xs
xsm
sm
md
lg

ย้อนชมปรากฏการณ์ “บลูมูน” เมื่อคืนที่ผ่านมา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online




ปรากฏการณ์ “บลูมูน” หรือดวงจันทร์เต็มดวง ครั้งที่สองของเดือน เนื่องจากในคืนวันนี้ท้องฟ้าเปิด ทำให้สามารถมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงได้อย่างชัดเจน ซึ่งรู้สึกได้เป็นดวงกลมโตสว่างกว่าปกติที่เคยเห็นอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะในวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา เป็นวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9

สำหรับปรากฏการณ์บลูมูน หรือดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน ไม่ได้หมายความว่า พระจันทร์จะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำเงิน แต่ปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวง (Full Moon) จะเกิดขึ้นเพียงเดือนละ 1 ครั้งเท่านั้น หากเดือนไหนที่มีดวงจันทร์เต็มดวง 2 ครั้ง จะเรียกดวงจันทร์เต็มดวงในครั้งที่สองว่า “บลูมูน” ซึ่งในภาษาอังกฤษมีสำนวนว่า Once in a blue moon หมายถึงนานๆ จะเห็นสักครั้ง

ซึ่งในคราวนี้ปรากฏการณ์บลูมูนจะเกิดขึ้น โดยพระจันทร์จะอยู่ในสภาพกลมโตอย่างเต็มที่ในเวลา 20.58 น.ตามเวลาในประเทศไทย ของวันที่ 31 ส.ค.และหากพลาดการชมในคราวนี้ก็จะต้องรอถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2558 หรืออีกเกือบ 3 ปีข้างหน้า ขณะที่รอบของดวงจันทร์เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 29.53059 วันต่อเดือน และเกิดขึ้นเฉลี่ยประมาณ 2.72 ปีต่อครั้ง

โดยปรากฏการณ์บลูมูนครั้งล่าสุด เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ธ.ค.2552 หรือที่เรียกกันว่า “วันส่งท้ายปีเก่าบลูมูน” ซึ่งประจวบเหมาะกับการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน ที่เห็นได้ในยุโรป เอเชีย แอฟริกา และบางส่วนของรัฐอลาสกา นอกจากนั้น ยังมีปรากฏการณ์ที่เกิดบลูมูนปีละ 2 ครั้ง โดยปีล่าสุดที่เกิดบลูมูน 2 ครั้งซ้อนในหนึ่งปี ก็คือ ปี 2543 และครั้งต่อไปในปี 2561

สำหรับภาพชุดนี้ ถ่ายเมื่อเวลาประมาณ 05.10 น.ของวันที่ 1 ก.ย.ตามเวลาประเทศไทย ที่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ทั้งนี้ ดวงจันทร์จะสว่างเต็มดวงเหมือนเช่นเคยโดยไม่เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินแต่อย่างใด





กำลังโหลดความคิดเห็น