คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1. รัฐบาลจับมือ ส.ว.เลือกตั้ง เสนอร่างแก้ รธน.รายมาตราเข้าสภา ด้านกลุ่ม 40 ส.ว.ซัด ผลประโยชน์ขัดกัน เตรียมยื่นศาล รธน. ตีความ!
สัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลและ ส.ว.เลือกตั้งประมาณ 60 คน ได้ผนึกกำลังกันเดินหน้าให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา โดยเมื่อวันที่ 18 มี.ค. นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี แถลงว่า รัฐบาลและ ส.ว.60 คน ได้ร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราใน 3 ประเด็น โดยจะยื่นร่างแก้ไขแยกเป็น 3 ร่าง ร่างละ 1 ประเด็น คือ 1.แก้ไขมาตรา 237 (ให้ยกเลิกการยุบพรรคและการตัดสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค 5 ปี) รวมทั้งจะแก้ไขมาตรา 68 (ประชาชนที่พบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ให้ยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุดได้เพียงหน่วยงานเดียว ไม่สามารถยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป) 2.แก้ไขมาตรา 190 (สัญญาระหว่างประเทศที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา จะแก้ไขให้ผ่อนคลายมากขึ้น) 3.แก้ไขมาตรา 117 เรื่องที่มาของ ส.ว.โดยจะให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ไม่ต้องมี ส.ว.สรรหา
ทั้งนี้ ส.ส.พรรคเพื่อไทย-พรรคชาติไทยพัฒนา-พรรคพลังชล และ ส.ว.60 คนดังกล่าว ได้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาเมื่อวันที่ 20 มี.ค. ซึ่งนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี กล่าวหลังยื่นว่า คาดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราจะแล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค.นี้ ส่วนกรณีที่มีการแยกกันยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดย ส.ว.ยื่นในสิ่งที่ ส.ส.ต้องการ เช่น มาตรา 68 และมาตรา 237 ขณะที่ ส.ส.ก็ยื่นในสิ่งที่ ส.ว.ต้องการ คือเรื่องที่มาของ ส.ว.นั้น นายดิเรก บอกว่า เพื่อป้องกันการถูกตีความเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน
ด้านนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ในฐานะวิปรัฐบาล ยอมรับว่า หากสามารถแก้ไขมาตรา 68 ได้สำเร็จ จะทำให้โอกาสในการพิจารณาการแก้ไขมาตรา 291 ซึ่งอยู่ระหว่างรอโหวตในวาระ 3 สามารถดำเนินการได้ด้วยความชอบธรรม
ขณะที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ซึ่งอยู่ในกลุ่ม 40 ส.ว. ชี้ว่า การยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราของกลุ่ม ส.ส.และ ส.ว.ดังกล่าว อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 ว่าด้วยการทำหน้าที่ที่ต้องปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ โดยเฉพาะมาตรา 68 ที่แก้เพื่อเปิดช่องให้มีการเดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อเปิดทางให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) เข้ามายกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับได้ โดยการลดอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ขณะที่การแก้ไขให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด จะส่งผลให้ ส.ว.ที่ได้ เป็น ส.ว.ของพรรครัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ เท่ากับเปิดทางให้มีการถอดถอนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระได้ โดยเฉพาะ ป.ป.ช.ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาล ดังนั้นการแก้รัฐธรรมนูญ 2 มาตราดังกล่าว จึงสร้างประโยชน์ให้กับรัฐบาล ทั้งนี้ กลุ่ม 40 ส.ว.ยืนยันว่า จะคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราครั้งนี้ และหากผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาเมื่อใด จะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยทันที
เป็นที่น่าสังเกตว่า เริ่มมี ส.ว.บางคนขอถอนชื่อจากการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราแล้ว เช่น นายนิรันดร์ ประดิษฐกุล ,นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ ,นายจารุพงศ์ จีนาพันธ์ ส.ว.สรรหา ฯลฯ โดยให้เหตุผลว่า ไม่ทราบมาก่อนว่ามีการเสนอแก้ไขมาตรา 68 ด้วย และคิดว่าการแก้ไขให้ประชาชนยื่นเรื่องที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองต่ออัยการสูงสุดแค่ช่องทางเดียว ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะอัยการสูงสุดมีแค่คนเดียว แต่ศาลรัฐธรรมนูญมี 9 คน จึงเห็นว่าการยื่นได้ 2 ทาง ดีอยู่แล้ว
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงท่าทีคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราครั้งนี้เช่นกัน โดยเฉพาะมาตรา 68 และมาตรา 190 อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้บรรจุเรื่องการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ร่างที่ ส.ส.พรรครัฐบาล และ ส.ว.ร่วมกันยื่น เข้าสู่วาระการประชุมแล้วในวันที่ 1-2 เม.ย.นี้
2. สะพัด พท.ผวาปมปล่อยกู้ 30 ล้าน ทำ “ยิ่งลักษณ์” หลุดเก้าอี้นายกฯ - บีบ “เกษม” ลาออก ส.ส.เชียงใหม่ ดัน “เยาวภา” เสียบแทน ปูทางนายกฯ สำรอง!
สัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวแพร่สะพัดว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) กรณีระบุว่าให้บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด ของนายอนุสรณ์ อมรฉัตร สามีนอกสมรส กู้ยืมเงิน 30 ล้านบาท โดยให้กู้ 3 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 6 ต.ค.2549 จำนวน 20 ล้านบาท ครั้งที่สอง วันที่ 9 มี.ค.2550 จำนวน 5 ล้านบาท และครั้งที่สาม วันที่ 13 มี.ค.2550 อีก 5 ล้านบาท แต่จากการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของนายอนุสรณ์ ไม่ได้แจ้งต่อ ป.ป.ช.ว่า ได้กู้ยืมเงิน 30 ล้านบาทจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่แจ้งว่า ได้กู้ยืมเงินจากบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด โดยทำสัญญาเมื่อวันที่ 25 มี.ค.2551 เป็นเงินกว่า 369 ล้านบาท
ด้านนายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการและโฆษก ป.ป.ช.ได้ออกมาชี้แจงเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 มี.ค.ว่า เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ยังไม่ได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้ง 9 คนพิจารณา พร้อมย้ำว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงการตรวจสอบตามขั้นตอนปกติ ไม่ใช่การตรวจสอบเชิงลึกที่ต้องใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการแต่อย่างใด “กรณีนี้เป็นการตรวจสอบเพื่อยืนยันข้อมูล เพราะนายกรัฐมนตรีได้ยื่นเอกสารมาทั้งหมด ซึ่งมีประเด็นที่ต้องตรวจสอบอยู่ 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่ยื่นมาแล้วและมีการให้กู้กัน 3 ครั้ง ต้องดูว่ารอบระยะบัญชีของบริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ นั้นได้กำหนดเอาไว้ตั้งแต่เมื่อไรถึงเมื่อไร และรอบระยะบัญชีดังกล่าวนั้น อยู่ในช่วงที่มีการให้กู้ยืมเงินหรือไม่ ถ้าอยู่ ได้มีการไว้ในบัญชีงบดุลของบริษัทหรือไม่”
ส่วนอีกประเด็น คือ เรื่องดอกเบี้ย เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่นายกฯ และบริษัทแจ้ง ไม่เท่ากัน โดยนายกฯ แจ้งว่า คิดอัตราดอกเบี้ยตามเงินฝากประจำของธนาคารกรุงไทยที่ 1% ขณะที่งบดุลของบริษัทฯ แจ้งว่า คิดอัตราดอกเบี้ยที่ 2.50-3.75% ต่อปี ซึ่งเจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างตรวจสอบเรื่องนี้ หากพบว่ามีความผิดปกติ จะเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช.ต่อไป นายกล้านรงค์ บอกด้วยว่า “ในขั้นตอนนี้ ยังไม่จำเป็นต้องเรียกนายกฯ มาชี้แจง เพราะอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลเท่านั้น เว้นเสียแต่ว่าหากในอนาคต เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า มีความผิดปกติ คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะนำมาพิจารณาต่อไป ซึ่งคาดว่าไม่น่าจะเกินภายใน 2 สัปดาห์”
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังมีข่าว ป.ป.ช.กำลังสอบเรื่องการปล่อยกู้ 30 ล้านบาทของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่าเข้าข่ายแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเท็จหรือไม่ ปรากฏว่ามีข่าวแพร่สะพัดว่า พรรคเพื่อไทยได้ตั้งรับด้วยการวางตัวนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ พี่สาว น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นนายกฯ สำรอง หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์เกิดอุบัติเหตุทางการเมือง ซึ่งข่าววางตัวนางเยาวภาเป็นนายกฯ สำรอง ก็สอดรับกับที่นายเกษม นิมมลรัตน์ ส.ส.เชียงใหม่ เขต 3 พรรคเพื่อไทย ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส.โดยอ้างว่าสุขภาพไม่ดี และต้องการทำงานท้องถิ่น ถนัดงานท้องถิ่นมากกว่า ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า การลาออกของนายเกษมเพื่อเปิดทางให้นางเยาวภา ลงสมัคร ส.ส.แทน และแม้พรรคเพื่อไทยจะพยายามปฏิเสธว่าการลาออกของนายเกษมไม่ใช่เพื่อเปิดทางให้นางเยาวภา แต่พรรคเพื่อไทยก็มีมติส่งนางเยาวภาลงสมัคร ส.ส.เชียงใหม่แทนนายเกษม
ด้านนายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ด้านบริหารงานเลือกตั้ง พูดถึงกรณีที่หลายฝ่ายมองว่า ผู้ที่ลาออกจาก ส.ส.ควรจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งซ่อมว่า ได้เสนอ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ต่อสภาไปแล้วเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา โดยแก้ไขเพิ่มเติมว่า ผู้ที่ต้องการลาออกไปลงสมัครในตำแหน่งอื่นจะต้องออกค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งซ่อมด้วย ไม่ทราบว่าจะได้ผลตอบรับจากผู้ที่อยู่ในสภาหรือไม่ ทั้งนี้ กกต.กำหนดให้วันที่ 21 เม.ย.เป็นวันเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เชียงใหม่ เขต 3 และเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 12 เม.ย.
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พูดถึงกรณี ป.ป.ช.กำลังตรวจสอบการปล่อยกู้ 30 ล้านขอบตนว่า ได้ส่งข้อมูลให้แก่ ป.ป.ช.ตามข้อเท็จจริงตามขั้นตอนทั้งหมดแล้ว ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นห่วงว่าจะเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกว่า หวังว่า ป.ป.ช.จะให้ความยุติธรรมและเป็นธรรมแก่ตน
3. ประธาน กกต.กทม. เฉลยข่าวใหญ่ รับสอบ “ยิ่งลักษณ์” ช่วย “พงศพัศ” หาเสียงเขตทหาร ชี้ โทษถึงขั้นหลุดนายกฯ ขณะที่ “สุขุมพันธุ์-แกนนำ ปชป.” โทษถึงขั้นยุบพรรค!
ตามที่ พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธาน กกต.กทม.ได้บอกกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 14 มี.ค.ว่า ให้มาทำข่าวการประชุม กกต.กทม.ในวันที่ 20 มี.ค. กันให้มากๆ เพราะจะมีข่าวพาดหัวหน้า 1 นั้น ปรากฏว่า เมื่อถึงกำหนด พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ได้แถลงหลังประชุม กกต.กทม.ว่า ขณะนี้มีเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ทั้งหมด 24 คำร้อง ไม่รับคำร้อง 12 คำร้อง ,เสนอให้ กกต.กลางพิจารณาแล้ว 2 คำร้อง อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อพิจารณาว่าจะรับคำร้องหรือไม่ 7 คำร้อง ส่วนที่เหลืออีก 2 คำร้อง ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์รับเป็นคำร้องคัดค้าน โดยเป็นคำร้องของนายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน ร้องขอให้ตรวจสอบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบช่วย พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย หาเสียงที่กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
ส่วนอีกคำร้องเป็นของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา และนายวิญญัติ ชาติมนตรี ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย ซึ่งยื่นคำร้องประเด็นใกล้เคียงกัน กรณี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร พร้อมด้วยแกนนำพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) เช่น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ,นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ,นายกรณ์ จาติกวณิช ,นายอิสสระ สมชัย ทำผิด พ.ร.บ.เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นฯ และปราศรัยจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าใจผิดในคะแนนนิยมต่อผู้สมัครอื่น
ทั้งนี้ พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ เผยว่า กกต.กทม.ยังมีเวลาสืบสวนทั้ง 2 คำร้อง ก่อนจะเสนอไปยัง กกต.กลางภายในวันที่ 2 เม.ย.นี้ และว่า หากตรวจสอบแล้วพบว่า ทั้ง 2 กรณีผิดจริง จะมีโทษตามมาตรา 118 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นฯ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี ดังนั้น หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์มีความผิดและถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง จะพ้นจากสมาชิกภาพ ส.ส.และส่งผลต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย ส่วน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ หากผิดจริง จะเข้าข่ายความผิดฐานยุบพรรคและอาจถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี ตามมาตรา 104 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมืองด้วย
ส่วนที่มีข่าวว่า พล.ต.ท.ทวีศักดิ์จะลาออกจากตำแหน่งประธาน กกต.กทม.นั้น พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ยืนยันว่า ไม่มีคำว่าลาออก เพราะ กกต.กทม.มีการตกลงกันภายในว่าจะสลับกันขึ้นทำหน้าที่ประธาน โดยเดือน เม.ย.นี้ นายสุพจน์ ไพบูลย์ กกต.กทม.จะขึ้นมารับหน้าที่ประธาน กกต.กทม.แทน
4. “ตอบโจทย์ฯ” พ่นพิษ “ประยุทธ์” ไล่คนอึดอัดสถาบันฯ ไปอยู่ที่อื่น ด้าน ตร.ชี้ เนื้อหารายการส่อผิด กม.อาญา!
