วันนี้ (1 เม.ย.) พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ น.ส.ศุภรัตน์ นาคบุญนำ และ น.ส.วีรินทร์ทิรา นาทองบ่อจรัส รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกันแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
ครม.เห็นชอบปรับแผนการปฏิบัติงาน-การใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 2551
พล.ต.ท.วิเชียรโชติ แถลงว่า ที่ประชุม คณะรัฐมนตรีเห็นชอบปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 2551
กล่าวคือ เมื่อ ครม.ชุดใหม่เข้ามาได้มีการทบทวนเรื่องการใช้งบประมาณ ปี 51 ซึ่งใช้ในรัฐบาลที่แล้ว จึงได้มีการปรับแผน ปรากฏว่ามีส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ เสนอขออนุมัติปรับแผนตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2551 จำนวน 81 หน่วยงาน และไม่ปรับแผน จำนวน 184 หน่วยงาน รวมหน่วยงานทั้งสิ้น 265 หน่วยงาน จากหน่วยงานทั้งสิ้น 303 หน่วยงาน
ผลการพิจารณาของ ครม.มีสาระสำคัญ สรุปดังนี้
1. อนุมัติให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ทบทวน ชะลอ และปรับแผน จำนวน 12,858.209 ล้านบาท ประกอบด้วย
1.1 การทบทวน ชะลอ และปรับแผน โครงการรายการที่ไม่สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน หรือที่มีเป้าหมายในการดำเนินงานสูงกว่าเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน หรือรายการที่ยังไม่มีความพร้อม ไม่สามารถใช้จ่ายงบประมาณ และทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันได้ทันภายในปีงบประมาณ 2551 รวมทั้งถ้าเงินงบประมาณเหลือจ่ายจากการดำเนินโครงการรายการที่บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2551 จำนวนทั้งสิ้น 9,164.523 ล้านบาท
1.2 การทบทวน และปรับแผน งบประมาณรายจ่ายที่ได้อนุมัติให้กันเงินไว้แล้ว เป็นการอนุมัติเงินเบิกเหลื่อมปี จำนวน 3,693.686 ล้านบาท
2. อนุมัติให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ ใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ได้จากการปรับแผนดังกล่าว จำนวน 12,846.277 ล้านบาท เพื่อไปดำเนินโครงการ รายการดังนี้
2.1 ดำเนินโครงการและรายการตามนโยบายฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประเทศ ซึ่งเป็นโครงการเร่งด่วน จำนวน 6,246.935 ล้านบาท
2.2 ดำเนินโครงการและรายการตามนโยบายตามแผนบริหารราชการแผ่นดินอื่นๆ จำนวน 6,599.324 ล้านบาท
3. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ยังไม่ได้เสนอขอปรับแผนพิจารณาปรับแผนตามนัยมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 18 มีนาคม 2551 และนำเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้วส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณาภายในวันที่ 21 เมษายน 2551 เพื่อสำนักงบประมาณจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป
4. การขอทบทวนและปรับแผนจากรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เนื่องจากขณะนี้ยังมีระยะเวลาดำเนินการอีกประมาณ 6 เดือน จึงสมควรให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ พิจารณาเร่งรัดการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติ และแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โดยเฉพาะรายการที่ทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันไว้ หรือพร้อมจะทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันก่อนการพิจารณาปรับแผน เพื่อนำงบประมาณไปใช้ดำเนินการในโครงการรายการอื่นที่สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
5. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ ใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร โดยคำนึงถึงความประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพิจารณานำเงินเหลือจ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศ การจัดหาครุภัณฑ์ ควรพิจารณาเฉพาะเท่าที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ในปีงบประมาณ 2551
ครม.เห็นชอบจัดสรรบุคคลที่สมควรแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการ ป.ป.ท.
พล.ต.ท.วิเชียรโชติ แถลงว่า ขณะนี้กระทรวงยุติธรรมได้เสนอว่า ได้มีการจัดสรรบุคคลที่สมควรแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ตามมาตรา 5 ของ พ.ร.บ. ปรากฏว่าคณะกรรมการสรรหาได้จัดการสรรหาตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดไว้ ได้มาทั้งหมด 6 ท่าน ได้แก่
1. นายไพศาล พิริยะสถิตย์ เป็นประธานกรรมการ อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา
2. นายไสว พราหมณี เป็นกรรมการ อดีตปลัดกระทรวงแรงงาน
3. นายกุลพัชร์ อิทธิธรรมวินิจ เป็นกรรมการ อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา
4. นายบุญปลูก ชายเกตุ เป็นกรรมการ อดีตเลขาฯ ก.พ.
5. นายถวิล อินทรักษา เป็นกรรมการ อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา
6. นายอุดม มั่งมีดี เป็นกรรมการ อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา
ซึ่งเมื่อได้กรรมการทั้ง 6 ท่านแล้ว จากนี้รอขั้นตอนการโปรดเกล้าฯ แล้วจะเริ่มทำงาน โดยแบ่งงานที่เป็นระดับข้าราชการหรือผู้ที่เทียบเท่าซี 8 ลงมา ไปพิจารณาดำเนินการในเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ทั้งดำเนินคดีและการป้องกัน
นอกจากนั้น กระทรวงยุติธรรมได้เสนอขอแต่งตั้ง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองเลขาธิการสำนักงาน ป.ป.ส. รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ครม.อนุมัติตามนั้น เพราะฉะนั้นขณะนี้ได้อธิบดีฯ มาทำการตามปกติแล้ว
ครม.สั่งคลังทบทวนหลักเกณฑ์-วิธีการจัดทำบัญชีรายชื่อ กก.รัฐวิสาหกิจ
นายณัฐวุฒิ แถลงว่า ที่ประชุม ครม.มีมติให้กระทรวงการคลัง ทบทวนร่างหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ และการแต่งตั้งกรรมการจัดทำบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ
เรื่องนี้กระทรวงการคลังนำเสนอเข้าสู่ระเบียบวาระตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ฉบับที่ 6 พ.ศ.2550 ซึ่งระบุไว้ในมาตรา 12/1 วรรค 1 ระบุว่า ในการแต่งตั้งกรรมการอื่นที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจแห่งใด ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการ ที่กระทรวงการคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น
วรรค 2 ระบุว่า ให้การจัดทำบัญชีรายชื่อกรรมการ ตามวรรค 1 เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ครม.กำหนด
มาตรา 20 วรรค 2 บัญญัติให้กระทรวงการคลังจัดทำบัญชีรายชื่อกรรมการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ.นี้บังคับใช้ ซึ่งบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม เพราะฉะนั้นกรอบระยะเวลาตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ คือ จะต้องให้แล้วเสร็จภายในช่วงกลางเดือนมิถุนายน
ปรากฏว่าวันนี้ในการพิจารณาหารือร่วมกันของ ครม.ได้มีรัฐมนตรีบางคนได้ตั้งข้อสังเกตเพื่อความรอบคอบในการพิจารณา อาทิ นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที เมื่อเห็นองค์ประกอบที่กระทรวงการคลังได้ร่างมา ว่าจะเป็นกรรมการที่จะสรรหารายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ คือ ปลัดกระทรวงที่มีรัฐวิสาหกิจอยู่ใต้สังกัดจำนวนไม่เกิน 4 คน ในที่นี้ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน 6 คน
นายมั่น ได้ให้ข้อสังเกตว่า กระทรวงที่ตนกำกับดูแลอยู่ คือกระทรวงไอซีทีนั้น มีรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารใหญ่ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นทีโอที ไม่ว่าจะเป็นแคท เทเลคอม หรือเรื่องราวเกี่ยวกับการดำเนินงานสื่อสารผ่านดาวเทียมต่างๆ เพราะฉะนั้นจึงได้ตั้งข้อสังเกตว่า 4 ปลัดกระทรวงที่เป็นกรรมการนั้น อาจจะไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องของสารสนเทศมากนัก ถ้าเทียบเคียงกับบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องนี้ เช่น ปลัดกระทรวงไอซีที เป็นต้น จึงอยากให้ทบทวน
