยะ"
"แต่ทำไปทำมาทุกวันนี้รู้แล้ว (หัวเราะ) รู้แล้วว่าเป็นอย่างไร คือหลังจากที่น้องสาวกลับบ้านไปช่วยแม่ทำกิจการ เราซึ่งไม่เคยรู้ว่าเหนื่อยขนาดไหน เราซึ่งไม่รู้เลยว่าน้องอยู่กันสองคนเป็นอย่างไร เราก็ได้รู้ ได้เห็นว่ามันไม่ได้มีแค่กินนอนเล่น ไม่ได้มีแค่นั้น แต่มันมีเป็นพันๆ ข้อ แล้วในพันๆ ข้อ มันก็ยังมีหมายเหตุย่อยอีกมากมาย"
"โห่..." เบียร์ลากเสียงจากลำคอ แสดงแทนความเหนื่อยล้ากว่าขวบปีที่ต้องผ่านเรื่องร้องไห้กระจองอแงของเด็กน้อย ส่งผลถึงตัวเขาที่ไมเกรนกำเริบ กินไม่ได้นอนไม่หลับ จาก "กะเพรา" อาหารสิ้นคิดหนึ่งมื้อที่กินเป็นประจำก็ต้องเปลี่ยนเป็นเข้าครัวถือตะกร้าจ่ายตลาดทำกับข้าวแทน ชีวิตจากที่ต้องเปิดอีเมลสื่อสารก็แทนที่ด้วยการนั่งหาเมนูใหม่ๆ ในอินเทอร์เน็ตเพื่อคัดสรรสารอาหารให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ
“4-5 วันแรก เขาไม่ได้ร้องแบบ 20 นาทีแล้วหยุด แต่เขาร้องเป็นชั่วโมงๆ” เบียร์วาดสีหน้าภาพชั่วโมงนาทีที่ต้องกัดฟันจำใจฝืนฟันยิ้มแต่ทว่า...ในใจ “โธ่ ชีวิตทำไมมันแย่ขนาดนี้”
“คือพอผ่านเรื่องร้องไห้เสร็จ กลายเป็นเรื่องกินข้าวอีก (ลากเสียงสูง) เพราะจากเมื่อก่อนเรากินข้าวผัดกะเพราทุกวันเราก็กินได้ แต่พอเขามาเราก็ต้องมาสั่งข้าวผัด ข้าวผัดบ่อยๆ ก็ไม่ได้ มันไม่ดี เดี๋ยวสารอาหารไม่ครบถ้วน เราก็เลยต้องหาต้องเสิร์ชเข้าอินเทอร์เน็ตลองทำอะไรให้เขากินใหม่ๆ เข้าครัวจ่ายตลาด ถือตะกร้ามือหนึ่ง อุ้มน้องมือหนึ่ง
“แล้วน้องก็ไม่ยอมลงเดินเองด้วยนะ” น้ำเสียงของเบียร์ฟังดูเพลียๆ เมื่อเล่าถึงช่วงกลางชีวิตปะป๊าวัยละอ่อน เพราะนอกจากต้องรับมืออารมณ์หนูน้อย อีกสิ่งหนึ่งที่เขายังต้องรับมือ คือคำถามพัฒนาการในอนาคตของเด็ก--ถึงเกณฑ์เข้าเรียนหรือยัง--ฉีดวัคซีนหรือยัง
“ก็มีแต่คนชอบเข้ามาถามว่าน้องจะเข้าโรงเรียนหรือยังบ้าง ฉีดวัคซีนครบยัง เราก็เงิบเลยครับ ตอบไม่ถูกเพราะไม่รู้อะไรเลย คือลืมคิดไปเลยว่าเด็กต้องเรียนตอนไหน แล้ววัคซีนอะไรวะ มีด้วยหรือ (หัวเราะ)
“ก็ต้องไปเสิร์ชดูว่าต้องเรียนตอนไหนอะไรยังไงบ้าง แล้ววัยนี้มีพัฒนาการอย่างไร เข้าไปปรึกษาคุณหมอ อะไรๆ ที่เราไม่รู้ก็ต้องไปนั่งหาข้อมูลทุกอย่าง ชีวิตมันก็เลยเริ่มเปลี่ยนไป”