หลังจากสถานีโทรทัศน์องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย(ไทยพีบีเอส) ได้ชะลอการออกอากาศเทปรายการ “ตอบโจทย์ประเทศไทย” ตอน “สถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ” ตอนที่ 5 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายที่มีกำหนดอากาศเมื่อวันที่ 15 มี.ค. โดยตอนดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นต่อเนื่องจากวันที่ 14 มี.ค. ระหว่างนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็น 1 ในนักวิชาการที่เคลื่อนไหวให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ นักคิดนักเขียนชื่อดัง ซึ่งนายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการไทยพีบีเอส ได้ออกแถลงการณ์ถึงเหตุผลที่ต้องชะลอการออกอากาศว่า เนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียดจากกรณีที่มีประชาชนกลุ่มหนึ่งเดินทางมาเรียกร้องให้ยุติการออกอากาศรายการดังกล่าว ดังนั้นจึงต้องชะลอออกอากาศเพื่อความปลอดภัยของพนักงานและผู้บริหาร จากนั้นวันที่ 16 มี.ค. นายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ผู้ดำเนินรายการตอบโจทย์ฯ ได้แสดงความไม่พอใจด้วยการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ประกาศยุติการทำรายการตอบโจทย์ตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป โดยอ้างว่า มีการข่มขู่ คุกคาม และแทรกแซงการทำงานจากภายใน และเพื่อแสดงออกว่าไม่เห็นด้วยกับการที่สถานียุติการออกอากาศตอบโจทย์ฯ ตอน 5
อย่างไรก็ตาม 3 วันให้หลัง(18 มี.ค.) คณะกรรมการนโยบายของไทยพีบีเอส ได้ออกแถลงการณ์ว่า คณะอนุกรรมการรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากประชาชนได้วินิจฉัยแล้วว่า การชะลอการออกอากาศรายการดังกล่าว ถือว่าผิดข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมของวิชาชีพเกี่ยวกับการผลิตและเผยแพร่รายการ พ.ศ.2552 ที่กำหนดว่า “ผู้บริหารและพนักงานต้องเป็นอิสระอย่างแท้จริงจากรัฐบาล กลุ่มและพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มเคลื่อนไหวกดดัน...” ดังนั้นคณะอนุกรรมการฯ จึงเห็นสมควรให้มีการเยียวยาผู้ชมรายการ ด้วยการออกอากาศรายการดังกล่าวโดยเร็ว จากนั้นทางสถานีได้นำเทปรายการตอบโจทย์ฯ ตอน 5 มาออกอากาศทันที
ทั้งนี้ ก่อนจะออกอากาศ นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผอ.ไทยพีบีเอส ได้ชี้แจงเหตุผลที่ต้องนำประเด็น “สถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ” มานำเสนอว่า เนื่องด้วยขณะนี้ประเด็นมาตรา 112 เป็นที่ถกเถียงกันมากในโซเชียลเน็ตเวิร์ก หากไม่พูดให้กระจ่างและตรวจสอบได้จะเป็นอันตราย การนำผู้ที่เห็นว่าจะต้องแก้ไขเรื่องนี้มาเสนอในที่สว่าง และเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นโต้แย้งกัน จะทำให้สังคมเกิดความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งเหตุผลของนายสมชัย สอดคล้องกับที่นายภิญโญ ไตรสุริยธรรมดา ผู้ดำเนินรายการตอบโจทย์ฯ ได้ประกาศก่อนหน้านี้
แต่ดูเหมือนสถานการณ์จะไม่เป็นอย่างที่นายสมชัยและนายภิญโญคาด เพราะได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไทยพีบีเอสอย่างมากที่นำเทปรายการตอบโจทย์ฯ ตอน 5 มาออกอากาศ นอกจากนี้ยังมีประชาชนหลายกลุ่มที่ไม่พอใจ เดินทางไปยื่นหนังสือให้ไทยพีบีเอสแสดงความรับผิดชอบด้วย เช่น กลุ่มประชาชนทนไม่ไหว และกลุ่มเสื้อหลากสี ด้านผู้บริหารไทยพีบีเอส ได้ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมรับปากจะนำข้อร้องเรียนทุกข้อเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการที่มีอำนาจตรวจสอบต่อไป
ขณะที่การประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 19 มี.ค. ก็ได้มีการหารือเกี่ยวกับรายการตอบโจทย์ฯ โดยกลุ่ม 40 ส.ว.ระบุว่า เนื้อหารายการดังกล่าวเข้าข่ายผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ก็ไม่เห็นด้วยกับเนื้อหารายการตอบโจทย์ฯ เช่นกัน ถึงกับประกาศว่า ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เมื่อคนส่วนใหญ่รักสถาบันพระมหากษัตริย์ คนส่วนน้อยก็ต้องยอมรับ หากคิดว่าอยู่เมืองไทยแล้วอึดอัดที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์และมีกฎหมายคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็ขอให้ไปอยู่ที่อื่น
ขณะที่นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกอาการร้อนตัวและไม่พอใจคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จึงได้โพสต์บทกลอนภาษาอังกฤษลงในเฟซบุ๊กในลักษณะเหน็บแนม พล.อ.ประยุทธ์และกระทบชิ่งสถาบัน โดยใช้ชื่อว่า “I AM UD-AD MAN” (ฉันเป็นมนุษย์อึดอัด) ซึ่งต่อมานายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้แปลบทกลอนดังกล่าวเป็นภาษาไทย พร้อมชมว่านายเกษียรเขียนได้ดีและมันส์มาก ตัวอย่างเช่น “...ฉันเป็นมนุษย์อึดอัด ท่านนายพลหวังจะเตะฉันออกไปจากแผ่นดินนี้ เพียงเพราะฉันคิดต่างออกไป... ฉันเป็นมนุษย์อึดอัด เกิดและโตในประเทศไทยแลนด์ ดินแดนอึดอัด นี่เป็นดินแดนเสรีชน ตราบเท่าทีทุกคน ปิดปาก ปิดหู ปิดตา นี่คือแดนอึดอัด ทนไปเหอะถ้าทนได้ ที่นี่ความรักเป็นเรื่องบังคับ และความเกลียดชังมีไว้แจกกันง่ายๆ เหลือเฟือ ความอึดอัดจงเจริญ คิดต่างออกไป คุณอาจม่องเท่ง อึดอัดเป็นเอกลักษณ์ชาติไทย เสรีภาพเป็นความชั่วของฝรั่ง”
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ออกมาแสดงท่าทีต่อรายการตอบโจทย์ฯ ปรากฏว่า ทาง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ก็มีท่าทีต่อเรื่องนี้เช่นกัน โดยบอกว่า ได้ให้ตำรวจสันติบาลและฝ่ายกฎหมายไปถอดเทปเนื้อหารายการทั้งหมดเพื่อพิจารณาว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ คาดว่าจะใช้เวลา 2-3 วัน
