คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1. “อากง” นักโทษคดีหมิ่นเบื้องสูง ถูกมะเร็งตับเล่นงานตายคา รพ.คุก ด้าน “เสื้อแดง” สบช่อง จี้แก้ ม.112 !
เมื่อวันที่ 8 พ.ค.นายอำพล ตั้งนพคุณ หรืออากง อายุ 61 ปี นักโทษคดีหมิ่นเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 จากกรณีที่ได้ส่งข้อความในลักษณะหมิ่นเบื้องสูงเข้าไปยังโทรศัพท์มือถือของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขณะเป็นนายกรัฐมนตรี แต่นายอำพลอ้างว่า ขณะเกิดเหตุ ตนนำโทรศัพท์มือถือไปซ่อมที่ร้านในห้างสรรพสินค้าอิมพิเรียล สาขาสำโรง และส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือไม่เป็น ด้านศาลอาญาได้พิพากษาเมื่อวันที่ 23 พ.ย.2554 ให้จำคุกนายอำพล 4 กระทง กระทงละ 5 ปี รวม 20 ปี และไม่อนุญาตให้ประกันตัว เนื่องจากคดีมีอัตราโทษสูงและเกรงว่าจะหลบหนี อย่างไรก็ตาม หลังถูกคุมขังอยู่นานประมาณ 5 เดือน นายอำพลได้มาเสียชีวิตลงจากอาการป่วยด้วยโรคมะเร็งขณะรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลราชทัณฑ์เมื่อช่วงเช้าวันที่ 8 พ.ค.
ต่อมาช่วงสายวันเดียวกัน นางรสมาลิน ภรรยานายอำพล ได้เดินทางมารอรับศพสามี ขณะเดียวกันได้มีแนวร่วมคนเสื้อแดงเดินทางมาแสดงความเสียใจด้วย
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบเบื้องต้นของตำรวจ สน.ประชาชื่น ไม่พบบาดแผลหรือร่องรอยการถูกทำร้ายที่ร่างกายนายอำพลแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามได้มีการส่งศพนายอำพลไปผ่าพิสูจน์อีกครั้งที่สถาบันนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ ปรากฏว่า พบเนื้องอกบริเวณตับ ซึ่งได้ลุกลามไปยังลำไส้และปอด สรุปสาเหตุการเสียชีวิตได้ว่า น่าจะมาจากมะเร็งระยะสุดท้าย
ด้าน พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ บอกว่า นายอำพลมีอาการปวดท้องตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. ทางเรือนจำได้ตรวจอาการเบื้องต้นและให้ยาแก้ปวดท้อง เมื่ออาการไม่ดีขึ้น จึงได้ส่งตัวไปรักษาที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค. และมาเสียชีวิตลงช่วงเช้าวันที่ 8 พ.ค. พ.ต.อ.สุชาติ ยังบอกด้วยว่า ทางเรือนจำทราบว่านายอำพลเป็นมะเร็ง จึงได้รักษาตามที่แพทย์แนะนำ แต่วิธีการรักษาตนไม่ทราบ
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังนายอำพลเสียชีวิต แนวร่วมคนเสื้อแดงได้พยายามจุดประเด็นให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อีกครั้ง จากที่ก่อนหน้านี้เคยเรียกร้องมาเป็นระยะๆ แต่ไม่สำเร็จ รวมทั้งเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษในคดีหมิ่นเบื้องสูงคนอื่นๆ ที่ยังคงถูกคุมขังอยู่ โดยอ้างว่าเป็นคดีการเมือง
ทั้งนี้ คนเสื้อแดงได้รวมตัวหน้าศาลอาญา พร้อมจัดพิธีรดน้ำศพนายอำพลที่หน้าศาลเมื่อวันที่ 9 พ.ค. โดยอ้างว่าการเสียชีวิตของนายอำพลเกิดจากความไม่เป็นธรรมในช่วงเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง จึงถูกนำไปเป็นเครื่องมือทางการเมือง ดังนั้นจึงขอให้รัฐบาลเร่งปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังในคดีการเมืองทั้งหมด
ด้าน รศ.ดร.สุดา รังกุพันธุ์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่เคลื่อนไหวให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้ออกมาบอกว่า ในแง่คดีอากงตนจะไม่ทำอะไร เพราะคดีถึงที่สุดแล้ว แต่ตนจะเรียกร้องให้มีการแก้ไขมาตรา 112 อย่างสันติวิธีต่อไป พร้อมนัดคนเสื้อแดงรวมตัวเพื่อแห่ศพอากงไปยังทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภาในวันที่ 10 พ.ค.ก่อนนำศพไปบำเพ็ญกุศลที่วัดด่านสำโรง จ.สมุทรปราการต่อไป
เป็นที่น่าสังเกตว่า คนเสื้อแดงพยายามจุดกระแสเรื่องนายอำพลไม่ได้รับการประกันตัว จนเป็นเหตุให้เสียชีวิตในคุก ร้อนถึงนายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ต้องออกมาชี้แจงว่า หลังศาลอาญาพิพากษาจำคุก นายอำพลได้ยื่นขอประกันตัวในชั้นศาลอุทธรณ์ แต่ระหว่างรอคำสั่งศาล นายอำพลได้ยื่นขอประกันตัวไปยังศาลฎีกาอีก ซึ่งศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวเมื่อวันที่ 15 มี.ค.ที่ผ่านมา จากนั้นนายอำพลได้ยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์เมื่อวันที่ 3 เม.ย. เพื่อให้คดีสิ้นสุด เนื่องจากต้องการใช้สิทธิ์ยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ
ส่วนการป่วยของนายอำพลนั้น นายทวี บอกว่า นายอำพลอยู่ในการควบคุมของกรมราชทัณฑ์ ซึ่งให้การรักษาพยาบาลนักโทษอยู่แล้ว หากจะนำตัวออกมารักษาภายนอกก็อาจทำได้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ควบคุม
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลชี้แจงเกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายอำพล พร้อมยืนยันด้วยว่าจะไม่แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อไม่ให้มีใครหยิบเรื่องนี้ไปเป็นประโยชน์ทางการเมือง
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ออกมายืนยันว่า รัฐบาลไม่มีนโยบายแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และได้บอกคนเสื้อแดงไปแล้วว่า ภาระหน้าที่ของรัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเป็นเรื่องเร่งด่วน
เป็นที่น่าสังเกตว่า แนวร่วมคนเสื้อแดงได้นำหนังสือเชิญนายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ,นายชนาธิป เหมือนพะวงศ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญา เจ้าของสำนวนคดีอากง ,นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม รวมทั้งนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวนายอภิสิทธิ์ ที่เป็นเจ้าของโทรศัพท์ที่ถูกระบุว่านายอำพลส่งข้อความสั้นในลักษณะหมิ่นเบื้องสูงเข้าไป ให้ไปร่วมงานสวดพระอภิธรรมศพนายอำพลที่วัดด่านสำโรงด้วย ซึ่งทางผู้พิพากษาอยู่ระหว่างตัดสินใจว่าจะส่งพวงหรีดไปร่วมงานศพนายอำพลหรือไม่
หลังคนเสื้อแดงพยายามนำการเสียชีวิตของนายอำพลมาเป็นเหตุเรียกร้องให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เกี่ยวกับโทษในคดีหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ปรากฏว่า ดารานักแสดงชื่อดัง “ตั๊ก” บงกช คงมาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยแสดงความไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวดังกล่าวของคนเสื้อแดง จึงได้เขียนทำนองว่า ตนรักพ่อหลวง พวกที่ดูหมิ่นพ่อ ตกนรกแน่ “ถึงฉันจะเปิดนม เปิดอะไร หรือมีชื่อเสียงไม่ดี หรืออะไรก็ตามที่คุณจะสรรหามาด่า แต่ฉันก็ไม่โง่ แล้วทำไมคุณกล้าสู้เพื่ออากง แล้วเมื่อไหร่คุณจะตายคะ จะได้ไปช่วยอากงต่อในนรก เพราะอากงคุณตกนรกแน่ จากกรรมที่หมิ่นพ่อของฉัน”
ทั้งนี้ คำพูดของตั๊ก บงกช ส่งผลให้แนวร่วมคนเสื้อแดงและนักวิชาการสายเสื้อแดงไม่พอใจ และออกมาสวนกลับตั๊ก เช่น นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ้คทำนองว่า ตั๊กแสดงความรักด้วยความเขลาและขาดความรับผิดชอบ จึงเป็นการทำร้ายผู้อื่นที่เจ็บปวดอยู่แล้วให้เสียใจมากยิ่งขึ้น
ขณะที่คนเสื้อแดงที่พัทยา จ.ชลบุรีได้พยายามคุกคามตั๊ก ขณะเดินทางไปถ่ายหนังที่พัทยา ซอย 6 เมื่อกลางดึกคืนวันที่ 12 พ.ค. โดยกลุ่มคนเสื้อแดงที่ไปดักรออยู่ได้พากันตะโกนต่อว่าตั๊ก พร้อมชูป้ายข้อความต่อว่าด้วยถ้อยคำที่รุนแรง ทำให้การถ่ายหนังต้องล่มกลางคัน จากนั้นกองถ่ายฯ และตั๊ก ได้รีบขับรถหลบหนี โดยมีกลุ่มคนเสื้อแดงขี่รถจักรยานยนต์ไล่ตามด้วยความโกรธแค้น โชคดีตั๊กและทีมงานสามารถหลบหนีออกจากเขตพัทยาได้ด้วยความปลอดภัย
ด้านนายเพิ่มศักดิ์ (สงวนนามสกุล) ลูกชายของนายอำพล ตั้งนพคุณ หรืออากง ได้เปิดใจครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 พ.ค.โดยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าววอยซ์ทีวี สถานีโทรทัศน์ของนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ โดยเชื่อว่า พ่อไม่ได้ส่งข้อความหมิ่นเบื้องสูง เพราะที่บ้านตนมีรูปในหลวง และพระบรมวงศานุวงศ์อยู่บนหิ้งพระ พ่อตนสอนว่าเราโชคดีเกิดบนแผ่นดินนี้ มีพ่อหลวง-แม่หลวงที่ดีที่ดูแลเรา โชคดีที่มีพระมหากษัตริย์-พระราชินีที่ยิ่งใหญ่ จึงไม่มีปัจจัยให้ต้องส่งข้อความหมิ่น
ทั้งนี้ หลังการเสียชีวิตของนายอำพล กลุ่มคนเสื้อแดงได้ยื่นข้อเรียกร้องถึงรัฐบาลและกรมราชทัณฑ์ 3 ข้อ คือ 1.ให้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด กรณีที่ตั้งข้อกล่าวหาร้ายแรงและไม่ให้ประกันตัว 2.ให้ผู้ที่ถูกคุมขังคดีการเมืองต้องได้ประกันตัวทั้งหมด เพื่อออกมาสู้คดี และให้รัฐบาลเร่งผลักดันให้ผู้ที่ถูกลงโทษตามมาตรา 112 ได้รับการอภัยโทษโดยเร็วที่สุด 3.กระบวนการของกฎหมายต้องได้รับการทบทวน รวมทั้งให้ทบทวนระเบียบของกรมราชทัณฑ์ในการดูแลสุขภาพของผู้ต้องขังให้ดีเท่าที่ควร
2. “เฉลิม” ลั่น พร้อมไปพม่าขอตัว “นะคะมวย” ขณะที่เจ้าตัวสวนกลับ ไปจับ “ทักษิณ”ก่อน!
