“ถ้าย้อนกลับไป ตอนที่ยังเป็นเด็กติดยาอยู่ เราไม่คิดว่าเรามีคุณค่ากับโลกนี้เลย นอกจากทำเพื่อตัวเอง เราทำร้ายคนอื่นเพื่อแย่งชิงมาเป็นของเราเอง เราทำร้ายร่างกายตัวเองด้วยความเชื่อว่ามันช่วยเราได้ เราทำทุกอย่างที่ไม่มีค่าไม่มีความหมาย แต่ผ่านมาทุกวันนี้ มันเป็นคำหนึ่งที่ง่ายๆ เลย คือ คนคน หนึ่ง ทำได้มากมายมหาศาลเหลือเกิน เรากลับกลายเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ ลุกขึ้นมาทำงานศิลปะ อย่างถ้าเด็กเกเรก็เป็นแรงบันดาลใจให้เห็นว่า คนคนหนึ่งซึ่งเคยเหลวแหลก ก็สามารถกลับมาใช้วิตดีๆ ได้ คือไม่ได้ดีกว่าเดิมเท่าไหร่หรอก แต่อย่างน้อยสิ่งที่ผมทำแม่งมีประโยชน์ให้โลกนี้บ้าง”
ย่อหน้าข้างต้น คือบางส่วนเสี้ยวจากถ้อยคำของชายหนุ่มวัยใกล้ 40 ผมยาวประบ่า แต่งตัวคล้ายกับบุปผาชนในยุคฮิปปี้ ซึ่งถ้ามองด้วยสายตาแบบหนึ่ง เขาก็อาจจะเป็นเพียงพวกบ้าแฟชั่นคนหนึ่ง อย่างไรก็ดี ถ้าหากพูดถึงแวดวงกราฟิกดีไซน์ รวมถึงมิวสิกวิดีโอของบ้านเรา ชื่อของ “คูณคลัง เค้าภูไทย” ถือว่าเป็นเต้ยของยุทธจักรนี้ เพราะเขาเป็นเจ้าของการกำกับบทเพลงผ่านทางภาพเคลื่อนไหว ที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ เมื่อเทียบกับมิวสิกวิดีโอในปัจจุบัน โดยมีรางวัลจำนวนมากเป็นเครื่องหมายรับประกันคุณภาพ

“คูณคลัง เค้าภูไทย” ถือใบแจ้งในวงการมาพร้อมๆ กับการเป็นสมาชิกในกลุ่มเรียกตัวเองว่า “B.O.R.E.D.” ซึ่งเป็นกลุ่มของกราฟิกดีไซน์หัวก้าวหน้าที่มีสมาชิกระดับหัวกะทิของวงการ ทั้ง “รักกิจ ควรหาเวช” สตรีตอาร์ตมือต้นๆ ของเมืองไทย, “ตั้ม Mamafaka” พฤษ์พล มุกดาสนิท ศิลปินนักออกแบบผู้ล่วงลับ, “กบ Kor.Bor.Vor.” พงษ์ภาสกร กุลถิรธรรม มือทำVisual Mapping ผีมือวางใจได้ ฯลฯ
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ชายผมยาวประบ่าคนนี้ได้สร้างสรรค์ผลงานจนเป็นที่ประจักษ์มาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ให้กับโฆษณาแบรนด์ต่างๆ, อาจารย์พิเศษ สอนวิชาเกี่ยวกับการออกแบบ รวมถึงผู้กำกับมิวสิกหัวสร้างสรรค์ ให้กับเพลงดังๆ หลายเพลง เช่น เพลงของเราของวงสครับบ์, รักแรกพบ ของวงแทตทู คัลเลอร์ หรือ เจ็บกว่าคือฉัน ของวงเรโทรสเป็ค เป็นต้น แต่ใครเลยจะรู้ อดีตของเขามืดมนชนิดที่เขายังพูดว่า เขามาจากโลกมืด
จากเด็กเกเรที่เถลไถลบนสายทางสายยา
เคยจบการศึกษาด้วยเกรดเฉลี่ย 0.6
ผ่านช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ และฟัดเหวี่ยงกับพื้นผิวขรุขระบนถนนชีวิต
เขาคนนี้ปฏิวัติตัวเองจนเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่
เพราะอะไร?
เชิญทุกท่านพบกับ “คูณคลัง เค้าภูไทย” กราฟิกดีไซเนอร์ และผู้กำกับเอ็มวีมือรางวัลคนหนึ่งของบ้านเรา...

• จากเรื่องราวชีวิตของคุณ เห็นว่าเคยเป็นถึงขั้นเด็กติดยา เกเรเหลวแหลก ช่วยเล่าตรงนั้นให้ฟังหน่อย
จริงๆ ก็ซนและเกเรตามประสาเด็กทั่วไปครับ ทีนี้เราอยากเรียนศิลปะเพราะชอบวาดรูป ชอบสนุกกับมัน และผมเชื่อว่า เด็กร้อยละ 90 แม่งชอบวาดรูป แต่พอช่วงมัธยม ด้วยความที่เราค่อนข้างเกเร เลยขอแม่ว่าอยากไปเรียนโรงเรียนศิลปะ เหมือนพวกไทยวิจิตรศิลป์ เพาะช่าง ปวช. แต่เขาไม่ให้เรียน ด้วยเหตุผลที่ว่า “ถ้าไปมึงก็ไปตีกับเขา ไปเหลวแหลก” คือจริงๆ ใจน่ะ 50 เปอร์เซ็นต์ อยากเรียนศิลปะ อีกครึ่งหนึ่ง อยากเท่ อยากใส่ยีนส์ อยากถือไม้ทีไล่ตีกัน มันได้มาจากพี่แถวบ้าน ก็เป็นความคิดโง่ๆ ของเด็ก ก็ไม่ได้ว่าอะไร ไม่เรียนก็ไม่เรียน ก็ไม่ได้มีเป้าหมายอะไร
ความเกเรของเรา มันหนักจนโดนไล่ออกจากโรงเรียนอยู่หลายครั้ง แต่พอจบมาได้ ด้วยเกรดเฉลี่ย 0.6 แม่งต่ำจนไม่ผ่านมาตรฐาน อยู่ไปก็สร้างแต่ปัญหา มึงก็จบไปแล้วกัน พอเรียนจบ ม.ปลายก็ลืมเรื่องนี้ไป ก็เกเรต่อไป ไม่ได้ทำอะไร ที่บ้านก็ฝากเข้าเรียนมหา'ลัยที่หนึ่ง เรียนไม่ถึงเทอม ก็ไปตีกับเขาและโดนไล่ออกอีก เลยกลายเป็นว่าทำไงกับชีวิตดีวะ ก็ไม่ทำอะไร เกเรเหลวแหลกเลย จนกระทั่งสร้างเรื่องมากมาย จนยุติตรงที่...แม่เรียกตำรวจมาจับเรา
• คิดว่าเพราะอะไรที่ทำให้เราเหลวแหลกได้ขนาดนั้น เพราะต้องการประชดประชันอะไรหรือเปล่า
ไม่เชิงนะ แค่เรามีพลังในตัวเองค่อนข้างเยอะ แต่ไม่รู้จะทำไงกับมัน แล้วแถมอยากเป็น someone อยากทำอะไรที่ยิ่งใหญ่ มันก็เลยแสดงออกแบบนั้น คือเด็กยุคนั้น มันไม่มีอินเทอร์เน็ตให้เล่นด้วยซ้ำ โทรศัพท์ก็ไม่มี ไม่มีพื้นที่อะไรเลย พอไม่มีพื้นที่ มี 2 อย่าง ไม่ดีก็เหี้ยเลย ทีนี้พอพลังเยอะ ก็จะไปสุดเลยไง แต่ไม่รู้จะทำอะไร แถมยังเด็กและโง่เกินกว่าจะรู้ว่ากูต้องทำอะไรอีก มันเป็นแบบนั้น เกาะกับสิ่งรอบข้าง ตอนนั้นจำได้ว่า ช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่แตก คนตกงานเยอะ ครอบครัวเรามีปัญหา ถ้างั้น...เมื่อโลกแม่งเป็นแบบนี้ ก็ต่อต้านแม่งเลยแล้วกัน เราก็เป็นอย่างนั้น
จนกระทั่งเรื่องยุติลงตรง เพื่อนบางคนโดนจับ บางคนตาย จากเหตุการณ์ที่เราก่อกันมา เรากลับมาอยู่บ้าน แล้วก็ตั้งคำถามว่าเราจะทำอะไรต่อไป เหมือนคนมันกลับใจอ่ะ ให้ไปทำอะไรก็ไป บางที แม่ก็ถามเราว่าอยากทำอะไร ตอนนั้นไม่รู้จริงๆ คือถ้าลองผ่านชีวิตมาประมาณหนึ่ง ชั่วขนาดนี้ ให้ทำอะไรก็ได้ที่มันไม่เป็นภาระสังคม ก็นึกได้ว่าเคยอยากเรียนศิลปะ ซึ่งวันนั้นมันกลับกลายเปลี่ยนชีวิตเราเลยนะ แต่เราจะเรียนยังไง ในเมื่อเราทิ้งการวาดรูปไปนานแล้ว เราไม่เคยไปโรงเรียนติว ไม่เคยทำอะไร บ้านก็ไม่มีตังค์ ล้มละลาย คิดแค่ว่าอยากทำ แต่ไม่กล้าทำว่ะ กูอาจจะไม่รอดก็ได้ แต่มาคิดอีกอย่างว่ากูกล้าทำเรื่องเหี้ยมาครบแล้ว ทำไมกูไม่กล้าทำเรื่องที่มันดีวะ ทำไมไม่กล้าเรียนศิลปะวะ

• แล้วฟื้นฟูความกล้าที่จะเริ่มต้นอีกครั้งตรงนั้นอย่างไร
สิ่งแรกคือ เราวาดรูปไม่เป็น วาดได้แต่ก็วาดแบบเด็กไง วาดดรอว์อิ้งแบบไม่เป็นอ่ะ แต่ให้ไปเรียน บ้านก็ไม่มีตังค์ ผมก็ใช้เวลาช่วงนั้นไปกับการเดินตามห้าง ตรงที่มีแบบวาดภาพเหมือน ไปนั่งดูเขาวาดบ่อยๆ มีเวลาก็ไปนั่งดูว่าวาดยังไง ทำยังไง ถามเขาบ้าง กลับมาหัดวาดเอง วาดๆๆ พอโอเคแล้ว หลังจากนั้นก็เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งเด็กเรียนศิลปะยุคนั้น อยากเรียนศิลปากรหมด แต่เรารู้เลยว่า สมองต่ำๆ อย่างเรา เข้าที่นี่ไม่ได้จากการวาดรูปที่ไปจำจากนักเขียนข้างถนนหรอก มันไม่มีทางทำได้ เราก็ประเมินตัวเองว่า เอางี้ เรียนเอกชนละกัน สุดท้ายก็ไปเลือก ม.รังสิต (คณะศิลปะและการออกแบบ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์) เรียนที่นี่
