ประกาศไปให้ก้องฟ้า จดจารึกเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่แห่งวงการไตรกีฬา
นี่คือผู้หญิงไทยคนแรกซึ่งจะได้ไปร่วมคว้าชัยในศึกเวิลด์แชมเปี้ยนชิพ
ที่สนามไตรกีฬาเมืองโคน่า ซึ่งกล่าวขานกันว่าถ้าไม่ใช่มืออาชีพหรือตัวจริง
ก็ยากยิ่งที่จะได้ไปย่างเหยียบสนามแห่งนี้...
สาววัยเลขสามนำหน้า ผู้หลงรักกีฬาเป็นชีวิตจิตใจ จากคนที่ไม่เคยสนใจเรื่องการออกกำลังกาย ชีวิตของเธอเริ่มเปลี่ยนไปจากการเริ่มเดินออกกำลังที่สวนสาธารณะ ก่อนจะขยับเลเวลขึ้นมาทีละขั้น จนกระทั่งย่างเท้าเข้าสู่เส้นทางของการแข่งขันกีฬาอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งการแข่งวิ่ง ไม่ว่าจะเป็น มินิมาราธอน ฮาร์ฟมาราธอน มาราธอน ไปจนถึงการแข่งไตรกีฬาที่ลองมาแล้วแทบจะทุกระยะ ไม่เว้นแม้กระทั่ง ระยะ Ironman ที่ว่าหินสุดๆ เธอก็เก็บมาแล้วถึง 15 สนาม
ร่ำลือกันว่า สนามการแข่งขันที่เมืองโคน่า (Kona) รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา คือสุดยอดแห่งสนามการแข่งขันไตรกีฬาที่นักกีฬาสาขานี้อยากจะไปเยือนสักครั้งในชีวิต และในวันที่ 11 ตุลาคมนี้ จะมีชื่อของหญิงไทยคนหนึ่งไปปรากฏตัวในสนามแห่งนี้
เธอคือ “น้ำเพชร พรธารักษ์เจริญ” หญิงไทยคนแรกที่ได้ไปเยือนสนามการแข่งขันระดับโลก สนามนี้ World Ironman Championship Kona Hawaii 2014...
• รู้สึกอย่างไรบ้างกับสถานะของการได้เป็นผู้หญิงไทยคนแรกที่ได้ไปแข่งไตรกีฬาที่สนามนี้ซึ่งร่ำลือกันว่า “หิน” ที่สุดสนามหนึ่ง
คือถ้าถามว่ามันเป็นความฝันของนักไตรกีฬาทุกคนไหม ตอบได้เลยว่ามันเป็นความฝันนะคะ มันไม่ใช่การแข่งที่ใครก็สามารถไปได้ หรือไม่ใช่แค่ว่าอยู่เฉยๆ จะไปแข่งได้เลย นักไตรกีฬาที่เล่นระยะ Ironman ทุกคนใฝ่ฝันที่จะไปแข่งในสนามนี้ให้ได้ในชีวิต เพราะต่อให้มีเงินแค่ไหน คุณก็ไปไม่ได้
• ทำไมถึงบอกว่า ต่อให้มีเงินแค่ไหน ก็ไปไม่ได้
คือสนามอื่นแค่มีเงินก็สมัครได้แล้วค่ะ (ยิ้ม) แค่สมัคร จ่ายเงิน แล้วก็จบ แต่สนามนี้คือ เมื่อก่อนนะ ถ้าคุณไม่ใช่คนที่เร็วที่สุด ไม่ใช่คนที่เก่งที่สุด มันก็ยากที่จะได้ไป แต่เดี๋ยวนี้ดีขึ้นมาหน่อยเพราะเขาจะมีโปรแกรมที่เรียกว่า “รอยัลตี้ โปรแกรม” (Royalty Program) สำหรับคนที่ไม่เร็วที่สุด แต่แข่งมาเยอะ ยังไงก็เล่นอยู่ กี่ปีก็ยังเล่นอยู่ นานแค่ไหนก็ยังเล่นอยู่ เขาก็ใช้รอยัลตี้ โปรแกรม เป็นการเสริมโอกาส ตอนนี้กลายเป็นว่าใครที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายว่าเร็วที่สุด ก็ต้องรีบแข่งให้ครบ 12 สนามเพื่อจะได้ไป แต่สุดท้ายก็อย่างที่บอกค่ะว่ามันเป็นสนามที่มีเงินก็ไปไม่ได้ ต้องไปโดยความสามารถหรือว่าใจรักเท่านั้น เพราะถ้าไม่มีคุณสมบัติข้างต้น จะไม่ได้ไปเลย