กระป๋องขวดเบียร์ เสียงดนตรีและฉากแสงวิบวับของหลอดนีออนค่อยๆ เงียบเชียบจากชีวิต เหลือเพียงเวทีไม่กี่ตารางเมตรหลังห้องพักให้ดื่มด่ำเป็นบางครั้งบางคราวกับเพื่อนฝูงบ้างหลังลูกน้อยหลับใหล
แต่กระนั้นเมื่อถามถึงชีวิตในช่วงเปลี่ยนผ่านวุ่นวายมากน้อยแค่ไหน เบียร์อมยิ้มแล้วบอกสั้นๆ ว่า "ไม่" เพราะแม้จะด้วยความที่เป็นผู้ชาย ความรู้เรื่องการเลี้ยงเด็กจะต้องพึ่งพากูรูจากทุกด้าน บางครั้งคำถามคำเดียวกัน แต่กลับได้คำตอบร้อยแปด ทว่าเรื่องวุ่นวายในคำจำกัดความของใครหลายคนที่คิดภาพตามถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเบื้องหน้า เบียร์ก็กลับย้อนศรแปรเปลี่ยนให้มันเป็นรอยยิ้มและเสียงหัวเราะจนเกิดภาพน่ารักน่าชัง ทะเล้นทะลึ่ง ที่มีผู้คนติดตามกว่า 3 หมื่นในเฟซบุ๊ก
"คืออย่างแรกเลยผมรู้สึกว่า ผมจะเลี้ยงเด็กอย่างไรดี ผมจะต้องมานั่งประคบประหงมไหม แต่ด้วยความที่ผมก็อยากใช้ชีวิตของผมปกติ (หัวเราะ) ผมก็เลยเอาเขาเข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตผม อาบน้ำด้วยกัน เข้าห้องน้ำพร้อมกัน ทำอะไรด้วยกันหมดเลย
“แต่ทีนี้พอเขาทำอะไรตามเรา อย่างพอผมแปรงฟัน น้องเขาก็ต้องแปรงฟันเหมือนผม เห็นผมใส่เสื้อผ้า เขาก็ต้องใส่เสื้อผ้าเหมือนผม หรือขนาดผมใส่กางเกงเขาก็ยังอยากใส่กางเกงให้ผม เราก็ต้องใส่ให้เหลือไว้หูหนึ่ง ปล่อยให้เขาใส่ให้ผม เราก็จะทำกิจกรรมด้วยกันอย่างนี้ จากที่เราต้องเอาชีวิตเราไปดูแลเอาใจใส่เขา กลับกลายเป็นว่าเรามาใช้ชีวิตด้วยกัน เราก็รู้สึกว่ามันเท่ดี" เบียร์ว่า ก่อนจะเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้สองชีวิตผูกพันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งทุกวันนี้ แค่ห่างสักนาทีก็เป็นห่วงและคิดถึง
"อย่างจุดเริ่มต้นเลยก็คือวันนั้นไปซักผ้า แล้วเขาร้องอยากช่วย จะเอาตะกร้าถือแบบเรา ผมก็เลยแบ่งตะกร้าให้ บังเอิญมีคนมาเห็นเขาก็บอกว่าน่ารักดีแล้วก็ขอเราถ่ายรูป เราก็เลยขอแชร์ด้วย เสร็จปุ๊บพอลงเท่านั้นล่ะ คนเข้ามากดไลค์เข้ามาคอนเมนต์พรึ่บเลย