ความคืบหน้ากรณี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ประกาศตามล่า พล.อ.นะคะมวย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองทัพกะเหรี่ยงดีเคบีเอ หรือโกะทูบลอ หลังจากมีผู้ต้องหาซัดทอดว่า พล.อ.นะคะมวยมีส่วนร่วมอยู่ในขบวนการค้ายาเสพติด จึงได้ประสานรัฐบาลพม่าเพื่อขอตัว พล.อ.นะคะมวยมาดำเนินคดีในไทย ขณะที่ พล.อ.นะคะมวยไม่พอใจ ขู่ปิดชายแดนไทย-พม่านั้น
ร.ต.อ.เฉลิม ได้ออกมาประกาศอีกครั้งเมื่อวันที่ 8 พ.ค.ว่า ถ้าต้องเดินทางไปหารือกับรัฐบาลพม่าเพื่อขอตัว พล.อ.นะคะมวย ตนก็พร้อม ด้าน พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รองผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด เผยที่มาของการโยงเรื่องยาเสพติดกับ พล.อ.นะคะมวยว่า ตำรวจปราบปรามยาเสพติดได้จับกุมขบวนการค้ายาเสพติดเมื่อปี 2546 ซึ่งมีผู้ต้องหาเป็นหญิง 1 ราย พร้อมยาบ้าล็อตใหญ่กว่า 9 แสนเม็ด ด้านศาลได้พิพากษาประหารชีวิตแล้ว แต่ผู้ต้องหารับสารภาพ จึงลดโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต จากนั้นได้มีการสืบสวนขยายผลจนทราบว่า พล.อ.นะคะมวยมีส่วนเกี่ยวข้อง เนื่องจากมีพยานหลักฐานชัดเจน เป็นพยานที่ติดต่อซื้อขายกับ พล.อ.นะคะมวย
ด้าน พล.อ.นะคะมวย ได้ทำหนังสือเชิญสื่อมวลชนเพื่อฟังตนแถลงข่าวในวันที่ 10 พ.ค. โดยยืนยันว่า ตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด พร้อมขู่ว่า จะเปิดโปงขบวนการค้ายาเสพติดที่แท้จริง และจะออกมาตรการเพื่อตอบโต้ฝ่ายไทยด้วย
ทั้งนี้ เมื่อถึงกำหนด(10 พ.ค.) พล.อ.นะคะมวย ได้แถลงข่าวผ่านล่ามท่ามกลางสื่อมวลชนที่ไปฟังการแถลงข่าวกว่า 40 สำนัก โดยนอกจากยืนยันความบริสุทธิ์ใจว่าตนไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดแล้ว ยังท้าให้หน่วยงานปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลไทยกับรัฐบาลพม่าเข้าไปพิสูจน์พื้นที่ของกะเหรี่ยงดีเคบีเอได้ทันที หากพบว่าตนมีความผิดจริง ก็พร้อมจะไปมอบตัวต่อทางการไทย
พล.อ.นะคะมวย ยังตั้งคำถามกับ ร.ต.อ.เฉลิมและรัฐบาลไทยด้วยว่า แทนที่จะมาจับตน ทำไมไม่ไปจับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก่อน “ขอตั้งข้อสังเกตต่อทางการไทยว่า ทำไมฝ่ายไทยจึงมาประกาศรายชื่อผมอยู่ในบัญชีผู้ค้ายาเสพติด ซึ่งเป็นช่วงที่ทางกองทัพโกะทูบลอกำลังเจรจากับรัฐบาลพม่า และกำลังพัฒนาพื้นที่ชายแดน ทั้งที่ศาลไทยออกหมายจับผมมาตั้งแต่ปี 2546 อยากถามว่าทำไมรัฐบาลไทยถึงไม่ไปจับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่หนีหมายศาลก่อน ทั้งที่มีความผิดชัดเจน และการออกหมายศาลเพื่อจับหรือการขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ค้ายาเสพติดนั้น ก็ไม่เคยได้รับแจ้งจากทางการไทย นอกจากทราบทางสื่อมวลชนเท่านั้น”
เป็นที่น่าสังเกตว่า พล.อ.นะคะมวย ไม่ได้เปิดโปงขบวนการค้ายาเสพติดตามที่ได้ประกาศก่อนหน้านี้ โดยบอกเพียงว่า ไม่มีการค้ายาเสพติดหรือผลิตยาเสพติดในพื้นที่กะเหรี่ยงดีเคบีเอ เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ทางการไทยแจ้งให้ฝ่ายพม่าช่วยจับกุมตัว พล.อ.นะคะมวยเพื่อส่งตัวให้ไทยดำเนินคดี ปรากฏว่า พล.อ.นะคะมวยไม่ตอบ แต่ให้ พ.อ.ซานอ่อง นายทหารคนสนิทตอบแทน ซึ่ง พ.อ.ซานอ่องตอบด้วยน้ำเสียงไม่พอใจว่า หากบีบคั้นกันมากๆ ฝ่ายดีเคบีเอจะมีมาตรการตอบโต้อย่างแน่นอน
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ไม่ให้ราคากับคำพูดของ พล.อ.นะคะมวยที่บอกให้ไปจับ พ.ต.ท.ทักษิณก่อน โดยบอกว่า เป็นคนละเรื่อง เพราะคนหนึ่งเป็นผู้ค้ายาเสพติด กับอีกคนหนึ่งซึ่งไม่ได้ทำอะไรผิด และสิ่งที่เกิดขึ้นกับ พ.ต.ท.ทักษิณก็เกิดจากการปฏิวัติ จะไปเปรียบเทียบฟ้ากับดินไม่ได้ ร.ต.อ.เฉลิม ยังพูดถึงกรณีที่สหประชาชาติ(ยูเอ็น) ระบุว่าประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดด้วย โดยยืนยันว่า ไม่มีการผลิตยาเสพติดในไทย มีแต่ผลิตจากนอกประเทศและนำเข้ามา พร้อมสวนกลับยูเอ็นด้วยว่า ยูเอ็นอยู่ทวีปยุโรปจะมารู้อะไร ตอนนี้เรากำลังรื้อรังแตนอยู่ มันก็ต้องมีการแตกรังอยู่แล้ว
ทั้งนี้ หลัง พล.อ.นะคะมวย แนะให้รัฐบาลไทยไปตามจับ พ.ต.ท.ทักษิณก่อน ปรากฏว่า นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาแสดงความเห็นด้วย โดยบอกว่า เป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะความผิดของ พ.ต.ท.ทักษิณเกี่ยวกับการทุจริตประพฤติมิชอบในตำแหน่งหน้าที่ เป็นความผิดในกฎหมายอาญาและเป็นความผิดตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 100 ทาง ร.ต.อ.เฉลิมก็ไม่ควรละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยจะต้องบังคับใช้กฎหมายให้เสมอภาคกัน ไม่เลือกปฏิบัติ
3. ดีเอสไอ สั่งไม่ฟ้อง “จตุพร” ปราศรัยหมิ่นเบื้องสูง พร้อมหยุดสอบคดี “ผังล้มเจ้า” อ้าง ไม่มีพยานยืนยันความผิด!