ขณะที่รัฐมนตรีบางคนก็ตั้งข้อสังเกตว่า เรื่องนี้กรรมการชุดที่เสนอชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการรัฐวิสาหกิจ หากมีการนำชื่อใครก็ตามไปดำรงตำแหน่ง ถ้าบุคคลผู้ได้รับการแต่งตั้งตามกระบวนการดังกล่าวไปปฏิบัติหน้าที่แล้วเกิดความผิดพลาด หรือปฏิบัติงานแล้วเกิดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ คณะกรรมการชุดดังกล่าวก็จะไม่ได้อยู่ในขอบข่ายความผิดชอบ แต่ผู้ที่จะต้องรับผิดชอบกลับต้องเป็นรัฐมนตรีผู้เป็นเจ้ากระทรวง
ครม.จึงมีมติเห็นว่าให้กระทรวงการคลังนำเรื่องนี้ไปทบทวน และนำเสนอ ครม.ในโอกาสต่อไป ซึ่งนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ก็รับที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จและนำกลับเข้าสู่ ครม.ได้ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดใน พ.ร.บ.ฉบับนี้
ครม.เห็นชอบการเบิกจ่ายเงินค่าสอนพิเศษ
นายณัฐวุฒิ แถลงว่า ครม.เห็นชอบระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินค่าสอนพิเศษและค่าสอนเกินภาระงานสอนในสถานศึกษา และสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2551 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของระเบียบการคลังดังกล่าว สรุปได้ 5 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายค่าสอนพิเศษในสถานศึกษาของทางราชการ พ.ศ.2533 และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าสอนพิเศษในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. แก้ไขเพิ่มเติมคำนิยามจาก "มหาวิทยาลัย" เป็น "สถาบันอุดมศึกษา" และ "คณาจารย์" เป็น "ผู้ทำการสอน"
3. กำหนดให้สถานศึกษาของทางราชการและสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง สามารถกำหนดวิธีการและเอกสารประกอบการเบิกจ่ายค่าสอนพิเศษได้เอง
4. เพิ่มเติมหลักเกณฑ์ให้ผู้ทำการสอนที่สอนครบหน่วยชั่วโมงในเวลาปกติตามที่กำหนดแล้ว หากทำการสอนเพิ่มในเวลาราชการปกติ นอกเหนือจากจำนวนหน่วยชั่วโมงที่สอนครบดังกล่าวแล้ว มีสิทธิ์ได้รับเงินค่าสอนพิเศษตามอัตราที่กำหนดได้
5. ปรับอัตราเงินสอนพิเศษในสถานศึกษาของทางราชการ และสถาบันอุดมศึกษา โดยนำดัชนีราคาผู้บริโภคชุดทั่วไปของประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ.2538 มาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ
ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย
นายณัฐวุฒิ แถลงว่า ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. ... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการ ครม. ส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พิจารณาลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว มีดังนี้
1. ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 , พ.ศ. 2548
2. แก้ไขค่ารักษาพยาบาลในเบื้องต้น จากที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 35,000 บาท เป็นไม่เกิน 45,000 บาท
3. แก้ไขค่ารักษาพยาบาลในระดับต่อมา หากค่ารักษาพยาบาลในเบื้องต้นไม่เพียงพอ ในกรณีที่ลูกจ้างประสบอัตราย หรือเจ็บป่วยที่รุนแรง จากเดิมกำหนดให้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เพิ่มอีกไม่เกิน 50,000 บาท เป็นเพิ่มอีกไม่เกิน 65,000 บาท
4. เพิ่มค่ารักษาพยาบาลในกรณีลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย ซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรัง ในกรณค่ารักษาพยาบาลเกินจำนวน 200,000 บาท ให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง แต่รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 300,000 บาท โดยให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการการแพทย์ พิจารณา และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ให้ความเห็นชอบ
5. แก้ไขอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้อง ค่าอาหาร จากเดิมกำหนดให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายได้จริง ไม่เกินวันละ 700 บาท แก้ไขเป็น ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล และค่าบริการทั่วไป ให้จ่ายได้เท่าที่จริง ไม่เกินวันละ 1,300 บาท
ครม.รับทราบรายงานผลการสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2550
นายณัฐวุฒิ แถลงว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2550 เพื่อเก็บเป็นข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ รายจ่าย ภาวะหนี้สินของครัวเรือน ตลอดจนลักษณะที่อยู่อาศัย โดยการทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทุกเดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม 2550 จากครัวเรือนตัวอย่างในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งในและนอกเขตเทศบาล จำนวน 52,000 ครัวเรือน ซึ่งสรุปผลการสำรวจที่สำคัญ ดังนี้
ร้อยละครัวเรือนที่มีหนี้ในปี 2550 ผลสำรวจพบว่า ครัวเรือนที่มีหนี้สินมีร้อยละ 63.3 โดยจำนวนหนี้สินเฉลี่ย 116,681 บาทต่อครัวเรือน
การเปรียบเทียบอัตราร้อยละของครัวเรือนที่มีหนี้ และจำนวนหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนทั้งสิ้น ตั้งแต่ปี 2541 - 2550 ในภาพรวมครัวเรือนที่มีหนี้ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่ปี 2541 - 2547 จากร้อยละ 55.1 เป็น 66.4 แต่ได้ลดลงเป็นร้อยละ 64.4 ในปี 2549 และเป็นร้อยละ 63.3 ในปี 2550 โดยจำนวนเงินที่เป็นหนี้เพิ่มจาก 82,485 บาท ในปี 2545 เป็น 116,585 บาท ในปี 2549 และเริ่มชะลอตัวในปี 2550
ข้อมูลการเปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สินต่อรายได้ ตั้งแต่ปี 2541 - 2550 เมื่อเปรียบเทียบราย ค่าใช้จ่าย และหนี้สินต่อรายได้ พบว่าครัวเรือนทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2541 - 2550 มีรายได้เฉลี่ยมากกว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการยังชีพ พบว่า รายได้และค่าใช้จ่ายตั้งแต่ปี 2545 - 2550 เพิ่มขึ้น คือ รายได้เพิ่มขึ้นจาก 13,736 บาท เป็น 18,660 บาท และค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นจาก 10,889 บาท เป็น 14,500 บาท ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาผลต่างของรายได้และค่าใช้จ่ายในปี 2550 พบว่า รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการยังชีพอยู่เพียง 4,160 บาทต่อครัวเรือน หรือประมาณ 1,300 บาทต่อคน เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในการชำระหนี้
หนี้สินต่อรายได้ครัวเรือนในปี 2547 จะสูงที่สุดเมื่อเทียบกับปีอื่นๆ อย่างไรก็ตาม พบว่ามีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ เป็น 6.6 และ 6.3 เท่า ในปี 2549 และ 2550 ตามลำดับ
นอกจากนี้ มีการรายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม - ธันวาคม 2550) พบว่า สินค้าฟุ่มเฟือย 17 กลุ่มสินค้า มีมูลค่านำเข้ารวม 397.945 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2550 91.604 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 29.90 มูลค่าการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่านำเข้ารวมของสินค้าทุกชนิด ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2551 แล้ว มูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 1.05 ของมูลค่านำเข้ารวม
สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก จากการสำรวจของกระทรวงการคลัง ผลไม้ มีมูลค่านำเข้า 82.037 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 23.497 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 40.14 น้ำหอม และเครื่องสำอาง มีมูลค่าการนำเข้า 59.209 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 23.173 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 64.31 นาฬิกา และอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 51.739 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 13.754 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 36.21
ครม.รับทราบปฏิทินการทำงานระหว่างเดือน เม.ย. - มิ.ย.