แต่ภาวะของใจเราในตอนนั้น ประเด็นมันก็มีคือ เพราะมันซิ่วมา ผมเราก็ประมานนี้ (ทำมือประมาณบ่า) เข้ามหาวิทยาลัยวันแรก จะเห็นเด็กที่เพิ่งจบ ม.ปลายมา แล้วเราก็แก่ แต่ก็แก่ปีสองปีเอง เรามีความละอายแบบ...กูมาจากโลกมืดนะเว้ย กูเคยไปทำเรื่องเลวร้ายมามากมาย กูจะอยู่ยังไงวะ แต่ก็ไม่เป็นไร เรามีเป้าหมายว่า ไปเรียนหนังสือ ก็เข้ารับน้อง ซึ่งตอนรับน้อง รุ่นพี่มันดูเป็นแบบว่า ไอ้นี่มันแตกต่างอ่ะ เราก็ไปอยู่แก๊งซิ่วๆ มา แต่โอเค การรับน้องในยุคนั้น ก็ยังช่วยกล่อมเกลาจิตใจด้วย มันทำให้เรารู้สึกว่า ไม่ค่อยมีใครสนหรอกว่ามึงเป็นยังไง คนแย่กว่าเราก็มี คนอ่อนแอหรือคนเก่งกว่าเราก็มี หรือเนิร์ดๆ แล้วเก่งชิบหายก็มี มันทำให้เรารู้สึกว่าโอเค เราผ่านสเต็ปนั้นมาได้แล้ว แล้วก็เรียนศิลปะมาเรื่อยๆ จนจบ
• พอเรียนจบก็มุ่งหน้ามาทางทำงานศิลปะโดยตรงเลยหรือเปล่า
คือตอนใกล้จบ มันมีคำถามว่าเราจะทำยังไงดี ตอนนั้นยังจนและไม่มีตังค์อยู่ ขณะที่ใจหนึ่งก็คิดว่ามันคือสิ่งที่เราอยากทำเว้ย นั่นคือสุดยอดของการมีชีวิต ในวัยนั้นอ่ะนะ แสวงหา เพราะงานกราฟิกในตอนนั้น มันก็แค่ออกแบบโบรชัวร์หมู่บ้านหรือออกแบบโปสเตอร์โฆษณา มีอยู่แค่นั้น ไม่มีความเป็นศิลปะอะไรมากมาย คือไม่ใช่ว่ามันไม่ดีหรอก เพียงแต่ว่าเราอุตส่าห์เรียนศิลปะมา ตั้งใจมา แต่กูก็ไม่ได้อยากมาออกแบบอย่างนั้น เราอยากทำมากกว่านั้น เพราะเราได้เห็นงานจากต่างประเทศจากอินเทอร์เน็ตแล้ว ได้เห็นคนที่คล้ายๆ เราว่าทำได้
ต่อจากนั้น เพื่อนสนิทคนหนึ่งของเราบอกว่า กูไม่อยากอดแล้วว่ะ อยากทำงานประจำแล้ว ตอนนั้นเราก็ตัดสินใจนะว่ากูก็อดมาที่สุดแล้ว คือตอนเรียนก็อดนะ ต้องไปขอข้าววัดกิน เก็บตำลึงมาทำกิน คือไม่มีตังค์อ่ะ เรียนก็กู้เรียนเอา คือกูอดมาทุกอย่างแล้ว ถ้ากูจะทำสิ่งที่กูรัก แล้วมันไม่ต่างไปจากเดิม ไม่มากกว่านี้แล้ว มันไม่อดมากกว่านี้แล้ว ถ้าเช่นนั้น กูจะทำอย่างงี้ต่อไป สุดท้ายก็ก่อตั้งกลุ่ม b.o.r.e.d กันขึ้นมา

• เมื่อตัดสินใจอดอยากแล้ว การทำงานศิลปะในช่วงนั้นทำให้ได้อดอยากจริงหรือเปล่า
ช่วงปีสองปีแรก ทรมานฉิบหายเลย คือใครเขาจะสนพวกมึงวะ พวกมึงเป็นใคร ทำอะไรกัน กราฟิกพวกนี้คืออะไร เป็นศิลปินวาดรูปก็ไม่ใช่ ยุคนั้นมันก็ยังไม่เข้าใจ อดทนอยู่ 2-3 ปีนะ ช่วงนั้นผมก็ไปอยู่บ้านตั้ม (พฤษ์พล มุกดาสนิท) ให้พ่อตั้มเลี้ยงข้าวเราไปวันๆ จนตั้มบอกไม่ไหวแล้ว ทำกลุ่มศิลปะไม่รอด ทุกคนก็เลยต้องแยกย้ายไปทำงานประจำ จนเวลาผ่านไปสองปีกว่า ผมถึงเข้าใจว่าการสื่อสารที่เราทำไป มันเดินทางช้า คนเพิ่งเริ่มเข้าใจ เริ่มมีลูกค้าแปลกๆ มาให้เราทำมากขึ้น หลังจากนั้นเพียงปีเดียว มันระเบิดเลย ลงหนังสือทุกเล่ม ออกทีวีกัน แสดงกันจริงจัง ไปแสดงงานเมืองนอก เริ่มกวาดรางวัล เกือบทุกคนก็กวาดรางวัลไปเรื่อยๆ สื่อเริ่มสนใจ เริ่มเป็นเซเลบอยู่ยุคนึง (หัวเราะ)
คือเหมือนโลกเพิ่งเข้าใจน่ะว่ามันมีศิลปินกลุ่มนี้ แล้วเริ่มมีอีกหลายกลุ่มตามเรามา แต่สุดท้ายไอ้บททดสอบสองปีแรกนั้น มันก็ทำให้หลายๆ คนหายไป แต่เราก็อยู่กันได้ เพราะว่างานยังทรงมูลค่าอยู่มั้ง ในยุคหนึ่ง จนกระทั่งทุกคนเริ่มอยากจะทำอะไรเป็นของตัวเองแล้ว เริ่มแยกย้ายไปเรียนต่างประเทศ แต่ผมไม่ได้ไป พอเรียนเสร็จกลับมาก็เริ่มทำงานของตัวเอง ทางกลุ่มก็เริ่มหายไป ตั้มก็ทำ mamafaka ไป ผมก็ไปเริ่มทำงานกำกับมิวสิกวิดีโอ
• จุดเปลี่ยนครั้งที่สองในชีวิต กับการมากำกับมิวสิกวิดีโอ ทั้งๆ ที่ไม่มีทักษะในด้านนี้เลย
ก็ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนอีกครั้งนะ เป็นการเปลี่ยนโลกหนึ่งเลย เพราะเราสั่งสมบุญบารมีจากนักออกแบบ คนทำศิลปะมาก็สิบปี คือทุกวันนี้สอนหนังสือก็ยังเป็นอาจารย์นักออกแบบ สอนดีไซน์อยู่เลย เหมือนกับเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการนี้ พอไปอีกโลก ผมต้องทิ้งหมดเลยนะ ไม่มีใครสนใจเลย คือโลกนึงเป็นเซเลบ แต่พออีกโลกนึงเป็นเด็กอนุบาลเลย มันก็ลำบาก เพราะมาทำใหม่ๆ เราแทบจะไม่รู้จักอะไรเลย ต้องทำยังไงวะ แต่เราอยากทำมิวสิก คือวันแรกที่ทำ ผมถามตัวเองว่ากูจะทำได้มั้ย คำตอบชัดเจนเลยว่า กูจะไปทำได้ยังไงวะ ในเมื่อกูทำไม่เป็นเลย
การเริ่มเป็นผู้กำกับของผม มันเป็นเรื่องห่วยแตก เพราะเราไม่ได้เรียนจบหนังมาและไม่มีความรู้เรื่องหนังเลย สอง ถ่ายรูปไม่เป็น ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคืออะไรบ้าง ปุ่มชัตเตอร์ก็ไม่รู้ ถ่ายไม่เป็นเลย ไม่เคยใช้กล้อง มันเกิดจากที่สมัยเรียนวิชาถ่ายรูป เรายากจน ไม่มีตังค์ซื้อกล้อง ก็เลยไปขอรูปเพื่อนมาส่งอาจารย์ให้มันผ่านๆ ไป แล้วเราก็ไม่ได้ชอบถ่ายรูป ตอนนั้นเราชอบดีไซน์มากกว่า เราก็เลยไม่เคยสนใจ ใช้และถ่ายไม่เป็น และเราก็ไม่เคยดูหนัง เพราะเรื่องความจนอีกเหมือนกัน ดูหนังไม่ได้ ดูยังไงอ่ะ วิดีโอก็ไปจำนำแล้ว สาม เราตัดต่อไม่เป็น คือไม่รู้อะไรเกี่ยวกับหนังเลย แต่เราชอบดนตรี เราชอบดูมิวสิกวิดีโอ เราอยากทำงานแบบนี้ โชคดีตรงที่ว่า ตอนที่ทำงานใหม่ๆ ผมรู้จักพี่ราจิต แสงชูโต (ผู้กำกับโฆษณา) ไปวิ่งเล่นกองถ่ายแก ไปเรียนรู้ทุกอย่างโดยที่เราไม่รู้ตัวว่าเราได้ประสบการณ์จากตรงนั้นมาประมาณหนึ่ง

• รู้ตัวว่าไม่มีทักษะเลย แต่ก็ยังทำได้และยืนหยัดมาจนถึงทุกวันนี้ มองว่าเป็นเพราะอะไร
ผมจะมีหลักคิดอยู่อย่างหนึ่งว่า ถ้ามึงได้โอกาสมา โอกาสให้ 2 อย่าง หนึ่ง ต่อยอดไป ถ้าทำได้ สอง หากทำอะไรไม่ได้หรือไม่ได้ทำ จะกลายเป็นผู้แพ้ทันที แต่อยู่ที่เราเลือกนะว่าจะเลือกทางไหน คนส่วนใหญ่เลือกแบบถอย ไม่ทำ กลัว ผมถามหน่อยว่า ถ้าทำกันไม่ได้ คนที่ผิดกับคุณคนเดียว คือลูกค้าของคุณ เมื่อรับแล้วทำไม่ได้กับถ้าทำได้ มันคือต่อยอดชีวิตป่ะวะ ข้ามกำแพงหนึ่งอันไปได้แล้ว ผมคิดเสมอว่าถ้าทำไม่ได้ ไหว้กราบตีนพี่เค้า พี่ผมขอโทษ แล้วหนีกลับบ้าน คิดอย่างนั้น ซึ่งความคิดนี้ใช้ตลอดทั้งชีวิต คือไม่ต้องกลัวว่าจะทำอะไรเว้ย ทำไปเหอะ แต่อย่างน้อยเขาก็ไม่ได้บอกว่าต้องทำเดี๋ยวนี้ มันคือโอเค ทำ แล้วเดี๋ยวเดือนหน้ามาทำกัน ช่วงหนึ่งเดือน มึงศึกษาดิ มันทำให้มึงอยากเป็นแต่เช้าเลย เฮ้ยถ่ายหนังมันต้องทำไงวะ โทร.หาพี่ๆ เลย ว่า ต้องเริ่มยังไง
ตอนนั้น มันมีเวลามากพอที่จะเรียนรู้ได้ แต่ถามว่า แบบนี้จะเก่งรึเปล่า ก็ไม่ แต่แค่ไม่ทำให้ผิดก็พอ เผอิญมันโชคดีตรงที่ว่า เราก็ถามตัวเองว่า แล้วความสามารถของกูคืออะไร แต่เรามีทักษะทางศิลปะ ก็คิดว่ามันเรื่องเดียวกัน การเล่าเรื่องก็เช่นกัน ถึงจะเล่าไม่ค่อยเป็นแบบภาษาหนัง ไม่เป็นไร เล่าแบบของเรา เพราะอะไร เพราะมีอยู่แค่นี้แหละ ความเคารพตัวเองมึงมีอยู่แค่นี้ มึงมันสะเออะไปทำสิ่งที่มากกว่า แต่ไม่เป็นไร มึงทำของมึงให้ดีที่สุด