• ถามว่าสนาม Ironman ที่ Kona นี้สำคัญแตกต่างจากสนามอื่นอย่างไร
สนามนี้เป็นสนามระดับเวิลด์ แชมเปี้ยนชิป ที่จะเอามืออาชีพระดับโลกทุกคนมาแข่งกันเพื่อหาที่หนึ่งของมืออาชีพ เป็นที่หนึ่งของที่หนึ่งอีกที ทุกคนเลยอยากไปเพราะว่าจะได้แข่งสนามร่วมกับมืออาชีพด้วย อะไรแบบนี้ล่ะค่ะ (ยิ้ม)
• เราก็ฝันมาตั้งแต่แรกเลยหรือเปล่าว่าจะต้องไปแข่งที่สนามนี้ให้ได้
เมื่อก่อน สักประมาณเจ็ดปีจะไม่มีคำว่า “โคน่า” อยู่ในหัวเลย จะบอกกับเพื่อนอยู่ตลอดว่าไม่เป็นไรหรอก เราไม่ไปก็ได้ เราแค่ได้ไปแข่งตามที่ต่างๆ ก็พอ ถือว่าเป็นกำไรชีวิตแล้ว แต่โอกาสก็มาถึงเมื่อราวสามปีที่ผ่านมา มันกลายเป็นว่า Ironman เขาให้โอกาสมากขึ้นสำหรับคนที่มีใจรักแบบเรา คือแม้จะไม่เร็วที่สุด แต่เราก็ยังแข่งอยู่ เขาเลยให้โอกาสกับคนเหล่านี้ ด้วยการตั้งเกณฑ์ว่าใครที่แข่งมาครบ 12 สนามขึ้นไปแล้วแข่งจบทั้ง 12 สนาม จะมีโอกาสได้สมัคร ถัดจากนั้น เขาจะเอาไปคัดเลือกอีกที
• นานไหมกว่าจะได้รับการคัดเลือก
ทุกๆ ปี เราจะส่งใบสมัครทิ้งไว้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนของ ซึ่งเขาจะประกาศผลช่วงเดือนเมษายนของปีถัดมา กติกาคือเขาจะให้เราเขียนประวัติของตัวเองว่าเราเป็นยังไง เรารู้สึกยังไง ซึ่งตรงนั้นเราก็พยายามเขียนให้ดูน่าสนใจนิดนึง (หัวเราะ) ว่าเราเป็นคนไทยนะ เป็นผู้หญิงไทยคนแรกที่แข่งมาเยอะที่สุด แต่โดยเวลาหรือความเร็ว เราอาจไม่ได้เป็นคนที่เร็วมาก แต่เรามีใจรักและทำมาทุกปี นั่นคือเป้าหมายของเรา พอเมษายนที่ผ่านมา Ironman เขาประกาศมาว่าเราได้ไป ความรู้สึกตอนนั้นมันประทับใจมากๆ ว่า โอ้โห ในที่สุด เราก็จะได้ไปยืนอยู่ในสนามนี้แล้วนะ
• เหมือนพิชิตความฝันได้สำเร็จ
ใช่ค่ะ เพราะเราแข่ง Ironman มาเรื่อยๆ ปีหนึ่งจะพยายามสะสมให้ได้ 2 สนาม จะพยายามไปแข่งให้จบและครบ 12 สนามเพื่อจะไปที่โคน่าให้ได้ มีท้อนะ ส่วนใหญ่ที่ท้อแบบสุดๆ จะเกิดจากปัญหาส่วนตัวมากกว่า อย่างเช่นงานเยอะ ความกดดันหลายๆ อย่าง ทั้งจากคนรอบข้างว่าอันนี้ไม่ควรทำ อันนี้อย่าทำ ทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่อยากแข่ง เป็นช่วงจิตตกของชีวิตเลยก็ว่าได้