"ตั้งแต่นั้นมา ผมก็เลยเริ่มรู้สึกว่าถ้าเกิดเราลองเปลี่ยนมุมมองว่า เราเป็นพ่อคนหนึ่งที่เลี้ยงลูกจริงๆ ไม่ใช่หลาน แล้วเราลองแชร์อะไรลงไป มันก็คงเป็นอะไรที่ดี และมันก็ดีจริงๆ คือถ้าถามว่าหากมีโอกาสให้เลือกอีกครั้ง ผมจะเลือกไหม ผมตอบเลยว่าก็เลือกที่จะทำอย่างนี้ เพราะจากตอนแรกที่คิดว่าพอน้องเข้ามาแล้วจะทำให้ชีวิตที่เราอิสระหมดไป แต่จริงๆ น้องเขาเข้ามาเติมเต็มส่วนที่เราขาดต่างหาก
"เพราะด้วยความที่เราเติบโตมาในครอบครัวที่คุณพ่อคุณแม่แยกทางกัน ผมมาอยู่กับคุณพ่อที่กรุงเทพฯ แล้วคุณพ่อต้องเดินทางไปทำงานบ่อย ผมจึงอยู่กับพี่แค่สองคน ชีวิตเราก็เลยอยู่แบบตัวใครตัวมัน ทำอะไรเองมาตลอด ขนาดเข้า ม.1 ยังเลือกโรงเรียนที่จะเรียนเอง เราก็เลยไม่ค่อยผูกพันกับที่บ้าน ไม่ใช่ว่าคิดน้อยใจ ผมไม่ได้รู้สึกด้วยซ้ำว่าขาดหรือแปลกจากคนอื่น แต่คิดว่าครอบครัวไม่สำคัญอะไรหรอก เพราะเราก็อยู่คนเดียวได้ เราคิดอย่างนั้นจริงๆ เราก็เลยคิดว่าชีวิตที่เราทำชีวิตที่เราเป็นมันคือชีวิตที่ดีแล้ว แต่จริงๆ ไม่ใช่
"คือจริงอยู่ที่เราอาจจะมีเป้ามีการวางแผนอีก 10 ปีข้างหน้า เราจะเป็นแบบนี้ๆ นะ แต่เราไม่ได้ทำอะไรในวันนี้ ไม่ได้คิดอะไรในวันนี้เผื่อวันพรุ่งนี้ อย่างเรื่องการใช้เงิน เราเคยใช้แบบนี้ หาแบบนี้ ตั้งเป้าไว้แค่นั้นๆ อย่างที่บอก แต่พอวันที่น้องป่วยน้องไม่สบายหนัก ต้องเข้าโรงพยาบาล เงินเรามีก็จริง แต่มันก็ต้องใช้เงินเยอะ ก็ทำให้เราเห็นภาพอนาคต ทำให้เรากลับมานั่งคิดทบทวนไปมา แล้วถ้าสมมติว่าวันพรุ่งนี้เป็นเราป่วยล่ะ เราจะทำอย่างไร คือไม่ต้องคิดไกลขนาดว่าใครจะดูแลเขาแทนผมก็ได้ คิดแค่ใกล้ๆ ใครจะดูแลเรา มันก็ทำให้ผมรู้สึกว่าเราต้องดูแลตัวเองด้วยนะ มันก็ทำให้เรารู้สึกมองย้อนชีวิตที่ผ่านมา จุดนี้เลยทำให้ชีวิตผมเปลี่ยนเลยไปหมดเลยทั้งชีวิต เหมือนกระจกที่สะท้อนกลับไป”
"กลับไป" ที่ว่านี้ของเขาคือการกลับไปสู่ความหมายของชีวิตจริงๆ ที่ไม่ใช่เพียงแค่การดำรงอยู่ ทำงาน กิน เที่ยว คือความสุข การโผบินโดดเดี่ยวคือความแข็งแกร่งมั่นคง
"พอเราเริ่มคิดอะไรเยอะขึ้น เราก็เริ่มรู้ว่าเวลามันเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะเราจะไม่มีทางรู้เลยว่าเวลาของเรามันจะจบลงเมื่อไหร่ เวลามันก็ถอยหลังไปเรื่อยๆ เราก็รู้สึกว่าสิ่งที่เราโหยหาที่สุด มันไม่ใช่การใช้ชีวิตแบบเมื่อก่อนแล้ว แต่มันคือการใช้ชีวิตที่เราได้อยู่กับเขา ได้อยู่กับครอบครัว"