ทำสิ่งที่คิดว่าตัวเองทำได้ดีที่สุด คนทำได้สิบอย่าง อย่างละนิดหน่อย เหมือนเป็ด ไม่ใช่ไม่ดีนะ แต่มันทำได้น้อยไง งั้นก็ต้องอัดอย่างเดียวให้ดีที่สุด นั่นคือวิธีที่ผมใช้นะในเรื่องนี้ ก็มุ่งมั่นมากเกินไป จนทำมาได้ ตอนนั้นดราม่าของมันก็คือ ทำงานหนักจนเลิกกับแฟนไป ก็เสียอกเสียใจไป แต่สิ่งที่สนุกกว่านั้นคือ เอ็มวีตัวแรก แล้วได้รางวัลเลย ของแชนแนลวี (รางวัลมิวสิกวิดีโอเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม ครั้งที่ 6 ประจำปี 2009) ขึ้นไปรับรางวัลแบบมึนๆ แล้วเราก็ชะล่าใจว่ามันไม่ได้ยากนี่หว่า แต่ก็วูบเดียว เราก็รู้สึกว่า สิ่งที่เราทำมันก็ความรู้เดิม ความรู้จากโมชันกราฟิก จากที่เราชำนาญอ่ะนะ แต่เราก็ไม่เอาแล้ว กูอยากเป็นผู้กำกับมากขึ้น คือศึกษาเรื่องบท ก็ไปเรียนวิธีการเขียนบทจากแม่รุ่นน้อง ที่เป็นหัวหน้าวิชาภาพยนตร์ที่ลาดกระบัง ได้หนังสือเด็กปี 2 มานั่งอ่านว่ามันคืออะไร แต่เราไม่อายเว้ย เพราะว่าเรายอมรับในตอนแรกไงว่าเราก็ยังไม่เป็นเลยจริงๆ
คือตอนกำกับใหม่ๆ ยอมรับเลยว่าไม่เป็นเลย แต่เราก็เห็นบางคนนะว่า กำกับใหม่ๆ แม่งเก๊กมากเลย แต่เราไม่เก๊ก เพราะเรารู้ว่าเราอ่อนแอ ในกองมี 30-40 คน คนทั้งหมดยกเว้นผม ถ่ายหนังมาทั้งชีวิต ช่างไฟถ่ายมา 20 ปี แล้วรู้อะไรมากกว่าเขามั้ย ไม่รู้ หรืออย่างตากล้องผมถ่ายมา 10 กว่าปี ถ่ายรูปตั้งแต่เด็ก ผู้ช่วยทุกคนเก่งหมด หรือผู้ช่วย ถ่ายหนังไทยมา 10 เรื่อง ก็เป็นผู้ช่วยกู ไม่ว่าจะจ้างมาด้วยเงิน หรือความเป็นพี่น้องอะไรก็ตาม ถึงยอมมาช่วยผู้กำกับอ่อนๆ คนนี้ ในตอนนั้นนะ ไม่ว่าจะเป็นยังไงก็ตามเราก็ต้องเคารพเขา ทุกครั้งที่ถ่ายหนัง ผมก็กินข้าวกับช่างไฟ ยกมือไหว้ทุกคน แต่ถึงแม้วันหนึ่งเราอาจจะเก่งกว่านี้ แต่เราก็ยังรู้สึกเคารพเพื่อนร่วมงานอยู่ดี เพราะว่าถ้าเขาไม่เต็มใจทำให้ สมมติเราจะย้ายตำแหน่งไฟ ถ้าเขาไม่วิ่งไม่สู้เพื่อเรา เราก็ไม่ได้ หรือถ้าเด็กอาร์ตปีนไปติดอะไรซักอย่างสูงๆ อันตราย เขาไม่ปีนก็ได้แต่ก็ทำให้เรา แล้วเราล่ะ เรามีค่าพอมั้ยที่เขาทำให้
ผมกล้าเรียกอาชีพตัวเองว่าผู้กำกับมิวสิกวิดีโอ หลังจากที่ทำมันมาประมาณ 3 ปีได้ เพราะแต่เดิมเราจะเรียกตัวเองว่าคนทำเอ็มวี แต่ไม่กล้าเรียกว่าผู้กำกับ เนื่องจากใจเราไม่เชื่อว่าเราเป็นได้ไง เรามีความอยากทำตั้งใจ แต่เราไม่ได้คิดว่าอาชีพนี้มันเท่ไง เมื่อก่อนอยากเป็นดีไซเนอร์ ก็ไม่ได้คิดว่าจะเป็น เพราะไม่ได้คิดว่ามันเท่อะไร คือเป็นดีไซเนอร์ที่เมาหัวราน้ำก็ได้ ถ้าไม่ต้องศึกษาอะไร อยากเป็นแบบนั้นก็ได้ หรือเป็นผู้กำกับที่กำกับรายการห่วยๆ เขียนบทห่วยๆ แล้วบอกว่าตัวเองเป็นผู้กำกับก็ได้ไง แต่เราไม่ได้คิดอย่างงั้น คือไม่ได้คิดว่าอยากเป็นอะไรไง ผู้กำกับจะต้องมีแต่งตัว แต่กูไม่ได้เป็น ก็ขี้เมาทั่วไป ใช้ชีวิตปกติ อยากทำอะไรก็ทำ อยากสักก็สัก ขี่ม้าก็ขี่ ที่เล่าให้ฟัง คือ ผมหมายความของการมีชีวิตมากกว่านั้น หมายความว่าทำงานให้เกียรติมากกว่านั้น

• ทำเอ็มวีได้รางวัลมาก็มากมาย มองมิวสิกวิดีโอยุคนี้ของบ้านเราอย่างไรบ้าง
ทุกวันนี้ปัจเจกของคนเรามันเยอะ มันหลากหลายไปมากแล้ว สังเกตได้จากเฟซบุ๊ก แบบเหตุการณ์หนึ่ง มันจะแบ่งเป็นกลุ่ม พวกโลกสวยก็พูดไปแบบนึง พวกต่อต้านจัดๆ ก็มี บางคนแบบทำไมใจร้ายขนาดนั้นก็มี หรือทำไมต้องไปว่าพี่เค้าด้วยวะ หรือทำไมต้องต่อต้าน ไอ้นี่ก็โลกสวยเหลือเกิน ไอ้นี่ก็บ้าเหลือเกิน อย่างหลายๆ เหตุการณ์ที่เห็นน่ะ คือสิ่งหนึ่งที่ยังไม่แน่ใจ ว่าคนเราเปลี่ยนแปลงไปมากหรือคนเราเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว แค่เผอิญมีไมค์ให้คนละอัน แล้วเป็นไมค์ที่พูดแล้วไม่มีใครรู้หรือเปล่า ก็เลยเกิดเหตุการณ์แบบนั้น พอมันหลากหลาย เหมือนเราจับกันเป็นกลุ่มก้อนได้ 20 กลุ่ม บางครั้ง มิวสิกวิดีโอมาจากไหน มาจากเพลง เพลงพูดถึงอะไร เช่น เพลงพูดถึงการเป็นชู้กัน แอบรักผู้หญิงที่มีแฟนแล้ว ซึ่งเพลงแบบนี้มีเยอะ
ย้อนไปสมัยก่อน พงศ์พัฒน์เลย (ร้องเพลง “ใจนักเลง”) ชอบมันไป หรือ พี่หนุ่ย อำพล ใจโทรมๆ แม้ใจจริงจะรักเพียงใด ก็ไม่เป็นไร ก็เธอเดินไป กูอยู่คนเดียวได้ ยุคเมื่อก่อนเป็นแบบนั้น ทุกคนมีความเป็นนักเลงและลูกผู้ชายพอ เราไม่เล่นชู้กัน (ร้องเพลง “ได้อย่างเสียอย่าง”) ต้องเลือก ทุกคนต้องเลือก ยุคนี้ไม่เลือก เป็นชู้กันไม่ผิด แอบรักไม่ผิด แล้วกลับมาที่เอ็มวี เราต้องสนับสนุนเรื่องเหล่านี้เหรอ ผมสรุปแล้วกันว่ามันต้องสร้างสรรค์นะ คือทำเอ็มวี เราก็เลือกนะ เพลงที่สนับสนุนให้คนไม่ดี เราก็ไม่อยากทำ เพราะเราก็เชื่อว่ามันมีผลกระทบต่อตัวเองหลายๆ เรื่อง มันก็เลยกลายเป็นแบบนั้น เราก็เลยรู้สึกว่า เรื่องพวกนี้มันไม่ควรทำ อย่างเช่นที่ผมไม่ชอบ คือรายการวิทยุที่มาทำเป็นซีรีส์รายการหนึ่ง เอาเรื่องดราม่าเหล่านั้นมา มันไม่บวกเลย ให้คนทะเลาะกันน่ะ เรามองว่า ในคำว่าสร้างสรรค์ มันน่าจะสร้างได้อีก ถึงแม้ว่าเพลงมันจะพูดเรื่องความเจ็บปวดรวดร้าว ความคับแค้นใจ แต่ผมเชื่อว่า มันแง่บวกได้อีกเว้ย
ผมเคยทำเพลงนึง ‘เธอทำให้ฉันเสียใจ’ ของวงค็อกเทล นั่งตีความว่าคนเสียใจว่ามันไปได้ถึงไหน คือมันไม่มีใครเข้าใจคอนเซ็ปต์เอ็มวีเพลงนี้ ซึ่งมันก็ไม่มีใครเข้าใจหรอก คือมันจะมีฉากหนึ่งว่า ทำไมผู้หญิงคนนี้ต้องไปยืนร้องไห้ริมทะเล ซีนนั้นไม่ได้ฆ่าตัวตายนะ คือคนเสียใจ มึงจะมีความเจ็บปวดเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว ในฐานะความเป็นมนุษย์ มึงหนีไกลได้แค่ไหน ขอบฟ้า มึงก็หนีไปสุดแผ่นดินนึง ยิ่งหนี ก็หนีได้แค่นั้น จะข้ามน้ำไป ก็ไปสุดอีกฝั่งอยู่ดี คือจริงๆ แล้วเอ็มวีนี้ มันเสือกถ่ายไม่ทัน งบไม่มี คือดั้งเดิม มันมีฉากนางเอกเดินอยู่ในเมืองขับรถหนี จนมาสุดตามเอ็มวี ก็น่าเสียใจที่ข้อความมันไม่ครบ มันบอกแค่ว่า เมื่อเสียใจ คุณจะไปไกลได้แค่ไหน จะโทษใคร แต่สุดท้ายจะหนีเรื่องราวได้แค่ไหน คือใส่ไปได้เยอะ จนรู้สึกว่ามันไกลเพลงไป ก็ไม่ติดอะไร คือคนชอบกันก็จริง แต่เราถือว่าล้มเหลว
คือมันง่ายมากเลยนะที่จะทำเอ็มวีแล้วให้ชายหญิงกอดกัน รักกัน ดูนั่นสิ กินมั้ย มันง่าย แต่ว่าที่ไม่ทำ ไม่ใช่เราเก่ง แต่เพราะว่ามันมีคนทำหน้าที่นั้นแล้ว เพราะอย่างนั้น เราเลือกไปอีกฝั่งหนึ่งดีกว่า ผู้กำกับเอ็มวีที่เค้าทำ แบบรักกันนะ เลิกกัน ผลักอกกัน คือเค้าทำไปแล้ว ก็ให้เค้าทำไป เราไม่ได้บอกว่ามึงแม่งห่วยสัส ไม่ใช่ เราแค่เลือกให้มันเหมาะสม เอาจริงๆ สรุป เอ็มวีควรที่จะเหมาะกับเพลง เพราะคนฟังอยากจะเห็นภาพที่เค้าคิดที่เค้ารู้สึก เรามีหน้าที่เติมเต็มแค่นั้นเอง