อุปสรรคอีกอย่างก็คือ มันไม่ใช่ว่าเราสามารถแข่งจนจบได้ทุกงานนะคะ เพราะแข่งไม่จบก็มี อย่างการวิ่ง ถ้าเรารู้ว่าวันนั้นๆ ร่างกายเราไม่พร้อมแล้ว เราก็จะหยุดตัวเอง ส่วนใหญ่งานที่ไม่จบจะเป็นงานที่เราอยากพักผ่อน ไม่ต้องการความรู้สึกที่ทำให้ตัวเองต้องหักโหมมากเกินไป อยากจะไปรีแลกซ์ แต่ถ้างานแข่งไหนที่ตั้งเป้าไว้แล้วว่าอันนี้ขอลองนะ อันนี้ต้องทำให้ได้ อันนี้อยากทำเวลาให้ออกมาดีที่สุด หรือว่าอันนี้อยากทำสักครั้งในชีวิต อย่างนั้นมันก็จะจบ
• การไปแข่ง Ironman ที่ Kona ต้องมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
เตรียมเยอะเลยค่ะ อย่างแรกคือการกิน เราต้องจดไว้เลยว่าวันที่เราซ้อม เรากินอะไร ถึงวันแข่งจริง เราก็ต้องกินอย่างนั้น เช่น วันซ้อม เรากินทุกสองชั่วโมง ถึงวันแข่ง เราก็ต้องกินทุกสองชั่วโมง เพราะถ้าผิดจากแผนไปปุ๊บ มันจะทำให้เกิดภาวะ อย่างเช่น อาจหมดแรงหรือเป็นตะคริวเพราะมันเป็นการแข่งที่ยาวนาน ก่อนวันแข่ง เรากินคาร์โบไฮเดรตให้เยอะที่สุดเพื่อให้วันแข่งจะได้มีแรงพอ ส่วนหลังแข่งจะกินพวกโปรตีนเพื่อซ่อมแซมและฟื้นตัวกล้ามเนื้อให้เร็วที่สุด อีกอย่างต้องวางแผนว่ากี่กิโลเมตรเราจะต้องกิน
สองคือการนอน บางคนทานยาเพื่อให้หลับก็มี เพราะตื่นเต้นมากแล้วมักจะนอนไม่หลับ ต้องพยายามนอนหลับให้เยอะที่สุด เรื่องชุดที่จะใส่แข่งก็เช่นกัน เราต้องดูสภาพอากาศของที่นั้นๆ ด้วย รองเท้าวิ่ง ต้องใส่คู่ไหน รองเท้าจักรยานต้องใส่คู่ไหน ล้อจักรยานต้องล้อแบบไหน ทุกอย่างต้องเลือกให้เป๊ะเลย
• สุดท้าย เราวางความฝันไว้อย่างไรบ้างบนเส้นทางสายนี้
ส่วนตัวเราชอบความท้าทาย อะไรที่รู้สึกว่ามันน่าลอง จะอยากลอง ต้องไปลองด้วยตัวเอง ปีหน้าก็จะครบ 10 ปีแล้วกับเส้นทางการแข่งไตรกีฬาระยะ Ironman ตอนนี้เก็บมาแล้ว 15 สนาม ซึ่งโคน่าจะเป็นสนามที่ 16 ความฝันต่อไปจากโคน่า คือการไปแข่งวิ่ง 100 ไมล์ที่มองบลังค์ (ยอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป) ซึ่งก็ต้องเริ่มเก็บคะแนนอีกครั้ง คือต้องผ่านการวิ่ง 100 กิโลเมตรทั้งหมด 3 สนาม ถึงจะมีสิทธิ์สมัครได้ ตอนนี้ผ่านไปแล้ว 1 สนาม แต่ต้องรอกลับจากโคน่าก่อน เพราะตอนนี้ พลังงานทั้งหมดทุ่มไปกับงานที่โคน่าอย่างเดียวเลย หลังจากนั้น เราค่อยมาว่ากันอีกที (ยิ้ม) ส่วน Ironman จะทิ้งไหม ก็คงยังไม่ทิ้ง เพราะมันก็ยังสวยงามน่าเล่นอยู่ แต่จะเปลี่ยนให้เอ็กซ์ตรีมมากยิ่งขึ้น
• เคยมีความคิดว่าอยากจะหยุดเล่นไหม
