นางนันท์มนัส เปี่ยมทิพย์มนัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า ในช่วงภาวะที่ตลาดการลงทุนมีความเสี่ยงจากหลายด้าน ทั้งจากการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักๆ เป็นเข้มงวดมากขี้น เพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อที่เร่งตัวมาอยู่ในระดับสูง ทำให้การจัดพอร์ตการลงทุนในหลากหลายตลาดเพื่อกระจายความเสี่ยงเป็นเรื่องที่นักลงทุนต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ และในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนถือเป็นจังหวะที่นักลงทุนสามารถครองสถานะการลงทุนในระยะยาวและเป็นจังหวะทยอยเข้าลงทุนในตลาดที่มีความน่าสนใจที่ดี
โดยภาพรวมเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียในระยะยาวมีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าภูมิภาคอื่นของโลก คาดว่าในปี 2045 การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกกว่า 50% จะมาจากภูมิภาคเอเชีย และยังมีปัจจัยสนับสนุนจากจำนวนประชากรเอเชียที่สูงถึง 4.5 พันล้านคนซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก และเนื่องจากตลาดเอเชียไม่ได้เป็นเพียงแหล่งการผลิตสินค้าเพื่อส่งต่อไปยังประเทศพัฒนาแล้วอีกต่อไป แต่กำลังเปลี่ยนแปลงไปเป็นตลาดบริโภคที่มีขนาดใหญ่และมีแนวโน้มที่จะบริโภคมากขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่จะช่วยดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนมายังภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลเหล่านี้บริษัทฯ จึงส่งกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ดัชนีหุ้น Asia ex Japan (SCBAXJ) เสนอขายครั้งแรก ระหว่างวันที่ 5-17 พฤษภาคม 2565 ใน 2 ประเภทกองทุน คือ SCBAXJ(A) - ชนิดสะสมมูลค่า และ SCBAXJ(SSF) - ชนิดเพื่อการออม มูลค่าโครงการ 3,000 ล้านบาท สามารถลงทุนเริ่มต้นได้ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป
สำหรับกองทุนเปิด SCBAXJ จะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว คือ iShares Core MSCI Asia ex Japan ETF สกุลเงินดอลลาร์ฮ่องกง (HKD) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน มีการกระจายการลงทุนไปยังหุ้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ในทวีปเอเชีย จำนวน 10 ประเทศ ยกเว้น ประเทศญี่ปุ่น โดยหุ้นที่กองทุนหลักเลือกลงทุนจะพิจารณาจากหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง ในหลากหลายอุตสาหกรรม ให้สอดคล้องกับเทรนด์และประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี อย่างธุรกิจทางการเงิน และ e-commerce โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ เช่น TSMC, SAMSUNG, TENCENT, ALIBABA เป็นต้น ซึ่งมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก โดยกองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% เพื่อช่วยลดความผันผวนของผลตอบแทนจากอัตราแลกเปลี่ยน และยังเป็นการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์ให้ผลตอบแทนเป้าหมายใกล้เคียงผลตอบแทนของดัชนีที่กองทุนอ้างอิง
“เรามองว่าเอเชียมีแนวโน้มเติบโตที่ดี มีศักยภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เอเชียจะไม่ได้เป็นเพียงแหล่งการผลิตสินค้าเพื่อส่งต่อไปยังประเทศพัฒนาแล้วอีกต่อไป แต่เอเชียกำลังเปลี่ยนแปลงไปเป็นตลาดบริโภคขนาดใหญ่ พร้อมกับการเดินหน้าปรับตัวเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีของโลก สร้างการบริโภคผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น มุ่งผลักดันรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงมีการลงทุนวิจัยและพัฒนา (R&D) ในระดับที่สูงมากติดอันดับต้น ๆ ของโลก และยังมีบริษัทชั้นนำในหลากหลายอุตสาหกรรมที่มีลูกค้า-ผู้ใช้บริการจำนวนมากในตลาดโลก ขณะเดียวกันค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อเอเชียก็ยังมีแนวโน้มต่ำกว่ากลุ่มประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ส่วนผลกระทบจากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครนต่อเอเชียยังมีไม่มาก ทำให้กองทุน SCBAXJ เป็นอีกหนึ่งกองทุนที่น่าสนใจ และสามารถสร้างโอกาสทำกำไรในระยะยาวได้” คุณนันท์มนัส กล่าว
ทั้งนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกมาระบุว่าเศรษฐกิจเอเชียในปี 2565-2566 น่าจะขยายตัวราว 5.4% และ 5.6% ตามลำดับ ขณะเดียวกัน นโยบายการเงินโดยภาพรวมยังเป็นนโยบายเชิงผ่อนคลายมากกว่าประเทศพัฒนาแล้ว โดยมีปัจจัยสนับสนุนการลงทุนมาจากมูลค่าปัจจุบันของตลาดหุ้นเอเชียยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจลงทุน เช่นเดียวกับมูลค่าของตลาดหุ้นเอเชียในปัจจุบันยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว และยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นโลกเกือบ 30% สะท้อนให้เห็นว่าภาพรวมเศรษฐกิจเอเชียยังมีสัญญาณที่เป็นบวกต่อทิศทางการลงทุน