เพราะบางครั้งก็มาคุยนะว่า พี่ หนูว่าเอ็มวีควรเป็นอย่างงั้นอย่างงี้ดีกว่า คือโดยมารยาทแล้ว มันไม่ควรจะบอกว่าเป็นยังไงป่ะวะ แต่จริงๆ เขาพูดถูกเว้ย ผมชอบมากที่มีคนมาแนะเพิ่ม เออ เราก็ได้ฟังมุมมองคนอื่นเนอะ ถึงมันอาจจะดูโง่ๆ ว่า ทำไมนางเอกไม่เกลือกกลิ้งเสียใจกว่านี้ เราก็ตอบว่า ก็ตามที่เราคิด แต่คำถามนี้มันจุดประเด็นตรงที่ว่า เฮ้ยทำไมน้องว่าเพลงนี้มันเจ็บปวดขนาดนี้ ทำไมคิดว่าเค้าต้องเป็นงั้น มันทำให้เราเรียนรู้คนมากขึ้น เพราะถ้ามึงไม่เรียนรู้คน ให้เค้ารู้สึกกับมัน มึงก็ไม่สามารถทำให้เค้ามีความสุขได้
แต่ที่เรายอมทำ ทั้งๆ ที่ค่าตอบแทนก็ได้น้อยกว่า คือ หนึ่ง เพื่อนฝูงเราก็เป็นนักดนตรีหมดแหละ เราก็รักพวกเขา ซึ่งเมื่อก่อนเราก็เล่นดนตรี เลยรู้ว่าชีวิตมันเป็นยังไง แล้วเมื่อดนตรีที่ดี ทำไงสนับสนุนมัน แล้วหน้าที่ผมทำมิวสิกวิดีโอได้ งั้นต้องทำให้คนรักเพลงนี้ เพราะถ้าเพลงนี้ออกไปไกล ทุกคนก็มีความสุข แม่หรือยายมึงฟังก็มีความสุข พี่วินมอเตอร์ไซค์ได้ฟังก็มีความสุข มันจะไปถึงพวกเขาได้ไง ก็มีกลไกมากมาย อย่างน้อยหน่วยนึงของกู กูทำเต็มที่ กูส่งให้แรงที่สุดดีที่สุด ให้ครบที่สุด ซึ่งมันก็ไม่ได้แปลงอย่างที่เราบอกหรอกนะ ถ้าทำได้ก็ดี แต่พี่ว่า 100 ครั้งทำได้ซักครั้ง มันก็มีค่า ผมถึงอยากเก่งกว่านี้ ถ้าหากทำได้ทุกครั้งมันจะดีมาก ผมคิดเสมอว่าถ้ารวย หากทำเพลงดีมาก ทำให้ฟรีก็ยังได้ เพราะว่ายิ่งมีดนตรีเยอะๆ โลกแม่งก็น่าอยู่ คนฟังก็มีความสุข ฟังเพลงดีจะตายห่า ไม่มีอะไร มีสิ่งโหดร้ายให้ฟังทุกวันแล้ว ทั้งข่าวร้าย เรื่องแย่ๆ จากเฟซบุ๊ก คำนินทาว่าร้ายกัน ละครในโทรทัศน์ ตบตีกัน มันเยอะแล้ว ในเมื่อเราทำอะไรไม่ได้ เราก็สนับสนุนตรงนี้ดีกว่า
ผมเชื่อเสมอว่า ทำงานกับดนตรีมันเป็นอาชีพที่มีความสุขที่สุดแล้ว ดนตรีมันไม่ทำร้ายใคร เพลงเหี้ยๆ มันก็ไม่ทำร้ายใคร เพราะฉะนั้น เมื่อมันไม่ทำร้ายใคร เอาง่ายๆ เพลงไม่เพราะก็ไม่ทำให้ใครตาย แต่ถ้าเพลงเพราะแม่งทำให้โลกน่าอยู่ ทำให้เรามีกำลังใจ เวลาที่ท้อที่สุด ถ้าได้ฟังเพลงแล้วมีความสุข หรือเวลาอกหักก็ได้ ถ้าฟังเพลงเศร้า ร้องไห้กับมัน แต่ลึกๆ ก็อิ่มใจกับมัน เพราะฉะนั้น มันไม่มีทางทำร้ายใครเลย เราก็เลยโอเค

• คล้ายๆ ว่า โลกมันโหดร้ายพอแล้ว ผลงานของเราก็คือฝั่งโลกสวย
ไม่ใช่หรอก มันแค่เติมน้ำดีในน้ำเน่า แค่นั้นเอง ผมเคยไปถามพระมา ว่าบุญกับบาปมันต่างกันยังไง พระก็ตอบว่า บุญคือน้ำดี บาปก็เหมือนน้ำเค็มละกัน คือต่อให้ทำบุญยังไงก็ล้างบาปไม่ได้ แต่ก็ทำให้น้ำมันเจือจางลงได้ คือยังไงผิดก็คือผิด ฉะนั้น เรื่องนี้มันก็สอนให้เราเรียนรู้ว่า คนมันมีมากพอจนเราเปลี่ยนแปลงไม่ได้หรอก เพียงแต่ว่าเราก็เป็นหน่วยนึงที่เติมเข้าไป จนอย่างน้อยมันก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้น ก็ช่วยกัน
โลกมันไม่ได้สวยขึ้นหรอก จริงๆ ความจัญไรมันก็มีความสุขดี เหี้ย เราก็ชอบเที่ยวหมอนวด มั่วเซ็กซ์ ซึ่งโอเคมันก็ไม่ดีหรอก คือพระเจ้าส่งมาให้มีบุญและบาป เขาก็รู้อยู่แล้วว่าอดัมจะไปกัดแอปเปิล เพราะเขาจงใจให้เป็นงั้นอยู่แล้ว เค้าห้ามเพราะเป็นพระเจ้าก็ห้ามเมื่อไหร่ก็ได้ นั่นเลยมีมนุษย์ไง มนุษย์เลยมีก็อดไง ก็อดอยู่เพื่อมนุษย์ไม่ให้เลวไปมากกว่านั้น มนุษย์ต้องเลว มันเลยมีสารภาพบาปไง คุณอย่าไปคิดว่าตัวเองประเสริฐ โลกสวยไม่มี มันก็มีกินขี้ปี้นอน ต้องสีเทาอยู่ดี ขาวไม่มีหรอก
• เป็นเจ้าของรางวัลมาเพียบเลย งั้นแสดงว่ากำกับมาเพื่อรางวัลโดยเฉพาะว่างั้น
ไม่เลย เขาให้ของเขาเอง ไม่มากหรอก เขาก็ให้แบบบ้าบอคอแตกไป ไม่ได้มีรางวัลใหญ่หรอก แต่ได้เข้าชิงทุกปี คือไม่รู้ยังไงอ่ะ คือถ้านายชอบงานเรา ก็โอเค แต่เราก็ยังยึดว่าต้องสร้างสรรค์ไง แต่ถ้านายโอเคกับงานเรา ก็โอเค นายก็เอารางวัลมาให้ก็ได้ โอเค เราก็อยากได้ มันเท่ดี แต่ถ้าถามว่าอยากได้แบบไหน เราก็อยากได้อย่างที่เพื่อนเราได้ (ตู๋-วราธิต อุทัยศรี เจ้าของรางวัล Student Academy Awards ปี 2010 สาขา Alternative เหรียญทอง จากผลงานเรื่อง Surface: Film from Below) คือไม่ใช่มันดูดีนะ แต่งานดีไม่ได้ชมแค่ 7-8 คน งานดีคนทั้งโลกต้องชอบมันดิวะ ถ้าคนทั้งโลกยังไม่ชอบแสดงว่ามึงยังไม่เจ๋ง หรือทั้งประเทศไม่ชอบ แสดงว่าก็ยังไม่เจ๋ง ถ้าแม่มึงดูแล้วไม่ชอบ แสดงว่ายังไม่เจ๋ง มาตรฐานแค่นี้พอแล้ว ก็ไม่เจ๋งไม่เป็นไร เดี๋ยวทำใหม่
วันนี้คนชอบ 10 คน พรุ่งนี้ต้องชอบ 20 คน ไปเรื่อยๆ แค่นั้น แต่โอเคมันต้องสร้างสรรค์นะ ไอ้พวกแบบทำให้มันทอล์กไปวันๆ กูไม่ทำ มันไร้สาระ ทำเมื่อไหร่ก็ได้ สมมุติว่ากูทำเอ็มวีคนแก้ผ้าดิ รับรอง 10 ล้านวิว แต่อย่างงั้นจะทำไปทำไมอ่ะ ถ้าแก้ผ้า ก็ขอมีเหตุผลหน่อย ถ้าจะควักนมหรือหำออกมาเนี่ย ก็ให้มันมีค่าหน่อย

• เราคาดหวังอะไรบ้างจากการทำงาน
ถ้าวัตถุ ก็เงินทอง ถ้าสังคมก็ชื่อเสียง ถ้าตอบแบบโง่ๆ นะ ก็ประสบความสำเร็จมาประมาณนึง ถึงจะไม่มากมายอะไร แต่ถามว่า สู้มาขนาดนี้ ได้อะไรบ้าง ตอบง่ายมากถ้าย้อนกลับไป ตอนที่ยังเป็นเด็กติดยาอยู่ เราไม่คิดว่าเรามีคุณค่ากับโลกนี้เลย นอกจากทำเพื่อตัวเอง เราทำร้ายคนอื่นเพื่อแย่งชิงมาเป็นของเราเอง เราทำร้ายร่างกายตัวเองด้วยความเชื่อว่ามันช่วยเราได้ เราทำทุกอย่างที่ไม่มีค่าไม่มีความหมาย แต่ผ่านมาทุกวันนี้ มันเป็นคำหนึ่งที่ง่ายๆ เลย คือ คนคนหนึ่ง ทำได้มากมายมหาศาลเหลือเกิน เรากลับกลายเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ ลุกขึ้นมาทำงานศิลปะ อย่างถ้าเด็กเกเรก็เป็นแรงบันดาลใจให้เห็นว่า คนๆ หนึ่งซึ่งเคยเหลวแหลก ก็สามารถกลับมาใช้วิตดีๆ ได้ คือไม่ได้ดีกว่าเดิมเท่าไหร่หรอก แต่อย่างน้อยสิ่งที่ผมทำแม่งมีประโยชน์ให้โลกนี้บ้าง
คือมันก็ไม่ได้ดีกว่าเดิมเท่าไหร่หรอก แต่อย่างน้อยสิ่งที่เราทำมันยังมีประโยชน์ เราสร้างลวดลายให้โลกนี้บ้าง ถึงงานที่ทำในสมัยก่อนไม่ได้มีความหมายอะไร มันก็แค่เป็นการรับใช้สินค้าต่างๆ ช่วยให้ลูกค้าขายของดีขึ้น แต่อย่างน้อย เราก็ยังเหลืออะไรให้บ้าง เหลือองค์ความรู้ คือการเป็นครูบาอาจารย์ของผมนั้น อย่างน้อยก็สร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก สร้างความรู้ให้พวกเขาต่อยอด ไปอีก นักศึกษาของผมหลายคน เอาวิชานี้ไปหากินจนทุกวันนี้ คือเราสอนวิชาโมชันกราฟิก พวกทำเว็บเงี้ย แต่เด็กเสือกชอบสิ่งที่เราสอน อาจจะเพราะกูสอนสนุกและกูเฮฮารึเปล่า แต่กูสอนวิชาเดียวเนี่ย เด็กเอาไปทำธีซิส จบไปทำงานที่ตัวเองชอบ มีความสุขได้ บางคนเบนเข็มไปทำหนัง ก็ดี นั่นคือสิ่งที่เขาอยากทำ