เคยคิดนะคะว่าอายุเท่าไหร่ ถึงจะเลิกเล่น แต่ล่าสุด ตอนไปแข่งที่ลังกาวี เราได้เจอคุณลุงท่านหนึ่งอายุ 77 ปี แกยังทำได้อยู่เลย เราเลยคิดว่าถ้าอย่างนั้น เราอย่าไปกะเกณฑ์อะไรให้ชีวิตเลยดีกว่า ปล่อยให้มันดำเนินไป ถ้าเรามีความสุขเราก็ทำ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราคิดว่ามันไม่ใช่แล้วก็ค่อยว่ากันอีกที ถามว่าเราจะทิ้งกีฬาไหม เราคงไม่ทิ้ง เพราะสิ่งนี้มันคือชีวิตของเราไปแล้ว จะให้แยกจากกันตอนนี้ มันแยกไม่ได้แล้ว กีฬากับเรามันอยู่ด้วยกันไปแล้ว ก่อนที่เราจะทำอะไรแต่ละอย่าง เราจะใส่การออกกำลังกายเข้าไปในชีวิตของเราเสมอ จะยุ่งขนาดไหน มันก็จะอยู่ในตารางชีวิตของเราเสมอ ไม่ทำอะไรอื่นๆ ได้นะ แต่ไม่ออกกำลังกายนี่ไม่ได้เลย
รู้ไว้ใช่ว่า
ไตรกีฬาคืออะไร
ไตรกีฬาประกอบไปด้วยว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน และวิ่ง ซึ่งไตรกีฬามีหลายระยะ จะมีตั้งแต่ระยะ sprint distance ว่ายน้ำ 0.75 กิโลเมตรปั่นจักรยาน 20 กิโลเมตร วิ่ง 5 กิโลเมตร olympic หรือ standard distance ว่ายน้ำ1.5 กิโลเมตร ปั่นจักรยาน40กิโลเมตร วิ่ง10 กิโลเมตรhalf ironman หรือ 70.3 ว่ายน้ำ 1.9 กิโลเมตร ปั่นจักรยาน 90 กิโลเมต รวิ่ง 21 กิโลเมตร และระยะ Ironman ว่ายน้ำ 3.8 กิโลเมตรปั่นจักรยาน 180 กิโลเมตร วิ่ง 42 กิโลเมตร ซึ่ง Ironman ถือได้ว่าขั้นที่หินที่สุดของกีฬานี้
เรื่อง : วรัญญา งามขำ
ภาพ : ศิวกร เสนสอน
นี่คือผู้หญิงไทยคนแรกซึ่งจะได้ไปร่วมคว้าชัยในศึกเวิลด์แชมเปี้ยนชิพ
ที่สนามไตรกีฬาเมืองโคน่า ซึ่งกล่าวขานกันว่าถ้าไม่ใช่มืออาชีพหรือตัวจริง
ก็ยากยิ่งที่จะได้ไปย่างเหยียบสนามแห่งนี้...
สาววัยเลขสามนำหน้า ผู้หลงรักกีฬาเป็นชีวิตจิตใจ จากคนที่ไม่เคยสนใจเรื่องการออกกำลังกาย ชีวิตของเธอเริ่มเปลี่ยนไปจากการเริ่มเดินออกกำลังที่สวนสาธารณะ ก่อนจะขยับเลเวลขึ้นมาทีละขั้น จนกระทั่งย่างเท้าเข้าสู่เส้นทางของการแข่งขันกีฬาอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งการแข่งวิ่ง ไม่ว่าจะเป็น มินิมาราธอน ฮาร์ฟมาราธอน มาราธอน ไปจนถึงการแข่งไตรกีฬาที่ลองมาแล้วแทบจะทุกระยะ ไม่เว้นแม้กระทั่ง ระยะ Ironman ที่ว่าหินสุดๆ เธอก็เก็บมาแล้วถึง 15 สนาม
ร่ำลือกันว่า สนามการแข่งขันที่เมืองโคน่า (Kona) รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา คือสุดยอดแห่งสนามการแข่งขันไตรกีฬาที่นักกีฬาสาขานี้อยากจะไปเยือนสักครั้งในชีวิต และในวันที่ 11 ตุลาคมนี้ จะมีชื่อของหญิงไทยคนหนึ่งไปปรากฏตัวในสนามแห่งนี้
เธอคือ “น้ำเพชร พรธารักษ์เจริญ” หญิงไทยคนแรกที่ได้ไปเยือนสนามการแข่งขันระดับโลก สนามนี้ World Ironman Championship Kona Hawaii 2014...