"ชีวิตก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ดีขึ้นมาก ทุกวันนี้ทุกคนมีความสุข ครอบครัวทุกคนพยายามหาทางอยู่ร่วมกัน มีวางแผนพูดคุยปรึกษากันตลอด และสำหรับผม จากที่ไม่เคยเข้าใจเหตุผลเรื่องครอบครัว เดี๋ยวนี้ก็เข้าใจ ได้รู้ถึงความหมาย ได้รู้คุณค่าของชีวิต เราเคยเป็นแบบนี้มาก่อนและเป็นจนโต พ่อแม่เราจะเป็นอย่างไรเนี่ย ขนาดเรายังรู้สึกแย่ๆ ทั้งๆ ที่เขาเป็นแค่เด็ก ก็ทำให้เราเห็นคุณค่าของตรงนั้นมากขึ้น"
"ทุกวันนี้ บางครั้งเราก็ลืมตัวเพราะเป็นห่วงเขามากเกิน แต่มันก็ทำให้ผมยิ่งรู้สึกเลยว่า พ่อกับแม่เราเขาก็เคยเป็นห่วงเราแบบนี้ รักเราแบบนี้ นี่แหละคือสิ่งที่เราสมควรจะรักลูกเราแบบนั้น แบบที่เราเคยได้ความรักจากพ่อแม่ของเรา"
ทุกชีวิตมีคุณค่า
ความในใจคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว
หลังจากที่หนึ่งชีวิตก้าวเข้ามาอยู่ร่วมห้องหัวใจดวงเดียวกัน นอกจากจะเปลี่ยนแปลงทัศนคติส่วนตัวของเขาแล้วนั้น เรื่องราวของกระทู้ 'จากวัยเฟี้ยวต้องมาเป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว' ก็ยังเปลี่ยนแปลงทัศนคติของใครอีกหลายคนด้วยเช่นกัน
"คือผมก็ไม่ใช่คนที่มีหัวใจที่ยิ่งใหญ่หรือว่าอะไร เพราะทุกคนที่เป็นพ่อเป็นแม่มีหัวใจอย่างนี้ทุกคน แต่พอมีคนมาขอคำปรึกษา ผมก็ยินดี ผมก็ตอบได้ในสิ่งที่ผมรู้ ก็ภูมิใจที่เรื่องราวของเราทำให้คนรู้สึกและคิดถึงเรื่องตรงนี้กันมากขึ้น
"แต่ในอีกมุมหนึ่งมันก็ทำให้ผมรู้สึกสะเทือนใจเหมือนกัน เพราะตั้งแต่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมามีคนมาปรึกษาเยอะมาก ทั้งคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวที่รู้สึกว่าเด็กคนนี้คือปัญหาของชีวิต เด็กคนนี้คือตัวถ่วงชีวิตเขา”
"บางครั้งอ่านสิ่งที่เขาเล่าแล้วเราร้องไห้เลย" คุณพ่อวัยใสว่าพลางกวาดสายตาไปที่หนูน้อยวัยกำลังซน ก่อนจะบอกเล่าเคสที่ปรึกษาแล้วหาวิธีแก้ไขด้วยการเอาเด็กออก ซึ่งเขาไม่รีรอที่จะกระโจนขึ้นรถแท็กซี่เพื่อไปให้กำลังใจ