เมื่อวันที่ 10 พ.ค. นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ได้แถลงความคืบหน้าคดีผังล้มเจ้าและคดีนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) กับพวก ปราศรัยในลักษณะที่อาจเข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูงเมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สำหรับคดีนายจตุพรกับพวกปราศรัยนั้น นายธาริต เผยว่า พนักงานสอบสวนได้ประชุมร่วมกับพนักงานอัยการและมีความเห็นร่วมกันว่า สมควรสั่งไม่ฟ้อง “ด้วยเหตุผลคือ การสอบสวนพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งคำกล่าวในการปราศรัยไม่เข้าข่ายความผิดมาตรา 112”
นายธาริต ยังบอกด้วยว่า ดีเอสไอได้ส่งสำนวนคดีนายจตุพรกับพวกให้อัยการแล้ว อยู่ที่ดุลพินิจของอัยการว่าจะสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง หรือสั่งฟ้องและสั่งให้มีการสอบสวนพยานเพิ่มเติม
ส่วนคดีผังล้มเจ้า ที่มีผู้ถูกกล่าวหา 39 คนนั้น นายธาริต บอกว่า จากการสอบสวน ยังไม่มีพยานยืนยันการกระทำความผิด พนักงานสอบสวนจึงได้ประชุมร่วมกับอัยการและมีความเห็นให้งดการสอบสวน และส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเห็นชอบต่อไป นายธาริต ยังย้ำด้วยว่า การงดสอบสวนไม่ได้หมายความว่า ไม่พบการกระทำความผิด และยังสามารถนำคดีดังกล่าวมาดำเนินการสอบสวนในภายหน้าได้
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ข้องใจในดุลพินิจของดีเอสไอ โดยบอก ตนรู้สึกข้องใจ 2 ประการ คือ 1.เนื้อหาที่นายจตุพรกับพวกปราศรัย มีความไม่เหมาะสม และ 2.การแถลงข่าวสั่งไม่ฟ้องนั้น สอดรับกับคำพูดของแกนนำคนเสื้อแดงก่อนหน้านี้ที่ออกมาบอกก่อนว่าดีเอสไอสั่งไม่ฟ้อง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังขา และคงต้องไปสอบถามนายธาริตว่าเป็นเพราะอะไร ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ยังพูดทำนองเตือนนายธาริตด้วยว่า คนที่ใช้ดุลพินิจเรื่องนี้จะต้องรับผิดชอบ
4. กรมพัฒนาสังคมฯ สนองนโยบาย รบ. ดีเดย์จ่ายเงินเยียวยาผู้เสียชีวิต-บาดเจ็บจากการชุมนุมกว่า 1,500 ราย 15 พ.ค.นี้!
เมื่อวันที่ 10 พ.ค. เว็บไซต์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ได้เผยแพร่รายงานผลการเปิดรับลงทะเบียนผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองระหว่างปี 2548-2553 ที่กรมฯ ได้เปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค.-12 เม.ย.ที่ผ่านมา ตามที่คณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(ปคอป.) ที่มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน ได้มีมติให้กรมฯ เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งผลปรากฏว่า มีผู้ลงทะเบียนทั้งหมด 5,377 ราย แบ่งเป็น กทม. 4,630 ราย ต่างจังหวัด 747 ราย ทั้งนี้ คณะทำงานได้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและหลักฐานของผู้ลงทะเบียนและประกาศรายชื่อไปแล้ว 3 ครั้ง มีจำนวนผู้เสียหายที่จะได้รับเงินเยียวยาตามความสูญเสียรวมทั้งสิ้น 1,521 ราย
โดยแบ่งเป็นผู้เสียชีวิต 104 ศพ จาก 3 เหตุการณ์ คือ เหตุการณ์การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) ปี 2551 จำนวน 4 ราย ,เหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เมื่อเดือน เม.ย.2552 จำนวน 2 ราย และเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช.ระหว่างเดือน เม.ย.-พ.ค.2553 จำนวน 98 ราย ส่วนผู้บาดเจ็บแบ่งเป็น กลุ่มผู้ทุพพลภาพ 34 ราย ,กลุ่มผู้บาดเจ็บสาหัส 93 ราย ,กลุ่มผู้บาดเจ็บ 521 ราย และกลุ่มผู้บาดเจ็บเล็กน้อย 769 ราย โดยทางกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จะเริ่มจ่ายเงินเยียวยาตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.เป็นต้นไป
ทั้งนี้ เว็บไซต์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ แจ้งด้วยว่า ผู้ที่จะได้รับเงินเยียวยาทั้ง 1,521 ราย เป็นผู้ที่ไม่เคยได้รับเงินช่วยเหลือหรือเงินชดเชยอื่นจากรัฐ และเป็นผู้ที่ไม่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาหรือถูกดำเนินคดีโดยหน่วยงานรัฐ รวมทั้งเป็นผู้ที่ไม่ได้ฟ้องแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายจากหน่วยงานของรัฐ เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อลองกรอกชื่อและนามสกุลของผู้ที่อยู่ในข่าย 1,521 รายดังกล่าว พบว่า มีชื่อของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ที่สนับสนุนกลุ่มเสื้อแดงด้วย โดยระบุว่า อยู่ในประเภท “ผู้เสียชีวิต” แต่เมื่อลองกรอกชื่อ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตรองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ที่เสียชีวิตจากการถูกยิงด้วยเอ็ม 79 ระหว่างขอคืนพื้นที่การชุมนุมจากกลุ่ม นปช.เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553 ที่บริเวณสี่แยกคอกวัว กลับไม่ปรากฏชื่อแต่อย่างใด
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรี(ครม.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้อนุมัติวงเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากการชุมนุมทางการเมืองระหว่างปี 2548-2553 จำนวน 2,000 ล้านบาท โดยผู้เสียชีวิตหรือทุพพลภาพจะได้เงินชดเชย 4.5 ล้านบาท บวกเงินเยียวยาความสูญเสียด้านจิตใจอีก 3 ล้านบาท รวมเป็น 7.75 ล้านบาท และหากไม่ได้เสียชีวิตทันที แต่มีการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลก่อนเสียชีวิต จะได้เงินค่ารักษาอีกรายละไม่เกิน 2 แสนบาท รวมเป็น 7.95 ล้านบาท ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากว่า เป็นการจ่ายเงินเยียวยาที่สูงเกินเหตุ และไม่มีประเทศไหนที่จ่ายเงินเยียวยาความสูญเสียด้านจิตใจแบบที่ประเทศไทยกำลังดำเนินการอยู่
5. วันพืชมงคลปีนี้ พระโคกินหญ้า พยากรณ์ว่าน้ำท่าจะบริบูรณ์!
เมื่อวันที่ 9 พ.ค. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ไปในการพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2555 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
สำหรับปีนี้ ผู้ที่ทำหน้าที่พระยาแรกนาคือ นายศุภชัย บานพับทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนเทพีคู่หาบทอง ได้แก่ น.ส.ศิริลักษณ์ สมสกุล นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ กรมชลประทาน และ น.ส.เจษฎาภรณ์ สถาปัตยานนท์ นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญ กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำหรับเทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ น.ส.สุมาลี จำเริญ นิติกรปฏิบัติการ กรมปศุสัตว์ และ น.ส.สุวิสาข์ เกตุอินทร์ นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ กรมส่งเสริมการเกษตร ส่วนพระโคแรกนาขวัญ ได้แก่ พระโคฟ้าและพระโคใส
สำหรับผลการเสี่ยงทายนั้น ในส่วนของพระยาแรกนา เสี่ยงทายผ้านุ่ง ได้ผ้า 6 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอนจะเสียหายบ้าง ไม่ได้ผลเต็มที่ ส่วนพระโคเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ประกอบด้วย หญ้า ข้าวเปลือก เหล้า ข้าวโพด ถั่วเขียว งา และน้ำ ผลปรากฏว่า พระโคกินหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
1. “อากง” นักโทษคดีหมิ่นเบื้องสูง ถูกมะเร็งตับเล่นงานตายคา รพ.คุก ด้าน “เสื้อแดง” สบช่อง จี้แก้ ม.112 !