• รู้สึกอย่างไรบ้างกับสถานะของการได้เป็นผู้หญิงไทยคนแรกที่ได้ไปแข่งไตรกีฬาที่สนามนี้ซึ่งร่ำลือกันว่า “หิน” ที่สุดสนามหนึ่ง
คือถ้าถามว่ามันเป็นความฝันของนักไตรกีฬาทุกคนไหม ตอบได้เลยว่ามันเป็นความฝันนะคะ มันไม่ใช่การแข่งที่ใครก็สามารถไปได้ หรือไม่ใช่แค่ว่าอยู่เฉยๆ จะไปแข่งได้เลย นักไตรกีฬาที่เล่นระยะ Ironman ทุกคนใฝ่ฝันที่จะไปแข่งในสนามนี้ให้ได้ในชีวิต เพราะต่อให้มีเงินแค่ไหน คุณก็ไปไม่ได้
• ทำไมถึงบอกว่า ต่อให้มีเงินแค่ไหน ก็ไปไม่ได้
คือสนามอื่นแค่มีเงินก็สมัครได้แล้วค่ะ (ยิ้ม) แค่สมัคร จ่ายเงิน แล้วก็จบ แต่สนามนี้คือ เมื่อก่อนนะ ถ้าคุณไม่ใช่คนที่เร็วที่สุด ไม่ใช่คนที่เก่งที่สุด มันก็ยากที่จะได้ไป แต่เดี๋ยวนี้ดีขึ้นมาหน่อยเพราะเขาจะมีโปรแกรมที่เรียกว่า “รอยัลตี้ โปรแกรม” (Royalty Program) สำหรับคนที่ไม่เร็วที่สุด แต่แข่งมาเยอะ ยังไงก็เล่นอยู่ กี่ปีก็ยังเล่นอยู่ นานแค่ไหนก็ยังเล่นอยู่ เขาก็ใช้รอยัลตี้ โปรแกรม เป็นการเสริมโอกาส ตอนนี้กลายเป็นว่าใครที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายว่าเร็วที่สุด ก็ต้องรีบแข่งให้ครบ 12 สนามเพื่อจะได้ไป แต่สุดท้ายก็อย่างที่บอกค่ะว่ามันเป็นสนามที่มีเงินก็ไปไม่ได้ ต้องไปโดยความสามารถหรือว่าใจรักเท่านั้น เพราะถ้าไม่มีคุณสมบัติข้างต้น จะไม่ได้ไปเลย
• ถามว่าสนาม Ironman ที่ Kona นี้สำคัญแตกต่างจากสนามอื่นอย่างไร
สนามนี้เป็นสนามระดับเวิลด์ แชมเปี้ยนชิป ที่จะเอามืออาชีพระดับโลกทุกคนมาแข่งกันเพื่อหาที่หนึ่งของมืออาชีพ เป็นที่หนึ่งของที่หนึ่งอีกที ทุกคนเลยอยากไปเพราะว่าจะได้แข่งสนามร่วมกับมืออาชีพด้วย อะไรแบบนี้ล่ะค่ะ (ยิ้ม)
• เราก็ฝันมาตั้งแต่แรกเลยหรือเปล่าว่าจะต้องไปแข่งที่สนามนี้ให้ได้
เมื่อก่อน สักประมาณเจ็ดปีจะไม่มีคำว่า “โคน่า” อยู่ในหัวเลย จะบอกกับเพื่อนอยู่ตลอดว่าไม่เป็นไรหรอก เราไม่ไปก็ได้ เราแค่ได้ไปแข่งตามที่ต่างๆ ก็พอ ถือว่าเป็นกำไรชีวิตแล้ว แต่โอกาสก็มาถึงเมื่อราวสามปีที่ผ่านมา มันกลายเป็นว่า Ironman เขาให้โอกาสมากขึ้นสำหรับคนที่มีใจรักแบบเรา คือแม้จะไม่เร็วที่สุด แต่เราก็ยังแข่งอยู่ เขาเลยให้โอกาสกับคนเหล่านี้ ด้วยการตั้งเกณฑ์ว่าใครที่แข่งมาครบ 12 สนามขึ้นไปแล้วแข่งจบทั้ง 12 สนาม จะมีโอกาสได้สมัคร ถัดจากนั้น เขาจะเอาไปคัดเลือกอีกที
• นานไหมกว่าจะได้รับการคัดเลือก