นายณัฐวุฒิ แถลงว่า ปฏิทินการทำงานของคณะรัฐมนตรีในเดือนเมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน ได้ปรากฏออกมาแล้ว ที่น่าสนใจ อาทิ วันนี้ (1 เม.ย.) มีพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน ซึ่งในช่วงเช้าที่ผ่านมาก่อนที่จะมีการประชุม ครม. คณะรัฐมนตรีได้เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรพระองค์ท่านแล้ว
6 เมษายน จะมีรัฐพิธี วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีพระบรมราชวงศ์
เดือนพฤษภาคม ที่น่าสนใจ วันที่ 3 มีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน เนื่องในการพระราชพิธีฉัตรมงคล ขณะที่วันที่ 4 - 5 พฤษภาคม จะมีพระราชพิธีฉัตรมงคล และ 20 พฤษภาคม ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 พร้อมหลักเกณฑ์การปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายประจำปี
3 มิถุนายน ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 และ 17 มิถุนายน ครม.จะพิจารณาให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎร
ครม.อนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก
น.ส.ศุภรัตน์ แถลงว่า ที่ประชุม ครม.วันนี้มีมติอนุมัติมาตรการเงินทุนเพื่อประชาชนและเศรษฐกิจฐานรากตามที่ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ท่านประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ได้แถลงไปแล้วภายหลังการประชุม ครม.
มาตรการที่นำเสนอเข้าสู่การประชุม ครม.โดยกระทรวงการคลัง มีทั้งหมด 6 ด้าน
1. แนวทางการกำกับ ตรวจสอบโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน หรือ เอสเอ็มแอล
2. มาตรการเพิ่มเงินทุนและการจัดการเรียนรู้ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
3. โครงการฟื้นฟูและพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจน
4. โครงการธนาคารประชาชน โดยธนาคารออมสิน
5. โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของ ธอส.
6. โครงการสินเชื่อเพื่อเกษตรกร ของ ธ.ก.ส.
ทั้งนี้ มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากแต่ละมาตรการเกี่ยวข้องไม่เฉพาะกระทรวงการคลัง แต่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วย กระทรวงพลังงานด้วย รวมทั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพราะฉะนั้นในการประชุม ครม.วันนี้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานในที่ประชุม ได้มอบหมายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องไปบูรณาการเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ เช่น ในส่วนของโครงการพักหนี้เกษตรกร ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยท่านรัฐมนตรีสมศักดิ์ ได้เสนอว่า ทางกระทรวงเกษตรมีโครงการฟื้นฟูเกษตรกร มีมาตรการส่งเสริมให้ความรู้อาชีพอยู่แล้ว จะบูรณาการในส่วนของการพักหนี้ด้วย เพื่อเข้าไปดูแลในเรื่องของอาชีพ การให้ความรู้ หรือในส่วนของโครงการสินเชื่อที่จะให้กับการปลูกพืชทดแทนพลังงาน เกี่ยวข้องกับกระทรวงพลังงานด้วย
ครม.เห็นชอบการเสียภาษีสลากบำรุงสภากาชาดไทย
น.ส.ศุภรัตน์ แถลงว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบการเสียภาษีสลากบำรุงสภากาชาดไทย ในอัตราร้อยละ 0.5 แห่งยอดราคาสลาก ซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่าย เนื่องจากว่า สภากาชาดไทย เดิมกำหนดจัดงานกาชาด ประจำปี 2551 วันที่ 28 มีนาคม - 5 เมษายน 2551 รวม 9 วัน แต่เนื่องจากอยู่ระหว่างการถวายความอาลัยแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จึงงดจัดงานกาชาดในปีนี้ แต่ในส่วนของการออกสลากกาชาดยังต้องดำเนินต่อไปเพื่อหารายได้มาใช้ในกิจการ
ครม.เห็นชอบในหลักการ ให้สภากาชาด เหล่ากาชาดจังหวัดหรือกาชาดอำเภอ กิ่งอำเภอ ซึ่งเป็นตัวแทนของสภากาชาดไทย ออกสลากบำรุงสภากาชาดในปีนี้ต่อไป และเห็นชอบการเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.5
ครม.รับทราบงานกรณีปลากระชังใน อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ตาย
น.ส.ศุภรัตน์ แถลงว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานกรณีปลาในกระชังตาย ใน ต.บางเสด็จ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงาน หลังจากเกิดเหตุการณ์ปลาในกระชังตายบริเวณ ต.บางเสด็จ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการไปสำรวจถึงสาเหตุ พบว่าคุณภาพของน้ำไม่มีปัญหา แต่อาจจะเพราะว่า เกษตรกรมีการเลี้ยงปลาในกระชังจำนวนมาก ถึง 2,200 ตัว ในกระชังที่มีขนาด 3x5 เมตร ซึ่งขนาดกระชังควรเลี้ยงปลาได้ปริมาณสูงสุดไม่เกิน 800 ตัว เพราะฉะนั้นจะมีการสะสมของสิ่งปฏิกูลและของเสียต่างๆ มีมาตรการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ ได้จัดฝึกอบรมให้เครือข่ายภาคประชาชนที่ประกอบอาชีพเลี้ยงปลา ในการจัดทำคู่มือฉบับประชาชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ ในการเลี้ยงปลาในกระชัง และขอความร่วมมือให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพิ่มปริมาณการระบายน้ำเพื่อการไหลเวียนของน้ำในพื้นที่เกิดเหตุ
ครม.เห็นชอบแต่งตั้ง กก.ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า
น.ส.ศุภรัตน์ แถลงว่า ที่ประชุม ครม.วันนี้เห็นชอบในการแต่งตั้ง นายชาติชาย ศุภคติธรรม ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า แทนกรรมการที่ลาออกไป คือ นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ ที่ขอลาออกจากการเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า
นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบในการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ตามที่ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ขอลาออกจากการเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
และ ครม.ได้อนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอให้ นายอดิศักดิ์ เบญจศิริวรรณ เป็นกรรมการในคณะกรรมการกีฬาแห่งประเทศไทย
ครม.รับทราบพิธีเปิดโครงการเอสเอ็มแอล 9 เม.ย.นี้
น.ส.ศุภรัตน์ แถลงด้วยว่า สำหรับโครงการเอสเอ็มแอล ตามที่ ครม.มีมติจัดสรรงบประมาณให้กับโครงการเอสเอ็มแอลไปแล้ว จะมีพิธีเปิดโครงการในวันที่ 9 เมษายน ตรงกับวันพุธ ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และจะมีการลงนามบันทึกความตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้นวันที่ 24 เมษายน จะมีพิธีกดปุ่มปล่อยเงินเข้าสู่โครงการไปยังหมู่บ้านต่างๆ ตรงนี้จะมี นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นประธาน
ครม.เห็นชอบไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ ว่าด้วยสิทธิคนพิการ
น.ส.ศุภรัตน์ แถลงถึงเรื่องที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำเสนอในที่ประชุม ครม. เนื่องจากคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ มีการประชุมกันเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธาน
ครม.เห็นชอบให้ประเทศไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิคนพิการ ตามที่กระทรวงพัฒนาสังคมฯ เสนอมา
ซึ่งอนุสัญญาฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อคนพิการ เน้นในเรื่องการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นด้านกฎหมาย ด้านการปกครอง ด้านการปฏิบัติต่างๆ รวมถึงเรื่องการเข้าถึงการบริการอย่างเท่าเทียมของผู้พิการ ด้านการส่งข้อมูลข่าวสาร บริการสาระต่างๆ ซึ่งคิดว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์
ครม.รับทราบกรณี ททท.เข้าร่วมงาน International Tourism
น.ส.วีรินทร์ทิรา แถลงว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รายงานให้ที่ประชุม ครม.ได้รับทราบ เนื่องจาก ททท.หรือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ไปร่วมงานหน่วยงานเอกชนไทยกับหน่วยงานเอกชนไทยอีกจำนวน 141 หน่วยงาน ชื่องาน International Tourism ซึ่งเป็นงานส่งเสริมการขายที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปี ปีนี้จัดเป็นปีที่ 43 แล้ว และนับเป็นปีที่ 34 ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไปร่วมงานนี้ ซึ่งในพื้นที่ของ ททท.มีทั้งหมด 540 ตารางเมตร เป็นการสร้างคูหาขึ้นมาแล้วนำแสดงสินค้าด้านการท่องเที่ยว ทั้งหมด 7 สิ่งมหศัจรรย์ของไทย รวมถึงการเผยแพร่วัฒนธรรมไทย มีการสาธิตศิลปะมวยไทย การวาดร่ม และศิลปะการนวดแผนไทย
งานนี้จัดขึ้นที่กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 5 - 9 มีนาคม ที่ผ่านมา ปรากฏว่า จากการออกบูธของ ททท. รวมทั้งหน่วยงานเอกชนอีก 141 หน่วยงาน ปรากฏว่า งานนี้ประเทศไทยได้รับรางวัล 3 รางวัล รางวัลแรก คือ รางวัลประเภทเป้าหมายการท่องเที่ยวในเอเชีย ปรากฏว่าประเทศไทยได้อันดับ 1 เป้าหมายการท่องเที่ยว รางวัลที่ 2 คือ หน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวดีเด่น ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 3 อีกรางวัลหนึ่งคือ รางวัลจากการประกวดภาพยนตร์โฆษณาส่งเสริมการท่องเที่ยวยอดเยี่ยม เราติด 1 ใน 3
จากการไปร่วมงานในครั้งนี้ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวไทย 52 เปอร์เซ็นต์ มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายภายในงาน และผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไทย อีก 45 เปอร์เซ็นต์ ติดต่อเจรจาในเงื่อนไขทางธุรกิจอีกหลายครั้งหลังจากไปร่วมงานมา
ด้านรายได้ของหน่วยงานเอกชนจากการเข้าร่วมงานนี้ หากนับเป็นโรงแรมที่พักในเครือใหญ่ ที่มีห้องพักตั้งแต่ 300 ห้องขึ้นไป ได้ธุรกิจประมาณ 600-800 ล้านบาทต่อหน่วยงาน บางหน่วยงานได้รับรายได้จากการติดต่อในงานนี้จนถึงเดือนเมษายน และโรงแรมรายย่อยแจ้งว่า ได้ธุรกิจเกิน 100 ล้านบาทต่อหน่วยงาน
ทั้งนี้ ในภาพรวมทั้งหมด ยอดซื้อขายภายในงานเฉพาะของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยที่ร่วมเดินทางไปกับ ททท. มีการซื้อขายแบบเหมาห้องพักโรงแรมล่วงหน้าไปถึงเดือนมกราคม ทำให้มียอดสูงถึง 30,000 ล้านบาท ซึ่งรายได้จำนวนดังกล่าวยังไม่รวมรายได้ของผู้ขายที่เป็นบริษัทนำเที่ยว สายการบิน โรงพยาบาล และหน่วยงานเอกชนไทยที่มีคูหาอยู่โดยรอบคูหาของประเทศไทย สิ่งสำคัญที่สุดคือ เม็ดเงินที่สะพัดถึง 30,000 ล้านบาท นี่เป็นการรายงานโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
นอกจากนี้ น.ส.วีรินทร์ทิรา แถลงต่อว่า อีกวาระหนึ่งซึ่งไม่ได้อยู่ในวาระการประชุม ครม.เพียงแต่มีโอกาสได้ร่วมประชุม คือ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประชุมครั้งที่ 1 ประจำปี 2551 เกี่ยวกับเรื่องของแนวทางการดำเนินการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว
วันนี้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับคู่มือการรายงานเกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อจะได้นำไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการบ้านเอื้ออาทรต่อไป นี่เป็นประเด็นหลักของที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ตอนท้ายของการแถลงผลการประชุม ครม. น.ส.วีรินทร์ทิรา ได้ประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 ผลิตรายการวิทยุ "ใต้สันติสุข" ซึ่งจะมีการออกอากาศทุกวัน เวลา 14.30 - 15.00 น. และเวลา 19.30 - 20.00 น. ซึ่งเป็นรายการวิทยุเครือข่ายเพื่อความมั่นคงในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบไปด้วย จ.สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 30 สถานี 42 ความถี่ โดยมีสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยในพื้นที่ สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นแม่ข่าย เพื่อจะประชาสัมพันธ์ข่าวสารเหตุการณ์ ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุการณ์อย่างถูกต้อง และเพื่อจะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายของภาครัฐต่อพื้นที่ รวมถึงการดำเนินการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย เพื่อสร้างความรักและความปรองดอง ความสมานฉันท์ในพื้นที่
ครม.เห็นชอบปรับแผนการปฏิบัติงาน-การใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 2551
พล.ต.ท.วิเชียรโชติ แถลงว่า ที่ประชุม คณะรัฐมนตรีเห็นชอบปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 2551
กล่าวคือ เมื่อ ครม.ชุดใหม่เข้ามาได้มีการทบทวนเรื่องการใช้งบประมาณ ปี 51 ซึ่งใช้ในรัฐบาลที่แล้ว จึงได้มีการปรับแผน ปรากฏว่ามีส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ เสนอขออนุมัติปรับแผนตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2551 จำนวน 81 หน่วยงาน และไม่ปรับแผน จำนวน 184 หน่วยงาน รวมหน่วยงานทั้งสิ้น 265 หน่วยงาน จากหน่วยงานทั้งสิ้น 303 หน่วยงาน
ผลการพิจารณาของ ครม.มีสาระสำคัญ สรุปดังนี้
1. อนุมัติให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ทบทวน ชะลอ และปรับแผน จำนวน 12,858.209 ล้านบาท ประกอบด้วย
1.1 การทบทวน ชะลอ และปรับแผน โครงการรายการที่ไม่สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน หรือที่มีเป้าหมายในการดำเนินงานสูงกว่าเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน หรือรายการที่ยังไม่มีความพร้อม ไม่สามารถใช้จ่ายงบประมาณ และทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันได้ทันภายในปีงบประมาณ 2551 รวมทั้งถ้าเงินงบประมาณเหลือจ่ายจากการดำเนินโครงการรายการที่บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2551 จำนวนทั้งสิ้น 9,164.523 ล้านบาท
1.2 การทบทวน และปรับแผน งบประมาณรายจ่ายที่ได้อนุมัติให้กันเงินไว้แล้ว เป็นการอนุมัติเงินเบิกเหลื่อมปี จำนวน 3,693.686 ล้านบาท
2. อนุมัติให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ ใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ได้จากการปรับแผนดังกล่าว จำนวน 12,846.277 ล้านบาท เพื่อไปดำเนินโครงการ รายการดังนี้