ผมว่า มนุษย์คนหนึ่งมันมีประโยชน์มากกว่านั้น ดีกว่านั่งหายใจไปวันๆ คือขอทำอะไรก็ได้ ต่อให้พับนกวันละตัว ผ่านมา 10 ปี มันก็เป็นนกที่มหาศาล ซึ่งมันไม่ใช่ขยะหรอกสิ่งที่เราตั้งใจ แต่เพียงแค่มันจะเดินทางไปทางไหนมากกว่า ถ้ามองในมุมนึงที่ว่างานศิลปะไม่มีคุณค่าอะไรเลย ก็ไม่เป็นไร มันก็ไม่แตกต่างกับที่พับนกแล้วไม่รู้จะเอาไปไว้ไหน แต่อย่างน้อยมันยังดำรงอยู่ อย่างน้อยหันมาก็ชื่นใจ ผมว่ามันก็ต้องเริ่มทำ แต่สิ่งหนึ่งซึ่งไม่ควรทำเลย คือการดูถูกตัวเอง









เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ธัชกร กิจไชยภณ
ย่อหน้าข้างต้น คือบางส่วนเสี้ยวจากถ้อยคำของชายหนุ่มวัยใกล้ 40 ผมยาวประบ่า แต่งตัวคล้ายกับบุปผาชนในยุคฮิปปี้ ซึ่งถ้ามองด้วยสายตาแบบหนึ่ง เขาก็อาจจะเป็นเพียงพวกบ้าแฟชั่นคนหนึ่ง อย่างไรก็ดี ถ้าหากพูดถึงแวดวงกราฟิกดีไซน์ รวมถึงมิวสิกวิดีโอของบ้านเรา ชื่อของ “คูณคลัง เค้าภูไทย” ถือว่าเป็นเต้ยของยุทธจักรนี้ เพราะเขาเป็นเจ้าของการกำกับบทเพลงผ่านทางภาพเคลื่อนไหว ที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ เมื่อเทียบกับมิวสิกวิดีโอในปัจจุบัน โดยมีรางวัลจำนวนมากเป็นเครื่องหมายรับประกันคุณภาพ
“คูณคลัง เค้าภูไทย” ถือใบแจ้งในวงการมาพร้อมๆ กับการเป็นสมาชิกในกลุ่มเรียกตัวเองว่า “B.O.R.E.D.” ซึ่งเป็นกลุ่มของกราฟิกดีไซน์หัวก้าวหน้าที่มีสมาชิกระดับหัวกะทิของวงการ ทั้ง “รักกิจ ควรหาเวช” สตรีตอาร์ตมือต้นๆ ของเมืองไทย, “ตั้ม Mamafaka” พฤษ์พล มุกดาสนิท ศิลปินนักออกแบบผู้ล่วงลับ, “กบ Kor.Bor.Vor.” พงษ์ภาสกร กุลถิรธรรม มือทำVisual Mapping ผีมือวางใจได้ ฯลฯ
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ชายผมยาวประบ่าคนนี้ได้สร้างสรรค์ผลงานจนเป็นที่ประจักษ์มาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ให้กับโฆษณาแบรนด์ต่างๆ, อาจารย์พิเศษ สอนวิชาเกี่ยวกับการออกแบบ รวมถึงผู้กำกับมิวสิกหัวสร้างสรรค์ ให้กับเพลงดังๆ หลายเพลง เช่น เพลงของเราของวงสครับบ์, รักแรกพบ ของวงแทตทู คัลเลอร์ หรือ เจ็บกว่าคือฉัน ของวงเรโทรสเป็ค เป็นต้น แต่ใครเลยจะรู้ อดีตของเขามืดมนชนิดที่เขายังพูดว่า เขามาจากโลกมืด
จากเด็กเกเรที่เถลไถลบนสายทางสายยา
เคยจบการศึกษาด้วยเกรดเฉลี่ย 0.6
ผ่านช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ และฟัดเหวี่ยงกับพื้นผิวขรุขระบนถนนชีวิต
เขาคนนี้ปฏิวัติตัวเองจนเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่
เพราะอะไร?
เชิญทุกท่านพบกับ “คูณคลัง เค้าภูไทย” กราฟิกดีไซเนอร์ และผู้กำกับเอ็มวีมือรางวัลคนหนึ่งของบ้านเรา...
• จากเรื่องราวชีวิตของคุณ เห็นว่าเคยเป็นถึงขั้นเด็กติดยา เกเรเหลวแหลก ช่วยเล่าตรงนั้นให้ฟังหน่อย
จริงๆ ก็ซนและเกเรตามประสาเด็กทั่วไปครับ ทีนี้เราอยากเรียนศิลปะเพราะชอบวาดรูป ชอบสนุกกับมัน และผมเชื่อว่า เด็กร้อยละ 90 แม่งชอบวาดรูป แต่พอช่วงมัธยม ด้วยความที่เราค่อนข้างเกเร เลยขอแม่ว่าอยากไปเรียนโรงเรียนศิลปะ เหมือนพวกไทยวิจิตรศิลป์ เพาะช่าง ปวช. แต่เขาไม่ให้เรียน ด้วยเหตุผลที่ว่า “ถ้าไปมึงก็ไปตีกับเขา ไปเหลวแหลก” คือจริงๆ ใจน่ะ 50 เปอร์เซ็นต์ อยากเรียนศิลปะ อีกครึ่งหนึ่ง อยากเท่ อยากใส่ยีนส์ อยากถือไม้ทีไล่ตีกัน มันได้มาจากพี่แถวบ้าน ก็เป็นความคิดโง่ๆ ของเด็ก ก็ไม่ได้ว่าอะไร ไม่เรียนก็ไม่เรียน ก็ไม่ได้มีเป้าหมายอะไร
ความเกเรของเรา มันหนักจนโดนไล่ออกจากโรงเรียนอยู่หลายครั้ง แต่พอจบมาได้ ด้วยเกรดเฉลี่ย 0.6 แม่งต่ำจนไม่ผ่านมาตรฐาน อยู่ไปก็สร้างแต่ปัญหา มึงก็จบไปแล้วกัน พอเรียนจบ ม.ปลายก็ลืมเรื่องนี้ไป ก็เกเรต่อไป ไม่ได้ทำอะไร ที่บ้านก็ฝากเข้าเรียนมหา'ลัยที่หนึ่ง เรียนไม่ถึงเทอม ก็ไปตีกับเขาและโดนไล่ออกอีก เลยกลายเป็นว่าทำไงกับชีวิตดีวะ ก็ไม่ทำอะไร เกเรเหลวแหลกเลย จนกระทั่งสร้างเรื่องมากมาย จนยุติตรงที่...แม่เรียกตำรวจมาจับเรา
• คิดว่าเพราะอะไรที่ทำให้เราเหลวแหลกได้ขนาดนั้น เพราะต้องการประชดประชันอะไรหรือเปล่า
ไม่เชิงนะ แค่เรามีพลังในตัวเองค่อนข้างเยอะ แต่ไม่รู้จะทำไงกับมัน แล้วแถมอยากเป็น someone อยากทำอะไรที่ยิ่งใหญ่ มันก็เลยแสดงออกแบบนั้น คือเด็กยุคนั้น มันไม่มีอินเทอร์เน็ตให้เล่นด้วยซ้ำ โทรศัพท์ก็ไม่มี ไม่มีพื้นที่อะไรเลย พอไม่มีพื้นที่ มี 2 อย่าง ไม่ดีก็เหี้ยเลย ทีนี้พอพลังเยอะ ก็จะไปสุดเลยไง แต่ไม่รู้จะทำอะไร แถมยังเด็กและโง่เกินกว่าจะรู้ว่ากูต้องทำอะไรอีก มันเป็นแบบนั้น เกาะกับสิ่งรอบข้าง ตอนนั้นจำได้ว่า ช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่แตก คนตกงานเยอะ ครอบครัวเรามีปัญหา ถ้างั้น...เมื่อโลกแม่งเป็นแบบนี้ ก็ต่อต้านแม่งเลยแล้วกัน เราก็เป็นอย่างนั้น
จนกระทั่งเรื่องยุติลงตรง เพื่อนบางคนโดนจับ บางคนตาย จากเหตุการณ์ที่เราก่อกันมา เรากลับมาอยู่บ้าน แล้วก็ตั้งคำถามว่าเราจะทำอะไรต่อไป เหมือนคนมันกลับใจอ่ะ ให้ไปทำอะไรก็ไป บางที แม่ก็ถามเราว่าอยากทำอะไร ตอนนั้นไม่รู้จริงๆ คือถ้าลองผ่านชีวิตมาประมาณหนึ่ง ชั่วขนาดนี้ ให้ทำอะไรก็ได้ที่มันไม่เป็นภาระสังคม ก็นึกได้ว่าเคยอยากเรียนศิลปะ ซึ่งวันนั้นมันกลับกลายเปลี่ยนชีวิตเราเลยนะ แต่เราจะเรียนยังไง ในเมื่อเราทิ้งการวาดรูปไปนานแล้ว เราไม่เคยไปโรงเรียนติว ไม่เคยทำอะไร บ้านก็ไม่มีตังค์ ล้มละลาย คิดแค่ว่าอยากทำ แต่ไม่กล้าทำว่ะ กูอาจจะไม่รอดก็ได้ แต่มาคิดอีกอย่างว่ากูกล้าทำเรื่องเหี้ยมาครบแล้ว ทำไมกูไม่กล้าทำเรื่องที่มันดีวะ ทำไมไม่กล้าเรียนศิลปะวะ
• แล้วฟื้นฟูความกล้าที่จะเริ่มต้นอีกครั้งตรงนั้นอย่างไร
สิ่งแรกคือ เราวาดรูปไม่เป็น วาดได้แต่ก็วาดแบบเด็กไง วาดดรอว์อิ้งแบบไม่เป็นอ่ะ แต่ให้ไปเรียน บ้านก็ไม่มีตังค์ ผมก็ใช้เวลาช่วงนั้นไปกับการเดินตามห้าง ตรงที่มีแบบวาดภาพเหมือน ไปนั่งดูเขาวาดบ่อยๆ มีเวลาก็ไปนั่งดูว่าวาดยังไง ทำยังไง ถามเขาบ้าง กลับมาหัดวาดเอง วาดๆๆ พอโอเคแล้ว หลังจากนั้นก็เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งเด็กเรียนศิลปะยุคนั้น อยากเรียนศิลปากรหมด แต่เรารู้เลยว่า สมองต่ำๆ อย่างเรา เข้าที่นี่ไม่ได้จากการวาดรูปที่ไปจำจากนักเขียนข้างถนนหรอก มันไม่มีทางทำได้ เราก็ประเมินตัวเองว่า เอางี้ เรียนเอกชนละกัน สุดท้ายก็ไปเลือก ม.รังสิต (คณะศิลปะและการออกแบบ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์) เรียนที่นี่
แต่ภาวะของใจเราในตอนนั้น ประเด็นมันก็มีคือ เพราะมันซิ่วมา ผมเราก็ประมานนี้ (ทำมือประมาณบ่า) เข้ามหาวิทยาลัยวันแรก จะเห็นเด็กที่เพิ่งจบ ม.ปลายมา แล้วเราก็แก่ แต่ก็แก่ปีสองปีเอง เรามีความละอายแบบ...กูมาจากโลกมืดนะเว้ย กูเคยไปทำเรื่องเลวร้ายมามากมาย กูจะอยู่ยังไงวะ แต่ก็ไม่เป็นไร เรามีเป้าหมายว่า ไปเรียนหนังสือ ก็เข้ารับน้อง ซึ่งตอนรับน้อง รุ่นพี่มันดูเป็นแบบว่า ไอ้นี่มันแตกต่างอ่ะ เราก็ไปอยู่แก๊งซิ่วๆ มา แต่โอเค การรับน้องในยุคนั้น ก็ยังช่วยกล่อมเกลาจิตใจด้วย มันทำให้เรารู้สึกว่า ไม่ค่อยมีใครสนหรอกว่ามึงเป็นยังไง คนแย่กว่าเราก็มี คนอ่อนแอหรือคนเก่งกว่าเราก็มี หรือเนิร์ดๆ แล้วเก่งชิบหายก็มี มันทำให้เรารู้สึกว่าโอเค เราผ่านสเต็ปนั้นมาได้แล้ว แล้วก็เรียนศิลปะมาเรื่อยๆ จนจบ