ทุกๆ ปี เราจะส่งใบสมัครทิ้งไว้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนของ ซึ่งเขาจะประกาศผลช่วงเดือนเมษายนของปีถัดมา กติกาคือเขาจะให้เราเขียนประวัติของตัวเองว่าเราเป็นยังไง เรารู้สึกยังไง ซึ่งตรงนั้นเราก็พยายามเขียนให้ดูน่าสนใจนิดนึง (หัวเราะ) ว่าเราเป็นคนไทยนะ เป็นผู้หญิงไทยคนแรกที่แข่งมาเยอะที่สุด แต่โดยเวลาหรือความเร็ว เราอาจไม่ได้เป็นคนที่เร็วมาก แต่เรามีใจรักและทำมาทุกปี นั่นคือเป้าหมายของเรา พอเมษายนที่ผ่านมา Ironman เขาประกาศมาว่าเราได้ไป ความรู้สึกตอนนั้นมันประทับใจมากๆ ว่า โอ้โห ในที่สุด เราก็จะได้ไปยืนอยู่ในสนามนี้แล้วนะ
• เหมือนพิชิตความฝันได้สำเร็จ
ใช่ค่ะ เพราะเราแข่ง Ironman มาเรื่อยๆ ปีหนึ่งจะพยายามสะสมให้ได้ 2 สนาม จะพยายามไปแข่งให้จบและครบ 12 สนามเพื่อจะไปที่โคน่าให้ได้ มีท้อนะ ส่วนใหญ่ที่ท้อแบบสุดๆ จะเกิดจากปัญหาส่วนตัวมากกว่า อย่างเช่นงานเยอะ ความกดดันหลายๆ อย่าง ทั้งจากคนรอบข้างว่าอันนี้ไม่ควรทำ อันนี้อย่าทำ ทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่อยากแข่ง เป็นช่วงจิตตกของชีวิตเลยก็ว่าได้
อุปสรรคอีกอย่างก็คือ มันไม่ใช่ว่าเราสามารถแข่งจนจบได้ทุกงานนะคะ เพราะแข่งไม่จบก็มี อย่างการวิ่ง ถ้าเรารู้ว่าวันนั้นๆ ร่างกายเราไม่พร้อมแล้ว เราก็จะหยุดตัวเอง ส่วนใหญ่งานที่ไม่จบจะเป็นงานที่เราอยากพักผ่อน ไม่ต้องการความรู้สึกที่ทำให้ตัวเองต้องหักโหมมากเกินไป อยากจะไปรีแลกซ์ แต่ถ้างานแข่งไหนที่ตั้งเป้าไว้แล้วว่าอันนี้ขอลองนะ อันนี้ต้องทำให้ได้ อันนี้อยากทำเวลาให้ออกมาดีที่สุด หรือว่าอันนี้อยากทำสักครั้งในชีวิต อย่างนั้นมันก็จะจบ
• การไปแข่ง Ironman ที่ Kona ต้องมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
เตรียมเยอะเลยค่ะ อย่างแรกคือการกิน เราต้องจดไว้เลยว่าวันที่เราซ้อม เรากินอะไร ถึงวันแข่งจริง เราก็ต้องกินอย่างนั้น เช่น วันซ้อม เรากินทุกสองชั่วโมง ถึงวันแข่ง เราก็ต้องกินทุกสองชั่วโมง เพราะถ้าผิดจากแผนไปปุ๊บ มันจะทำให้เกิดภาวะ อย่างเช่น อาจหมดแรงหรือเป็นตะคริวเพราะมันเป็นการแข่งที่ยาวนาน ก่อนวันแข่ง เรากินคาร์โบไฮเดรตให้เยอะที่สุดเพื่อให้วันแข่งจะได้มีแรงพอ ส่วนหลังแข่งจะกินพวกโปรตีนเพื่อซ่อมแซมและฟื้นตัวกล้ามเนื้อให้เร็วที่สุด อีกอย่างต้องวางแผนว่ากี่กิโลเมตรเราจะต้องกิน
สองคือการนอน บางคนทานยาเพื่อให้หลับก็มี เพราะตื่นเต้นมากแล้วมักจะนอนไม่หลับ ต้องพยายามนอนหลับให้เยอะที่สุด เรื่องชุดที่จะใส่แข่งก็เช่นกัน เราต้องดูสภาพอากาศของที่นั้นๆ ด้วย รองเท้าวิ่ง ต้องใส่คู่ไหน รองเท้าจักรยานต้องใส่คู่ไหน ล้อจักรยานต้องล้อแบบไหน ทุกอย่างต้องเลือกให้เป๊ะเลย
