คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.พรรคร่วมฯ มีมติตั้งคณะทำงานสรุปวิธีแก้ รธน. ขณะที่ พ.ร.บ.ปรองดองยังค้างสภา วาระ 11-14 ด้านพันธมิตรฯ ย้ำ พิจารณาวันไหน ชุมนุมใหญ่!
ความคืบหน้าเรื่องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291และร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ หลังแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศว่าจะชุมนุมใหญ่ทันทีหากไม่มีการถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองออกจากที่ประชุมสภาวันที่ 1 ส.ค.ซึ่งเป็นวันเปิดสภาสมัยสามัญทั่วไป ขณะที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร แก้ปัญหาด้วยการเรียกประชุมสภานัดพิเศษในวันที่ 1 ส.ค. เพื่อจะได้เลื่อนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดองที่ค้างอยู่ในวาระแรกออกไปก่อนได้ และเลื่อนเรื่องอื่นขึ้นมาพิจารณาแทน ขณะที่พันธมิตรฯ ยังไม่นัดชุมนุม โดยรอดูท่าทีของรัฐบาลก่อนนั้น
ปรากฏว่า บรรยากาศการประชุมสภานัดพิเศษเมื่อวันที่ 1 ส.ค. ที่ประชุมได้มีการเสนอให้เลื่อนร่าง พ.ร.บ.เรื่องอื่นๆ ขึ้นมาพิจารณาก่อนร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง 10 เรื่อง ขณะที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) ได้ขอความชัดเจนจากที่ประชุมว่า การเลื่อนวาระอื่นขึ้นมานั้น สำหรับพิจารณาในการประชุมสภานัดพิเศษครั้งต่อไปหรือสำหรับการประชุมสภาตามปกติ พร้อมเสนอว่า ทางออกที่ดีที่สุดคือถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองออกจากสภา “การเลื่อนการพิจารณาออกไป ไม่ได้แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง การถอนร่างกฎหมายจะช่วยทำให้บ้านเมืองไม่เข้าสู่ความวุ่นวาย”
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังเปิดให้สมาชิกหารือเกือบ 1 ชั่วโมง นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ได้ตัดบทว่า สัปดาห์หน้าการประชุมสภาจะพิจารณาวาระที่เลื่อนขึ้นมา 10 ฉบับ เช่น ร่าง พ.ร.บ.การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ,ร่าง พ.ร.บ.เงินเดือนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ,ประธานและคณะกรรมการการเลือกตั้ง ,ประธานและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ฯลฯ เมื่อเสร็จแล้วจะต่อด้วยร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง 4 ฉบับ ซึ่งแม้พรรคประชาธิปัตย์จะไม่เห็นด้วย แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะที่ประชุมมีมติเห็นด้วยกับการเลื่อนดังกล่าว ด้วยเสียง 272 ต่อ 1 งดออกเสียง 8 ไม่ลงคะแนน 6
ทั้งนี้ นายสมศักดิ์ได้นัดประชุมสภาครั้งต่อไปในวันที่ 8 ส.ค. โดยร่าง พ.ร.บ.ปรองดองอยู่ในวาระลำดับที่ 11-14 ขณะที่นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล เชื่อว่า กว่าจะถึงวาระการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดองคงใช้เวลาอีกนาน เพราะที่ผ่านมาประชุมสภาแต่ละวัน ผ่านร่าง พ.ร.บ.ได้ไม่เกินวันละ 2-3 ฉบับ ประกอบกับในวันที่ 15 ส.ค.จะมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 ก็ต้องใช้เวลาอีกนาน ดังนั้นกว่าจะถึงคิวร่าง พ.ร.บ.ปรองดองคงต้องใช้เวลาเป็นเดือน
ส่วนแนวโน้มการถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองออกจากสภานั้น ค่อนข้างชัดเจนว่ารัฐบาลไม่ถอนแน่ ขณะที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ และอดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) ในฐานะผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ก็ยืนยันว่าจะไม่ถอนร่างดังกล่าวเช่นกัน โดยอ้างว่าไม่มีความจำเป็น และว่า แม้ตนถอน ก็ไม่มีความหมายอะไร เพราะยังเหลือร่างของคนอื่นอีก 3 ฉบับที่ยังอยู่ในวาระ พร้อมยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ขณะที่แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้แถลงย้ำอีกครั้งเมื่อวันที่ 2 ส.ค. โดยเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองออกจากการประชุมสภา หากมีการประชุมพิจารณาร่างดังกล่าวเมื่อไหร่ พันธมิตรฯ จะชุมนุมใหญ่ทันที
ส่วนความคืบหน้ากรณีที่รัฐบาลจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น หลังจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่คำวินิจฉัยส่วนกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนเมื่อสัปดาห์ก่อน ปรากฏว่า ทางรัฐบาลอ้างว่าคำวินิจฉัยยังไม่ชัดเจน ทำให้รัฐบาลยังไม่กล้าตัดสินใจว่าจะเดินหน้าให้รัฐสภาลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระ 3 ต่อไป หรือจะแก้ไขเป็นรายมาตรา หรือจะแก้ไขทั้งฉบับ โดยทำประชามติก่อน โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 30 ก.ค.ได้มีมติให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปศึกษาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ชัดเจนอีกครั้ง และระหว่างรอผล ได้มอบหมายให้นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไปหาวิธีให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ แต่ไม่ใช่การทำประชามติ โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บอกว่า ไม่ใช่การทำประชามติ แต่เป็นกระบวนการสอบถามประชาชน
ด้านพรรคร่วมรัฐบาลได้ประชุมหารือเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 31 ก.ค. ก่อนออกแถลงการณ์ร่วมกันว่า จะมีการจัดตั้งคณะทำงานของพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อศึกษาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเป็นระบบและเร่งด่วน โดยระหว่างรอผลศึกษาของคณะทำงานดังกล่าว ควรจะมีการชะลอการลงมติในวาระ 3 ไว้ก่อน นอกจากนี้ให้สมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลไปรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย
ขณะที่แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เช่น นายจตุพร พรหมพันธุ์ เริ่มออกมากดดันว่าคณะทำงานที่รัฐบาลตั้งขึ้นเพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ไม่ควรใช้เวลานานกว่า 3-4 เดือน และว่า ในส่วนของ นปช.จะไปหาทางออกเรื่องนี้เช่นกัน
2.ศาล ออกกฎเหล็กกันป่วนวันนัดไต่สวนแกนนำแดง 9 ส.ค. เตือนใครฝ่าฝืน ละเมิดอำนาจศาล เจอคุก 6 เดือน!