เมื่อวันที่ 8 พ.ค.นายอำพล ตั้งนพคุณ หรืออากง อายุ 61 ปี นักโทษคดีหมิ่นเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 จากกรณีที่ได้ส่งข้อความในลักษณะหมิ่นเบื้องสูงเข้าไปยังโทรศัพท์มือถือของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขณะเป็นนายกรัฐมนตรี แต่นายอำพลอ้างว่า ขณะเกิดเหตุ ตนนำโทรศัพท์มือถือไปซ่อมที่ร้านในห้างสรรพสินค้าอิมพิเรียล สาขาสำโรง และส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือไม่เป็น ด้านศาลอาญาได้พิพากษาเมื่อวันที่ 23 พ.ย.2554 ให้จำคุกนายอำพล 4 กระทง กระทงละ 5 ปี รวม 20 ปี และไม่อนุญาตให้ประกันตัว เนื่องจากคดีมีอัตราโทษสูงและเกรงว่าจะหลบหนี อย่างไรก็ตาม หลังถูกคุมขังอยู่นานประมาณ 5 เดือน นายอำพลได้มาเสียชีวิตลงจากอาการป่วยด้วยโรคมะเร็งขณะรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลราชทัณฑ์เมื่อช่วงเช้าวันที่ 8 พ.ค.
ต่อมาช่วงสายวันเดียวกัน นางรสมาลิน ภรรยานายอำพล ได้เดินทางมารอรับศพสามี ขณะเดียวกันได้มีแนวร่วมคนเสื้อแดงเดินทางมาแสดงความเสียใจด้วย
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบเบื้องต้นของตำรวจ สน.ประชาชื่น ไม่พบบาดแผลหรือร่องรอยการถูกทำร้ายที่ร่างกายนายอำพลแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามได้มีการส่งศพนายอำพลไปผ่าพิสูจน์อีกครั้งที่สถาบันนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ ปรากฏว่า พบเนื้องอกบริเวณตับ ซึ่งได้ลุกลามไปยังลำไส้และปอด สรุปสาเหตุการเสียชีวิตได้ว่า น่าจะมาจากมะเร็งระยะสุดท้าย
ด้าน พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ บอกว่า นายอำพลมีอาการปวดท้องตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. ทางเรือนจำได้ตรวจอาการเบื้องต้นและให้ยาแก้ปวดท้อง เมื่ออาการไม่ดีขึ้น จึงได้ส่งตัวไปรักษาที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค. และมาเสียชีวิตลงช่วงเช้าวันที่ 8 พ.ค. พ.ต.อ.สุชาติ ยังบอกด้วยว่า ทางเรือนจำทราบว่านายอำพลเป็นมะเร็ง จึงได้รักษาตามที่แพทย์แนะนำ แต่วิธีการรักษาตนไม่ทราบ
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังนายอำพลเสียชีวิต แนวร่วมคนเสื้อแดงได้พยายามจุดประเด็นให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อีกครั้ง จากที่ก่อนหน้านี้เคยเรียกร้องมาเป็นระยะๆ แต่ไม่สำเร็จ รวมทั้งเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษในคดีหมิ่นเบื้องสูงคนอื่นๆ ที่ยังคงถูกคุมขังอยู่ โดยอ้างว่าเป็นคดีการเมือง
ทั้งนี้ คนเสื้อแดงได้รวมตัวหน้าศาลอาญา พร้อมจัดพิธีรดน้ำศพนายอำพลที่หน้าศาลเมื่อวันที่ 9 พ.ค. โดยอ้างว่าการเสียชีวิตของนายอำพลเกิดจากความไม่เป็นธรรมในช่วงเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง จึงถูกนำไปเป็นเครื่องมือทางการเมือง ดังนั้นจึงขอให้รัฐบาลเร่งปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังในคดีการเมืองทั้งหมด
ด้าน รศ.ดร.สุดา รังกุพันธุ์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่เคลื่อนไหวให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้ออกมาบอกว่า ในแง่คดีอากงตนจะไม่ทำอะไร เพราะคดีถึงที่สุดแล้ว แต่ตนจะเรียกร้องให้มีการแก้ไขมาตรา 112 อย่างสันติวิธีต่อไป พร้อมนัดคนเสื้อแดงรวมตัวเพื่อแห่ศพอากงไปยังทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภาในวันที่ 10 พ.ค.ก่อนนำศพไปบำเพ็ญกุศลที่วัดด่านสำโรง จ.สมุทรปราการต่อไป
เป็นที่น่าสังเกตว่า คนเสื้อแดงพยายามจุดกระแสเรื่องนายอำพลไม่ได้รับการประกันตัว จนเป็นเหตุให้เสียชีวิตในคุก ร้อนถึงนายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ต้องออกมาชี้แจงว่า หลังศาลอาญาพิพากษาจำคุก นายอำพลได้ยื่นขอประกันตัวในชั้นศาลอุทธรณ์ แต่ระหว่างรอคำสั่งศาล นายอำพลได้ยื่นขอประกันตัวไปยังศาลฎีกาอีก ซึ่งศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวเมื่อวันที่ 15 มี.ค.ที่ผ่านมา จากนั้นนายอำพลได้ยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์เมื่อวันที่ 3 เม.ย. เพื่อให้คดีสิ้นสุด เนื่องจากต้องการใช้สิทธิ์ยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ
ส่วนการป่วยของนายอำพลนั้น นายทวี บอกว่า นายอำพลอยู่ในการควบคุมของกรมราชทัณฑ์ ซึ่งให้การรักษาพยาบาลนักโทษอยู่แล้ว หากจะนำตัวออกมารักษาภายนอกก็อาจทำได้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ควบคุม
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลชี้แจงเกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายอำพล พร้อมยืนยันด้วยว่าจะไม่แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อไม่ให้มีใครหยิบเรื่องนี้ไปเป็นประโยชน์ทางการเมือง
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ออกมายืนยันว่า รัฐบาลไม่มีนโยบายแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และได้บอกคนเสื้อแดงไปแล้วว่า ภาระหน้าที่ของรัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเป็นเรื่องเร่งด่วน
เป็นที่น่าสังเกตว่า แนวร่วมคนเสื้อแดงได้นำหนังสือเชิญนายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ,นายชนาธิป เหมือนพะวงศ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญา เจ้าของสำนวนคดีอากง ,นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม รวมทั้งนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวนายอภิสิทธิ์ ที่เป็นเจ้าของโทรศัพท์ที่ถูกระบุว่านายอำพลส่งข้อความสั้นในลักษณะหมิ่นเบื้องสูงเข้าไป ให้ไปร่วมงานสวดพระอภิธรรมศพนายอำพลที่วัดด่านสำโรงด้วย ซึ่งทางผู้พิพากษาอยู่ระหว่างตัดสินใจว่าจะส่งพวงหรีดไปร่วมงานศพนายอำพลหรือไม่
หลังคนเสื้อแดงพยายามนำการเสียชีวิตของนายอำพลมาเป็นเหตุเรียกร้องให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เกี่ยวกับโทษในคดีหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ปรากฏว่า ดารานักแสดงชื่อดัง “ตั๊ก” บงกช คงมาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยแสดงความไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวดังกล่าวของคนเสื้อแดง จึงได้เขียนทำนองว่า ตนรักพ่อหลวง พวกที่ดูหมิ่นพ่อ ตกนรกแน่ “ถึงฉันจะเปิดนม เปิดอะไร หรือมีชื่อเสียงไม่ดี หรืออะไรก็ตามที่คุณจะสรรหามาด่า แต่ฉันก็ไม่โง่ แล้วทำไมคุณกล้าสู้เพื่ออากง แล้วเมื่อไหร่คุณจะตายคะ จะได้ไปช่วยอากงต่อในนรก เพราะอากงคุณตกนรกแน่ จากกรรมที่หมิ่นพ่อของฉัน”
ทั้งนี้ คำพูดของตั๊ก บงกช ส่งผลให้แนวร่วมคนเสื้อแดงและนักวิชาการสายเสื้อแดงไม่พอใจ และออกมาสวนกลับตั๊ก เช่น นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ้คทำนองว่า ตั๊กแสดงความรักด้วยความเขลาและขาดความรับผิดชอบ จึงเป็นการทำร้ายผู้อื่นที่เจ็บปวดอยู่แล้วให้เสียใจมากยิ่งขึ้น
ขณะที่คนเสื้อแดงที่พัทยา จ.ชลบุรีได้พยายามคุกคามตั๊ก ขณะเดินทางไปถ่ายหนังที่พัทยา ซอย 6 เมื่อกลางดึกคืนวันที่ 12 พ.ค. โดยกลุ่มคนเสื้อแดงที่ไปดักรออยู่ได้พากันตะโกนต่อว่าตั๊ก พร้อมชูป้ายข้อความต่อว่าด้วยถ้อยคำที่รุนแรง ทำให้การถ่ายหนังต้องล่มกลางคัน จากนั้นกองถ่ายฯ และตั๊ก ได้รีบขับรถหลบหนี โดยมีกลุ่มคนเสื้อแดงขี่รถจักรยานยนต์ไล่ตามด้วยความโกรธแค้น โชคดีตั๊กและทีมงานสามารถหลบหนีออกจากเขตพัทยาได้ด้วยความปลอดภัย
ด้านนายเพิ่มศักดิ์ (สงวนนามสกุล) ลูกชายของนายอำพล ตั้งนพคุณ หรืออากง ได้เปิดใจครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 พ.ค.โดยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าววอยซ์ทีวี สถานีโทรทัศน์ของนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ โดยเชื่อว่า พ่อไม่ได้ส่งข้อความหมิ่นเบื้องสูง เพราะที่บ้านตนมีรูปในหลวง และพระบรมวงศานุวงศ์อยู่บนหิ้งพระ พ่อตนสอนว่าเราโชคดีเกิดบนแผ่นดินนี้ มีพ่อหลวง-แม่หลวงที่ดีที่ดูแลเรา โชคดีที่มีพระมหากษัตริย์-พระราชินีที่ยิ่งใหญ่ จึงไม่มีปัจจัยให้ต้องส่งข้อความหมิ่น
ทั้งนี้ หลังการเสียชีวิตของนายอำพล กลุ่มคนเสื้อแดงได้ยื่นข้อเรียกร้องถึงรัฐบาลและกรมราชทัณฑ์ 3 ข้อ คือ 1.ให้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด กรณีที่ตั้งข้อกล่าวหาร้ายแรงและไม่ให้ประกันตัว 2.ให้ผู้ที่ถูกคุมขังคดีการเมืองต้องได้ประกันตัวทั้งหมด เพื่อออกมาสู้คดี และให้รัฐบาลเร่งผลักดันให้ผู้ที่ถูกลงโทษตามมาตรา 112 ได้รับการอภัยโทษโดยเร็วที่สุด 3.กระบวนการของกฎหมายต้องได้รับการทบทวน รวมทั้งให้ทบทวนระเบียบของกรมราชทัณฑ์ในการดูแลสุขภาพของผู้ต้องขังให้ดีเท่าที่ควร
2. “เฉลิม” ลั่น พร้อมไปพม่าขอตัว “นะคะมวย” ขณะที่เจ้าตัวสวนกลับ ไปจับ “ทักษิณ”ก่อน!