"คือผมก็ไม่รู้ว่าไปแล้วมันจะให้อะไรเขาได้แค่ไหน เพราะที่ผมไป ผมแค่อยากจะบอกเขาว่า ถึงเขาไม่มีใคร แต่ก็ยังมีผมอยู่ข้างๆ นะในเวลานั้น และสิ่งสำคัญสำหรับเขามันคือตัวเขาและลูก เพราะฉะนั้น ถ้าใครไม่เห็นเขาสำคัญไม่เป็นไรเราเห็นความสำคัญของตัวเราก็พอ แต่พอไปถึงเขาก็เข้ามากอด แล้วบอกว่าขอบคุณที่ทำให้รู้ความหมายของชีวิต
"จริงๆ ทำไมคนเรามองชีวิตชีวิตหนึ่งแค่นั้น ทั้งๆ ที่ชีวิตหนึ่งเกิดมา มันมีความหมายเยอะมาก มันไม่จำเป็นที่เราเกิดมาแล้วเราจะต้องเป็นอะไร ไม่จำเป็นว่าเกิดมาแล้วเราจะต้องทำอาชีพอะไร ไม่จำเป็นว่าเกิดมาแล้วเราต้องเรียนจบด้วยเกียรตินิยมเท่าไหร่ แต่มันขึ้นอยู่กับว่าเราเติบโตมาแล้ว เราเติบโตมาด้วยความรัก เติบโตมาด้วยความอบอุ่น เติบโตมาพร้อมกับชีวิตที่เราอยากจะทำ"
"ย้อนดูตัวเราสิ เรายังมีสิทธิ์ที่จะโตเลยไม่ใช่หรือ" เขาย้อนถาม "สำหรับผม คำว่าไม่พร้อม มันคืออะไร ถามใจตัวเองก่อน คำว่าไม่พร้อมคือทัศนคติของตัวเองมากกว่าไหม คือการที่ทุกคนต่างพยายามหาเหตุผลว่าทำไม ทำไมต้องเป็นแบบนั้น ทำไมต้องเป็นแบบนี้ ถ้าเกิดชีวิตเราไม่เป็นแบบนั้น เราก็คงไม่ต้องเป็นแบบนี้ แทนการคิดกลับกันว่าเราจะทำยังไง เราต้องทำอย่างไรกับสิ่งที่มันเกิดขึ้นหรือเปล่า"
"อย่างเรียนหนังสืออยู่ ไม่พร้อมที่จะมีลูกด้วยวัยด้วยอายุ แต่จริงๆ ทุกคนคิดว่าไม่พร้อมที่จะออกจากมหาวิทยาลัยเพื่อจะไปเลี้ยงลูกมากกว่า แล้วถ้าถามตรงๆ ว่าอันไหนมันสำคัญกว่ากัน ชีวิตหนึ่งที่คุณจะต้องรับผิดชอบเพราะทำให้เขาเกิดมา กับอีกชีวิตหนึ่งของคุณเอง”
"เพราะฉะนั้น คำว่า 'ภาระ' กับหนึ่งชีวิตที่เกิดมา เด็กไม่ใช่ภาระของคุณ แต่คุณกำลังเป็นภาระของสังคมต่างหาก" ใบหน้าของคุณพ่อยังหนุ่มจริงจังขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อพูดถึงตรงนี้ ตรงที่หากย้อนกลับไป เขาก็เพิ่งผ่านพ้นวัยดูการ์ตูนมาไม่นาน ก็ต้องกลับไปนั่งดูนั่งอ่านนิทาน เล่นพี่เสือ พี่หมู แต่เขาก็สามารถทำได้โดยไม่แคร์สายตาใคร
"จริงๆ แล้ว การเป็นพ่อเป็นแม่คนที่ดีมันก็เป็นได้ไม่ยากหรอกครับ เราทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นพ่อคนแม่คนได้สบาย เพียงแค่เราเอาใจเข้าไปใส่เท่านั้นเอง"