2.1 ดำเนินโครงการและรายการตามนโยบายฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประเทศ ซึ่งเป็นโครงการเร่งด่วน จำนวน 6,246.935 ล้านบาท
2.2 ดำเนินโครงการและรายการตามนโยบายตามแผนบริหารราชการแผ่นดินอื่นๆ จำนวน 6,599.324 ล้านบาท
3. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ยังไม่ได้เสนอขอปรับแผนพิจารณาปรับแผนตามนัยมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 18 มีนาคม 2551 และนำเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้วส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณาภายในวันที่ 21 เมษายน 2551 เพื่อสำนักงบประมาณจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป
4. การขอทบทวนและปรับแผนจากรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เนื่องจากขณะนี้ยังมีระยะเวลาดำเนินการอีกประมาณ 6 เดือน จึงสมควรให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ พิจารณาเร่งรัดการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติ และแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โดยเฉพาะรายการที่ทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันไว้ หรือพร้อมจะทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันก่อนการพิจารณาปรับแผน เพื่อนำงบประมาณไปใช้ดำเนินการในโครงการรายการอื่นที่สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
5. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ ใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร โดยคำนึงถึงความประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพิจารณานำเงินเหลือจ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศ การจัดหาครุภัณฑ์ ควรพิจารณาเฉพาะเท่าที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ในปีงบประมาณ 2551
ครม.เห็นชอบจัดสรรบุคคลที่สมควรแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการ ป.ป.ท.
พล.ต.ท.วิเชียรโชติ แถลงว่า ขณะนี้กระทรวงยุติธรรมได้เสนอว่า ได้มีการจัดสรรบุคคลที่สมควรแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ตามมาตรา 5 ของ พ.ร.บ. ปรากฏว่าคณะกรรมการสรรหาได้จัดการสรรหาตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดไว้ ได้มาทั้งหมด 6 ท่าน ได้แก่
1. นายไพศาล พิริยะสถิตย์ เป็นประธานกรรมการ อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา
2. นายไสว พราหมณี เป็นกรรมการ อดีตปลัดกระทรวงแรงงาน
3. นายกุลพัชร์ อิทธิธรรมวินิจ เป็นกรรมการ อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา
4. นายบุญปลูก ชายเกตุ เป็นกรรมการ อดีตเลขาฯ ก.พ.
5. นายถวิล อินทรักษา เป็นกรรมการ อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา
6. นายอุดม มั่งมีดี เป็นกรรมการ อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา
ซึ่งเมื่อได้กรรมการทั้ง 6 ท่านแล้ว จากนี้รอขั้นตอนการโปรดเกล้าฯ แล้วจะเริ่มทำงาน โดยแบ่งงานที่เป็นระดับข้าราชการหรือผู้ที่เทียบเท่าซี 8 ลงมา ไปพิจารณาดำเนินการในเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ทั้งดำเนินคดีและการป้องกัน
นอกจากนั้น กระทรวงยุติธรรมได้เสนอขอแต่งตั้ง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองเลขาธิการสำนักงาน ป.ป.ส. รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ครม.อนุมัติตามนั้น เพราะฉะนั้นขณะนี้ได้อธิบดีฯ มาทำการตามปกติแล้ว
ครม.สั่งคลังทบทวนหลักเกณฑ์-วิธีการจัดทำบัญชีรายชื่อ กก.รัฐวิสาหกิจ
นายณัฐวุฒิ แถลงว่า ที่ประชุม ครม.มีมติให้กระทรวงการคลัง ทบทวนร่างหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ และการแต่งตั้งกรรมการจัดทำบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ
เรื่องนี้กระทรวงการคลังนำเสนอเข้าสู่ระเบียบวาระตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ฉบับที่ 6 พ.ศ.2550 ซึ่งระบุไว้ในมาตรา 12/1 วรรค 1 ระบุว่า ในการแต่งตั้งกรรมการอื่นที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจแห่งใด ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการ ที่กระทรวงการคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น
วรรค 2 ระบุว่า ให้การจัดทำบัญชีรายชื่อกรรมการ ตามวรรค 1 เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ครม.กำหนด
มาตรา 20 วรรค 2 บัญญัติให้กระทรวงการคลังจัดทำบัญชีรายชื่อกรรมการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ.นี้บังคับใช้ ซึ่งบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม เพราะฉะนั้นกรอบระยะเวลาตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ คือ จะต้องให้แล้วเสร็จภายในช่วงกลางเดือนมิถุนายน
ปรากฏว่าวันนี้ในการพิจารณาหารือร่วมกันของ ครม.ได้มีรัฐมนตรีบางคนได้ตั้งข้อสังเกตเพื่อความรอบคอบในการพิจารณา อาทิ นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที เมื่อเห็นองค์ประกอบที่กระทรวงการคลังได้ร่างมา ว่าจะเป็นกรรมการที่จะสรรหารายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ คือ ปลัดกระทรวงที่มีรัฐวิสาหกิจอยู่ใต้สังกัดจำนวนไม่เกิน 4 คน ในที่นี้ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน 6 คน
นายมั่น ได้ให้ข้อสังเกตว่า กระทรวงที่ตนกำกับดูแลอยู่ คือกระทรวงไอซีทีนั้น มีรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารใหญ่ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นทีโอที ไม่ว่าจะเป็นแคท เทเลคอม หรือเรื่องราวเกี่ยวกับการดำเนินงานสื่อสารผ่านดาวเทียมต่างๆ เพราะฉะนั้นจึงได้ตั้งข้อสังเกตว่า 4 ปลัดกระทรวงที่เป็นกรรมการนั้น อาจจะไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องของสารสนเทศมากนัก ถ้าเทียบเคียงกับบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องนี้ เช่น ปลัดกระทรวงไอซีที เป็นต้น จึงอยากให้ทบทวน
ขณะที่รัฐมนตรีบางคนก็ตั้งข้อสังเกตว่า เรื่องนี้กรรมการชุดที่เสนอชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการรัฐวิสาหกิจ หากมีการนำชื่อใครก็ตามไปดำรงตำแหน่ง ถ้าบุคคลผู้ได้รับการแต่งตั้งตามกระบวนการดังกล่าวไปปฏิบัติหน้าที่แล้วเกิดความผิดพลาด หรือปฏิบัติงานแล้วเกิดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ คณะกรรมการชุดดังกล่าวก็จะไม่ได้อยู่ในขอบข่ายความผิดชอบ แต่ผู้ที่จะต้องรับผิดชอบกลับต้องเป็นรัฐมนตรีผู้เป็นเจ้ากระทรวง
ครม.จึงมีมติเห็นว่าให้กระทรวงการคลังนำเรื่องนี้ไปทบทวน และนำเสนอ ครม.ในโอกาสต่อไป ซึ่งนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ก็รับที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จและนำกลับเข้าสู่ ครม.ได้ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดใน พ.ร.บ.ฉบับนี้
ครม.เห็นชอบการเบิกจ่ายเงินค่าสอนพิเศษ