• พอเรียนจบก็มุ่งหน้ามาทางทำงานศิลปะโดยตรงเลยหรือเปล่า
คือตอนใกล้จบ มันมีคำถามว่าเราจะทำยังไงดี ตอนนั้นยังจนและไม่มีตังค์อยู่ ขณะที่ใจหนึ่งก็คิดว่ามันคือสิ่งที่เราอยากทำเว้ย นั่นคือสุดยอดของการมีชีวิต ในวัยนั้นอ่ะนะ แสวงหา เพราะงานกราฟิกในตอนนั้น มันก็แค่ออกแบบโบรชัวร์หมู่บ้านหรือออกแบบโปสเตอร์โฆษณา มีอยู่แค่นั้น ไม่มีความเป็นศิลปะอะไรมากมาย คือไม่ใช่ว่ามันไม่ดีหรอก เพียงแต่ว่าเราอุตส่าห์เรียนศิลปะมา ตั้งใจมา แต่กูก็ไม่ได้อยากมาออกแบบอย่างนั้น เราอยากทำมากกว่านั้น เพราะเราได้เห็นงานจากต่างประเทศจากอินเทอร์เน็ตแล้ว ได้เห็นคนที่คล้ายๆ เราว่าทำได้
ต่อจากนั้น เพื่อนสนิทคนหนึ่งของเราบอกว่า กูไม่อยากอดแล้วว่ะ อยากทำงานประจำแล้ว ตอนนั้นเราก็ตัดสินใจนะว่ากูก็อดมาที่สุดแล้ว คือตอนเรียนก็อดนะ ต้องไปขอข้าววัดกิน เก็บตำลึงมาทำกิน คือไม่มีตังค์อ่ะ เรียนก็กู้เรียนเอา คือกูอดมาทุกอย่างแล้ว ถ้ากูจะทำสิ่งที่กูรัก แล้วมันไม่ต่างไปจากเดิม ไม่มากกว่านี้แล้ว มันไม่อดมากกว่านี้แล้ว ถ้าเช่นนั้น กูจะทำอย่างงี้ต่อไป สุดท้ายก็ก่อตั้งกลุ่ม b.o.r.e.d กันขึ้นมา
• เมื่อตัดสินใจอดอยากแล้ว การทำงานศิลปะในช่วงนั้นทำให้ได้อดอยากจริงหรือเปล่า
ช่วงปีสองปีแรก ทรมานฉิบหายเลย คือใครเขาจะสนพวกมึงวะ พวกมึงเป็นใคร ทำอะไรกัน กราฟิกพวกนี้คืออะไร เป็นศิลปินวาดรูปก็ไม่ใช่ ยุคนั้นมันก็ยังไม่เข้าใจ อดทนอยู่ 2-3 ปีนะ ช่วงนั้นผมก็ไปอยู่บ้านตั้ม (พฤษ์พล มุกดาสนิท) ให้พ่อตั้มเลี้ยงข้าวเราไปวันๆ จนตั้มบอกไม่ไหวแล้ว ทำกลุ่มศิลปะไม่รอด ทุกคนก็เลยต้องแยกย้ายไปทำงานประจำ จนเวลาผ่านไปสองปีกว่า ผมถึงเข้าใจว่าการสื่อสารที่เราทำไป มันเดินทางช้า คนเพิ่งเริ่มเข้าใจ เริ่มมีลูกค้าแปลกๆ มาให้เราทำมากขึ้น หลังจากนั้นเพียงปีเดียว มันระเบิดเลย ลงหนังสือทุกเล่ม ออกทีวีกัน แสดงกันจริงจัง ไปแสดงงานเมืองนอก เริ่มกวาดรางวัล เกือบทุกคนก็กวาดรางวัลไปเรื่อยๆ สื่อเริ่มสนใจ เริ่มเป็นเซเลบอยู่ยุคนึง (หัวเราะ)
คือเหมือนโลกเพิ่งเข้าใจน่ะว่ามันมีศิลปินกลุ่มนี้ แล้วเริ่มมีอีกหลายกลุ่มตามเรามา แต่สุดท้ายไอ้บททดสอบสองปีแรกนั้น มันก็ทำให้หลายๆ คนหายไป แต่เราก็อยู่กันได้ เพราะว่างานยังทรงมูลค่าอยู่มั้ง ในยุคหนึ่ง จนกระทั่งทุกคนเริ่มอยากจะทำอะไรเป็นของตัวเองแล้ว เริ่มแยกย้ายไปเรียนต่างประเทศ แต่ผมไม่ได้ไป พอเรียนเสร็จกลับมาก็เริ่มทำงานของตัวเอง ทางกลุ่มก็เริ่มหายไป ตั้มก็ทำ mamafaka ไป ผมก็ไปเริ่มทำงานกำกับมิวสิกวิดีโอ
• จุดเปลี่ยนครั้งที่สองในชีวิต กับการมากำกับมิวสิกวิดีโอ ทั้งๆ ที่ไม่มีทักษะในด้านนี้เลย
ก็ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนอีกครั้งนะ เป็นการเปลี่ยนโลกหนึ่งเลย เพราะเราสั่งสมบุญบารมีจากนักออกแบบ คนทำศิลปะมาก็สิบปี คือทุกวันนี้สอนหนังสือก็ยังเป็นอาจารย์นักออกแบบ สอนดีไซน์อยู่เลย เหมือนกับเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการนี้ พอไปอีกโลก ผมต้องทิ้งหมดเลยนะ ไม่มีใครสนใจเลย คือโลกนึงเป็นเซเลบ แต่พออีกโลกนึงเป็นเด็กอนุบาลเลย มันก็ลำบาก เพราะมาทำใหม่ๆ เราแทบจะไม่รู้จักอะไรเลย ต้องทำยังไงวะ แต่เราอยากทำมิวสิก คือวันแรกที่ทำ ผมถามตัวเองว่ากูจะทำได้มั้ย คำตอบชัดเจนเลยว่า กูจะไปทำได้ยังไงวะ ในเมื่อกูทำไม่เป็นเลย
การเริ่มเป็นผู้กำกับของผม มันเป็นเรื่องห่วยแตก เพราะเราไม่ได้เรียนจบหนังมาและไม่มีความรู้เรื่องหนังเลย สอง ถ่ายรูปไม่เป็น ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคืออะไรบ้าง ปุ่มชัตเตอร์ก็ไม่รู้ ถ่ายไม่เป็นเลย ไม่เคยใช้กล้อง มันเกิดจากที่สมัยเรียนวิชาถ่ายรูป เรายากจน ไม่มีตังค์ซื้อกล้อง ก็เลยไปขอรูปเพื่อนมาส่งอาจารย์ให้มันผ่านๆ ไป แล้วเราก็ไม่ได้ชอบถ่ายรูป ตอนนั้นเราชอบดีไซน์มากกว่า เราก็เลยไม่เคยสนใจ ใช้และถ่ายไม่เป็น และเราก็ไม่เคยดูหนัง เพราะเรื่องความจนอีกเหมือนกัน ดูหนังไม่ได้ ดูยังไงอ่ะ วิดีโอก็ไปจำนำแล้ว สาม เราตัดต่อไม่เป็น คือไม่รู้อะไรเกี่ยวกับหนังเลย แต่เราชอบดนตรี เราชอบดูมิวสิกวิดีโอ เราอยากทำงานแบบนี้ โชคดีตรงที่ว่า ตอนที่ทำงานใหม่ๆ ผมรู้จักพี่ราจิต แสงชูโต (ผู้กำกับโฆษณา) ไปวิ่งเล่นกองถ่ายแก ไปเรียนรู้ทุกอย่างโดยที่เราไม่รู้ตัวว่าเราได้ประสบการณ์จากตรงนั้นมาประมาณหนึ่ง
• รู้ตัวว่าไม่มีทักษะเลย แต่ก็ยังทำได้และยืนหยัดมาจนถึงทุกวันนี้ มองว่าเป็นเพราะอะไร
ผมจะมีหลักคิดอยู่อย่างหนึ่งว่า ถ้ามึงได้โอกาสมา โอกาสให้ 2 อย่าง หนึ่ง ต่อยอดไป ถ้าทำได้ สอง หากทำอะไรไม่ได้หรือไม่ได้ทำ จะกลายเป็นผู้แพ้ทันที แต่อยู่ที่เราเลือกนะว่าจะเลือกทางไหน คนส่วนใหญ่เลือกแบบถอย ไม่ทำ กลัว ผมถามหน่อยว่า ถ้าทำกันไม่ได้ คนที่ผิดกับคุณคนเดียว คือลูกค้าของคุณ เมื่อรับแล้วทำไม่ได้กับถ้าทำได้ มันคือต่อยอดชีวิตป่ะวะ ข้ามกำแพงหนึ่งอันไปได้แล้ว ผมคิดเสมอว่าถ้าทำไม่ได้ ไหว้กราบตีนพี่เค้า พี่ผมขอโทษ แล้วหนีกลับบ้าน คิดอย่างนั้น ซึ่งความคิดนี้ใช้ตลอดทั้งชีวิต คือไม่ต้องกลัวว่าจะทำอะไรเว้ย ทำไปเหอะ แต่อย่างน้อยเขาก็ไม่ได้บอกว่าต้องทำเดี๋ยวนี้ มันคือโอเค ทำ แล้วเดี๋ยวเดือนหน้ามาทำกัน ช่วงหนึ่งเดือน มึงศึกษาดิ มันทำให้มึงอยากเป็นแต่เช้าเลย เฮ้ยถ่ายหนังมันต้องทำไงวะ โทร.หาพี่ๆ เลย ว่า ต้องเริ่มยังไง
ตอนนั้น มันมีเวลามากพอที่จะเรียนรู้ได้ แต่ถามว่า แบบนี้จะเก่งรึเปล่า ก็ไม่ แต่แค่ไม่ทำให้ผิดก็พอ เผอิญมันโชคดีตรงที่ว่า เราก็ถามตัวเองว่า แล้วความสามารถของกูคืออะไร แต่เรามีทักษะทางศิลปะ ก็คิดว่ามันเรื่องเดียวกัน การเล่าเรื่องก็เช่นกัน ถึงจะเล่าไม่ค่อยเป็นแบบภาษาหนัง ไม่เป็นไร เล่าแบบของเรา เพราะอะไร เพราะมีอยู่แค่นี้แหละ ความเคารพตัวเองมึงมีอยู่แค่นี้ มึงมันสะเออะไปทำสิ่งที่มากกว่า แต่ไม่เป็นไร มึงทำของมึงให้ดีที่สุด