• สุดท้าย เราวางความฝันไว้อย่างไรบ้างบนเส้นทางสายนี้
ส่วนตัวเราชอบความท้าทาย อะไรที่รู้สึกว่ามันน่าลอง จะอยากลอง ต้องไปลองด้วยตัวเอง ปีหน้าก็จะครบ 10 ปีแล้วกับเส้นทางการแข่งไตรกีฬาระยะ Ironman ตอนนี้เก็บมาแล้ว 15 สนาม ซึ่งโคน่าจะเป็นสนามที่ 16 ความฝันต่อไปจากโคน่า คือการไปแข่งวิ่ง 100 ไมล์ที่มองบลังค์ (ยอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป) ซึ่งก็ต้องเริ่มเก็บคะแนนอีกครั้ง คือต้องผ่านการวิ่ง 100 กิโลเมตรทั้งหมด 3 สนาม ถึงจะมีสิทธิ์สมัครได้ ตอนนี้ผ่านไปแล้ว 1 สนาม แต่ต้องรอกลับจากโคน่าก่อน เพราะตอนนี้ พลังงานทั้งหมดทุ่มไปกับงานที่โคน่าอย่างเดียวเลย หลังจากนั้น เราค่อยมาว่ากันอีกที (ยิ้ม) ส่วน Ironman จะทิ้งไหม ก็คงยังไม่ทิ้ง เพราะมันก็ยังสวยงามน่าเล่นอยู่ แต่จะเปลี่ยนให้เอ็กซ์ตรีมมากยิ่งขึ้น
• เคยมีความคิดว่าอยากจะหยุดเล่นไหม
เคยคิดนะคะว่าอายุเท่าไหร่ ถึงจะเลิกเล่น แต่ล่าสุด ตอนไปแข่งที่ลังกาวี เราได้เจอคุณลุงท่านหนึ่งอายุ 77 ปี แกยังทำได้อยู่เลย เราเลยคิดว่าถ้าอย่างนั้น เราอย่าไปกะเกณฑ์อะไรให้ชีวิตเลยดีกว่า ปล่อยให้มันดำเนินไป ถ้าเรามีความสุขเราก็ทำ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราคิดว่ามันไม่ใช่แล้วก็ค่อยว่ากันอีกที ถามว่าเราจะทิ้งกีฬาไหม เราคงไม่ทิ้ง เพราะสิ่งนี้มันคือชีวิตของเราไปแล้ว จะให้แยกจากกันตอนนี้ มันแยกไม่ได้แล้ว กีฬากับเรามันอยู่ด้วยกันไปแล้ว ก่อนที่เราจะทำอะไรแต่ละอย่าง เราจะใส่การออกกำลังกายเข้าไปในชีวิตของเราเสมอ จะยุ่งขนาดไหน มันก็จะอยู่ในตารางชีวิตของเราเสมอ ไม่ทำอะไรอื่นๆ ได้นะ แต่ไม่ออกกำลังกายนี่ไม่ได้เลย
รู้ไว้ใช่ว่า
ไตรกีฬาคืออะไร
ไตรกีฬาประกอบไปด้วยว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน และวิ่ง ซึ่งไตรกีฬามีหลายระยะ จะมีตั้งแต่ระยะ sprint distance ว่ายน้ำ 0.75 กิโลเมตรปั่นจักรยาน 20 กิโลเมตร วิ่ง 5 กิโลเมตร olympic หรือ standard distance ว่ายน้ำ1.5 กิโลเมตร ปั่นจักรยาน40กิโลเมตร วิ่ง10 กิโลเมตรhalf ironman หรือ 70.3 ว่ายน้ำ 1.9 กิโลเมตร ปั่นจักรยาน 90 กิโลเมต รวิ่ง 21 กิโลเมตร และระยะ Ironman ว่ายน้ำ 3.8 กิโลเมตรปั่นจักรยาน 180 กิโลเมตร วิ่ง 42 กิโลเมตร ซึ่ง Ironman ถือได้ว่าขั้นที่หินที่สุดของกีฬานี้
เรื่อง : วรัญญา งามขำ
ภาพ : ศิวกร เสนสอน