ซึ่งต่อมา พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยว่า จากการตรวจสอบเทปรายการตอบโจทย์ฯ ตอนที่ 4 และ 5 พบว่า ถ้อยคำบางช่วงบางตอนของผู้เข้าร่วมรายการเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญา “พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.จึงมีคำสั่งตั้งพนักงานสืบสวนสอบสวน มี พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร ที่ปรึกษา (สบ.10) ฝ่ายกฎหมาย เป็นหัวหน้า พร้อมกำชับทุกสถานีตำรวจทั่วประเทศรับแจ้งความ หากมีผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ก็ให้ดำเนินการสอบสวน”
ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเห็นด้วยกับคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ออกมาปกป้องสถาบันและไล่คนที่รู้สึกอึดอัดกับการมีสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ไปอยู่ที่อื่น “ผมเห็นด้วยที่ พล.อ.ประยุทธ์ออกมาให้สัมภาษณ์ จะไปทำให้บ้านเมืองวุ่นวายทำไม อยู่มากี่ร้อยกี่พันปี...ถ้าอยู่ไม่ได้ก็ไปอยู่ที่อื่น มันจะคิดเรื่องนี้ทำไม บ้านเมืองมันต้องปรองดอง ต้องอยู่กันอย่างสงบสุข...”
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ได้แสดงท่าทีใดใดต่อรายการตอบโจทย์ฯ โดยบอกเพียงว่า ให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องนี้นำข้อมูลต่างๆ ไปพิจารณาก่อน
5. ครม.ไฟเขียว พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านแล้ว ด้านสภาเตรียมพิจารณา 28-29 มี.ค. ขณะที่ 40 ส.ว.ชี้ ส่อขัด รธน. เล็งยื่นศาลฯ ตีความ!
เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ โดยกฎหมายฉบับนี้ให้กระทรวงการคลังสามารถกู้เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศมาลงทุนในโครงการต่างๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์และแผนงานที่กำหนดไว้ในบัญชีท้าย พ.ร.บ.ในวงเงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท ภายในวันที่ 31 ธ.ค.2563
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยหลังประชุม ครม. โดยยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนี้ เป็นกฎหมายที่ช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจและสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน พร้อมย้ำ จะไม่ทำให้ระดับหนี้สาธารณะของประเทศในอนาคตเกินกว่า 50% ของจีดีพี “จะจัดหาแหล่งเงินทุนภายในประเทศ โดยรัฐบาลสามารถชำระหนี้เงินกู้ได้ตามแผนที่กำหนดไว้ภายใน 50 ปี หรือภายในครึ่งศตวรรษ”
นายกิตติรัตน์ ยังพูดถึงโครงการที่จะดำเนินการตามร่าง พ.ร.บ.กู้เงินฉบับนี้ด้วยว่า แบ่งเป็น 3 กลุ่มยุทธศาสตร์หลัก คือ 1.ยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า วงเงินกว่า 3.5 แสนล้านบาท 2.ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน วงเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท 3.ยุทธศาสตร์พัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว วงเงิน 5.9 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ หลังรัฐบาลเสนอร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านให้ประธานสภาฯ บรรจุเข้าวาระการประชุม ปรากฏว่า ได้ข้อยุติแล้วว่า จะมีการประชุมสภานัดพิเศษเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กู้เงินในวันที่ 28-29 มี.ค. ตั้งแต่เวลา 09.30น.-22.00น. โดยให้ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านอภิปรายฝ่ายละ 12 ชั่วโมง และจะถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ด้วย
ด้านนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ชี้ว่า ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านอาจขัดรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญระบุชัดเจนว่า รายจ่ายของรัฐต้องออกเป็น พ.ร.บ.งบประมาณ ซึ่งเงินกู้ 2 ล้านล้านเป็นรายจ่ายที่ชัดเจน แต่รัฐบาลกลับไม่นำเข้าเป็นระบบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 หากกู้มาจริง 2 ล้านล้านบาท คาดว่าจะต้องใช้หนี้หมดภายใน 50 ปี ซึ่งเป็นเวลาที่ยาวนาน เป็นการทิ้งภาระหนี้สินไว้ให้กับลูกหลานและรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารงานต่อ
ขณะที่กลุ่ม 40 ส.ว.ก็เห็นว่าร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านน่าจะขัดรัฐธรรมนูญเช่นกัน ดังนั้นจะมีการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าร่างดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 วรรค 1 หรือไม่ หลังร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านผ่านสภาแล้ว
ทั้งนี้ ได้มีกลุ่มชาวไทยหัวใจรักสงบ นำโดยนางกาญจนี วัลยะเสวี เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้สอบสวนกรณี ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทแล้ว เนื่องจากเห็นว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักการจัดทำงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน ที่ต้องทำในรูป พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี การปฏิบัติหน้าที่ของ ครม. และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง จึงเข้าข่ายไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ พร้อมขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป หากพบว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ
1. รัฐบาลจับมือ ส.ว.เลือกตั้ง เสนอร่างแก้ รธน.รายมาตราเข้าสภา ด้านกลุ่ม 40 ส.ว.ซัด ผลประโยชน์ขัดกัน เตรียมยื่นศาล รธน. ตีความ!
สัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลและ ส.ว.เลือกตั้งประมาณ 60 คน ได้ผนึกกำลังกันเดินหน้าให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา โดยเมื่อวันที่ 18 มี.ค. นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี แถลงว่า รัฐบาลและ ส.ว.60 คน ได้ร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราใน 3 ประเด็น โดยจะยื่นร่างแก้ไขแยกเป็น 3 ร่าง ร่างละ 1 ประเด็น คือ 1.แก้ไขมาตรา 237 (ให้ยกเลิกการยุบพรรคและการตัดสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค 5 ปี) รวมทั้งจะแก้ไขมาตรา 68 (ประชาชนที่พบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ให้ยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุดได้เพียงหน่วยงานเดียว ไม่สามารถยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป) 2.แก้ไขมาตรา 190 (สัญญาระหว่างประเทศที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา จะแก้ไขให้ผ่อนคลายมากขึ้น) 3.แก้ไขมาตรา 117 เรื่องที่มาของ ส.ว.โดยจะให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ไม่ต้องมี ส.ว.สรรหา
ทั้งนี้ ส.ส.พรรคเพื่อไทย-พรรคชาติไทยพัฒนา-พรรคพลังชล และ ส.ว.60 คนดังกล่าว ได้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาเมื่อวันที่ 20 มี.ค. ซึ่งนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี กล่าวหลังยื่นว่า คาดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราจะแล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค.นี้ ส่วนกรณีที่มีการแยกกันยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดย ส.ว.ยื่นในสิ่งที่ ส.ส.ต้องการ เช่น มาตรา 68 และมาตรา 237 ขณะที่ ส.ส.ก็ยื่นในสิ่งที่ ส.ว.ต้องการ คือเรื่องที่มาของ ส.ว.นั้น นายดิเรก บอกว่า เพื่อป้องกันการถูกตีความเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน
ด้านนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ในฐานะวิปรัฐบาล ยอมรับว่า หากสามารถแก้ไขมาตรา 68 ได้สำเร็จ จะทำให้โอกาสในการพิจารณาการแก้ไขมาตรา 291 ซึ่งอยู่ระหว่างรอโหวตในวาระ 3 สามารถดำเนินการได้ด้วยความชอบธรรม
ขณะที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ซึ่งอยู่ในกลุ่ม 40 ส.ว. ชี้ว่า การยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราของกลุ่ม ส.ส.และ ส.ว.ดังกล่าว อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 ว่าด้วยการทำหน้าที่ที่ต้องปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ โดยเฉพาะมาตรา 68 ที่แก้เพื่อเปิดช่องให้มีการเดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อเปิดทางให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) เข้ามายกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับได้ โดยการลดอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ขณะที่การแก้ไขให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด จะส่งผลให้ ส.ว.ที่ได้ เป็น ส.ว.ของพรรครัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ เท่ากับเปิดทางให้มีการถอดถอนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระได้ โดยเฉพาะ ป.ป.ช.ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาล ดังนั้นการแก้รัฐธรรมนูญ 2 มาตราดังกล่าว จึงสร้างประโยชน์ให้กับรัฐบาล ทั้งนี้ กลุ่ม 40 ส.ว.ยืนยันว่า จะคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราครั้งนี้ และหากผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาเมื่อใด จะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยทันที
เป็นที่น่าสังเกตว่า เริ่มมี ส.ว.บางคนขอถอนชื่อจากการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราแล้ว เช่น นายนิรันดร์ ประดิษฐกุล ,นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ ,นายจารุพงศ์ จีนาพันธ์ ส.ว.สรรหา ฯลฯ โดยให้เหตุผลว่า ไม่ทราบมาก่อนว่ามีการเสนอแก้ไขมาตรา 68 ด้วย และคิดว่าการแก้ไขให้ประชาชนยื่นเรื่องที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองต่ออัยการสูงสุดแค่ช่องทางเดียว ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะอัยการสูงสุดมีแค่คนเดียว แต่ศาลรัฐธรรมนูญมี 9 คน จึงเห็นว่าการยื่นได้ 2 ทาง ดีอยู่แล้ว
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงท่าทีคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราครั้งนี้เช่นกัน โดยเฉพาะมาตรา 68 และมาตรา 190 อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้บรรจุเรื่องการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ร่างที่ ส.ส.พรรครัฐบาล และ ส.ว.ร่วมกันยื่น เข้าสู่วาระการประชุมแล้วในวันที่ 1-2 เม.ย.นี้
2. สะพัด พท.ผวาปมปล่อยกู้ 30 ล้าน ทำ “ยิ่งลักษณ์” หลุดเก้าอี้นายกฯ - บีบ “เกษม” ลาออก ส.ส.เชียงใหม่ ดัน “เยาวภา” เสียบแทน ปูทางนายกฯ สำรอง!
สัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวแพร่สะพัดว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) กรณีระบุว่าให้บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด ของนายอนุสรณ์ อมรฉัตร สามีนอกสมรส กู้ยืมเงิน 30 ล้านบาท โดยให้กู้ 3 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 6 ต.ค.2549 จำนวน 20 ล้านบาท ครั้งที่สอง วันที่ 9 มี.ค.2550 จำนวน 5 ล้านบาท และครั้งที่สาม วันที่ 13 มี.ค.2550 อีก 5 ล้านบาท แต่จากการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของนายอนุสรณ์ ไม่ได้แจ้งต่อ ป.ป.ช.ว่า ได้กู้ยืมเงิน 30 ล้านบาทจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่แจ้งว่า ได้กู้ยืมเงินจากบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด โดยทำสัญญาเมื่อวันที่ 25 มี.ค.2551 เป็นเงินกว่า 369 ล้านบาท
ด้านนายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการและโฆษก ป.ป.ช.ได้ออกมาชี้แจงเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 มี.ค.ว่า เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ยังไม่ได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้ง 9 คนพิจารณา พร้อมย้ำว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงการตรวจสอบตามขั้นตอนปกติ ไม่ใช่การตรวจสอบเชิงลึกที่ต้องใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการแต่อย่างใด “กรณีนี้เป็นการตรวจสอบเพื่อยืนยันข้อมูล เพราะนายกรัฐมนตรีได้ยื่นเอกสารมาทั้งหมด ซึ่งมีประเด็นที่ต้องตรวจสอบอยู่ 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่ยื่นมาแล้วและมีการให้กู้กัน 3 ครั้ง ต้องดูว่ารอบระยะบัญชีของบริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ นั้นได้กำหนดเอาไว้ตั้งแต่เมื่อไรถึงเมื่อไร และรอบระยะบัญชีดังกล่าวนั้น อยู่ในช่วงที่มีการให้กู้ยืมเงินหรือไม่ ถ้าอยู่ ได้มีการไว้ในบัญชีงบดุลของบริษัทหรือไม่”
ส่วนอีกประเด็น คือ เรื่องดอกเบี้ย เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่นายกฯ และบริษัทแจ้ง ไม่เท่ากัน โดยนายกฯ แจ้งว่า คิดอัตราดอกเบี้ยตามเงินฝากประจำของธนาคารกรุงไทยที่ 1% ขณะที่งบดุลของบริษัทฯ แจ้งว่า คิดอัตราดอกเบี้ยที่ 2.50-3.75% ต่อปี ซึ่งเจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างตรวจสอบเรื่องนี้ หากพบว่ามีความผิดปกติ จะเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช.ต่อไป นายกล้านรงค์ บอกด้วยว่า “ในขั้นตอนนี้ ยังไม่จำเป็นต้องเรียกนายกฯ มาชี้แจง เพราะอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลเท่านั้น เว้นเสียแต่ว่าหากในอนาคต เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า มีความผิดปกติ คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะนำมาพิจารณาต่อไป ซึ่งคาดว่าไม่น่าจะเกินภายใน 2 สัปดาห์”
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังมีข่าว ป.ป.ช.กำลังสอบเรื่องการปล่อยกู้ 30 ล้านบาทของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่าเข้าข่ายแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเท็จหรือไม่ ปรากฏว่ามีข่าวแพร่สะพัดว่า พรรคเพื่อไทยได้ตั้งรับด้วยการวางตัวนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ พี่สาว น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นนายกฯ สำรอง หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์เกิดอุบัติเหตุทางการเมือง ซึ่งข่าววางตัวนางเยาวภาเป็นนายกฯ สำรอง ก็สอดรับกับที่นายเกษม นิมมลรัตน์ ส.ส.เชียงใหม่ เขต 3 พรรคเพื่อไทย ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส.โดยอ้างว่าสุขภาพไม่ดี และต้องการทำงานท้องถิ่น ถนัดงานท้องถิ่นมากกว่า ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า การลาออกของนายเกษมเพื่อเปิดทางให้นางเยาวภา ลงสมัคร ส.ส.แทน และแม้พรรคเพื่อไทยจะพยายามปฏิเสธว่าการลาออกของนายเกษมไม่ใช่เพื่อเปิดทางให้นางเยาวภา แต่พรรคเพื่อไทยก็มีมติส่งนางเยาวภาลงสมัคร ส.ส.เชียงใหม่แทนนายเกษม
ด้านนายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ด้านบริหารงานเลือกตั้ง พูดถึงกรณีที่หลายฝ่ายมองว่า ผู้ที่ลาออกจาก ส.ส.ควรจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งซ่อมว่า ได้เสนอ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ต่อสภาไปแล้วเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา โดยแก้ไขเพิ่มเติมว่า ผู้ที่ต้องการลาออกไปลงสมัครในตำแหน่งอื่นจะต้องออกค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งซ่อมด้วย ไม่ทราบว่าจะได้ผลตอบรับจากผู้ที่อยู่ในสภาหรือไม่ ทั้งนี้ กกต.กำหนดให้วันที่ 21 เม.ย.เป็นวันเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เชียงใหม่ เขต 3 และเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 12 เม.ย.
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พูดถึงกรณี ป.ป.ช.กำลังตรวจสอบการปล่อยกู้ 30 ล้านขอบตนว่า ได้ส่งข้อมูลให้แก่ ป.ป.ช.ตามข้อเท็จจริงตามขั้นตอนทั้งหมดแล้ว ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นห่วงว่าจะเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกว่า หวังว่า ป.ป.ช.จะให้ความยุติธรรมและเป็นธรรมแก่ตน
3. ประธาน กกต.กทม. เฉลยข่าวใหญ่ รับสอบ “ยิ่งลักษณ์” ช่วย “พงศพัศ” หาเสียงเขตทหาร ชี้ โทษถึงขั้นหลุดนายกฯ ขณะที่ “สุขุมพันธุ์-แกนนำ ปชป.” โทษถึงขั้นยุบพรรค!
ตามที่ พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธาน กกต.กทม.ได้บอกกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 14 มี.ค.ว่า ให้มาทำข่าวการประชุม กกต.กทม.ในวันที่ 20 มี.ค. กันให้มากๆ เพราะจะมีข่าวพาดหัวหน้า 1 นั้น ปรากฏว่า เมื่อถึงกำหนด พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ได้แถลงหลังประชุม กกต.กทม.ว่า ขณะนี้มีเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ทั้งหมด 24 คำร้อง ไม่รับคำร้อง 12 คำร้อง ,เสนอให้ กกต.กลางพิจารณาแล้ว 2 คำร้อง อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อพิจารณาว่าจะรับคำร้องหรือไม่ 7 คำร้อง ส่วนที่เหลืออีก 2 คำร้อง ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์รับเป็นคำร้องคัดค้าน โดยเป็นคำร้องของนายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน ร้องขอให้ตรวจสอบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบช่วย พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย หาเสียงที่กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
ส่วนอีกคำร้องเป็นของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา และนายวิญญัติ ชาติมนตรี ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย ซึ่งยื่นคำร้องประเด็นใกล้เคียงกัน กรณี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร พร้อมด้วยแกนนำพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) เช่น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ,นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ,นายกรณ์ จาติกวณิช ,นายอิสสระ สมชัย ทำผิด พ.ร.บ.เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นฯ และปราศรัยจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าใจผิดในคะแนนนิยมต่อผู้สมัครอื่น
ทั้งนี้ พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ เผยว่า กกต.กทม.ยังมีเวลาสืบสวนทั้ง 2 คำร้อง ก่อนจะเสนอไปยัง กกต.กลางภายในวันที่ 2 เม.ย.นี้ และว่า หากตรวจสอบแล้วพบว่า ทั้ง 2 กรณีผิดจริง จะมีโทษตามมาตรา 118 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นฯ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี ดังนั้น หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์มีความผิดและถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง จะพ้นจากสมาชิกภาพ ส.ส.และส่งผลต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย ส่วน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ หากผิดจริง จะเข้าข่ายความผิดฐานยุบพรรคและอาจถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี ตามมาตรา 104 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมืองด้วย
ส่วนที่มีข่าวว่า พล.ต.ท.ทวีศักดิ์จะลาออกจากตำแหน่งประธาน กกต.กทม.นั้น พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ยืนยันว่า ไม่มีคำว่าลาออก เพราะ กกต.กทม.มีการตกลงกันภายในว่าจะสลับกันขึ้นทำหน้าที่ประธาน โดยเดือน เม.ย.นี้ นายสุพจน์ ไพบูลย์ กกต.กทม.จะขึ้นมารับหน้าที่ประธาน กกต.กทม.แทน
4. “ตอบโจทย์ฯ” พ่นพิษ “ประยุทธ์” ไล่คนอึดอัดสถาบันฯ ไปอยู่ที่อื่น ด้าน ตร.ชี้ เนื้อหารายการส่อผิด กม.อาญา!
