xs
xsm
sm
md
lg

นักวิชาการจุฬาฯ ผุดเครือข่ายแรงงานอุตฯ เน้นพึ่งตัวเอง เผยทำแค่ 1 ปีสมาชิกพุ่ง 4 พันราย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
"รศ.ดร.ณรงค์"ตั้งเครือข่ายแรงงานเข้มแข็ง หวังยกระดับสุขภาวะทางกาย-จิตใจ-ปัญญา-สังคม เน้นการพัฒนาองค์ความรู้พึ่งตนเองและพัฒนาผู้นำแรงงาน เพื่อการเปลี่ยนแปลง เผยดำเนินการมาแค่ 1 ปี สมาชิกพุ่งแล้ว 4 พันราย ครอบคลุม 13 จังหวัดตั้งเป้าขยายทั่วประเทศ
วันนี้(27 สิงหาคม) รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าโครงการเสริมสรางความเขมแข็งขบวนการแรงงานเพื่อการคุ้มครองสุขภาพและสวัสดิการแรงงาน (สสร.) ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่า กลุ่มแรงงานอุตสาหกรรมและการค้าเป็นกลุ่มอาชีพที่มีขนาดใหญ่ในสังคม ซึ่งตลอดที่ผ่านมากลุ่มคนเหล่านี้ประสบปัญหาหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการถูกเลิกจ้าง ค่าแรงต่ำ สุขภาพทรุดโทรม เป็นต้น ทางโครงการฯ ได้เห็นถึงปัญหาในเรื่องนี้ จึงพยายามเข้าไปช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็งใหขบวนการแรงงานอุตสาหกรรมและการค้าเพื่อใหแรงงานและขบวนการแรงงานสามารถสร้างสุขภาวะให้แก่ตนเองทั้งด้านสุขภาวะทางกาย ทางจิตใจ ทางปัญญา และทางสังคม ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งพูดง่ายๆคือ การสร้างการพึ่งตัวเองมากกว่าการรอรับความช่วยเหลือจากรัฐหรือจากส่วนอื่นๆ เหมือนที่เคยเป็นๆมา

ทั้งนี้ วิธีการดำเนินงานจะเน้นกระบวนการเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และการสร้างข้อมูลวิชาการด้านยุทธศาสตร์กลุมการเรียนรู้ทางโครงการ โดยบ่มเพาะแกนนําของขบวนการให้เป็นมวลวิกฤติ(critical mass) เพื่อก่อใหเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในโดยกระตุ้นให้แกนนํากลุ่มการเรียนรู้แต่ละคนสร้างสมาชิกกลุ่มการเรียนรู้ที่เป็นทั้งแรงงานในระบบแรงงานนอกระบบ แรงงานไร้สังกัด (เช่น กลุ่มใต้สะพานลอย กลุ่มคลองเตย) และแรงงานข้ามชาติมาพบปะพูดคุยมา แลกเปลี่ยนประสบการณ์และทําการวิเคราะห์ สังเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นรวมทั้งพิจารณาร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาของสมาชิกและของขบวนการแรงงานเพื่อยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของกันและกันผ่านกระบวนการประชุมประจําเดือนสัปดาห์ ทุกสัปดาห์ และประจำเดือน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันร่วมกิจกรรมกันอย่างสมํ่าเสมอ โดยคาดหวังว่า เครือข่ายเหล่านี้จะเป็นกลไกขนาดใหญ่ที่จะทําให้เกิดการขับเคลื่อนขบวนการแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ เกิดความรู้ความเข้าใจสภาพชีวิตสภาพเศรษฐกิจสังคมที่มีผลต่อแรงงาน นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างการรับรู้ความเป็นไปของสมาชิกกลุ่มของเครือข่ายโดยมีแกนนําเป็นกลไกหลักที่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนบอกกล่าวและแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารไปยังสมาชิกกลุ่มการเรียนรู้อีกด้วย