เมื่อวันที่ 1 ส.ค. นายจุมพล ชูวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ได้เชิญสื่อมวลชนมาซักซ้อมความเข้าใจการปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 9 ส.ค.ซึ่งเป็นวันที่ศาลนัดฟังคำสั่งว่าจะเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวนายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. หรือไม่ หลังถูกนายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการปล่อยตัว นอกจากนี้ในวันดังกล่าว ศาลยังได้นัดสอบถามนายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กับพวกรวม 24 คน ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อการร้าย เพื่อประกอบการพิจารณาว่าจะสั่งเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งหมดหรือไม่ หลังถูกนายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการปล่อยตัว
ส่วนสาเหตุที่ศาลต้องเชิญสื่อมวลชนมาซักซ้อมทำความเข้าใจก่อนถึงวันที่ 9 ส.ค.นั้น เนื่องจากในการไต่สวนนายจตุพรเมื่อวันที่ 23 ก.ค.ได้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในบริเวณศาล จากกรณีคนเสื้อแดงที่มาให้กำลังใจนายจตุพรมีการใช้รถติดตั้งเครื่องขยายเสียงพูดจาปลุกเร้าเสียงดังกึกก้อง ทำให้ขัดขวางการพิจารณาคดีนี้และคดีอื่นๆ ทั้งของศาลอาญา ศาลแพ่ง ศาลอุทธรณ์ และศาลแขวงพระนครเหนือ นอกจากนี้ยังมีการเร่ขายสินค้าขัดขวางการจราจรบนถนนรัชดาภิเษกด้วย ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดเหตุวุ่นวายในวันที่ 9 ส.ค.อีก ศาลจึงอาศัยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 30 ประกอบกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญามาตรา 158 ออกข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะมาศาลอาญาในวันดังกล่าวว่า ห้ามมิให้ผู้ใดประพฤติตนในทางที่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ก่อความรำคาญในบริเวณศาล หรือกระทำการในลักษณะที่เป็นการยั่วยุหรือสนับสนุนในบริเวณศาล ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงส่งเสียงดัง อันเป็นการรบกวนการพิจารณาของศาล ห้ามวางสินค้ากีดขวางทางเข้าออกศาลอาญา ผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ต้องระวางโทษจำคุก 6 เดือน
ด้านนางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. บอกว่า วันที่ 9 ส.ค.จะไม่เปิดเครื่องขยายเสียงไปรบกวนศาลอย่างเด็ดขาด แต่จะใช้เมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น และว่า หากมีเหตุการณ์อะไรควบคุมไม่ได้ ก็ต้องโทษศาลเอง เป็นที่น่าสังเกตว่า นอกจากศาลจะออกกฎเพื่อความเรียบร้อยในวันที่ 9 ส.ค.แล้ว ศาลยังได้ประสานตำรวจเพื่อเปลี่ยนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะมาดูแลศาลในวันที่ 9 ส.ค. จากตำรวจนครบาล เป็นตำรวจคอมมานโดจากกองปราบปรามแทน
ด้านนายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา บอกว่า วันที่ 9 ส.ค.ศาลได้นัดสอบถามกรณีนายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวนายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำเลยในคดีก่อการร้าย กรณีปราศรัยแจกที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและครอบครัว โดยศาลต้องสอบถามนายยศวริศเป็นกรณีพิเศษเหมือนที่สอบถามนายจตุพรไปก่อนหน้านี้
นายทวี ยังบอกด้วยว่า ขณะนี้เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ทำให้จำเลยคดีก่อการร้ายที่เป็น ส.ส.รวม 4 คน สามารถใช้เอกสิทธิ์คุ้มครอง และไม่ต้องเดินทางมาศาลตามที่นัดไว้ในวันที่ 9 ส.ค.ได้ แต่ต้องส่งทนายมาแจ้งต่อศาลว่าขอใช้เอกสิทธิ์คุ้มครอง ประกอบด้วย นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,นพ.เหวง โตจิราการ ,นายก่อแก้ว พิกุลทอง และนายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ซึ่งศาลจะรอจนกว่าจะปิดสมัยประชุมสภา แล้วจะเรียกจำเลยทั้ง 4 คนมาสอบถามต่อไป ส่วนจำเลยอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็น ส.ส. หากไม่มาศาลตามที่ได้ออกหมายเรียกในวันที่ 9 ส.ค. ศาลจะมีคำสั่งออกหมายจับทันที เพราะถือว่าฝ่าฝืนหมายเรียก แสดงว่ามีพฤติการณ์หลบหนี
3.“ยิ่งลักษณ์” สั่งตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไฟใต้ที่กรุงเทพฯ ขณะที่ “กอ.รมน.” เล็งชงเคอร์ฟิวพื้นที่ไม่สงบ ด้านแม่ทัพภาค 4 ค้าน!
ความคืบหน้าหลังคนร้ายลอบยิงทหารชุดลาดตระเวนสังกัดร้อย ร.15321 ฉก.ปัตตานี 25 ทำให้ทหารเสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บ 2 นาย ที่ อ.มายอ จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 28 ก.ค. ปรากฏว่า ผู้เกี่ยวข้อง ทั้งทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ได้สนธิกำลังเข้าปิดล้อมตรวจค้นหมู่บ้านตำบลน้ำใส อ.มายอเมื่อวันที่ 29 ก.ค. โดยควบคุมผู้ต้องสงสัยยิงทหารชุดลาดตระเวนดังกล่าวได้ 3 คน ประกอบด้วย นายอิสมาแอล ดาโอง ผู้ขี่รถจักรยานยนต์รายงานความเคลื่อนไหวของทหาร ,นายอับดุลอสซี จือแน มือปืน และนายรอสดี จือแน มือปืน ซึ่งเป็นพี่น้องกัน
ด้านคณะรัฐมนตรีที่สัญจรไปประชุมที่ จ.สุรินทร์ ได้หารือปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อวันที่ 30 ก.ค. โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้หน่วยงานด้านความมั่นคงบูรณาการเรื่องกล้องวงจรปิดหรือซีซีทีวี ในพื้นที่ เพื่อให้รู้ว่าตรงจุดไหนติดกล้องซีซีทีวีบ้าง โดยเจ้าหน้าที่ต้องรู้และนำมาเชื่อมโยงกันให้มากขึ้น นอกจากนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังได้ให้ตำรวจทำงานร่วมกับสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) มากขึ้น
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาจี้ให้รัฐบาลทบทวนทั้งนโยบายและแนวปฏิบัติในการแก้ปัญหาเหตุไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยขอให้นายกรัฐมนตรีดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดและคิดถึงบ้านเมือง อย่าคิดแต่เรื่องการเมือง
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้เรียกประชุมรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานด้านความมั่นคงประชุมด่วนเมื่อวันที่ 31 ก.ค. เพื่อหาทางแก้ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยหลังประชุม พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี เผยว่า ที่ประชุมได้ทบทวนยุทธศาสตร์ที่นายกฯ เคยให้ไว้ว่าควรปรับปรุงอะไรให้สมบูรณ์ขึ้นบ้าง พร้อมยืนยันว่ายุทธศาสตร์ที่ได้วางไว้ถูกต้องแล้ว อย่างไรก็ตาม จะมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นที่กรุงเทพฯ โดยเป็นการรวมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาชายแดนภาคใต้ รวมทั้งกระทรวงทั้ง 17 กระทรวง โดยมี พล.อ.ยุทธศักดิ์ ,ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ และนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อยู่ในศูนย์เพื่อทำงานร่วมกัน
ทั้งนี้ ช่วงค่ำวันเดียวกัน(31 ก.ค.) เวลา 19.00น. ได้เกิดเหตุระเบิดคาร์บอมบ์บริเวณหลังโรงแรม ซี.เอส. ปัตตานี แรงระเบิดทำให้เกิดไฟลุกไหม้ด้านหลังโรงแรม และส่งผลให้ไฟฟ้าดับทั้งเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ขณะที่ทางโรงแรมต้องอพยพแขกที่เข้าพักและพนักงานออกจากโรงแรม หลังผ่านไป 2 ชั่วโมง สถานการณ์จึงกลับเข้าภาวะสู่ปกติ
นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล ส.ว.ปัตตานี เจ้าของโรงแรม ซี.เอส. ปัตตานี บอกว่า เหตุการณ์คาร์บอมบ์ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้วที่เกิดกับโรงแรมของตน โดยครั้งก่อนเกิดเมื่อวันที่ 14 มี.ค.2551 มีผู้เสียชีวิต 2 ราย คือ พนักงานขับรถและพนักงานของโรงแรม สำหรับครั้งนี้เคราะห์ดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิต
ด้าน พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี พูดถึงเหคุการณ์คาร์บอมบ์ดังกล่าวว่า มาจาก 2 สาเหตุ 1.เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มข้น ส่งผลให้ผู้ก่อการร้ายต้องออกมาแก้ไขสถานการณ์ 2.เกิดจากผู้ก่อการร้าย 2 ฝ่ายพยายามแย่งอำนาจกัน และว่า ขณะนี้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร(กอ.รมน.) และแม่ทัพภาคที่ 4 ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และรู้ตัวบุคคลทุกครั้งที่มีการปฏิบัติการ แต่ยังไม่สามารถติดตามตัวได้ “เหตุคาร์บอมบ์ที่โรงแรม ซี.เอส. เข้าใจว่าเป็นการกระทำของบุคคลที่ไม่มีศาสนา ยืนยันว่าไม่ถึงกับเป็นการก่อการร้ายสากล”
ด้านศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศชต.) ได้แจ้งให้ทุกสถานีตำรวจภูธรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาตใต้ระวังรถยนต์หมายเลขทะเบียนต่อไปนี้ที่ถูกโจรกรรมไปจำนวน 16 คัน ซึ่งอาจถูกคนร้ายสวมรอยนำไปก่อเหตุไม่สงบในพื้นที่ได้ ประกอบด้วย ทะเบียน บร.7934 สงขลา ,กค 1006 ยะลา ,กด6714 พัทลุง ,บต 9179 ปัตตานี ,บง 955 ยะลา ,บฉ 2256 ยะลา ,บง 3171 ยะลา ,ผค 4883 สงขลา ,กบ 4316 สงขลา ,บจ 4179 ยะลา ,บต 3957 สงขลา ,ดง 1598 กรุงเทพมหานคร ,บจ 105 ปัตตานี ,กบ 3315 นราธิวาส ,ถล 8099 กรุงเทพมหานคร และ ผก 7930 สงขลา
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังเหตุไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปรากฏว่า รัฐมนตรีในรัฐบาลเริ่มส่งสัญญาณว่าถึงเวลาต้องใช้กฎหมายพิเศษหรือประกาศเคอร์ฟิวในพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบแล้ว โดย พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยอมรับว่า ได้มีการหารือเรื่องนี้กับผู้นำเหล่าทัพ เพราะเป็นเรื่องจำเป็น พร้อมขอโทษประชาชนด้วยหากเกิดความไม่สะดวก และว่า เวลาอย่างนี้จะเอาความสะดวกไม่ได้แล้ว จะมีการนำกฎหมายมาบังคับใช้ จำเป็นต้องทำแล้วในวันนี้
ทั้งนี้ มีรายงานว่า กอ.รมน.เตรียมเสนอให้ที่ประชุม ครม.เห็นชอบประกาศเคอร์ฟิวในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในเร็วๆ นี้ ขณะที่ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้ยกระดับการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุดในพื้นที่ 7 เขตที่เป็นหัวเมืองเศรษฐกิจ ประกอบด้วย อ.เมือง อ.เบตง จ.ยะลา ,อ.เมือง จ.ปัตตานี ,อ.เมือง อ.ตากใบ อ.สุไหง-โกลก จ.นราธิวาส และ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมีการเสริมยุทโธปกรณ์พิเศษ เช่น ซีซีทีวี และกำลังทหาร รวมทั้งทบทวนการกำหนดพื้นที่ปลอดภัย หรือเซฟตี้ โซน ให้เหมาะสมมากขึ้น
ขณะที่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ก็หนุนประกาศเคอร์ฟิวเช่นกัน แต่ควรใช้ในบางจุด “ทางทหารจะประกาศเป็นจุดและบางเส้นทางสัญจรที่ได้รับผลกระทบเท่านั้น จะไม่ได้ปิดเต็มพื้นที่เหมือนที่ผ่านมา เพื่อป้องกันการเกิดความวิตกกังวลของประชาชนในพื้นที่และความเสียหายด้านเศรษฐกิจ”
อย่างไรก็ตาม พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 ไม่เห็นด้วยกับการประกาศเคอร์ฟิว โดยบอกว่า มาตรการเคอร์ฟิวนั้นเป็นแค่กรอบการทำงานของเจ้าหน้าที่กรณีมีคนหรือสิ่งของกีดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ แต่ตอนนี้ชาวบ้านในพื้นที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ไม่มีการขัดขวาง ดังนั้นจึงยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้เคอร์ฟิว
ด้านนายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล ส.ว.ปัตตานี เจ้าของโรงแรมซีเอส ปัตตานี ที่ถูกคนร้ายวางระเบิดคาร์บอมบ์ ก็ไม่เห็นด้วยกับการประกาศเคอร์ฟิวเช่นกัน เพราะจะสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน พร้อมอยากให้เจ้าหน้าที่รัฐแก้ปัญหาไฟใต้ด้วยการตรวจสอบและค้นหาความจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากกว่าประกาศเคอร์ฟิว
เช่นเดียวกับนายวันอับดุลกอเดร์ แวมุสตอฟา ผู้นำศาสนาอิสลาม จ.ยะลา ก็ไม่เห็นด้วยกับการประกาศเคอร์ฟิวในช่วงเดือนรอมฎอนที่ชาวมุสลิมกำลังถือศีลอด “การประกอบพิธีทางศาสนาในช่วงนี้ ควรจะออกจากบ้านไปที่มัสยิดหรือสุเหร่า ถ้ามีการประกาศเคอร์ฟิว ก็เหมือนกับการไปกีดกั้นการปฏิบัติของแต่ละคน เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง การละหมาดที่บ้านกับการละหมาดที่มัสยิด ผลตอบแทนที่พระเจ้าจะให้นั้น ต่างกันอย่างทวีคูณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนรอมฎอน”
4.ศาลฎีกาฯ สั่งเพิกถอน “สัก กอแสงเรือง” พ้น ส.ว. แต่ไม่ตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี!
เมื่อวันที่ 1 ส.ค. ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ได้อ่านคำสั่งคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการเป็น ส.ว.สรรหาของนายสัก กอแสงเรือง และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนายสักเป็นเวลา 5 ปี โดย กกต.ร้องว่า นายสักได้รับการสรรหาเป็น ส.ว.ในการสรรหาเมื่อวันที่ 25 ก.พ.2554 จากนั้นนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้เข้ารับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว.ได้ยื่นคำร้องว่าการสรรหา ส.ว.เป็นไปโดยไม่ถูกต้อง โดยชี้ว่า นายสักเป็นผู้ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามมิให้ได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว.ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 115 (9) เพราะนายสักเคยได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ว.ครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ 2540 เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2543 และพ้นจากการเป็น ส.ว.ชุดดังกล่าวมายังไม่เกิน 5 ปี สภาทนายความก็ได้เสนอชื่อนายสักเข้ารับการสรรหา ส.ว.เมื่อวันที่ 6 มี.ค.2554
ทั้งนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง พิจารณาแล้วเห็นว่า นายสักพ้นจากตำแหน่ง ส.ว.มายังไม่เกิน 5 ปีจริงตามที่ถูกร้อง จึงต้องถือว่าได้รับการสรรหามาเป็น ส.ว.โดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการสรรหาจากผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 240 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ.2550 มาตรา 134 (1) จึงสั่งเพิกถอนการสรรหา ส.ว.ของนายสัก พร้อมสั่งให้มีการสรรหา ส.ว. ในส่วนของนายสักใหม่ อย่างไรก็ตาม ศาลไม่ได้ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปีนายสักแต่อย่างใด โดยให้เหตุผลว่า พิจารณาพฤติการณ์แล้ว ยังไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า นายสักรู้ดีอยู่แล้วว่าตนมีลักษณะต้องห้าม หรือมีเจตนาหรือจงใจที่จะกระทำการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หรือประสงค์ให้ผลการสรรหา ส.ว.เป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม จึงยังไม่มีเหตุที่จะสั่งเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งของนายสัก ด้านนายสัก ไม่ได้เดินทางมาฟังคำสั่งศาลแต่อย่างใด มีเพียงทนายความเดินทางมาเท่านั้น
1.พรรคร่วมฯ มีมติตั้งคณะทำงานสรุปวิธีแก้ รธน. ขณะที่ พ.ร.บ.ปรองดองยังค้างสภา วาระ 11-14 ด้านพันธมิตรฯ ย้ำ พิจารณาวันไหน ชุมนุมใหญ่!
ความคืบหน้าเรื่องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291และร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ หลังแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศว่าจะชุมนุมใหญ่ทันทีหากไม่มีการถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองออกจากที่ประชุมสภาวันที่ 1 ส.ค.ซึ่งเป็นวันเปิดสภาสมัยสามัญทั่วไป ขณะที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร แก้ปัญหาด้วยการเรียกประชุมสภานัดพิเศษในวันที่ 1 ส.ค. เพื่อจะได้เลื่อนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดองที่ค้างอยู่ในวาระแรกออกไปก่อนได้ และเลื่อนเรื่องอื่นขึ้นมาพิจารณาแทน ขณะที่พันธมิตรฯ ยังไม่นัดชุมนุม โดยรอดูท่าทีของรัฐบาลก่อนนั้น
ปรากฏว่า บรรยากาศการประชุมสภานัดพิเศษเมื่อวันที่ 1 ส.ค. ที่ประชุมได้มีการเสนอให้เลื่อนร่าง พ.ร.บ.เรื่องอื่นๆ ขึ้นมาพิจารณาก่อนร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง 10 เรื่อง ขณะที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) ได้ขอความชัดเจนจากที่ประชุมว่า การเลื่อนวาระอื่นขึ้นมานั้น สำหรับพิจารณาในการประชุมสภานัดพิเศษครั้งต่อไปหรือสำหรับการประชุมสภาตามปกติ พร้อมเสนอว่า ทางออกที่ดีที่สุดคือถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองออกจากสภา “การเลื่อนการพิจารณาออกไป ไม่ได้แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง การถอนร่างกฎหมายจะช่วยทำให้บ้านเมืองไม่เข้าสู่ความวุ่นวาย”
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังเปิดให้สมาชิกหารือเกือบ 1 ชั่วโมง นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ได้ตัดบทว่า สัปดาห์หน้าการประชุมสภาจะพิจารณาวาระที่เลื่อนขึ้นมา 10 ฉบับ เช่น ร่าง พ.ร.บ.การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ,ร่าง พ.ร.บ.เงินเดือนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ,ประธานและคณะกรรมการการเลือกตั้ง ,ประธานและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ฯลฯ เมื่อเสร็จแล้วจะต่อด้วยร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง 4 ฉบับ ซึ่งแม้พรรคประชาธิปัตย์จะไม่เห็นด้วย แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะที่ประชุมมีมติเห็นด้วยกับการเลื่อนดังกล่าว ด้วยเสียง 272 ต่อ 1 งดออกเสียง 8 ไม่ลงคะแนน 6
ทั้งนี้ นายสมศักดิ์ได้นัดประชุมสภาครั้งต่อไปในวันที่ 8 ส.ค. โดยร่าง พ.ร.บ.ปรองดองอยู่ในวาระลำดับที่ 11-14 ขณะที่นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล เชื่อว่า กว่าจะถึงวาระการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดองคงใช้เวลาอีกนาน เพราะที่ผ่านมาประชุมสภาแต่ละวัน ผ่านร่าง พ.ร.บ.ได้ไม่เกินวันละ 2-3 ฉบับ ประกอบกับในวันที่ 15 ส.ค.จะมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 ก็ต้องใช้เวลาอีกนาน ดังนั้นกว่าจะถึงคิวร่าง พ.ร.บ.ปรองดองคงต้องใช้เวลาเป็นเดือน
ส่วนแนวโน้มการถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองออกจากสภานั้น ค่อนข้างชัดเจนว่ารัฐบาลไม่ถอนแน่ ขณะที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ และอดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) ในฐานะผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ก็ยืนยันว่าจะไม่ถอนร่างดังกล่าวเช่นกัน โดยอ้างว่าไม่มีความจำเป็น และว่า แม้ตนถอน ก็ไม่มีความหมายอะไร เพราะยังเหลือร่างของคนอื่นอีก 3 ฉบับที่ยังอยู่ในวาระ พร้อมยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ขณะที่แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้แถลงย้ำอีกครั้งเมื่อวันที่ 2 ส.ค. โดยเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองออกจากการประชุมสภา หากมีการประชุมพิจารณาร่างดังกล่าวเมื่อไหร่ พันธมิตรฯ จะชุมนุมใหญ่ทันที
ส่วนความคืบหน้ากรณีที่รัฐบาลจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น หลังจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่คำวินิจฉัยส่วนกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนเมื่อสัปดาห์ก่อน ปรากฏว่า ทางรัฐบาลอ้างว่าคำวินิจฉัยยังไม่ชัดเจน ทำให้รัฐบาลยังไม่กล้าตัดสินใจว่าจะเดินหน้าให้รัฐสภาลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระ 3 ต่อไป หรือจะแก้ไขเป็นรายมาตรา หรือจะแก้ไขทั้งฉบับ โดยทำประชามติก่อน โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 30 ก.ค.ได้มีมติให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปศึกษาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ชัดเจนอีกครั้ง และระหว่างรอผล ได้มอบหมายให้นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไปหาวิธีให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ แต่ไม่ใช่การทำประชามติ โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บอกว่า ไม่ใช่การทำประชามติ แต่เป็นกระบวนการสอบถามประชาชน
ด้านพรรคร่วมรัฐบาลได้ประชุมหารือเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 31 ก.ค. ก่อนออกแถลงการณ์ร่วมกันว่า จะมีการจัดตั้งคณะทำงานของพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อศึกษาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเป็นระบบและเร่งด่วน โดยระหว่างรอผลศึกษาของคณะทำงานดังกล่าว ควรจะมีการชะลอการลงมติในวาระ 3 ไว้ก่อน นอกจากนี้ให้สมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลไปรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย
ขณะที่แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เช่น นายจตุพร พรหมพันธุ์ เริ่มออกมากดดันว่าคณะทำงานที่รัฐบาลตั้งขึ้นเพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ไม่ควรใช้เวลานานกว่า 3-4 เดือน และว่า ในส่วนของ นปช.จะไปหาทางออกเรื่องนี้เช่นกัน
2.ศาล ออกกฎเหล็กกันป่วนวันนัดไต่สวนแกนนำแดง 9 ส.ค. เตือนใครฝ่าฝืน ละเมิดอำนาจศาล เจอคุก 6 เดือน!
เมื่อวันที่ 1 ส.ค. นายจุมพล ชูวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ได้เชิญสื่อมวลชนมาซักซ้อมความเข้าใจการปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 9 ส.ค.ซึ่งเป็นวันที่ศาลนัดฟังคำสั่งว่าจะเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวนายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. หรือไม่ หลังถูกนายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการปล่อยตัว นอกจากนี้ในวันดังกล่าว ศาลยังได้นัดสอบถามนายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กับพวกรวม 24 คน ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อการร้าย เพื่อประกอบการพิจารณาว่าจะสั่งเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งหมดหรือไม่ หลังถูกนายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการปล่อยตัว
ส่วนสาเหตุที่ศาลต้องเชิญสื่อมวลชนมาซักซ้อมทำความเข้าใจก่อนถึงวันที่ 9 ส.ค.นั้น เนื่องจากในการไต่สวนนายจตุพรเมื่อวันที่ 23 ก.ค.ได้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในบริเวณศาล จากกรณีคนเสื้อแดงที่มาให้กำลังใจนายจตุพรมีการใช้รถติดตั้งเครื่องขยายเสียงพูดจาปลุกเร้าเสียงดังกึกก้อง ทำให้ขัดขวางการพิจารณาคดีนี้และคดีอื่นๆ ทั้งของศาลอาญา ศาลแพ่ง ศาลอุทธรณ์ และศาลแขวงพระนครเหนือ นอกจากนี้ยังมีการเร่ขายสินค้าขัดขวางการจราจรบนถนนรัชดาภิเษกด้วย ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดเหตุวุ่นวายในวันที่ 9 ส.ค.อีก ศาลจึงอาศัยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 30 ประกอบกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญามาตรา 158 ออกข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะมาศาลอาญาในวันดังกล่าวว่า ห้ามมิให้ผู้ใดประพฤติตนในทางที่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ก่อความรำคาญในบริเวณศาล หรือกระทำการในลักษณะที่เป็นการยั่วยุหรือสนับสนุนในบริเวณศาล ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงส่งเสียงดัง อันเป็นการรบกวนการพิจารณาของศาล ห้ามวางสินค้ากีดขวางทางเข้าออกศาลอาญา ผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ต้องระวางโทษจำคุก 6 เดือน
ด้านนางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. บอกว่า วันที่ 9 ส.ค.จะไม่เปิดเครื่องขยายเสียงไปรบกวนศาลอย่างเด็ดขาด แต่จะใช้เมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น และว่า หากมีเหตุการณ์อะไรควบคุมไม่ได้ ก็ต้องโทษศาลเอง เป็นที่น่าสังเกตว่า นอกจากศาลจะออกกฎเพื่อความเรียบร้อยในวันที่ 9 ส.ค.แล้ว ศาลยังได้ประสานตำรวจเพื่อเปลี่ยนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะมาดูแลศาลในวันที่ 9 ส.ค. จากตำรวจนครบาล เป็นตำรวจคอมมานโดจากกองปราบปรามแทน
ด้านนายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา บอกว่า วันที่ 9 ส.ค.ศาลได้นัดสอบถามกรณีนายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวนายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำเลยในคดีก่อการร้าย กรณีปราศรัยแจกที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและครอบครัว โดยศาลต้องสอบถามนายยศวริศเป็นกรณีพิเศษเหมือนที่สอบถามนายจตุพรไปก่อนหน้านี้
นายทวี ยังบอกด้วยว่า ขณะนี้เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ทำให้จำเลยคดีก่อการร้ายที่เป็น ส.ส.รวม 4 คน สามารถใช้เอกสิทธิ์คุ้มครอง และไม่ต้องเดินทางมาศาลตามที่นัดไว้ในวันที่ 9 ส.ค.ได้ แต่ต้องส่งทนายมาแจ้งต่อศาลว่าขอใช้เอกสิทธิ์คุ้มครอง ประกอบด้วย นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,นพ.เหวง โตจิราการ ,นายก่อแก้ว พิกุลทอง และนายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ซึ่งศาลจะรอจนกว่าจะปิดสมัยประชุมสภา แล้วจะเรียกจำเลยทั้ง 4 คนมาสอบถามต่อไป ส่วนจำเลยอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็น ส.ส. หากไม่มาศาลตามที่ได้ออกหมายเรียกในวันที่ 9 ส.ค. ศาลจะมีคำสั่งออกหมายจับทันที เพราะถือว่าฝ่าฝืนหมายเรียก แสดงว่ามีพฤติการณ์หลบหนี
3.“ยิ่งลักษณ์” สั่งตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไฟใต้ที่กรุงเทพฯ ขณะที่ “กอ.รมน.” เล็งชงเคอร์ฟิวพื้นที่ไม่สงบ ด้านแม่ทัพภาค 4 ค้าน!