หลังจากสถานีโทรทัศน์องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย(ไทยพีบีเอส) ได้ชะลอการออกอากาศเทปรายการ “ตอบโจทย์ประเทศไทย” ตอน “สถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ” ตอนที่ 5 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายที่มีกำหนดอากาศเมื่อวันที่ 15 มี.ค. โดยตอนดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นต่อเนื่องจากวันที่ 14 มี.ค. ระหว่างนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็น 1 ในนักวิชาการที่เคลื่อนไหวให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ นักคิดนักเขียนชื่อดัง ซึ่งนายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการไทยพีบีเอส ได้ออกแถลงการณ์ถึงเหตุผลที่ต้องชะลอการออกอากาศว่า เนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียดจากกรณีที่มีประชาชนกลุ่มหนึ่งเดินทางมาเรียกร้องให้ยุติการออกอากาศรายการดังกล่าว ดังนั้นจึงต้องชะลอออกอากาศเพื่อความปลอดภัยของพนักงานและผู้บริหาร จากนั้นวันที่ 16 มี.ค. นายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ผู้ดำเนินรายการตอบโจทย์ฯ ได้แสดงความไม่พอใจด้วยการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ประกาศยุติการทำรายการตอบโจทย์ตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป โดยอ้างว่า มีการข่มขู่ คุกคาม และแทรกแซงการทำงานจากภายใน และเพื่อแสดงออกว่าไม่เห็นด้วยกับการที่สถานียุติการออกอากาศตอบโจทย์ฯ ตอน 5
อย่างไรก็ตาม 3 วันให้หลัง(18 มี.ค.) คณะกรรมการนโยบายของไทยพีบีเอส ได้ออกแถลงการณ์ว่า คณะอนุกรรมการรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากประชาชนได้วินิจฉัยแล้วว่า การชะลอการออกอากาศรายการดังกล่าว ถือว่าผิดข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมของวิชาชีพเกี่ยวกับการผลิตและเผยแพร่รายการ พ.ศ.2552 ที่กำหนดว่า “ผู้บริหารและพนักงานต้องเป็นอิสระอย่างแท้จริงจากรัฐบาล กลุ่มและพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มเคลื่อนไหวกดดัน...” ดังนั้นคณะอนุกรรมการฯ จึงเห็นสมควรให้มีการเยียวยาผู้ชมรายการ ด้วยการออกอากาศรายการดังกล่าวโดยเร็ว จากนั้นทางสถานีได้นำเทปรายการตอบโจทย์ฯ ตอน 5 มาออกอากาศทันที
ทั้งนี้ ก่อนจะออกอากาศ นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผอ.ไทยพีบีเอส ได้ชี้แจงเหตุผลที่ต้องนำประเด็น “สถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ” มานำเสนอว่า เนื่องด้วยขณะนี้ประเด็นมาตรา 112 เป็นที่ถกเถียงกันมากในโซเชียลเน็ตเวิร์ก หากไม่พูดให้กระจ่างและตรวจสอบได้จะเป็นอันตราย การนำผู้ที่เห็นว่าจะต้องแก้ไขเรื่องนี้มาเสนอในที่สว่าง และเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นโต้แย้งกัน จะทำให้สังคมเกิดความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งเหตุผลของนายสมชัย สอดคล้องกับที่นายภิญโญ ไตรสุริยธรรมดา ผู้ดำเนินรายการตอบโจทย์ฯ ได้ประกาศก่อนหน้านี้
แต่ดูเหมือนสถานการณ์จะไม่เป็นอย่างที่นายสมชัยและนายภิญโญคาด เพราะได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไทยพีบีเอสอย่างมากที่นำเทปรายการตอบโจทย์ฯ ตอน 5 มาออกอากาศ นอกจากนี้ยังมีประชาชนหลายกลุ่มที่ไม่พอใจ เดินทางไปยื่นหนังสือให้ไทยพีบีเอสแสดงความรับผิดชอบด้วย เช่น กลุ่มประชาชนทนไม่ไหว และกลุ่มเสื้อหลากสี ด้านผู้บริหารไทยพีบีเอส ได้ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมรับปากจะนำข้อร้องเรียนทุกข้อเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการที่มีอำนาจตรวจสอบต่อไป
ขณะที่การประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 19 มี.ค. ก็ได้มีการหารือเกี่ยวกับรายการตอบโจทย์ฯ โดยกลุ่ม 40 ส.ว.ระบุว่า เนื้อหารายการดังกล่าวเข้าข่ายผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ก็ไม่เห็นด้วยกับเนื้อหารายการตอบโจทย์ฯ เช่นกัน ถึงกับประกาศว่า ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เมื่อคนส่วนใหญ่รักสถาบันพระมหากษัตริย์ คนส่วนน้อยก็ต้องยอมรับ หากคิดว่าอยู่เมืองไทยแล้วอึดอัดที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์และมีกฎหมายคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็ขอให้ไปอยู่ที่อื่น
ขณะที่นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกอาการร้อนตัวและไม่พอใจคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จึงได้โพสต์บทกลอนภาษาอังกฤษลงในเฟซบุ๊กในลักษณะเหน็บแนม พล.อ.ประยุทธ์และกระทบชิ่งสถาบัน โดยใช้ชื่อว่า “I AM UD-AD MAN” (ฉันเป็นมนุษย์อึดอัด) ซึ่งต่อมานายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้แปลบทกลอนดังกล่าวเป็นภาษาไทย พร้อมชมว่านายเกษียรเขียนได้ดีและมันส์มาก ตัวอย่างเช่น “...ฉันเป็นมนุษย์อึดอัด ท่านนายพลหวังจะเตะฉันออกไปจากแผ่นดินนี้ เพียงเพราะฉันคิดต่างออกไป... ฉันเป็นมนุษย์อึดอัด เกิดและโตในประเทศไทยแลนด์ ดินแดนอึดอัด นี่เป็นดินแดนเสรีชน ตราบเท่าทีทุกคน ปิดปาก ปิดหู ปิดตา นี่คือแดนอึดอัด ทนไปเหอะถ้าทนได้ ที่นี่ความรักเป็นเรื่องบังคับ และความเกลียดชังมีไว้แจกกันง่ายๆ เหลือเฟือ ความอึดอัดจงเจริญ คิดต่างออกไป คุณอาจม่องเท่ง อึดอัดเป็นเอกลักษณ์ชาติไทย เสรีภาพเป็นความชั่วของฝรั่ง”
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ออกมาแสดงท่าทีต่อรายการตอบโจทย์ฯ ปรากฏว่า ทาง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ก็มีท่าทีต่อเรื่องนี้เช่นกัน โดยบอกว่า ได้ให้ตำรวจสันติบาลและฝ่ายกฎหมายไปถอดเทปเนื้อหารายการทั้งหมดเพื่อพิจารณาว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ คาดว่าจะใช้เวลา 2-3 วัน