รศ.ดร.ณรงค์ กล่าวอีกว่า หลังจากการดําเนินโครงการมา1 ปี สามารถดําเนินการได้เกินเป้าหมายที่ได้กําหนดไว้กล่าวคือ จากกลุ่มเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบได้ร่วมกันพูดคุยถึงสภาพการดํารงชีวิตและปัญหาของทั้งสองฝ่ายก่อให้เกิดแนวคิดการร่วมแก้ไขปัญหา โดยการช่วยเหลือพึ่งพากันในทางเศรษฐกิจและสังคมบนหลักของเศรษฐกิจ 3 ขา คือ การผลิต การค้า การบริโภค บนฐานของการออม โดยกลุ่มเรียนรู้ได้จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์และกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ จํานวน 20 กลุ่มมีสมาชิก 400 คน และเกิดสหกรณ์ออมทรัพย์แนวใหม่ของสหภาพแรงงานฮิตาชิที่เน้นการออมมากกว่าการกู้ โดยเปลี่ยนสภาพมาจากสหกรณ์เก่าที่เน้นการกู้มากกว่าการออม ซึ่งมีสมาชิกมาก่อนแล้วประมาณ 2,000 คน และเกิดร้านสวัสดิการของกลุ่มเรียนรู้ 1 ร้าน โดยกลุ่มเรียนรู้ของคนงาน พี.เอ็ม.ฟู้ด (ปลาทาโร่) ปราจีนบุรี กลุ่มอาชีพเสริมผลิตปลาส้ม(โดยการระดมทุนจากกลุ่มเรียนรู้ของกลุ่มเรียนรู้คนงานพี.เอ็ม.ฟู้ด เช่นเดียวกัน) และขณะนี้กลุ่มเรียนรู้ของคนงานโรงงานฮิตาชิ รวมกับกลุ่มเรียนรู้แรงงานนอกระบบบ้านหว่านเหลืองกําลังวางแผนระดมเงินออมของสมาชิก เพื่อสะสมเป็นเงินลงทุนสร้างโรงสีของกลุ่มเพื่อผลิตข้าวถุงขายเครือขายกลุ่มเรียนรู้ เป็นต้น สมาชิกกลุ่มเรียนรู้ทุกกลุ่มประมาณ 4,000 คน ได้สร้างเครือข่ายขายบัตรเติมเงิน เพียงระยะเดือนกว่าๆ ยอดขายทะลุ 1 ล้านไปแล้ว เป็นการส่งสัญญาณว่าเครือข่ายเศรษฐกิจแรงงานเริ่มนับ 1 ได้แล้ว

"ในการสร้างความเข้มแข็งของขบวนการแรงงาน งานพื้นฐานคือการสร้างความเหนียวแน่นภายในองค์กรแรงงานต่างๆ เช่น สหภาพ และกลุ่มแรงงาน เป็นต้น การประชุมกลุ่มเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ ทําให้ผู้นําและสมาชิกได้พูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอ เกิดการถ่ายทอดข่าวสารและความเข้าใจร่วมแปรเป็นการปฏิบัติร่วม ดังนั้นจึงทําให้กลุ่มเรียนรู้จากโรงงานฮาบิ โรสามารถจัดตั้งสหภาพแรงงานฮาบิโรขึ้นมาได้ และการจัดกลุ่มเรียนรู้ยังทําให้เกิดกลุ่มแรงงานนอกระบบอีก 15 กลุ่ม ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดกรุงเทพฯ ได้แก่ บึงกุม บางคอแหลม คลองเตย และแรงงานต่างด้าวชาวมอญพระราม 2 โดยปัจจุบันโครงการฯมีสมาชิกแล้ว 4 พันรายใน 13 จังหวัด และคาดว่าจะขยายไปยังพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศต่อไป"รศ.ดร.ณรงค์ กล่าวในท้ายสุด

อนึ่งในวันที่ 30 สิงหาคม 2552 ทางโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งขบวนการแรงงานเพื่อการคุ้มครองสุขภาพและสวัสดิการแรงงาน (สสร.) จะจัดงาน “วันแรงงานเข้มแข็ง” ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมพิธีมอบเข็มเชิดชูเกียรติ วุฒิบัตร แก่แกนนำและสมาชิกกลุ่มเรียนรู้ ที่สวนอัมพร นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการของแรงงานจากกลุ่มต่างๆและการออกร้าน โดยจะเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00-16.30น.
กำลังโหลดความคิดเห็น