ทำสิ่งที่คิดว่าตัวเองทำได้ดีที่สุด คนทำได้สิบอย่าง อย่างละนิดหน่อย เหมือนเป็ด ไม่ใช่ไม่ดีนะ แต่มันทำได้น้อยไง งั้นก็ต้องอัดอย่างเดียวให้ดีที่สุด นั่นคือวิธีที่ผมใช้นะในเรื่องนี้ ก็มุ่งมั่นมากเกินไป จนทำมาได้ ตอนนั้นดราม่าของมันก็คือ ทำงานหนักจนเลิกกับแฟนไป ก็เสียอกเสียใจไป แต่สิ่งที่สนุกกว่านั้นคือ เอ็มวีตัวแรก แล้วได้รางวัลเลย ของแชนแนลวี (รางวัลมิวสิกวิดีโอเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม ครั้งที่ 6 ประจำปี 2009) ขึ้นไปรับรางวัลแบบมึนๆ แล้วเราก็ชะล่าใจว่ามันไม่ได้ยากนี่หว่า แต่ก็วูบเดียว เราก็รู้สึกว่า สิ่งที่เราทำมันก็ความรู้เดิม ความรู้จากโมชันกราฟิก จากที่เราชำนาญอ่ะนะ แต่เราก็ไม่เอาแล้ว กูอยากเป็นผู้กำกับมากขึ้น คือศึกษาเรื่องบท ก็ไปเรียนวิธีการเขียนบทจากแม่รุ่นน้อง ที่เป็นหัวหน้าวิชาภาพยนตร์ที่ลาดกระบัง ได้หนังสือเด็กปี 2 มานั่งอ่านว่ามันคืออะไร แต่เราไม่อายเว้ย เพราะว่าเรายอมรับในตอนแรกไงว่าเราก็ยังไม่เป็นเลยจริงๆ
คือตอนกำกับใหม่ๆ ยอมรับเลยว่าไม่เป็นเลย แต่เราก็เห็นบางคนนะว่า กำกับใหม่ๆ แม่งเก๊กมากเลย แต่เราไม่เก๊ก เพราะเรารู้ว่าเราอ่อนแอ ในกองมี 30-40 คน คนทั้งหมดยกเว้นผม ถ่ายหนังมาทั้งชีวิต ช่างไฟถ่ายมา 20 ปี แล้วรู้อะไรมากกว่าเขามั้ย ไม่รู้ หรืออย่างตากล้องผมถ่ายมา 10 กว่าปี ถ่ายรูปตั้งแต่เด็ก ผู้ช่วยทุกคนเก่งหมด หรือผู้ช่วย ถ่ายหนังไทยมา 10 เรื่อง ก็เป็นผู้ช่วยกู ไม่ว่าจะจ้างมาด้วยเงิน หรือความเป็นพี่น้องอะไรก็ตาม ถึงยอมมาช่วยผู้กำกับอ่อนๆ คนนี้ ในตอนนั้นนะ ไม่ว่าจะเป็นยังไงก็ตามเราก็ต้องเคารพเขา ทุกครั้งที่ถ่ายหนัง ผมก็กินข้าวกับช่างไฟ ยกมือไหว้ทุกคน แต่ถึงแม้วันหนึ่งเราอาจจะเก่งกว่านี้ แต่เราก็ยังรู้สึกเคารพเพื่อนร่วมงานอยู่ดี เพราะว่าถ้าเขาไม่เต็มใจทำให้ สมมติเราจะย้ายตำแหน่งไฟ ถ้าเขาไม่วิ่งไม่สู้เพื่อเรา เราก็ไม่ได้ หรือถ้าเด็กอาร์ตปีนไปติดอะไรซักอย่างสูงๆ อันตราย เขาไม่ปีนก็ได้แต่ก็ทำให้เรา แล้วเราล่ะ เรามีค่าพอมั้ยที่เขาทำให้
ผมกล้าเรียกอาชีพตัวเองว่าผู้กำกับมิวสิกวิดีโอ หลังจากที่ทำมันมาประมาณ 3 ปีได้ เพราะแต่เดิมเราจะเรียกตัวเองว่าคนทำเอ็มวี แต่ไม่กล้าเรียกว่าผู้กำกับ เนื่องจากใจเราไม่เชื่อว่าเราเป็นได้ไง เรามีความอยากทำตั้งใจ แต่เราไม่ได้คิดว่าอาชีพนี้มันเท่ไง เมื่อก่อนอยากเป็นดีไซเนอร์ ก็ไม่ได้คิดว่าจะเป็น เพราะไม่ได้คิดว่ามันเท่อะไร คือเป็นดีไซเนอร์ที่เมาหัวราน้ำก็ได้ ถ้าไม่ต้องศึกษาอะไร อยากเป็นแบบนั้นก็ได้ หรือเป็นผู้กำกับที่กำกับรายการห่วยๆ เขียนบทห่วยๆ แล้วบอกว่าตัวเองเป็นผู้กำกับก็ได้ไง แต่เราไม่ได้คิดอย่างงั้น คือไม่ได้คิดว่าอยากเป็นอะไรไง ผู้กำกับจะต้องมีแต่งตัว แต่กูไม่ได้เป็น ก็ขี้เมาทั่วไป ใช้ชีวิตปกติ อยากทำอะไรก็ทำ อยากสักก็สัก ขี่ม้าก็ขี่ ที่เล่าให้ฟัง คือ ผมหมายความของการมีชีวิตมากกว่านั้น หมายความว่าทำงานให้เกียรติมากกว่านั้น
• ทำเอ็มวีได้รางวัลมาก็มากมาย มองมิวสิกวิดีโอยุคนี้ของบ้านเราอย่างไรบ้าง
ทุกวันนี้ปัจเจกของคนเรามันเยอะ มันหลากหลายไปมากแล้ว สังเกตได้จากเฟซบุ๊ก แบบเหตุการณ์หนึ่ง มันจะแบ่งเป็นกลุ่ม พวกโลกสวยก็พูดไปแบบนึง พวกต่อต้านจัดๆ ก็มี บางคนแบบทำไมใจร้ายขนาดนั้นก็มี หรือทำไมต้องไปว่าพี่เค้าด้วยวะ หรือทำไมต้องต่อต้าน ไอ้นี่ก็โลกสวยเหลือเกิน ไอ้นี่ก็บ้าเหลือเกิน อย่างหลายๆ เหตุการณ์ที่เห็นน่ะ คือสิ่งหนึ่งที่ยังไม่แน่ใจ ว่าคนเราเปลี่ยนแปลงไปมากหรือคนเราเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว แค่เผอิญมีไมค์ให้คนละอัน แล้วเป็นไมค์ที่พูดแล้วไม่มีใครรู้หรือเปล่า ก็เลยเกิดเหตุการณ์แบบนั้น พอมันหลากหลาย เหมือนเราจับกันเป็นกลุ่มก้อนได้ 20 กลุ่ม บางครั้ง มิวสิกวิดีโอมาจากไหน มาจากเพลง เพลงพูดถึงอะไร เช่น เพลงพูดถึงการเป็นชู้กัน แอบรักผู้หญิงที่มีแฟนแล้ว ซึ่งเพลงแบบนี้มีเยอะ
ย้อนไปสมัยก่อน พงศ์พัฒน์เลย (ร้องเพลง “ใจนักเลง”) ชอบมันไป หรือ พี่หนุ่ย อำพล ใจโทรมๆ แม้ใจจริงจะรักเพียงใด ก็ไม่เป็นไร ก็เธอเดินไป กูอยู่คนเดียวได้ ยุคเมื่อก่อนเป็นแบบนั้น ทุกคนมีความเป็นนักเลงและลูกผู้ชายพอ เราไม่เล่นชู้กัน (ร้องเพลง “ได้อย่างเสียอย่าง”) ต้องเลือก ทุกคนต้องเลือก ยุคนี้ไม่เลือก เป็นชู้กันไม่ผิด แอบรักไม่ผิด แล้วกลับมาที่เอ็มวี เราต้องสนับสนุนเรื่องเหล่านี้เหรอ ผมสรุปแล้วกันว่ามันต้องสร้างสรรค์นะ คือทำเอ็มวี เราก็เลือกนะ เพลงที่สนับสนุนให้คนไม่ดี เราก็ไม่อยากทำ เพราะเราก็เชื่อว่ามันมีผลกระทบต่อตัวเองหลายๆ เรื่อง มันก็เลยกลายเป็นแบบนั้น เราก็เลยรู้สึกว่า เรื่องพวกนี้มันไม่ควรทำ อย่างเช่นที่ผมไม่ชอบ คือรายการวิทยุที่มาทำเป็นซีรีส์รายการหนึ่ง เอาเรื่องดราม่าเหล่านั้นมา มันไม่บวกเลย ให้คนทะเลาะกันน่ะ เรามองว่า ในคำว่าสร้างสรรค์ มันน่าจะสร้างได้อีก ถึงแม้ว่าเพลงมันจะพูดเรื่องความเจ็บปวดรวดร้าว ความคับแค้นใจ แต่ผมเชื่อว่า มันแง่บวกได้อีกเว้ย
ผมเคยทำเพลงนึง ‘เธอทำให้ฉันเสียใจ’ ของวงค็อกเทล นั่งตีความว่าคนเสียใจว่ามันไปได้ถึงไหน คือมันไม่มีใครเข้าใจคอนเซ็ปต์เอ็มวีเพลงนี้ ซึ่งมันก็ไม่มีใครเข้าใจหรอก คือมันจะมีฉากหนึ่งว่า ทำไมผู้หญิงคนนี้ต้องไปยืนร้องไห้ริมทะเล ซีนนั้นไม่ได้ฆ่าตัวตายนะ คือคนเสียใจ มึงจะมีความเจ็บปวดเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว ในฐานะความเป็นมนุษย์ มึงหนีไกลได้แค่ไหน ขอบฟ้า มึงก็หนีไปสุดแผ่นดินนึง ยิ่งหนี ก็หนีได้แค่นั้น จะข้ามน้ำไป ก็ไปสุดอีกฝั่งอยู่ดี คือจริงๆ แล้วเอ็มวีนี้ มันเสือกถ่ายไม่ทัน งบไม่มี คือดั้งเดิม มันมีฉากนางเอกเดินอยู่ในเมืองขับรถหนี จนมาสุดตามเอ็มวี ก็น่าเสียใจที่ข้อความมันไม่ครบ มันบอกแค่ว่า เมื่อเสียใจ คุณจะไปไกลได้แค่ไหน จะโทษใคร แต่สุดท้ายจะหนีเรื่องราวได้แค่ไหน คือใส่ไปได้เยอะ จนรู้สึกว่ามันไกลเพลงไป ก็ไม่ติดอะไร คือคนชอบกันก็จริง แต่เราถือว่าล้มเหลว
คือมันง่ายมากเลยนะที่จะทำเอ็มวีแล้วให้ชายหญิงกอดกัน รักกัน ดูนั่นสิ กินมั้ย มันง่าย แต่ว่าที่ไม่ทำ ไม่ใช่เราเก่ง แต่เพราะว่ามันมีคนทำหน้าที่นั้นแล้ว เพราะอย่างนั้น เราเลือกไปอีกฝั่งหนึ่งดีกว่า ผู้กำกับเอ็มวีที่เค้าทำ แบบรักกันนะ เลิกกัน ผลักอกกัน คือเค้าทำไปแล้ว ก็ให้เค้าทำไป เราไม่ได้บอกว่ามึงแม่งห่วยสัส ไม่ใช่ เราแค่เลือกให้มันเหมาะสม เอาจริงๆ สรุป เอ็มวีควรที่จะเหมาะกับเพลง เพราะคนฟังอยากจะเห็นภาพที่เค้าคิดที่เค้ารู้สึก เรามีหน้าที่เติมเต็มแค่นั้นเอง
เพราะบางครั้งก็มาคุยนะว่า พี่ หนูว่าเอ็มวีควรเป็นอย่างงั้นอย่างงี้ดีกว่า คือโดยมารยาทแล้ว มันไม่ควรจะบอกว่าเป็นยังไงป่ะวะ แต่จริงๆ เขาพูดถูกเว้ย ผมชอบมากที่มีคนมาแนะเพิ่ม เออ เราก็ได้ฟังมุมมองคนอื่นเนอะ ถึงมันอาจจะดูโง่ๆ ว่า ทำไมนางเอกไม่เกลือกกลิ้งเสียใจกว่านี้ เราก็ตอบว่า ก็ตามที่เราคิด แต่คำถามนี้มันจุดประเด็นตรงที่ว่า เฮ้ยทำไมน้องว่าเพลงนี้มันเจ็บปวดขนาดนี้ ทำไมคิดว่าเค้าต้องเป็นงั้น มันทำให้เราเรียนรู้คนมากขึ้น เพราะถ้ามึงไม่เรียนรู้คน ให้เค้ารู้สึกกับมัน มึงก็ไม่สามารถทำให้เค้ามีความสุขได้