"คือผมไม่รู้ว่าคนอื่นเป็นเหมือนผมหรือเปล่า และผมก็ไม่รู้ว่าคนทุกคนจะเป็นเหมือนกันไหม เพราะเราทุกคนคิดไม่เหมือนกันอยู่แล้ว แต่ผมเชื่อว่าทุกคนที่เลี้ยงลูก ทุกคนที่ดูแลเขา ทุกคนรัก ถึงแม้ว่าครั้งแรกเราจะรู้สึกว่าเขาคือภาระ แต่ผมรู้เลยว่าทุกคนจะรู้สึก รู้สึกใส่ใจและรู้สึกรัก โดยที่มันไม่มีเหตุผลจริงๆ ไม่มีเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องดูแลเขาขนาดนี้ แต่ ณ วันหนึ่งที่เขาโตขึ้น ณ วันหนึ่งที่เขายิ้ม ที่เขาหัวเราะ ณ วันหนึ่งที่เขากอดคุณ มันเป็นวันที่เราจะรู้สึกว่า สิ่งที่เราทำมา ความเหนื่อยที่เรามี กับสิ่งที่เราทุ่มเทไปมันมีความหมาย ชีวิตมันมีความหมาย"
"แต่ถ้าเราคิดว่าชีวิตเรายังต้องเป็นแบบนั้น ยังต้องเป็นแบบนี้ อายุยังไม่มาก เรายังจะต้องเที่ยว ต้องเจริญก้าวหน้า อย่ามีลูก อย่ามีครอบครัว ทางที่ดีอย่ามีแฟนเลยดีกว่า ใช้ชีวิตของตัวเองให้ที่สุด ให้ไปถึงที่สุด ให้ไปถึงที่ว่าพอแล้ว ต่อไปจะต้องใช้ชีวิตเพื่อคนอื่น"
แต่ถ้าเลือกแล้วที่จะไม่มีเพราะความไม่พร้อม แต่ทุกอย่างย่อมมีความผิดพลาดเกิดขึ้น คุณพ่อยังหนุ่มแนะนำว่า "ให้ตั้งโจทย์ที่ตัวเรา"
"คือกรอบทุกกรอบที่เราใส่ให้ชีวิตของเรามันไม่มีจริง ก็อยากให้คนทุกคนที่กำลังเจอปัญหานี้ลบทุกอย่างออกหมด ลบโจทย์ในชีวิตของตัวเอง ลบโจทย์ชีวิตบนโลกนี้ออกให้หมด ทัศนคติคนรอบข้างที่คุณเคยเจอมา ลบออกให้หมด แล้วมองดูตัวเอง ตั้งโจทย์ของตัวเองขึ้นมา เรามีอะไร เราต้องทำอย่างไร หนึ่งเรามีลูกใช่ไหม เราต้องทำอย่างไร เรามีครอบครัว เราต้องทำอย่างไร เรามีคนรักใช่ไหม เราต้องทำอย่างไร
"แล้วอย่าไปคิดว่าทำไมชีวิตไม่เหมือนอย่างนั้น ไม่เหมือนคนนี้ มันไม่ 1-2-3-4 กันทุกคน แต่ในเมื่อความผิดพลาดมันเกิดจากเรา เราก็ต้องยอมรับ เราก็ต้องหาวิธีแก้ไข โดยการทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ชีวิตมันมีความสุข อยู่กับสิ่งที่มีให้มีความสุข นั่นแหละคือสิ่งที่คุณควรจะทำ นั่นแหละคือชีวิตที่เราควรจะเป็น
เพราะชีวิตเรามักจะไม่ได้ในสิ่งที่เราต้องการ แต่เราจะได้ในสิ่งที่เราคู่ควร ดังนั้นเราควรจะต้องมองว่าเราคู่ควรกับอะไร ใจเราใหญ่แค่ไหน ปัญหามันยิ่งเล็ก"
เรื่อง :รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ :ศิวกร เสนสอน