ความคืบหน้ากรณี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ประกาศตามล่า พล.อ.นะคะมวย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองทัพกะเหรี่ยงดีเคบีเอ หรือโกะทูบลอ หลังจากมีผู้ต้องหาซัดทอดว่า พล.อ.นะคะมวยมีส่วนร่วมอยู่ในขบวนการค้ายาเสพติด จึงได้ประสานรัฐบาลพม่าเพื่อขอตัว พล.อ.นะคะมวยมาดำเนินคดีในไทย ขณะที่ พล.อ.นะคะมวยไม่พอใจ ขู่ปิดชายแดนไทย-พม่านั้น
ร.ต.อ.เฉลิม ได้ออกมาประกาศอีกครั้งเมื่อวันที่ 8 พ.ค.ว่า ถ้าต้องเดินทางไปหารือกับรัฐบาลพม่าเพื่อขอตัว พล.อ.นะคะมวย ตนก็พร้อม ด้าน พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รองผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด เผยที่มาของการโยงเรื่องยาเสพติดกับ พล.อ.นะคะมวยว่า ตำรวจปราบปรามยาเสพติดได้จับกุมขบวนการค้ายาเสพติดเมื่อปี 2546 ซึ่งมีผู้ต้องหาเป็นหญิง 1 ราย พร้อมยาบ้าล็อตใหญ่กว่า 9 แสนเม็ด ด้านศาลได้พิพากษาประหารชีวิตแล้ว แต่ผู้ต้องหารับสารภาพ จึงลดโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต จากนั้นได้มีการสืบสวนขยายผลจนทราบว่า พล.อ.นะคะมวยมีส่วนเกี่ยวข้อง เนื่องจากมีพยานหลักฐานชัดเจน เป็นพยานที่ติดต่อซื้อขายกับ พล.อ.นะคะมวย
ด้าน พล.อ.นะคะมวย ได้ทำหนังสือเชิญสื่อมวลชนเพื่อฟังตนแถลงข่าวในวันที่ 10 พ.ค. โดยยืนยันว่า ตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด พร้อมขู่ว่า จะเปิดโปงขบวนการค้ายาเสพติดที่แท้จริง และจะออกมาตรการเพื่อตอบโต้ฝ่ายไทยด้วย
ทั้งนี้ เมื่อถึงกำหนด(10 พ.ค.) พล.อ.นะคะมวย ได้แถลงข่าวผ่านล่ามท่ามกลางสื่อมวลชนที่ไปฟังการแถลงข่าวกว่า 40 สำนัก โดยนอกจากยืนยันความบริสุทธิ์ใจว่าตนไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดแล้ว ยังท้าให้หน่วยงานปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลไทยกับรัฐบาลพม่าเข้าไปพิสูจน์พื้นที่ของกะเหรี่ยงดีเคบีเอได้ทันที หากพบว่าตนมีความผิดจริง ก็พร้อมจะไปมอบตัวต่อทางการไทย
พล.อ.นะคะมวย ยังตั้งคำถามกับ ร.ต.อ.เฉลิมและรัฐบาลไทยด้วยว่า แทนที่จะมาจับตน ทำไมไม่ไปจับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก่อน “ขอตั้งข้อสังเกตต่อทางการไทยว่า ทำไมฝ่ายไทยจึงมาประกาศรายชื่อผมอยู่ในบัญชีผู้ค้ายาเสพติด ซึ่งเป็นช่วงที่ทางกองทัพโกะทูบลอกำลังเจรจากับรัฐบาลพม่า และกำลังพัฒนาพื้นที่ชายแดน ทั้งที่ศาลไทยออกหมายจับผมมาตั้งแต่ปี 2546 อยากถามว่าทำไมรัฐบาลไทยถึงไม่ไปจับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่หนีหมายศาลก่อน ทั้งที่มีความผิดชัดเจน และการออกหมายศาลเพื่อจับหรือการขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ค้ายาเสพติดนั้น ก็ไม่เคยได้รับแจ้งจากทางการไทย นอกจากทราบทางสื่อมวลชนเท่านั้น”
เป็นที่น่าสังเกตว่า พล.อ.นะคะมวย ไม่ได้เปิดโปงขบวนการค้ายาเสพติดตามที่ได้ประกาศก่อนหน้านี้ โดยบอกเพียงว่า ไม่มีการค้ายาเสพติดหรือผลิตยาเสพติดในพื้นที่กะเหรี่ยงดีเคบีเอ เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ทางการไทยแจ้งให้ฝ่ายพม่าช่วยจับกุมตัว พล.อ.นะคะมวยเพื่อส่งตัวให้ไทยดำเนินคดี ปรากฏว่า พล.อ.นะคะมวยไม่ตอบ แต่ให้ พ.อ.ซานอ่อง นายทหารคนสนิทตอบแทน ซึ่ง พ.อ.ซานอ่องตอบด้วยน้ำเสียงไม่พอใจว่า หากบีบคั้นกันมากๆ ฝ่ายดีเคบีเอจะมีมาตรการตอบโต้อย่างแน่นอน
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ไม่ให้ราคากับคำพูดของ พล.อ.นะคะมวยที่บอกให้ไปจับ พ.ต.ท.ทักษิณก่อน โดยบอกว่า เป็นคนละเรื่อง เพราะคนหนึ่งเป็นผู้ค้ายาเสพติด กับอีกคนหนึ่งซึ่งไม่ได้ทำอะไรผิด และสิ่งที่เกิดขึ้นกับ พ.ต.ท.ทักษิณก็เกิดจากการปฏิวัติ จะไปเปรียบเทียบฟ้ากับดินไม่ได้ ร.ต.อ.เฉลิม ยังพูดถึงกรณีที่สหประชาชาติ(ยูเอ็น) ระบุว่าประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดด้วย โดยยืนยันว่า ไม่มีการผลิตยาเสพติดในไทย มีแต่ผลิตจากนอกประเทศและนำเข้ามา พร้อมสวนกลับยูเอ็นด้วยว่า ยูเอ็นอยู่ทวีปยุโรปจะมารู้อะไร ตอนนี้เรากำลังรื้อรังแตนอยู่ มันก็ต้องมีการแตกรังอยู่แล้ว
ทั้งนี้ หลัง พล.อ.นะคะมวย แนะให้รัฐบาลไทยไปตามจับ พ.ต.ท.ทักษิณก่อน ปรากฏว่า นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาแสดงความเห็นด้วย โดยบอกว่า เป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะความผิดของ พ.ต.ท.ทักษิณเกี่ยวกับการทุจริตประพฤติมิชอบในตำแหน่งหน้าที่ เป็นความผิดในกฎหมายอาญาและเป็นความผิดตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 100 ทาง ร.ต.อ.เฉลิมก็ไม่ควรละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยจะต้องบังคับใช้กฎหมายให้เสมอภาคกัน ไม่เลือกปฏิบัติ
3. ดีเอสไอ สั่งไม่ฟ้อง “จตุพร” ปราศรัยหมิ่นเบื้องสูง พร้อมหยุดสอบคดี “ผังล้มเจ้า” อ้าง ไม่มีพยานยืนยันความผิด!