ความคืบหน้าหลังคนร้ายลอบยิงทหารชุดลาดตระเวนสังกัดร้อย ร.15321 ฉก.ปัตตานี 25 ทำให้ทหารเสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บ 2 นาย ที่ อ.มายอ จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 28 ก.ค. ปรากฏว่า ผู้เกี่ยวข้อง ทั้งทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ได้สนธิกำลังเข้าปิดล้อมตรวจค้นหมู่บ้านตำบลน้ำใส อ.มายอเมื่อวันที่ 29 ก.ค. โดยควบคุมผู้ต้องสงสัยยิงทหารชุดลาดตระเวนดังกล่าวได้ 3 คน ประกอบด้วย นายอิสมาแอล ดาโอง ผู้ขี่รถจักรยานยนต์รายงานความเคลื่อนไหวของทหาร ,นายอับดุลอสซี จือแน มือปืน และนายรอสดี จือแน มือปืน ซึ่งเป็นพี่น้องกัน
ด้านคณะรัฐมนตรีที่สัญจรไปประชุมที่ จ.สุรินทร์ ได้หารือปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อวันที่ 30 ก.ค. โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้หน่วยงานด้านความมั่นคงบูรณาการเรื่องกล้องวงจรปิดหรือซีซีทีวี ในพื้นที่ เพื่อให้รู้ว่าตรงจุดไหนติดกล้องซีซีทีวีบ้าง โดยเจ้าหน้าที่ต้องรู้และนำมาเชื่อมโยงกันให้มากขึ้น นอกจากนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังได้ให้ตำรวจทำงานร่วมกับสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) มากขึ้น
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาจี้ให้รัฐบาลทบทวนทั้งนโยบายและแนวปฏิบัติในการแก้ปัญหาเหตุไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยขอให้นายกรัฐมนตรีดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดและคิดถึงบ้านเมือง อย่าคิดแต่เรื่องการเมือง
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้เรียกประชุมรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานด้านความมั่นคงประชุมด่วนเมื่อวันที่ 31 ก.ค. เพื่อหาทางแก้ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยหลังประชุม พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี เผยว่า ที่ประชุมได้ทบทวนยุทธศาสตร์ที่นายกฯ เคยให้ไว้ว่าควรปรับปรุงอะไรให้สมบูรณ์ขึ้นบ้าง พร้อมยืนยันว่ายุทธศาสตร์ที่ได้วางไว้ถูกต้องแล้ว อย่างไรก็ตาม จะมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นที่กรุงเทพฯ โดยเป็นการรวมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาชายแดนภาคใต้ รวมทั้งกระทรวงทั้ง 17 กระทรวง โดยมี พล.อ.ยุทธศักดิ์ ,ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ และนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อยู่ในศูนย์เพื่อทำงานร่วมกัน
ทั้งนี้ ช่วงค่ำวันเดียวกัน(31 ก.ค.) เวลา 19.00น. ได้เกิดเหตุระเบิดคาร์บอมบ์บริเวณหลังโรงแรม ซี.เอส. ปัตตานี แรงระเบิดทำให้เกิดไฟลุกไหม้ด้านหลังโรงแรม และส่งผลให้ไฟฟ้าดับทั้งเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ขณะที่ทางโรงแรมต้องอพยพแขกที่เข้าพักและพนักงานออกจากโรงแรม หลังผ่านไป 2 ชั่วโมง สถานการณ์จึงกลับเข้าภาวะสู่ปกติ
นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล ส.ว.ปัตตานี เจ้าของโรงแรม ซี.เอส. ปัตตานี บอกว่า เหตุการณ์คาร์บอมบ์ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้วที่เกิดกับโรงแรมของตน โดยครั้งก่อนเกิดเมื่อวันที่ 14 มี.ค.2551 มีผู้เสียชีวิต 2 ราย คือ พนักงานขับรถและพนักงานของโรงแรม สำหรับครั้งนี้เคราะห์ดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิต
ด้าน พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี พูดถึงเหคุการณ์คาร์บอมบ์ดังกล่าวว่า มาจาก 2 สาเหตุ 1.เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มข้น ส่งผลให้ผู้ก่อการร้ายต้องออกมาแก้ไขสถานการณ์ 2.เกิดจากผู้ก่อการร้าย 2 ฝ่ายพยายามแย่งอำนาจกัน และว่า ขณะนี้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร(กอ.รมน.) และแม่ทัพภาคที่ 4 ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และรู้ตัวบุคคลทุกครั้งที่มีการปฏิบัติการ แต่ยังไม่สามารถติดตามตัวได้ “เหตุคาร์บอมบ์ที่โรงแรม ซี.เอส. เข้าใจว่าเป็นการกระทำของบุคคลที่ไม่มีศาสนา ยืนยันว่าไม่ถึงกับเป็นการก่อการร้ายสากล”
ด้านศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศชต.) ได้แจ้งให้ทุกสถานีตำรวจภูธรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาตใต้ระวังรถยนต์หมายเลขทะเบียนต่อไปนี้ที่ถูกโจรกรรมไปจำนวน 16 คัน ซึ่งอาจถูกคนร้ายสวมรอยนำไปก่อเหตุไม่สงบในพื้นที่ได้ ประกอบด้วย ทะเบียน บร.7934 สงขลา ,กค 1006 ยะลา ,กด6714 พัทลุง ,บต 9179 ปัตตานี ,บง 955 ยะลา ,บฉ 2256 ยะลา ,บง 3171 ยะลา ,ผค 4883 สงขลา ,กบ 4316 สงขลา ,บจ 4179 ยะลา ,บต 3957 สงขลา ,ดง 1598 กรุงเทพมหานคร ,บจ 105 ปัตตานี ,กบ 3315 นราธิวาส ,ถล 8099 กรุงเทพมหานคร และ ผก 7930 สงขลา
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังเหตุไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปรากฏว่า รัฐมนตรีในรัฐบาลเริ่มส่งสัญญาณว่าถึงเวลาต้องใช้กฎหมายพิเศษหรือประกาศเคอร์ฟิวในพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบแล้ว โดย พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยอมรับว่า ได้มีการหารือเรื่องนี้กับผู้นำเหล่าทัพ เพราะเป็นเรื่องจำเป็น พร้อมขอโทษประชาชนด้วยหากเกิดความไม่สะดวก และว่า เวลาอย่างนี้จะเอาความสะดวกไม่ได้แล้ว จะมีการนำกฎหมายมาบังคับใช้ จำเป็นต้องทำแล้วในวันนี้