ซึ่งต่อมา พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยว่า จากการตรวจสอบเทปรายการตอบโจทย์ฯ ตอนที่ 4 และ 5 พบว่า ถ้อยคำบางช่วงบางตอนของผู้เข้าร่วมรายการเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญา “พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.จึงมีคำสั่งตั้งพนักงานสืบสวนสอบสวน มี พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร ที่ปรึกษา (สบ.10) ฝ่ายกฎหมาย เป็นหัวหน้า พร้อมกำชับทุกสถานีตำรวจทั่วประเทศรับแจ้งความ หากมีผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ก็ให้ดำเนินการสอบสวน”
ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเห็นด้วยกับคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ออกมาปกป้องสถาบันและไล่คนที่รู้สึกอึดอัดกับการมีสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ไปอยู่ที่อื่น “ผมเห็นด้วยที่ พล.อ.ประยุทธ์ออกมาให้สัมภาษณ์ จะไปทำให้บ้านเมืองวุ่นวายทำไม อยู่มากี่ร้อยกี่พันปี...ถ้าอยู่ไม่ได้ก็ไปอยู่ที่อื่น มันจะคิดเรื่องนี้ทำไม บ้านเมืองมันต้องปรองดอง ต้องอยู่กันอย่างสงบสุข...”
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ได้แสดงท่าทีใดใดต่อรายการตอบโจทย์ฯ โดยบอกเพียงว่า ให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องนี้นำข้อมูลต่างๆ ไปพิจารณาก่อน
5. ครม.ไฟเขียว พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านแล้ว ด้านสภาเตรียมพิจารณา 28-29 มี.ค. ขณะที่ 40 ส.ว.ชี้ ส่อขัด รธน. เล็งยื่นศาลฯ ตีความ!
เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ โดยกฎหมายฉบับนี้ให้กระทรวงการคลังสามารถกู้เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศมาลงทุนในโครงการต่างๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์และแผนงานที่กำหนดไว้ในบัญชีท้าย พ.ร.บ.ในวงเงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท ภายในวันที่ 31 ธ.ค.2563
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยหลังประชุม ครม. โดยยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนี้ เป็นกฎหมายที่ช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจและสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน พร้อมย้ำ จะไม่ทำให้ระดับหนี้สาธารณะของประเทศในอนาคตเกินกว่า 50% ของจีดีพี “จะจัดหาแหล่งเงินทุนภายในประเทศ โดยรัฐบาลสามารถชำระหนี้เงินกู้ได้ตามแผนที่กำหนดไว้ภายใน 50 ปี หรือภายในครึ่งศตวรรษ”
นายกิตติรัตน์ ยังพูดถึงโครงการที่จะดำเนินการตามร่าง พ.ร.บ.กู้เงินฉบับนี้ด้วยว่า แบ่งเป็น 3 กลุ่มยุทธศาสตร์หลัก คือ 1.ยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า วงเงินกว่า 3.5 แสนล้านบาท 2.ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน วงเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท 3.ยุทธศาสตร์พัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว วงเงิน 5.9 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ หลังรัฐบาลเสนอร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านให้ประธานสภาฯ บรรจุเข้าวาระการประชุม ปรากฏว่า ได้ข้อยุติแล้วว่า จะมีการประชุมสภานัดพิเศษเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กู้เงินในวันที่ 28-29 มี.ค. ตั้งแต่เวลา 09.30น.-22.00น. โดยให้ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านอภิปรายฝ่ายละ 12 ชั่วโมง และจะถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ด้วย
ด้านนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ชี้ว่า ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านอาจขัดรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญระบุชัดเจนว่า รายจ่ายของรัฐต้องออกเป็น พ.ร.บ.งบประมาณ ซึ่งเงินกู้ 2 ล้านล้านเป็นรายจ่ายที่ชัดเจน แต่รัฐบาลกลับไม่นำเข้าเป็นระบบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 หากกู้มาจริง 2 ล้านล้านบาท คาดว่าจะต้องใช้หนี้หมดภายใน 50 ปี ซึ่งเป็นเวลาที่ยาวนาน เป็นการทิ้งภาระหนี้สินไว้ให้กับลูกหลานและรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารงานต่อ
ขณะที่กลุ่ม 40 ส.ว.ก็เห็นว่าร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านน่าจะขัดรัฐธรรมนูญเช่นกัน ดังนั้นจะมีการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าร่างดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 วรรค 1 หรือไม่ หลังร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านผ่านสภาแล้ว
ทั้งนี้ ได้มีกลุ่มชาวไทยหัวใจรักสงบ นำโดยนางกาญจนี วัลยะเสวี เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้สอบสวนกรณี ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทแล้ว เนื่องจากเห็นว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักการจัดทำงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน ที่ต้องทำในรูป พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี การปฏิบัติหน้าที่ของ ครม. และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง จึงเข้าข่ายไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ พร้อมขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป หากพบว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