นายณัฐวุฒิ แถลงว่า ครม.เห็นชอบระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินค่าสอนพิเศษและค่าสอนเกินภาระงานสอนในสถานศึกษา และสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2551 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของระเบียบการคลังดังกล่าว สรุปได้ 5 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายค่าสอนพิเศษในสถานศึกษาของทางราชการ พ.ศ.2533 และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าสอนพิเศษในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. แก้ไขเพิ่มเติมคำนิยามจาก "มหาวิทยาลัย" เป็น "สถาบันอุดมศึกษา" และ "คณาจารย์" เป็น "ผู้ทำการสอน"
3. กำหนดให้สถานศึกษาของทางราชการและสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง สามารถกำหนดวิธีการและเอกสารประกอบการเบิกจ่ายค่าสอนพิเศษได้เอง
4. เพิ่มเติมหลักเกณฑ์ให้ผู้ทำการสอนที่สอนครบหน่วยชั่วโมงในเวลาปกติตามที่กำหนดแล้ว หากทำการสอนเพิ่มในเวลาราชการปกติ นอกเหนือจากจำนวนหน่วยชั่วโมงที่สอนครบดังกล่าวแล้ว มีสิทธิ์ได้รับเงินค่าสอนพิเศษตามอัตราที่กำหนดได้
5. ปรับอัตราเงินสอนพิเศษในสถานศึกษาของทางราชการ และสถาบันอุดมศึกษา โดยนำดัชนีราคาผู้บริโภคชุดทั่วไปของประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ.2538 มาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ
ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย
นายณัฐวุฒิ แถลงว่า ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. ... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการ ครม. ส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พิจารณาลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว มีดังนี้
1. ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 , พ.ศ. 2548
2. แก้ไขค่ารักษาพยาบาลในเบื้องต้น จากที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 35,000 บาท เป็นไม่เกิน 45,000 บาท
3. แก้ไขค่ารักษาพยาบาลในระดับต่อมา หากค่ารักษาพยาบาลในเบื้องต้นไม่เพียงพอ ในกรณีที่ลูกจ้างประสบอัตราย หรือเจ็บป่วยที่รุนแรง จากเดิมกำหนดให้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เพิ่มอีกไม่เกิน 50,000 บาท เป็นเพิ่มอีกไม่เกิน 65,000 บาท
4. เพิ่มค่ารักษาพยาบาลในกรณีลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย ซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรัง ในกรณค่ารักษาพยาบาลเกินจำนวน 200,000 บาท ให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง แต่รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 300,000 บาท โดยให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการการแพทย์ พิจารณา และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ให้ความเห็นชอบ
5. แก้ไขอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้อง ค่าอาหาร จากเดิมกำหนดให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายได้จริง ไม่เกินวันละ 700 บาท แก้ไขเป็น ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล และค่าบริการทั่วไป ให้จ่ายได้เท่าที่จริง ไม่เกินวันละ 1,300 บาท
ครม.รับทราบรายงานผลการสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2550
นายณัฐวุฒิ แถลงว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2550 เพื่อเก็บเป็นข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ รายจ่าย ภาวะหนี้สินของครัวเรือน ตลอดจนลักษณะที่อยู่อาศัย โดยการทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทุกเดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม 2550 จากครัวเรือนตัวอย่างในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งในและนอกเขตเทศบาล จำนวน 52,000 ครัวเรือน ซึ่งสรุปผลการสำรวจที่สำคัญ ดังนี้
ร้อยละครัวเรือนที่มีหนี้ในปี 2550 ผลสำรวจพบว่า ครัวเรือนที่มีหนี้สินมีร้อยละ 63.3 โดยจำนวนหนี้สินเฉลี่ย 116,681 บาทต่อครัวเรือน
การเปรียบเทียบอัตราร้อยละของครัวเรือนที่มีหนี้ และจำนวนหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนทั้งสิ้น ตั้งแต่ปี 2541 - 2550 ในภาพรวมครัวเรือนที่มีหนี้ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่ปี 2541 - 2547 จากร้อยละ 55.1 เป็น 66.4 แต่ได้ลดลงเป็นร้อยละ 64.4 ในปี 2549 และเป็นร้อยละ 63.3 ในปี 2550 โดยจำนวนเงินที่เป็นหนี้เพิ่มจาก 82,485 บาท ในปี 2545 เป็น 116,585 บาท ในปี 2549 และเริ่มชะลอตัวในปี 2550
ข้อมูลการเปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สินต่อรายได้ ตั้งแต่ปี 2541 - 2550 เมื่อเปรียบเทียบราย ค่าใช้จ่าย และหนี้สินต่อรายได้ พบว่าครัวเรือนทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2541 - 2550 มีรายได้เฉลี่ยมากกว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการยังชีพ พบว่า รายได้และค่าใช้จ่ายตั้งแต่ปี 2545 - 2550 เพิ่มขึ้น คือ รายได้เพิ่มขึ้นจาก 13,736 บาท เป็น 18,660 บาท และค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นจาก 10,889 บาท เป็น 14,500 บาท ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาผลต่างของรายได้และค่าใช้จ่ายในปี 2550 พบว่า รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการยังชีพอยู่เพียง 4,160 บาทต่อครัวเรือน หรือประมาณ 1,300 บาทต่อคน เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในการชำระหนี้
หนี้สินต่อรายได้ครัวเรือนในปี 2547 จะสูงที่สุดเมื่อเทียบกับปีอื่นๆ อย่างไรก็ตาม พบว่ามีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ เป็น 6.6 และ 6.3 เท่า ในปี 2549 และ 2550 ตามลำดับ
นอกจากนี้ มีการรายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม - ธันวาคม 2550) พบว่า สินค้าฟุ่มเฟือย 17 กลุ่มสินค้า มีมูลค่านำเข้ารวม 397.945 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2550 91.604 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 29.90 มูลค่าการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่านำเข้ารวมของสินค้าทุกชนิด ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2551 แล้ว มูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 1.05 ของมูลค่านำเข้ารวม
สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก จากการสำรวจของกระทรวงการคลัง ผลไม้ มีมูลค่านำเข้า 82.037 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 23.497 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 40.14 น้ำหอม และเครื่องสำอาง มีมูลค่าการนำเข้า 59.209 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 23.173 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 64.31 นาฬิกา และอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 51.739 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 13.754 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 36.21
ครม.รับทราบปฏิทินการทำงานระหว่างเดือน เม.ย. - มิ.ย.