ทั้งนี้ มีรายงานว่า กอ.รมน.เตรียมเสนอให้ที่ประชุม ครม.เห็นชอบประกาศเคอร์ฟิวในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในเร็วๆ นี้ ขณะที่ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้ยกระดับการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุดในพื้นที่ 7 เขตที่เป็นหัวเมืองเศรษฐกิจ ประกอบด้วย อ.เมือง อ.เบตง จ.ยะลา ,อ.เมือง จ.ปัตตานี ,อ.เมือง อ.ตากใบ อ.สุไหง-โกลก จ.นราธิวาส และ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมีการเสริมยุทโธปกรณ์พิเศษ เช่น ซีซีทีวี และกำลังทหาร รวมทั้งทบทวนการกำหนดพื้นที่ปลอดภัย หรือเซฟตี้ โซน ให้เหมาะสมมากขึ้น
ขณะที่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ก็หนุนประกาศเคอร์ฟิวเช่นกัน แต่ควรใช้ในบางจุด “ทางทหารจะประกาศเป็นจุดและบางเส้นทางสัญจรที่ได้รับผลกระทบเท่านั้น จะไม่ได้ปิดเต็มพื้นที่เหมือนที่ผ่านมา เพื่อป้องกันการเกิดความวิตกกังวลของประชาชนในพื้นที่และความเสียหายด้านเศรษฐกิจ”
อย่างไรก็ตาม พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 ไม่เห็นด้วยกับการประกาศเคอร์ฟิว โดยบอกว่า มาตรการเคอร์ฟิวนั้นเป็นแค่กรอบการทำงานของเจ้าหน้าที่กรณีมีคนหรือสิ่งของกีดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ แต่ตอนนี้ชาวบ้านในพื้นที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ไม่มีการขัดขวาง ดังนั้นจึงยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้เคอร์ฟิว
ด้านนายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล ส.ว.ปัตตานี เจ้าของโรงแรมซีเอส ปัตตานี ที่ถูกคนร้ายวางระเบิดคาร์บอมบ์ ก็ไม่เห็นด้วยกับการประกาศเคอร์ฟิวเช่นกัน เพราะจะสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน พร้อมอยากให้เจ้าหน้าที่รัฐแก้ปัญหาไฟใต้ด้วยการตรวจสอบและค้นหาความจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากกว่าประกาศเคอร์ฟิว
เช่นเดียวกับนายวันอับดุลกอเดร์ แวมุสตอฟา ผู้นำศาสนาอิสลาม จ.ยะลา ก็ไม่เห็นด้วยกับการประกาศเคอร์ฟิวในช่วงเดือนรอมฎอนที่ชาวมุสลิมกำลังถือศีลอด “การประกอบพิธีทางศาสนาในช่วงนี้ ควรจะออกจากบ้านไปที่มัสยิดหรือสุเหร่า ถ้ามีการประกาศเคอร์ฟิว ก็เหมือนกับการไปกีดกั้นการปฏิบัติของแต่ละคน เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง การละหมาดที่บ้านกับการละหมาดที่มัสยิด ผลตอบแทนที่พระเจ้าจะให้นั้น ต่างกันอย่างทวีคูณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนรอมฎอน”
4.ศาลฎีกาฯ สั่งเพิกถอน “สัก กอแสงเรือง” พ้น ส.ว. แต่ไม่ตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี!
เมื่อวันที่ 1 ส.ค. ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ได้อ่านคำสั่งคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการเป็น ส.ว.สรรหาของนายสัก กอแสงเรือง และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนายสักเป็นเวลา 5 ปี โดย กกต.ร้องว่า นายสักได้รับการสรรหาเป็น ส.ว.ในการสรรหาเมื่อวันที่ 25 ก.พ.2554 จากนั้นนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้เข้ารับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว.ได้ยื่นคำร้องว่าการสรรหา ส.ว.เป็นไปโดยไม่ถูกต้อง โดยชี้ว่า นายสักเป็นผู้ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามมิให้ได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว.ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 115 (9) เพราะนายสักเคยได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ว.ครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ 2540 เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2543 และพ้นจากการเป็น ส.ว.ชุดดังกล่าวมายังไม่เกิน 5 ปี สภาทนายความก็ได้เสนอชื่อนายสักเข้ารับการสรรหา ส.ว.เมื่อวันที่ 6 มี.ค.2554
ทั้งนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง พิจารณาแล้วเห็นว่า นายสักพ้นจากตำแหน่ง ส.ว.มายังไม่เกิน 5 ปีจริงตามที่ถูกร้อง จึงต้องถือว่าได้รับการสรรหามาเป็น ส.ว.โดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการสรรหาจากผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 240 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ.2550 มาตรา 134 (1) จึงสั่งเพิกถอนการสรรหา ส.ว.ของนายสัก พร้อมสั่งให้มีการสรรหา ส.ว. ในส่วนของนายสักใหม่ อย่างไรก็ตาม ศาลไม่ได้ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปีนายสักแต่อย่างใด โดยให้เหตุผลว่า พิจารณาพฤติการณ์แล้ว ยังไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า นายสักรู้ดีอยู่แล้วว่าตนมีลักษณะต้องห้าม หรือมีเจตนาหรือจงใจที่จะกระทำการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หรือประสงค์ให้ผลการสรรหา ส.ว.เป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม จึงยังไม่มีเหตุที่จะสั่งเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งของนายสัก ด้านนายสัก ไม่ได้เดินทางมาฟังคำสั่งศาลแต่อย่างใด มีเพียงทนายความเดินทางมาเท่านั้น