แต่ที่เรายอมทำ ทั้งๆ ที่ค่าตอบแทนก็ได้น้อยกว่า คือ หนึ่ง เพื่อนฝูงเราก็เป็นนักดนตรีหมดแหละ เราก็รักพวกเขา ซึ่งเมื่อก่อนเราก็เล่นดนตรี เลยรู้ว่าชีวิตมันเป็นยังไง แล้วเมื่อดนตรีที่ดี ทำไงสนับสนุนมัน แล้วหน้าที่ผมทำมิวสิกวิดีโอได้ งั้นต้องทำให้คนรักเพลงนี้ เพราะถ้าเพลงนี้ออกไปไกล ทุกคนก็มีความสุข แม่หรือยายมึงฟังก็มีความสุข พี่วินมอเตอร์ไซค์ได้ฟังก็มีความสุข มันจะไปถึงพวกเขาได้ไง ก็มีกลไกมากมาย อย่างน้อยหน่วยนึงของกู กูทำเต็มที่ กูส่งให้แรงที่สุดดีที่สุด ให้ครบที่สุด ซึ่งมันก็ไม่ได้แปลงอย่างที่เราบอกหรอกนะ ถ้าทำได้ก็ดี แต่พี่ว่า 100 ครั้งทำได้ซักครั้ง มันก็มีค่า ผมถึงอยากเก่งกว่านี้ ถ้าหากทำได้ทุกครั้งมันจะดีมาก ผมคิดเสมอว่าถ้ารวย หากทำเพลงดีมาก ทำให้ฟรีก็ยังได้ เพราะว่ายิ่งมีดนตรีเยอะๆ โลกแม่งก็น่าอยู่ คนฟังก็มีความสุข ฟังเพลงดีจะตายห่า ไม่มีอะไร มีสิ่งโหดร้ายให้ฟังทุกวันแล้ว ทั้งข่าวร้าย เรื่องแย่ๆ จากเฟซบุ๊ก คำนินทาว่าร้ายกัน ละครในโทรทัศน์ ตบตีกัน มันเยอะแล้ว ในเมื่อเราทำอะไรไม่ได้ เราก็สนับสนุนตรงนี้ดีกว่า
ผมเชื่อเสมอว่า ทำงานกับดนตรีมันเป็นอาชีพที่มีความสุขที่สุดแล้ว ดนตรีมันไม่ทำร้ายใคร เพลงเหี้ยๆ มันก็ไม่ทำร้ายใคร เพราะฉะนั้น เมื่อมันไม่ทำร้ายใคร เอาง่ายๆ เพลงไม่เพราะก็ไม่ทำให้ใครตาย แต่ถ้าเพลงเพราะแม่งทำให้โลกน่าอยู่ ทำให้เรามีกำลังใจ เวลาที่ท้อที่สุด ถ้าได้ฟังเพลงแล้วมีความสุข หรือเวลาอกหักก็ได้ ถ้าฟังเพลงเศร้า ร้องไห้กับมัน แต่ลึกๆ ก็อิ่มใจกับมัน เพราะฉะนั้น มันไม่มีทางทำร้ายใครเลย เราก็เลยโอเค
• คล้ายๆ ว่า โลกมันโหดร้ายพอแล้ว ผลงานของเราก็คือฝั่งโลกสวย
ไม่ใช่หรอก มันแค่เติมน้ำดีในน้ำเน่า แค่นั้นเอง ผมเคยไปถามพระมา ว่าบุญกับบาปมันต่างกันยังไง พระก็ตอบว่า บุญคือน้ำดี บาปก็เหมือนน้ำเค็มละกัน คือต่อให้ทำบุญยังไงก็ล้างบาปไม่ได้ แต่ก็ทำให้น้ำมันเจือจางลงได้ คือยังไงผิดก็คือผิด ฉะนั้น เรื่องนี้มันก็สอนให้เราเรียนรู้ว่า คนมันมีมากพอจนเราเปลี่ยนแปลงไม่ได้หรอก เพียงแต่ว่าเราก็เป็นหน่วยนึงที่เติมเข้าไป จนอย่างน้อยมันก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้น ก็ช่วยกัน
โลกมันไม่ได้สวยขึ้นหรอก จริงๆ ความจัญไรมันก็มีความสุขดี เหี้ย เราก็ชอบเที่ยวหมอนวด มั่วเซ็กซ์ ซึ่งโอเคมันก็ไม่ดีหรอก คือพระเจ้าส่งมาให้มีบุญและบาป เขาก็รู้อยู่แล้วว่าอดัมจะไปกัดแอปเปิล เพราะเขาจงใจให้เป็นงั้นอยู่แล้ว เค้าห้ามเพราะเป็นพระเจ้าก็ห้ามเมื่อไหร่ก็ได้ นั่นเลยมีมนุษย์ไง มนุษย์เลยมีก็อดไง ก็อดอยู่เพื่อมนุษย์ไม่ให้เลวไปมากกว่านั้น มนุษย์ต้องเลว มันเลยมีสารภาพบาปไง คุณอย่าไปคิดว่าตัวเองประเสริฐ โลกสวยไม่มี มันก็มีกินขี้ปี้นอน ต้องสีเทาอยู่ดี ขาวไม่มีหรอก
• เป็นเจ้าของรางวัลมาเพียบเลย งั้นแสดงว่ากำกับมาเพื่อรางวัลโดยเฉพาะว่างั้น
ไม่เลย เขาให้ของเขาเอง ไม่มากหรอก เขาก็ให้แบบบ้าบอคอแตกไป ไม่ได้มีรางวัลใหญ่หรอก แต่ได้เข้าชิงทุกปี คือไม่รู้ยังไงอ่ะ คือถ้านายชอบงานเรา ก็โอเค แต่เราก็ยังยึดว่าต้องสร้างสรรค์ไง แต่ถ้านายโอเคกับงานเรา ก็โอเค นายก็เอารางวัลมาให้ก็ได้ โอเค เราก็อยากได้ มันเท่ดี แต่ถ้าถามว่าอยากได้แบบไหน เราก็อยากได้อย่างที่เพื่อนเราได้ (ตู๋-วราธิต อุทัยศรี เจ้าของรางวัล Student Academy Awards ปี 2010 สาขา Alternative เหรียญทอง จากผลงานเรื่อง Surface: Film from Below) คือไม่ใช่มันดูดีนะ แต่งานดีไม่ได้ชมแค่ 7-8 คน งานดีคนทั้งโลกต้องชอบมันดิวะ ถ้าคนทั้งโลกยังไม่ชอบแสดงว่ามึงยังไม่เจ๋ง หรือทั้งประเทศไม่ชอบ แสดงว่าก็ยังไม่เจ๋ง ถ้าแม่มึงดูแล้วไม่ชอบ แสดงว่ายังไม่เจ๋ง มาตรฐานแค่นี้พอแล้ว ก็ไม่เจ๋งไม่เป็นไร เดี๋ยวทำใหม่
วันนี้คนชอบ 10 คน พรุ่งนี้ต้องชอบ 20 คน ไปเรื่อยๆ แค่นั้น แต่โอเคมันต้องสร้างสรรค์นะ ไอ้พวกแบบทำให้มันทอล์กไปวันๆ กูไม่ทำ มันไร้สาระ ทำเมื่อไหร่ก็ได้ สมมุติว่ากูทำเอ็มวีคนแก้ผ้าดิ รับรอง 10 ล้านวิว แต่อย่างงั้นจะทำไปทำไมอ่ะ ถ้าแก้ผ้า ก็ขอมีเหตุผลหน่อย ถ้าจะควักนมหรือหำออกมาเนี่ย ก็ให้มันมีค่าหน่อย
• เราคาดหวังอะไรบ้างจากการทำงาน
ถ้าวัตถุ ก็เงินทอง ถ้าสังคมก็ชื่อเสียง ถ้าตอบแบบโง่ๆ นะ ก็ประสบความสำเร็จมาประมาณนึง ถึงจะไม่มากมายอะไร แต่ถามว่า สู้มาขนาดนี้ ได้อะไรบ้าง ตอบง่ายมากถ้าย้อนกลับไป ตอนที่ยังเป็นเด็กติดยาอยู่ เราไม่คิดว่าเรามีคุณค่ากับโลกนี้เลย นอกจากทำเพื่อตัวเอง เราทำร้ายคนอื่นเพื่อแย่งชิงมาเป็นของเราเอง เราทำร้ายร่างกายตัวเองด้วยความเชื่อว่ามันช่วยเราได้ เราทำทุกอย่างที่ไม่มีค่าไม่มีความหมาย แต่ผ่านมาทุกวันนี้ มันเป็นคำหนึ่งที่ง่ายๆ เลย คือ คนคนหนึ่ง ทำได้มากมายมหาศาลเหลือเกิน เรากลับกลายเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ ลุกขึ้นมาทำงานศิลปะ อย่างถ้าเด็กเกเรก็เป็นแรงบันดาลใจให้เห็นว่า คนๆ หนึ่งซึ่งเคยเหลวแหลก ก็สามารถกลับมาใช้วิตดีๆ ได้ คือไม่ได้ดีกว่าเดิมเท่าไหร่หรอก แต่อย่างน้อยสิ่งที่ผมทำแม่งมีประโยชน์ให้โลกนี้บ้าง
คือมันก็ไม่ได้ดีกว่าเดิมเท่าไหร่หรอก แต่อย่างน้อยสิ่งที่เราทำมันยังมีประโยชน์ เราสร้างลวดลายให้โลกนี้บ้าง ถึงงานที่ทำในสมัยก่อนไม่ได้มีความหมายอะไร มันก็แค่เป็นการรับใช้สินค้าต่างๆ ช่วยให้ลูกค้าขายของดีขึ้น แต่อย่างน้อย เราก็ยังเหลืออะไรให้บ้าง เหลือองค์ความรู้ คือการเป็นครูบาอาจารย์ของผมนั้น อย่างน้อยก็สร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก สร้างความรู้ให้พวกเขาต่อยอด ไปอีก นักศึกษาของผมหลายคน เอาวิชานี้ไปหากินจนทุกวันนี้ คือเราสอนวิชาโมชันกราฟิก พวกทำเว็บเงี้ย แต่เด็กเสือกชอบสิ่งที่เราสอน อาจจะเพราะกูสอนสนุกและกูเฮฮารึเปล่า แต่กูสอนวิชาเดียวเนี่ย เด็กเอาไปทำธีซิส จบไปทำงานที่ตัวเองชอบ มีความสุขได้ บางคนเบนเข็มไปทำหนัง ก็ดี นั่นคือสิ่งที่เขาอยากทำ
ผมว่า มนุษย์คนหนึ่งมันมีประโยชน์มากกว่านั้น ดีกว่านั่งหายใจไปวันๆ คือขอทำอะไรก็ได้ ต่อให้พับนกวันละตัว ผ่านมา 10 ปี มันก็เป็นนกที่มหาศาล ซึ่งมันไม่ใช่ขยะหรอกสิ่งที่เราตั้งใจ แต่เพียงแค่มันจะเดินทางไปทางไหนมากกว่า ถ้ามองในมุมนึงที่ว่างานศิลปะไม่มีคุณค่าอะไรเลย ก็ไม่เป็นไร มันก็ไม่แตกต่างกับที่พับนกแล้วไม่รู้จะเอาไปไว้ไหน แต่อย่างน้อยมันยังดำรงอยู่ อย่างน้อยหันมาก็ชื่นใจ ผมว่ามันก็ต้องเริ่มทำ แต่สิ่งหนึ่งซึ่งไม่ควรทำเลย คือการดูถูกตัวเอง
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ธัชกร กิจไชยภณ