นายณัฐวุฒิ แถลงว่า ปฏิทินการทำงานของคณะรัฐมนตรีในเดือนเมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน ได้ปรากฏออกมาแล้ว ที่น่าสนใจ อาทิ วันนี้ (1 เม.ย.) มีพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน ซึ่งในช่วงเช้าที่ผ่านมาก่อนที่จะมีการประชุม ครม. คณะรัฐมนตรีได้เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรพระองค์ท่านแล้ว
6 เมษายน จะมีรัฐพิธี วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีพระบรมราชวงศ์
เดือนพฤษภาคม ที่น่าสนใจ วันที่ 3 มีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน เนื่องในการพระราชพิธีฉัตรมงคล ขณะที่วันที่ 4 - 5 พฤษภาคม จะมีพระราชพิธีฉัตรมงคล และ 20 พฤษภาคม ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 พร้อมหลักเกณฑ์การปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายประจำปี
3 มิถุนายน ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 และ 17 มิถุนายน ครม.จะพิจารณาให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎร
ครม.อนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก
น.ส.ศุภรัตน์ แถลงว่า ที่ประชุม ครม.วันนี้มีมติอนุมัติมาตรการเงินทุนเพื่อประชาชนและเศรษฐกิจฐานรากตามที่ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ท่านประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ได้แถลงไปแล้วภายหลังการประชุม ครม.
มาตรการที่นำเสนอเข้าสู่การประชุม ครม.โดยกระทรวงการคลัง มีทั้งหมด 6 ด้าน
1. แนวทางการกำกับ ตรวจสอบโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน หรือ เอสเอ็มแอล
2. มาตรการเพิ่มเงินทุนและการจัดการเรียนรู้ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
3. โครงการฟื้นฟูและพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจน
4. โครงการธนาคารประชาชน โดยธนาคารออมสิน
5. โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของ ธอส.
6. โครงการสินเชื่อเพื่อเกษตรกร ของ ธ.ก.ส.
ทั้งนี้ มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากแต่ละมาตรการเกี่ยวข้องไม่เฉพาะกระทรวงการคลัง แต่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วย กระทรวงพลังงานด้วย รวมทั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพราะฉะนั้นในการประชุม ครม.วันนี้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานในที่ประชุม ได้มอบหมายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องไปบูรณาการเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ เช่น ในส่วนของโครงการพักหนี้เกษตรกร ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยท่านรัฐมนตรีสมศักดิ์ ได้เสนอว่า ทางกระทรวงเกษตรมีโครงการฟื้นฟูเกษตรกร มีมาตรการส่งเสริมให้ความรู้อาชีพอยู่แล้ว จะบูรณาการในส่วนของการพักหนี้ด้วย เพื่อเข้าไปดูแลในเรื่องของอาชีพ การให้ความรู้ หรือในส่วนของโครงการสินเชื่อที่จะให้กับการปลูกพืชทดแทนพลังงาน เกี่ยวข้องกับกระทรวงพลังงานด้วย
ครม.เห็นชอบการเสียภาษีสลากบำรุงสภากาชาดไทย
น.ส.ศุภรัตน์ แถลงว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบการเสียภาษีสลากบำรุงสภากาชาดไทย ในอัตราร้อยละ 0.5 แห่งยอดราคาสลาก ซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่าย เนื่องจากว่า สภากาชาดไทย เดิมกำหนดจัดงานกาชาด ประจำปี 2551 วันที่ 28 มีนาคม - 5 เมษายน 2551 รวม 9 วัน แต่เนื่องจากอยู่ระหว่างการถวายความอาลัยแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จึงงดจัดงานกาชาดในปีนี้ แต่ในส่วนของการออกสลากกาชาดยังต้องดำเนินต่อไปเพื่อหารายได้มาใช้ในกิจการ
ครม.เห็นชอบในหลักการ ให้สภากาชาด เหล่ากาชาดจังหวัดหรือกาชาดอำเภอ กิ่งอำเภอ ซึ่งเป็นตัวแทนของสภากาชาดไทย ออกสลากบำรุงสภากาชาดในปีนี้ต่อไป และเห็นชอบการเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.5
ครม.รับทราบงานกรณีปลากระชังใน อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ตาย
น.ส.ศุภรัตน์ แถลงว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานกรณีปลาในกระชังตาย ใน ต.บางเสด็จ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงาน หลังจากเกิดเหตุการณ์ปลาในกระชังตายบริเวณ ต.บางเสด็จ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการไปสำรวจถึงสาเหตุ พบว่าคุณภาพของน้ำไม่มีปัญหา แต่อาจจะเพราะว่า เกษตรกรมีการเลี้ยงปลาในกระชังจำนวนมาก ถึง 2,200 ตัว ในกระชังที่มีขนาด 3x5 เมตร ซึ่งขนาดกระชังควรเลี้ยงปลาได้ปริมาณสูงสุดไม่เกิน 800 ตัว เพราะฉะนั้นจะมีการสะสมของสิ่งปฏิกูลและของเสียต่างๆ มีมาตรการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ ได้จัดฝึกอบรมให้เครือข่ายภาคประชาชนที่ประกอบอาชีพเลี้ยงปลา ในการจัดทำคู่มือฉบับประชาชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ ในการเลี้ยงปลาในกระชัง และขอความร่วมมือให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพิ่มปริมาณการระบายน้ำเพื่อการไหลเวียนของน้ำในพื้นที่เกิดเหตุ
ครม.เห็นชอบแต่งตั้ง กก.ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า
น.ส.ศุภรัตน์ แถลงว่า ที่ประชุม ครม.วันนี้เห็นชอบในการแต่งตั้ง นายชาติชาย ศุภคติธรรม ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า แทนกรรมการที่ลาออกไป คือ นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ ที่ขอลาออกจากการเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า
นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบในการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ตามที่ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ขอลาออกจากการเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
และ ครม.ได้อนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอให้ นายอดิศักดิ์ เบญจศิริวรรณ เป็นกรรมการในคณะกรรมการกีฬาแห่งประเทศไทย
ครม.รับทราบพิธีเปิดโครงการเอสเอ็มแอล 9 เม.ย.นี้
น.ส.ศุภรัตน์ แถลงด้วยว่า สำหรับโครงการเอสเอ็มแอล ตามที่ ครม.มีมติจัดสรรงบประมาณให้กับโครงการเอสเอ็มแอลไปแล้ว จะมีพิธีเปิดโครงการในวันที่ 9 เมษายน ตรงกับวันพุธ ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และจะมีการลงนามบันทึกความตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้นวันที่ 24 เมษายน จะมีพิธีกดปุ่มปล่อยเงินเข้าสู่โครงการไปยังหมู่บ้านต่างๆ ตรงนี้จะมี นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นประธาน
ครม.เห็นชอบไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ ว่าด้วยสิทธิคนพิการ
น.ส.ศุภรัตน์ แถลงถึงเรื่องที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำเสนอในที่ประชุม ครม. เนื่องจากคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ มีการประชุมกันเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธาน
ครม.เห็นชอบให้ประเทศไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิคนพิการ ตามที่กระทรวงพัฒนาสังคมฯ เสนอมา
ซึ่งอนุสัญญาฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อคนพิการ เน้นในเรื่องการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นด้านกฎหมาย ด้านการปกครอง ด้านการปฏิบัติต่างๆ รวมถึงเรื่องการเข้าถึงการบริการอย่างเท่าเทียมของผู้พิการ ด้านการส่งข้อมูลข่าวสาร บริการสาระต่างๆ ซึ่งคิดว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์
ครม.รับทราบกรณี ททท.เข้าร่วมงาน International Tourism
น.ส.วีรินทร์ทิรา แถลงว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รายงานให้ที่ประชุม ครม.ได้รับทราบ เนื่องจาก ททท.หรือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ไปร่วมงานหน่วยงานเอกชนไทยกับหน่วยงานเอกชนไทยอีกจำนวน 141 หน่วยงาน ชื่องาน International Tourism ซึ่งเป็นงานส่งเสริมการขายที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปี ปีนี้จัดเป็นปีที่ 43 แล้ว และนับเป็นปีที่ 34 ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไปร่วมงานนี้ ซึ่งในพื้นที่ของ ททท.มีทั้งหมด 540 ตารางเมตร เป็นการสร้างคูหาขึ้นมาแล้วนำแสดงสินค้าด้านการท่องเที่ยว ทั้งหมด 7 สิ่งมหศัจรรย์ของไทย รวมถึงการเผยแพร่วัฒนธรรมไทย มีการสาธิตศิลปะมวยไทย การวาดร่ม และศิลปะการนวดแผนไทย
งานนี้จัดขึ้นที่กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 5 - 9 มีนาคม ที่ผ่านมา ปรากฏว่า จากการออกบูธของ ททท. รวมทั้งหน่วยงานเอกชนอีก 141 หน่วยงาน ปรากฏว่า งานนี้ประเทศไทยได้รับรางวัล 3 รางวัล รางวัลแรก คือ รางวัลประเภทเป้าหมายการท่องเที่ยวในเอเชีย ปรากฏว่าประเทศไทยได้อันดับ 1 เป้าหมายการท่องเที่ยว รางวัลที่ 2 คือ หน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวดีเด่น ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 3 อีกรางวัลหนึ่งคือ รางวัลจากการประกวดภาพยนตร์โฆษณาส่งเสริมการท่องเที่ยวยอดเยี่ยม เราติด 1 ใน 3
จากการไปร่วมงานในครั้งนี้ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวไทย 52 เปอร์เซ็นต์ มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายภายในงาน และผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไทย อีก 45 เปอร์เซ็นต์ ติดต่อเจรจาในเงื่อนไขทางธุรกิจอีกหลายครั้งหลังจากไปร่วมงานมา
ด้านรายได้ของหน่วยงานเอกชนจากการเข้าร่วมงานนี้ หากนับเป็นโรงแรมที่พักในเครือใหญ่ ที่มีห้องพักตั้งแต่ 300 ห้องขึ้นไป ได้ธุรกิจประมาณ 600-800 ล้านบาทต่อหน่วยงาน บางหน่วยงานได้รับรายได้จากการติดต่อในงานนี้จนถึงเดือนเมษายน และโรงแรมรายย่อยแจ้งว่า ได้ธุรกิจเกิน 100 ล้านบาทต่อหน่วยงาน
ทั้งนี้ ในภาพรวมทั้งหมด ยอดซื้อขายภายในงานเฉพาะของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยที่ร่วมเดินทางไปกับ ททท. มีการซื้อขายแบบเหมาห้องพักโรงแรมล่วงหน้าไปถึงเดือนมกราคม ทำให้มียอดสูงถึง 30,000 ล้านบาท ซึ่งรายได้จำนวนดังกล่าวยังไม่รวมรายได้ของผู้ขายที่เป็นบริษัทนำเที่ยว สายการบิน โรงพยาบาล และหน่วยงานเอกชนไทยที่มีคูหาอยู่โดยรอบคูหาของประเทศไทย สิ่งสำคัญที่สุดคือ เม็ดเงินที่สะพัดถึง 30,000 ล้านบาท นี่เป็นการรายงานโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
นอกจากนี้ น.ส.วีรินทร์ทิรา แถลงต่อว่า อีกวาระหนึ่งซึ่งไม่ได้อยู่ในวาระการประชุม ครม.เพียงแต่มีโอกาสได้ร่วมประชุม คือ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประชุมครั้งที่ 1 ประจำปี 2551 เกี่ยวกับเรื่องของแนวทางการดำเนินการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว
วันนี้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับคู่มือการรายงานเกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อจะได้นำไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการบ้านเอื้ออาทรต่อไป นี่เป็นประเด็นหลักของที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ตอนท้ายของการแถลงผลการประชุม ครม. น.ส.วีรินทร์ทิรา ได้ประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 ผลิตรายการวิทยุ "ใต้สันติสุข" ซึ่งจะมีการออกอากาศทุกวัน เวลา 14.30 - 15.00 น. และเวลา 19.30 - 20.00 น. ซึ่งเป็นรายการวิทยุเครือข่ายเพื่อความมั่นคงในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบไปด้วย จ.สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 30 สถานี 42 ความถี่ โดยมีสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยในพื้นที่ สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นแม่ข่าย เพื่อจะประชาสัมพันธ์ข่าวสารเหตุการณ์ ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุการณ์อย่างถูกต้อง และเพื่อจะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายของภาครัฐต่อพื้นที่ รวมถึงการดำเนินการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย เพื่อสร้างความรักและความปรองดอง ความสมานฉันท์ในพื้นที่