เมื่อวันที่ 10 พ.ค. นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ได้แถลงความคืบหน้าคดีผังล้มเจ้าและคดีนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) กับพวก ปราศรัยในลักษณะที่อาจเข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูงเมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สำหรับคดีนายจตุพรกับพวกปราศรัยนั้น นายธาริต เผยว่า พนักงานสอบสวนได้ประชุมร่วมกับพนักงานอัยการและมีความเห็นร่วมกันว่า สมควรสั่งไม่ฟ้อง “ด้วยเหตุผลคือ การสอบสวนพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งคำกล่าวในการปราศรัยไม่เข้าข่ายความผิดมาตรา 112”
นายธาริต ยังบอกด้วยว่า ดีเอสไอได้ส่งสำนวนคดีนายจตุพรกับพวกให้อัยการแล้ว อยู่ที่ดุลพินิจของอัยการว่าจะสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง หรือสั่งฟ้องและสั่งให้มีการสอบสวนพยานเพิ่มเติม
ส่วนคดีผังล้มเจ้า ที่มีผู้ถูกกล่าวหา 39 คนนั้น นายธาริต บอกว่า จากการสอบสวน ยังไม่มีพยานยืนยันการกระทำความผิด พนักงานสอบสวนจึงได้ประชุมร่วมกับอัยการและมีความเห็นให้งดการสอบสวน และส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเห็นชอบต่อไป นายธาริต ยังย้ำด้วยว่า การงดสอบสวนไม่ได้หมายความว่า ไม่พบการกระทำความผิด และยังสามารถนำคดีดังกล่าวมาดำเนินการสอบสวนในภายหน้าได้
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ข้องใจในดุลพินิจของดีเอสไอ โดยบอก ตนรู้สึกข้องใจ 2 ประการ คือ 1.เนื้อหาที่นายจตุพรกับพวกปราศรัย มีความไม่เหมาะสม และ 2.การแถลงข่าวสั่งไม่ฟ้องนั้น สอดรับกับคำพูดของแกนนำคนเสื้อแดงก่อนหน้านี้ที่ออกมาบอกก่อนว่าดีเอสไอสั่งไม่ฟ้อง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังขา และคงต้องไปสอบถามนายธาริตว่าเป็นเพราะอะไร ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ยังพูดทำนองเตือนนายธาริตด้วยว่า คนที่ใช้ดุลพินิจเรื่องนี้จะต้องรับผิดชอบ
4. กรมพัฒนาสังคมฯ สนองนโยบาย รบ. ดีเดย์จ่ายเงินเยียวยาผู้เสียชีวิต-บาดเจ็บจากการชุมนุมกว่า 1,500 ราย 15 พ.ค.นี้!
เมื่อวันที่ 10 พ.ค. เว็บไซต์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ได้เผยแพร่รายงานผลการเปิดรับลงทะเบียนผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองระหว่างปี 2548-2553 ที่กรมฯ ได้เปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค.-12 เม.ย.ที่ผ่านมา ตามที่คณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(ปคอป.) ที่มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน ได้มีมติให้กรมฯ เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งผลปรากฏว่า มีผู้ลงทะเบียนทั้งหมด 5,377 ราย แบ่งเป็น กทม. 4,630 ราย ต่างจังหวัด 747 ราย ทั้งนี้ คณะทำงานได้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและหลักฐานของผู้ลงทะเบียนและประกาศรายชื่อไปแล้ว 3 ครั้ง มีจำนวนผู้เสียหายที่จะได้รับเงินเยียวยาตามความสูญเสียรวมทั้งสิ้น 1,521 ราย
โดยแบ่งเป็นผู้เสียชีวิต 104 ศพ จาก 3 เหตุการณ์ คือ เหตุการณ์การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) ปี 2551 จำนวน 4 ราย ,เหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เมื่อเดือน เม.ย.2552 จำนวน 2 ราย และเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช.ระหว่างเดือน เม.ย.-พ.ค.2553 จำนวน 98 ราย ส่วนผู้บาดเจ็บแบ่งเป็น กลุ่มผู้ทุพพลภาพ 34 ราย ,กลุ่มผู้บาดเจ็บสาหัส 93 ราย ,กลุ่มผู้บาดเจ็บ 521 ราย และกลุ่มผู้บาดเจ็บเล็กน้อย 769 ราย โดยทางกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จะเริ่มจ่ายเงินเยียวยาตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.เป็นต้นไป
ทั้งนี้ เว็บไซต์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ แจ้งด้วยว่า ผู้ที่จะได้รับเงินเยียวยาทั้ง 1,521 ราย เป็นผู้ที่ไม่เคยได้รับเงินช่วยเหลือหรือเงินชดเชยอื่นจากรัฐ และเป็นผู้ที่ไม่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาหรือถูกดำเนินคดีโดยหน่วยงานรัฐ รวมทั้งเป็นผู้ที่ไม่ได้ฟ้องแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายจากหน่วยงานของรัฐ เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อลองกรอกชื่อและนามสกุลของผู้ที่อยู่ในข่าย 1,521 รายดังกล่าว พบว่า มีชื่อของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ที่สนับสนุนกลุ่มเสื้อแดงด้วย โดยระบุว่า อยู่ในประเภท “ผู้เสียชีวิต” แต่เมื่อลองกรอกชื่อ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตรองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ที่เสียชีวิตจากการถูกยิงด้วยเอ็ม 79 ระหว่างขอคืนพื้นที่การชุมนุมจากกลุ่ม นปช.เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553 ที่บริเวณสี่แยกคอกวัว กลับไม่ปรากฏชื่อแต่อย่างใด
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรี(ครม.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้อนุมัติวงเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากการชุมนุมทางการเมืองระหว่างปี 2548-2553 จำนวน 2,000 ล้านบาท โดยผู้เสียชีวิตหรือทุพพลภาพจะได้เงินชดเชย 4.5 ล้านบาท บวกเงินเยียวยาความสูญเสียด้านจิตใจอีก 3 ล้านบาท รวมเป็น 7.75 ล้านบาท และหากไม่ได้เสียชีวิตทันที แต่มีการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลก่อนเสียชีวิต จะได้เงินค่ารักษาอีกรายละไม่เกิน 2 แสนบาท รวมเป็น 7.95 ล้านบาท ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากว่า เป็นการจ่ายเงินเยียวยาที่สูงเกินเหตุ และไม่มีประเทศไหนที่จ่ายเงินเยียวยาความสูญเสียด้านจิตใจแบบที่ประเทศไทยกำลังดำเนินการอยู่
5. วันพืชมงคลปีนี้ พระโคกินหญ้า พยากรณ์ว่าน้ำท่าจะบริบูรณ์!
เมื่อวันที่ 9 พ.ค. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ไปในการพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2555 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
สำหรับปีนี้ ผู้ที่ทำหน้าที่พระยาแรกนาคือ นายศุภชัย บานพับทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนเทพีคู่หาบทอง ได้แก่ น.ส.ศิริลักษณ์ สมสกุล นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ กรมชลประทาน และ น.ส.เจษฎาภรณ์ สถาปัตยานนท์ นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญ กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำหรับเทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ น.ส.สุมาลี จำเริญ นิติกรปฏิบัติการ กรมปศุสัตว์ และ น.ส.สุวิสาข์ เกตุอินทร์ นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ กรมส่งเสริมการเกษตร ส่วนพระโคแรกนาขวัญ ได้แก่ พระโคฟ้าและพระโคใส
สำหรับผลการเสี่ยงทายนั้น ในส่วนของพระยาแรกนา เสี่ยงทายผ้านุ่ง ได้ผ้า 6 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอนจะเสียหายบ้าง ไม่ได้ผลเต็มที่ ส่วนพระโคเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ประกอบด้วย หญ้า ข้าวเปลือก เหล้า ข้าวโพด ถั่วเขียว งา และน้ำ ผลปรากฏว่า พระโคกินหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี